การอพยพเคลื่อนย้ายของชาวมุสลิมสู่เมืองลำพูน แดนเจ้าแม่จามเทวี
โดย ชุมพล ศรีสมบัติ
มุสลิมลำพูนบ้านหลังนี้มีตำนานเล่าขานการเข้ามาอยู่ของมุสลิมในจังหวัดลำพูน
มากินบุญที่ลำพูน บ้านหลังนี้ อายุประมาณไม่ต่ำกว่าเจ็ดสิบปี สร้างขึ้นมาแทนบ้านไม้หลังเก่า รวมอายุ ประมาณ ร้อยกว่าปี
การอพยพเพื่อสร้างหลักปักฐานของผู้คน เป็นวิถีหนึ่งของมนุษย์ เพื่อต้องการความมั่นคงของชีวิต ทุกเชื้อชาติศาสนา ในจังหวัดลำพูน ก็เช่นกัน ก็มีหลายกลุ่ม หลายชาติพันธุ์ ในแถบล้านนาของประเทศไทยเมืองลำพูนเป็นอีกเมืองที่มีควาหลากของผู้คนหลายเผ่าหลายชาติพันธุ์ ไมว่าจะเป็น ลัวะ ปกาเกอะญอ (กะเหรี่ยง) พม่า (ม่าน) เป็นต้น แต่กลุ่มชาติพันธุ์ที่มีจำนวนมาก ที่สุดในเมืองลำพูนคือประมาณร้อยละ 80 ของทั้งหมดประชากรนั่นก็คือของคนยอง(อ่านต่อคนยองมาจากไหนได้ที่https://mgronline.com/travel/detail/9540000145872)
#มุสลิมจากจิตตะกอง ประเทศบังคลาเทศ ก็เป็นกลุ่มหนึ่งที่อพยพเข้ามาทำมาค้าขายในจังหวัดลำพูน อาชีพหลักของพวกเขาคือการขายเนื้อควาย เล่ากันว่า บรรพชนของมุสลิมลำพูน เดินทางจาก ประเทศบังคลาเทศ ผ่านพม่า เข้ามาทางอำเภอแม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ผ่านฮอด เข้าสู่เชียงใหม่โดยการเดินเท้า หรือวัวต่างตามกำลังความสามารถของแต่ละคน สู่ชุมชนมุสลิมช้างคลาน ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นศูนย์กลาง หรือจุดเริ่มต้นของมุสลิมอพยพ จากนั้นจึงกระจายตัวไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ในล้านนา เป็นยุคที่เมืองล้านนามีเจ้าเมืองปกครองทุกหัวเมือง ยังไม่ได้ขึ้นหรือควบรวมกับสยามดังปัจจุบัน
คุณจีระชัย ศรีจันทร์ดร หนึ่งในลูกหลานมุสลิมสายนี้เล่าให้ฟังว่า
"เดิมทีครอบครัวของเรา มาจากอำเภอสันป่าตองบ้านกิ่วแลหลวง ต้นตระกูล เรา มีทวด ชื่ออาลีเมียร์เป็นพี่น้อง กับ บาบูที่อาศัยอยู่ที่ อำเภอดอยสะเก็ด(สามีป้าคำมูล ที่ยกที่ดินให้สร้างสุเหร่าดอยสะเก็ด)
อาลีเมียร์ ท่านนี้ ยังเป็น น้าชายแขกน้อยคหบดีในอำเภอสันกำแพง ต่อมาลูกของอาลีเมียร์ 3 คนพี่น้อง อพยพ มาตั้งบ้าน ที่ช้างคลาน(ตรง รร.อัลฟารุคในปัจจุบัน) ก่อนสงครามโลก จึงย้ายไป ตั้งรกราก ที่ลำพูนคุณปู่ผมเป็นหนึ่งใน สามพี่น้อง ของตระกูลนี้คือแขกเบงกาลีเจ้าแรก ที่เปิดทำการ ค้าเนื้อ โดยทำการตลาดโดยการค้าส่งเนื้อไปตามตลาดระหว่างอำเภอฝากไปกับรถคอกหมู(รถยนต์โบราณตัวถังเป็นไม้) ที่ขนส่งผู้โดยสาร ไปยังอำเภอต่าง ๆ ในเชียงใหม่่
คุณจีระชัย ยังกล่าวอีกว่า "รุ่นสอง ของตระกูลนี้ถ้ามีชีวิตอยู่จะมี อายุประมาณ 150 ปี
ที่ จังหวัดลำพูนและจังหวัดลำปางก็เป็นกลุ่มแรกที่มีส่วนร่วมสร้างสุเหร่าใหญ่มัสยิดอัลฟาลาห์ ท่านชื่ออับดุลลอฮีม คนเก่าๆที่นั่นทราบดี
อิหม่ามมิตร สุเหร่าเขียวอัลอิคลาส ลำปาง(ขออัลลอฮฺเมตตาท่าน) เล่าให้ผมฟัง ทำให้ทราบว่าน้องปู่ เป็นหนึ่งใน ผู้ริเริ่มสร้าง มัสยิดลำปาง...มาในยุค หลานชายคือผมอัลฮัมดุลิลลาก็ได้มีส่วนร่วมบูรณะ มัสยิด ที่ลำปางอีก 3หลัง"
อัลฮัมดุลิลลาขอบคุณอัลลอฮที่ทำให้เรามุสลิมในล้านนาได้รำลึกถึงคุณูปการของมุสลิมในรุ่นก่อน ที่ส่งต่อรักษาอิสลามมาส่งต่อให้พวกเรา เป็นความภาคภูมิใจของคนรุ่นหลัง ยากจะหาสิ่งใดมาตอบแทน ขออัลลอฮฺเมตตาบรรพชน ของพวกเรา ขออัลลอฮฺตอบแทนพวกเขาด้วยสรวงสวรรค์ ด้วยเทอญ..อามีน
มัสยิดอัล-อันซอรี จังหวัดลำพูน
ต่อมาประมาณปี 2527 ทางตระกูลอัลอันซอรี จากประเทศซาอุดีอาระเบีย ร่วมกับนายยงฟูอนันต์ มาสร้างมัสยิดขึ้นหลังหนึ่งในพื้นที่ตำบลเวียงยอง อ.เมืองลำพูน บทบาท ของบ้านลุงลูน จึงเปลี่ยนไป ศูนย์กลางของชาวมุสลิม จึงเปลี่ยนมาเป็นที่มัสยิดจนถึงปัจจุบัน
ภาพกิจกรรมต่าง ๆ ของมุสลิมลำพูน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
โปรดใช้วิจารณญานในการแสดงความคิดเห็น