เรื่องเพศ ในรอมฏอน นอนฝันเปียก หยอกเย้า เกินเลย ข้อห้ามสำหรับสตรีที่มีประจำเดือน
#ถาม
:salam:
การที่เรานอนตอนเที่ยงแล้งฝันเปียกเสียศีลอดหรือไม่????
#ตอบ
:salam:
ไม่เสียศีลอดครับ
#อ้างอิง 1.ในหนังสือ อัลฟิกฮฺ์ (แปลจาก ฟิกฮุลมันฮะญียฺ โดยอ.อรุณ บุญชม เล่ม 2 หน้า 13 กล่าวว่า
"5. กระทำให้อสุจิหลั่ง คือกระทำให้อสุจิหลั่งด้วยการสัมผัส จูบ เป้นต้น หรือโดยใช้มือ ถ้าหากผู้ถือศีลอด เจตนากระทำก็ถือว่าเสียการถือศีลอดส่วนกรณีที่ไม่สามารถอดกลั้นไม่ให้หลั่งได้ ก้ไม่เสียการถือศีลอด"
อ้างอิง 2. ในหนังสือ ฟิกฮุซซุนนะฮฺ แปลโดย สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ เล่ม 2 หน้า 220 กล่าวว่า
"6. หลั่งอสุจิโดยเจตนา ไม่ว่าจะมาสาเหตุจูบหรือกอดภรรยา หรือใช้มือ ถือว่า ทำให้เสียศีลอด และจำเป็นจะต้องถือศีลอดชดใช้ แต่ถ้าหากเหตุเกิดจาก การมองเพศตรงข้าม หรือจินตนาการ มันก็เหมือนฝันกลางวันในขณะถือศีลอด ซึ่งไม่ทำให้เสียศีลอดและไม่ต้องชดใช้แต่ประการใด"
วัลลอฮุ อะอฺลัม วัสสลาม
#ถาม
ผู้หญิงมีน้ำหลั่งออกมาหรืออสุจิแต่ไม่ได้มีการร่วมเพศจำเป็นต้องอาบน้ำวายิบหรือไม่
#ตอบ
بِسْمِ اللهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْم
اَلْحَمْدُ للهِ رَبِّ الْعَالَمِيْنَ وَ الصَّلاَةُ وَالسَّلاَمُ عَلىَ سَيِّدِنَا مُحَمَّدٍ وَعَليَ اَلِهِ وَصَحْبِهِ أَجْمَعِيْنَ
การหลั่งอสุจิจากฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิง จะด้วยสาเหตุใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุมาจากการฝัน(เปียก) หรือหยอกเย้าหรือมอง หรือสร้างจิตนาการนั้น ถือว่าอยู่ในสภาพของผู้มีญุนุบและจำเป็นต้องอาบน้ำวายิบหรือยกหะดัษใหญ่นั่นเอง
อุมมิ สะละมะฮ์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวว่า
جَاءَتْ أُمُّ سُلَيْمٍ إِلَي رَسُوْلِ اللهِ صَلَّي اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَقَالَتْ : يَا رَسُوْلَ اللهِ ، إِنَّ اللهَ لاَ يَسْتَحْيِيْ مِنَ الْحَقِّ ، فَهَلْ عَلَي الْمَرْأَةِ مِنْ غُسْلٍ إِذَا هِيَ احْتَلَمَتْ ؟ قَالَ رَسُوْلُ اللهِ صَلَّي اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : نَعَمْ ، إِذَا رَأَتِ المَاءَ
"อุมมุสุลัยม์ ได้มาหาท่านร่อซูลุ้ลเลาะฮ์ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม แล้วกล่าวว่า โอ้ท่านรอซูลุ้ลเลาะฮ์ ความจริงพระองค์อัลเลาะฮ์จะไม่ละอายในเรื่องความจริง , ผู้หญิงจะต้องอาบน้ำไหม เมื่อนางฝัน (ร่วมเพศ) ? ท่านร่อซูลุ้ลลอฮ์ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ตอบว่า ต้องอาบ ถ้าหากนางเห็นน้ำ" รายงานโดยบุคอรี (278) และมุสลิม (313)
ท่านอบูดาวูด (236) และผู้อื่นได้รายงาน จากท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮา ได้กล่าวว่า
سُئِلَ رَسُوْلُ اللهِ صَلَّي اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ عَنِ الرَّجُلِ يَجِدُ الْبَلَلَ وَلاَ يَذْكُرُ احْتِلاَماً ؟ فَقَالَ : لاَ غُسْلَ عَلَيْهِ فَقَالَتْ أُمُّ سُلَيْمٍ : اَلْمَرْأَةُ تَرَي ذَلِكَ ، أَعَلَيْهَا غُسْلٌ ؟ قَالَ : نَعَمْ ، النَّسَاءُ شَقَائِقُ الرِّجَالِ
"มีผู้ถามท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ถึงเรื่องชายคนหนึ่งที่เขาฝัน (ร่วมเพศ) แต่ไม่พบว่าเปียก" ท่านตอบว่า "เขาไม่จำเป็นต้องอาบน้ำ" อุมมุสุลัยม์ถามว่า แล้วถ้าผู้หญิงฝันเช่นนั้น (คือฝันร่วมเพศ) นางต้องอาบน้ำไหม? ท่านตอบว่า "ถูกแล้ว ผู้หญิงก็เหมือนกับผู้ชาย"
وَاللهُ سُبْحَانَهُ وَتَعَاليَ أعْلىَ وَأَعْلَمُ
#ถาม
อัสสลามมุอลัยกุม
การเสียน้ำละหมาดข้อหนึ่งคือ การกระทบ หรือสัมผัสทวารหนัก เเละทวารเบาด้วยกับฝ่ามือ
อยากทราบขอบเขตของสิ่งที่เรียกว่าทวารหนัก และฝ่ามือครับ ขอบคุณครับ
#ตอบ
بسم الله الرحمن الرحيم
الحمد لله رب العالمين و الصلاة والسلام على سيدنا محمد وعلي اله وصحبه أجمع
บริเวนที่สัมผัสแล้วทำให้เสียน้ำละหมาดสำหรับผู้ชายก็คือ ส่วนอวัยวะเพศที่ยื่นออกมาจนถึงปลายอวัยวะเพศ ดังนั้น การสัมผัสบริเวนที่มีขนเพชรขึ้น ถือว่าไม่เสียน้ำละหมาด และสำหรับสตรีนั้น คือสัมผัสส่วนทางออกที่อยู่ระหว่างสอง
สำหรับขอบเขตทวารหนักที่ทำให้เสียน้ำละหมาดนั้น คือ บริเวนขอบรอบทวาร ดังนั้น การสัมผัสแก้มก้นหรือส่วนข้างในของแก้มก้นที่ไม่ใช่บริเวนรอบทวาร ถือว่าไม่เสียน้ำละหมาด
การสัมผัสที่ทำให้เสียน้ำละหมาด คือ ด้วยท้องฝ่ามือ ท้องนิ้วมือ โดยการนำฝ่ามือขวาและซ้ายมาประกบกัน ตรงนั้นแหละเรียกว่าท้องฝ่ามือและนิ้วมือ ส่วนบริเวนหัวนิ้วมือ ขอบข้าง ๆ ฝ่ามือและนิ้วมือนั้น หากสัมผัสอวัยวะเพศถือว่าไม่เสียน้ำละหมาด (หนังสืออิอานะฮ์อัตตอลิบีน 1/103 - 106)
والله سبحانه وتعالي أعلي وأعلم
#ถาม
ดิฉันมีอะไรกับสามีตอนกลางคืน พอรุ่งเช้าตื่นพบว่า ประจำเดือนมา เช่นนี้มีวิธีปฏิบัติอย่างไร (ให้อาบน้ำวายิบก่อนหรือรอให้หมดประจำเดือนก่อน)
#ตอบ
بِسْمِ اللهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْم
اَلْحَمْدُ للهِ رَبِّ الْعَالَمِيْنَ وَ الصَّلاَةُ وَالسَّلاَمُ عَلىَ سَيِّدِنَا مُحَمَّدٍ وَعَليَ اَلِهِ وَصَحْبِهِ أَجْمَعِيْنَ
เมื่อสามีภรรยาร่วมหลับนอน หลังจากนั้นในช่วงตื่นเวลาซุบฮ์ภรรยารู้ว่าประจำเดือนมา ก็ถือว่าห้ามอาบน้ำที่อยู่ในเชิงอิบาดะฮ์ เช่น อาบน้ำยกฮะดัษใหญ่หรืออาบน้ำละหมาด แต่ให้อาบน้ำชำระร่างกายแบบธรรมดาตามปกติทั่วไปครับ
ในหนังสือบุชรออัลกะรีม ระบุความว่า
وَيَحْرُمُ بِهِ أَي بِالْحَيْضِ مَا يَحْرُمُ بِالجَنَابَةِ لِأَنَّهُ أَغْلَظُ بَلْ يَزِيْدُ بِأَنَّهُ يَحْرُمُ بِهِ الطُّهْرُ بِنِيَّةِ التَّعَبُّدِ فِيْ غَيْرِ نَحْوِ نُسُكٍ وَعيْدٍ
" ข้อห้ามของการมีประจำเดือนนั้นเหมือนกับข้อห้ามการมีญุนุบ เพราะประจำเดือนนั้น(เป็นฮะดัษที่)หนักกว่า ยิ่งกว่านั้น ประจำเดือนเพิ่ม(ข้อห้ามอีกว่า) ด้วยเหตุมีประจำเดือนนั้นห้ามทำความสะอาดด้วยการเหนียตอิบาดะฮ์ (เช่นอาบน้ำละหมาดหรืออาบน้ำสุนัต) นอกจากการ(อาบน้ำสุนัต)ทำฮัจญ์และวันอีด" หนังสือบุชรออัลกะรีม เล่ม 1 หน้า 51 ตีพิมพ์มุสต่อฟาหะละบีย์
وَاللهُ سُبْحَانَهُ وَتَعَاليَ أعْلىَ وَأَعْلَمُ
ข้อห้ามสำหรับสตรีผู้ประจำเดือนและญะนาบะฮ์
1. ห้ามละหมาด
ท่านอุรวะฮ์ บิน อัซซุบัยร์ กล่าวว่า
عَنْ فَاطِمَةَ بِنْتِ أَبِي حُبَيْشٍ أَنَّهَا كَانَتْ تُسْتَحَاضُ فَقَالَ لَهَا النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ إِذَا كَانَ دَمُ الْحَيْضِ فَإِنَّهُ دَمٌ أَسْوَدُ يُعْرَفُ فَإِذَا كَانَ ذَلِكَ فَأَمْسِكِي عَنْ الصَّلَاةِ فَإِذَا كَانَ الْآخَرُ فَتَوَضَّئِي وَصَلِّي
"จาก ฟาติมะฮ์ บุตรี อะบีฮุบัยช์ นางเคยมีเลือดเสีย แล้วท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวแก่นางว่า เมื่อมีเลือดประเดือน มันต้องเป็นเลือดที่ถูกรู้ได้ และเมื่อเป็นเช่นดังกล่าวนั้น เธอก็จงงดเว้นการละหมาด และถ้าหากเป็นอย่างอื่น ก็ให้เธอจงอาบน้ำละหมาดและทำการละหมาด" รายงานโดยอะบูดาวูด(261)
2. อ่านอัลกุรอาน
ท่านอิบนุอุมัร ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุมา ได้กล่าวว่า
عَنْ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ لَا تَقْرَأْ الْحَائِضُ وَلَا الْجُنُبُ شَيْئًا مِنْ الْقُرْآن
จาก ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ว่า "ผู้มีประจำเดือนและญุนุบจะไม่อ่านสิ่งใดจากอัลกุรอาน" รายงานโดย อัตติรมีซีย์ (131) ฮะดิษนี้ซอฮิห์หรือฮะซันด้วยการมีฮะดิษอื่นที่ซอฮิห์มาสนับหนุน
ท่าน อัตติรมีซีย์ กล่าวว่า "ผู้ที่มีญุนุบและประจำเดือนห้ามอ่านอัลกุรอานนั้น เป็นทัศนะของปราชญ์ส่วนมากจากซอฮาบะห์ของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เป็นทัศนะของตาบิอีน และปราขญ์ยุคหลังจากตาบิอีน เช่น ท่านซุฟยานอัษเษารีย์ , ท่านอิบนุลมุบาร็อก , ท่านอัชชาฟิอีย์ , ท่านอะห์มัด , ท่านอิสฮาก" สุนันอัตติรมีซีย์ 1/236
จากนาเฟี๊ยะอฺ จากท่านอิบนุอุมัร ท่านกล่าวว่า
قَالَ رَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ لاَ يَقْرَأُ الجُنُبُ شَيْئًا مِنَ القُرْآنِ
ท่าน ร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า "ผู้ที่มีญุนุบจะไม่อ่านสิ่งใดจากอัลกุรอาน" สุนันอัดดารุกุฏนีย์ 1/89 ฮะดิษนี้ซอฮิห์ตามที่ท่านอัลฮาฟิซฺ อิบนุ ฮะญัร ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัดดิรอยะห์ (1/85)
3. หยุดอยู่ในมัสยิด ส่วนการเดินผ่านเข้าไปโดยไม่หยุดและไม่กลับไปกลับมา ถือว่าไม่ต้องห้ามแต่ประการใด
อัลเลาะฮ์ตะอาลา ทรงตรัสว่า
وَلاَ جُنُباً إِلاَ عَابِريْ سَبِيْلٍ
"อย่าเข้าใกล้(สถานที่)ละหมาดในสภาพที่มีญุนุบ เว้นแต่ผู้ที่ผ่านทาง(ลัดเขาไป)" อันนิซาอฺ 43
ท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร่อฏอยัลลอฮุอันฮา กล่าวว่า
قَالَ لِي رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ نَاوِلِينِي الْخُمْرَةَ مِنْ الْمَسْجِدِ قَالَتْ فَقُلْتُ إِنِّي حَائِضٌ فَقَالَ إِنَّ حَيْضَتَكِ لَيْسَتْ فِي يَدِكِ "ท่านร่อซูลุลล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวแก่ฉันว่า "เธอจงไปเอาเสื่อปู่ละหมาดที่มัสยิดมาให้ฉันหน่อยซิ" ท่านหญิงอาอิชะฮ์กล่าวว่า "ฉันมีประจำเดือน" ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จึงกล่าวว่า "ประจำเดือนของเธอมิได้อยู่ในมือของเธอ(ที่จะทำให้เปื้อนมัสยิด)" รายงานโดยมุสลิม (450)
4. ฎอวาฟ ท่านมุสลิม ได้รายงานจากอับดุรเราะห์มาน บุตร กอเซ็ม จากบิดา ของเขา จากท่านหญิงอาอิชะฮ์ ความว่า
أَنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ دَخَلَ عَلَيْهَا وَحَاضَتْ بِسَرِفَ قَبْلَ أَنْ تَدْخُلَ مَكَّةَ وَهِيَ تَبْكِي فَقَالَ مَا لَكِ أَنَفِسْتِ قَالَتْ نَعَمْ قَالَ إِنَّ هَذَا أَمْرٌ كَتَبَهُ اللَّهُ عَلَى بَنَاتِ آدَمَ فَاقْضِي مَا يَقْضِي الْحَاجُّ غَيْرَ أَنْ لَا تَطُوفِي بِالْبَيْتِ
"แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้เข้าไปหาท่านหญิงอาอิชะฮ์ ที่สะร็อฟ(ชื่อสถานที่) ในสภาพที่นางมีประจำเดือนก่อนที่จะเข้ามักกะฮ์ ท่านนางได้ร้องไห้ ดังนั้นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวแก่ท่านนางว่า เธอมีประจำเดือนหรือ? ท่านางตอบว่า "ใช่แล้ว" ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จึงกล่าวว่า แท้จริงเรื่องนี้เป็นสิ่งที่อัลเลาะฮ์ได้ทรงกำหนดไว้แล้วแก่ลูกหลานอาดัมที่เป็นสตรี ดังนั้นเธอจงทำเหมือนกับที่ผู้ประกอบพิธีฮัจญ์กระทำเถิด นอกจากเธออย่าทำการฎอวาฟที่บัยตุลลอฮ์" รายงานโดยมุสลิม(5122)
5. การถือศีลอด ดังนั้นไม่อนุญาตให้ผู้หญิงมีประจำเดือนทำการถือศีลอดทั้งฟัรดูและสุนัต ท่านอะบูสะอีด อัลคุฎรีย์ ได้รายงานขณะที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ถูกเกี่ยวกับความบกพร่องในเรื่องศาสนาของสตรี ซึ่งท่านตอบว่า
أَلَيْسَ إِذَا حَاضَتْ لَمْ تُصَلِّ وَلَمْ تَصُمْ
"เมื่อนางมีประจำเดือน นางก็ไม่ต้องละหมาด ไม่ต้องถือศีลอด ไม่ใช่หรือ?" รายงานโดย บุคอรีย์ (293)
6. การร่วมประเวณี
อัลเลาะฮ์ตะอาลา ทรงตรัสว่า
فَاعْتَزِلُواْ النِّسَاء فِي الْمَحِيضِ وَلاَ تَقْرَبُوهُنَّ حَتَّىَ يَطْهُرْنَ فَإِذَا تَطَهَّرْنَ فَأْتُوهُنَّ مِنْ حَيْثُ أَمَرَكُمُ اللّهُ إِنَّ اللّهَ يُحِبُّ التَّوَّابِينَ وَيُحِبُّ الْمُتَطَهِّرِينَ
"ดังนั้นท่านทั้งหลายจงปลีกตัวเองจากพวกผู้หญิง ขณะมีประจำเดือนเถิด และท่านทั้งหลายอย่าเข้าใกล้พวกนาง (คือทิ้งการร่วมประเวณีกับพวกนาง) จนกว่าพวกนางจะสะอาด ดังนั้นเมื่อพวกนางสะอาดแล้ว พวกท่านจงมาสู่พวกนางเถิด จากด้านที่อัลเลาะฮ์ทรงบัญชาแก่พวกท่าน แน่แท้อั้ลเลาะฮ์ทรงรักพวกที่กลับตัวสู่พระองค์และทรงรักพวกที่สะอาด" อัลบะกอเราะฮ์ 222
ส่วนประเด็นการตัดเล็บ ตัดผม ในขณะที่มีประจำเดือนนั้น อนุญาตให้กระทำได้ครับ และผมที่ร่วงก็ไม่จำเป็นต้องนำไปยกหะดัษ แต่ดังกล่าวนั้นถือเป็นการไม่บังควร เพราะมีหะดิษฏออีฟกล่าวว่า(ในความหมายที่ว่า)ในวันกิยามะฮ์นั้น สิ่งดังกล่าวจะมาในสถาพที่มีญุนุบ(หะดัษ)อยู่ คือยังไม่สะอาด ดังนั้นหากมีการตัดเล็บ ตัดผม หรือหวีผมแล้วเส้นผมร่วงติดหวีในขณะที่มีประจำเดือน ก็สมควรเก็บเอาไว้ในภาชนะแก้วเป็นการส่วนตัว เมื่อตอนอาบน้ำยกหะดัษ ก็ให้นำเส้นผมหรือเล็บมาล้างน้ำในขณะที่อาบน้ำยกหะดัษ จะเป็นการดีอย่างยิ่ง (ดู เพิ่มเติมจาก หนังสือ อิอานะฮ์ อัฏฏอลิบีน เล่ม 1 หน้า 131 - 132 ตีพิมพ์ดารุลฟิกร์)
وَاللهُ سُبْحَانَهُ وَتَعَاليَ أعْلىَ وَأَعْلَمُ
นำเสนอโดย มุสลิมเชียงใหม่
ตอบโดย al-azhary http://www.sunnahstudent.com/forum/index.php/topic,2409.0.html
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
โปรดใช้วิจารณญานในการแสดงความคิดเห็น