วิถีในอดีตการหาคู่แต่งงานชุมชนมุสลิมบ้านปิงหลวง

 นิราศชุมชนมุสลิมบ้านปิงหลวง

      โอ้เวียงพิงค์ดังเวียงสวรรค์   สวยกว่าถ้อยคำเสกสรร

ที่พรรณาเปรียเปรย

แดนไหนอื่นหมื่นแสนบ่แม้นได้เลย…

โดย ชุมพล  ศรีสมบัติ

      ในเวียงพิงคหรือนครเชียงใหม่ยังซ่อนความงดความในเรื่องของความหลากหลาย ความรักของหนุ่มสาว ที่มีการแต่งงานผ่านผู้หลักผู้ใหญ พ่อแม่

      ชุมชนมุสลิมบ้านปิงหลวง มีตำนาน เรื่องนี้เช่นกัน เราเข้าไปดูบริบทในยุคก่อน "ลูกเขย ชุมชนมุสลิมบ้านปิงหลวง"

      ลูกเขยลาซอนสายจีนยูนนาน

สองหนุ่มพร้อมท่านพ่อของท่าน รวมสามคน เมื่อ เจ็ด-แปด สิบปีที่แล้วเดินทางจากมลฑลยูนนาน จากสิบสองปันนา เข้าพำนักค้าขายอยู่พม่าพักหนึ่ง เดินทางต่อเข้าสู่จังหวัดเชียงใหม่ คนขวามือ มีนามว่า ม้าเสอหยิ่ง คนซ้ายมือ นามม้าเสอช่าย เข้าค้าขายในจังหวัดเชียงใหม่ ในช่วงรุ่งเรือง สองหนุ่มชาวจีนมุสลิม พอตั้งหลักปักฐานได้แล้ว สิ่งที่ต้องการขั้นต่อไป คือครอบครัว อันเป็นความจำเป็นที่ต้องสืบลูกสืบหลานรักษาเผ่าพันธ์ตนเอง

        ชุมชนมุสลิมหนองแบนหรือบ้านปิงหลวงในครั้งกระโน้น ถือได้ว่าเป็นแหล่งผลิตสาวงามที่นับถือศาสนาอิสลาม สิ่งนี้จึงเป็นเหตุให้พี่น้องมุสลิมที่อพยพเข้าสู่จังหวัดเชียงใหม่ทุกชาติพันธ์ในยุคนั้น เวลาจะแต่งงานจะมีครอบครัวจำเป็นต้องเลือกคนที่มีความเชื่อเหมือนกันไว้ก่อน เป้าหมายเพื่อรักษาตัวเองและศาสนาส่งต่อสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน

      ชื่อเสียงของหมู่บ้านแห่งนี้จึงถูกร่ำลือและขจรขะจายไปทั่วเมืองล้านนา ชายมุสลิมที่อยากสร้างครอบครัวทั้งหลายจึงหลั่งใหลเข้าสู่ชุมชนแห่งนี้ จนมีลูกเติมบ้านหลานเต็มเมืองเชียงใหม่ และขอบขันฑเสมาแห่งเมืองล้านนา

      สองหนุ่มชาวจีนมุสลิม ที่กล่าวมาข้างต้นก็เช่นกัน ก็เดินทางเข้าสู่นครแบนเพื่อเป้าหมายดังกล่าว ม้าเสอหยิ่ง พบ กับ นางสาวจันทร์หอม ลูกแม่อู้ยยวง หลานแม่อู๊ยใส ซึ่งในยุคนั้น ความงามของแม่นางจันทร์หอม ก็ไม่เป็นสองรองใครในหมู่บ้าน และก็สามารถพิชิตใจแม่นางจันทร์หอมได้ในที่สุด มีบุตรด้วยกัน หนึ่งคน คือ พี่ปัทของเรา ปฏิมา สุริยะวงค์ ส่วน ม้าเสอช่าย ผู้เป็นน้องชาย ก็ได้แต่งงาน อยู่กินกับคุณแม่บัวจันทร์ ลูกสาวแม่อู๊ยนวลซึ่งเป็นน้องสาวแม่อู๊ยใส  สาวงามแห่งบ้านปิงน้อยเช่นกัน แต่สายของแม่บัวจันทร์เป็นพี่น้องชาวพุทธ ซึ่งต่อมาเข้ารับนับถืออิสลาม มีบุตรด้วยกัน 5 คน เป็นชายล้วน หนึ่งในห้าคือผมเอง อ้ายโต โกโต คนเมืองบ้านปิงน้อยเรียกการีม 

          ปัจจุบันท่านทั้งสอง และภรรยา ได้กลับคืนสู่พระเมตตาของอัลลอฮ์แล้ว


           เรื่องราวของชุมชนมุสลิมแห่งนี้ มีหลากหลายมุมมองที่น่าสนใจ ที่น่าส่งต่อลูกหลานคนหนองแบนให้เกิดภาคภูมิใจในชาติกำเหนิดของตนเอง มุสลิมหนองแบน จึงไม่ธรรมดา และเป็นสิ่งที่สมควรส่งต่อสู่สาธารณะให้ได้รับรู้

      ผมก็เป็นหนึ่งในลูกหลานชาวจีนมุสลิมที่เดินตามรอยเท้าบรรพชน นอกจากผมชอบบ้านหนองแบนแล้ว ยังชอบสาวหนองแบนและสุดท้ายก็ตามรอยบรรพชน คือได้แต่งงานกับสาวหนองแบนเช่นกัน

    วันนี้ภาพเหล่านี้เริ่มบางตาลง อาจเป็นเพราะยุคสมัยแห่งเทคโนโลยี่ การปรับตัวไม่ทันของผู้ตน ความงดงามแห่งชุมชนแห่งนี้ ก็ค่อย ๆ เลือนหายไป หากพวกเราชาวนครแบนไม่ช่วยกัน

ความคิดเห็น