โรงพยาบาลวิถีอิสลาม แนวทางและรูปแบบ ของนายแพทย์มาหะมะ เมาะมูลา


โรงพยาบาลวิถีอิสลาม

การประชุมทางวิชาการที่สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) หรือสรพ. จัดขึ้นเมื่อต้นเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา หัวข้อ “โรงพยาบาลวิถีอิสลาม : แนวทางและรูปแบบ” โดยเป็นการบอกเล่าประสบการณ์ตรงของนายแพทย์มาหะมะ เมาะมูลา จากโรงพยาบาลรือเสาะ จ.นราธิวาส

"เนื่องจากในโลกของเราเป็นโลกที่มนุษย์อยู่ร่วมกันในหลายๆ ความเชื่อ หลายแนวทางในการดำเนินชีวิต ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็มีบริบทที่แตกต่างกันไป กลุ่มคนมุสลิมก็เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่มีวิถีดำเนินชีวิตที่ค่อนข้างจะมีรูปแบบเฉพาะ และพวกเขาต้องการการบริการที่ตอบสนองต่อวิถีชีวิต ความเชื่อของพวกเขาได้ ดังนั้น เราควรที่จะมีแนวทางในการรักษาที่สามารถตอบสนองต่อวิถีความเชื่อของเขา” นายแพทย์มาหะมะ เกริ่นนำเข้าสู่เนื้อหา


อิสลาม เป็นวิถีชีวิตที่ยั่งยืนเขาไม่สามารถที่จะแยกศาสนาออกจากการดำรงชีวิตได้และแยกออกจากการรักษาพยาบาลก็ไม่ได้ เพราะเขาต้องใช้เวลาตลอด ๒๔ ชั่วโมง เพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนา นั่นคือการละหมาด เพื่อให้อยู่ในครรลองของศาสนา ซึ่งมุสลิม ทุกคนจะต้องยึดตามแนวทางของอัลกุรอาน เพื่อการดำรงชีวิตขิงพวกเรา

สำหรับรูปแบบในการให้บริการในโรงพยาบาลทั่วๆไปนั้นเราจะเห็นได้ว่าผู้ป่วยมุสลิมบางคน เมื่อเขาได้รับบริการอย่างที่เคยเป็นอยู่ทั่วๆไปถึงแม้เขาจะป่วยหนัก แต่เขาก็จะไม่ยอมเข้ารับการรักษาโดยเฉพาะผู้ที่เคร่งในศาสนา เนื่องจากโรงพยาบาลไม่ได้เตรียมหรือตอบสนองต่อความต้องการในการดำเนินกิจกรรมทางศาสนาในการให้รักษาคนไข้

เนื่องจากโรงพยาบาลไม่ได้เอื้อ หรือตอบสนองต่อความต้องการของบุคลากรเหล่านี้ได้ ดังนั้น เราจึงได้ตั้งกลุ่มหรือรวมรวบบุคลากรทางการแพทย์ หรือที่เรียกว่า “จิตอาสา” ในการเข้ามาส่งเสริมองค์ความรู้ให้แก่บุคลากรของเรา หรือแม้แต่การขอคำแนะนำจากประเทศเพื่อนบ้าน อาทิเช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ หรือการส่งบุคลากรของเราออกไปศึกษาดูงานที่ประเทศ จอร์แดน และทุกครั้งที่ได้ข้อมูลมาเราจะมีการเสนอขอความคิดเห็นหรือคำรับรองจากองค์กรกลาง อาทิเช่น คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทุกครั้ง เพื่อลดข้อสงสัยหรือข้อซักถามจากผู้รับบริการถึงประเด็นอันละเอียดอ่อนทางหลักปฏิบัติของศาสนา

นายแพทย์มาหะมะ กล่าวว่า โรงพยาบาลรือเสาะบูรณาการวิถีอิสลามสู่การให้บริการทางสุขภาพ โดยรูปแบบการดำเนินการเชิงนโยบายของโรงพยาบาล พร้อมกำหนดวิสัยทัศน์โรงพยาบาลอย่างสอดคล้อง และมีทิศทาง ว่า

“โรงพยาบาลรือเสาะ โรงพยาบาลวิถีชุมชน ภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม” ซึ่ง ความเป็นวิถีชุมชนมิได้จำกัดเพียงการนำวิถีอิสลาม มาบูรณาการเท่านั้น แต่ศาสนาอื่น ๆ และผู้รับบริการต่างสัญชาติด้วย

ปัญหาประการหนึ่งที่พบคือบุคลากรทางการแพทย์กับบุคลากรทางด้านศาสนาแยกความเชี่ยวชาญตามปัจเจก จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องผสานองค์ความรู้เพื่อบูรณาการวิถีอิสลาม สู่การบริการ ทางสุขภาพอย่างถูกต้องเหมาะสม เพราะในมิติของอิสลาม ถือว่าอิสลาม คือ วิถีชีวิต ดังนั้น จึงไม่สามารถแยกแยะมุสลิมออกจากวิถีอิสลามได้ในทุกกรณี แม้แต่ในยามเจ็บป่วย

ข้อดีของที่โรงพยาบาลรือเสาะ คือ ตัวผู้อำนวยการเองที่เป็นผู้ที่มีความรู้ทางวิชาการด้านศาสนา มีความรู้ความสามารถในการทำความเข้าใจกับองค์ความรู้หลากหลายภาษา อาทิเช่น อาหรับ มาลายู ไทย และอังกฤษ



โรงพยาบาลรือเสาะ เริ่มต้นกิจกรรมจากกลุ่มเจ้าหน้าที่ก่อน ขณะเดียวกันก็ได้เริ่มจากสิ่งที่เป็นข้อกำหนดของศาสนาอิสลาม (วาญิบ : หลักปฏิบัติภาคบังคับที่มุกัลลัฟ (มุสลิมผู้อยู่ในศาสนนิติภาวะ) ทุกคน ต้องปฏิบัติตาม) ในการนำองค์ความรู้อิสลามมาบูรณาการเข้ากับกระบวนการทางสุขภาพ โรงพยาบาลรือเสาะ ต้องอาศัยกระบวนการสืบค้นความรู้จากแหล่งข้อมูลมากมาย หลายภาษา การบริการสุขภาพสำหรับผู้ที่จะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์และหลังกลับจากพิธีฮัจย์ ซึ่งเป็นการเปิดบริการที่เพิ่มเติมกว่าการตรวจรับยา และฉีดวัคซีนปกติ

การปรับยาในเดือนรอมฎอน สอดคล้องกับวิถีชีวิต การงดเว้นนัดผู้ป่วย OPD ในเดือนรอมฎอน การใช้ปฏิทินอิสลามในการดูกำหนดนัดที่เหมาะสม จุด ER เน้น การสอนให้ผู้ป่วยกล่าวคำปฏิญาณตนต่ออัลลอฮ์ และศาสดามูฮัมหมัด ก่อนกระทำหัตถการใดๆ ที่อาจทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว อาทิเช่น ก่อนฉีดยาสงบประสาทเพื่อใส่ท่อช่วยหายใจ ผู้ป่วยในระยะสุดท้าย ไม่ว่าจำเป็นต้องช่วยชีวิตด้วยการทำ CPR หรือไม่ก็ตามก็สอนทุกครั้ง เพราะอิสลามถือว่า การตายและการเป็น เป็นหน้าที่ของพระผู้เป็นเจ้า

IPD ที่เป็นจุดเด่นคือ การมีสถานที่ละหมาดสำหรับผู้ป่วยที่สามารถลุกขึ้นเดินได้ หรือคนที่ on HL การจัดทำซิงค์น้ำสำหรับอาบน้ำละหมาดแก่ผู้ป่วยแบบเคลื่อนที่ การจัดทำสื่อสารสุขภาพที่เกี่ยวกับการรับบริการในโรงพยาบาลด้วยภาษามลายู และไทย

การจัดทำสื่อสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีอิสลาม มีการดูแลผู้ป่วย AIDS ด้วยการให้ผู้ป่วยได้เตาบัต (ขอประทานอภัยโทษจากพระผู้เป็นเจ้า) สำหรับความผิดบาปที่ผ่านมาทั้งปวงก่อนการเริ่มต้นให้ยา

โรงพยาบาลรือเสาะเริ่มต้นบูรณาการแบบค่อยเป็นค่อยไป ค่อยเรียนรู้และปรับปรุงแก้ไข เริ่มจากจุดเล็กๆ แล้วค่อยต่อยอดทั้งองค์กร

โรงพยาบาลรือเสาะดำเนินกิจกรรมบูรณาการวิถีอิสลามสู่การให้บริการทางสุขภาพ โดยไม่ได้มุ่งเน้นในด้านคุณภาพว่าต้องเป็น HA หรืออะไรก็ตามหรือไม่แต่อย่างใด การทำคุณภาพให้สอดคล้องกับมิติทางจิตวิญญาณตามบริบทประชากรอาจเป็นคำตอบที่ดีกว่า สัมผัสได้ดีกว่า ประณีตและยั่งยืน...บนพื้นฐานงานคุณภาพ โดยหลักคิดของ สรพ.

สำหรับ Theme ปีหน้าคือ “การสร้างเสริมสุขภาพผ่านกระบวนการคุณภาพเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน” ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและภูมิปัญญาท้องถิ่น นำไปสู่ระบบบริการสุขภาพที่ยั่งยืนบนพื้นฐานของความรักความเมตตาและความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

คัดลอกบทความจาก
http://mblog.manager.co.th/infinitepower/th-94922/


โรงพยาบาล คือ บ้าน อันอบอุ่น

มีโอกาสได้เรียนรู้ เรื่องสิ่งแวดล้อมเพื่อการเยียวยา ซึ่งเป็นประเด็นใหม่ที่สรพ. ส่งเสริมให้รพ.ได้มีการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้เยียวยาผู้คนที่เกี่ยวข้องในโรงพยาบาล

 

สิ่งแวดล้อมที่ปรับปรุงนั้น มาจากแนวคิดที่จะรับรู้ความรู้สึก ความทุกข์ ของคนไข้ การสัมผัสแสง เสียง กลิ่น รสชาติ นำมาปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้เกิดความอบอุ่น ซึ่งแต่ละรพ.ได้มีการจัดสิ่งแวดล้อมที่หลากหลาย บางรพ. ส่งผลงานการจัดสวนสวยมาเลยค่ะ ปรับปรุงโครงสร้างสวยงาม แต่ดูแล้วยังไม่ตรง concept ของการเยียวยา  ขอนำทฤษฎีมาฝากและมีตัวอย่างจากโรงพยาบาลมาฝากด้วยค่ะ

 

สรพ.ได้มีการส่งเสริมให้รพ.พัฒนาสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มจากสิ่งแวดล้อมที่มีความปลอดภัยตามมาตรฐาน เช่นเรื่องของการกำจัดขยะ น้ำเสีย ระบบสำรองฉุกเฉินต่างๆ จนถึงสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ สิ่งแวดล้อมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ จนถึงการต่อยอดด้วย สิ่งแวดล้อมเพื่อการเยียวยา

 


Healing Environment หมายถึงการจัดสิ่งแวดล้อมในสถานพยาบาลที่ทำให้ผู้ใช้สอยรู้สึกดี สบาย ผ่อนคลาย ซึ่งความรู้สึก สัมผัส ถึงความต้องการ ความทุกข์ของผู้ป่วย เป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การบำบัดและเยียวยาที่ได้ผล

จากผลการศึกษา แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า องค์ประกอบต่างๆ ในสภาพแวดล้อม เช่น แสง สี เสียง กลิ่น ทัศนียภาพ งานศิลปะ เสียง วัสดุและพื้นผิวต่างๆ มีอิทธิพลอย่างมากต่อการบำบัดเยียวยาผู้ป่วย


สภาพแวดล้อมที่ดี มีผลต่อผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิผลของการรักษาและเร่งการฟื้นตัวของผู้ป่วย รวมถึงการยกระดับคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ด้วย ดังนั้น การจัดสภาพแวดล้อมด้วยการเลือกใช้ สี แสง พื้นผิววัสดุ และเสียง เพื่อสร้างบรรยากาศของสภาพแวดล้อมเพื่อการเยียวยานี้จึงต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง

 


การจัดสภาพแวดล้อมที่เยียวยานี้ เราใช้ประสาทสัมผัส (ผัสสะ) ทั้ง 5 ของเราในการตีความ ซึ่งได้แก่ การมองเห็น-รูป Sight, การรู้รส Taste, การได้กลิ่น Smell, การได้ยิน-เสียง Hearing และการสัมผัส Touch ซึ่งส่งผลกระทบต่อร่างกาย อารมณ์ จิตใจ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อเงื่อนไขทางกายภาพของผู้ใช้สอยพื้นที่ ดังนั้น การสร้างความเข้าใจในเรื่องของผัสสะทั้งหลายนี้ จึงเป็นกุญแจดอกสำคัญในการสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมเพื่อการเยียวยาที่ได้ผล ซึ่งจะแยกอธิบายได้ดังนี้

การมองเห็น Sight  องค์ประกอบที่ให้เรามองเห็นนั้น ได้แก่  

·       แสง Light แสงที่พอเหมาะ แสงธรรมชาติ แสงประดิษฐ์ หรือแสงแดด

·       สี Colour สีสรรที่ใช้ประกอบอาคาร

·       รูปทรง Form ลักษณะรูปทรงของวัตถุที่มองเห็น

·       ทัศนียภาพ Views ภาพที่ปรากฏต่อสายตา

·       งานศิลปะ The arts ซึ่งแบ่งออกเป็น

        ทัศนศิลป์ Visual arts ภาพวาด จิตรกรรม ปฏิมากรรม

        ศิลปการแสดง Performing arts ละคร การเล่นดนตรี

การรู้รส Taste

         รสชาติของอาหารในสถานพยาบาล

การได้กลิ่น Smell

         กลิ่นที่เกิดขึ้น เช่นกลิ่นยา กลิ่นน้ำยาเคมี หรือ กลิ่นดอกไม้ ฯลฯ

การได้ยิน-เสียง Hearing

         เสียงจากแหล่งต่างๆมากมายในสถานพยาบาล ทั้งที่เกิดจากมนุษย์ เครื่องมือ เครื่องจักร เสียงที่เกิดจากธรรมชาติ และเสียงเพลง

การสัมผัส Touch

         พื้นผิว/ความหยาบ ละเอียด ลื่น ความสะอาด

         นอกจากองค์ประกอบในเรื่องของการจัดการผัสสะทั้ง 5 แล้ว ยังมีปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งยวดอีกประการหนึ่งคือ เรื่องของใจ Mind การบริหารอารมณ์ในการรับมือกับผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยของเจ้าหน้าที่ การรับรู้ทางใจระหว่างผู้ป่วย ญาติผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ทั้งหลายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการแสดงออกทางอารมณ์ด้วยการกระทำ คำพูด ที่เป็นผลความรู้สึกนึกคิดของทุกๆฝ่าย ก็ดูเหมือนจะมีความสำคัญต่อการเยียวยาไม่น้อยไปกว่าผัสสะทั้ง 5 เลย

 

 

รพ.ชุมชนเล็กๆ แห่งหนึ่งในสามจังหวัดชายแดนใต้ค่ะ

 

         เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเรื่องนี้มากยิ่งขึ้น สรพ.จึงรณรงค์ให้รพ. ส่งผลงานที่เยียวยาผู้คน ในรพ.เพื่อเข้ารับรางวัลในการประชุมวิชาการประจำปี HA National Forum ที่อิมแพค เมืองทองธานี  จึงเห็นความตั้งใจของรพ.ที่จะพัฒนาเรื่องนี้ คณะกรรมการฯของสรพ.ได้คัดเลือกผลงานที่สามารถเป็นตัวอย่างได้ จำนวน 5 รพ. เพื่อเรียนรู้ ซึ่งมีทั้งรพ.เอกชนและรพ.ชุมชน คณะกรรมการของเรามีแนวทางการพิจารณา คัดเลือกและดูแนวคิดของรพ.ที่พัฒนาเรื่องนั้น วันนี้ขอนำเสนอแนวคิดของรพ.แห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นรพ.เอกชน ในกทม. ที่ผ่านรอบแรกของการคัดเลือกมา แลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับรพ.ที่สนใจที่จะพัฒนาเรื่องนี้ เพราะหากพัฒนาเรื่องสิ่งแวดล้อมเพื่อการเยียวยาอย่างเข้าใจแล้ว ทำให้เรื่องกระบวนการดูแลรักษา การเข้าใจ เข้าถึงความรู้สึก ความทุกข์ ของผู้ป่วยได้รับการพัฒนามากขึ้นไปด้วยค่ะ

 

        มีตัวอย่างจากรพ.แห่งหนึ่งค่ะ รพ.นี้ ท่านผอ.รพ.มีแนวคิดที่จะทำให้รพ.เป็นเหมือนบ้านที่อบอุ่น สมาชิกทุกคนในรพ. มีส่วนร่วมในการออกแบบพื้นที่ โครงสร้างร่วมกับสถาปนิก ที่มีความคุ้นชินกับองค์กรนั้นๆ เก็บรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ จนเกิดเป็นรพ. ที่อบอุ่น เหมือนบ้าน จนทำให้ความรู้สึกรักในบ้านของตนเอง แผ่ขยายไปยังผู้รับบริการไปด้วย

 

         คณะผู้บริหาร และบุคลากรทุกคนของโรงพยาบาล ร่วมกันสร้างบ้านหลังใหญ่หลังนี้ ให้เสร็จสมบูรณ์ขึ้น ด้วยความรัก และความเอาใจใส่ เราตั้งใจ และมุ่งมั่นที่จะให้ทุกคนที่เข้ามาใช้บริการที่บ้านของเรา ได้รับการต้อนรับ และการบริการอย่างเต็มที่ และมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่ก้าวแรกที่เข้ามาในโรงพยาบาล คุณจะสัมผัสได้ถึงความรู้สึกที่อบอุ่น การต้อนรับที่น่าประทับใจ ซึ่งทุกคนตระหนักถึงหลักการบริการของโรงพยาบาล  ที่ว่า เราจะดูแลทุกคนที่เข้ามาหาเรา ประดุจว่า เสมือนดั่งเป็นครอบครัวของเราเอง เรามั่นใจว่า ทุกท่านจะได้รับการบริการที่ดี ตรงกับความต้องการ อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และยังได้รับความรัก ความประทับใจ เอาใจใส่จากพวกเรา กลับไปอีกด้วย

 

        บริเวณที่ก่อสร้างรพ.แห่งนี้ เป็นบ้านของคุณพ่อท่านเจ้าของรพ. มีต้นไม้ใหญ่ร่มรื่น มากมาย แม้จะอยู่ในเมืองหลวง ต้นไม้ใหญ่ถูกอนุรักษ์ไว้ไม่ให้ตัด แม้จำเป็นต้องสร้างตึก หรือสระน้ำ เพิ่มเติมก็ตาม ทำให้บรรยากาศของที่นี่ ร่มรื่น สดชื่น เป็นอย่างยิ่ง

        วินาทีแรกที่เดินเข้าไปที่รพ.แห่งนี้ บริเวณตึกผู้ป่วยนอก ออกแบบด้วย concept ของ cowboy เสาอาคารออกแบบเหมือนถังนมวัว เฟอร์นิเจอร์ตกแต่งอย่างมีสไตล์ (อันนี้ สไตล์พอลล่านะคะ) เรามีสถาปนิกไปเยี่ยมด้วยค่ะ ท่านก็คิดเหมือนกัน เราเข้าชมห้องตรวจสูตินรีเวช ที่ออกแบบให้มีต้องตรวจภายในอยู่ภายในห้องนั้น ทำให้ผุ้รับบริการไม่รู้สุกเขินอาย เมื่อต้องตรวจภายใน มีห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า ห้องน้ำเฉพาะไม่ต้องเดินออกมาภายนอกห้อง บริเวณที่ซักประวัติมีความเป็นส่วนตัวพอสมควร แสดงถึงการเข้าใจความรู้สึกขอผู้รับบริการ แล้วนำมาร่วมกันออกแบบโครงสร้าง นอกจากนี้ ห้องตรวจเด็ก ห้องพักผู้ป่วย บริเวณทางเชื่อมล้วนแต่ออกแบบมาอย่างประณีต ใส่ใจรายละเอียด ห้องพักผู้ป่วยมีระเบียง มีสวนหย่อมให้สามารถออกมาเดินเล่นได้ด้วย

 

นอกจากนี้บริเวณ รพ.ยังมีสระว่ายน้ำ ห้องเรียน ดนตรี ศิลปะ ไว้บริการคนภายนอกและเจ้าหน้าที่อย่างครบวงจร เป็นการทำงานการออกแบบ ที่สอดรับกับการขยายโครงสร้างของตึกเป็นอย่างดี

 

ที่นำเสนอมาไม่ได้ให้รพ.อื่นๆ ลงทุนก่อสร้างแบบนี้ นะคะ อยากให้เรียนรู้วิธีคิด ของการออกแบบ การทำงาน การให้บริการผู้ป่วยด้วยความรักและความเข้าใจ จนทำให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเยียวยาแบบนี้ค่ะ โรงพยาบาล จึงเป็นบ้านที่อบอุ่นได้


คัดลอกบทความจาก


ความคิดเห็น