ปัญหาความมั่นคง การค้ายาเสพติดของจีนฮ่อในเชียงใหม่ยุคอดีต

 ปัญหาความมั่นคง การค้ายาเสพติดของจีนฮ่อในเชียงใหม่ยุคอดีต

    

    
        #ย้อนเหตุการณ์ที่เชียงใหม่ (๑๘)
รายละเอียดข่าว
  #ส่งตร.รักษาดินแดนมา ช.ม.แก้ปัญหาอิทธิพบ                           
         ด้วย ปัญหากองทหารจีนคณะชาติและจีนฮ่อร่วมกันค้าฝิ่นอีกทั้งมีกำลังติดอาวุธอยู่ ชายแดนภาคเหนือส่งผลต่อความมั่นคงชองชาติและปัญหาด้านเศรษฐกิจ รัฐบาลปัญหาด้วยการตั้งตำรวจรักษาชายแดนเพื่อปราบปราม                          

       นสพ.คนเมือง ฉบับวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๔๙๖ ลงข่าวการตั้งตำรวจรักษาดินแดน เพื่อปราบฮ่อ
   "ส่งตร.รักษาดินแดนมา ช.ม. ๖ หมวด ถึงเชียงใหม่ปลายเดือนกรกฎาคมนี้                                           "ความ เคลื่อนไหวในด้านรักษาสวัสดิภาพของประชาชนในภาคเหนือ ได้เริ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่งโดยทางกรมตำรวจ ส่ง ต.ร.รักษาดินแดนจำนวน ๖ หมวด ขึ้นมาประจำอยู่ที่อำเภอเชียงดาวทั้งนี้ พ.ต.ท.ศิริ คชหิรัญ ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ ได้แถลงต่อเจ้าหน้าที่ข่าวคนเมืองว่า ทางกรมตำรวจได้มีคำสั่งให้ส่งเจ้าหน้าที่รักษาดินแดนจำนวน ๖ หมวด ขึ้นมาประจำที่เชียงดาวแล้ว กำหนดถึงเชียงใหม่ปลายเดือนกรกฎาคมนี้                     
      "เจ้า หน้าที่ตำรวจหน่วยนี้ จะได้เข้าประจำหน้าที่ที่ทำการตำรวจรักษาดินแดนที่สร้างเสร็จเรียบร้อย ซึ่ง พ.ต.อ.สุข สกุลพร ผู้บังคับการตำรวจภูธรเขตต์ ๕ ได้ขึ้นมาดูสถานที่ไว้แล้วเมื่ออาทิตย์ก่อน"                    
       เจ้าหน้าที่ตำรวจรักษาดินแดนดังที่เป็นข่าว เป็นการเริ่มต้นของตำรวจตระเวนชายแดนในระยะเวลาต่อมานั่นเอง                    

         กระทรวง มหาดไทยได้ประกาศจัดตั้งกองบัญชาการตำรวจรักษาชายแดนภาคพายัพขึ้นเมื่อต้น เดือนสิงหาคม ๒๔๙๖ ตั้งกองบัญชาการอยู่ที่ค่ายดารารัศมี อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ (ภายหลังได้รวมกับภาคอีสานเป็นกองบัญชาการรักษาชายแดน) การจัดตั้งกองบัญชาการรักษาชายแดนภาพายัพนี้ ได้รับสมัครตำรวจจากบุคคลภายนอกจำนวน ๕๐๐ นาย เข้าฝึกอบรม ๘ สัปดาห์และจัดกำลังเป็น ๙ หมวด ๓ กองร้อย ผู้บังคับบัญชาคือ พล.ท.หลวงกัมปนาทแสนยากร ผู้ว่าราชการภาค ๕                     
      วิธีการโดยการระดมกำลัง ตำรวจจากจังหวัดต่างๆรวม ๖๘ จังหวัดจังหวัดละ ๑๒ คน(๑ หมู่) เข้าทำการฝึกที่ค่ายฝึก บ้านจอหอ ตำบลจอหอ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา และมีนายตำรวจที่สำเร็จจากโรงเรียนนายรอย ๒๒ คนเป็นผู้บังคับหมวด ปรับกำลังเป็นหมวด ส่งไปรักษาชายแดนทางภาคอีสาน                     
      ผู้ที่ทันเหตุการณ์ นี้และเข้ารับราชการเป็นตำรวจรักษาดินแดนชุดแรกๆ คือ พ.ต.ท.ธงชัย ทิพยมณฑล ปัจจุบันอายุ ๗๘ ปี เกิดที่ย่านกลางเวียงเชียงใหม่ จบการศึกษาระดับประถมที่โรงเรียนดาราใต้ ศึกษาต่อระดับมัธยมต้นที่โรงเรียนปรินซ์ฯ หลังจากนั้นเข้าเรียนที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยจนจบมัธยมปลายและเตรียมอุดม มัธยม เริ่มรับราชการโดยการสมัครเป็นตำรวจที่ สภ.อ.เมืองแม่ฮ่องสอนเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๓ ต่อมาสอบเข้าโรงเรียนนายสิบได้ ศึกษาอยู่ ๑ ปีเศษ หลังจากนั้นถูกคำสั่งเรียกตัวไปฝึกอาวุธพิเศษเพื่อทำหน้าที่เป็นตำรวจรักษา ชายแดน                           

     พ.ต.ท.ธงชัย ทิพยมณฑล ได้บันทึกความทรงจำเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ไว้ส่วนหนึ่งว่า
                       
     "หลัง จากจบจากโรงเรียนนายสิบตำรวจ กรมตำรวจเรียกตัวไปเล่นฟุตบอลที่เวียงจันทน์กลับมาแล้ว ก็ถูกส่งตัวกลับแม่ฮ่องสอน ทำหน้าที่นายสิบเวรอยู่วันเดียวก็มีคำสั่งให้ส่งตัวไปฝึกอาวุธพิเศษที่ค่าย จอหอ จังหวัดนครราชสีมา ทั้งนี้เพื่อจะแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่นำสาร ประจำหมวดตำรวจรักษาดินแดนที่จะตั้งขึ้นประจำอำเภอชายแดน จังหวัดต่างๆ                   
     "หลัง จากฝึกแล้วได้รับคำสั่งบรรจุอยู่ในหมวดรักษาชายแดน หมวดที่ ๑๐ มี ร.ต.ต.อภินันท์ ณ นครเป็นผู้บังคับหมวด พร้อมกำลังอีก ๔ หมวด เดินทางออกจากค่ายจอหอ นครราชสีมาปลายเดือนกรกฎาคม ๒๔๙๖ รถที่ไปรับนำกำลังไปพักที่สถานีตำรวจแม่ปิง ให้ตำรวจทั้ง ๕ หมวดหาซื้อสิ่งของเครื่องใช้เพื่อจะเดินทางต่อไปยังอำเภอเชียงดาวทันที นั่งรถยนต์กันต่อไปจนถึงอำเภอเชียงดาว ลงพักที่กองร้อยรักษาดินแดน อำเภอเชียงดาว ประมาณ ๑ เดือนต่อมาได้รับคำสั่งให้แยกไปอยู่อำเภอฝาง ๑ หมวด อำเภอพร้าว ๒ หมวด แจ้ห่ม ๑ หมวดและค่ายแม่ริม ๑ หมวดเพื่อสกัดกั้นการลำเลียงฝิ่นเถื่อนในเส้นทางฝาง-พร้าว-แจ้ห่ม-ลำปาง                      "ประมาณ เดือนสิงหาคม ๒๔๙๖ คงอยู่หลังโรงพักเชียงดาวร่วม ๑ เดือน ฝึกเช้า วิ่ง เดินสำรวจหมู่บ้านภูมิประเทศ ร.ต.ต.อภินันท์ ผบ.หมวด เคยพาวิ่งเดินไปจนถึงบ้านเมืองงายเช้าวันหนึ่ง ราษฎรดีใจ พบเห็นกำลังตำรวจชายแดนมากมาย ยกอาหารกับข้าวมาแต่ละบ้าน มาร่วมเลี้ยงอาหารมื้อเช้าให้ อยู่อำเภอเชียงดาวเมื่อแรกไปถึงก็มี ร.ต.อ.ประพันธ์ พลนาวี เป็นผู้บังคับจุด รด. จนจวนย้ายไปอำเภอพร้าว มี ร.ต.อ.เริงณรงค์ ทวีโภค ที่โอนมาจากทหารเข้าเป็นตำรวจมาเปลี่ยนเป็นผู้บังคับจุดแทนและถูกส่งไปตั้ง จุดประจำอยู่อำเภอพร้าว ๒ หมวด คือ หมวด รช.ที่ ๙ ร.ต.ต.วิชัย กลับเจริญและ หมวด รช.ที่ ๑๐ มี ร.ต.ต.อภินันท์ ณ นครเป็น ผบ.หมวด                      
      "วัน เดินทางเข้าอำเภอพร้าว คงใช้การเดินเท้าจากอำเภอเชียงดาวเข้าที่แยกบ้านปิงโค้ง ทุกคนมีเป้ติดหลังและปืนกระสุนประจำกาย แล้วยังมีพัสดุสิ่งของหลวงต้องช่วยกันเอาไป บางคนฝึกจากค่าจอหอมาอย่างหนักจริงจังแล้ว พอมาเดินทางขึ้นเขาก็แสดงทาสแท้ออกมา ความกลัว ความเหนื่อยที่หิ้วปืนกลเบาบ้าง หิ้วกระป๋องกระสุนหนักๆ บ้าง ธงชัยฯ (ผู้เขียน) เป็นคนพื้นเมืองเสมือนเป็นคนนำทาง ต้องพูดปลอบใจตลอดทาง เมื่อต้องตอบคำถามของตำรวจที่ร่วมเดินว่าอีกเท่าไรจะถึง จะพักที่ไหนตลอดทาง ทั้งฝนก็ตกตลอดวัน จนค่ำถึงแค่บ้านปางมะเยา ต้องขอพักชายคาศาลาพักบ้านของชาวบ้านที่มีไม่กี่หลัง ร.ต.อ.เริงณรงค์ฯ สั่งการทันทีแบบทหาร เห็นหมูจะให้ฆ่าหมูเห็นไก่ก็จะเอาไก่ รีบทำอาหาร ธงชัยต้องรีบติดต่อขอซื้อไก่ชาวบ้าน ทำแกงกินกันอย่างรวดเร็วและก็พักหลับนอนท่ามกลางสายฝน และมีทั้งริ้น ยุงอย่างมากมาย เช้าวันรุ่งขึ้นก็เดินทางต่อ ลงจากภูเขาสูงมองเห็นบ้านป่าหิ้นลงไปก็พบตัวอำเภอพร้าว ตั้งบ้านเรือนเป็นเมืองใหญ่ที่อยู่ท่ามกลางภูเขาล้อมรอบด้วยบริเวณกว้างน่า ดูทีเดียว ก็เป็นครั้งแรกที่มาพบอำเภอพร้าว นับว่าภูมิประเทศสวยงามมาก จากบ้านป่าหิ้น เดินเข้าสู่เขตชุมชนอีกหลายกิโลเมตร ที่สุดตัวส่วนบังคับการ ร.ต.อ.เริงณรงค์ฯ ขอตั้งอยู่ศาลาอนามัย(ชั่วคราว) มีหมวด ๙ อยู่ร่วมด้วน ส่วนหมวด ๑๐ ธงชัย(ผู้เขียนบันทึก)ติดต่อขอเข้าพักได้ในวัดกลางเวียง นอนบนโรงของพระ ซึ่งเจ้าอาวาสอยู่อีกห้องหนึ่งและมีเณรอยู่อีก ๑ ห้อง ตำรวจเราอีก ๕๐ คน ก็แบ่งนอนบนโถงของโรงเรือนนั้นได้                      
    "การปฏิบัติงานที่อำเภอพร้าว ก็เริ่มด้วยการทำความรู้จักชาวบ้าน เช้าฝึกวิ่งรอบตลาดทำให้ประชาชนอบอุ่น เชื่อถือ ธงชัย เข้าตลาดทุกเช้าเลย มีการหาข่าวการเคลื่อนไหวของขบวนการขนฝิ่น นอกจากต้องทำหน้าที่สิบเวร ผลัดเปลี่ยนกัน ตำรวจก็มีการอยู่เวรยาในวัดตลอดเวลา ได้มีการเดินออกตรวจนอกเขตสุขาฯ ออกสะกัดดักขบวนฝิ่น ๒-๓ ครั้ง บนภูเขาทางทิศเหนือของตัวเมือง และติดตามคนร้ายลักทรัพย์ในตู้เซฟของเตาบ่มของเฮียวรศักดิ์ นิมานันท์ ๑ ครั้ง จนติดตามสกัดจับตัวได้ที่อำเภอแม่แตง
                       
    "ระยะก่อนที่เราจะไป ประจำ ชาวบ้านแจ้งว่า หากพบคาราวานฝิ่นเถื่อนแล้ว แจ้งตำรวจท้องที่ก็ไม่มีใครติดตามจับกุม คิดว่าตำรวจพร้าวระยะนั้น ร.ต.อ.กำจัด มณีโชติ เป็น ผบ.กองฯ กำลังคนและอาวุธคงไม่พร้อม และตำรวจท้องที่ก็ถูกพวกฝิ่นจับตัวไปฆ่าและถูกมัดผูกให้ม้าลากเข้าป่าก็มีมา ก่อนหน้านั้น ต่อมาเมื่อกำลังของเราไปอยู่ และ ร.ต.อ.คณิต วินิจเขตคำนวณ ไปเป็น ผบ.กอง ก็ได้ร่วมกันปฏิบัติงาน จนทำให้มีผลงานให้ประชาชนอุ่นใจได้มากทีเดียว
                       
    "ทางด้าน ร.ต.ต.วิชัย กลับเจริญ อยู่หน้าอนามัย ก็ชอบพอกับครอบครัวของ ผู้กองคนเก่าที่เสียชีวิตไป คงมีแต่ภรรยาของผู้กอง จนที่สุด ร.ต.ต.วิชัยฯ ก็ได้แต่งงานกับ จำเนียร ลูกสาวของ ผบ.กองคนเก่าที่อำเภอพร้าวในปีนี้เลย(จำเนียร-เป็นน้องสาวของ จำนง มณีโชติ เพื่อนร่วมชันเรียของธงชัยที่ยุพราชฯ) จนปลายเดือนพฤศจิกายน ๒๔๙๖ คำสั่งให้หมวดที่ ๑๐ เดินทางไปประจำอำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน หมวด ๑๐ อำลาอำเภอพร้าว ได้เดินแถวผ่านประชาชนที่มาส่งบนถนนสายกลางตลาด หน้าอำเภอ มีพระภิกษุประพรมน้ำพุทธมนต์ ชาวบ้านเดินตามมาส่งกันจนถึงกลางทุ่ง ห่างจากอำเภอร่วม ๒ กม. ที่สะพานข้ามจะมาทางบ้านป่าฮิ้น เพราะรถยนต์ส่งมาจากค่ายแม่ริม มารับได้ที่สพานซึ่งชำรุด ข้ามไม่ได้..."                   
       จากอำเภอพร้าว ตำรวจรักษาดินแดนชุดของ ส.ต.ต.ธงชัย รับคำสั่งไปประจำที่อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน                      

       พ.ต.ท.ธง ชัย ทิพยมณฑล หลังจากประจำหน่วยตำรวจรักษาดินแดนแล้ว ต่อมากลับมารับราชการที่เมืองแม่ฮ่องสอนทำหน้าที่ครูฝึกหลักสูตรชัยยะที่ เชียงใหม่ ต่อมาสอบเป็นนายตำรวจได้เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๒ รับตำแหน่งผู้บังคับหมวด สภ.อ.ปาย แม่ฮ่องสอน , รองผู้บังคับกอง สภ.อ.จอมทอง , สวส.สภ.อ.จอมทอง , สว.สภ.อ.แม่แจ่ม ขึ้นตำแหน่ง สวญ.สภ.อ.แม่อาย , สวญ.สภ.อ.ดอยสะเก็ด , สวญ.สภ.อ.ห้างฉัตร ตำแหน่งสุดท้าย คือ สวญ.สภ.อ.แม่สะเรียง แม่ฮ่องสอน เกษียณอายุราชการเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๓.
                 
              
โพสต์โดย : พ.ต.ท.อนุ เนินหาด

ความคิดเห็น