ข้าวต้ม ข้าวพุ้ย หรือข้าวต้มกุ๊ย อาหารกินง่าย กับความเป็นมา อาหารมีตำนาน



 อยากกินข้าวพุ้ย หรือข้าวต้มกุ๊ย ตั้งแต่วานเย็น ได้กินกลางวันนี้ อาหารกินกับข้าวต้ม มื้อนี้ มีปลาอินทรีย์ทอด (แม่ฉันต้องได้กินปลาอินทรีย์) ผัดผักบุ้งไฟแดง ไข่เค็ม เนื้อเค็มทอด กิมจิ เต้าหู้หนียูนนาน มื้อนี้พิชิตข้าวต้มหมดไปชามใหญ่ ยิ่งกินยิ่งหวาน ยิ่งอร่อย หยุดไม่อยู่

       เรามาค้นหาที่มาของข้าวต้มพุ้ยหรือข้าวต้มกุ๊ย ว่า อาหารประเภทนี้มีที่มาอย่างไร

  ตำนานข้าวต้มกุ๊ย

มีตำนานเกี่ยวกับที่มาของคำว่า"ข้าวต้มกุ๊ย" อยู่ ๓ ตำนาน  โดยข้าวต้มกุ๊ยนี้ มีที่มาจากคนจีนที่อพยพเข้ามาอยู่ในย่านเยาวราช ตั้งแต่ก่อนสมัยรัชกาลที่ ๕ ที่ส่วนใหญ่จะยากจน ทำงานรับจ้างเป็นกรรมกร แบกหามทั่วไป คนพวกนี้กลางวันทำงานหนัก พอตกเย็นก็นั่งรับประทานอาหารกัน กินข้าวต้มไปดื่มเหล้าไป พอเมาได้ที่ก็ทะเลาะวิวาทชกต่อยกัน เจ้าหน้าที่บ้านเมืองสมัยนั้น เห็นภาพนี้จนชินตา และด้วยวิถีชีวิตของชาวจีนเหล่านี้จึงเป็นกำเนิดที่มาของตำนานคำว่า "ข้าวต้มกุ๊ย" 


•ตำนานที่ ๑ มาจากวิธีการกินข้าวต้มของคนจีนสมัยก่อน ที่กินข้าวทีไรต้องยกชามข้าวต้มใช้ตะเกียบ"พุ้ยข้าวต้มใส่ปาก" แล้วคำว่า"พุ้ย" ก็เรียกเพี้ยนๆจนกลายมาเป็น"กุ๊ย"


•ตำนานที่ ๒ มาจากอาหารของคนจีนแต้จิ๋วที่หอบเสื่อผืนหมอนใบ เข้ามาหางานในเมืองไทย อาชีพหลักๆของชาวจีนทั้งหลายคือ"จับกัง"แบกข้าวสาร และงานใช้แรงงานอื่นๆ อาหารเลี้ยงฟรีให้จับกังส่วนใหญ่ คือ ข้าวต้มเปล่า กับอาหารอีก ๓-๔ อย่าง ส่วนบางที่ ไม่มีอาหารเลี้ยงฟรี ก็ต้องอาศัยซื้อกินจาก ร้านข้าวต้มข้างทางซึ่งมีอยู่ทุกหัวมุม สะดวก ราคาถูกที่สุดเหมาะแก่พวกจับกังหรือกุ๊ยอิสระกิน และนี่คือที่มาของข้าวต้มกุ๊ย 


•ตำนานที่ ๓ มาจากคำที่คนจีนแต้จิ๋ว เรียก ข้าวต้มกุ๊ย ว่า "ชิวเซียม้วย" ซึ่งแปลว่า "ข้าวต้มคนลากรถ" แต่ทำไมคนไทย ถึงเรียกกันว่า "ข้าวต้มกุ๊ย" ว่ากันว่า ข้าวต้มนั้น เป็นอาหารดั้งเดิมของ คนจีนแผ่นดินใหญ่ เมื่ออพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในแผ่นดินไทย ก็นำวิธีการรับประทานข้าวต้ม ติดตัวเข้ามาด้วย 

ร้านขายข้าวต้ม ทำนองนี้ว่า "ข้าวต้มกุ๊ย" เพราะจับกังจีนในสมัยนั้นเนื้อตัวไม่สะอาด พูดจาเสียงเอะอะ บางก็เมาจนมีเรื่องวิวาทจนเป็นที่ชินตา


Credit : Aroipranakorn

ความคิดเห็น