มหัศจรรย์แห่งอัลกุรอาน : น้ำนมแม่ /ผลไม้ในคัมภีร์ มะเดื่อ (اَلتِّيْنُ) /ทับทิม (اَلرُّمَّانُ)/พุทรา (السِّدْرُ ) / น้ำเต้า (اَلدُّبَّاءُ)/กล้วย (اَلطَّلْحُ)
ดังนั้น นับตั้งแต่วันที่คัมภีร์กุรอานได้ถูกประทานมาจนถึงวันแห่งการตัดสิน คัมภีร์กุรอานจะยังคงเป็นทางนำเพียงทางเดียวสำหรับมนุษยชาติที่จะกลับไปพบพระองค์ คัมภีร์กุรอานใช้ภาษาที่ชัดเจนและผู้คนทุกวัยที่มีชีวิตตั้งแต่สมัยแห่งการประทานกุรอานก็สามารถเข้าใจได้โดยง่าย อัลลอฮฺได้ทรงกล่าวไว้ในคัมภีร์กุรอานว่า เราได้ทำให้กุรอานนี้ง่ายที่จะจดจำ (กุรอาน 54:22) ลีลาที่ไม่อาจมีวรรณกรรมใดมาเปรียบเทียบได้ของคัมภีร์กุรอานและวิทยปัญญาอันล้ำลึกที่มีอยู่ในนั้นเป็นหลักฐานที่ชัดเจนว่าคัมภีร์กุรอานเป็นวจนะของอัลลอฮฺ
หนึ่งในบรรดาสิ่งมหัศจรรย์ที่ถูกกล่าวไว้ในคัมภีร์กุรอานก็คือการสร้างน้ำนมมารดา น้ำนมมารดาเป็นส่วนผสมของอาหารที่อัลลอฮฺทรงสร้างมาโดยไม่สามารถที่จะมีอะไรมาเปรียบเทียบได้ น้ำนมมารดาไม่เพียงแต่จะตอบสนองความต้องการทางด้านโภชนาการของทารกเท่านั้นแต่ยังคุ้มครองทารกจากการติดโรคด้วย ความสมดุลของสารอาหารในน้ำนมมารดาอยู่ในระดับสูงและในรูปแบบที่ดีที่สุดสำหรับระบบร่างกายของทารกที่กำลังเจริญเติบโต ในขณะเดียวกันน้ำนมมารดาก็อุดมไปด้วยสารอาหารที่ส่งเสริมการเติบโตของสมองและการพัฒนาของระบบประสาท
อาหารเด็กที่ผลิตโดยเทคโนโลยีในปัจจุบันนั้นไม่สามารถที่จะมาเทียบได้กับอาหารอันมหัศจรรย์นี้ ยิ่งนับวันก็ยิ่งมีการเปิดเผยให้เห็นถึงประโยชน์และคุณค่าของน้ำนมมารดาที่มีต่อทารกมากขึ้น การศึกษาค้นคว้าได้ทำให้เราทราบว่าทารกที่ได้รับการเลี้ยงดูโดยน้ำนมมารดานั้นมีภูมิป้องกันการติดโรคทางเดินหายใจและการย่อยอาหารที่ดีกว่า นั่นเป็นเพราะว่าภูมิคุ้มกันร่างกายในน้ำนมมารดานั้นมีภูมิป้องกันการติดโรคโดยตรง คุณสมบัติป้องกันการติดโรคอย่างอื่นๆของน้ำนมมารดาก็คือมันได้สร้างสภาพแวดล้อมไว้สำหรับ “แบคทีเรียที่ดี” ซึ่งเรียกกันว่า “นอร์มัลฟลอรา” (Normal Flora)
นอกจากนั้นแล้ว ผลการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ยังได้ยืนยันว่าสารอาหารในน้ำนมมารดาจะช่วยจัดระบบต้านทานโรคและทำให้ระบบนี้ต้านทานโรคติดต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า เนื่องจากน้ำนมมารดาได้ถูกสร้างขึ้นมาสำหรับทารกเป็นการเฉพาะ ดังนั้น มันจึงเป็นอาหารที่ย่อยง่ายที่สุดที่ทารกสามารถกินได้ นอกจากจะอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการแล้ว ระบบอันอ่อนไหวของทารกยังสามารถย่อยได้ง่ายด้วย ดังนั้นทารกจึงใช้พลังงานน้อยลงในการย่อยและทำให้มีพลังงานเหลือไว้สำหรับกิจกรรมอื่นๆของร่างกาย เช่น การเติบโตและการพัฒนาของอวัยวะร่างกาย ในน้ำนมของมารดาที่มีทารกคลอดก่อนกำหนดมาแล้วนั้นจะมีไขมัน โปรตีน โซเดียมคลอไรด์และธาตุเหล็กมากกว่า
ได้มีการพิสูจน์มาแล้วว่าทารกที่คลอดก่อนกำหนดและได้ดื่มนมแม่นั้นมีสติปัญญาที่ดีกว่าและการทำงานทางด้านสายตามีพัฒนาการที่ดีกว่า ความจริงอีกอย่างหนึ่งซึ่งวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบเกี่ยวกับนมมารดาก็คือ การให้ทารกดื่มนมมารดาหลังจากคลอดเป็นเวลาสองปีนั้นเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มาก อัลลอฮฺได้ประทานความรู้ที่สำคัญในเรื่องนี้ไว้แก่เราเมื่อ 14 ศตวรรษที่แล้วและวิทยาศาสตร์เพิ่งจะมาค้นพบเมื่อเร็ว คัมภีร์กุรอานได้กล่าวว่า : “และเราได้กำชับมนุษย์ให้ทำดีต่อบิดามารดาของเขา แม่ของเขาได้อุ้มครรภ์เขาด้วยความอ่อนเพลียครั้งแล้วครั้งเล่าและการหย่านมของเขาในระยะเวลาสองปี ดังนั้น มนุษย์เอ๋ย จงขอบคุณฉันและบิดามารดาของเจ้า ยังเรานั้นที่สูเจ้าจะกลับไป” (กุรอาน 31:14)
เท่าที่เราได้เห็นมาทั้งหมดนั้นเป็นหลักฐานที่ยืนยันว่าคัมภีร์กุรอานคือวจนะของอัลลอฮฺผู้ทรงเริ่มต้นทุกสิ่งและทรงรอบรู้ทุกสิ่ง ในอีกตอนหนึ่งของคัมภีร์กุรอาน อัลลอฮฺได้ทรงกล่าวว่า : “พวกเขาไม่พิจารณาดูอัลกุรอานบ้างหรือหากว่าอัลกุรอานมาจากผู้ที่ไม่ใช่อัลลอฮฺแล้ว แน่นอนพวกเขาก็จะพบว่าในนั้นมีความขัดแย้งกันมากมาย” (กุร อาน 4:82)
ในคัมภีร์กุรอานไม่เพียงแต่ไม่มีความขัดแย้งกันเท่านั้น แต่ข้อมูลความรู้ทุกอย่างที่มีอยู่ในนั้นยังได้เปิดเผยให้เราเห็นถึงความมหัศจรรย์ของคัมภีร์กุรอานมากยิ่งขึ้นทุกวันด้วย ดังนั้น หน้าที่ของมนุษย์ก็คือการยึดมั่นในคัมภีร์กุรอานเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ในอีกอายะฮฺหนึ่ง อัลลอฮฺได้ทรงกล่าวว่า “และกุรอานนี้มิใช่สิ่งที่ผู้ใดจะเรียบเรียงขึ้นมาได้หากมิใช่อัลลอฮฺแต่เป็นสิ่งยืนยันคัมภีร์ที่ได้ถูกประทานมาก่อนหน้านี้และเป็นการอธิบายรายละเอียดของคัมภีร์ ไม่มีข้อสงสัยอันใดเลยในเรื่องนี้ว่ามันมาจากพระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก พวกเขากล่าวว่านบีเรียบเรียงมันขึ้นมาเองกระนั้นหรือ ? จงบอกพวกเขาเถิดว่า ‘ถ้าหากสิ่งที่พวกท่านพูดเป็นเรื่องจริงแล้วก็ขอให้พวกท่านนำมาสักซูเราะฮฺหนึ่งที่เหมือนกันนี้และพวกท่านจะเรียกใครมาช่วยก็ได้ตามที่พวกท่านสามารถนอกไปจากอัลลอฮฺ’” (กุรอาน 10:37-38)
โดย ฮารูน ยะฮฺยา อ.บรรจง บินกาซัน แปล
ที่มา Thaimuslimshop.com
มะเดื่อ (اَلتِّيْنُ)
มะเดื่อ (اَلتِّيْنُ)
โดย...อาลี เสือสมิง
ชื่อ ไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Ficus วงศ์ Moraceae เช่น มะเดื่อปล้อง (F.racemosa Linn.) มะเดื่ออุทุมพร หรือ มะเดื่อชุมพร (F.racemosa Linn.) ใบเกลี้ยง ผลกินได้ มะเดื่อกวาง หรือลิ้นกระบือ (F.callosa Willd.) ใบแข็งหนา ชาวอาหรับเรียก “มะเดื่อ” ว่า “อัตตีน” (اَلتِّيْنُ) หรือ “ตีน” (تِيْنٌ) ซึ่งไม่ได้เกี่ยวอะไรกับคำว่า “ตีน” ในภาษาไทยแต่อย่างใด
ใน คัมภีร์อัลกุรอาน มีอยู่บทหนึ่งเรียกว่า บทอัตตีน เพราะในอายะฮฺแรกจากบทนี้ พระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ) ทรงสาบานด้วยกับมะเดื่อ แสดงว่าผลไม้ชนิดนี้มีความสำคัญอยู่มิใช่น้อย นักอรรถาธิบายอัลกุรอานระบุว่า “อัตตีน” (มะเดื่อ) ก็คือ ผลไม้ที่เรารับประทานกันอยู่นั่นเอง
ท่าน อิบนุ อัลเญาซีย์ (ร.ฮ) กล่าวว่า : เหตุที่พระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ) ทรงสาบานด้วยผลมะเดื่อนั้น เพราะว่า ผลมะเดื่อเป็นผลไม้ที่บริสุทธิ์จากสิ่งเจือปนที่ทำให้ระคายคอหรืออึดอัดจน หายใจไม่ออก (กล่าวคือ กินแล้วสบายคอ โล่งคอ) และหนึ่งผลของมะเดื่อก็พอดีคำ
มี เรื่องเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำว่า “อัตตีน” และ “อัซซัยตูน” ที่ถูกระบุเอาไว้ในบท อัตตีน นักวิชาการอธิบายว่า อัตตีน เป็นชื่อของมัสยิดที่นครดามัสกัส และอัซซัยตูน เป็นชื่อมัสยิดที่นครบัยตุ้ลมักดิส (กรุงเยรูซาเล็ม) บ้างก็ว่า อัตตีน คือ มัสยิดที่ท่านศาสดานัวฮฺ (อะลัยฮิซซลาม) สร้างบทภูเขาญูดีย์ บ้างก็ว่า เป็นชื่อของภูเขาในผืนแผ่นดินชาม (ซีเรีย)
แต่ ท่านอิบนุ ญะรีร (ร.ฮ) กล่าวว่า : ที่ถูกต้องคือ อัตตีน นั้นหมายถึง ผลไม้ที่ถูกรับประทาน และอัซซัยตูน ก็คือ ผลไม้ที่ถูกสกัดน้ำมันของมันออกมา” กล่าวคือ อัตตีน ก็คือ ผลมะเดื่อ และซัยตูน ก็คือ มะกอกนั่นเอง
ชัย คฺ มุฮัมหมัด มะฮฺมูด อับดุลลอฮฺ มีความเห็นว่า “การสาบานในคัมภีร์อัลกุรอานจะมีรายงานมา 2 ชนิด ลางทีก็เป็นเพราะความประเสริฐ ลางทีก็เป็นเพราะคุณประโยชน์ และการสาบานด้วยมะเดื่อและมะกอกนั้น มีระบุมาเนื่องด้วยคุณประโยชน์สำหรับมนุษย์
ผล ไม้ทั้งสองเป็นทั้งเครื่องดื่ม, อาหาร, ยารักษาโรค และแกงที่ใช้จิ้ม การกล่าวผลไม้ทั้งสองคู่กันเพื่อบ่งถึงสรรพคุณที่สมบูรณ์ มะเดื่อคู่กับมะกอกเป็นอาหารที่สมบูรณ์แบบโดยมนุษย์สามารถหยิบกินตามที่เขา ต้องการทั้งอาหาร, ไวตามินและแร่ธาตุ
มนุษย์ รู้จักมะเดื่อมาแต่โบราณ และปลูกมะเดื่อมามากกว่า 4,000 ปีมาแล้ว มะเดื่อถูกระบุไว้ในคัมภีร์เตารอตและคัมภีร์อินญีล เป็นไม้ยืนต้นที่แพร่หลายในเขต เมดิเตอร์เรเนียน โสเครติสและโฮมิรุส ต่างก็กล่าวถึงมะเดื่อ และพลาโต้ก็ชอบรับประทานผลมะเดื่อเป็นอันมาก ด้วยเหตุนี้จึงเรียกผลมะเดื่อว่า “มิตรของนักปรัชญา”
พวก ฟินิเชียนก็นิยมใช้ผลมะเดื่อเป็นอาหารและยารักษาโรค และพวกอิยิปต์โบราณก็ใช้ผลมะเดื่อในการรักษาอาการเจ็บปวดของกระเพาะอาหาร ท่านอิบนุ ซีนา ย้ำว่า มะเดื่อมีประโยชน์เป็นอันมากสำหรับสตรีมีครรภ์และสตรีที่กำลังให้นมทารก ส่วนอัรรอซียฺ กล่าวว่า : มะเดื่อจะมีสรรพคุณลดกรดในร่างกายและขจัดผลข้างเคียงของกรด
ท่าน อัลมุ่วัฟฟักฺ อัลบัฆดาดีย์ กล่าวว่า : ผลมะเดื่อให้สารอาหารมากที่สุดในบรรดาผลไม้ด้วยกัน มีสรรพคุณทำให้อารมณ์อ่อนโยน ดับกระหาย บรรเทาอาการไอเรื้อรัง และทำให้ปัสสาวะคล่อง การรับประทานผลมะเดื่อขณะท้องว่างมีผลดีในการเปิดหลอดอาหาร
ท่านอิบนุ อัลก็อยยิม กล่าวว่า : “ผลมะเดื่อที่ดีที่สุดคือ ชนิดที่มีเปลือกสีขาว มีสรรพคุณขับก้อนนิ่วในไตและทางเดินปัสสาวะและลดอาการเป็นพิษ มะเดื่อเป็นผลไม้ที่ให้สารอาหารมากที่สุด มีประโยชน์ต่ออาการเจ็บคอและหน้าอก ล้างตับและม้าม...”
ผล มะเดื่ออุดมด้วยไวตามินต่าง ๆ โดยเฉพาะ B1 , B2 และ C และแคโรตีนของไวตามิน A และยังมีแร่ธาตุที่สำคัญ อาทิเช่น เหล็ก , แคลเซียม และทองแดง แร่ธาตุเหล่านี้มีประโยชน์ต่อเซลล์ในร่างกายและการฟอกเลือด มีประโยชน์สำหรับคนที่ขาดเลือด นอกจากนี้ผลมะเดื่อยังมีเปอร์เซ็นต์ของน้ำตาลระหว่าง 18-30 % ตามความสดและแห้ง ผลมะเดื่อสดปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 70 แคเลอรี ถึง 267 แคเลอรี่ เมื่อเทียบกับผลมะเดื่อแห้ง
ด้วย เหตุนี้ผู้ที่รับประทานผลมะเดื่อจะมีกำลังวังชาและทนต่อความหนาวได้เป็น อย่างดี ในปัจจุบันมีผลงานวิจัยเกี่ยวกับสรรพคุณทางยาของผลมะเดื่อออกมามากมาย แต่ดูเหมือนว่า ในบ้านเรา (เมืองไทย) ไม่ค่อยได้รับข้อมูลดังกล่าว อีกทั้งผลมะเดื่อก็เป็นผลไม้ที่หายากในบ้านเรา บางคนไม่รู้จักเสียด้วยซ้ำไป คนที่เคยไปทำฮัจญ์หรืออุมเราะฮฺ ก็มักจะซื้อติดไม้ติดมือมาฝาก นั่นแหล่ะถึงจะได้กินกัน ของดีก็หายากอย่างนี้แหล่ะ เป็นธรรมดา
ทับทิม (اَلرُّمَّانُ)
ทับทิม (اَلرُّمَّانُ)
ทับทิม (اَلرُّمَّانُ)
โดย...อาลี เสือสมิง
พุทรา (السِّدْرُ )
น้ำเต้า (اَلدُّبَّاءُ)
ทับทิม ชื่อไม้พุ่มชนิด Punica granatum Linn. ในวงศ์ Punicaceae เนื้อที่หุ้มเมล็ดสีแดงใสคล้ายพลอยทับทิม กินได้ เปลือกของต้น ของผล และของราก ใช้ทำยาได้ ชาวอาหรับเรียก “ทับทิม” ว่า “อัรรุมมาน” (اَلرُّمَّانُ) ผลเดียวเรียกว่า รุมมานะฮฺ (رُمَّانَةٌ ) เดิมที “ทับทิม” เป็นไม้ผลยืนต้นที่ขึ้นในอิหร่าน, เอเชียน้อย และภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียนทั่วไป ภายหลังต้นไม้ชนิดนี้ก็แพร่หลายไปทั่วโลก
ใน คัมภีร์อัลกุรอาน ได้ระบุเรื่องของ “ทับทิม” เอาไว้ 3 แห่งด้วยกัน คือ ในบท อัลอันอาม อายะฮฺที่ 99 และอายะฮฺที่ 141 และบทอัรเราะฮฺมาน อายะฮฺที่ 68 ซึ่งถูกระบุว่าเป็นผลไม้ในสวรรค์ “ทับทิม” เป็นผลไม้ที่ผู้คนในสมัยโบราณรู้จักมาแต่เก่าก่อน พวกอิยิปต์โบราณใช้ทับทิมในการรักษาคนป่วย
นัก วิชาการระบุว่า แหล่งกำเนิดของทับทิมอยู่ในเขตตะวันตกเฉียงใต้ของเอเชีย และทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของชมพูทวีปและจาก ชมพูทวีป (อินเดีย) ทับทิมก็เข้ามาแพร่หลายในอิหร่าน ต่อมาก็แพร่หลายสู่ภูมิภาคแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและอิยิปต์และเข้าสู่ ยุโรปในยุคต่อมา
ท่านอิบนุ อัลก็อยยิม (ร.ฮ) ระบุว่า : ความ หวานของทับทิมมีผลดีต่อกระเพาะอาหาร ทำให้กระเพาะอาหารแข็งแรง มีประโยชน์ต่อลำคอ, อกและปอด ดีสำหรับอาการไอเรื้อรัง น้ำของผลทับทิมเป็นยาระบายอ่อนๆ และดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย ช่วยให้มีความจำดี แต่ไม่เหมาะสำหรับคนที่มีไข้ตัวร้อน กรดที่ได้จากน้ำทับทิมมีประโยชน์ต่อกระเพาะที่มีอาการอักเสบ ทำให้ปัสสาวะคล่อง บรรเทาอาการดีซ่าน และหยุดอาการท้องเสียได้ชะงัด และหยุดอาการอาเจียนคลื่นไส้ และทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง...”
ทับทิม มี 3 ชนิด คือ ชนิดหวาน , เปรี้ยว และอมเปรี้ยว ทับทิมชนิดหวานมีน้ำตาลประมาณ 7-10 % มีน้ำ 81% โปรตีน 0.6% ไขมัน 0.3% มีไฟเบอร์หรือใยอาหาร 2% และมีแร่ธาตุจำพวกเหล็ก, ฟอสฟอรัส, กำมะถัน, แคลเซียม, โปตัสเซียมและแมงกานีส และมีไวตามิน C ค่อนข้างมาก สำหรับผลทับทิมที่มีรสเปรี้ยวจะมีเปอร์เซ็นต์ของน้ำตาลไม่มาก แต่มีกรดมะนาวสูงถึง 2% ซึ่งถือว่าในผลทับทิมมีมากกว่าในมะนาวเอง เมล็ดของทับทิมชนิดนี้มีโปรตีน 9% และไขมัน 7%
เปลือก ภายนอกของผลทับทิมมี Tannic Acide จึงนิยมเอาเปลือกทับทิมแห้งมาบดละเอียดเป็นยาแก้ท้องเสียและอาการเป็นบิด และบรรเทาอาการเลือดออกในระบบย่อยอาหาร บางทีก็ใช้เปลือกต้มสุกเพื่อบรรเทาอาการที่ว่านี้เหมือนกัน เปลือกของผลทับทิมยังมีสรรพคุณในการขับพยาธิ เพราะเปลือกทับทิมมีสารเพลลิเธียรีน(Peletierine)
นอก จากนี้ยังนิยมใช้เปลือกทับทิมเป็นส่วนผสมในการทำให้สีคงทน และใช้ในการฟอกหนังสัตว์ และการย้อมผิวร่วมกับเฮนน่าอฺ (เทียน) เปลือกของส่วนรากทับทิมก็มีสรรพคุณในการขับพยาธิและบรรเทาอาการท้องเสีย ดอกทับทิมที่นำมาต้มสุกก็มีสรรพคุณที่ว่าเช่นกัน และมีสรรพคุณแก้โรคเหงือก เช่น เหงือกบวม รำมะนาด เป็นต้น
น้ำทับทิมคั้นจากทับทิมชนิดที่มีรสเปรี้ยว ช่วยป้องกันอาการเท้าและข้อบวมอักเสบ และป้องกันการเป็นก้อนนิ่วในไต ผล ทับทิมมีสารกระตุ้นทำให้มีความกระชุ่มกระชวย บำรุงหัวใจและระบบประสาท มีประโยชน์สำหรับผู้มีอาการประสาทอ่อนๆ เมื่อนำเอาน้ำทับทิมหยอดจมูกหรือผสมกับน้ำผึ้งจะช่วยรักษาอาการเยื่อโพรง จมูกอักเสบและทำให้ทางเดินหายใจสะอาดและดีสำหรับอาการจามเนื่องจากหวัดและมี น้ำมูก
พุทรา (السِّدْرُ )
โดย...อาลี เสือสมิง
พุทรา ชื่อไม้ต้นชนิด Zizyphus mauritiana Lamk. ในวงศ์ Rhamnaceae กิ่งมีหนาม ผลมีทั้งกลมและรี พายัพและอีสานเรียก กะทัน ทัน หรือหมากทัน ในภาษาอาหรับเรียกต้นพุทรา ว่า อัซซิดรุ้ (السِّدْرُ ) และเรียกลูกพุทรา ว่า อันนับกุ้ (النَّبْقُ ) หรือ อันนิบกุ้ (النِّبْقُ ) หรืออันนะบัก (النَّبَقُ ) และต้นพุทราต้นเดียวเรียกว่า อัซซิดเราะฮฺ (السِّدْرَة )
คำว่า ซิดริน (سِدْرٍ ) ถูกระบุไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน 2 แห่ง คือ ในบทสะบะอฺ อายะฮฺที่ 16 และในบท อัลวากิอะฮฺ อายะฮฺที่ 28 ซึ่งกล่าวถึง “ชาวขวา” (อัศฮาบุ้ลยะมีน) ที่อยู่ภายใต้ร่มเงาของต้นพุทราที่ไร้หนามในสวนสวรรค์ และคำว่า ซิดเราะฮฺ (سِدْرَةٌ ) ถูกระบุไว้ 2 แห่ง คือ ในบทอันนัจญมุ้ อายะฮฺที่ 14 และอายะฮฺที่ 16 ซึ่งกล่าวถึง ซิดเราะฮฺ อัลมุนตะฮา (سِدْرَةُ الْمُنْتَهٰى ) อันเป็นต้นไม้ในสวรรค์ชั้น อัลมะอฺวา (جَنَّةُالْمَأوٰى
ซึ่งท่านศาสดามุฮำมัด (ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้ยลโฉมที่แท้จริงของท่านญิบรีล (อะลัยฮิซซลาม) ณ ต้นไม้นี้
เมื่อครั้งที่ท่านเดินทางขึ้นสู่ชั้นฟ้าเบื้องบน (อัลมิอฺรอจฺญ์) ผลของต้นไม้นี้ใหญ่ขนาดโอ่งที่ปั้นจากเมือง ฮิจรฺ ใบของมันใหญ่ขนาดใบหูของช้าง มีแม่น้ำ 4 สายไหลออกมาจากเบื้องใต้ 2 สาย เป็นแม่น้ำภายในและอีกสองสายเป็นแม่น้ำภายนอก คือ แม่น้ำไนล์ และฟุร๊อต (ยูเฟรติส)
ท่านอัลบุคอรีย์และมุสลิมระบุเรื่องนี้เอาไว้ ท่านอิบนุ กะซีร (ร.ฮ) ได้เล่าจากท่าน กอตาดะฮฺ (ร.ฮ) ว่า :
“พวกเราเคยพูดคุยถึงต้นพุทราที่ไร้หนาม (ซิดริน มัคฎู๊ด) ส่วนพุทราในโลกนี้มีหนามและมีผลน้อย”
ท่าน ฮาฟิซฺ อัซซะฮฺบีย์ (ร.ฮ) กล่าวว่า : การอาบน้ำด้วยพุทราจะทำให้ศีรษะสะอาดหมดจดยิ่งกว่าสิ่งอื่นใด และจะดับความร้อน และท่านศาสดา (ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้ระบุถึงพุทราในการอาบน้ำศพ
อันนะบะกุ้ (النّبق ) คือ ผลของพุทรา มีลักษณะคล้ายผลซะอฺรู๊ร (الزَّعْرُوْرُ ) รับประทานแล้วทำให้อารมณ์เป็นปกติ และเคลือบกระเพาะอาหาร ท่านอิบนุ อัลก็อยยิม (ร.ฮ) กล่าวว่า “ผลของพุทรามีประโยชน์ในการบรรเทาอาการท้องเสีย และบรรเทาอาการดีซ่าน บำรุงร่างกายทำให้เจริญอาหาร...”
ผล พุทรามีรสหวาน กลิ่นหอม ส่วนประกอบที่สำคัญในผลพุทราคือ น้ำตาลขององุ่นและฟรุกโตส และกรดพุทรา (Acide Zizyphique) เป็นยาระบาย ลดอาการไข้ตัวร้อน ขับเสมหะ มีประโยชน์สำหรับผู้ที่ออกหัด และกระเพาะเป็นหนอง ใบพุทราต้มสุกแก้ท้องเดินและขับพยาธิ ทำให้รากผม ขนแข็งแรง และมีสรรพคุณในการรักษาโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจและปอด
น้ำเต้า (اَلدُّبَّاءُ)
โดย...อาลี เสือสมิง
น้ำเต้า ชื่อไม้เถาล้มลุกชนิด Lagenaria siceraria Standl ในวงศ์ Cucurbitaceae อยู่ในจำพวกฟักแฟง ผลกินได้ เมื่อแก่แห้งใช้เป็นภาชนะได้
ชาวอาหรับเรียกน้ำเต้าเอาไว้หลายชื่อ เช่น อัดดุบบาอฺ (اَلدُّبَّاءُ ) อัลกอรอุ้ (اَلْقَرْعُ ) และอัลยักฏีน (اَلْيَقْطِيْنُ )
ในคัมภีร์อัลกุรอาน กล่าวถึง “น้ำเต้า” โดยใช้คำว่า “يَقْطِيْن ” โดยระบุเอาไว้ในบท อัซซอฟฟ๊าต อายะฮฺที่ 146 อันเป็นเรื่องราวของท่านศาสดา ยูนุส (อะลัยฮิซซลาม) ซึ่งกล่าวถึงมาแล้วในเรื่อง “ปลาวาฬ”
มีรายงานระบุว่า ท่านศาสดา (ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ชอบรับประทาน “น้ำเต้า” ที่ผสมในน้ำแกงจิ้มกับขนมปัง
(รายงานจากท่านอะนัส (ร.ฎ) บันทึกโดย อัลบุคอรีย์)
ใน ผลน้ำเต้า มีส่วนประกอบเป็นน้ำถึง 94.7% น้ำตาลเล็กน้อยและเส้นใยอาหาร ผลน้ำเต้าปริมาณ 100 กรัมจะให้พลังงาน 65 แคเลอรี่เท่านั้น เป็นอาหารอย่างดีสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก มีสารโซเดียมประกอบอยู่น้อยมาก จึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการความดันโลหิตสูง แต่อุดมด้วยโปตัสเซียม ซึ่งมีสรรพคุณในการทำให้ปัสสาวะคล่อง
แร่ ธาตุสำคัญในผลน้ำเต้า ได้แก่ โปตัสเซียม , แคลเซียม , แมกนีเซียม , ฟอสฟอรัส , เหล็ก , กำมะถัน และคลอไรด์ มีไวตามิน A อยู่มาก น้ำของผลน้ำเต้ามีประโยชน์สำหรับผู้มีอาการไข้ตัวร้อน ดับกระหายและแก้อาการปวดศีรษะเมื่อดื่มน้ำของมันหรือนำเอาน้ำของมันมาทาใบ หน้า เป็นยาระบายอ่อนๆ ออกฤทธิ์เร็ว
มีหลักฐานยืนยันว่า น้ำเต้ามีสรรพคุณในการป้องกันโรคมะเร็งโดยเฉพาะมะเร็งที่ปอด ท่านอิบนุ อัลก็อยยิม (ร.ฮ) ระบุว่า คำว่า ยักฎีน (يَقْطِيْن ) เป็นคำที่มีความหมายกว้าง ตามหลักภาษา หมายถึง พืชทุกชนิดที่ไม่มีลำต้น (ไม้ล้มลุก) เช่น แตงโม , แฟง และแตงกวา เป็นต้น แต่โดยปกติ “ยักฎีน” หมายถึง อัดดับบาอฺและอัลกอรอฺ อันหมายถึง น้ำเต้า นั่นเอง
น้ำเต้า มีสรรพคุณเย็นและชื้น มีผลงานวิจัยยืนยันว่า น้ำเต้ามีประโยชน์สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ ผู้ชราภาพ ใบของน้ำเต้ามีสรรพคุณบรรเทาอาการพุพองและผื่นคัน และยังค้นพบอีกว่า น้ำเต้ามีผลในการลดอาการอักเสบของทางเดินปัสสาวะและอาการปัสสาวะยาก
นัก พฤกษศาสตร์ระบุว่าน้ำเต้ามีสายพันธุ์ในวงศ์เดียวกันมากกว่า 1,000 ชนิด มีแพร่หลายในเขตเส้นทรอปิก ส่วนหนึ่งได้แก่ อัลกอรอุ้ลอะซะลีย์ (น้ำเต้าหวาน), กอรอุ้ลกูซา (แฟง-ฟัก), กอรอุ้ลอะวานีย์ (น้ำเต้าใหญ่), อัลอะญัร, บิตตีค (แตงโม), ซัมมาม (แตงไทย), อัลกอวูน ต้น(บวบ), อัลลัยฟ์ (น้ำเต้าพันธุ์เลื้อยหรือแตงร้าน) และอัลฮันซ็อล (บวบขม) เป็น
กล้วย (اَلطَّلْحُ)
กล้วย (اَلطَّلْحُ)
กล้วย (اَلطَّلْحُ)
โดย...อาลี เสือสมิง
กล้วย ชื่อไม้ล้มลุกชนิดในสกุล Musa วงศ์ Musaceae จัดแยกออกได้เป็น 2 จำพวก จำพวกที่แตกหน่อเป็นกอ ผลสุกเนื้อนุ่มกินได้ มีหลายชนิดและหลายพันธุ์ เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ กล้วยหอม บางชนิด ผลสุกเนื้อแข็ง ต้องเผาหรือต้มก่อน จึงกินได้ เช่น กล้วยกล้าย , กล้วยหักมุก จำพวกที่ไม่แตกหน่อเป็นกอ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด เช่น กล้วยนวล , กล้วยผา
ชาวอาหรับเรียกกล้วยว่า เมาซ์ (مَوْزٌ ) เป็นภาษาฮินดีย์เดิม และยังเรียกอีกว่า อัฏฏอลฮฺ (اَلطَّلْحُ ) ซึ่งเป็นคำอาหรับแท้ และเป็นคำที่ถูกระบุในคัมภีร์อัลกุรอาน โดยถูกระบุไว้ในบท อัลวากิอะฮฺ อายะฮฺที่ 29 ซึ่งกล่าวว่า กล้วยในสวนสวรรค์นั้นมีเครือออกเต็มต้นตั้งแต่โคนต้นถึงยอดเลยทีเดียว บ้างก็ว่า คำว่า อัฏฏอลฮฺ (اَلطَّلْحُ ) หมายถึง พืชที่มีหนามขึ้นในเขตแคว้น อัลฮิญาซฺ ผู้คนนิยมอาศัยร่มเงาของมันหลบแดด แต่พืชชนิดนี้เมื่ออยู่ในสวนสวรรค์จะมีความงดงามและมีผลดกมากๆ
กล้วยหนึ่งต้นจะออกผลเพียงครั้งเดียว เมื่อตัดต้นแม่ที่ออกเครือทิ้งแล้วจะมีหน่อใหม่ขึ้นมาแทนที่ต้นเดิม
ท่านอิบนุ ซีนา ระบุว่า การรับประทานกล้วย จะมีสรรพคุณทำให้ปัสสาวะคล่อง เพิ่มความจำที่ดี
สำหรับคนไทยเรา ดูเหมือนว่า กล้วยจะเป็นพืชสารพัดประโยชน์ รากกล้วยใช้ทำยาได้ ลำต้นใช้ทำฐานกระทง ใบกล้วยที่เรียกว่า ใบตอง ก็ใช้ห่อของ ทำจีบกระทง ห่อขนมสารพัดชนิด ไส้ในของกล้วยก็นิยมเอามาทำแกง ผลกล้วยใช้ทำทั้งของหวานและอาหารนานาชนิด โดยเฉพาะข้าวต้มมัด ปลีหรือดอกกล้วยก็สามารถนำเป็นเครื่องเคียงกับน้ำพริกและใส่แกง ฯลฯ
กล้วย น้ำว้านั้น ถือว่าเป็นอาหารอ่อนๆ ที่เหมาะสำหรับทารกที่เริ่มทานอาหาร เรียกได้ว่า เด็กกินได้ ผู้ใหญ่กินดี แม้แต่ลิงยังชอบกินกล้วย มีเอกสารระบุว่า กล้วยมีสรรพคุณรักษาโรคได้ดังนี้ 1.โรค เจ็บหน้าอก 2.โรคปอด 3.โรคไต 4.ลดอาการไอ 5.โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ 6.เพิ่มอสุจิ 7.เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ 8.โรคท้องร่วง
ในคัมภีร์อัลกุรอานยังได้ระบุถึงพืชอีกหลายชนิด
เช่น กระเทียม , หัวหอม , ถั่ว ฯลฯ ซึ่งล้วนแล้วแต่มีประโยชน์แก่มนุษยชาติ
หากชาวมุสลิมศึกษาและวิเคราะห์วิจัยสิ่งเหล่านี้จากคัมภีร์อัลกุรอานอย่างจริงจัง
เราในฐานะผู้ศรัทธาต่อคัมภีร์อัลกุรอานก็คงจะค้นพบสิ่งเร้นลับอีกมากมายอย่างไม่รู้จบสิ้น
หวังว่าสิ่งที่ได้ขีดเขียนมาทั้งหมดนี้คงจะเป็นการจุดประกายความใฝ่รู้แก่ เยาวชนและชาวมุสลิมทั่วไปไม่มากก็น้อย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
โปรดใช้วิจารณญานในการแสดงความคิดเห็น