#ชุมชนมุสลิมมัสยิดอัตตักวา ลงนามและประกาศใช้ ธรรมนูสุขภาพ
โดย ชุมพล ศรีสมบัติ
อิหม่ามคณะกรรมการและสัปปุรุษ์ชุมชนมุสลิมอัตตักวา จัดพิธีลงนามประกาศใช้ธรรมนูญสุขภาพ ฉบับที่ 1 พ.ศ.2560 ณ ห้องประชุมดารุตตักวา อิม่ามศุภมิตร ฟูอนันต์นำประกาศใช้ธรรมนูญ
นายภัทรพงค์ อิลาชาญ นักวิชาอิสระมุสลิม แกนนำในการขับเคลื่อน ในเรืองธรรมนูญสุขภาพในชุมชนมุสลิม กล่าวว่า การพัฒนาคนเพื่อให้คนพัฒนางาน พวกเรากำลังอยู่ระหว่างการเรียนรู้ เรื่องเครื่องมือธรรมนูญสุขภาพตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ เครื่องมือที่สร้างการมีส่วนร่วมในการนำเอาหลักการศาสนา ว่าด้วยเรื่องสุขภาวะมาปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม คล้ายการทำยุทธศาสตร์ชุมชนว่าด้วยเรื่องสุขภาพ
“ เรามีความตั้งใจจะนำผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดทำธรรมนูญสุขภาพอย่างมีส่วนร่วม มาจัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของสมาชิกในชุมชนมุสลิม หลังจากเรียนรู้ แล้วสมาชิกในชุมชนจะเป็นคนตอบคำถามว่าทำแล้วจะได้อะไร?.. แต่โจทย์คือ...ทำอย่างไรให้สมาชิกในชุมชนเปิดใจเรียนรู้ทำความรู้จักธรรมนูญ ”
หลายคนอาจมีคำถามว่า ในเมื่อมุสลิมมีอัลกุรอ่าน และซุนนะห์ เป็นธรรมนูญชีวิต แล้วเหตุใด…เราต้องมีธรรมนูญสุขภาพ
ขอยกตัวอย่างตามหลักการศาสนาที่ว่า “ความสะอาดเป็นส่วนหนึ่งของการศรัทธา” แต่เราจะมีวิธีการใดที่จะนำเอาหลักการดังกล่าวมาใช้ได้ อย่างเป็นรูปธรรมเป็นมรรคเป็นผล ในมิติสังคม ภายในชุมชนมุสลิมเองหลักการความเป็นพี่น้อง ที่บอกว่าเราคือ เรือนร่างเดียวกัน ส่วนหนึ่งส่วนใดเจ็บปวดส่วนอื่นก็เจ็บปวดด้วย
แต่ในสังคมมุสลิมเราเป็นเช่นนี้หรือไม่ เราทุกข์ร้อนกับทุกข์สุขของพี่น้องเราแค่ไหน
ดังนั้นหากคนในชุมชนได้มานั่งแลกเปลี่ยนพิจารณา เราก็จะมาทำแผนงานร่วมกันหรือสร้างข้อตกลงร่วมกัน ว่าทำอย่างไรจะเกิดความเป็นพี่น้องในชุมชนได้อย่างแท้จริง มีแนวทางปฏิบัติร่วมกัน หรือเชิงความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนต่างศาสนิก(ภายนอกชุมชน) หลักการศาสนาให้ทำดีกับมนุษย์ มนุษย์ที่ดีคือผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น และผู้อื่นก็หวังจะได้รับความดีจากเขา
ทำอย่างไรชุมชนมุสลิมจะนำหลักการดังกล่าว มาเป็นแผนปฏิบัติการที่จะสร้างชุมชนพหุวัฒนธรรม ที่ทำให้พี่น้องต่างศาสนิกได้รับประโยชน์ จากการเป็นหุ้นส่วนวัฒนธรรมกับชุมชนมุสลิม และอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขพึ่งพาอาศัยกัน ผมคิดว่าการทำ ธรรมนูญสุขภาพ จะเป็นคำตอบในการน้อมนำกิตาบุลลอฮ์และซุนนะห์ มาจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการแม่บทของชุมชน ทำให้เป็นหลักการที่มีชีวิตเหมือนในยุคสมัยท่านศาสดา
“ ดังนั้นการทำธรรมนูญ คือ การนำหลักการมาปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม แต่ไม่ได้เป็นการเคลื่อนของคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นการขับเคลื่อนทั้งสังคมชุมชน " นายภัทรพงค์ กล่าวและว่า
นี่เป็นคำถามส่งต่อชุมชนมุสลิม พวกเราได้เริ่มมีการจัดการชุมนุมในลักษณะเช่นนี้ บ้างหรือยัง?
ทั้งนี้ พื้นฐานคำสอนในอิสลาม เรามีคำสอนในเรื่องของการปกครอง ที่เรียกว่า สภาชูรอ ซึ่งมีการบริหารผ่านคำว่า “ศรัทธา” ถือได้ว่าลึกมากในศาสตร์ของการปกครอง คำสอนในเรื่อง ความสะอาด ซึ่งครอบคลุมในพื้นฐานของการดำเนินชีวิตทุกเรื่อง ดั่งที่ว่า ความสะอาดก็เป็นส่วนหนึ่ง หรือ บ้างก็กล่าวว่า เป็นครึ่งหนึ่งของการศรัทธา
ขณะเดียวกันหากมองในเรื่องการการบริโภคสิ่งที่ดี เราก็มีเรื่องของ “ฮาลาล ตอยีบัน” ไม่เพียงเท่านั้น การดูแลและปฏิบัติดีต่อเพื่อนบ้าน การดูแลคนยากจน เราก็มี “ระบบซะกาต” การให้ทานหรือซอดาเก๊าะ การมอบของกำนันฮาดียะห์ มาเป็นเครื่องมือสำคัญในการหนุนนำในการดูแลกันและกัน
การอยู่กับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม หรือ แม้นกระทั้งการเก็บสิ่งกีดขวางออกจากทางเดิน ก็ถูกนับให้เป็นหนึ่งในอิหม่าน หรือ ความศรัทธา สิ่งดีๆ มากมายล้วนแต่ถูกบรรจุไว้ในแบบอย่างของท่านศาสดา
สิ่งที่ได้รับจากการการร่วมกันร่างและประกาศใช้ธรรมนูญสุขในครั้งนี้ จึงเป็นความท้าทาย ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน โดยเฉพาะตัวของเราที่เรียกตัวเองที่เรียกว่า“มุสลิม”
เหล่านี้ คือ ความท้าทาย และจะต้องทำการบ้านอย่างหนัก เพื่อจะทำเช่นไรจึงจะนำความสมบรูณ์ของอัลอิสลาม ทำให้เป็นรูปธรรมได้ในที่สุด
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
โปรดใช้วิจารณญานในการแสดงความคิดเห็น