รวมภาษิตคำเมือง ศัพท์ภาษาล้านนา ไว้ที่นี่เน้อ

 รวมภาษิต/คำเมืองล้านนา 1

 78 โก๋ย : น.ตะกร้า  

   77 โกบ : ก. อาการกอบเอาของ น.เปลือกมะพร้าว   

   76 โก๋น : ก. โกนผม น.โพรง ก๋น, ก๋วน ก็ว่า 

   75 โกด : ก.เอามือขุดเอาจำนวนมาก, นำไปมากๆ ว.มากมาย โกบ ก็ว่า      74 โก้งๆ ลายๆ : ว. กระดำกระด่าง, ก่านโก้งลายเลน ก็ว่า  

   73 โก้งโด้ง : ว.ลักษณะผอมสูงโค้มค้อมเล็กน้อย, สูงขนาดกลางใช้คำว่าก้างด้าง  

   72 โก้ง : ว. ต่าง ลายเป็นจุดสีที่ต่างไปจากสีพื้น ก้ง ก็ว่า  

   71 โก่งโคโย : ก.ว. โก้งโค้ง ถ้าเล็กใช้ ก่องคอยอ  

   70 โก่งโกะโก่งโก๋ย : ว. หลังค้อมลุกนั่งลำบากเพราะโรคภัย งก ๆ เงิ่น ๆ    

   69 โก่งโกะ : ก.ว.ยืนหลังโก่ง หรือค้อมหลัง

   68 โก่ง : ก. ทำให้โค้ง ว. โค้ง ค่อม ก่ง ก็ว่า

   67 โก้โหว้ : ว. หลุมหรือบ่อที่ลึกลงไป โจ้โหว้ ก็ว่า ขนาดกลางใช้ ก้อหว้อ หรือ จ้อหว้อ ถ้าขนาดเล็กใช้กี้หวี้ จี้หวี้

   66 โก่โด่ : ว. ลักษณะของสิ่งใหญ่โผล่หรือยื่นออกมา, ถ้ามีมากหลายขนาดใช้โก่โด่ เก่เด่, ถ้าขนาดกลางใช้ เก่เด่, ถ้าเล็กใช้ ก็อกด็อก โก่โด่ ก้อด้อ ก็ว่า 65 โกก : ก. คว่ำภาชนะแล้วเคาะลงโดยแรง, คว่ำหน้าเอาหน้าผากกระแทกพื้น

   64 โก๋ : ก. กู่ ส่งเสียงดัง, เอ็ดตะโร, น. 1 ค่าง น. 2 ตะโหนก 63 แก่ว : น. ลูกเต๋า ก.ซัด ทอด เท

   62 แก๋น : น. แกนไม้ ไม่เจริญ ขัดลาภ ไม่มีโชค

   61 แก็ก : ก. ตาเข เหล่ เก็ก ก็ว่า

   60 แก่ : น. เรียกผู้ใหญ่บ้านว่าแก่ อายุมาก มากเกินควร 59 แกว่น : ก. ชำนาญ คล่องแคล่ว ว่องไว

   58 แกวด : ก. ป้าย ทา แปด แขวด ก็ว่า

   57 เกี้ยว : อ้อม วกวน คดเคี้ยว

   56 เกี๋ยง : น. ขีดกา ขีดไขว้ ชื่อเดือนอ้ายของภาคเหนือ

   55 เกี๋ย : ก. ให้อาหารสัตว์ ลางแห่งใช้ เกลื๋อ

   54 เกี่ยว : ก. ตะคริว ตัดด้วยเคียว ปลอกเหล็กรัดด้ามมีด 53 เก่ย : ก่าย เกย พาด ทับ แบ่งของให้เท่าๆ กัน

   52 เกิ้ม : น. เรียกเนื้อมะพร้าว เรียกมะขามที่สุกแก่จัดจนล่อน

   51 เกิบ : น. เกือก รองเท้า บางแห่งว่า ส็อก

   50 เกิ๋น : น. พะอง บันได เลยไป มากไป

   49 กึ : ก. ประกบ สัมผัส เทียบ เอาจมูกชนแก้ม

   48 กีด : ว. คับแคบ

   47 กี่ : น. เครื่องทอผ้า, อิฐเผา ดินกี่ ดินจี่ ก็ว่า  

   46 กี่ : น. เครื่องทอผ้า, อิฐเผา ดินกี่ ดินจี่ ก็ว่า  

   45 กิ้ว : บิด ปวดมวน อุจจาระเป็นมูกเลือด 

   44 กิ่ว : น. ที่คอด 43 กิ๋ว : ขนเส้นยาวเกิดตามใบหน้า คาง 

   42 กิ้ม : ก. สั้น มักใช้กับเสื้อ เช่น เสื้อแขนกิ้ม  

   41 หมั่นตายหลังด้าน ค้าน(ขี้คร้าน) ตายหลีงหัก : ในการทำงานใด ๆ ถ้าหักโหมทำก็จะทำให้ร่างกายทรุดโทรมได้ หากค่อย ๆ ทำไป ก็จะเป็นผลดี  

   40 นกบ่มีขน คนบ่มีเปื้อน มันตึงขึ้นตี้สูงยาก : การจะทำอะไรการใหญ่นั้น ถ้าไม่มีคนที่จะช่วยก็จะทำอะไรได้ยากลำบาก เหมือนกับ นกที่ไม่มีขน และคนไม่มีเพื่อน จะทำอะไรสูง ๆ นั้นต้องยากลำบาก  

   39 ต๋ามีหน้าผ่อหน้าบ่หัน : บุคคลที่ชอบจับผิดบุคคลอื่นอยู่เสมอ กล่าวหา หรือนินทา ให้ผู้อื่นเสื่อมเสีย โดยที่ไม่มองดูตนเอง เรื่องราวหรือความผิดต่าง ๆ ที่ตนเองได้กระทำซึ่งมีมากมายนัก อาจจะมากกว่าบุคคลที่ตนเองกล่าวถึงก็ได้   

   38 แมวขึ้นค่วน บ่ม่วนใจ๋หนู : แมวขึ้นไปบนเพดาน หนูที่อาศัยอยู่นั้นต้องไม่พอใจ เปรียบกับผู้ใหญ่เข้าร่วมกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่จัดขึ้นสำหรับผู้น้อย ย่อมเป็นที่อึดอัดใจของบุคคลเหล่านั้น ทำให้เกิดความเกรงใจ และรู้สึก ไม่สนุกกับกิจกรรมที่จัดขึ้น  

   37 มีลูกเหมือนเจื้อกสุบคอ มีเมียเหมือนป๋อสุบศอก : เป็นสุภาษิตสอนคนให้ระลึกถึงความทุกข์ของการที่ต้องเกิดมาเป็นมนุษย์บนโลกนี้ ย่อมหลุดพ้นจากวัฎสงสารยาก หากยังยึดติดอยู่กับกิเลสตัณหาอยู่อย่างไม่จบสิ้น  

   36 มีนึ่งแล้วบ่ดีแอมสอง ขี่เฮือน้ำนองซ้อนสองจ้างหล้ม : เปรียบได้กับชายที่มีคู่ครองของตนเองอยู่แล้วแต่อยากได้อีกคนหนึ่ง ทำให้เกิดปัญหาในชีวิตครอบครัวตามมา เป็นสุภาษิตที่สอนให้รู้จักพึงพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่  

   35 ขาหน้าบ่เต้าขาหลัง : บุคคลที่แม้จะไปหลงระเริงอยู่กับสิ่งใหม่ โดยทิ้งลูกเมียหรือ ลืมบ้านเกิดอันเป็น ภูมิลำเนาเดิมของตนไว้เบื้องหลัง อย่างไรก็ตามก็ยังห่วงหาอาวรณ์ลูกเมีย ญาติพี่น้องอยู่เสมอ  

   34 ของกิ๋นลำอยู่ตี้คนมัก ของฮักอยู่ตี้คนเปิงใจ๋ : อาหารจะอร่อยอยู่ที่คนชอบ ผู้หญิง-ผู้ชายจะรักชอบใครขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของแต่ละบุคคล ไม่สามารถที่จะบังคับกันได้

   33 ความฮู้นั้นย่อมเฮียนตันกั๋น ส่วนผหยานั้นเฮียนกั่นบ่ได้ : ทุกๆ คนสามารถเรียนเอาความรู้ได้เท่าเทียมกัน แต่ในเรื่องของความเฉลียวฉลาด ความรอบรู้นั้น ขึ้นอยู่กับบุคคลแต่ละคน ไม่สามารถที่จะสอนกันได้  

   32 คนตำต่ำต้าวนอนหงาย บ่ดีก๋ายเหยียบข้าม : คนเมื่อทำความผิดพลาดไป หรือไม่ประสบผลสำเร็จในสิ่งที่ตั้งใจหวัง ย่อมจะเสียใจเป็นธรรมดา ไม่ควรที่จะซ้ำเติม หรือดูถูกเหยียดหยาม ตรงกับภาษิตภาคกลาง ไม้ล้มอย่าข้าม  

   31 ของบ่กิ๋นฮู้เน่า ของบ่เล่าฮู้ลืม : อาหารที่เก็บไว้โดยที่ไม่ได้รับประทาน ย่อมจะบูดเน่าไปในที่สุด ตำราก็ต้องหมั่นตรวจท่องจำ ไม่เช่นนั้นก็จะลืมเลือน เปรียบเหมือนสิ่งของที่ร่ำเรียนมาแต่ไม่ได้นำไปใช้ ย่อมจะมีวันที่ลืมเลือนไปได้โดยง่าย  

   30 กิ๋นส้มบ่ดีฮาน กิ๋นหวานบ่ดีป้ำ : กินส้มไม่ควรที่จะตัดทอนกิ่งของส้มลงหมด เพราะส้มจะออกผลบริเวณกิ่ง เมื่อตัดออกส้มจะไม่ออกผลอีก กินหวานไม่ควรที่จะตัดโคนทิ้ง เพราะจะทำให้ต้นไม้ตาย และไม่ออกผลไม้ที่มีรสหวานให้รับประทาน เป็นสุภาษิตสอนให้รู้จักการมองการณ์ไกล ไม่ควรหวังประโยชน์เพียงแค่ระยะสั้น 

   29 หล็วกใส่ตั๋วเอาหัวเข้าฮ่ม : บุคคลที่มีความเห็นแก่ตัว ชอบเอาตัวรอดเพียงคนเดียว โดยไม่ได้ห่วงใยคนอื่นหรือให้ความช่วยเหลือผู้อื่น อยู่ที่ไหนก็มักจะเอาเปรียบผู้อื่นอยู่เสมอ   

   28 ไม้ต้นเดียวบ่เป๋นก๋อ ป๋อต้นเดียวบ่เป๋นเหล่า : คนเราไม่สามารถที่จะอยู่ตามลำพังเพียงคนเดียว และไม่สามารถที่จะทำงานใหญ่ได้สำเร็จลงได้ตามลำพังต้องประสานและพึ่งพาบุคคลอื่น  

   27 เมื่อจะกิ่วขอหื้อกิ่วคองู เมื่อจะอูขอหื้ออูคอจ๊าง : เมื่อถึงเวลาตกอับก็จงทำตัวให้เหมือนงู งูถึงคอมันจะเล็กก็ยังชูคอได้อย่างสง่าไม่ยอมให้ใครเหยียบย่ำได้ เมื่อถึงเวลาร่ำรวยก็ขอให้ร่ำรวยจริงเหมือนดังช้างที่มีตัวและลำคอใหญ่โตไม่ใช่รวยแต่เปลือกนอก  

   26 ไปเมืองใดก็หื้อเอาไฟเมืองนั้น : ให้รู้จักการวางตนให้เหมาะสมในสถานที่ต่าง ๆ อย่าทำตัวต่างจากคนอื่นมากนัก ตรงกับสุภาษิตภาคกลาง "เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตาม" 

   25 จับใจ๋แฮ้ง บ่แหน้นใจ๋ก๋า จับใจ๋หมอยา พยาธิบ่สู้ : คนเราต่างจิตต่างใจชอบกันไปคนละอย่าง  

   24 งัวตั๋วใดกิ๋นหญ้าแผกหมู่ กันบ่ต๋ายเป๋นห่าก็ต๋ายเสือขบ : เป็นสุภาษิตสอนให้คนอยู่รวมเป็นหมู่พวก ถ้ามีพฤติกรรมผิดแผกแปลกไปจากบุคคลอื่น ในที่สุดบุคคลนั้นก็จะไม่มีใครคบค้าสมาคมด้วย กลายเป็นคนที่โดดเดี่ยว และไม่สามารถแก้ปัญหาตามลำพังได้  

   23 ก้อนหินขว้างซัด ถูกตี้หินขัง จ้างหุมขะนัง สะต๊อนใส่หน้า : การจะทำสิ่งใดก็ตามควรคิดให้ดีก่อนลงมือทำ ให้ระมัดระวังผลที่จะสะท้อนกลับเข้าหาตนเอง เช่น ถ้าทำร้ายผู้อื่น ผลร้ายจะกลับมาถึงตน พูดให้ร้ายบุคคลอื่นตัวเองก็จะเป็นแบบนั้น 

   22 เงินคำเป๋นเจ้า เข้าเป๋นนาย : เงินทองสามารถที่จะจับจ่ายใช้สอย ซื้อเกือบทุกสิ่งที่เราต้องการ ข้าวมีคุณประโยชน์ต่อมนุษย์เช่นกัน เลี้ยงมนุษย์ทั้งโลกควรยกย่อง สุภาษิตได้กล่าวถึงให้รู้จักคุณค่าของเงินทองและข้าวของ ไม่ควรที่จะเหยียบย่ำหรือใช้อย่างสุรุ่ยสุร่าย โดยไม่คิดเสียก่อน    

   21 งาจ๊างหักขำเศิก นอนหลับเดิกบ่เสียก๋าร : เมื่อลงมือทำงานอะไรแล้วจะต้องทำอย่างเต็มที่ เช่นเดียวกับช้างศึกที่รบในศึกสงครามแม้ว่างาช้างจะหักกลางระหว่างการสู้รบ ก็จะต้องสู้ต่อไปจนกว่าจะรู้ผล 

   20 ขว้ำมือเป๋นลาย หงายมือเป๋นดอก : บุคคลที่มีความรู้ความสามารถในการทำงานได้หลายประเภทในการทำงานแต่ละครั้งก็สามารถสร้างรายได้ให้จำนวนมาก  

   19 อู้กับคนไบ้เหมือนผ่าไม้ตั้ดต๋า อู้กับคนมีผหยาเหมือนผ่าไม้โล่งปล้อง : "พูดกับคนไม่มีปัญญาเหมือนผ่าไม้ตรงตาไม้ แต่พูดกับคนที่มีปัญญา เหมือนผ่าไม้ได้ตลอดทั้งปล้อง" เป็นสุภาษิตใช้เปรียบเทียบการใช้งานระหว่างคนฉลาดกับคนโง่ การให้คนโง่ทำกิจการหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งย่อมเป็นการยากที่จะสำเร็จ ตรงข้ามกับการใช้คนฉลาดย่อมจะทำให้งานหรือกิจการนั้นสำเร็จมากกว่า คนฉลาดมักจะได้เปรียบเสมอในการทำกิจการงานต่างๆ  

   18 เหล็กบ่เหลี้ยมเปิ้นบ่เอาจี คนบ่ดีเปิ้นบ่ใจ๊ : เหล็กที่ไม่แหลมคม จะไม่เอามาใช้ คนไม่ดีไม่มีใครอยากจะเรียกใช้งาน เป็นสุภาษิตสอนผู้ที่เป็นหัวหน้าให้รู้จักเลือกใช้คน คนที่ไม่ดี หรือไม่มีความขยันอดทน หรือขาดความฉลาดไม่ควรที่จะนำมาใช้งานบางอย่าง เพราะอาจจะทำให้งานนั้นไม่สำเร็จลุล่วงได้  

   17 นกบ่บินบ่จ้างก๋ำปีกมันอ้า ควายบ่กิ๋นหญ้าบ่จ้างข่มเขามันลง : นกที่ไม่ชอบบิน ถึงแม้จะใช้มือจับปีกมันอ้า มันก็ไม่บิน ควายไม่กินหญ้าถึงข่มเขาให้มันลงกินหญ้ามันก็ไม่กิน เปรียบเหมือนกับคน สิ่งใดงานใดที่เขาไม่ชอบไม่ควรจะบังคับฝืนใจ ผลที่ออกมาจะไม่ดีเท่าที่ควร  

   16 กบบ่หื้อเกี้ยด เขียดบ่หื้อต๋าย : สอนเกี่ยวกับการถนอมน้ำใจของทั้งสองฝ่าย เตือนคนที่เป็นหัวหน้าหรือผู้บริหารให้รู้จักถนอมน้ำใจลูกน้องยามที่มีปัญหาขัดแย้งกัน  

   15 อ้าปากบ่หลมเข็ม : คนที่มีปากแล้วพูดไม่ออก เพราะเมื่อพูดออกไปจะมีผลทำให้เกิดความเดือดร้อน หรือเป็นอันตรายต่อผู้พูดได้ ตรงกับสุภาษิตภาคกลางว่า "น้ำท่วมปาก" 

   14 ปากได้ไปเปลื๋อง : การพูดมากจนเกินไป เป็นสุภาษิตที่กล่าวถึง คนที่พูกเก่ง พูดคล่อง สามารถใช้คำพูดแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น กับตัวเองจากเหตุการณ์ที่ไม่ดีให้กลายเป็นดีได้ บุคคลประเภทนี้จะมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีสามารถเข้ากับคนได้ทุกประเภท  

   13 ตุ๊มผ้าลายหมาเห่า ค้นกำเก่าจ้างผิดกั๋น : ไม่ให้พูดในสิ่งที่ผ่านมาแล้วในอดีต เพราะไม่มีประโยชน์ที่จะต้องรื้อฟื้นมาพูดกันอีก อาจเกิดการทะเลาะวิวาทกันได้  

   12 กำปากว่าไป เอาตี๋นย่ำไว้ : บุคคลที่ไม่มีสัจจะในคำพูด ชอบพูดจาให้สัญญากับบุคคลอื่นไว้มาก เพื่อต้องการที่จะใช้ประโยชน์จากผู้อื่น บุคคลจำพวกนี้มักไม่ให้ความสำคัญกับสิ่งที่ตนเองเคยพูดไว้  

   11 กำบ่มีไผบ่ว่า นกจับปล๋ายคา บ่ตั๋วปู๊ก่อตั๋วแม่ : เรื่องที่นำมาพูดกันใหญ่โตนั้นถึงจะไม่เป็นความจริงทั้งหมด แต่ก็มีเนื้อความอยู่บ้างไม่มากก็น้อย ตรงกับสุภาษิตภาคกลาง "ไม่มูลหมาไม่ขี้"  

   10 เก๊ามันเต้าเหล้มเข้ม ปล๋ายมันเต๋มแม่น้ำ : เรื่องราวที่เกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย แต่ถูกขยายให้มีความมากเกินความเป็นจริง มากเรื่องมากความไม่รู้จักจบสิ้น กลายเป็นเรื่องราวใหญ่โตขึ้นมาได้  

   9 กิ๋นหื้อปอคาบ หาบหื้อปอแฮง แป๋งหื้อปอใจ๊ ไข้หื้อปอนอน : ก่อนจะทำอะไรให้รู้จักประมาณตนเอง ไม่ทำไปจนเกินความพอดี  

   8 ปั๋นกั๋นกิ๋นคนน้อย กิ๋นคนเดียวจ้างแก๊น : มีอะไรก็ให้รูจักแบ่งปันกัน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน 

   7 ถ้วยแตกแล้ว เอามาเตาะต่อกั๋น ตี้ไหนจามัน จะหายแตกร้าว : เปรียบเหมือนคนเฮาก่อนจะอู้ออกไป บ่กึ้ดหน้ากึ้ดหลังก่อน แล้วจะมาแก้ตั๋วกำหลัง มันก่ เหมือนถ้วยชามตี้แตกร้าวไปเหียแล้ว เตาะต่อกั๋นใหม่ หยั่งใดมันก่ ตึงบ่เหมือนเก่า    

   6 สวรรค์มีอยู่ในอก หม้อนะฮกมีอยู่ในใจ๋ หม้อไฟมีอยู่ตี้ปาก ความตุ๊กความยาก อยู่ตี้ตี๋นกับมือ : คนเฮาทำความดีก่ มีสุข ทำความบ่ดีก่ มีตุ๊ก อู้ดี ก่ เป๋นศรีแก่ปาก อู้บ่ดี ก่ ฮ้อนเป๋นไฟ อยู่ไหนกิ๋นไหนบ่เป๋นต๋าสุข จะได้ดี ได้ยาก ก่ อยู่กับตี๋นกับมือของตั๋วเก่าทั้งนั้น    

   5 ก้นหม้อบ่ฮ้อน บ่เป๋นแต่ไห มันเป๋นแต่ไฟ บ่าใจ่กับหม้อ : อย่าด่วนตัดสินใจสาเหตุของปัญหา ควรพิจารณาให้รอบคอบเสียก่อน  

   2 หล๊วกบ้านนอก บ่เต๊าซอกป๊อกในเวียง หล๊วกในเวียง บ่เปียงขี้คอก หล๊วกขี้คอก บ่เต๊าวอกขี้ยา : ฉลาดบ้านนอก ไม่เท่ากระจอกในเมือง ฉลาดในเมือง ยังไม่เคียงขี้คุก ฉลาดขี้คุก ยังไม่เท่ากับความกระล่อน เจ้าเล่ห์ ของพวกขี้ยาทั้งหลาย    

   1 จุ๊หมาน้อยขึ้นดอย : หลอกกันให้เชื่อใจ แล้วก็ทิ้งกันไป 

   ที่มาของกระทู้ทั้งหมด

   จาก   http://www.suthatsunday.com/forum/index.php?topic=91.0

รวมภาษิต/ศัพท์ คำเมืองล้านนา2

115 ตุ๊มผ้าลายหมาเห่า ค้นกำเก่าจ้างผิดกั๋น : ตุ๊มผ้า หมายถึง ห่มผ้า กำเก่า หมายถึง คำพูดเดิม เรื่องราวเดิม สุภาษิตที่ใช้สอนบุคคลอื่นไม่ให้พูดในสิ่งที่ผ่านมาแล้วในอดีต เพราะไม่มีประโยชน์ที่จะต้องรื้อฟื้นมาพูดกันอีก อาจเกิดการทะเลาะวิวาทกันได้  

      114 ต๋ามีหน้าผ่อหน้าบ่หัน : ผ่อ หมายถึง มอง ดู บ่หัน หมายถึง ไม่เห็น "ตามีที่หน้า แต่มองหน้าตนเองไม่เห็น" กล่าวถึง บุคคลที่ชอบจับผิดบุคคลอื่นอยู่เสมอ กล่าวหา หรือนินทา ให้ผู้อื่นเสื่อมเสีย โดยที่ไม่มองดูตนเอง เรื่องราวหรือความผิดต่าง ๆ ที่ตนเองได้กระทำซึ่งมีมากมายนัก อาจจะมากกว่าบุคคลที่ตนเองกล่าวถึงก็ได้  

113 ใคร่หื้อเปิ้นฮักยากนักจักหวัง ใครหื้อเหิ้นจังกำเดียวก็ได้ : จัง หมายถึง เกลียด ชัง กำเดียว หมายถึง ประเดี๋ยวเดียว "อยากให้คนอื่นรักยากมากที่จะหวังให้เขารักได้ อยากให้คนอื่นเกลียดชัง เดี๋ยวเดียวก็ได้" การที่จะทำให้คนอื่นมารักเรานั้นทำได้ยาก ต้องอาศัยเวลา และความพยายาม ความอดทน แต่การทำให้คนอื่นเกลียดนั้น เพียงแค่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงเล็กน้อยที่ขัดใจเพียงเล็กน้อยก็ทำให้คนอื่นเกลียดเราได้

112 ควันไฟไผห่อบ่กุ้ม : บ่กุ้ม หมายถึง ไม่ทั่วถึง "ควันไฟ ไม่มีใครที่จะไปห่อหุ้มให้มิดชิด" ย่อมที่จะล่องลอยออกมาให้เห็น เปรียบเทียบกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นแม้จะพยายามปกปิดให้เป็นความลับมากเพียงใด ในที่สุดเรื่องราวความลับนั้นย่อมถูกเปิดเผยออกมาในที่สุด  

111 กำปากว่าไป เอาตี๋นย่ำไว้ : กำปาก หมายถึง คำพูด ย่ำ หมายถึง เหยียบ "พูดไปเรื่อย ๆ เอาตีนเหยียบไว้" กล่าวถึงบุคคลที่ไม่มีสัจจะในคำพูด ชอบพูดจาให้สัญญากับบุคคลอื่นไว้มาก เพื่อต้องการที่จะใช้ประโยชน์จากผู้อื่น บุคคลจำพวกนี้มักไม่ให้ความสำคัญกับสิ่งที่ตนเองเคยพูดไว้   110 กำบ่มีไผบ่ว่า นกจับปล๋ายคา บ่ตั๋วปู๊ก่อตั๋วแม่ : คา หมายถึง หลังที่ทำจากใบคา ตั๋วปู๊ หมายถึง ตัวผู้ ตั๋วแม่ หมายถึง ตัวเมีย "เรื่องราวไม่มีมูลความจริง ไม่มีใครพูดถึง นกเกาะหลังคา ไม่เป็นตัวผู้ก็เป็นตัวเมีย" เป็นสุภาษิตที่กล่าวถึงว่าเรื่องราวที่นำมาพูดกันใหญ่โตนั้นถึงจะไม่เป็นความจริงทั้งหมด แต่ก็มีเนื้อความอยู่บ้างไม่มากก็น้อย ตรงกับสุภาษิตภาคกลาง "ไม่มูลหมาไม่ขี้"  

109 กิ๋นเข้า หื้อไว้ต่าน้ำ : เข้า หมายถึง ข้าว ต่าน้ำ หมายถึง เผื่อน้ำ "กินข้าวให้เผื่อน้ำ" เป็นสุภาษิตที่สอนในเรื่องการกินการอยู่ หรือการทำงานควรทำแต่พอดี ไม่มากหรือน้อยเกินไป   108 ตกต่าเปิ้นหน้าดีใคร่หัว ตกต่าตั๋วเป็นดีใครไห้ : ถึงตอนคนอื่นทำผิดแล้วหัวเราะเยาะสมน้ำหน้า ถึงทีตัวเองบ้างแล้วอยากร้องไห้ สอนไม่ให้ซ้ำเติมคนอื่นคิดถึงใจเขาใจเราบ้าง 107 ลุกเจ๊ากินผักตางป๋าย ลุกขวายกินผักตางเก๊า : สอนให้เป็นคนขยันหมั่นเพียรตื่นแต่เช้าเพื่อไปเก็บผักจะได้ผักยอดอ่อน หากตื่นนอนสายจะได้กินแต่โคนผักเพราะผักถูกคนอื่นเก็บไปหมดแล้ว  

106 ปล๋าตั๊วหลวงต๋ายน้ำตื้น : คนที่เก่งมีความสามารถเคยแก้ปัญหาที่ยากมาแล้วแต่เมื่อเจอปัญหาที่ง่ายแต่กลับไม่สามารถแก้ปัญหานั้นได้ 105 บ่ตันเข้าป่าก็หันเสือ : เพียงแค่เริ่มก็มีอุปสรรคให้เห็นแล้ว   104 คนเหล็วก๊าใกล้ คนใบ้ก๊าไก๋ : คนโง่ย่อมเป็นเหยื่อของคนฉลาดเสมอ และคนฉลาดจะได้เปรียบในทุกด้าน  

103 ขะล่มต้มต้ำ : ว. เสียงโครมคราม ขะโล่มโต้มต้าม

102 ขะยือ : น. ม่องคร่อ โรคหืด ขางขะยือ ก็ว่า


101 ขะยึก : ก. กระตุก ขยับขะเยื้อน เคลื่อนเล็กน้อย

100 ขะยม : น. เด็กวัด ขะโยม ก็ว่า

99 ขะย็อกขะย่อน : ว. ขยักขย่อน คลื่นไส้ พะอืดพะอม

98 ขะมุกขะหมัว : ว. สาง จวนสว่าง จวนมืด

97 ขะแมบๆ : ว. พะงาบๆ เช่นอ้าบากหายใจเหนื่อย 96 ขะมุกขะมุ่น : ว. คลื่นไส้ คลื่นเหียน พะอืดพะอม

95 ขะปวง : น. พวงมาลัย 94 ขะปื๋ : น. กฎ ระเบียบ 92 ขะหม่อม : น. กระหม่อม  

91 ขะแนม : ส. หากว่า เพียงแต่ว่า

90 ขะแนง : น. ทะลายอย่างมะพร้าว

89 ขะเน : ก. กะ ตะเน คาดการณ์ คะเน ก็ว่า

88 ขะนุ่น : น. ไยฟูอย่างสำลี นุ่น

87 ขะนิ้ง : น. น้ำค้างแข็ง 86 ขะนัง : ก. ทำด้วยกำลัง เช่น ขว้าง ตี ทุบ เอาไป คะนัง ก็ว่า

85 ขะตึกอึกหนา : ว. คับคั่ง, ใหญ่โต หรูหรา มีหลักฐาน

84 ขะตึก : น. ตึกก่อด้วยปูน

83 ขะดาน : น. กระดาน 82 ขะด็อกขะแด็ก : ว. ืกระดอนขึ้น-ลง กระด็อกขะดอน ก็ว่า

81 ข๋ะใจ๋ : ก. เร็วๆ ไวๆ รีบร้อน

80 ข๋ะโจมหัว : น. ชฎา มงกุฎ ขะจุ๋ม ก็ว่า

79 เก๋าะ : น.หาดทราย

230 ขง : ก. กลัดเลือดหนองในผิวกาย น. กรุง เมือง กรงขังสัตว์ ก. เสียงดังกังวาน เช่น เสียงขง-เสียงดีฟังเพราะ

229 ข๋กหยก : ก. โขยกเขยก หกขะหยก-วิ่งโขยกเขยก 228 ขะหยุ็กขะหยุย : ว. ยุ่ง ไม่เป็นระเบียบ

227 ข้ำเขือก : ว. โกลาหน สับสน วุ่นวาย 226 ขะอูบ : น. ผอบ ขะอูบแก้ว ก็ว่า

225 ขะออม : น. ภาขนะบรรจุน้ำ   224 ขะแหย็ก : ว. อาการสั่นหรือกระตุก ขะหย็อก ก็ว่า

223 ขะหลำ : น. หำ อัณฑะ หำ ก็ว่า

222 ขะแลขะแจ : ว. แตกกระจัดกระจาย ระส่ำระสาย 221 ขะลึกตึกตั้ก : ว. เสียงโครมคราม ขะโล่มโต้มต้าม ก็ว่า

220 กำจ๋าหอมเป๊ตเปี้ยงดอกไม้ ยามบิดจากขวั้นมาดม : คำพูดไพเราะนั้นเปรียบเหมือนดอกไม้มีกลิ่นหอม ตอนที่เด็ดจากกิ่งมาใหม่ ๆ  

219 ก๋ามะตั๋ณหา ปาหื้อล่วงล้ำ บังเกิดไหม้ สันดาน : กามตัณหาทำให้คนล่วงละเมิดโดยไม่มีความละอายต่อบาป เพราะตัณหานั้นแผดเผาสันดาน

218 ก้อนหินขว้างซัด ตั๊ดตี้แข็งขัน จ้างหุมขะนัง : ก้อนหินเอาไปขว้างปาเข้าที่แข็ง ๆ มันมักจะกระดอนกลับมาโดนคนขว้างเอง ความหมายนั้น หมายถึงเราไปเกิดเรื่องราวเป็นคดีความกับผู้มีอิทธิพล ย่อมจะเสียเปรียบทุกประตู  

217 ไก่เกยจน คนเกยฟ้อน : หมายความว่าคนเราเคยทำอะไรมาก่อน ย่อมจะมีนิสัยนั้น ๆ ติดตัวมา ไม่มีวันที่จะเปลี่ยนแปลง นิสัยอันนั้นได้ง่าย ๆ หรืออีกความหมายหนึ่ง คนที่เคยมีอะไรด้วยกันอย่างล้ำลึกครั้นเมื่อ โอกาส ที่มาถึงก็ย่อมจะกระทำในสิ่งที่เคยทำนั้นได้อีก โดยไม่คำนึงถึงความเหมาะสมหรือไม่  

216 ก้นตั้งฟาก ปากตั้งข้าว : หมายความว่าเป็นคนที่ใช้การไม่ได้ เวลาทำไม่ยอมช่วยเหลือ เมื่อถึงเวลากินกลับเข้ามา นั่งกินอย่างหน้าด้าน ๆ

 215 กันย้ายสวนอ้อย มาจูปากจ๊าง จ้างเป๋นข่าวงแก้ว : หากว่าย้ายสวนอ้อยมาให้ช้างกิน มันก็จะหมดเรียบเตียนโล่งเหมือนลานมัดโคกระบือ

214 กำปากเหมือนดังผีสอน ผ่อตี้นอนอย่างหม้งกระต่าย : คำพูดนี้ไพเราะอ่อนหวานมีคารมคมคาย แต่ที่นอนรกรุงรังเหมือนรังกระต่าย

213 กิ๋นข้าวกับจิ๊น ข้าวยัง กิ๋นข้าวกับหนัง ข้าวเสี้ยง : กินข้าวกับเนื่อข้าวเหลือเนื้อหมด กินข้าวกับหนังข้าวหมดหนังเหลือ

212 กันว่าจะมัด บ่ต้องมัดด้วยหวาย อู้กั๋นบ่ดาย : หากว่าจะมัด ไม่ต้องใช้หวายผูก นั่งพูดคุยกันเฉย ๆ มันไม่ออกรสเหมือนมีสุรามาวางข้าง ๆ

211 กันว่าจะมัด บ่ต้องมัดด้วยป๋อ กำปากกำคอมัดกั๋นก็ได้ : หากว่าจะมัดไม่ต้องมัดด้วยเชือก คำพูดนั่นแหละเอามัดจิตใจกันได้

210 กิ๋นหื้อปอคาบ หาบหื้อหื้อปอแฮง แป๋งหื้อปอใจ๊ : รับประทานให้เต็มมื้อ หาบของให้หาบพอกับกำลังวังชา ทำอะไรก็ทำให้พอดีไม่มาก หรือน้อย จนเกินไป ยามไม่สบายก็ให้นอนพัก หมายถึงว่าไม่สบายเต็มที่ถึงค่อยนอนรักษาตัว  

209 ก้มหน้าดูแผ่นดินเมือง จังรุ่งเรืองไปวันตางหน้า : ให้ก้มหน้าดูแผ่นดิน เพราะวันหน้าอาจจะได้รับความเจริญรุ่งเรือง หมายความว่าให้มีความ เจียมตัวตน ขยันขันแข็งประกอบสัมมาชีพ เพราะวันข้างหน้าอาจจะร่ำรวยขึ้นมา  

208 เกิดตะวา มืนต๋าตะเจ๊า จะไปฟังแก่เฒ่ากั๋นเลย : เกิดเมื่อวันวาน ลืมตาเมื่อเช้า อย่าเพิ่งอยากจะรีบแก่เฒ่ากันไปเลย

207 แก่ย้อนกิ๋นข้าว เฒ่าเพราะปี๋เดือนวัน บ่ได้สำคัญอยู่ตี้อายุ : แก่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะเกิดนาน ไม่ได้สำคัญที่อายุ เพราะอายุเป็นเพียงตัวเลข

206 กินข้าวบ่ลำมันจ้างลำเมื่อตอน เมียบ่งามจ้างงามเมื่อนอน : รับประทานอาหารไม่อร่อยมักจะอร่อยมื้อกลางวัน ผู้ที่มีเมียไม่สวย มักจะสวยงามที่สุด เมื่อยาม นอนด้วยกัน  

205 กลั๋วล้ำจ้างต๋าย อายล้ำจ้างต้าว : กลัวมากเกินไปก็จะพาตายเอาง่าย ๆ หรือเกิดความอายมาก ๆ ก็จะทำให้สะดุดล้มลง เป็น คำสั่งสอนสำหรับคนที่ไม่มีความกล้า หรือคนที่ขลาดกลัวไม่มีความตัดสินใจที่แน่นอน

204 กบใกล้ปากงู หนูใกล้บอกไม้ จิ๊นเน่าใกล้ดังแมว : กบอยู่ใกล้งู หนูอยู่ใกล้กระบอกไม้ไผ่ เนื้อเน่าอยู่ใกล้จมูกแมว เป็นของที่อยู่ใกล้กัน ไม่ได้ ความหมายคล้าย ๆ กับภาษิตของภาคกลางที่ว่า น้ำตาลใกล้มด  

203 อย่าอวดสูงกว่าป้อแม่ อย่าอวดแก่กว่าอาจารย์ : "อย่าคิดว่าตนเองสูงส่ง หรือฉลาดกว่าพ่อแม่ อย่าคิดว่าตนเองเก่ง ฉลาดกว่าครูอาจารย์" เป็นสุภาษิตสอนคนให้มีความเคารพ นับถือบุคคลที่ได้ชื่อว่าเป็นบิดามารดา และครูอาจารย์ เพราะท่านเหล่านั้นเป็นผู้มีพระคุณและมีประสบการณ์มากกว่าเรา  

202 หัวควายแห้งจนกั๋น : จนกั๋น หมายถึง ชนกัน "หัวควายแห้งชนกัน" หัวควายที่แห้งแล้ว และนำมาชนกันย่อมเกิดการสึกกร่อน เป็นสุภาษิตสอนชายหนุ่ม หญิงสาวที่กำลังหาคู่ครองให้รู้จักเลือกเอาคนที่มีฐานะดี จะได้เกื้อกูลกันได้ ถ้าทั้งสองฝ่ายต่างก็มีฐานะยากจนเหมือนกัน ชีวิตการครองเรือนก็จะลำบาก

201 เยียะไฮ่ไกล๋ต๋า เยียะนาไกล๋บ้าน : "การทำไร่ไกลตา การทำนาไกลบ้าน" ย่อมยากแก่การดูแลรักษา มักถูกรบกวนจากศัตรูพืชและมนุษย์อยู่เสมอ เป็นสุภาษิตสอนคนเกี่ยวกับเรื่องของความรัก ความรักมักแพ้ความใกล้ชิด ความห่างไกลมักทำให้เกิดความห่างเหินจนทำให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเปลี่ยนใจได้  

200 มืนต๋ากว้างผ่อตางยาง เป๋นฮ้างเป๋นสาวหื้อผ่อถี่ถี่ : มืนต๋า หมายถึง ลืมตา่, ผ่อ หมายถึง ดู มอง, ตาง หมายถึง ทาง, ถี่ หมายถึง รอบคอบ ละเอียด "ลืมตาให้กว้างเพื่อดูทางข้างหน้า เป็นหญิงสาวก็ต้องเลือกหาคู่ครองให้ดีคิดให้รอบคอบก่อนที่จะตัดสินใจ" สอนคนให้รู้จักคิด ตัดสินใจกระทำสิ่งใดลงไป ควรนึกถึงผลได้ผลเสียและไม่ควรเห็นแก่ประโยชน์ในปัจจุบันให้มองไกลถึงอนาคตด้วย  

199 มีลูกเหมือนเจื้อสุบคอ มีเมียเหมือนป๋อสุบศอก : สุบ หมายถึง สวม ใส่, ป๋อ หมายถึง เส้นใยที่ได้จากเปลือกของต้นปอสามารถนำมาฟั่นเป็นเส้นเชือกได้ "มีลูกเหมือนเชือกสวมคอ มีภรรยาเหมือนมีเชือกปอมาสวมข้อศอก" เป็นสุภาษิตสอนคนให้ระลึกถึงความทุกข์ของการที่ต้องเกิดมาเป็นมนุษย์บนโลกนี้ ย่อมหลุดพ้นจากวัฎสงสารยาก หากยังยึดติดอยู่กับกิเลสตัณหาอยู่อย่างไม่จบสิ้น  

155 ใจ๋ใสเป๋นบุญ ใจ๋ขุ่นเป๋นบาป : "ใจใสเป็นบุญ" จิตใจที่สะอาด บริสุทธิ์ คิดหวังให้ผู้อื่นมีแต่ความสุข ผู้คิดย่อมมีความสุขใจไปด้วย "ใจขุ่นเป็นบาป" จิตใจที่คิดมุ่งร้ายเต็มไปด้วยเรื่องขุ่นมัว ความอิจฉาริษยา ทำให้ผู้คิดมีแต่ความทุกข์ใจไม่สบายใจ ตรงกับภาษิตภาคกลางว่า "สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ"  

154 จะไปโลำอำต๋าจั้ง จะไปนั่งกาประตู๋ : อำ หมายถึง พราง ปกปิด, กา หมายถึง คา "จะไปโลภโกงตาชั่ง จะไปนั่งคาปากประตู" มีความหมายเปรียบเทียบว่าจะทำอะไรให้กระทำด้วยความซื่อสัตย์ ซื่อตรง จะทำให้เป็นที่เชื่อถือของบุคคลทั่วไป

153 คนแก่ดีเพราะฟังธรรม คนใจดำบ่หันตุ๊เจ้า : "คนแก่จะดีเพราะฟังธรรม คนใจดำไม่มีทางที่จะเห็นพระ" เป็นสุภาษิตกล่าวถึงคนแก่ที่เข้าวัดทำบุญฟังธรรมอยู่เสมอ ทำให้เป็นบุคคลที่มีจิตใจเมตตาลูกหลานรักใคร่ดูแลเอาใจใส่ให้ความเคารพนับถือ ตรงกันข้ามกับคนแก่ที่ไม่เคยทำบุญ หรือเข้าวัดก็จะไม่มีโอกาสเห็นพระ ไม่เห็นทางสว่าง คนแก่ประเภทนี้จะมีจิตใจคับแคบ ลูกหลานไม่ชอบ มักถูกทอดทิ้งให้อยู่ตามลำพัง

152 ใคร่เป๋นเจ้าหื้อหมั่นเฮียนคุณ ใคร่เป๋นขุนหื้อหมั่นเฝ้าเจ้า : คุณ หมายถึง ศาสตร์แขนงหนึ่ง "อยากเป็นเจ้านายคนต้องขยันเรียน อยากเป็นใหญ่ต้องใกล้ชิดเจ้านาย" เป็นสุภาษิตใช้สอนผู้ที่อยากประสบความสำเร็จ ในชีวิตด้านใดๆ ให้มีความขยันตั้งใจและปฏิบัติอย่างจริงจัง  

151 ความฮู้นั้นย่อมเฮียนตันกั๋น ส่วนผหยานั้นเฮียนกั่นบ่ได้ : ผหยา หมายถึง ความเฉลียวฉลาด "ความรู้ย่อมที่จะเรียนทันกันได้ แต่ความฉลาดเฉลียวของคนเรียนกันไม่ได้" เป็นสุภาษิตสอนให้รู้ว่าทุกๆ คนสามารถเรียนเอาความรู้ได้เท่าเทียมกัน แต่ในเรื่องของความเฉลียวฉลาด ความรอบรู้นั้น ขึ้นอยู่กับบุคคลแต่ละคน ไม่สามารถที่จะสอนกันได้  

150 คนเฮาใหญ่แล้วบ่ต้องมาสอน จิ้งหีด แมงจอน ไผสอนมันเต้น : จิ้งหีด หมายถึง จิ้งหรีด, แมงจอน หมายถึง แมงกระชอน, ไผ หมายถึง ใคร "คนเราโตๆ กันแล้วไม่ต้องสั่งสอนกันให้มาก แมงกระชอนไม่มีใครสอน มันก็เต้นเองได้" เป็นสุภาษิตสอนคนให้รู้จักช่วยเหลือตัวเอง ไม่หวังพึ่งหรือขอความช่วยเหลือจากคนอื่นตลอดเวลา บางสิ่งบางอย่างสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง  

149 คนใหญ่สุบหมวดหิ้น : คนใหญ่ หมายถึง คนที่มีรูปร่างใหญ่โต, สุบ หมายถึง สวม, หิ้น หมายถึง เกรียน สั้นมาก "คนตัวโตสวมหมวกเกรียน" ซึ่งไม่เหมาะสมกับร่างกาย เมื่อการกระทำสิ่งใดก็ตามควรแยกแยะพิจารณาถึงความเหมาะสมเป็นสำคัญ จึงจะสามารถได้รับผลประโยชน์จากสิ่งที่กระทำลงไปอย่างครบถ้วน  

148 คนตำต่ำต้าวนอนหงาย บ่ดีก๋ายเหยียบข้าม : ต้าว หมายถึง หกล้ม, บ่ดีก๋าย หมายถึง ไม่ควรผ่าน ไปใกล้ เฉียด คนเมื่อทำความผิดพลาดไป หรือไม่ประสบผลสำเร็จในสิ่งที่ตั้งใจหวัง ย่อมจะเสียใจเป็นธรรมดา ไม่ควรที่จะซ้ำเติม หรือดูถูกเหยียดหยาม ตรงกับภาษิตภาคกลาง ไม้ล้มอย่าข้าม  

147 คนฉลาดอย่าปะหมาดคนง่าว : ปะหมาด หมายถึง ดูถูก ดูแคลน, ง่าว หมายถึง โง่ เป็นสุภาษิตสอนคนให้มีสติมีความระมัดระวังในการกระทำ อย่าคิดว่าตนเองฉลาดและคิดว่าคนอื่นโง่ ทุกคนต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน งานบางอย่างคนฉลาดทำไม่ได้ต้องจ้างหรือขอคนโง่ทำให้  

146 ของบ่กิ๋นฮู้เน่า ของบ่เล่าฮู้ลืม : บ่เล่า หมายถึง ไม่ท่องจำ อาหารที่เก็บไว้โดยที่ไม่ได้รับประทาน ย่อมจะบูดเน่าไปในที่สุด ตำราก็ต้องหมั่นตรวจท่องจำ ไม่เช่นนั้นก็จะลืมเลือน เปรียบเหมือนสิ่งของที่ร่ำเรียนมาแต่ไม่ได้นำไปใช้ ย่อมจะมีวันที่ลืมเลือนไปได้โดยง่าย  

145 กันใคร่หัว ก็ใคร่หัวแต๊ๆ : แต๊ๆ หมายถึง จริงๆ "ถ้าหัวเราะก็ให้หัวเราะอย่างเต็มที่ หัวเราะจริงๆ" เป็นสุภาษิตสอนในเรื่องของการกระทำสิ่งต่างๆ ให้มีความจริงใจในการกระทำและทำอย่างจริงจัง

144 กำอู้หล็วก หาใส่ตั๋วไว้นักๆ : "กำอู้หล็วก หาใส่ตั๋วไว้นักๆ" หมายถึง สิ่งที่ดีๆ ที่ช่วยเสริมสร้างสติปัญญาให้หาใส่ตัวไว้ให้มาก เป็นสุภาษิตสอนเรื่องการขวนขวายหาความรู้ให้ตัวเอง เพราะความรู้จะเป็นสิ่งที่ทำให้เราสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้โดยไม่ถูกเอาเปรียบมากนัก  

143 กำกึ้ดดีขายสลีนอนสาด : กำกึ้ด หมายถึง ความคิด, สลี หมายถึง ที่นอนทำด้วยนุ่น, สาด หมายถึง เสื่อ ทำด้วยพืชชนิดหนึ่ง "ความคิดดีขายสลีนอนเสื่อ" เป็นสุภาษิตที่พูดประชดว่ากล่าวบุคคลที่สิ้นคิด ไม่รู้จักขยันและแสวงหาทรัพย์สินเพิ่มเติม สิ่งใดที่มีค่ามีราคาพอขายได้ก็จะขาย แม้ยามยากจนได้นอนที่นอน ก็จะขายที่นอนนั้นอีกแล้ว แล้วไปนอนเสื่อแทน

142 กิ๋นหื้อปอต๊อง หย้องหื้อปอตั๋ว : หย้อง หมายถึง แต่งตัวด้วยเครื่องประดับ, ประดับประดา "รับประทานอาหารให้พอดีกับท้อง แต่งตัวให้เหมาะสมกับตนเอง" เป็นสุภาษิตที่สอนให้รู้จักการประมาณตนในการกินการใช้ การแต่งตัวควรให้เหมาะสมกับฐานะของตัวเองไม่กระทำในสิ่งที่เกินฐานะของตน  

141 กิ๋นส้มบ่ดีฮาน กิ๋นหวานบ่ดีป้ำ : ฮาน หมายถึง ตัดทอน ป้ำ หมายถึง ตัดถึงโคนต้น กินส้มไม่ควรที่จะตัดทอนกิ่งของส้มลงหมด เพราะส้มจะออกผลบริเวณกิ่ง เมื่อตัดออกส้มจะไม่ออกผลอีก กินหวานไม่ควรที่จะตัดโคนทิ้ง เพราะจะทำให้ต้นไม้ตาย และไม่ออกผลไม้ที่มีรสหวานให้รับประทาน เป็นสุภาษิตสอนให้รู้จักการมองการณ์ไกล ไม่ควรหวังประโยชน์เพียงแค่ระยะสั้น  


140 กิ๋นแล้ว ลืมอยาก : กินแล้วลืมความอดอยากที่เคยได้รับ" เป็นสุภาษิตที่ใช้เปรียบบุคคลประเภทหนึ่งที่ร่ำรวยหรือได้ดีแล้วลืมตัว ลืมพื้นเพ ของตนเอง ไม่รู้จักกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ  

139 กิ๋นปู๋น ฮ้อนต๊อง : กินปูนร้อยท้อง" เป็นสุภาษิตเปรียบเทียบคนประเภทหนึ่งที่ทำความผิดไว้ เมื่อมีคนอื่นพูดถึงก็รีบปฏิเสธว่าตนเองไม่ได้ทำ ทั้งๆ ที่ไม่มีใครรู้ว่าตัวเขากระทำ แต่เมื่อมีการพูดแก้ตัวขึ้นมาก็ทำให้คนอื่นๆ ทราบว่าเป็นคนทำ ตรงกับสุภาษิตภาคกลาง "วัวสันหลังหวะ"  

138 กิ๋นนักหื้อกิ๋นเต้ากิ่งก้อย ใคร่กิ๋นหน้อยหื้อกิ๋นเต้าหัวแม่มือ : กิ่งก้อย หมายถึง นิ้วก้อย "อยากกินมากให้กินเท่านิ้วก้อย อยากกินน้อยให้กินเท่าหัวแม่มือ" เป็นสุภาษิตที่กล่าวถึง ถ้าอยากจะสุขสบายในภายหน้าก็ให้กินปัจจุบันให้น้อย ถ้าอยากจะลำบากในภายหน้าให้กินปัจจุบันให้มาก เป็นการสอนให้รู้จักประมาณในการกินการอยู่ให้อยู่ในระดับที่พอดี  

137 ซื้อควายยามนา ซื้อผ้ายามหนาว : ยามนา หมายถึง ฤดูกาลทำนา ยามหนาว หมายถึง ฤดูหนาว "ซื้อควายตอนช่วงทำนา ซื้อผ้าในฤดูหนาว" สุภาษิตนี้สอนถึงการจับจ่ายซื้อของให้เลือกเวลาที่เหมาะสม ไม่รีบเร่งกระทำในเวลาที่กระชั้นชิดเกินไป เพราะสินค้ามีราคาแพง และอาจจะไม่ถูกใจก็ได้  

136 เจ๊าก็ว่างาย ขวายก็ว่าแดด : ขวาย หมายถึง สาย,ระยะเวลาตั้งแต่เข้าถึงเที่ยง งาย หมายถึง เวลาประมาณ ๐๘.๐๐ น.ถึง ๑๐.๐๐ น. "เช้าก็บอกว่ายังไม่สาย สายก็บอกว่าแดดร้อน" เป็นสุภาษิตที่ใช้กล่าวถึงบุคคลที่ชอบผลัดผ่อนเวลาในการทำงานตลอดโดยมีข้ออ้างหรือข้อแก้ตัวเข้าข้างตัวเองตลอด  

135 จะหามก็อาย จะสะปายก็หนัก : สะปาย หมายถึง สะพาย ลักษณะของคนที่เกียจคร้านเมื่อให้ทำงานอะไรก็ไม่ยอมทำ ตรงกับสุภาษิตภาคกลาง "งานหนักไม่เอา 134 เงินอยู่ในน้ำ คำอยู่ในดิน : เงินอยู่ในน้ำ คำอยู่ในดิน" ถ้ามีความขยันหมั่นเดียร ย่อมหาเงินทองได้ เพราะมีอยู่ทั่วไปในน้ำในดิน ตรงกับสุภาษิตภาคกลาง "ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว"  

133 เงินคำเป๋นเจ้า เข้าเป๋นนาย : เข้า หมายถึง ข้าว เงินทองสามารถที่จะจับจ่ายใช้สอย ซื้อเกือบทุกสิ่งที่เราต้องการ ข้าวมีคุณประโยชน์ต่อมนุษย์เช่นกัน เลี้ยงมนุษย์ทั้งโลกควรยกย่อง สุภาษิตได้กล่าวถึงให้รู้จักคุณค่าของเงินทองและข้าวของ ไม่ควรที่จะเหยียบย่ำหรือใช้อย่างสุรุ่ยสุร่าย โดยไม่คิดเสียก่อน

132 งาจ๊างหักขำเศิก นอนหลับเดิก็บ่เสียก๋าร : งาจ๊าง หมายถึง งาช้าง, หักขำ หมายถึง หักคา, เศิก หมายถึง ศึก สงคราม, เดิก๊ หมายถึง ดึก "งาช้างหักท่ามกลางศึกสงคราม นอนดีกไม่เสียงาน" เป็นสุภาษิตที่ใช้เปรียบเทียบว่า เมื่อลงมือทำงานอะไรแล้วจะต้องทำอย่างเต็มที่ เช่นเดียวกับช้างศึกที่รบในศึกสงครามแม้ว่างาช้างจะหักกลางระหว่างการสู้รบ ก็จะต้องสู้ต่อไปจนกว่าจะรู้ผล  

131 ใจ๋เป๋นนาย ก๋ายเป๋นบ่าว : นาย หมายถึง จ้านาย, บ่าว หมายถึง ลูกน้อง หรือผู้อยู่ใต้การปกครอง "ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว" จิตใจถือว่ามีความสำคัญยิ่ง จิตใจที่เข้มแข็งสามารถทำให้ร่างกายแข็งแกร่งได้ ยามใดที่จิตใจอ่อนแอทำให้ร่างกายอ่อนแอลงไปด้วย ถ้าต้องการจะให้งานประสบความสำเร็จจะต้องทำงานด้วยใจ  

130 ใคร่เวยหื้อกาน ใคร่นานหื้อล่น : เวย หมายถึง เร็ว, กาน หมายถึง คลาน, ล่น หมายถึง วิ่ง "อยากเร็วให้คลาน อยากนานให้วิ่ง" การกระทำสิ่งใด หากต้องการให้กิจการงานนั้นเสร็จเร็ว ต้องทำอย่างช้าๆ มีความละเอียด สุขุม รอบคอบ ถ้ากระทำอย่างรีบเร่งอาจจะต้องกลับมาทำใหม่อีกครั้งทำให้งานสำเร็จช้าลงกว่าที่เป็นอยู่ เป็นสุภาษิตสอนคนให้การกระทำกิจการงานใด ๆ ก็ตาม ให้ทำอย่างตั้งใจ มีความหมายรอบคอบ ละเอียดมิฉะนั้นอาจจะต้องเสียเวลากลับมาทำใหม่อีก  

129 คนหล็วกก๊าใกล้ คนไบ้ก๊าไกล๋ : หล็วก หมายถึง ฉลาด ก๊า หมายถึง ค้าขาย "คนฉลาดมักจะทำมาหากินในที่ใกล้ส่วนคนไม่มีปัญญา หรือคนโง่มักจะทำมาหากินในที่ห่างไกล" สุภาษิตใช้เปรียบเทียบคนฉลาดกับคนโง่ คนโง่ย่อมเป็นเหยื่อของคนฉลาดเสมอ และคนฉลาดจะได้เปรียบในทุกด้าน  

128 คนหมั่นต๋ายหลังด้าน คนขี้คร้านต๋ายหลังหัก : หมั่น หมายถึง ขยัน คนขยันจะทำงานพอประมาณแต่ทำทุกวันไม่หยุดถ้าเป็นงานหาบ หรือแบกของก็เพียงแค่หลังด้าน แต่คนเกียจคร้าน ทำๆ หยุดๆ เมื่อทิ้งงานไว้มากและจะทำให้เสร็จเสียทีเดียวก็เหมือนคนหลังหักล้มเหลวในที่สุด  

127 คนขี้คร้านเยียก๋ารอกแตก : เยียะก๋าร หมายถึง ทำงาน ขี้คร้าน หมายถึง ขี้เกียจ คนขี้เกียจมักไม่ชอบทำงานและชอบผลัดวันประกันพรุ่งสะสมงานไว้เป็นจำนวนมาก เมื่อถึงเวลาต้องกลับมาทำอีกก็จะเป็นภาระหนัก  

126 เข้าจะเสี้ยงเพราะกิ๋นหวาน คนจะผลาญเพราะนอนอุ่น : เสี้ยง หมายถึง หมด ผลาญ หมายถึง ทำให้ข้าวของหมดไป ยากจนลง "ข้าวจะหมดเพราะทานอร่อย คนจะยากจนก็เพราะนอนสบาย" เป็นสุภาษิตสอนคนไม่ให้เห็นแก่ความสุขสบายเพียงชั่วครู่  

125 ของจักเสียหื้อรีบใจ๊ ของจักได้หื้อรีบเอา : ของจะเสียให้รีบใช้ ของที่จะได้ให้รีบเอา" เป็นสุภาษิตสอนถึงความกระตือรือร้น ไม่เฉื่อยชาในกิจการงานต่างๆ ตรงกับสุภาษิตภาคกลางที่ว่า "น้ำขึ้นให้รีบตัก"  

124 ขว้ำมือเป๋นลาย หงายมือเป๋นดอก : ขว้ำ หมายถึง คว่ำ "คว่ำมือเป็นลาย หงายมือเป็นดอก" เป็นสุภาษิตกล่าวถึง บุคคลที่มีความรู้ความสามารถในการทำงานได้หลายประเภทในการทำงานแต่ละครั้งก็สามารถสร้างรายได้ให้จำนวนมาก  

123 กิ๋นตึงหลายต๋ายคนเดียว : ตึงหลาย หมายถึง มาก หลายคน "กินหลายคนแต่ตายคนเดียว" การกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ทำร่วมกันหลายๆ คน และรับผลประโยชน์ร่วมกัน แต่ยามใดที่เกิดปัญหาขึ้น มักจะมีคนแก้ปัญหาเพียงคนเดียว ทำให้ภาระที่หนักต้องมาตกอยู่กับคนเพียงคนเดียว ซึ่งเป็นการยากที่จะแก้ไขปัญหาให้สำเร็จลุล่วงไปได้อย่างรวดเร็ว 122 อ้าปากบ่หลมเข็ม : หลม หมายถึง หลวม "อ้าปากได้นิดเดียวเท่านั้น" เป็นสุภาษิตกล่าวถึงคนที่มีปากแล้วพูดไม่ออก เพราะเมื่อพูดออกไปจะมีผลทำให้เกิดความเดือดร้อน หรือเป็นอันตรายต่อผู้พูดได้ ตรงกับสุภาษิตภาคกลางว่า "น้ำท่วมปาก"


121 อย่าควักเอาแก่นต๋าออก แล้วเอาแก่นบ่ากอกเข้ายัด : แก่นต๋า หมายถึง ดวงตา แก่นบ่ากอก หมายถึง แกนหรือเม็ดของมะกอก "ไม่ควรควักเอาดวงตาออกแล้วเอาลูกมะกอกดันเข้าใส่" เป็นการสอนบุคคลมิให้ทิ้งสิ่งดีๆ ที่มีอยู่ เพื่อที่จะรับเอาสิ่งใหม่โดยสำคัญผิดเห็นว่ามันมีคุณค่า และทิ้งของเดิมที่มีคุณค่ายิ่งกว่า  

120 แลกต๋ามแลกได้แจ้กก้นปุด : แจ้ก หมายถึง ภาชนะสานรูปสอบ สำหรับใส่สิ่งของ ใช้ห้อยแบกหลัง ปุด หมายถึง ขาด "ถ้าแลกเปลี่ยนสิ่งของไปเรื่อย ๆ มักจะได้แจ้กก้นขาด" เป็นสุภาษิตที่กล่าวถึง ความไม่พอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ ชอบแลกเปลี่ยนสิ่งของกับบุคคลอื่นเรื่อย ๆ จนในที่สุดมักจะได้สิ่งที่ไม่ดีมาเป็นของตน  

119 ไม้สอดต๋าก๋วย : ก๋วย หมายถึง ตระกร้า เครื่องสานสำหรับบรรจุสิ่งของหลายชนิด หลายขนาด คนที่ทำผิดย่อมถูกตำหนิ เหมือนกับไม้ที่สอดตาตะกร้าที่สอดตาใดก็สามารถเข้าได้หมด

118 แมวขึ้นค่วน บ่ม่วนใจ๋หนู : ขึ้นค่วน หมายถึง ขึ้นบนเพดาน บ่ม่วน หมายถึง ไม่ถูกใจ แมวขึ้นไปบนเพดาน หนูที่อาศัยอยู่นั้นต้องไม่พอใจ เปรียบกับผู้ใหญ่เข้าร่วมกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่จัดขึ้นสำหรับผู้น้อย ย่อมเป็นที่อึดอัดใจของบุคคลเหล่านั้น ทำให้เกิดความเกรงใจ และรู้สึก ไม่สนุกกับกิจกรรมที่จัดขึ้น

117 ปากได้ไปเปลื๋อง : ปากได้ หมายถึง พูดเก่ง พูดมาก การพูดมากจนเกินไป เป็นสุภาษิตที่กล่าวถึง คนที่พูกเก่ง พูดคล่อง สามารถใช้คำพูดแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น กับตัวเองจากเหตุการณ์ที่ไม่ดีให้กลายเป็นดีได้ บุคคลประเภทนี้จะมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีสามารถเข้ากับคนได้ทุกประเภท  

116 ปากว่าบ่ดายใจ๊ก๋ารบ่ได้ : บ่ดาย หมายถึง เท่านั้น "พูดได้แต่ไม่สามารถทำได้" เป็นสุภาษิตที่เปรียบกับคนที่ดีแต่พูด แต่ไม่สามารถทำให้สิ่งที่พูดเป็นความจริงขึ้นได้  


http://www.suthatsunday.com/forum/index.php?topic=91.0

ความคิดเห็น