มุสลิม “ชาวหุย” ยุคใหม่ โดย ดร.นิสรีน หวังตักวาดีน

 

มุสลิม “ชาวหุย” ยุคใหม่

679

ร้านนี้งดสุรา

ประวัติศาสตร์ในยุคใกล้ของจีนมีทั้งขึ้นและลง กลุ่มชนชาติต่างๆ ในจีนย่อมตกอยู่ในชะตากรรมเดียวกัน หลังจากการปฏิรูปการเปิดประเทศจีนในปีค.ศ.1978 นายกรัฐมนตรีจีนเติ้งเสี่ยวผิงดำเนินนโยบายการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ หลังจากการเปิดเสรีทางด้านเศรษฐกิจ การเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของจีนได้รับการยอมรับทั่วโลก ขณะที่ชาวจีนมีความอิ่มตัวทางด้านเศรษฐกิจแล้ว ก็ได้เริ่มให้ความสำคัญทางด้านวัฒนธรรมมากขึ้น  วันนี้ผู้เขียนขอยกกรณีศึกษา 2 ตัวอย่าง

ที่ผ่านมาเมื่อเดิน เข้าไปในร้านอาหารฮาลาลต่างๆ ในจีน เมื่อเดินเข้าไปแล้วยังสามารถพบสิ่งที่ไม่ฮาลาลภายในร้านค้า โดยเฉพาะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  สามารถพบในร้านอาหารแทบจะทุกร้าน หลายปีที่ผ่านมาเมื่อพ่อค้าแม่ขายมีความอิ่มตัวทางด้านเศรษฐกิจแล้ว เริ่มให้ความสำคัญทางด้านวัฒนธรรมมากขึ้น

         “หม่าเจิ้งหวู่” พ่อค้าขายบะหมี่ อายุ 46 ปี เดิมเป็นคนเมืองหลานโจว เดินทางมาขายบะหมี่ในชุมชนหนิวเจีย ในกรุงปักกิ่ง ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1988 กิจการดีขึ้นเรื่อยๆ จนสามารถซื้อบ้านและรถในเมืองหลวงได้แล้ว ทว่าตัวเขาเองก็ยังรู้สึกไม่มีความสุข

         ร้านขายบะหมี่ของหม่า ห่างจากมัสยิดเก่าแก่และมีชื่อเสียงไม่ไกลมาก เมื่อถึงเวลาปฎิบัติศาสนกิจเขามักจี่จักรยานคันเก่งของตัวเองไปร่วม ปฎิบัติศาสานกิจที่มัสยิดดังกล่าว  เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2011 เมื่อเขากลับจากละหมาดซุบฮิแล้ว เขาได้รีบเดินทางกลับบ้านแล้วเขียนป้ายด้วยพื้นเขียวตัวอักษรสีเหลืองว่า “ร้านนี้งดจำหน่ายสุรา” หลังจากนั้นเป็นต้นมา หม่าเจิ้งหวู่มีความสุขมากขึ้น

          ร้าน ขายบะหมี่เปิดโดยชาวหุยที่มาจากทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ไม่มีร้านไหนอยากจำหน่ายสุรา ทว่าถ้าเป็นร้านบะหมี่ที่ตั้งอยู่ในเมืองหลวง ถ้าอยากสรรหาร้านที่ไม่จำหน่ายเครื่องดี่มแอลกอฮอล์ เป็นเรื่องที่ยากมาก ด้วยสภาพของเมือง ที่คนส่วนมากจะมาใช้บริการหลังเลิกงาน ถ้าร้านคุณไม่จำหน่ายสุรา โอกาสที่จะได้ลูกค้าค่อนข้างน้อย  เมื่อลูกค้ารู้ว่าร้านนี้ไม่จำหน่ายสุราลูกค้าก็จะเลือกร้านใหม่ทันที

          ร้านขายบะหมี่ต่าง ๆ ในเมืองกรุง เป็นไปในลักษณะเดียวกัน มีหลายร้านที่หม่าเจิ้งหวู่รู้จักดีเพราะมาจากที่เดียวกัน ทว่าความอยู่รอดในโลกดุนยานี้เป็นเรื่องที่สำคัญ จึงทำให้ทุกๆ คนต้องมีบาดแผลทางใจมาตลอดเวลา บาดแผลในหัวใจของหม่าเจิ้งหวู่นั้นรุนแรงกว่าใครๆ

           หม่าคิดเสมอว่าหลายปี มานี้เศรษฐกิจดีขึ้น แต่สภาพจิตใจกลับไม่ปรกติ ตอนไม่มีเงิน มุ่งหวังแต่ว่าจะต้องมีเงินสักก้อน หลังจากมีเก็บสักหน่อยแล้ว ก็น่าจะมีความสุขไม่ใช่หรือ ? ภริยาของหม่าเป็นลูกสาวอีหม่าม เรื่องของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น เขามีความร้อนใจกว่าสามี  หลังจากกลับมาจากการประกอบพิธีฮัจญ์เมื่อปีค.ศ.2009 ภริยาเห็นสภาพของร้านค้าที่เต็มไปด้วยกลิ่นไอของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จึงพูดขึ้นกับสามีว่า“เราเลิกขายเหล้ากันเถอะ”  หลังจากการยกเลิกการขายเหลาในปีค.ศ.2012 ได้เกิด “คำถาม” จากลูกค้ารายเก่าๆ มากมาย เมื่อลูกค้ารายเก่าๆ ตั้งถามว่า“ เมื่อก่อนยังดื่ม (เครื่องดื่มแอลกอฮอล์) ในร้านได้เลย ” สองสามีภรรยาตอบกลับอย่างนิ่มนวลว่า“เมื่อก่อนทำผิดหลักศาสนา ตอนนี้แก้ตัวแล้ว ”

          ที่ร้านหม่ามีลูกค้า ประจำอายุ 50 กว่ารายหนึ่ง ทุกครั้งที่กินบะหมี่มักจะจิบเบียร์ไปด้วย หลังจากที่ทางร้านได้ห้ามเรื่องเครื่องดื่มแล้ว คุณลุงคนดังกล่าวก็นำเบียร์ใส่ในขวดเครื่องดื่ม เวลาเจ้าของร้านเผลอ ก็แอบจิบ ราวกับเด็กนักเรียนที่แอบกินขนมในห้องเรียน หม่าเจิ้งหวู่เห็นพฤติกรรมดังกล่าวแล้วพูดกับคุณลุงว่า “คุณลุงครึ่งเดือนแรกทางร้านอนุโลมไม่เอาเรื่อง หลังจากนั้นอย่าหาว่าไม่เกรงใจ ” หลังจากนั้นคุณลุงคนนี้ก็หายไปจากร้านบะหมี่ เมื่อกาลเวลาผ่านไป หม่าและภรรยาช่วยกันคำนวณยอดขาย ผลปรากฏว่ายอดขายของร้านหลังจากประกาศลดสุราแล้วยอดขายหายไปหนึ่งในสามส่วน แต่ทั้งสองก็มีความพอใจที่เงินทุกบาททุกสตางค์ได้มาอย่างบริสุทธิ์

         หม่าและภรรยามีความ ภูมิใจมากขึ้นเมื่อ ในร้านมีแขกหน้าเข้าร้านเรื่อยๆ แขกเหล่านี้มาจากในชุมชนและต่างมณฑล เมื่อชาวหุยในชุมชนรู้ว่าร้านบะหมี่ของหม่าไม่ได้ขายสุรา จึงเข้ามาทานเยอะขึ้น ชาวหุยที่เดินทางมาจากต่างมณฑลก็เช่นกัน หลังจากที่พวกเขาทานเสร็จ พวกเขามักจะกล่าวว่า “ขออัลลอฮ์(ซ.บ.) เมตตานะ” “เดี๋ยวเราจะดุอาให้นะ”

           หม่าเจิ้งหวู่ยังฝากร้านขายบะหมี่ของชาวหุยว่า ไม่ว่าจะเปิดร้านขายที่ดินแดนไหน ควรจะต้องติดกลิ่นอายของชาวหุยไปด้วย


ขณะที่เย่ร่วมประชุมที่อังกฤษ

          กรณีศึกษาที่ 2 ชาวหุยรุ่นใหม่ที่เดินทางไปประชุมนานาชาติที่มหาวิทยาลัยลอนดอนและมหาวิทยา ลัยอ็อกฟอร์ด เย่เฉิงฮุย ชาวหุย อายุ 33 ปี ปีค.ศ. 1998-2003 เคยศึกษาศาสนาที่มหาวิทยาลัยหลานโจว ระหว่างที่ศึกษาได้รับรางวัลการอ่านออกเสียงกุรอาน (กอรี) หลายครั้ง ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2003 เป็นต้นมาดำรงตำแหน่งอีหม่ามที่มัสยิดในเมืองหลานโจว และเป็นพนักงานของกรมศาสนาในเมืองดังกล่าว

         เดือนตุลาคม ค.ศ.2014  ได้รับจดหมายเชิญจากอาจารย์ Dr.Rachel Harris ให้ไปร่วมประชุมวิชาการที่มหาวิทยาลัยลอนดอนและมหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ด เย่กล่าวว่า มีโอกาสเดินทางไปต่างประเทศครั้งแรก โอกาสครั้งนี้สืบเนื่องมาจากความมีศักยภาพของประเทศ

         อาจารย์ Dr.Rachel Harris ได้เดินทางมาเก็บข้อมูลทางด้านวิจัยที่เมืองหลานโจว เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา  งานประชุมที่มหาวิทยาลัยทั้งสองแห่งนี้  เย่ได้นำเสนอการอ่านกุรอานและการสรรเสริญศาสนา (ซอลาวาตนบี)แบบจีน ซึ่งได้รับความชื่นชมจากนักวิชาการที่เข้าร่วมประชุมเป็นจำนวนมาก อาจารย์ Dr.Rachel Harris กล่าวว่าการจัดประชุมดังกล่าวประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง

จากรณีศึกษา ข้างต้นเราสามารถเห็นได้ว่า หลังจากการปฎิรูปทางด้านเศรษฐกิจของจีน การเปิดกว้างทางด้านต่างๆ โดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจที่มีความคงที่แล้ว รัฐบาลก็มิได้ปิดกั้นความเสรีภาพเชิงวัฒนธรรม  ทว่าชาวหุยที่สรรหาและเล็งเห็นถึงความสำคัญทางด้านวัฒนธรรม แบบชาวหุยยุคใหม่นี้จะมีจำนวนมากน้อยเพียงไร

แหล่งข้อมูลอ้างอิง :
http://www.2muslim.com/forum.php?mod=viewthread&tid=648309&page=1
http://www.muslem.net.cn/bbs/article-4096-

คัดลอกจาก https://www.publicpostonline.net/91

อาจารย์ประจำ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
nisareen@mfu.ac.th

ประวัติศาสตร์ในยุคใกล้ของจีนมีทั้งขึ้นและลง กลุ่มชนชาติต่างๆ ในจีนย่อมตกอยู่ในชะตากรรมเดียวกัน หลังจากการปฏิรูปการเปิดประเทศจีนในปีค.ศ.1978 นายกรัฐมนตรีจีนเติ้งเสี่ยวผิงดำเนินนโยบายการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ หลังจากการเปิดเสรีทางด้านเศรษฐกิจ การเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของจีนได้รับการยอมรับทั่วโลก ขณะที่ชาวจีนมีความอิ่มตัวทางด้านเศรษฐกิจแล้ว ก็ได้เริ่มให้ความสำคัญทางด้านวัฒนธรรมมากขึ้น  วันนี้ผู้เขียนขอยกกรณีศึกษา 2 ตัวอย่างที่ผ่านมาเมื่อเดิน เข้าไปในร้านอาหารฮาลาลต่างๆ ในจีน เมื่อเดินเข้าไปแล้วยังสามารถพบสิ่งที่ไม่ฮาลาลภายในร้านค้า โดยเฉพาะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  สามารถพบในร้านอาหารแทบจะทุกร้าน หลายปีที่ผ่านมาเมื่อพ่อค้าแม่ขายมีความอิ่มตัวทางด้านเศรษฐกิจแล้ว เริ่มให้ความสำคัญทางด้านวัฒนธรรมมากขึ้น“หม่าเจิ้งหวู่” พ่อค้าขายบะหมี่ อายุ 46 ปี เดิมเป็นคนเมืองหลานโจว เดินทางมาขายบะหมี่ในชุมชนหนิวเจีย ในกรุงปักกิ่ง ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1988 กิจการดีขึ้นเรื่อยๆ จนสามารถซื้อบ้านและรถในเมืองหลวงได้แล้ว ทว่าตัวเขาเองก็ยังรู้สึกไม่มีความสุข


ความคิดเห็น