เนื้อน้ำค้าง (กังปา)มาจสกไหน ภูมิปัญญาชาวบ้าน

 ภูมิปัญญาชาวบ้านเนื้อน้ำค้าง (กังปา)


เนื้อน้ำค้างมาจากไหน???

        เนื้อน้ำค้าง(กังปา)เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านจากประเทศจีน ซึ่งเป็นการถนอมอาหารเพื่อมีไว้รับประทานในช่วงที่ไม่สามารถออกทำมาหากินได้  เนื่องจากหิมะตกหนัก (คนจีนมุสลิมในพื้นที่เชียงใหม่เชียงรายเรียกว่า "กังปา") 

        เนื้อน้ำค้าง เกิดจากการ ถนอมอาหารของชาวจีน ยูนาน เชื้อสายอิสลาม เป็นกรรมวิธีที่แปลก คือ เมื่อเลือกเนื้อที่มีคุณสมบัติตามตำหรับแล้ว นำเนื้อมาหมักกับเครื่องเทศ ทิ้งไว้ 1 คืน นอกตู้เย็น แล้วจึงนำเนื้อที่หมักนั้น ชักรอกขึ้นไว้บนเสาสูง ให้สูงที่สุดเท่าที่จะสูงได้เพื่อที่จะได้รับน้ำค้าง ในเวลากลางคืน ได้แดดในเวลากลางวัน ความสูงยังจะทำให้เนื้อ มีความสะอาดพ้นจากแมลงวัน และ มลภาวะต่างๆ จะทำได้เฉพาะในช่วงฤดูหนาวเท่านั้น โดยใช้เวลาเกือบ 1 เดือนกว่าจะได้เนื้อ น้ำค้างที่แสนอร่อย ในสมัยโบราณ จะแขวนเนื้อนี้ไว้ข้างบนตลอดเวลา เมื่อต้องการรับประทาน ก็จะนำลงมา ตัดเอาแค่พอมื้อ ส่วนที่ยังเหลือก็จะชักรอกขึ้นไว้เหมือนเดิม ทำแบบนี้จนหมด เป็นอาหารที่ขึ้นชื่อของชาว ยูนานมุสลิม เป็นอาหาร อันโอชะ ที่ทุกครัวเรือนรอคอย เป็นหนึ่งของ อาหารมุสลิมที่ใครๆ ก็ถามถึง 

คนไทยรู้จักเนื้อน้ำค้างได้อย่างไร

        ชนกลุ่มน้อยจากประเทศจีนได้อพยพมาตั้งถิ่นฐาน อยู่ทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยเป็นจำนวนมาก  ด้วยเหตุนี้จึงได้นำภูมิปัญญาจากประเทศจีน คือการทำเนื้อน้ำค้าง ซึ่งเป็นการถนอมอาหารเพื่อเก็บไว้รับประทานได้นาน ๆ และได้มีการสอนและแบ่งปันให้แก่คนในพื้นที่และได้เผยแพร่ออกไปอย่างกว้างขวาง  จนเป็นที่รู้จักถึงปัจจุบัน


เนื้อน้ำค้างเป็นการถนอมเนื้อที่ต้องใช้ทั้งแสงแดดและความเย็นเข้าด้วยกันในประเทศไทยฤดูที่เหมาะแก่การตากเนื้อน้ำค้างคือ ฤดูหนาวโดยเฉพาะภาคเหนือตอนบน เนื่องจากเนื้อจะต้องได้รับทั้งแสงแดดความเย็นและน้ำค้างเข้าด้วยกัน ทำให้เนื้อแห้งจากข้างนอกจนถึงข้างในโดยไม่เน่าเสีย

เนื้อ  1กิโลกรัม เมื่อแห้งสามารถนำมาทานได้ จะมีน้ำหนักเหลือ ประมาณ ½ กิโลกรัม หรืออาจน้อยกว่านั้น

       

ระยะเวลาตั้งแต่ลงมือนวดด้วยเกลือ,  หมักเพื่อให้ความเค็มซึมเข้าไปในเนื้อ  , ตากทั้งแสงแดดและความเย็นเพื่อรักษาเนื้อไม่ให้เน่าเสีย  จนสามารถนำมาทอดเพื่อรับประทานได้  ใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์

ขั้นตอนการทำเนื้อน้ำค้าง

มีการชั่งตวงวัดปริมาณของเนื้อและเกลือ ให้เหมาะสมกัน

ป้องกันไม่ให้เนื้อเค็มเกินไป

ใช้เนื้อส่วนตะโพกเป็นหลัก นำมาแล่เป็นชิ้นขนาดพอดี

เพื่อง่ายต่อการนวด และ ตาก

 

ขั้นตอนนี้คือการนวด  จากเนื้อและเกลือที่ได้เตรียมเอาไว้



เมื่อนวดเสร็จแล้วนำไปเก็บไว้กับภาชนะที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก

ประมาณ 2 –3 วัน

 

นำออกมาตากในที่โล่ง ให้ได้รับทั้งแสงแดดในตอนกลางวัน

ความเย็นในตอนกลางคืนและน้ำค้างในตอนเช้า

 

หั่นเป็นชิ้นบาง ๆ ใส่ภาชนะที่แห้งสนิท แล้วเก็บใส่ตู้เย็น

อยากทานเมื่อไหร่ก็นำออกมาทอด รับประทานกับข้าวสวยร้อน ๆ

รับรองอร่อยจนหยุดไม่ได้

 

 

 

 

ภาพและเรื่องโดย คุณพยานรัก ฟูชื่น

มุสลิมเชียงใหม่ดอทเน็ต

www.muslimchiangmai.net

ความคิดเห็น