ขุนชวงเลียงฦๅเกียรติ
ทายาทเจิ้งเหอ ๑๐๐ ปีคาราวานม้าต่างสู่ เชียงใหม่
ข้อมูลตระกูล วงค์ลือเกียรติ์
โดย พ.ต.อ.อนุ เนินหาด
ทายาทเจิ้งเหอ ๑๐๐ ปีคาราวานม้าต่างสู่ เชียงใหม่
ข้อมูลตระกูล วงค์ลือเกียรติ์
โดย พ.ต.อ.อนุ เนินหาด
ที่ถนนเจริญประเทศซอย ๑ ต้นถนนเจริญประเทศฝั่งทิศตะวันตกมีชุมชนใหญ่เรียกว่า “บ้านฮ่อ” ชุมชนนี้เป็นชาวจีนยูนนานมุสลิมที่อพยพมาจากประเทศจีน ผู้นำของชุมชนตั้งแต่เริ่มต้นมา คือ ขุนชวงเลียงฦๅเกียรติ
จากการศึกษาและรวบรวมของอาจารย์จีริจันทร์ วงศ์ลือเกียรติ ประทีปะเสน ขุนชวงเลียงฦาเกียรติ มีนามเดิมว่าเจิ้งชงหลิ่ง และนามในศาสนาอิสลามว่า อิบรอฮีม เกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๖ ณ ตำบลหยีซี เมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน ประเทศจีน เป็นบุตรชายคนเดียวของคหบดีเมืองหยีซี ต่อมาได้สมรสกับหญิงสาวชาวจีนไม่ทราบนามและมีบุตรสาว ๒ คน
จากการศึกษาและรวบรวมของอาจารย์จีริจันทร์ วงศ์ลือเกียรติ ประทีปะเสน ขุนชวงเลียงฦาเกียรติ มีนามเดิมว่าเจิ้งชงหลิ่ง และนามในศาสนาอิสลามว่า อิบรอฮีม เกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๖ ณ ตำบลหยีซี เมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน ประเทศจีน เป็นบุตรชายคนเดียวของคหบดีเมืองหยีซี ต่อมาได้สมรสกับหญิงสาวชาวจีนไม่ทราบนามและมีบุตรสาว ๒ คน
ในปี พ.ศ. ๒๔๔๘ เมื่ออายุได้ ๓๒ ปี ได้เดินทางบุกป่าฝ่าดงนำพลพรรคประมาณ ๑๐ คน คุมกองคาราวานม้าต่างจำนวน ๑๐๐ ตัว เข้ามาค้าขายยังเมืองเชียงใหม่ผ่านทางสิบสองปันนา เชียงตุง เข้าสู่ประเทศไทยทางอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ลงมาลำปาง ขึ้นไปลำพูน เข้าสู่จังหวัดเชียงใหม่ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ และเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ เจ้าหลวงองค์ที่ ๘ ของเชียงใหม่ ระยะแรกที่อยู่เมืองเชียงใหม่ได้พักอยู่กับญาติที่สนิทสนมคุ้นเคยกับเจ้าหลวงเชียงใหม่ เมื่อเดินทางไปค้าขายที่เมืองระแหงหรือตาก ได้แต่งงานกับนางนพในปี พ.ศ. ๒๔๕๐ หลังจากนั้นปี พ.ศ.๒๔๕๒ ได้สร้างบ้านอยู่ที่เมืองเชียงใหม่ บริเวณถนนเจริญประเทศแห่งนี้ ที่ดินเนื้อที่ ๕ ไร่ได้รับประทานจากเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ ๙
ขุนชวงเลียงฦาเกียรติและนางนพ มีบุตรธิดารวม ๑๐ คน คือ นายเจอ วงศ์ลือเกียรติ , นายสุขุม วงศ์ลือเกียรติ,นางเต็มดวง วงศ์ลือเกียรติ,นายชาญ วงศ์ลือเกียรติ,นาง วีรัจฉรี จันทน์ยิ่งยง,นายสุรินทร์ วงศ์ลือเกียรติ,คุณหญิงจันทร์เพ็ญ นาวีเสถียร,นายอโณทัย วงศ์ลือเกียรติ,นางสมบูรณ์ วงศ์ลือเกียรติและนางพวงเพ็ชร วงศ์ลือเกียรติ
ขุนชวงเลียงฦาเกียรติมีความสามารถทางด้านการค้าขายระหว่างชุมชนต่างๆ โดยนำสินค้าต่างๆ รวมทั้งวัสดุก่อสร้างบรรทุกม้าต่างวัวต่าง ระหว่างที่ทางราชการก่อสร้างทางรถไฟสายเหนือถึงลำปางในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ ขุนชวงเลียงฦาเกียรติได้ช่วยเหลือทางราชการโดยใช้ม้าต่างรับบรรทุกวัสดุก่อสร้าง เช่น ปูนซีเมนต์ เหล็ก ฯลฯ ไปยังบริเวณขุนตานที่มีการขุดเจาะอุโมงค์ ซึ่งเป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากเป็นถิ่นทุรกันดารและภูเขาสูงชัน
นอกจากนี้ยังช่วยเหลือทางราชการในการรับเหมาขนส่งพัสดุไปรษณีย์และจดหมายของทางราชการและการไปรษณีย์ของมณฑลพายัพ ต่อมาได้เปลี่ยนไปประกอบกิจการป่าไม้ที่บ้านแม่สะเกิบ อำเภอแม่สะเรียง จนเลิกกิจการไปเมื่อมีการยกเลิกสัมปทานป่าไม้ ความสามารถและความมุ่งมั่นนี้ส่งผลให้ขุนชวงเลียงฦาเกียรติและครอบครัวมีฐานะร่ำรวยระดับคหบดีคนหนึ่งของเมืองเชียงใหม่
ในช่วงที่ทางราชการได้เริ่มก่อสร้างสนามบินเชียงใหม่เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๗ ตรงกับสมัยของรัชกาลที่ ๖ ทางราชการได้ขอรับบริจาคที่ดินเพื่อพัฒนาสนามบิน ครั้งนั้นขุนชวงเลียงฦาเกียรติได้ร่วมบริจาคที่ดินจำนวนถึง ๒๒๕ ไร่ ๒ งานให้ทางราชการ ด้วยเหตุนี้ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์ “ขุนชวงเลียงฦๅเกียรติ” เป็นบำเหน็จแห่งความดีเพื่อเป็นเกียรติแก่ตัวท่านและวงศ์ตระกูล นอกจากนี้ได้รับประทานนามสกุล “วงศ์ลือเกียรติ” จากเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ ๙ อีกส่วนหนึ่งด้วย
สนใจอ่านรายละเอียดต่อได้ที่
http://www.oknation.net/blog/naichumpol/2008/04/13/entry-2
http://www.oknation.net/blog/naichumpol/2008/04/13/entry-2
จาก
โดย ผู้จัดการรายวัน 27 มิถุนายน 2548 09:03 น.
จินตนา วงศ์ลือเกียรติ(ซ้าย) คุณยายของ อารี-นารี วงศ์ลือเกียรติ(2
นักกอล์ฟหญิงมือระดับโลก)กับจีริจันทร์ วงศ์ลือเกียรติ
ประทีปะเสน(ขวา)กับภาพถ่ายภาพเดียวกันที่ปรากฏในหอพิพิธภัณฑ์เจิ้งเหอ เมืองคุนหมิง
ปีนี้ 2548... เป็นปีที่ลูกหลานตระกูล วงศ์ลือเกียรติ ซึ่งรวมไปถึงรุ่นหลานคือ อารี-นารี ซง
วงศ์ลือเกียรติ สองนักกอล์ฟแฝดมือระดับโลก ตั้งใจว่าจะฉลองวาระครบรอบ 100 ปีของ ขุนชวงเลียงฦาเกียรติ
หรือ เจิ้ง ชง ลิง บรรพบุรุษชาวจีนฮ่อมุสลิม ผู้เดินทางจากหยุนหนาน ด้วยขบวนม้าต่างสู่เชียงใหม่
เมื่อพ.ศ. 2448 ปักหลักสร้างฐานะจนกลายเป็นคหบดีใหญ่ หัวหน้าชาวจีนฮ่อมุสลิมทั้งปวง
แทนที่จะได้จัดฉลองกันเงียบ ๆ กลับกลายเป็นว่า มีเหตุบังเอิญที่ลูกหลานในตระกูลนี้ได้พบว่า
วาระการเฉลิมฉลอง 600 ปี ขันทีนักเดินเรือผู้ยิ่งใหญ่ของโลก นาม เจิ้ง เหอ ที่ทั้งรัฐบาลจีนจัดขึ้น
และสื่อระดับโลกโหมประโคมอยู่ในเวลานี้ มีความเกี่ยวข้องกับสายตระกูลตนเองอย่างลึกซึ้ง
สายใยดังกล่าวมาจาก ภาพถ่ายเก่าแก่ภาพหนึ่ง ที่จัดแสดงอยู่ที่หอพิพิธภัณฑ์เจิ้งเหอ ที่นครคุนหมิง
ระบุว่า เป็นภาพถ่ายของทายาทเจิ้งเหอ รุ่นที่ 19 ปัจจุบันอาศัยอยู่ในประเทศไทย
อันที่จริงภาพถ่ายภาพนี้ติดอยู่ในพิพิธภัณฑ์เจิ้งเหอหลายปีแล้ว บุคคลที่ไปพบและนำมาเผยแพร่ คือ
ปริวัฒน์ จันทร ผู้เขียนหนังสือ "เจิ้งเหอ แม่ทัพขันที ซำปอกง" ที่โด่งดัง-ตีพิมพ์ไปแล้ว 2
ครั้งในเวลารวดเร็วมาก
ตอนที่เขียนครั้งแรก ปริวัฒน์ เองก็ไม่ทราบว่า ภาพดังกล่าวเป็นผู้ใด อยู่ที่ไหน
ได้แต่ถ่ายมาเพื่อประกอบข้อมูลในหนังสือเล่มนี้เท่านั้น
หนังสือของปริวัฒน์ ขายดี อันเนื่องมาจาก มีกระแสครบรอบ 600 ปี สมุทรยาตราของเจิ้งเหอ
กำลังเป็นที่สนใจในระดับโลก ระดับที่มีการสร้างเป็นภาพยนตร์สารคดีค่ายยักษ์ใหญ่ตะวันตก
ขณะที่ในประเทศจีนจะมีการเฉลิมฉลองยิ่งใหญ่ของบุคคลผู้อาจจะค้นพบทวีปอเมริกาก่อนโคลัมบัส และเป็นหนึ่งใน
32 ผู้บุกเบิกที่ยิ่งใหญ่ตลอดกาลของประวัติศาสตร์โลก
นี่เองที่เป็นช่องให้ ทายาทของบุคคลในภาพถ่ายดังกล่าวทราบ และติดต่อกับ ปริวัฒน์ จันทร
ผู้เขียนหนังสือเล่มดังกล่าว
และก็ได้ทราบรายละเอียดความเป็นมาของ ตระกูล เจิ้ง สายเชียงใหม่ที่ไม่ได้หยุดอยู่ที่ เจิ้ง ชง
ลิง แค่ 100 ปีเท่านั้น หากยังทอดยาวไปถึงบุคคลระดับโลกที่กำลังเป็นที่กล่าวขานกันในเวลานี้
ทายาท เจิ้งเหอ
รศ. จีริจันทร์ วงศ์ลือเกียรติ ประทีปะเสน อดีตอาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กล่าวว่า ในปีนี้ เป็นปีครบ 100 ปี ที่บรรพชนของตระกูล วงศ์ลือเกียรติ คือ เจิ้ง ชง ลิง
ที่ต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์เป็น ขุนชวงเลียงฦาเกียรติ เดินทางด้วยขบวนม้าต่างจากเมือง หยีซี มณฑลหยุนหนาน
มาสู่เชียงใหม่
แรกทีเดียวนั้นตนในฐานะ หลานปู่ ที่เกิดจากลูกชายคนแรก นาย เจอ วงศ์ลือเกียรติ
และลูกหลานในสายตระกูลคิดจะจัดฉลองกันเงียบ ๆ โดยรวบรวมชีวประวัติของขุนชวงเลียงฯ
เอาไว้แจกกันในหมู่ลูกหลานแค่ 100 เล่ม และคิดจะใช้แค่วิธีการถ่ายเอกสารเท่านั้น
ก่อนหน้าที่จะได้อ่านและเห็นภาพถ่ายในหนังสือ "เจิ้งเหอ แม่ทัพขันที ซำปอกง"
ของปริวัฒน์ จันทร นั้น คุณอาของตนคือ นางพวงเพ็ชร วงศ์ลือเกียรติ ซึ่งเป็นลูกสาวของขุนชวงเลียงฯ
เคยเดินทางไปเที่ยวที่มณฑลหยุนหนาน และไปเจอภาพถ่ายของบิดา-มารดา พร้อมกับลูก ๆ อีก 10 คน
ในหอพิพิธภัณฑ์เจิ้งเหอ ได้แต่ทราบว่า
บุคคลที่มีรูปปั้นตั้งอยู่ในสถานที่ดังกล่าวนั้นน่าจะเป็นบรรพบุรุษของตน
แต่ด้วยความที่อ่านหนังสือจีนไม่ออก ไม่ได้ซักถามความสำคัญของสถานที่ดังกล่าว
และไม่เคยทราบถึงประวัติความเป็นมาของ เจิ้งเหอ โดยละเอียดได้แต่กลับมาบอกเล่าลูกหลานว่า
จุดดังกล่าวน่าจะมีอะไรเกี่ยวข้องกับบรรพชนเท่านั้น
จนเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ได้พบหนังสือของ ปริวัฒน์ จันทร
ที่ได้นำเสนอเรื่องราวที่ยิ่งใหญ่ของนักเดินเรือในประวัติศาสตร์โลก
ผู้ซึ่งนำกองเรือที่มีกองทหารรวมกันกว่า 2 หมื่นชีวิตเดินทางสำรวจท้องทะเลจากประเทศจีน
สู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ ชายฝั่งแอฟริกา และมีผู้เชื่อว่า
เป็นผู้ค้นพบทวีปอเมริกาก่อนที่โคลัมบัสหรือ แมกเจนแลน จะค้นพบด้วยซ้ำไป
ในหนังสือ มีภาพถ่ายของ ขุนชวงเลียงฦาเกียรติ กับครอบครัว (ประกอบด้วยนางนพภรรยา และ ลูก ๆ 10
คน) ซึ่งผู้เขียนระบุว่า เป็นภาพที่ทางพิพิธภัณฑ์เจิ้งเหอ แสดงเอาไว้ บอกว่าเป็นทายาทชั้นที่ 19
ปัจจุบันอาศัยในประเทศไทย
ซึ่งบุคคลในภาพ ก็คือ คุณปู่-คุณย่า คุณพ่อ และ คุณอาทั้ง 9 คนของเธอนั่นเอง !!
รศ. จีรินทร์ ได้ติดต่อกับ ปริวัฒน์ จันทร ผู้เขียนหนังสือ ,ปริวัฒน์
เดินทางมายังเชียงใหม่เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา และได้ไปที่เรือนหลวง ซึ่งเป็นบ้านเก่าอายุเกือบ 100
ปีที่ขุนชวงเลียงฯปลูกเมื่อ ประมาณปี พ.ศ. 2453 และไปเจอเอกสารภาษาจีนที่ทีมงานวิจัยประวัติของ เจิ้งเหอ
ติดต่อมา แต่ปรากฏว่าคนที่บ้านไม่มีใครอ่านภาษาจีนออกเลยปล่อยทิ้งไว้อย่างนั้นมาหลายปี
และไปพบกระจกเก่าที่ญาติทางประเทศจีนส่งมาอวยพรเนื่องในโอกาสที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์
และที่สำคัญ คือ รูปถ่ายของ ขุนชวงเลียงฦาเกียรติ กับครอบครัว ในวาระแซยิด 60 ปี
ซึ่งเป็นภาพที่บรรดาลูกหลานมีติดบ้านกันทุกคน ... ภาพดังกล่าวนี้ก็คือ
ภาพเดียวกับที่ปรากฏในพิพิธภัณธ์เจิ้งเหอ
ที่ประเทศจีนและเป็นภาพที่คุณปริวัตรตามหาตัวบุคคลในภาพมานานกว่า 4 ปีนั่นเอง
สำหรับข้อข้องใจที่ว่า ในเมื่อ เจิ้งเหอ เป็นขันที ถูกตอนตั้งแต่ยังเด็ก
ทำไมจึงมีทายาทสืบทอดมาถึงปัจจุบันได้ ก็ได้รับการอธิบายว่า มีการบันทึกอย่างชัดเจนว่า แม้เจิ้งเหอ
จะเป็นขันที แต่พี่ชายได้ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรม .. เป็นคำตอบว่า เหตุใดขันทีจึงมีทายาท
และทางการจีนให้ความสำคัญกับกรณีเจิ้งเหอมาก ในปีนี้จะมีการเฉลิมฉลองยิ่งใหญ่ที่เมืองนานกิง
และมีการวิจัยเรื่องสายตระกูลมายาวนาน ดังนั้น การติดต่อสื่อสารระหว่าง ขุนชวงเลียงฯ
เมื่อครั้งมีชีวิตกับญาติ ๆ ที่จีน อาจจะมีการส่งภาพถ่ายดังกล่าวไปให้ จึงทำให้มีการบันทึกร่องรอยของ
สายตระกูล เจิ้ง-มุสลิมแห่งหยุนหนานเอาไว้
100 ปีขุนชวงเลียงฯ นักเดินทางแห่งล้านนา
ประวัติของ เจิ้ง ชง ลิง - ขุนชวงเลียงฦาเกียรติ ทายาทรุ่น 18 ของ เจิ้งเหอ นั้น
เกิดที่เมืองหยีซี ในมณฑลหยุนหนาน เป็นฮ่อมุสลิมที่มีฐานะร่ำรวย ก่อนจะเดินทางมาเชียงใหม่
เคยแต่งงานแล้วมีลูกสาว 2 คนคือ นางหยิน หลวง และ นาง ซิน หลิง ต่อมาขุนชวงเลียงฯ
ส่งคนไปรับมาอยู่ที่เมืองไทยและเป็นต้นตระกูล เจนตระกูล ในจังหวัดเชียงราย
เจิ้ง ชง ลิง เดินทางมาเชียงใหม่เมื่อปี 2448 ด้วยขบวนม้าต่างประมาณ 200 ตัว
เนื่องจากมีอาชื่อว่า เลานะ เดินทางมาปักหลักค้าขายก่อนหน้านั้นแล้ว
ในยุคนั้นชนชาติเงี้ยว (ไทใหญ่) และจีนฮ่อ
เป็นกลุ่มที่บุกเบิกเส้นทางการค้าทางบกด้วยขบวนวัวต่างม้าต่างในบริเวณที่เป็นสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ
ตั้งแต่มณฑล หยุนหนาน สิบสองปันนา ลงมาถึงล้านนา และ ในประเทศพม่าถึงเมืองมะละแหม่งมานานแล้ว
คาราวานม้าต่างของ เจิ้ง ชง ลิง อาศัยการค้าในเส้นทางนี้ลงไปถึงเมืองระแหง และได้พบรักกับ นางนพ
–แต่งงานกันและเป็นต้นตระกูล วงศ์ลือเกียรติ ในปัจจุบัน
เจ้าแก้วเนาวรัตน์
ผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้ายได้ประทานที่ดินบริเวณด้านหน้าไนท์บาร์ซ่าในปัจจุบัน 5 ไร่ เป็นบ้านพัก
ต่อมา เจิ้ง ชง ลิง มีสถานะเป็นหัวหน้าของกลุ่มจีนฮ่อมุสลิมในเมืองเชียงใหม่โดยปริยาย
บทบาทสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเมืองเชียงใหม่คือ
การได้รับสัมปทานขนส่งสินค้าและอาหารให้กับการก่อสร้างอุโมงค์ขุนตาลจังหวัดลำปาง และ
การบริจาคที่ดินไม่น้อยกว่า 100 ไร่ให้กับ สนามบินจังหวัดเชียงใหม่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
ซึ่งการณ์นี้น่าจะทำให้ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็น ขุนชวงเลียงฦาเกียรติ ในสมัยรัชกาลที่ 6
ปัจจุบัน ทายาทของตระกูล วงศ์ลือเกียรติ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ โดยบรรดาลูก ๆ ทั้ง
10 คนที่เป็นทายาทรุ่น 19 เสียชีวิตไปแล้ว 7 คนเหลือเพียง 3 คนเท่านั้นที่เป็นผู้ให้ให้รายละเอียดของ
เจิ้ง ชง ลิง
ซึ่งหนึ่งในลูก ๆ ที่ยังมีชีวิตอยู่ 4 คน นายสุรินทร์อายุกว่า 80 ปีแล้ว , คุณหญิง จันทร์เพ็ญ
นาวีเสถียร, นางสมบูรณ์ วงศ์ลือเกียรติ และ นางพวงเพ็ชร์ วงศ์ลือเกียรติ ลูกสาวคนสุดท้องที่ปัจจุบันอายุ
77 ปี
หน้าที่หลักในการดำเนินการสืบค้นหาประวัติของตระกูลก็คือ รศ. จีริจันทร์ วงศ์ลือเกียรติ
โดยมีญาติพี่น้องจากสายต่าง ๆ ให้ความร่วมมือหาหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง หนึ่งในนั้นคือ นางจินตนา
วงศ์ลือเกียรติ พี่สาวของรศ. จีริจันทร์ และเป็นคุณยายของ ฝาแฝดมหัศจรรย์ อารี-นารี ซง วงศ์ลือเกียรติ
นักกอล์ฟหญิงที่กำลังอยู่ระหว่างการไล่ล่าความสำเร็จระดับโลกในประเทศอเมริกา
รศ. จีริจันทร์ กล่าวว่า ทุกอย่างมันเป็นเรื่องที่น่ามหัศจรรย์มาก
เริ่มจากตอนแรกตั้งใจจะรวบรวมประวัติคุณปู่เพื่อรำลึกการเดินทางมาปักหลักในเมืองไทยครบ 100 ปี แล้วจู่ ๆ
ก็ได้พบว่า มีความเกี่ยวข้องกับ บรรพบุรุษที่ห่างออกไป 600 ปี ไม่เพียงเท่านั้น
เกร็ดชีวิตของคนทั้งสองรุ่นก็ละม้ายกัน ขุนชวงเลียงฯ เป็นนักเดินทางแต่เดินทางบนบก
เป็นมุสลิมที่ตายในต่างแดนเพราะขุนชวงเลียงเสียชีวิตที่เมกกะเมื่ออายุได้ 91 ปี ส่วนเจิ้งเหอ
เสียชีวิตที่อินเดีย
ตอนนี้กำลังรวบรวมข้อมูลขั้นสุดท้ายเพื่อจะจัดพิมพ์หนังสือ 100 ปี ขุนชวงเลียงฦาเกียรติ :
ทายาทเจิ้งเหอ - คาราวานม้าต่างสู่เชียงใหม่ ซึ่งตอนแรกจะแค่ถ่ายเอกสารแจกกันในหมู่ญาติแค่ 100
เล่มแต่มาถึงตอนนี้คงต้องจัดพิมพ์แล้ว .
*********
อ่านประกอบ
เจิ้งเหอ (郑和)(1)
ขบวนเรือของเจิ้งเหอ (2)
การเดินทางของเจิ้งเหอ (3)
-------------------------------------------
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9480000085054
-----------------------------------------
//-วันนี้โชคดี พบท่าน รศ.จีริจันทร์
โชคร้าย กล่อมให้ท่าน ตอบกระทู้ ของเรา ไม่สำเร็จ อิๆ
//-ขอบคุณท่านภูวนาท เอาข้อมูลมาเพิ่ม
//-เดี๋ยวนี้ ปู่อ่านประวัติศาสตร์
เพื่อ เก็บบางส่วน มาพิจรณา ต่างกับก่อนนี้
เพื่อ เสรีมอัตตา และนั่งยันความเชื่อเดิม
//-การแปลข้ามภาษา จากจีนโบราญ เป็นจีนปัจจุบัน
เป็นภาษาอังกฤษ์ เป็นไทย
//-และคนนำมาเสนอยังสับสน เหตุการณ์ วิถีชีวิต
ระหว่าง นครวัต กับศรีอโยธยา
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
โปรดใช้วิจารณญานในการแสดงความคิดเห็น