หลักการศาสนาอิสลามกับกระบวนการชูรอ

 หลักการศาสนาอิสลามกับกระบวนการชูรอ

   เครือข่ายชุมชนมุสลิม โครงการพัฒนาชุมชนเป็นสุขที่ภาคใต้ : ดับบ้านดับเมือง เรียนรู้อยู่ดีที่ปากใต้ ได้ดำเนินงานเพื่อการสร้างสันติสุขในพื้นที่ โดยใช้หลักการของ "กระบวนทัศน์อิสลามเพื่อการพัฒนา" เป็นตัวตั้ง เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต ชุมชน และสังคมของมุสลิม กระนั้นก็ตาม การจัดการ และออกแบบสังคม ชุมชนที่สมานฉันท์ ท่ามกลางวิกฤติศรัทธาแห่งสังคมโลกาภิวัตน์ กับชุมชนที่มีความเฉพาะ จึงต้องอิงหลักการทางด้านศาสนาเป็นสำคัญ ทั้งนี้ในอดีตกาล ชุมชนมุสลิมมีรูปแบบของการจัดการชุมชน โดยใช้กรอบของบทบัญญัติทางศาสนาเป็นตัวชี้วัด ซึ่งสามารถที่จะออกแบบมาตรการในการบริหารจัดการชุมชนให้เกิดความสงบสุขท่ามกลางความแตกต่าง แต่คงไว้ซึ่งความสมานฉันท์ นั่นคือ กระบวนการ "ชูรอ"

   การบัญญัติว่าด้วย การชูรอ เป็นสิ่งจำเป็นซึ่งอิสลามถือว่าเป็นหน้าที่ของผู้นำหรือผู้บริหารและเป็นสิทธิของผู้ตาม โดยยึดหลักฐาน ๓ ประการ อันได้แก่ คัมภีร์อัลกุรอาน วัจนศาสดา และมติพ้องกันของบรรดานักวิชาการอิสลาม

   จากหลักการดังกล่าวการบริหารจัดการชุมชนด้วย "สภาชูรอ" น่าจะเป็นทางออกหนึ่งในแก้ปัญหาความขัดแย้งและสามารถพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ดังนั้นการพัฒนาชุมชนมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งนำวิถีวัฒนธรรมท้องถิ่นมาเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนา น่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนท่ามกระแสทุนนิยมข้ามชาติ

   ๑. กระบวนการชูรอตามทัศนะอิสลามในสมัยอดีต

   ก.หลักฐานจากพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน 

   จากการศึกษาอัลกุรอานผู้วิจัยพบว่ามีการกล่าวถึง ชูรอ ไว้ สองส่วนด้วยกันคือ ในสมัยท่านศาสดามุฮัมมัดและก่อนจากท่าน

   สำหรับในสมัยของท่านศาสดานั้น คัมภีร์อัลกุรอาน ได้บัญญัติไว้สามโองการด้วยกันกล่าวคือ ในซูเราะห์อัลบากอเราะฮฺ โองการที่ ๒๓๓ ซูเราะห์อาลิอิมรอนโองการที่ ๑๕๙ และในซูเราะห์อัชชูรอ โองการที่ ๓-

   ในซูเราะห์อัลบากอเราะฮฺ โองการที่ ๒๓๓ 

   ความว่า แต่ถ้าทั้งสองต้องการหย่านม อันจากการพอใจและการปรึกษาหารือกันจากทั้งสองแล้วก็ไม่มีบาปใดๆ แก่เขาทั้งสอง

   ในโองการนี้เป็นการแสดงให้เห็นความสำคัญของการปรึกษาหารือแม้กระทั่งชีวิตในครอบครัวซึ่งจำเป็นต้องปรึกษาหารือระหว่างสามีภรรยาในการดูแลบุตรแม้กระทั่งการให้นม*

   ซูเราะห์อาลิอิมรอนโองการที่ ๑๕๙ อัลลอฮฺ (ซุบฮานะฮูวะตะอาลา) ได้ตรัสไว้

   ความว่า และจงปรึกษาหารือกับพวกเขาในกิจการทั้งหลาย

  นักปราชญ์มุสลิมได้อธิบายข้อสังเกตในโองการนี้ดังนี้

   ๑. คำว่าชูรอในโองการนี้เป็นคำกริยาที่บ่งบอกถึงคำสั่งใช้ให้ปฏิบัติ

   ๒. โองการนี้มาจากโองการมะดะนียะฮ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นบทบัญัติให้ปฏิบัติและสั่งห้ามในสิ่งต่างๆ ซึ่งต่างจากโองการมักกียะฮฺ ที่จะกล่าวถึงหลักศรัทธา

   ๓. การชูรอเป็นบทบัญญัติตามศาสนบัญญัติที่มีเป้าหมายเพื่อจะเสริมสร้างความปึกแผ่น และความสามัคคีอันจะนำไปสู่ความสำเร็จในการการงานที่ได้มีมติไว้ในที่ประชุมที่สำคัญเป็นแบบอย่างของท่านศาสด

   ในขณะที่ในซูเราะห์ อัชชูรอ โองการที่ ๓๘ อัลลลอฮฺ (ซุบฮานะฮูวะตะอาลา) ได้ตรัสไว้

   ความว่า และกิจการของพวกเขามีการปรึกษาหารือกันระหว่างพวกเขา

   นักปราชญ์มุสลิมได้อธิบายข้อสังเกตในโองการนี้ดังนี้

   ๑.คำว่าชูรอในโองการนี้เป็นคำคำมัสดัร (อาการนาม)

   ๒. โองการนี้มาจากโองการมักกียะฮ**ฺ ซึ่งถือเป็นหลักการที่สำคัญที่กล่าวถึงความศรัทธาของมุสลิมที่ดีเพราะมุสลิมที่ศรัทธานั้นจะต้องให้ความสำคัญกับการชูรอ และเป็นการบ่งบอกถึงการชูรอนั้นมีมาก่อนที่ท่านศาสดาจะอพยพไปสู่มะดีนะฮฺเสียอีก***

   ๓.ที่สำคัญอัลลอฮฺ (ซุบฮานะฮูวะตะอาลา) ได้ตั้งชื่อโองการนี้ว่า ซูเราะฮฺ อัชชูรอ เป็นการย้ำเตือนถึงความสำคัญของการชูรอ

   คำว่าชูรอไม่เพียงแต่มีขึ้นในสมัยท่านศาสดาเท่านั้นจากการศึกษาประวัติศาสตร์ผ่านพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานพบว่าอัลลอฮฺ (ซุบฮานะฮูวะตะอาลา) ได้ตรัสไว้ ในสองแห่งด้วยกันกล่าวคือ ในซูเราะห์ฏอฮาโองการที่ ๓๒ และในซูเราะห์ อันนัมลฺ โองการที่ ๓

  ในซูเราะห์ฏอฮาโองการที่ ๓๒ อัลลลอฮฺ (ซุบฮานะฮูวะตะอาลา) ได้ตรัสไว้   

   ความว่า "และให้เขา (ศาสดาฮารูน) มีส่วนร่วมในกิจการของฉัน (ศาสดามูซา) ด้วย" คำว่าส่วนร่วมในที่นี้หมายถึงการปรึกษาหารือ ดังนั้นนักอรรถาธิบายอัลกุอานกล่าวว่าโองการนี้ได้แสดงถึงความสำคัญของการปรึกษาหารืออันเนื่องมาจากศาสดามูซาได้ขอพรจากพระเจ้าให้ศาสดาฮารูนซึ่งเป็นน้องชายของพระองค์ให้ช่วยได้เป็นที่ปรึกษาในกิจการการงานต่างๆ***

   ในซูเราะห์ อันนัมลฺ โองการที่ ๓๒  

   ความว่า พระนาง (พระราชินีบิลกีส ซึ่งปกครองเมืองสะบะ) ทรงกล่าวว่า โอ้หมู่บริพารทั้งหลาย จงให้ข้อชี้ขาดแก่ฉันในเรื่องของฉัน 

   ฉันมิอาจตัดสินในกิจการใดๆ จนกว่าท่านจะอยู่ร่วมด้ว

   นักอรรถาธิบายอัลกุรอานได้ให้ความหมายของคำว่า ข้อชี้ขาด ในที่นี้หมายถึงการขอคำปรึกษาหารือ ซึ่งพระราชินีบิลกีส ปกครองเมืองสะบะ ได้ขอให้คำปรึกษาจากข้าราชบริพารของนางซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น ๓๑๓ คน ก่อนตัดสินใจ

   ก.หลักฐานจากวัจนศาสดา***** 

   ท่านศาสดาทรงเป็นแบบอย่างของการปรึกษาหารือ ซึ่งอัครสาวกของท่านออกมายอมรับเช่นอบูฮูรอยเราะฮฺกล่าวไว้

   ความว่า "ไม่มีใครที่จะ ปรึกษาหารือกับสาวกของเขามากกว่าท่านศาสดา ศ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม" มุสนัดอิหม่ามอะหมัด ๔/ ๓๒๘

   ศาสดามีการดำเนินการชูรอก่อนทำสงครามทั้งสงครามบัดรและอุฮุดว่าจะตั้งรับในเมือง หรือจะออกไปนอกเมือง ในขณะเดียวกันเมื่อทำสนธิสัญญาฮุดัยบียะห์ 

   ท่านได้ดำเนินการปรึกษาหารือกับอัครสาวกอะลีและอุซามะห์ กรณีที่เจ้ากรมข่าวลือกล่าวหาพระนางอาอิซะห์ ท่านได้รับฟังข้อคิดเห็นของท่านทั้งสอง จนอัลกุรอานได้ถูกประทานลงมา จึงได้มีการเฆี่ยนเจ้ากรมข่าวลือทั้งสองคน โดยท่านมิได้สนใจข้อถกเถียงต่างๆ แต่เมื่อมีข้อตัดสินจากอัลลอฮฺท่านก็ได้ตัดสินไปตามคำสั่งของพระองค์*****

   ๒. ศาสนบัญญัติสนับสนุนกระบวนการชูรอ

   การประชุมด้วยกระบวนการชูรอ หรือปรึกษาหารือตามรูปแบบอิสลามจนได้ข้อสรุปหรือมติเพื่อนำไปปฏิบัติ ซึ่งมีหลักฐานระบุไว้คัมภีร์อัลกุรอานทั้งในสมัยของท่านศาสดา และ ก่อนสมัยท่านศาสดา ในขณะเดียวกันยังมีหลักฐานจากวัจนศาสดา และกระบวนการชูรอ ยังได้ถูกสานต่อโดยอัครสาวกของท่านศาสดา ถึงแม้กระบวนการชูรอจะมีหลักฐานทางศาสนบัญญัติแต่นักปราชญ์ด้านนิติศาสตร์อิสลามมีความคิดเห็นแตกต่างกันสองทัศนะเกี่ยวกับบทบัญญัติชูรอกล่าวคือ

   หนึ่ง : การชูรอนั้นเป็นบทบัญญัติที่ถูกสนับสนุน (สุนัต) ให้ผู้ปกครองควรกระทำมิได้บังคับ

   สอง : การชูรอนั้นเป็นหน้าที่ของผู้ปกครองต้องปฏิบัติ (วาญิบ) ในขณะเดียวกันปราชญ์อิสลามมีความคิดเห็นแตกต่างกันสำหรับผู้ปกครองมุสลิมว่าจำเป็นหรือไม่ที่ผู้นำมุสลิมจะต้องปฏิบัติตามมติอันเนื่องมาจากผลของการชูรอ ในขณะเดียวกันก็ไม่จำเป็นจะต้องนำทุกหัวข้อเข้าสู่กระบวนการชูรอ

  ระบบชูรอในอิสลาม  

   ในหลักการอิสลามมิได้วางระบบตายตัวเกี่ยวกับระบบชูรอเพียงแต่ศาสนาอิสลามได้วางหลักการกว้างๆ เกี่ยวกับระบบชูรอเพื่อให้สามารถปรับปรนให้เข้าได้กับทุกเวลาและสถานการณ์ ดังนี้

   ๑.จะต้องดำเนินการชูรอด้วยความบริสุทธิ์ใจเป็นที่ตั้ง

   ๒.สนองประโยชน์ส่วนรวมปฏิเสธประโยชน์ส่วนตน กลุ่มตนหรือเผ่าพันธุ์ของตน

   ๓. ต้องปราศจากการพูดโกหก สับปรับ หลอกหลวงและมีคุณธรรมสูงส่งในการดำเนินการชูรอเพราะการดำเนินการชูรอเปรียบเสมือนอมานะฮ์ (ภาระหน้าที่จากพระเจ้าที่ต้องรับผิดชอบ)

   ๔.ให้เกียรติผู้เข้าร่วมประชุมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นถึงแม้จะไม่ชอบใจ

   ๕.ยอมรับมติที่ประชุมหรือเสียงข้างมากถึงแม้เราจะไม่เห็นด้วยแต่จะต้องไม่ค้านกับหลักการทางศาสนา

   คณะกรรมการชูรอ  

   ในส่วนของคุณสมบัติคณะกรรมการชูรอ ไม่ได้มีการบัญญัติไว้ตายตัว ทั้งในหลักการทางศาสนา วัจนศาสดา และคัมภีร์อัลกุรอาน และเมื่อศึกษาประวัติศาสตร์อิสลามจะพบว่าผู้นำอิสลามไม่ว่าศาสดา และอัครสาวกของท่านได้ใช้กระบวนการชูรอหลากหลายรูปแบบและผู้คนที่แตกต่างกันตามเหตุการณ์บางครั้งปรึกษากับคนเพียงคนเดียว บางครั้งสองคน บางครั้งคณะกรรมการชุดหนึ่งที่มีสามคนขึ้นไป และบางคนใช้คนทั้งหมด บางครั้งใช้กระบวนชูรอกับสตรี และบางคนใช้กับบุรุษ ด้วยเหตุดังกล่าวนักปราญ์อิสลามจึงได้แบ่งภาระงานที่ต้องใช้กระบวนการชูรอออกเป็นสองภาระงานกล่าว คือ ภาระงานทั่วไปและภาระงานเฉพาะเจาะจง

   สำหรับภาระงานทั่วไปเกี่ยวกับกับกิจการในสังคมมุสลิมทุกคนมีสิทธิในกระบวนการชูรอ โดยมีเงื่อนไขว่า

   ๑.บุคคลดังกล่าวจะต้องเป็นมุสลิม 

   ๒.บรรลุศาสนภาวะ

   ๓.มีสติสัมปชัญญะ  

   ในส่วนภาระงานเฉพาะเจาะจงนั้นคณะกรรมการชูรอจะต้องมีคุณสมบัตินอกจากสามข้อข้างต้นแล้ว คณะกรรมการดังกล่าวต้องคุณธรรมเป็นที่ประจักษ์ มีความรู้ ความสามารถ ความเฉลียวฉลาดและประสบการณ์ตรงกับภาระงาน  

   สำหรับผู้นำสูงสุดของรัฐที่ปกครองด้วยระบบอิสลามจะมีคณะกรรมการชูรออีกชุดหนึ่งตามหลักนิติศาสตร์อิสลามเรียกว่า อะฮ์ลุลฮัลลิวัลอักด์ (Ahl al-Hal wa al-Akd) ซึ่งจะรวบรวมผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆ ที่เหมาะสมตามสถานการณ์และยุคสมัยในการตัดสินปัญหาต่างๆ ในการบริหารประเทศ  

   มารยาทและหลักปฏิบัติสำหรับผู้เข้าร่วมกระบวนการชูรอ

     หนึ่ง มีความตั้งใจที่บริสุทธิ ดั่งที่ท่านศาสดาได้ วัจนะไว้ความว่า แท้จริงทุกกิจกรรมการงานขึ้นอยู่กับความตั้งใจ (ที่บริสุทธิ)

   สอง เปิดประชุมด้วยคัมภีร์อัลกุรอานเช่น ซูเราะห์ฟาติหะฮ์ กล่าวสรรเสริญต่อพระเจ้าในข้อเสนอแนะอันเป็น ประโยชน์ของตัวเอง

   สาม ต้องให้เกียรติต่อข้อเสนอของผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนถึงแม้จะไม่เห็นด้วย

   สี่ ขอบคุณผู้แสดงความคิดเห็นที่ดี ไม่ตำหนิผู้ที่แสดงความคิดเห็นที่ไม่ดี พร้อมให้คำแนะนำในที่ประชุมเพราะท่านศาสดาได้วัจนะไว้ความว่า ศาสนาคือการตักเตือน หากตัวเองเสนอผิดพลาด หรือผิดมารยาทในการใช้กระบวนการชูรอให้กล่าวอิสติฆฟารฺ (ขอภัยโทษต่ออัลลอฮฺ) และขอโทษต่อสมากชิกชูรอที่เข้าประชุม

   ห้า ใช้กระบวนปรึกษาหรือในการนำไปสู่มติที่ประชุมโดยไม่ใช้วิธีการโต้วาที โต้ตอบหักล้างซึ่งกันและกันจนนำไปสู่การทะเลาะ

   หก ปิดประชุมด้วยการอ่านอัลกุรอานโดยเฉพาะซูเราะห์อัลอัสรฺ (al- Asr ) และดุอาปิดประชุม

   อิสลามสนับสนุนการใช้กระบวนการชูรอ  

   ศาสนบัญญัติตามทัศนะอิสลามให้การสนับสนุนกระบวนการชูรอถึงแม้นักปราชญ์โลกมุสลิมจะมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันว่ากระบวนการชูรอนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็น(วาญิบ) หรือสนับสนุนให้กระทำ (สุนัต) สำหรับผู้นำ ด้วยความเป็นจริงอัลลอฮ์ทรงทราบถึงธรรมชาติของมนุษย์เพราะพระองค์ทรงสร้างมนุษย์ท่ามกลางความหลากหลายซึ่งพระองค์ได้ตรัสไว้

   ความว่า "โอ้มนุษยชาติทั้งหลาย แท้จริงเราได้สร้างพวกเจ้าจากเพศชาย และเพศหญิงและเราได้ให้พวกเจ้าแยกเป็นเผ่าและตระกูลเพื่อจะได้รู้จักกันแท้จริงผู้ที่มีเกียรติยิ่งในหมู่พวกเจ้ ณ ที่อัลลอฮ์นั้นคือผู้ที่มีความยำเกรงยิ่งในหมู่พวกเจ้าแท้จริงอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงรอบรู้อย่างละเอียดถี่ถ้ว" (อัชหุจรอจ : ๑๓ )

   มนุษย์ทั้งหลายนั้น พวกเขามีอิสระในความคิด หรือเสนอความคิดเห็นต่างๆ และการปรึกษาหารือกันตามทัศนะอิสลามหรือที่ภาษาอาหรับเรียกว่า "อัชชูรอ" นั้นก็เป็นชนิดหนึ่งจากการที่มนุษย์เรานั้นมีความอิสระในการคิดเห็น และยังเป็นรากฐานที่สำคัญในการดำรงอยู่ตามวิถีวัฒนธรรมอิสลาม และแท้จริง อัลลอฮ์ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวโดยพระองค์ได้ทรงกล่าวไว้เป็นชื่อซูเราะห์หนึ่งในอัลกรุอานก็คือซูเราะห์ "อัชชูรอ" ที่ถูกขนานนามเช่นนี้เพื่อเป็นการชี้แนะถึงสถานะของการปรึกษาหารือในอิสลาม และเป็นการสั่งสอนให้บรรดาผู้ศรัทธาให้ดำเนินชีวิตของพวกเขาอยู่บนแนวทางที่ดีเด่นและสมบูรณ์ยิ่ง คือ "แนวทางแห่งการปรึกษาหารือ (อัชชูรอ)" เนื่องจากแนวทางนี้เป็นแนวทางที่ยิ่งใหญ่และมีคุณค่าในการดำเนินชีวิตของบุคคลและสังคม ดังที่พระองค์อัลลอฮ์ ทรงกล่าวไว้อย่างมากมายในพระมหาคำภีร์อัลกุรอ่านถึงเรื่องดังกล่าว เช่นโองการที่ว่า ดังมีความหมายว่า

   "เนื่องด้วยความเมตตาจากอัลลอฮ์นั่นเอง เจ้า (มูฮัมมัด) จึงได้สุภาพอ่อนโยนแก่พวกเขา และถ้าหากเจ้าเป็นผู้ประพฤติหยาบช้า และมีใจแข็งกระด้างแล้วไซร้ แน่นอนพวกเขาก็ย่อมแยกตัวออกไปจากรอบๆเจ้ากันแล้ว ดังนั้นจงอภัยให้แก่พวกเขาเถิด และจงขออภัยให้แก่พวกเขาด้วย และจงปรึกษาหารือกับพวกเขาในกิจการทั้งหลาย ครั้นเมื่อเจ้าได้ตัดสินใจแล้วก็จงมอบหมายแด่อัลลอฮ์เถิด" (อัชชูรอ : ๓๘)

   จากพระดำรัสของอัลลอฮ์ข้างต้น จะเห็นได้ว่าพระองค์ทรงใช้ให้ใช้กระบวนการชูรอในหมู่คณะ ในกิจการต่างๆ และท่านศาสดาเองยังได้วัจนะไว้

   ความว่า "พวกเจ้าจงขอความช่วยเหลือบนกิจการงานต่างๆ ของพวกเจ้าด้วยกับการปรึกษาหารือซึ่งกันและกัน"

เพราะการใช้กระบวนการชูรอจะยังประโยชน์ต่อตนเองและสังคมมากมายเช่นการสร้างความชอบธรรม (Ligitimacy) ของมติ ความยุติธรรมและสมเหตุสมผลของมติ การตัดสินใจที่รอบคอบและรอบด้าน ซึ่งท่านศาสดาได้ยืนยันไว้

   ความว่า "ไม่มีการปรึกษาหารือของพวกหนึ่ง เว้นไว้แต่พวกเขานั้นได้รับทางนำด้วยกับการแนะนำชี้แนะต่อกิจการงานต่างๆของพวกเขา"

   ท่านศาสดาเองแม้ท่านได้รับการแต่งตั้งและได้รับการชี้นำแนวทางที่เที่ยงตรงจากพระองค์อัลลอฮ์ และได้รับการปกป้องจากความผิดพลาดความหลงผิดจากการทำบาปและการทำชั่วต่างๆ แต่เมื่อท่านจะทำกิจการใดๆ หรือมีความคิดเห็นใดๆ ก็ตามท่านก็จะใช้กระบวนการชูรอกับบรรดาอัครสวกของท่าน การกระทำของท่านศาสดาดังกล่าว เพื่อกระตุ้นเตือนและสอนให้ประชาชาติของท่านเห็นถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของทุกคนเพื่อพัฒนาสังคมโดยไม่ยึดติดความคิดตน

   การปรับใช้กระบวนการชูรอกับสถานการณ์ปัจจุบัน

  จากการศึกษาพบว่าชุมชนมุสลิม บ้านตาแปด ตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา อ.เทพา จ. สงขลาและ บ้านตะโล๊ะ ตำบลตะโละ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ซึ่งได้พยายามนำกระบวนการชูรอในอดีตตามหลักศาสนาอิสลามมาบูรนาการทางวัฒนธรรม(Cultural Integration) ในสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้ 

   จนสามารถนำหลักบริหารการจัดการความรู้ที่สามารถปรับปรนให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันได้เพราะชุมชนทั้งสองได้ให้ความสำคัญกับหลักการศาสนาในการแก้ปัญหาชุมชนที่มีความยึดมั่นในคำสั่งของท่านศาสดาที่ทรงกล่าวว่า "ฉันได้ทิ้งสองสิ่งไว้แก่พวกท่าน เมื่อท่านทั้งหลายยึดถือสิ่งนั้น ท่านทั้งหลายจะไม่หลงทางหลังจากที่ฉันไม่อยู่ นั่นก็คือ อัลกุรอานและซุนนะห์ของฉัน (วัจนศาสดา)" บันทึกโดยอิหม่ามฮากีม

   กอร์ปกับผู้นำชุมชน และประชาชนส่วนใหญ่ในชุมชนรู้จักรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากพระเจ้าดั่งที่ศาสดาได้เคยกำกับไว้

   ความว่า "ท่านทุกคนมีหน้าที่ และทุกท่านจะต้องรับผิดชอบต่อหน้าที่ของพวกท่าน ผู้นำก็มีหน้าที่ และต้องถูกถามถึงความรับผิดชอบของเขา และคนคนหนึ่งก็มีหน้าที่ต่อครอบครัว และต้องถูกถามถึงความรับผิดชอบต่อครอบครัวเช่นเดียวกัน" บันทึกโดยอิหม่ามบุคอรีมุสลิม

   ทั้งนี้ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับชุมชนทั้งสองชุมชนพบว่ามีปัญหามากมาย ทั้งด้านสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งการนำเอากระบวนการชูรอมาปรับใช้สามารถช่วยบรรเทาปัญหา ค้นหาวิธีการจัดการและแก้ไข รวมถึงพัฒนาชุมชนได้ดีระดับหนึ่ง

   ๓. กระบวนการชูรอ กับการใช้ในพื้นที่ชายแดนภาคใต้  

   การที่ทั้งสองชุมชนได้พยายามนำกระบวนการชูรอในอดีตตามหลักศาสนาอิสลามมาบูรนาการทางวัฒนธรรม (Cultural integration) จนสามารถนำหลักบริหารการจัดการความรู้ที่สามารถปรับปรนให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันได้ ถึงแม้จะมีอุปสรรคมากมายและพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับการแก้ปัญหาโดยทั้งสองแห่งมีทั้งปัญหาร่วมกันและแตกต่างกัน ทั้งนี้ปัญหาร่วมกันของทั้งสองชุมชนคือ ปัญหาด้านศักยภาพและประสิทธิภาพการดำเนินการจัดการของคณะกรรมการชูรอที่เป็นระบบซึ่งองค์กรภายนอกไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชนควรเข้ามาพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการชูรอ 

   ทั้งนี้กระบวนการดำเนินสภาชูรอของทั้งสองชุมชนมีความแตกต่างกัน ตามบริบทของพื้นที่ที่แตกต่าง โดยมีหลักการสำคัญดังนี้ 

                            

  โครงการพัฒนาชุมชนเป็นสุขที่ภาคใต้ : ดับบ้านดับเมือง เรียนรู้อยู่ดีที่ภาคใต้ ได้เข้ามาดำเนินกิจกรรมในเรื่องของระบบสภาชูรอตามแนวทางศาสนา เพื่อค้นหาแนวทางในการคลี่คลาย และลดความขัดแย้งในชุมชน 

     กระบวนการขับเคลื่อนของกระบวนการชูรอเริ่มต้นที่ การเชื่อมต่อกับบุคคลผู้มีความเกี่ยวข้องกับชุมชน ทั้งผู้นำศาสนา ผู้นำอย่างเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ ผู้นำตามตำแหน่ง ผู้นำตามธรรมชาติ เพื่อการปรึกษาหารือเรื่องราวที่เกิดขึ้นในชุมชน โดยใช้กระบวนการชูรอ ซึ่งมีการหารือถึงสาเหตุ แนวทางแก้ปัญหาในชุมชน โดยมีสมาชิกที่เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยแกนนำในชุมชนตัวแทนเจ้าที่รัฐ (กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต.ฯลฯ ) ตัวแทนกลุ่มองค์กรในชุมชน ปราชญ์ชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้นำตามธรรมชาติ ผู้นำศาสนา นักศึกษา ฯลฯ         

       จากการศึกษาพบว่า องค์ประกอบของผู้นำที่มีความหลากหลาย ทั้งผู้นำทางศาสนา ผู้นำอย่างเป็นทางการ ตามระเบียบของชุมชน และผู้นำตามธรรมชาติ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้อาวุโส ดังนั้น การนำเอาบุคคลเหล่านี่มาช่วยมองและสะท้อนปัญหา รวมถึงมาตรการในการจัดการ และแก้ไขปัญหาของชุมชนจึงน่าจะเป็นฐานของการสร้างชุมชนที่มีความสุขได้ ดังนั้นกระบวนการสร้างเวทีเพื่อการพบปะพูดคุยของกลุ่มแกนนำเหล่านี้จึงเกิดขึ้น โดยหลังจากมีการพบปะบ่อยครั้ง ก็สามารถจัดตั้งกลุ่มที่มีความเข้มแข็ง มีความสามัคคีปรองดองโดยเฉพาะองค์กรทางศาสนามัสยิด อันสามารถช่วยแก้ปัญหาด้านการบกพร่องต่อหลักปฏิบัติทางศาสนกิจได้          

    อาทิเช่น ปัญหาของสัปบุรุษที่ไม่มาละหมาดและประกอบศาสนกิจในมัสยิด ได้มีการกำหนดมาตรการร่วม คือ สัปบุรุษทุกท่านต้องมาละหมาด และประกอบศาสนกิจในมัสยิด หากมีการละเมิดจะใช้มาตรการทางสังคมในการจัดการ กล่าวคือ หากเขาผู้นั้นจัดพิธีแต่งงานผู้นำชุมชน และผู้คนในชุมชนจะไม่เข้าร่วม เป็นต้น หลังจากมีวงพบปะพูดคุยของผู้นำในชุมชนแล้ว ได้เกิดหลากหลายกิจกรรมตามมา เช่น ด้านการศึกษา ด้านเศรษฐกิจ ระบบการบริหารจัดชุมชน การจัดการพึ่งตนเอง (ทำปุ๋ยชีวภาพ) จัดทำแผนฐานข้อมูลชุมชน ระเบียบข้อบังคับชุมชนหรืออาจเรียกว่ามาตรการทางสังคม (ฮูกุมฟากัต ) นำไปสู่การจัดการชุมชนตามรูปแบบทางศาสนามากขึ้นและสามารถหาโอกาสพบปะหารือประชุมร่วมกับแกนนำในชุนบ่อยครั้ง เพื่อหาข้อสรุปในการปรับปรุงข้อผิดพลาดทำให้มีความสำนึกรับผิดชอบร่วมกันในสังคม            

     หลังจากนั้นไม่นานผู้ใหญ่บ้านหมดวาระลงซึ่งตามปกติในหลายชุมชนจะมีการเลือกตั้ง และหลายชุมชนนำไปสู่การทะเลาะวิวาทอันส่งผลถึงความแตกแยกในชุมชน แต่สำหรับชุมชนตาแปด ได้นำเอาหลักการของกระบวนการชูรอมาใช้ กล่าวคือ คณะกรรมการได้มีการประชุมหารือกันขึ้นเพื่อพิจารณาความเหมาะสม ซึ่งที่ประชุมมีข้อสรุปว่า ทุกท่านมีสิทธิ์เสนอชื่อเพื่อมาเป็นผู้ใหญ่บ้าน แต่ในกระบวนการคัดสรรนั้น จะใช้มติของสภาชูรอประจำหมู่บ้าน เพื่อพิจารณาถึงคุณสมบัติและความเหมาะสม       

     หลักการการดำเนินการประชุมของกระบวนการชูรอ         

               ๑. ให้สิทธิของแต่ละบุคคลในการเสนอความคิดเห็น ถึงแม้ว่าผู้นำจะดำเนินการประชุมกับคณะหรือองค์ประชุมไม่ได้หมายความว่า คนทั่วไปไม่มีสิทธิเสนอความคิดเห็นเลย แท้จริงแล้ว การเสนอความคิดเห็นเป็นบัญญัติศาสนา การเสนอความคิดเห็นหรือคัดค้านบนพื้นฐานแห่งสัจธรรมจึงเป็นสิทธิส่วนบุคคลอับชอบธรรมตามหลักการอิสลาม ด้วยเหตุผลหลายประการที่สำคัญคือ เป็นปัจจัยของการมีส่วนร่วมในการให้การชี้แนะ แนวทาง เพื่อพัฒนาหรือแก้ไขปัญหา หรือเตรียมการอย่างใดอย่างหนึ่งในสังคม และเพื่อต่อเติมหรือหยิบยกบางประเด็นหรือบางสิ่งบางอย่างที่อาจจะถูกมองข้ามหรือหลงลืม หรือคนส่วนใหญ่ไม่มีความรอบรู้ ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งที่สำคัญต่อการตัดสินใจและเลือกแนวทางของผู้นำก็ได้ จึงถือเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องหากผู้นำไม่เปิดโอกาสหรือละเลยต่อข้อเสนอแนะความคิดเห็นจากบุคคลทั่วไปในสังคมและผู้ที่มีความรู้ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการหรือผู้มีตำแหน่ง บุคคลธรรมดาหรือสามัญชนก็ไม่ควรละเลยต่อสิทธิและหน้าที่ในการเสนอแนะความคิดเห็นต่อผู้นำเมื่อมั่นใจว่าสิ่งนั้นดีและถูกต้องเพราะเป็นสิทธิและหน้าที่ที่บัญญัติไว้กฎหมายอิสลาม

      ๒. ยึดถือเอาหลักการทางศาสนาเป็นสำคัญ กล่าวคือ เมื่อเกิดความขัดแย้งทางด้านข้อเสนอในที่ประชุม ระหว่างบรรดาสมาชิกผู้เข้าประชุมด้วยกันเป็น สอง ฝ่าย สมาชิกผู้อื่น หรือขัดแย้งระหว่างความคิดเห็นของผู้นำกับสมาชิกที่ประชุม แนวทางการตัดสินนั้น จะต้องยึดถือความคิดเห็นที่สอดคลองกับอัล-กุรอานเป็นอันดับแรก รองลงมาคือซุนนะห์ (วัจนศาสดา) แล้วก็อิจมาอ์ (มติปราชญ์อิสลาม) ตามลำดับ ถ้าไม่มีก็ให้ถือคำตัดสินของผู้นำ เป็นมติ โดยไม่จำเป็นต้องยึดหลักเสียงส่วนใหญ่หรือส่วนน้อยในที่ประชุมหรือไม่ทั้งสอง                ๓. การวิเคราะห์ การใช้วิจารณญาณอย่างละเอียดครอบคลุม เป็นกลาง เป็นธรรมและถูกต้องตามเจตนารมณ์ของคนในชุมชน จากการศึกษาพบว่าชุมชนที่นี่ยังมีการศึกษาน้อยต้องสร้างกระบวนการความเข้าใจในแนวทางการพัฒนาโดยด้านข้อมูลต้องมีความแม่นยำตรงจุดเพื่อนำเสนอชุมชนให้รู้จริง ผู้ที่เกี่ยวข้องมีความกระตื้อรื้อร้น เอาใจใสสังคมส่วนรวมในขณะเดียวกัน ในชุมชนตาแปดมีทัศนะว่าการพัฒนาทุกอย่างต้องอิงศาสนาทุกขั้นตอนชุมชนจึงจะรับการเปลี่ยนแปลง อุปสรรคอีกอย่างหนึ่งกล่าวคือองค์กรทางศาสนายังไม่เข้มแข็งพอและไม่สามารถที่จะพึ่งตนเองได้ดังนั้นรัฐควรสนับสนุนและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่นถนน สะพาน อ่างเก็บน้ำ ฯลฯ และส่งเสริมกิจกรรมออมทรัพย์ เรื่องสุขภาพ ควบคู่การพัฒนาด้านจิตใจจะช่วยให้ชุมชนเข้มแข็งอย่างแน่นอน

ปัญหา อุปสรรคการดำเนินงานและข้อเสนอแนะ

   ๑.การท้าท้ายการดำเนินงานของคณะกรรมการโดยจะมีผู้เสียประโยชน์จากชุมชนสองส่วนคือกลุ่มผู้ค้ายา

   เสพติด และการพนัน พยายามท้าทายการดำเนินของคณะกรรมการว่าคณะกรรมการชูรอชุดนี้ไม่สามารถดำเนินการกับพกเขาได้ซึ่งยังความลำบากใจให้กับคณะกรรมการด้วยเช่นกันในช่วงแรกแต่หลังจากการประชุม ปรึกษาหารือผ่านกระบวนการชูรอได้มีมติดังนี้

   

   หนึ่ง ปัญหายาเสพติดนั้นได้ดำเนินการแบ่งพื้นที่รับผิดชอบห้าครอบครัวต่อคณะทำงานหนึ่งคนเข้าไปพูดคุยกับผู้ปกครองเพื่อช่วยดูแล ในขณะเดียวกันในกระบวนการศาสนาบำบัดให้ความรู้ด้านจิตวิญญาณตามหลักการศาสนาทุกวันศุกร์ พร้อมทั้งให้ความรู้ด้านวิชาการนำผู้ติดเข้าค่ายอบรมการป้องกันจากยาเสพติดในขณะเดียวกันมีมาตรการเสริมด้านงบประมาณสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการโดยจะพิจารณางบประมาณที่ทางรัฐจัดให้แต่โครงการแก่ผู้เข้าร่วมโครงการในระดับต้นๆ

   สอง ปัญหาบ่อนการพนันในพื้นที่นั้นทางผู้นำศาสนาและผู้นำท้องถิ่นในคณะกรรมการชูรอ

   ได้ใช้วิธีที่นุ่มนวลโดยการเข้าไปพูดคุยและดื่มน้ำชาที่บ้านเจ้าของบ่อนหลังจากนั้นทำให้ฝ่ายผู้เล่นรูสึกละอายใจ

   ถึงแม้ว่าปัญหาดังกล่าวยังถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ หากแต่เมื่อได้ใช้สติในการแก้ไขก็จะสามารถแก้ปัญหาด้านจิตวิญญาณได้ในระดับหนึ่ง ในขณะเดียวกัน หากมีการร่วมไม้ร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐและคณะกรรมการชูรอ ปัญหาดังกล่าวก็จะสามารถแก้ได้ง่ายยิ่งขึ้น ก็จะเป็นการดีมากขึ้น  

   ๒. ปัญหาด้านระบบการทำงานของคณะกรรมการชูรอ อันเนื่องมาจากคณะกรรมการส่วนใหญ่แล้วเป็นชาวบ้าน มีความยากจนและขาดการศึกษา จึงส่งผลให้การจัดระบบทั้งด้านของการจัดการเอกสาร การบริหารจัดการ จึงยังคงอ่อนด้อย ส่งผลให้ขาดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยจิตใจที่ดีงาม ในการเสียสละเพื่อการทำงานชุมชน ส่งผลให้ การดำเนินกิจกรรมยังสามารถดำเนินไปได้ กระนั้น องค์กร หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ลงมาทำงานในระดับพื้นที่ จำต้องเข้ามาทำงานด้านการให้ความรู้ อบรมเชิงปฏิบัติการและการศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนสนับสนุนด้านอาคารสำนักงานและอุปกรณ์สำนักงาน จะช่วยให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

   ๓. ประเด็นปัญหาความมั่นคงในพื้นที่ชายแดนของภาคใต้ สร้างความหวาดระแวงให้กับหน่วยงานของรัฐ ในการเข้ามาทำงานพัฒนา ด้วยคณะกรรมการชูรอ เป็นคณะบุคคลที่มิได้มีการจัดตั้งเป็นลายลักษณ์อักษร ดังนั้น การสร้างความเข้าใจที่ตรงกันในกระบวนการชูรอ จึงมีความสำคัญยิ่ง เพื่อการรสร้างความร่วมมือในการทำงานร่วมกันในอนาคต อีกทั้ง การให้ความสำคัญกับคณะกรรมการชูรอในการประสานงาน และหรือดำเนินการงานพัฒนาไดๆ ในหมู่บ้าน 

   ๒. กรณีศึกษาชุมชนตะโละ ตำบลตะโละ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

   บ้านตะโละ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๕ ตำบลตะโละ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี เป็นชุมชนอยู่อย่างพอเพียง สันโดษ เป็นชุมชนทางประวัติศาสตร์เพราะเกี่ยวเนื่องพระราชายะหริ่ง(ตระกูลอับดุลบุตร ตระกูลพิพิธภักดี) โดยลักษณะทางภูมิศาสตร์ชุมชนบ้านตะโละเป็นพื้นที่ราบลุ่ม น้ำท่าอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเกษตร ประชากรส่วนใหญ่ ทำนาเป็นหลัก และรองลงมาคือรับจ้างกรีดยางนอกพื้นที่ 

   คำว่า "ตะโละ" เป็นคำมาจากภาษามลายูแปลว่าอ่าว ด้วยเพราะสภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มมีน้ำขังตลอดปีอีกทั้งมีลักษณะเป็นแอ่งก้นกระทะ เป็นที่รวมของน้ำไหลมาที่พื้นที่อื่น โดยในอดีตนั้นได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ในพื้นที่ดอนเรียกว่า "ตนียะ" โดยมีเรื่องเล่าต่อกันมาว่าคำว่า "ตนียะ" เป็นสถานที่ที่ช้างของพระราชาหยุดดื่มน้ำและเป็นพื้นที่ทางผ่านของขบวนช้างพระราชายะหริ่งที่เสด็จผ่านจะไปบ้านม่วงหวาน (บ้านปาโฮะมานิส) ตำบลสาคอบน ซึ่งเป็นอำเภอมายอในปัจจุบัน ในรอบหนึ่งปีเจ้าเมืองยะหริ่งจะเดินทาง ๒ - ๓ ครั้ง ขบวนช้างของเจ้าเมืองจะผ่านชุมชน โดยระหว่างทางที่ขบวนช้างเดินทางผ่านนั้น จะมีผู้รับใช้ตลอดเส้นทาง เช่น ตระกูลโตะลู และ ตระกูลซีนา เป็นต้น จวบจนปีพุทธศักราช ๒๕๐๔ หน่วยงานราชการได้ร่วมกันจัดทำแผนพัฒนาชุมชน มีการบุกเบิกถนนระยะทาง ๑๔ กิโลเมตร ผ่านชุมชนตะโละ ทำให้ชาวบ้านมีความสะดวกในการสัญจรไปมา ต่อมามีการขุดคลองระบายน้ำลงสู่อ่าวยะหริ่งปัญหาน้ำขังจึงหมดไป เมื่อพื้นที่ที่เคยเป็นป่าพรุน้ำเหือดแห้งลงชาวบ้านจึงเริ่มอพยพโยกย้ายเข้ามาจับจองที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย และตั้งชื่อว่า หมู่

  การวางแผน

 

    ผู้บริหารทุกคนย่อมต้องการทำงานให้สำเร็จ และมีความคิดหลายอย่างที่จะหาวิธีให้งาน บรรลุเป้าหมาย ความคิดของผู้บริหารอาจเลื่อนลอยไม่ชัดเจนอาจเป็นไปได้หรือเป็นไปไม่ได้ แต่สิ่งที่ทำให้ความคิดของผู้บริหารเป็นความจริงก็คือแผน หากขาดการวางแผนหนทางที่จะบรรลุผลก็เป็นไปได้ยาก ในแง่ของการบริหารการวางแผนเป็นหน้าที่แรกสุดแล้วก็ตามด้วยหน้าที่การจัดองค์การ การจูงใจ หรือการนำและการควบคุมการวางแผน มีความสำคัญมากที่จะบอกได้ว่าองค์การจะประสบความสำเร็จในการแข่งขันกับองค์การอื่นหรือไม่ แผนเป็นสิ่งที่แสดงให้เป็นว่าองค์การพยายามที่จะทำให้ดียิ่งขึ้นกว่าที่กำลังกระทำอยู่และพยายามทำให้ดีกว่าคนอื่น การวางแผนเป็นการตัดสินใจล่วงหน้าก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์จริง

    ความหมายของการวางแผนคือ กระบวนการในการกำหนดวัตถุประสงค์และวิธีการว่าจะทำอย่างไรให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้น หากจะกล่าวในแง่ของสถานการณ์ การวางแผนเป็นกระบวนการในการเผชิญกับความไม่แน่นอนโดยการกำหนดการกระทำขึ้นล่วงหน้าเพื่อให้ได้ผลตามที่กำหนดไว้ การวางแผนจะเกี่ยวข้องกัน 2 อย่างคือ จุดหมายปลายทางกับวิธีการ จุดหมายปลายทางก็คือจะทำอะไร วิธีการก็คือจะทำอย่างไร

   การวางแผนอาจเป็นเรื่องส่วนตัวหรือเรื่องที่เป็นทางการ เมื่อผู้บริหารมีความคิดที่จะหาวิธีทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมาย ความคิดนั้นอาจเป็นการส่วนตัวคือไม่ได้เขียนไว้ ไม่ได้ขอความคิดเห็นจากคนอื่นในองค์การ การวางแผนเป็นการส่วนตัวนี้อาจเป็นเรื่องของส่วนบุคคลหรือขององค์การขนาดเล็ก การวางแผนส่วนตัวจะขาดความต่อเนื่องและขาดข้อมูล แต่การวางแผนที่เป็นทางการเป็นเรื่องยุ่งยากซับซ้อน จะต้องเขียนวัตถุประสงค์ไว้ จะต้องกำหนดวิธีการอย่างชัดเจน จะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของคนในองค์การ ให้คนในองค์การยอมรับอาศัยข้อมูลจำนวนมากกำหนดระยะเวลาไว้และอื่นๆ

 ความสำคัญของการวางแผน

   ถ้าจะถามว่าทำไม่ต้องมีการวางแผนอาจตอบได้ง่ายๆ ว่า เพื่อลดความไม่แน่นอนลงหรือลดความเสี่ยงให้เหลือน้อยที่สุด หากสถานการณ์ต่างๆ ในโลกมีความแน่นอนก็ไม่จำเป็นต้องมีการวางแผนคิดอยากจะทำอะไรก็ได้และก็ประสบผลสำเร็จตามต้องการด้วย แต่เพราะสถานการณ์ต่างๆ ไม่มีความแน่อนหรือมีความเสี่ยงจึงต้องมีการวางแผน

วัตถุประสงค์ในการวางแผน

  1. การวางแผนทำให้รู้ทิศทางในการดำเนินงาน เมื่อผู้ปฏิบัติงานรู้ทิศทางการทำงานก็สามารถประสานงานกัน รู้ว่าควรทำอะไรและทำอย่างไรจะได้ผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ หากไม่มีการวางแผน นอกจากไม่รู้ว่าจุดหมายปลายทางอยู่ที่ไหนแล้วก็ยังก่อให้เกิดการสูญเสียหรือสิ้นเปลืองทรัพยากรอีกด้วย

   2. การวางแผนทำให้ลดความไม่แน่นอนลง เพราะผู้บริหารจะมุ่งมั่นไปสู่จุดหมายปลายทางอย่างแน่วแน่สามารถคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงอันอาจเกิดขึ้นได้ดียิ่งขึ้น สามารถปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงขณะเดียวกันก็เตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงอย่างเหมาะสม

     3. การวางแผนทำให้ลดความเสียหายการซ้ำซ้อนกันของงานที่ทำ เนื่องจากการวางแผนทำให้รู้ทั้งวิธีการและเป้าหมายของงานจึงทำให้มีความชัดเจนในการทำงาน รู้ว่ากิจการรมใดควรทำก่อนหลังอย่างไร การซ้ำซ้อนและการสิ้นเปลืองจึงไม่เกิดขึ้น

       4 การวางแผนทำให้รู้มาตรฐานในการควบคุม หน้าที่ขั้นสุดท้ายของการบริหารคือ การควบคุมให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด กิจกรรมที่สำคัญของการควบคุมคือมาตรฐานที่ให้เปรียบเทียบกับการปฏิบัติที่เกิดขึ้นจริง การวางแผนจึงกำหนดมาตรฐานได้แน่นอนชัดเจนว่างต้องให้ได้ผลงานอย่างไร

    ประเภทของการวางแผน .....การวางแผนสามารถแยกออกเป็นประเภทต่างๆ ตามแนวความคิดพื้นฐานโดยใช้มิติต่างๆ เป็นเกณฑ์ดังนี้

 1. จำแนกตามเวลา

     1) การวางแผนระยะสั้น

     2) การวางแผนระยะปานกลาง

     3) การวางแผนระยะยาว

  2. จำแนกตามระดับการจัดการ

    1) การวางแผนกลยุทธ

    2) การวางแผนบริหาร

    3) การวางแผนปฏิบัติการ

  3. จำแนกตามระดับโครงสร้างการบริหารประเทศ

  1) แผนระดับชาติ

  2) แผนระดับภาค

  3) แผนระดับท้องถิ่น

  4. จำแนกตามหน้าที่การงาน

    1) การวางแผนด้านการผลิต

    2) การวางแผนด้านบุคลากร

    3) การวางแผนด้านการ     ตลาด

    4) การวางแผนด้านการเงิน                                                                                                                                                                                                                                          ลักษณะของแผนที่ดี (Requirements of Goo....แผนที่ดีควรมีลักษณะดังนี้

   1. แผนควรจะมีลักษณะชี้เฉพาะมากกว่าจะมีลักษณะกว้างหรือกล่าวทั่วๆ ไป (It should be specific rather then general)

   2. แผนควรจำแนกตามความแตกต่างระหว่างสิ่งที่รู้แลกสิ่งที่ยังไม่รู้ให้ชัดเจน (The plan Should distinguish the known and the unknown)

      3. แผนควรมีการเชื่อมโยงอย่างเป็นเหตุผลและสามารถนำไปปฏิบัติ (A plan should be and practical)

     4. แผนจะต้องมีลักษณะยืดหยุ่นและสามารถปรับพัฒนาได้ (The plan must be flexible and capable of being modified)

    5. แผนจะต้องได้รับการยอมรับจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง (The plan must be acceptable to the persons who adopt it and to the persons 

who are affected)


   ลำดับขั้นในกระบวนการวางแผน .....การดำเนินการใดๆ ก็ตามควรจะมีลำดับขั้นและขั้นตอน ทั้งนี้เพื่อให้งานนั้นมีประสิทธิภาพ การวางแผนก็เช่นกัน จำเป็นต้องทำต่อเนื่องเป็นกระบวนการลำดับขั้นในการวางแผนประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้

    1. การกำหนดวัตถุประสงค์ (Setting Objectives)

     2. พัฒนาข้อตกลงที่เป็นตัวกำหนดขอบเขตในการวางแผน (Developing the Planning Premisest)

   3. พิจารณาข้อจำกัดต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในการวางแผน (Reviewing all possible Limitations on Planning)

  4. พัฒนาทางเลือก (Developing Alternation)

  5. ประเมินทางเลือก เพื่อเลือกสิ่งที่เป็นไปได้สูงสุด (Evaluating the alternatives)

   6. เปลี่ยนแปลงแผนสู่การปฏิบัติ (Converting plans into Actions)

    ชนิดของแผน.....ในสังคมปัจจุบัน นักธุรกิจที่มีวิสัยทัศน์ (Vision) กว้างไกลและมีความสำนึกในเรื่องของส่วนรวม มีปณิธาน (Wish) คือ การตั้งความปรารถนาหรือความมุ่งหวังที่จะทำประโยชน์แก่ส่วนรวม ควบคู่ไปกับการวางแผนในลักษณะต่างๆ ดังนี้ (พะยอม วงศ์สารศรี 2534 : 78-85)

  1. วัตถุประสงค์ (Objective) คือจุดมุ่งหมายปลายทางที่องศ์การต้องการหรือเกิดจากความประสงค์ของผู้ถือหุ้นและพนักงาน วัตถุประสงค์เป็นตัวกำหนดความต้องการอย่างกว้างๆ

     2. กลยุทธ์ (Strategy) คือ การวางแผนหลักเพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินงานขององค์การว่าควรหรือไม่ควรดำเนินการอะไรบ้างเพื่อให้เกิดผลดีที่เป็นข้อได้เปรียบ

   3. นโยบาย (Policy) คือ หลักการที่กำหนดขึ้นเพื่อเป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติ 

    4. แผน (Plan) แนวทางหรือวิธีการหรือกลุ่มของแผนงานรวม โดยจะรวมแผนงาน โครงการและกิจกรรมต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน เช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 พ.ศ.2540-2544 

    5. แผนงาน (Program) คือ แผนที่รวมนโยบายหรือวีปฏิบัติงาน วิธีการทำงาน มาตรฐานงาน และส่วนประกอบอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานเพื่อให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ 

    6. โครงการ (Project) คือ กลุ่มของกิจกรรมที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน อาจเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นเฉพาะคราวหรือโอกาสพิเศษแต่ต้องมีช่วงเวลาการดำเนินที่แน่นอน


               7. วิธีปฏิบัติงาน (Procedure) มีลักษณะเป็นแผนอีกประเภทหนึ่งที่บ่งให้เห็นถึงระเบียบที่กำหนดไว้ในการดำเนินงาน เพื่อเป็นแนวทางและหลักในการปฏิบัติงานให้ดำเนินไปด้วยความถูกต้องรวดเร็ว

    8. วิธีการทำงาน (Method) มีลักษณะเป็นแผนอีกประเภทหนึ่งซึ่งมีรายละเอียดมากกว่าวีการปฏิบัติงาน วิธีการเปรียบเสมือนคู่มือหรือเครื่องมือที่เป็นสื่อในการทำงานแต่ละประเภทให้ประสบความสำเร็จ

     9. มาตรฐานงาน (Standard) คือ เกณฑ์ที่ใช้ประกอบการพิจารณาเพื่อกำหนดว่ามีการพัฒนาตามแผนที่วางไว้หรือไม่ โดยเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานจริงกับแผนที่คาดไว้ว่าตรงกันหรือไม่ มาตรฐานงานวัดได้ในรูปของคุณภาพของงาน ปริมาณของงาน ต้นทุน และเวลาที่ใช้

    10. งบประมาณ คือแผนงานที่บอกถึงความสัมพันธ์ของกิจกรรมรวมเวลาและค่าใช้จ่าย แสดงออกเป็นตัวเลข โดยงบประมาณจะแสดงออกมาเป็นตัวเงิน เวลากำหนดเป็นชั่วโมง วัน เดือน ปี เช่นงบประมาณค่าใช้จ่ายของบริษัทธุรกิจในปี 2541 เป็นเงิน 50,000 ล้านบาท

 โครงการ (Project).....โครงการ หมายถึง กลุ่มของกิจกรรมที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน โครงการมีลักษณะดังนี้

    1. เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นเฉพาะคราวเพื่อโอกาสพิเศษ หรือเพื่อการริเริ่มงานใหม่ หรือเพื่อการปรับปรุง หรือการพัฒนางานปกติ

    2. มีช่วงเวลาการดำเนินงานที่แน่นอน เมื่อครบกำหนดแล้วจะหยุดการดำเนินงาน

     3. จุดเน้นอยู่ที่การปรับปรุง หรือการพัฒนางานที่ทำอยู่แล้วเพื่อกกระตุ้นให้เกิดงานใหม่

      หัวข้อและรายละเอียดในโครงการมักจะประกอบด้วยส่วต่างๆ                                                                                         

       1. ชื่อโครงการ

       2. หลักการและเหตุผล

       3. จุดประสงค์ของโครงการ

       4. เป้าหมายความสำเร็จ

       5. วิธีดำเนินงาน

       6. วีธีการควบคุมติดตามกำกับและประเมินผล (monitoring system) (บางโครงการมีโดยเฉพาะโครงการเงินกู้)

     7. งบประมาณและแหล่งงบประมาณ

     8. ระยะเวลาในการดำเนินงาน

     9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    10. ผู้รับผิดชอบโครงการ

 

รูปที่ 1 ความสัมพันธ์ระหว่างแผนงานและโครงการ

ตัวอย่างโครงการ

อ้างอิง : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.2548.การวางแผน.[Online] Available URL ; http://www.ripb.ac.th/~intanin/elearn/EJUDKAN/lesson_03/orm_03.


คัดลอกบทความจาก

http://learners.in.th/blog/anda6104/222281

   http://learners.in.th/blog/anda6104/225656


            

ความคิดเห็น