วันนี้เจ้านางจะพาไปรู้จัก "ตำนานบ้านสาว" แห่งกำแพงดิน
ความเสื่อมโทรมของสังคมในยุคหลังสงครามโลก แห่งเมืองเชียงใหม่
จนมีคำกล่าวที่ว่า "เที่ยวกำแพงดิน กินข้าวซอย แอ่วดอยสุเทพ"
ถ้าไม่ได้ทำสามสิ่งนี้ ถือว่ามาไม่ถึงเวียงเชียงใหม่
ก่อนอื่นต้องขอกล่าวต้อนรับชาวกรุงเทพฯ ที่หนีน้ำมาพักพิงที่เชียงใหม่นะเจ้าค่ะ
ช่วงนี้คึกคักมาก ที่เชียงใหม่รถติดนักขนาด มีแต่ป้ายทะเบียนกรุงเทพฯ (5/11/54)
จนเจ้านางตกใจ นึกว่าสยามยกทัพมาประชิดเวียงเชียงใหม่ซะแล้ว
ยังไงก็ขอให้พักผ่อนอย่างมีความสุขนะเจ้าค่ะ
กำแพงดิน คือแนวกำแพงชั้นนอก (สีส้ม) เป็นรูปเกือกม้า ที่อยู่นอกผังเมืองสี่เหลี่ยม
การบุกรุกพื้นที่ประวัติศาสตร์ ผลจากเรื่อง "ใต้โต๊ะ" ไปสู่ความเสื่อม "บนเตียง"
“กำแพงดิน” รู้กันทั่วไปว่าเป็นชื่อเรียกย่านซ่องโสเภณีราคาถูกของเมืองเชียงใหม่ที่มีมานานก่อน พ.ศ. 2500 สืบทุกวันนี้ยังเป็นที่กล่าวขวัญถึงสัญลักษณ์คู่เมือง ที่เรียกชื่อว่า“กำแพงดิน” เพราะเป็นบริเวณมีกำแพงเมืองเชียงใหม่ก่อคันดินเป็นแนวเนินลักษณะดั้งเดิมเก่าแก่ตั้งแต่ยุคแรกสถาปนาเมื่อ พ.ศ. 1839 โดยพญามังราย ทุกวันนี้ส่วนกำแพงดินอยู่นอกแนวกำแพงอิฐที่มีผังสี่เหลี่ยมเพิ่งก่อขึ้นสมัยหลังกำแพงดิน
แท้จริงแล้วกำแพงเมืองทำด้วยดินและอิฐ ทั้งที่เชียงใหม่และที่อื่นๆทั่วประเทศ เช่น สุรินทร์, บุรีรัมย์, ร้อยเอ็ด, ลำปาง, ลพบุรี, นครศรีธรรมราช, ฯลฯมีเหตุถูกทำลายย่อยยับอัปรีย์คล้ายคลึงกัน คือจากการเมือง(ระดับชาติและท้องถิ่น) เอื้อให้ราชการที่เกี่ยวข้องกับที่ดินโบราณสถานและที่ดินสาธารณะ ร่วมมือกับทุนเข้าทำลายกำแพงเมืองเพื่อเอาที่ดินมาใช้ประโยชน์ทางพาณิชย์ โดยประชาชาวบ้านต้องหดหัว(ไม่ใช่มุดหัว) นักโบราณคดี กรมศิลปากร สู้รบปรบมือเพื่ออนุรักษ์กำแพงอิฐและกำแพงดินเชียงใหม่มายาวนานไม่น้อยกว่า 50 ปีมาแล้ว
สภาพกำแพงดินในปัจจุบัน ที่มีการบุกรุกเจาะพื้นที่เข้าไปสร้างที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน
ทั้งๆที่ เป็นกำแพงเมืองเก่าชั้นนอก มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์
ตำนานบ้านสาว แหล่งคณิกาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
ส่วนหนึ่งของกำแพงดิน ถูกเจาะเป็นช่องและสร้างบ้านอยู่อาศัย บ้านส่วนหนึ่งปรับเป็นบ้านและห้องสำหรับบริการทางเพศ บ้านสาวย่านกำแพงดินยุคแรกนั้น เริ่มมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง คือประมาณปี พ.ศ.2489 คนรุ่นเก่าๆ บอกว่า "บ้านสาว" ของกำแพงดินยุคแรกมีเฉพาะด้านใกล้สี่แยกกำแพงดิน คือ เลี้ยวซ้ายจากถนนท่าแพ สมัยนั้นมีโรงหนังตงก๊ก ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโรงหนังศรีวิศาล ด้านหลังโรงหนังศรีวิศาลมี "บ้านสาว" อยู่ประมาณ 20 หลัง เป็นที่นิยมเที่ยวกันมากของนักเที่ยว "บ้านสาว" ดังกล่าวมีเฉพาะด้านที่เป็นกำแพงดินเรื่อยไปจนเกือบถึงหน้าวัดช่างฆ้อง โดยมีบ้านเป็นหลังๆ ด้านในกำแพงดิน โดยแต่ละบ้านเจาะกำแพงดินเป็นประตูทางเข้าบ้าน ราคาค่าบริการขณะนั้น 3 บาทและ 5 บาท ต่อมา "บ้านสาว" ย่านนี้ก็เลิกกิจการไป คาดว่าหลังจากโรงหนังศรีวิศาลเลิกแล้ว และ "บ้านสาว" เปลี่ยนไปอยู่ย่านตรงข้ามโรงแรมแม่ปิงในปัจจุบันแทน (คุณเฉลิม สุวรรณชื่น,สัมภาษณ์)
ช่วงที่ "บ้านสาว" ย่านกำแพงดินเฟื่องฟู ประมาณหลังปี พ.ศ.2500 เล็กน้อย ว่ากันว่ามีบ้านสาวประมาณถึง 100 บ้าน แยกเป็นย่านกำแพงดินด้านเหนือ คือ ที่บริเวณพื้นที่เดิมของโรงแรมแม่ปิงและฝั่งตรงข้ามประมาณ 50 บ้าน และย่านกำแพงดินด้านใต้ ประมาณ 50 บ้าน ๆ"บ้านสาว" ย่านกำแพงดิน อาจถือว่าเป็น "บ้านสาว" ยุคที่สองของเมืองเชียงใหม่ โดยเกิดขึ้นและหนาแน่นเมื่อประมาณหลังปี พ.ศ.2504 และสิ้นสุดเมื่อประมาณปี พ.ศ.2530 เมื่อทางรัฐบาลมีนโยบายให้จับกุมจริงและส่งไปสถานสงเคราะห์ฝึกอาชีพหญิงที่อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
ภาพข่าวการระงับสัญญาเช่ากำแพงดิน (ไม่มีภาพ)
แม้ว่ายุค "กำแพงดิน" จะถูกกวาดล้างลง แต่ธุรกิจขายบริการในเมืองเชียงใหม่ยังมิอาจหายไปอย่างเด็ดขาด เพียงแต่ย้ายที่สิงสถิตย์มาอยู่ย่าน "สันติธรรม" ที่เปรียบเสมือนชุมชนแออัดในเชียงใหม่ และโด่งดังเมื่อราวๆ 10 ปีก่อน
ปัจจุบัน ยิ่งมีการเปิดเผยอย่างโจ่งแจ้ง หาได้ง่ายตามย่าน "ประตูท่าแพ" ที่มีทั้งเหล่านางสาว และนายสาว (บางคนสวยมาก) มายืนกวักเหยื่อ เอ๊ย!! ลูกค้า ซัก 3-4 ทุ่มก็เริ่มล่าออกหากินกันแล้วเจ้าค่ะ
เจ้านางไม่ชอบเลย ที่คนบางกลุ่มไร้สำนึก มาประกอบอาชีพเสื่อมเสียอย่างโจ่งแจ้ง (เชื่อว่าต้องมาการจ่ายใต้โต๊ะ 100%) ทำไมนักการเมืองท้องถิ่นไม่ดูแลอย่างจริงจังบ้าง บ้านเราเป็นเมืองพุทธ เป็นเมืองวัฒนธรรม แต่กลับถูกต่างชาติตีตราว่าเป็น Sex district of the world.
คัดลอกจาก http://board.postjung.com/580459.html
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
โปรดใช้วิจารณญานในการแสดงความคิดเห็น