ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทบาทของ “สตรีมุสลิมชาวหุย” ในประเทศจีนยุคใหม่

 

บทบาทของ “สตรีชาวหุย”


มัสยิดสไตล์จีนที่อำเภอถงซิน มณฑลหนิงเซี่ย

    ศาสนา อิสลามให้ความสำคัญของบุรุษและสตรีเท่ากัน มีความแตกต่างเล็กน้อยตามหน้าที่การงานที่รับผิดชอบ ภายใต้สรีระที่มีความแตกต่างกัน ภายใต้การผสมผสานกันของวัฒนธรรมอิสลามกับวัฒนธรรมจีนในอดีตนั้นทำให้บทบาท ของผู้หญิงในแวดวงสังคมมีไม่มาก เพราะสตรีอิสลามมีบทบาทหน้าที่หลังม่านเป็นหลักและวัฒนธรรมจีนในอดีตนั้น เป็นวัฒนธรรมที่ให้ความสำคัญกับสังคมผู้ชายมากกว่าสังคมผู้หญิง

หลัง จากที่ราชวงค์ชิงซึ่งเป็นราชวงค์สุดท้ายของจีนล่มสลายในปีค.ศ.1911 สังคมจีนต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง โจทย์ทางด้านการปกครองประเทศเป็นโจทย์อันใหญ่หลวงสำหรับแผ่นดินจีนในช่วง เวลาดังกล่าว นอกจากปัญหาทางทางด้านการปกครองแล้ว จีนต้องเผชิญกับการรุกรานของชาวญี่ปุ่นก่อนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 การรุกรานของญี่ปุ่นภายใต้ปัญหาทางด้านการปกครองของทางรัฐไม่นิ่ง จึงทำให้ประชาชนทั่วประเทศจีนต้องทำหน้าที่ลุกฮือขึ้นมาเพื่อต่อต้านการ รุกรานของทหารญี่ปุ่น
การ รุกรานของทหารญี่ปุ่น ไม่เพียงแต่ประชาชนทั่วไปมีส่วนร่วมเท่านั้น แม้แต่กลุ่มชนชาติต่างๆ ในจีน ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชายทุกกลุ่มคนต้องรวมกันต้านญี่ปุ่น เช่นผู้หญิงชาวมองโกล ผู้หญิงชนชาติเกาหลี และช่วงนี้ผู้หญิงชาวหุยก็ได้มีส่วนร่วมในการต่อต้านการรุกรานของญี่ปุ่น

ช่วง ค.ศ. 1938 บริเวณมณฑลการซู หนิงเซี่ยและชิงไห่ ได้มีการรวมตัวของกลุ่มชนชาติชาวหุยเพื่อเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ที่นครเม กกะฮ์ ประเทศซาอุดิอาระเบียรวมทั้งหมดมีจำนวน 115 คน ประกอบด้วยผู้หญิงชาวหุย 10 กว่าคน ตัวแทนทั้งคณะได้แถลงการณ์ต่อว่าการรุกรานของชาวญี่ปุ่นต่อมุสลิมที่มาจาก ทั่วโลกจำนวนหนึ่งแสนห้าหมื่นคน โดยกล่าวถึงผลเสียที่ญี่ปุ่นรุกรานจีนเป็นหลัก

ใน ปีนี้เอง ได้มีการก่อตั้งสมาคมกู้ชาติชาวหุย เดิมทีการจัดตั้งสมาคมดังกล่าวมิได้ระบุหน่วยงานที่เกี่ยวกับสตรี มีผู้หญิงชาวหุยที่ชื่อว่าถงเต้าหยินเป็นตัวแทนในการกล่าวถึงความสำคัญของ ผู้หญิง ในที่สุดทางการจึงอนุญาตให้มีคณะทำลานของผู้หญิง โดยรับผิดชอบสำรวจจำนวนประชากรผู้หญิงชาวหุยทั้งประเทศ รวมทั้งดูแลการศึกษา เศรษฐกิจ ฐานะทางด้านสังคมของผู้หญิงชาวหุย ภารกิจต่อมาคือผู้หญิงชาวหุยรวมตัวกัน จัดตั้งหน่วยงานสวัสดิการขึ้น เพื่อดูแลผู้ได้รับบาดเจ็บหรือล้มเจ็บจากการต่อต้านการรุกรานของทหารญี่ปุ่น จำนวนผู้ช่วยทางด้านสวัสดิการของผู้หญิงชนชาติหุยนั้นมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่าง รวดเร็ว เป็นจำนวน 120 ราย เป็นการทำหน้าที่“พยาบาล”อย่างทันใช้เลยทีเดียว ท่านประธานเหมาถึงได้พูดอย่างภาคภูมิใจว่า “การต่อต้านญี่ปุ่น ถ้าผู้หญิงจำนวนครึ่งหนึ่งไม่ลุกฮือขึ้นมาช่วยกัน จีนก็คงไม่ชนะการรุกรานของญี่ปุ่น”

หลัง จากการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน ทางรัฐบาลได้ดำเนินนโยบายทางด้านต่างๆ โดยเฉพาะหนึ่งในนโยบายนั้นคือการปลดปล่อยสตรี นโยบายดังกล่าวเป็นนโยบายที่ทางรัฐบาลพยายามลดการจำกัดสิทธิ์เสรีภาพของผู้ หญิงทางด้านต่างๆ โดยเฉพาะฐานะทางด้านสังคมและสิทธิพื้นฐานทั่วไป ทั้งเป้าหมายของการดำเนินนโยบายดังกล่าวคือ ให้ผู้หญิงมีฐานะทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษาและทางสังคม ทั้งนี้สิ่งที่ทางรัฐบาลได้ให้สิทธิ์ในการยกเลิกระบบคลุมถุงชน ซึ่งเป็นจารีตที่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติมานานปี นโยบายของทางรัฐบาลจีนจึงเป็นนโยบายที่เปิดเสรีภาพให้กับผู้หญิงอย่างรอบ ด้าน ทว่าการเปิดกว้างของรัฐบาลกับจารีตธรรมเนียมปฏิบัติของชาวหุย ไม่ได้สอดคล้องกันเลยทีเดียว แล้วผู้หญิงชาวหุย มีการปรับตัวกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปอย่างไรบ้างหล่ะ

muslimchina2ห้องเรียนโรงเรียนสอนผู้หญิงชาวหุย

มณฑล หนิงเซี่ยเป็นมณฑลปกครองชาวหุยที่มีชาวหุยมาถึงร้อยละ 35 อำเภอถงซินเป็นอำเภอที่มีชาวหุยมากที่สุด ประชากรร้อยละ 83 ชาวถงซิน โดยปกติแล้วชาวถงซินจะประกอบปศุสัตว์และอาชีพค้าขาย เนื่องด้วยประชากรส่วนมากเป็นชาวหุย จึงมีการศึกษาและพัฒนาเอกลักษณ์ของตัวเองอยู่เสมอ

หลัง จากการปฏิรูปทางด้านเศรษฐกิจในปีค.ศ. 1978 รัฐบาลส่งเสริมการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ ชาวหุยจึงมีโอกาสไปค้าขายยังเมืองต่างๆ ทั่วประเทศจีน ปีค.ศ. 1990 ชาวหุยในเมืองถงซินมีโอกาสไปค้าขายที่เมืองเปาโถว มณฑลมองโกลเลียใน แล้วไปพบโรงเรียนสอนศาสนาสำหรับผู้หญิงชาวหุย แล้วนักการค้าผู้นี้ก็นำรูปแบบของโรงเรียนที่มองโกลเลียมาจัดตั้งโรงเรียน สอนศาสนาสำหรับผู้หญิงชาวหุย ซึ่งปัจจุบันมีทั้งอำเภอถงซินมีโรงเรียนทั้งหมด 4 แห่ง

จริงๆ แล้ว โรงเรียนสอนศาสนาสำหรับผู้หญิงชาวหุยในจีน เกิดขึ้นมาค่อนข้างนานแล้ว แต่มักจะกระจายอยู่ที่ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีน บางพื้นที่เรียกโรงเรียนเหล่านี้ว่า“มัสยิดสตรี”
เมื่อ โรงเรียนสอนศาสนาเริ่มเกิดที่อำเภอถงซิน ในช่วงเริ่มต้นนั้น มีการจัดการเรียนการสอนความรู้ทางด้านศาสนาให้กับแม่บ้านและคนชราวัยเกษียณ อายุราชการ เมื่อโรงเรียนมีการขยับขยายขึ้น ก็เริ่มมีการรับนักเรียนหญิงเข้าเรียน ปัจจุบัน โรงเรียนสอนศาสนาสำหรับผู้หญิงแห่งหนึ่งในอำเภอถงซินมีนักเรียนหญิงทั้งหมด 300 คน นักเรียนเหล่านี้ส่วนมากจะเป็นนักเรียนกินนอน และจะต้องจ่ายค่าเล่าเรียนปีละ 300 หยวน( ประมาณ 1500 บาท ) ค่าอาหารเดือนละ 60 หยวน(ประมาณ 300 บาท )

เมื่อ เดินเข้าไปโรงเรียนสอนศาสนาชาวหุยเหล่านี้ สิ่งที่พบเห็นได้อย่างถนัดตาเลยคือการแต่งการที่ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม ของนักเรียนหญิงชาวหุย สวมเสื้อแขนยาวกระโปรงบายและคลุมฮิญาบเรียบร้อย นอกจากทางด้านกายภาพแล้วนักเรียนที่อยู่ในรั้วโรงเรียนสามารถปฏิบัติศาสนกิจ ได้อย่างครบถ้วน ไม่มีขาดตกบกพร่อง เนื้อหาที่เด็กนักเรียนหญิงร่ำเรียนนั้นประกอบด้วยรายวิชาที่คอรบคลุมความ รู้ทางด้านศาสนาต่างๆ เช่นความรู้พื้นฐานทางด้านภาษาอาหรับ หลักชาริอะฮ์ เนื้อหาของคัมภีร์อัล-กุรอานและอัล-หะดิษเป็นต้น

มี นักมานุษยวิทยาชาวจีนได้ออกแบบสำรวจสถานการณ์การปรับตัวของนักเรียนหญิงใน รูปแบบต่างๆ รูปแบบที่นักวิชาการท่านนี้ใช้ในการเก็บข้อมูลนั้นมีทั้งแบบสัมภาษณ์ ออกแบบสอบถาม หรือการสังเกตแบบมีส่วนร่วม เมื่อถามถึงโอกาสที่จะได้ปฏิบัติศาสนกิจแบบเป็นกลุ่มหลังจากที่จบแล้ว มีมากน้อยเพียงไร มีร้อยละ26 ตอบว่า“ไม่ทราบ” ถ้ามีโอกาสศึกษาต่อในรายวิชาสามัญต่างๆ มีความประสงค์ที่จะเรียนต่อหรือไม่ ร้อยละ 52 ตอบว่าอยากเรียนต่อ

แม้ว่า ปัจจุบันนี้ การปกครองสังคมนิยม(แบบพิเศษ)ของจีน จะให้ความสำคัญทางด้านการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นหลัก ทว่ารัฐบาลจีนก็มิได้ปิดกั้นการให้โอกาสทางด้านการศึกษา และการสรรหาความรู้ของผู้หญิงชาวหุยมิได้หยุดนิ่ง แต่กลับมีแนวโน้ม ในการแสวงหาความรู้เพิ่มเติมมากกว่า

สมดังวจนะของท่านศาสดาบีมุฮำหมัดที่ว่า“จงศึกษาตั้งแต่อยู่ในเปลจนถึงหลุมฝังศพ”

แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
– การต่อต้านการรุกรานทหารญี่ปุ่นของผู้หญิงชาวหุย วารสาร เฮยหลงเจียง
– http://baike.baidu.com/link?url=xYjHA7V1M_0TJ0_3qq23cCeoJeKxTmeknuk0EsSMKS2ZFqm5MMrMIE2TKNEQ3Kor

 คัดลอกบทความจากhttps://www.publicpostonline.net/1819


ความคิดเห็น