ประวัติโดยสังเขป 5 มัสยิดตอนบน อำเภอฝาง อ.แม่อาย

ประวัติโดยสังเขป 5 มัสยิดตอนบน อำเภอฝาง อ.แม่อาย

   


    ใน จังหวัดเชียงใหม่
มีมุสลิมที่มีเชื้อสายจีน ซึ่งส่วนใหญ่อพยพมาจากมณฑลยูนนาน (ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน;) นับตั้งแต่ช่วงกลางศตวรรษที่ 19 และปัจจุบันได้อาศัย กระจายตามที่ต่างๆ ของอำเภอฝาง อำเภอแม่อาย และอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่มีมัสยิดที่เป็นศูนย์กลางของชุมชนมุสลิมจีน ในเขตอำเภอฝางและอำเภอแม่อาย ๕ มัสยิดได้แก่


    1. มัสยิดอัลเอี๊ยห์ซาน ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านยาง ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง
    2. มัสยิดอัลอีมาน ตั้งอยู่ในตัวอำเภอฝาง
    3. มัสยิดอัลอักซอ ตั้งอยู่บนดอยอ่างขางตำบลแม่งอน อำเภอฝาง
    4. มัสยิดอัสซะฮาดะฮ์ ตั้งอยู่หัวฝาย ตำบลโปร่งน้ำร้อน อำเภอฝาง
    5. มัสยิดอัลเราะฮ์มะ ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อายนบ้านยาง เป็นชุมชนที่มีบรรพบุรุษคนจีนยูนนานที่อพยพเข้ามา
    หลัง จากการปฏิวัติประเทศจีนได้ประสบความสำเร็จในปี ค.ศ. 1949 ภายใต้การนำของท่านเหมาเจ๋อตุง ซึ่งถือว่าพรรคคอมมิวนิสต์จีนประสบชัยชนะอย่างเด็ดขาดเหนือพรรคก๊กมินตั๋ง (KMT) หรือพวกจีนคณะชาติ ทำให้ทหารกองพล 93 ของจีนคณะชาติต้องถอยร่นลงมาอยู่ตามแนวชายแดนไทย-พม่า และต่อมาส่วนหนึ่งได้เดินทางไปอยู่ที่ประเทศไต้หวัน อีกส่วนหนึ่งปักหลักอยู่ทางภาคเหนือของไทย ซึ่งรัฐบาลได้จัดสถานที่เป็นศูนย์ผู้อพยพอยู่ประมาณ 50 กว่าศูนย์ในภาคเหนือ
    (สุชาติ เศรษฐมาลินี หนังสือครบรอบ ๘๐ ปี มัสยิดเฮดายาตุ้ล (บ้านฮ่อ)
      
   1.ประวัติมัสยิดอัลเอี๊ยะซานบ้านยาง

            มัสยิดอัลเอี๊ยะซานบ้านยาง ตั้งอยู่หมู่ที่ 12 ของตำบล   แม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ มีประชากรประมาณ 200 ครัวเรือน ส่วนใหญ่เป็นลูกหลานชาวจีนอพยพจากมณฑลยูนนาน ประเทศจีน มีความหลากหลายในการนับถือศาสนา เช่น พุทธ ศริสต์ และอิสลาม ต่างก็อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข มีการพึงพาอาศัยกันให้ความร่วมมือและช่วยเหลือกันเหมือนเครือญาติ

   



          มัสยิดอัลเอี๊ยะซานเริ่มก่อตั้งในปี 2492 หรือประมาณ 56 ปีมาแล้ว โดยผู้ร่วมก่อตั้งคือบรรพบุรุษชาวจีนที่นับถือศาสนาอิสลาม ที่อพยพมาจากประเทศจีน ซึ่งมีประมาณ 30 ครัวเรือน ได้ร่วมกันบริจาคสร้างมัสยิดโดยพื้นที่กว้างประมาณ 11 ไร่      

        โดยในครั้งแรกได้สร้างเป็นเรือนไม้ และต่อมาเมื่อมีผู้ศรัทธาบริจาคเพิ่มก็ได้เปลี่ยนเป็นอาคารดังที่ปรากฏใน ปัจจุบันนี้ ได้รับการจดทะเบียนอย่าเป็นทางการเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2520 จุดประสงค์คือเป็นศูนย์รวมทางจิตใจและใช้เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจของพี่ น้องชาวไทยมุสลิม


      ปัจจุบันมี สัปบุรุษที่นับถือศาสนาอิสลามในหมู่บ้านประมาณ 56 ครัวเรือน โดยมีการบริหารงานโดยคณะกรรมการที่ได้รับคัดเลือกมาจากสัปบุรุษในหมู่บ้าน และได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด คณะกรรมการชุดปัจจุบันนี้ ได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2547 มีรายชื่อดังนี้  
      นายอวยชัย  มานิตย์วิรุฬห์  อีหม่ามมัสยิดอัลเอี๊ยซานบ้านยาง  
     นาย กิติคุณ สุริย  คอเต็บ  นาย เจริญ จำนงค์  บิหลั่น
            

   มัสยิดอัสสอาดะฮ์หัวฝาย  ต. โปร่งน้ำร้อน  อ.ฝางเชียงใหม่       

            หมู่บ้านหัวฝาย หมู่ที่ 3 ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ มี 222 ครอบครัว มีประชากรทั้งหมด 418 คน ในจำนวนนี้มีผู้นับถือศาสนาอิสลาม 25 ครอบครัว มีประชากร 102 คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 24.40 ของประชากรทั้งหมู่บ้าน                                         

   


       
         โดย พื้นฐานวิถีชีวิตด้านสังคม พบว่า มุสลิมในบ้านหัวฝายอพยพมาจากมณฑลยูนนาน ประเทศจีน ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2495 โดยที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเช่น การทำสวนหอมหัวใหญ่ กระเทียม สวนส้มสายน้ำผึ้ง ทำนาข้าว ทำสวนพริก มีการรวมกลุ่มกันจัดตั้งและเป็นสมาชิกสหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่ฝาง และศูนย์ฟื้นฟูคุณภาพชีวิต มีความสัมพันธ์ที่ดีทั้งภายในครอบครัว ภายในชุมชน และเพื่อนบ้าน    

        

      นอกจากนี้คณะกรรมการมัสยิดอัสอาดะฮ์มีการบริหารงานเป็นอย่างดี โดยมีพื้นฐานมาจากความมีคุณธรรม อีกทั้งมีศาสนสถานที่สำคัญ คือ มัสยิด เพื่อใช้ในการประกอบศาสนกิจและจัดกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดจนภายในบ้านหัวฝายยังมี โรงเรียนบ้านหัวฝาย (สพฐ.) โรงเรียนสอนภาษาจีน(เอกชน) โรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม และโรงเรียนสอนท่องจำคัมภีร์อัลกุรอาน ซึ่งทำให้มุสลิมในบ้าน หัวฝายมีความรู้ทั้งตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ด้านภาษาจีน และด้านศาสนา มีความรู้คู่คุณธรรม

         (งานวิจัยของ นายภาคินวัฒนช์ สุทธิผุย (Pakinnawat Suttipui)*เศรษฐกิจพอเพียงกับวิถีชีวิตของมุสลิมในบ้านหั
รายชื่อคณะกรรมการมัสยิด


อีหม่าม นายยงยุทธ ยาณะ
คอเต็บ
บิหลั่น  
คณะกรรมการ

   มัสยิดอัลเราะมะ บ้านท่าตอน อ.แม่อายเชียงใหม่   


         บ้านท่าตอน ต.ท่าตอน อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ เป็นเมืองที่ติดชายแดนพม่าเพียงแต่คุณข้ามเขาไปนิดเดียว กิโลแม้ว คุณก็จะเข้าสู่อีกประเทศหนึ่ง เสน่ห์ของท่าตอนยังคงหลงเหลือ ให้กับคุณ ๆ ได้ไปสัมผัสกับธรรมชาติ สายลม แม่น้ำ เสียงนกร้อง ที่รอคุณ ๆ เข้าไปเยี่ยมชมความงดงามของเมืองที่ฮอมล้อมไปด้วยภูเขา และแม่น้ำ  

 
       มัสยิดนี้เป็นมัสยิด ที่เป็นมุสลิมจีนเป็นส่วนใหญ่ บรรพบุรุษอพยพมาจากมณฑลยูนนาน ประเทศจีน อายุของชุมชนมุสลิมแห่งนี้ คุยกับคนเฒ่าคนแก่ในหม่บ้านเขาบอกว่าน่าจะอยู่ราวไม่ต่ำกว่า ๕๐ ปี มีประชากรที่เป็นมุสลิมทั้งหมด๓๘ ครอบครัว ๑๗๐ โดยประมาณ อาชีพส่วนใหญ่ ๙๕ เปอร์เซนต์เป็นเกษตรกร ปลูกกระเทียม ข้าวโพด และอื่นบ้างเล็กน้อย
   


   อิหม่าม และ คณะกรรมการมัสยิด  
      พ.ท.มนัส  ขันฑมาส  เป็นอีหม่ามมัสยิด  
   คอเต็บ
   บิหลั่น 
   รายนามคณะกรรมการมัสยิด

        มัสยิดดอยอ่างข่าง  หรือมัสยิดอัลอักซอ ตั้งอยู่บนดอยอ่างขางตำบลแม่งอน อำเภอฝาง

 
  เชียงใหม่ มีมุสลิมที่มีเชื้อสายจีน ซึ่งส่วนใหญ่อพยพมาจากมณฑลยูนนาน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน) นับตั้งแต่ช่วงกลาง ศตวรรษที่ 19 และปัจจุบันได้อาศัย กระจายตามที่ต่างๆ ของอำเภอฝาง อำเภอแม่อาย และอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
    ประวัติการก่อตั้งมัสยิดยังไม่มีผู้รวบรวม อินชาอัลลอฮฺ จะนำมาเสนอในโอกาสต่อไป   


   ประวัติมัสยิดอัลอิมาน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ 

   
         มัสยิดอัลอิมานฝาง ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2518 ซึงประชาชนชาวมุสลิมอำเภอฝางได้ร่วมกันบริจาคเงินโดยการนำของนายไสว หน่อเจริญ เพื่อชื้อที่ดินสำหรับสร้างมัสยิดแต่เงินที่ได้รับการบริจาคได้ไม่พอที่จะ ซื้อ จึงได้ขอบริจาคไปยังกลุ่มมุสลิมทั่วประเทศ ได้รับบริจาคมาสามารถซื้อที่ดินได้ 2 แปลง คือ แปลงที่ 1 มีเนื้อที่1 งาน 86 ตารางวา โฉนดเลขที่16296 ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ต.เวียง อ.ฝาง แปลงที่ 2 มีเนื้อที่ 2 งาน 38 ตารางวา โฉนดเลขที่ 15879 ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ต.เวียง อ.ฝาง ได้รับโฉนดวันที่ 16 พ.ย. 2532 ที่ดินทั้งสองแปลงมีระยะห่างกันเพียง 500 เมตร



      หลังจากที่สร้างมัสยิดในที่ดินแปลงแรกซึ่งเป็นอาคารไม้ โดยใช้ชื่อมัสยิด ดุลมะอ์มูรุบิลคอยรอตุ จดทะเบียนหมายเลขทะเบียนที่ 7/2514 โดยมีอิหม่ามคนแรกในมัสยิดหลังนี้ชื่อ นายเจ่งเว่ง แซ่ซือ คอเต็บ นายเว่นซึง แซ่ม้า บิหลั่น นายมาตะเลียง แซ่ม้าใช้การได้ประมาณ 3 ปี ก็มีปัญหาเกี่ยวกับการประกอบศาสนกิจ เพราะสถานที่แออัดและต้องรบกวนสถานที่ผู้อื่นเสมอ ดังนั้นจึงได้พร้อมใจกันก่อตั้งมัสยิดแห่งใหม่ขึ้นในที่ดินแปลงที่ 2 เป็นอาคารตึกถาวร มีสถานที่กว้างขวางมากพอที่จะประกอบศาสนกิจได้โดยไม่ต้องเดือดร้อนต่อสภาพ แวดล้อมโดยทั่ว ๆ ไป

        ในการก่อสร้างมัสยิดแห่งใหม่นี้ ได้รับการช่วยเหลือจากชาวมุสลิมทั่วประเทศเป็นทุนสนับสนุนการก่อสร้าง โดยแล้วเสร็จ ได้จดทะเบียนมัสยิด เลขหมายทะเบียนที่ 7/2514 ณ ที่ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2521 ผู้ดำรงตำแหน่งอิหม่ามคนแรกของมัสยิดคือ นายไสว หน่อเจริญ ปัจจุบันมีคณะกรรมการดำเนินงานตามรายชื่อคือ
   นายสุจินต์ อธิกอัจฉริย อิหม่าม
   นายดวงดี กัจฉปาวตาร คอเต็บ
   นายวันชัย อารยะชุตินันท์ บิหลั่น
   นายพงพันธ์ พุทธนันท์ กรรมการ
   นายสุทัศน์ รังสี กรรมการ
   นายสมศักดิ์ เปรมวิชัย กรรมการ
   นายสรุศักดิ์ สว่างวรรณ กรรมการ
   นายชาญณรงค์ บุญช่วย กรรมการ
   นายเจนวิทย์ แซ่ม้า กรรมการ
   
   ต่อพี่น้องมุสลิมอำเภอฝาง ได้ร่วมกันบริจาคเงินเพื่อซื้อที่ดินขึ้นมาอีก 1 แปลง โฉนดเลขที่ 24460 ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ต.เวียง อ.ฝาง มีเนื้อที่ 2 ไร่ 08 ปัจจุบันมีประชาชนชาวมุสลิมอำเภอ ฝางมีทั้งหมด 27 หลังคาเรือน160 คน แบ่งเป็นชาย 75 คน หญิง 85 คน อาชีพค้าขายและทำ
   สวน ส่วนใหญ่เป็นคนไทยเชื้อสายจีน
ที่มาประวัติมัสยิด อัลอีมานวารสารอัลอิมาน
AL-IMANI NEWS LETTER
ปีที่ 1 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนสิงหาคม 2549
อิหม่าม ศุหัยบ์ เรียบเรียง
อ.สันท์ชัย นัยติ๊บ พิมพ์
นายชุมพล ศรีสมบัติ ภาพ
สนับสนุนโดย โรงเรียนธนาเทคโนโลยี เชียงใหม่


รายงานโดย นายชุมพล ศรีสมบัติ
      
มุสลิมเชียงใหม่นิวส์
www.muslimchiangmai.net

ความคิดเห็น