การจัดงานเมาลิดในประเทศไทย ในอดีต

 การจัดงานเมาลิดในประเทศไทย         

 

        เมาลิด เป็นคำนามเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งจะแปลความหมายเป็นเวลา หรือสถานที่นั้นย่อมขึ้นอยู่กับ ส่วนขยายภายในประโยค  ดังนั้น เมาลิด หมายถึง สถานที่เกิดของท่านนบีอย่างแน่นอน                                                เมาลิดนบีตรงกับวันอะไร  นักวิชาการต่างมีความเห็นตรงกันว่า นบีมุฮัมหมัด (ซ.ล.) เกิดในวันจันทร์เดือน รอบีอุลเอาวัล ปีช้าง เพราะท่าน อิมามมุสลิมได้บันทึกหะดีษไว้ในหนังสือ ซ่อเฮียหของท่านจาก อบีกอตาดะฮรฎิฯ ว่าท่านร่อซูลศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ถูกถามเกี่ยวกับ การถือศีลอดในวันจันทร์ ท่านกล่าวว่า “นั่นคือวันที่ฉันเกิด วันที่ฉันได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนบี และเป็นวันที่อัลกรุอานได้ถูกประทาน มายังฉัน”  แต่จะตรงกับวันที่เท่าไหร่นั้น นักวิชาการมีความเห็นแตกต่างกัน ท่านอิบนุอิสหาก ผู้บันทึกชีวประวัติของท่านนบีคนแรกมีความเห็นว่า ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ.ล.) เกิดในวันที่ 12 เดือนรอบีอุลเอาวัล ท่านอิบนุฮิชาม ได้รายงานอยู่ในหนังสือชีวประวัติของท่านนบีมุฮัมหมัด (ซีเราะฮ.อิบนิฮิชาม)       

การย่อย่องวันเกิดของท่านนบีมุฮัมหมัด                  

ท่านนบีมูฮัมหมัด (ซ.ล.) ได้ให้แบบอย่างในการย่อย่องวันเกิดของท่าน ดังปรากฎในหะดีษ ซึ่งรายงาน โดยท่านอิมานมุสลิม ซึ่งได้หยิบยกมากล่าวแล้วข้างต้น คือ การถือศีลอดในวันจันทร์ ขณะเดียวกัน ท่านหญิงอาอิซะฮ. ท่านอบูฮุรอยเราะฮ. และท่านอุซามะฮ อิบนุเซด ได้กล่าวว่า ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ.ล.) ชอบถือศีลอดในวันจันทร์เมื่อท่านถูกถามเกี่ยวกับการนี้ ท่านกล่าวว่า “นั่นเป็นวันที่ฉันเกิด และได้มีการ แต่งตั้งการเป็นนบีแก่ฉัน” นอกจากนั้นท่านอบูฮุรอยเราะฮฺ  ยังได้รายงานหะดีษจากท่านรอซูล (ซ.ล.) ว่าท่านได้ถือศีลอดในวันจันทร์และวันพฤหัส เมื่อท่านได้ถูกถาม เกี่ยวกับการนี้ ท่านกล่าวว่า “ การงานจะถูกนำเสนอ ยังอัลลอฮฺ ในวันจันทร์และวันพฤหัส ดังนั้นฉันจึงชอบที่จะให้การงานของฉันถูกนำ เสนอขณะที่ฉันถือศีลอด”  บันทึกโดย อัตติรมีซียฺ และท่านกล่าวว่าเป็นหะดีษหะซัน การให้เกียรติและ การมีความรักต่อท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ.ล.)   ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ.ล.) เป็นผู้ที่สมควรจะ ได้รับการให้เกียรติ ยกย่อง เนื่องจากว่าท่านเป็นศาสดา ที่มีความสำคัญของโลก ในขณะเดียวกันท่านได้รับากรย่อย่อง จากผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมว่า เป็นผู้ที่มีความยิ่งใหญ่ คนหนึ่งของโลก 

        ดังนั้นหน้าที่ของมุสลิม ก็จำเป็นจะต้อง ให้เกียรติยกย่องท่าน รำลึกคุณงามความดีของท่าน อัลลอฮฺ (ซ.บ.) และท่านนบี (ซ.ล.) ได้ให้แบบอย่าง ในการให้เกียรติยกย่องท่านไว้ในหลายรูปแบบด้วยกันคือ                                                                                                                                     

        การยกย่องวันเกิดของท่านนบีมุฮัมหมัด                                                                            

      1.การดำเนินตาม การปฏิบัติในวันเกิดของท่าน คือ การถือศีลอดในวันจันทร์                 

        2. การมีความรักต่อท่านร่อซูล (ซ.ล.) เพราะการมีความรักต่อท่านร่อซูลนั้นคือ สิ่งที่แสดงถึงการมีอีมาน ของเขา             

       3. การกล่าวซอลาวาตต่อท่านนบี (ซ.ล.) ส่วนหนึ่งจากการให้เกียรติยกย่องและมีความรักต่อท่านนบีคือ การกล่าวซอลาวาตต่อท่านนบี (ซ.ล.)  

       4. การปฏิบัติตามคำสั่งใช้และการละเว้นที่จะปฎิบัติตามคำสั่งห้ามของท่านนบี             5. ดำเนินตามแบบอย่างของท่านนบี (ซ.ล.)                                                               

การจัดงานเมาลิด                                        มุสลิมในบางสังคมได้แสดงออกถึงความรัก การให้เกียรติยกย่อง ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ.ล.) โดยจัดงานคล้ายวันเกิดของท่านขึ้น ณ ที่นี้สมควรที่จะรู้ถึงประวัติ การจัดงานเมาลิดพอสังเขป             

         การจัดงานเมาลิดนบี เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ในโลกที่ประเทศอียิปต์ เมื่อปี ฮ.ศ. 362  ซึ่งขณะนั้นวงศ์ฟาตีมียฺ ซีอะฮฺ อิสมาอีลียะฮฺ เป็นผู้ปกครองอียิปต์ และได้สถาปนาอาณาจักรฟาตีมียขึ้น ผู้ปกครองขณะนั้นได้แก่ คลลีฟะฮฺ อัลมุอิชลิดีนิลลาฮฺ อัลฟาตีมีย                     

        บรรยากาศของงานเมาลิดสมัยนั้น เต็มไปด้วยความครึกครื้น มีการประดับประดาสถานที่ต่างๆ ด้วยแสงสี มีการชุมนุมกัน และอ่านอัลกรุอ่านที่มัสญิด อ่านโคลง กลอน บทสุดดี และชีวประวัติของท่านนบี โดยผู้ที่มีเสียงดี พร้อมกันนั้น ก็มีการจัดสถานที่สำหรับแจกจ่ายทานบริจาคแก่ผู้ที่ยากจนขัดสน ในระยะหลังๆ มานี้ ไม่มีการจัดงานเมาลิดอย่างเอิกเริกเช่นก่อน นอกจากการจัดของชาวฎอริกัต เมื่อถึงวันที่ 12  รอบีอุลเอาวัล รัฐบาลประกาศให้หยุดราชการ 1 วัน ภายหลังเวลามักริบ หรือ อีชาอฺ ก็จะมีอีมานประจำมัสญิดต่างๆ หรืออาจารย์ผู้มีชื่อเสียงแสดงปาฐกถา เกี่ยวกับชีวประวัติของท่าน มีปีหนึ่งทางการได้จัดงานรำลึกถึงเกียรติประวัติของ อัลบูซีรียฺ ผู้ประพันธ์บทกลอน “อัลบุรดะฮฺ” ซึ่งบรรยายถึงประวัติของท่านนบี โดยได้จัดให้ศิลปินผู้มีน้ำเสียงดีอ่านคำกลอนบุรดะฮฺ เป็นท่วงทำนอง เคล้ากับเสียงดนตรี                                

แหล่งอ้างอิง  มุนีร สมศักดิ์ มูหะหมัด. (2548) .วันและเดือนที่สำคัญในอิสลาม. กรุงเทพฯ:สมาคมนักเรียนเก่าศาสนวิทยา.

ที่มา            http://www.lib.ru.ac.th/journal/islamic-culture/malid1.html

ความคิดเห็น