ตำนานบ้านเก่าคหบดีลำพูน ศูนย์รวมมุสลิมแห่งแรกในจังหวัดลำพูน

มุสลิมลำพูน
โดย ชุมพล ศรีสมบัติ
     มากินบุญที่ลำพูน  บ้านหลังนี้ อายุประมาณไม่ต่ำกว่าเจ็ดสิบปี สร้างขึ้นมาแทนบ้านไม้หลังเก่า รวมอายุ ประมาณ ร้อยกว่าปี

       การอพยพเพื่อสร้างหลักปักฐานของผู้คน เป็นวิถีหนึ่งของมนุษย์ เพื่อต้องการความมั่นคงของชีวิต ทุกเชื้อชาติศาสนา ในจังหวัดลำพูน ก็เช่นกัน ก็มีหลายกลุ่ม หลายชาติพันธุ์ ในแถบล้านนาของประเทศไทยเมืองลำพูนเป็นอีกเมืองที่มีควาหลากของผู้คนหลายเผ่าหลายชาติพันธุ์ ไมว่าจะเป็น ลัวะ  ปกาเกอะญอ (กะเหรี่ยง) พม่า (ม่าน) เป็นต้น แต่กลุ่มชาติพันธุ์ที่มีจำนวนมาก ที่สุดในเมืองลำพูนคือประมาณร้อยละ 80 ของทั้งหมดประชากรนั่นก็คือของคนยอง(อ่านต่อคนยองมาจากไหนได้ที่https://mgronline.com/travel/detail/9540000145872)

        #มุสลิมจากจิตตะกอง ประเทศบังคลาเทศ ก็เป็นกลุ่มหนึ่งที่อพยพเข้ามาทำมาค้าขายในจังหวัดลำพูน อาชีพหลักของพวกเขาคือการขายเนื้อควาย เล่ากันว่า บรรพชนของมุสลิมลำพูน เดินทางจาก ประเทศบังคลาเทศ ผ่านพม่า เข้ามาทางอำเภอแม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ผ่านฮอด เข้าสู่เชียงใหม่โดยการเดินเท้า หรือวัวต่างตามกำลังความสามารถของแต่ละคน สู่ชุมชนมุสลิมช้างคลาน ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นศูนย์กลาง หรือจุดเริ่มต้นของมุสลิมอพยพ จากนั้นจึงกระจายตัวไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ในล้านนา 

      บรรพชนของมุสลิมลำพูน ตามคำบอกเล่าของลุงอับดุลการีม สวัสดิ์อารีย์ อายุ 74 ปี คนมุสลิมที่เกิดในลำพูน เล่าให้ฟังว่า คุณปู่ อยู่ที่สันป่าตอง  ค้าขายเนื้อ ต่อมาคุณพ่อ ชื่ออับดุลเลาะห์มาน คนลำพูนรู้จักในนามลุงลูน แขก เข้ามาประกอบอาชีพขายเนื้อควาย ทำโรงเชือดอยู่ในบ้านหลังนี้ จนสร้างฐานะเป็นคหบดีท่านหนึ่งในจังหวัดลำพูน

       บ้านหลังนี้ เป็นที่รวมตัวของมุสลิมเมืองลำพูน ใช้ละหมาดรวมกัน และทำกิจกรรมทางศาสนา เช่น การทำบุญเลี้ยงอาหาร โดย จะมีการเชื่อมโยง กับ มุสลิม ในบ้านปิงหลวง หรือบ้านหนองแบน อำเภอสารภี และ พี่น้องมุสลิมย่านข้างคลาน มาอย่างยาวนานจวบจนปัจจุบัน ยังมีการไปมาหาหาสู่กันตลอดผ่านการทำบุญเลี้ยงอาหาร บ้านหลังนี้ จึงเป็นศูนย์กลางแห่งแรกของมุสลิมในพื้นที่ ลำพูน
         คุณจีระชัย ศรีจันทร์ดร หนึ่งในลูกหลานมุสลิมสายนี้เล่าให้ฟังว่า
      "เดิมทีครอบครัวของเรา  มาจากอำเภอสันป่าตองบ้านกิ่วแลหลวง    ต้นตระกูล เรา มีทวด ชื่ออาลีเมียร์เป็นพี่น้อง  กับ  บาบูที่อาศัยอยู่ที่ อำเภอดอยสะเก็ด(สามีป้าคำมูล ที่ยกที่ดินให้สร้างสุเหร่าดอยสะเก็ด)
       อาลีเมียร์  ท่านนี้  ยังเป็น น้าชายแขกน้อยคหบดีในอำเภอสันกำแพง ต่อมาลูกของอาลีเมียร์  3 คนพี่น้อง  อพยพ  มาตั้งบ้าน  ที่ช้างคลาน(ตรง รร.อัลฟารุคในปัจจุบัน) ก่อนสงครามโลก  จึงย้ายไป  ตั้งรกราก  ที่ลำพูนคุณปู่ผมเป็นหนึ่งใน  สามพี่น้อง  ของตระกูลนี้คือแขกเบงกาลีเจ้าแรก  ที่เปิดทำการ  ค้าเนื้อ โดยทำการตลาดโดยการค้าส่งเนื้อไปตามตลาดระหว่างอำเภอฝากไปรถคอกหมู(รถยนต์โบราณตัวถังเป็นไม้)  ที่ขนส่งผู้โดยสาร ไปยังอำเภอต่าง ๆ ในเชียงใหม่"
        คุณจีระชัย ยังกล่าวอีกว่า "รุ่นสอง  ของตระกูลนี้ถ้ามีชีวิตอยู่จะมี อายุประมาณ 150 ปี
     ที่ จังหวัดลำพูนและจังหวัดลำปางก็เป็นกลุ่มแรกที่มีส่วนร่วมสร้างสุเหร่าใหญ่มัสยิดอัลฟาลาห์ ท่านชื่ออับดุลลอฮีม  คนเก่าๆที่นั่นทราบดี   
     อิหม่ามมิตร สุเหร่าเขียวอัลอิคลาส ลำปาง(ขออัลลอฮฺเมตตาท่าน) เล่าให้ผมฟัง ทำให้ทราบว่าน้องปู่  เป็นหนึ่งใน  ผู้ริเริ่มสร้าง  มัสยิดลำปาง...มาในยุค หลานชายคือผมอัลฮัมดุลิลลาก็ได้มีส่วนร่วมบูรณะ  มัสยิด  ที่ลำปางอีก 3หลัง" 
          มาชาอัลลอฮฺ คุณูปการของมุสลิมในรุ่นก่อน ที่ส่งต่อรักษาอิสลามมาส่งต่อให้พวกเรา เป็นความภาคภูมิใจของคนรุ่นหลัง  ยากจะหาสิ่งใดมาตอบแทน ขออัลลอฮฺเมตตาบรรพชน ของพวกเรา ขออัลลอฮฺตอบแทนพวกเขาด้วยสรวงสวรรค์ ด้วยเทอญ..อามีน
        ต่อมาประมาณปี 2527 ทางตระกูลอัลอันซอรี จากประเทศซาอุดีอาระเบีย ร่วมกับนายยงฟูอนันต์ มาสร้างมัสยิดขึ้นหลังหนึ่งในพื้นที่ตำบลเวียงยอง อ.เมืองลำพูน บทบาท ของบ้านลุงลูน จึงเปลี่ยนไป ศูนย์กลางของชาวมุสลิม จึงเปลี่ยนมาเป็นที่มัสยิดจนถึงปัจจุบัน
(ข้อมูลเป็นตำนาน ฟังเขาเล่าต่อกันมา)

ความคิดเห็น