มุสลิมกับการดูแลสุขภาพในยุคปัจจุบัน เขียนโดย นายแพทย์มุหัมมัดดาโอะ เจ๊ะเลาะ


มุสลิมกับการดูแลสุขภาพในยุคปัจจุบัน

เขียนโดย นายแพทย์มุหัมมัดดาโอะ เจ๊ะเลาะ

444

คำนำ

สุขภาพ เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนปรารถนา เป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่จะนำความสงบสุขให้กับชีวิต มุสลิมทุกคนถือว่าการมีสุขภาพที่ดีนั้นเป็นนิอมัตอย่างหนึ่งจากอัลลอฮ (ซ.บ.) ที่ควรจะรักห่วงแหน ดูแลทะนุถนอมเป็นอย่างดีและจะต้องรู้จักขอบคุณผู้ให้นิอมัตชิ้นนี้ด้วย นั่นคือ อัลลอฮ (ซ.บ.) ด้วยการกล่าวซูโกรและปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม คือต้องเป็นบ่าวที่ดีและต้องตักวาต่อพระองค์อย่างแท้จริง เพราะมนุษย์ส่วนใหญ่จะหลงลืมไม่ใช้นิอมัตนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดตาม เจตนารมณ์ของอัลลอฮ นั่นคือ เพื่อภักดี(อิบาดะห์)ต่อพระองค์

ท่านนบีมูฮำหมัดได้กล่าวว่า

رواه البخارى ( نعمتان مغبون فيهما كثير من الناس الصحة والفراغ)

“ มีนิอมัต (ความสุข ความโปรดปราน) อยู่ 2 ประการ มีคนส่วนใหญ่จะหลงลืม นั่นคือ การมีสุขภาพที่ดีและมียามว่าง ” รายงานโดย อัลบุคอรี

การ ดูแลสุขภาพในยุคโลกาภิวัฒน์ หรือ ยุคสารสนเทศนี้ สำหรับผู้ศรัทธาต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ ต้องมีความรู้ ต้องมีอีหม่าน ต้องรู้จักบริหารตนเองและเวลา ต้องมีวินัยอย่างเคร่งครัด หากศึกษาในหลักการแล้ว การดูแลสุขภาพส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นการป้องกันโรคมากกว่าการบำบัดรักษา นักปราชญ์ได้กล่าวว่า

الوقاية خير من العلاج

“การป้องกันโรค ดีกว่า การบำบัดรักษา”

การ ดูแลสุขภาพในเชิงป้องกันโรค จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อผู้นั้นหมั่นเพียรหาความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ มีความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้วเกิดความตระหนักพร้อมที่จะปรับเปลี่ยน พฤติกรรมในทางที่ดีและนำไปปฏิบัติเป็นรูปธรรมอย่างสม่ำเสมอ

ท่าน นบีฯเองเป็นคนที่มีสุขภาพแข็งแรง ท่านเคยประลองกับชายหนุ่มคนหนึ่งชื่อ รูกอนะห์ ที่มีร่างกายแข็งแรงแต่ท่านนบีสามารถล้มชายคนนั้นลงกับพื้นได้ถึง 3 ครั้ง ก่อนที่ชายคนนั้นจะยอมนับถือศาสนาในเวลาต่อมา

ท่านนบีเคยกล่าวว่า :

(المؤمن القوى خير واحب إلى الله من لمؤمن الضعيف وفى كل خير احرص على ما ينفعك واستعن بالله ولا تعجر ) رواه مسلم

“ผู้ ศรัทธาที่แข็งแรง ย่อมประเสริฐกว่าและเป็นที่รักยิ่งของอัลลอฮ มากกว่าผู้ศรัทธาที่อ่อนแอ และในทุกการงานที่ดี จงยึดมั่นต่อสิ่งที่ให้คุณประโยชน์และจงขอความช่วยเหลือต่ออัลลอฮ และจงอย่าเป็นคนที่อ่อนแอ”

องค์การอนามัยโลก (WHO) ให้คำนิยาม สุขภาพ จากเดิมที่ได้ระบุไว้ 3 มิติ มาเป็น 4 มิติ ในปี ค.ศ. 1984 ไว้ดังนี้

สุขภาพ คือ “สุขภาวะที่สมบูรณ์ทางด้านร่างกาย (Physical) จิตใจ (Psycho) จิตวิญญาณ (Spiritual) และสังคม (Social) มิเพียงแต่ปราศจากโรคและความพิการเท่านั้น”

จาก คำนิยามข้างต้น จะเห็นว่า ศาสนา มีส่วนเกี่ยวข้องกับสุขภาพ ดังนั้น ในการดูแลสุขภาพในยุคปัจจุบันควรจะอยู่ในรูปแบบบูรณาการระหว่างหลักการศาสนา อิสลามกับหลักการแพทย์และสาธารณสุขที่ไม่ขัดต่อหลักศาสนาเข้าด้วยกัน ดังต่อไปนี้

1. การดูแลสุขภาพร่างกาย

ปัจจัยที่มีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพกายมีดังนี้

1.1 ดูแลเรื่องโภชนาการ

มุสลิมต้องเลือกรับประทานอาหารที่อิสลามได้กำหนดไว้คือ

- อาหารที่ฮาลาล คือ อาหารที่อิสลามได้อนุมัติให้รับประทานได้ ซึ่งจะมีผลต่อการพัฒนาการทางด้านจิตใจและวิญญาณ

- อาหาร ที่ดี(ฏ็อยญีบัน) คือ อาหารที่มีประโยชน์ สะอาด ปลอดจากสารเคมีเจือปน อร่อย เหมาะสมกับวัยและสภาพของแต่ละคน มีผลต่อการพัฒนาการทางด้านร่างกาย จิตใจและจิตวิญญาณ

- รับประทานตามแบบซุนนะห์ จะช่วยป้องกันโรค ได้สุขภาพและอิบาดะห์ ช่วยพัฒนาการทางด้านร่างกายและอัคลัค(จริยธรรม)

- อาหารแต่ละมื้อควรจะได้แคลอรี่ที่เหมาะสม มีวิตามินและเกลือแร่ที่ร่างกายต้องการ

- อาหารสำหรับผู้สูงอายุ (อายุ 40-60 ปี ) ควรจะลดอาหารประเภทแป้งและไขมัน ควรจะกินเนื้อ นม ถั่ว ผักและผลไม้มากขึ้น

- เลือกรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย เพราะกระเพาะอาหาร ลำไส้ ตับไต เริ่มเสื่อมลง ควรงดอาหารรสเค็มจัด เพราะไตจะต้องทำงานหนักยิ่งขึ้น

1.2 การออกกำลังกาย

- การออกกำลังกายแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1. การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ (Exercise For health)

2. การออกกำลังกายเพื่อการแข่งขัน (Exercise For competition)

- การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ มี 4 ชนิด คือ

1. Aerobic Exercise เช่น การเดิน การวิ่งเหยาะๆ การขี่จักรยาน ว่ายน้ำ เป็นต้น

2. Callisthenic Exercise เช่น การ Warm up และ Cool down ก่อนและหลังออกกำลังกายหรือ เล่นกีฬา วามหมาย “สุขภาพ” (Health)เช่น การบิดข้อเท้า การสะบัดข้อเท้า การบิดลำตัว เอว สะโพก การแกว่งแขน เป็นต้น

3. Relaxation Exercise เช่น โยคะ รำมวยจีน

4. High Resistencemaerobic Exercise เช่น กีฬายกน้ำหนัก เป็นต้น

- การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ควรจะเลือกออกกำลังกายที่มีผลต่อระบบหัวใจ ระบบการหายใจ กระดูก กล้ามเนื้อและข้อ เป็นสำคัญ นั่นคือ aerobic exercise โดยมีหลักเกณฑ์ “FITT FORMULA” ดังนี้

1. F = Fregurncy (ความถี่) อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง

2. I = Intensity (ความรุนแรง) คือ การออกกำลังกายจนกว่าการเต้นของหัวใจจะเพิ่มมากขึ้นประมาณ 60-85 % ของค่า age-predicted maximum rate (MHR) หมายถึง การออกกำลังกายจนมีเหงื่อออกและเริ่มหายใจเร็วและลึกมากขึ้น โดยไม่รู้สึกเจ็บหน้าอกหรือคล้ายจะเป็นลมค่า predicted MHR = 220 – อายุ(ปี) เช่น อายุ 45 ปี ค่า MHR = 220-45 = 175 ครั้ง/นาที

3. Type of activity (ชนิด ของกิจกรรม) เลือกการออกกำลังที่ตนชอบเหมาะสมกับอายุและสภาพร่างกายของตนเอง เช่น การเดิน เป็นการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับทุกเพศทุกวัย ประหยัดและปลอดภัย

4. Time of duration (ระยะเวลา) อย่างน้อย 15-60 นาที/ครั้ง ขึ้นอยู่กับประเภทของการออกกำลังกาย ถ้า ว่ายน้ำ อย่างน้อย 20 นาที จะสูญเสียแคลอรี่เท่ากับการเดิน 60 นาที (ประมาณ 200-300 แคลอรี่) โดยจะมีการ Warm up ด้วยวิธี Callisthenic exercise 3-5 นาที ก่อนจะออกกำลังกาย aerobic และจะต้อง cool down อีก 3-5 นาที ด้วยขยับขึ้น callisthenic exercise ก่อนที่จะเสร็จสิ้นการออกกำลังกายในแต่ละครั้ง

- ควร จะมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรง มีแรงบีบตัวเพิ่มขึ้นและการเต้นของหัวใจจะช้าลง เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ออกกำลังกาย เท่ากับเป็นการประหยัดพลังงานของเรา ตัวอย่าง



สภาวะของหัวใจ

ไม่ออกกำลังกาย

ออกกำลังกาย

- อัตราการเต้นของหัวใจ

- อัตราการเต้นของหัวใจขณะ พักใน 1 วัน

- เพิ่มการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกาย

- รวมการเต้นของหัวใจ/วัน

70 ครั้ง/นาที

70×60×24=100,800



-

100,800 ครั้ง

60 ครั้ง/นาที

60×60×24=86,400 ครั้ง



5,400 ครั้ง

91,800 ครั้ง


5,400 ครั้ง คำนวณจาก

- คิดใน1 ชั่วโมงของการออกกำลังกาย โดยให้อัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกาย= 150 ครั้ง/นาที

- หักส่วนที่เพิ่มจากการเต้นขณะไม่ออกกำลังกาย = 150-60 = 90 ครั้ง/นาที

- ดังนั้น 90 ครั้ง × 60 นาที ของการออกกำลังกาย = 5,400 ครั้ง

จากตารางจะเห็นว่าใน 1 วัน หัวใจของผู้ที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอ (วันละ 1 ชั่วโมง) จะเต้นน้อยกว่าหัวใจของผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย = 100,800 – 91,800 = 9,000 ครั้ง/วัน

คิดเป็น 30×9,000 = 270,000 ครั้งเดือน หรือ คิดเป็น 365×9,000 = 3,285,000 ครั้ง/ปี

คิดเป็น 365×40×9,000 = 131,400,000 ครั้ง/40 ปี

ท่านนบีส่งเสริมการเล่นกีฬาและการออกกำลังกาย ท่านได้กล่าวว่า:



(علموا اولادكم السباحة والرماية وركوب الخيل ) رواه النسائى وابنماجة

“จงสอนลูกหลานของท่านให้ว่ายน้ำ การยิงธนู และการขี่ม้า”

เรา ในฐานะที่เป็นมุสลิมและมุสลีมะฮ ควรที่จะเลือกการออกกำลังกายที่ไม่ขัดต่อหลักการของศาสนาอิสลาม ถ้าศึกษาอิริยาบถของการละหมาด โดยเฉพาะละหมาดซุนนะฮ์ตะรอเวียะฮและละหมาดตะหัจญูดหรือละหมาดซุนนะฮอื่นๆที่ ใช้เวลานาน 30-60 นาที น่าจะเป็นวิธีการบริหารร่างกายอย่างหนึ่ง ในประเภทของ Relaxation exercise แต่ ผลที่จะได้รับจากการละหมาดย่อมไม่อาจที่จะเปรียบเทียบกับการบริหารชนิดต่างๆ ได้เพราะการละหมาดนอกจากจะเป็นอิบาดะห์ ได้ผลบุญแล้ว ยังเป็นการฝึกสมาธิด้านจิตใจและเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านร่างกายและจิต วิญญาณอีกด้วย

1.3 การพักผ่อน

อัลลอฮ(ซ.บ.) ทรงตรัสไว้ว่า:

( وجعلنا نومكم سباتا)

“และเราได้ทำให้การนอนของพวกเจ้าเป็นการพักผ่อน” อัลกุรอาน 78: 9

- การพักผ่อนที่ดีที่สุด คือ การนอนหลับ

- เด็กจะได้ใช้เวลาในการนอนมากกว่าผู้ใหญ่

- ผู้ใหญ่ควรพักผ่อนวันละ 6-8 ชั่วโมง

- นอนแบบซุนนะฮ จะได้ทั้งสุขภาพและอิบาดะห์

1.4 อากาศบรสุทธิ์

- อากาศเป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิต อากาศบริสุทธิ์จำเป็นต่อการมีสุขภาพดี

- ร่างกายต้องการอ๊อกซิเจน เพื่อการเผาผลาญในร่างกายให้เกิดพลังงานและใช้ในการซักฟอกโลหิตในถุงลมปอดให้สะอาด

- เมื่อร่างกายขากอากาศออกซิเจนในการหายใจในเวลาไม่กี่วินาที อาจจะทำให้หมดสติและเสียชีวิตได้

- เราต้องพยายามหาแหล่งอากาศบริสุทธิ์ เพื่อการหายใจและพยายามหลีกเลี่ยงจากอากาศที่ไม่บริสุทธิ์ เพื่อสุขภาพที่ดีของเรา

- อย่าพยายามทำลายบรรยากาศที่ดีรอบตัวเราด้วยควันบุหรี่



1.5 น้ำ และสุขอนามัยที่ดี

- น้ำเป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิต

- ในร่างกายมนุษย์มีส่วนประกอบของน้ำอยู่ประมาณ 70% ของน้ำหนักร่างกาย

- หากร่างกายขาดน้ำประมาณ 3% จากน้ำหนักร่างกายอาจจะทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้

- ควรดื่มน้ำที่สะอาด วันละ 6-8 แก้วต่อวัน

- ความ สะอาดเป็นปัจจัยหนี่งของการมีสุขภาพดี อิสลามส่งเสริมให้มุสลิมทุกคนดูแลความสะอาด เพราะความสะอาดเกี่ยวข้องกับความศรัทธา ท่านนบีจะทำให้ผู้นั้นมีสุขภาพที่ดี

ท่านนบีกล่าวว่า

( الطهور شطر الايمان ) رواه مسلم

“ความสะอาดเป็นส่วนหนึ่งของการศรัทธา” รายงานโดย มุสลิม

1.6 การละหมาด

- การละหมาดเป็นรุกนหนึ่งของรุกนอิสลาม ที่มุสลิมทุกคนจะต้องปฏิบัติอย่างน้อยวันละ 5 เวลา

- การละหมาดนอกจากจะเป็นอิบาดะห์อย่างหนึ่งแล้ว ผู้ที่ละหมาดจะมีสุขภาพที่ดีอีกด้วย

1.7 การถือศิลอด

- นักธรรมชาติบำบัดจะใช้วิธีการอดอาหารเพื่อรักษาโรค

- มุสลิม ถือศิลอดมิใช่เพื่อการบำบัดรักษา แต่อดเพื่อการภักดีต่ออัลลอฮ แต่ผลดีหรือเคล็ดลับของการถือศิลอดที่ถูกต้องตามแบบอย่างของท่านนบีนั้นมี มากมาย ท่านนบีกล่าวว่า

( صوموا تصحوا)

“จงถือศิลอดและท่านจะมีสุขภาพที่ดี”

1.8 จงห่างไกลจากสิ่งต้องห้ามในอิสลาม เช่น

- เสพสารเสพติดให้โทษ

- การสูบบุหรี่

- การผิดประเวณี (ซีนา)

- พฤติกรรมรักร่วมเพศ

- การพนัน

สิ่งเหล่านี้ นอกจากจะเป็นบาปแล้ว จะมีผลกระทบต่อสุขภาพกาย จิตใจ จิตวิญญาณ และสังคมอีกด้วย

1.9 ตรวจเช็คร่างกายประจำปี เมื่ออายุมากกว่า 40 ปี

- มุสลิม ต้องรู้จักใช้เทคโนโลยีในยุคปัจจุบันให้เป็นประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพ ด้วยการตรวจเช็คร่างกายประจำปี เพราะอย่างน้อยจะได้มีการประเมินสุขภาพของตนเองและหากตรวจพบสิ่งผิดปกติใน ร่างกาย จะได้มีการแกไขหรือบำบัดตั้งแต่เนิ่นๆย่อมจะเป็นการดี

2. การดูแลสุขภาพจิต

- โดย เฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบัน มุสลิมทุกคนจะต้องดูแลสุขภาพจิต ควบคู่กับสุขภาพร่างกาย การทดสอบจากอัลลอฮฺจะมีผลกระทบทางด้านจิตใจเป็นสำคัญ หากจิตวิญญาณหรือความศรัทธาของเราไม่เข้มแข็ง ยกเว้นบรรดาผู้ที่มีความอดทน หรือมีจิตใจที่เข้มแข็ง ที่จะผ่านการทดสอบจากอัลออฮฺ พระองค์ทรงตรัสไว้:

“ และ แน่นอน เราจะทดลองพวกเจ้า ด้วยสิ่งใดสิ่งหนึ่งจากความกลัวและความหิวและความสูญเสีย(อย่างใดอย่าง หนึ่ง) จากทรัพย์สมบัติ ชีวิตและพืชผลและเจ้าจงแจ้งข่าวดีแก่บรรดาผู้อดทนเถิด” (อัลกุรอาน 2: 155)

มุสลิม จะดูแลสุขภาพจิตอย่างไรให้มีจิตใจที่เข้มแข็งและอดทน อดกลั้น ต่ออุปสรรคหรือการทดสอบจากอัลลอฮ(ซ.บ.) เพราะถ้าจิตใจไม่เป็นสุข จะมีผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายไปด้วย

- มุสลิมควรจะปฏิบัติดังนี้:-

2.1 รำลึกถึงอัลลอฮตลอดเวลา (ซิกรุลลอฮ)

2.2 อ่านคัมภีร์อัลกุรอานทุกวัน เข้าใจความหมาย

2.3 ดำรงการละหมาด เข้าใจฮิกมะฮ์ของการถือศิลอด

2.4 จ่ายซะกาต (เมื่อครบเงื่อนไข) อินฟาก ศอดาเกาะฮ์

2.5 ตะวักกัลต่ออัลลอฮในทุกการงานที่ดี/มีทัศนคติเชิงบวก

2.6 ขอดุอาต่ออัลลอฮให้มีสุขภาพที่ดี

3. การดูแลสุขภาพจิตวิญญาณ/อากีดะห์

- การ ดูแลสุขภาพจิตวิญญาณเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งและมีความยากลำบากมาก เป็นตังบ่งชี้ถึงความอยู่รอดปลอดภัยในโลกหน้า หากจิตวิญญาณของเราไม่สมบูรณ์ สุขภาพกายและใจของเราก็ไม่มีความหมายอะไรทั้งสิ้น

- ใน อดีตโลกแห่งวิญญาณของเรา ทุกๆวิญญาณได้ถูกซักถามถึงความศรัทธาต่ออัลลอฮและวิญญาณของมนุษย์ทุกคนก็ได้ ให้คำปฏิญาณแล้ว โดยอัลลอฮได้ทรงถามขึ้นมาว่า :

“ข้ามิใช่พระเจ้าของพวกเจ้าดอกหรือ พวกเขากล่าวว่า ใช่ขอรับ พวกข้าพระองค์ขอยืนยัน” ( อัลกุรอาน 7 : 172 )

ดังนั้น เมื่อเราเกิดมาอยู่บนโลกนี้ เราจะต้องยืนยันความศรัทธาของเราเหมือนเดิม โดยการกล่าวคำปฏิญาณตนว่า

“ข้าขอปฏิญาณว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ และแท้จริงแล้วมุฮัมหมัดนั้นเป็นศาสนทูตของพระองค์”

- ข้อ พิสูจน์ว่าเราเป็นผู้ศรัทธาที่แท้จริงหรือไม่ ต้องตรวจสอบตัวเองว่าในทุกการงานของเรามีการตั้งภาคี(ซีริก)ต่ออัลลอฮหรือ ไม่ และเราได้ปฏิบัติตามบัญญัติใช้และบัญญัติห้ามของพระองค์ได้ครบถ้วนหรือไม่ หากสุขภาพจิตวิญญาณของเรายังไม่บริสุทธิ์ เราอาจจะตกอยู่ในกลุ่มของคนมุนาฟิก ฟาซิก หรือ อธรรม ก็ได้

4. การดูแลสุขภาพทางด้านสังคม ( social well being )

จะ ทำอย่างไรให้ทุกชีวิตในสังคมดำรงอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างประสานกลมกลืนหรือมีความขัดแย้งน้อย ที่สุด ซึ่งอิสลามได้กำหนดไว้ หากมีการทะเลาะเบาะแว้งกันจะต้องคืนดีกันภายใน 3 วัน และต้องให้อภัยซึ่งกันและกัน

สิ่ง ที่สำคัญที่สุด หลังจากมีความศรัทธาแล้ว จะต้องเรียนรู้ถึงอัคลัค(จริยธรรม) การอยู่ร่วมกันในสังคมตามแบบอย่างของท่านนบีมูฮัมหมัด(ซ็อล) อินชาอัลลอฮ เราจะอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นอย่างมีความสุข อย่างน้อยที่สุดในครอบครัวเล็กๆของเรา อิสลามได้สอนหลักการทำความดี(เอียะฮ์ซาน) โดยอัลลอฮได้ตรัสว่า:

“หากพวกเจ้าทำความดี พวกเจ้าก็ทำเพื่อตัวของพวกเจ้าเอง และหากว่าพวกเจ้าทำความชั่วก็เพื่อตัวเอง...” ( อัลกุรอาน 17: 7)

เมื่อ เรามีสุขภาพกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ มีจิตใจที่สงบสุข มีความศรัทธาที่แน่วแน่ต่ออัลลฮ(ซ.บ.) มีจริยธรรมคุณธรรมที่ดี อินชาอัลลอฮ เราจะเป็นคนหนึ่งที่มีสุขภาพดี ตามคำนิยามของ WHO และที่มุสลิมทุกคนปรารถนา



เขียนโดย นายแพทย์มุหัมมัดดาโอะ เจ๊ะเลาะ


คัดมาจาก www.igraonline.org

ความคิดเห็น