มอง อำนาจหน้าที่ของจุฬาราชมนตรี หลายท่านมีความเห็นต่างกัน บางก็ว่าเป็นที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์ บางก็ว่า จุฬาราชมนตมีหน้าที่เฉพาะกิจ ในเรื่อง ให้คำปรึกษา ไม่ให้คุณให้โทษกับใครได้ จริงแล้วเป็นอย่างไร
ไปสืบค้นหาข้อมูล พรบ.อิสลาม 40 นำเฉพาะในเรื่อง อำนาจหน้าที่ ของจุฬาราชมนตรี พบว่า นอกจากจะดำรงตำแหน่ง จุฬาราชมนตรี เป็นผู้นำกิจการศาสนาอิสลามแล้ว ยังมีอำนาจหน้าที่ เป็น ประธานคณะกรรมการอิสลามแห่งประเทศไทย ซึ่งดูแลบริหาร องค์กรศาสนาระดับบนจนถึงระดับมัสยิดดังนี้
#พระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐
หมวด ๑ บททั่วไป
#มาตรา ๖
พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจุฬาราชมนตรีคนหนึ่ง เพื่อเป็นผู้นำกิจการศาสนาอิสลามในประเทศไทย ให้นายกรัฐมนตรีนำชื่อผู้ที่จะดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีซึ่งได้รับความเห็นชอบจากกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั่วประเทศขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นจุฬาราชมนตรี
#มาตรา ๘ จุฬาราชมนตรีมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) ให้คำปรึกษาและเสนอความเห็นต่อทางราชการเกี่ยวกับกิจการศาสนาอิสลาม
(๒) แต่งตั้งคณะผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อให้คำปรึกษาเกี่ยวกับบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม
(๓) ออกประกาศแจ้งผลการดูดวงจันทร์ตามมาตรา ๓๕ (๑๑) เพื่อกำหนดวันสำคัญทางศาสนา
(๔) ออกประกาศเกี่ยวกับข้อวินิจฉัยตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม
อำนาจหน้าที่ ส่วนของสำนัก จุฬาราชมนตรี ใน พรบ.อิสลาม 40 มี 4 ข้อ แต่จุฬาราชมนตรี ยังมีอำนาจหน้าในส่วนของ ประธานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย อีกตำแหน่งหนึ่ง ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
#หมวด ๓ คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย
#มาตรา ๑๖ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย” ประกอบด้วยจุฬาราชมนตรีเป็นประธานกรรมการและกรรมการ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ซึ่งเป็นผู้แทนคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด จังหวัดละหนึ่งคน และจากกรรมการอื่นซึ่งคัดเลือกโดยจุฬาราชมนตรีมีจำนวนหนึ่งในสามของจำนวนผู้แทนคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ถ้ามีเศษให้ปัดทิ้ง
การคัดเลือกผู้แทนคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด และการคัดเลือกกรรมการอื่นตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการด้วยกันเองเป็นรองประธานกรรมการ เลขาธิการ และตำแหน่งอื่นตามความจำเป็น
#มาตรา ๑๘ คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) ให้คำปรึกษาแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม*ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) ให้คำปรึกษาหรือข้อแนะนำเกี่ยวกับศาสนาอิสลามแก่คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดและคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด
(๓) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยมอบหมาย
(๔) ออกระเบียบเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินและการจัดหาผลประโยชน์ของสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดและมัสยิด
(๕) ออกระเบียบวิธีการดำเนินงานและควบคุมดูแลการบริหารงานของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดและคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด
(๖) ปฏิบัติหน้าที่เป็นคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดในจังหวัดที่ไม่มีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ในการนี้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยจะมอบหมายให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดที่ใกล้เคียงปฏิบัติหน้าที่แทนก็ได้
(๗) พิจารณาวินิจฉัยคำร้องคัดค้านตามมาตรา ๔๑
(๘) จัดทำทะเบียนทรัพย์สิน เอกสารและบัญชีรายรับรายจ่ายของสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยให้ถูกต้องตามความเป็นจริง
(๙) ออกประกาศและให้คำรับรองเกี่ยวกับกิจการศาสนาอิสลาม
(๑๐) ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมทางศาสนา และการศึกษาศาสนาอิสลาม
(๑๑) ประสานงานกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องในกิจการที่เกี่ยวกับศาสนาอิสลาม
(๑๒) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
#มาตรา ๑๙ กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งมีวาระการดำรงตำแหน่งหกปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้
#หมวด ๔ คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด
#มาตรา ๒๖ ในจังหวัดที่มีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) ให้คำปรึกษาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับศาสนาอิสลามต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
(๒) กำกับดูแลและตรวจตราการปฏิบัติงานของคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดในจังหวัดและจังหวัดอื่นตามที่คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยมอบหมาย
(๓) ประนีประนอมหรือชี้ขาดคำร้องทุกข์ของสัปปุรุษประจำมัสยิดซึ่งเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด
(๔) กำกับดูแลการคัดเลือกกรรมการอิสลามประจำมัสยิดให้เป็นไปโดยเรียบร้อย
(๕) พิจารณาแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการอิสลามประจำมัสยิด
(๖) สอบสวนพิจารณาให้กรรมการอิสลามประจำมัสยิดพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๔๐ (๔)
(๗) สั่งให้กรรมการอิสลามประจำมัสยิดพักหน้าที่ระหว่างถูกสอบสวน
(๘) พิจารณาเกี่ยวกับการจัดตั้ง การย้าย การรวม และการเลิกมัสยิด
(๙) แต่งตั้งผู้รักษาการแทนในตำแหน่ง อิหม่าม คอเต็บ และบิหลั่น เมื่อตำแหน่งดังกล่าวว่างลง
(๑๐) ออกหนังสือรับรองการสมรสและการหย่าตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม
(๑๑) ประนีประนอมข้อพิพาทเกี่ยวกับเรื่องครอบครัวและมรดกตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลามเมื่อได้รับการร้องขอ
(๑๒) จัดทำทะเบียนทรัพย์สิน เอกสารและบัญชีรายรับ รายจ่าย ของสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดให้ถูกต้องครบถ้วนเป็นปัจจุบัน และรายงานผลการดำเนินงาน ฐานะการเงินและทรัพย์สินให้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยทราบปีละหนึ่งครั้งภายในเดือนมีนาคมของทุกปี
(๑๓) ออกประกาศและให้คำรับรองเกี่ยวกับกิจการศาสนาอิสลามในจังหวัด
#มาตรา ๓๕ คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) บำรุงรักษามัสยิดและทรัพย์สินของมัสยิดให้เรียบร้อย
(๒) วางระเบียบปฏิบัติภายในของมัสยิดเพื่อให้การดำเนินงานของมัสยิดเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
(๓) ปฏิบัติตามคำแนะนำชี้แจงของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดในเมื่อไม่ขัดต่อบัญญัติแห่งศาสนาอิสลามและกฎหมาย
(๔) สนับสนุนสัปปุรุษในการปฏิบัติศาสนกิจ ส่งเสริมให้เกิดความสามัคคีและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางที่ชอบตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม
(๕) พิจารณามีมติรับมุสลิมเข้าเป็นสัปปุรุษประจำมัสยิด
(๖) อำนวยความสะดวกและอบรมสั่งสอนให้สัปปุรุษประจำมัสยิดปฏิบัติศาสนกิจโดยถูกต้องเคร่งครัด
(๗) ประนีประนอมข้อพิพาทระหว่างสัปปุรุษประจำมัสยิดเมื่อได้รับการร้องขอ
(๘) จัดให้มีและรักษาสมุดทะเบียนสัปปุรุษประจำมัสยิด และตรวจตราแก้ไขเพิ่มเติมสมุดทะเบียนดังกล่าวให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง
(๙) จำหน่ายชื่อสัปปุรุษประจำมัสยิดออกจากทะเบียน เมื่อได้สอบสวนแล้วปรากฏว่าผู้นั้นกระทำการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม
(๑๐) จัดให้มีทะเบียนทรัพย์สิน เอกสาร และบัญชีรายรับรายจ่ายของมัสยิดให้ถูกต้องตรงความเป็นจริง และจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน และทรัพย์สินของมัสยิด แล้วรายงานให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทราบภายในเดือนมีนาคมของทุกปี
(๑๑) ดูดวงจันทร์และแจ้งผลการดูดวงจันทร์ต่อคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด
(๑๒) ส่งเสริมการศึกษาและจัดกิจกรรมที่ไม่ขัดต่อบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม
สรุป อำนาจหน้าที่ ของจุฬาราชมนตรี ้เป็นผู้นำศาสนาอิสลามในประเทศไทย เป็นผู้บัญชาการสูงสุดขององค์กรศาสนาอิสลาม ทั้ง กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย กรรมการอิสลามประจำจังหวัด และกรรมการอิสลามประจำมัสยิดทั่วประเทศ ในส่วนของมัสยิดที่จดทะเบียน ถูกต้องตาม พรบ.อิสลาม 40 สามารถให้คุณและโทษ กับ ผู้ใต้บังคับบัญชา ที่ฝ่าฝืนกระทำผิดได้ ภายใต้ กฏหมาย ที่ทางการให้อำนาจไว้
ดังนั้น การบังคับบัญชา หน่วยงานในสังกัด ไม่ว่าจะเป็น กอท./กอจ./กอม./ อำนาจ เป็นหน้าที่ จุฬาราชมนตรีในฐานะ ประธานคณะกรรมการอิสลามแห่งประเทศไทย ตามพรบ.อิสลาม 40 ในการเป็นผู้นำอิสลามทั้งที่ปรึกษาหน่วยงานราชการ และบริหารองค์กรศาสนาอิสลามทั่วประเทศในกิจการทั้งมวล ดัง พรบ ให้อำนาจดังกล่าว...
ชุมพล ศรีสมบัติ เรียบเรียง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
โปรดใช้วิจารณญานในการแสดงความคิดเห็น