ยารักษาโรค การรักษาโรคด้วยสิ่งต้องห้าม ในอิสลาม
[PDF]
[PDF]
ที่มา ค้นหาจาก google
ยารักษาโรค
5.1 ความหมาย
5.2 การรักษาโรคด้วยสิ่งที่ต้องห้าม
5.1 ความหมาย
ยารักษาโรค หมายถึง สิ่งที่สามารถรักษาคนป่วยโดยการดื่มถ้าเป็นของเหลวหรือ
กลืนหรือรับประทานถ้าเป็นสิ่งที่ใช้รับประทานได้ และทั้งหมดนี้บางครั้งมาจากพืชหรือผลไม้
และบางครั้งมาจากสัตว์หรือของเหลวที่อนุญาตให้รับประทาน และอื่นๆ ที่ใช้รักษาโรค
ยารักษาโรคที่อนุญาต
ยาที่อนุญาตให้รักษาโรคโดยไม่มีความเห็นที่แตกต่างคือสิ่งที่เป็นที่อนุญาตที่มาจาก
พืช สัตว์ น้ำ หรือของเหลวอื่นๆ ที่อนุญาต แต่ที่มีความเห็นที่แตกต่างคือการอนุญาตใช้สิ่งที่
หะรอมจากอาหารหรือเครื่องดื่มมารักษาโรค
5.2 การรักษาโรคด้วยสิ่งที่ต้องห้าม
สิ่งที่ต้องห้ามในที่นี้หมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่มีหลักฐานจากชะรออในการห้ามถึงแม้ว่า
จะเป็นอาหาร เครื่องดื่ม เครื่องแต่งกายหรือเครื่องใช้ สำหรับนักกฎหมายอิสลามพวกเขามี
ความเห็นที่แตกต่างเกี่ยวกับการรักษาโรคด้วยสิ่งที่ต้องห้ามจากนะญิส ซากสัตว์ เนื้อสุกร และ
-------------------------------
สิ่งที่ต้องห้ามอื่นๆ พวกเขาส่วนหนึ่งมีความเห็นว่า ห้ามรักษาโรคด้วยสิ่งต้องห้าม โดยนับว่า
สิ่งที่ชะรออห้ามนั้นไม่สมความที่จะเป็นยาที่อนุญาตให้รักษาโรค อีกส่วนหนึ่งมีความเห็นว่า
อนุญาตรักษาโรคด้วยสิ่งต้องห้ามและพวกเขาเห็นว่าสมควรที่จะเป็นยารักษาโรค และอีกส่วน
หนึ่งได้ให้รายละเอียดในเรื่องนี้
ความเห็นแรกห้ามรักษาโรคด้วยสิ่งต้องห้าม
อุลามาอฺที่เห็นด้วยกับความเห็นนี้ได้กล่าวว่า สิ่งที่ต้องห้ามในอิสลามไม่สมควรที่จะ
เป็นยารักษาโรคเพราะจะหมายความว่าอัลลอฮฺได้ทรงให้หายจากโรคด้วยสิ่งที่พระองค์ทรง
ห้าม ในหนังสือ ( فتاوى شيخ الاسلام ابن تيمية ) ได้ตอบคำถามเกี่ยวกับการรักษาโรคด้วย
เคาะมัร เนื้อสุกร และสิ่งที่ต้องห้ามอื่นๆ อนุญาตให้รักษาเพราะความจำเป็นหรือไม่อนุญาต?
ท่านอิบนุ ตัยมิยยะฮ์ ตอบว่า ไม่อนุญาตรักษาโรคด้วยสิ่งต้องห้าม1 และลูกศิษฐของท่านคือ
อิบนุล กอยยิม ก็ได้ตอบเช่นนี้ให้หนังสือ ( 2(زاد المعاد และท่าน อิบนุล อะรอบีย์ อุลามาอ์
มาลีกีย์ก็ได้ตอบว่าไม่อนุญาตให้รักษาโรคด้วยเคาะมัรเด็ดขาด และไม่อนุญาตรักษาด้วยสุกร3
หลักฐานของกลุ่มนี้
อุลามาอที่เห็นด้วยกับความเห็นนี้ได้ยึดหะดีษนบีที่ได้ห้ามรักษาโรคด้วยสิ่งที่หะรอม
เป็นหลักฐาน และหะดีษส่วนหนึ่งได้ห้ามอย่างชัดเจนจากการรักษาโรคด้วยเคาะมัร เช่น
ا- ان طارق بن سويد الجعفى سأل النبي (ص) عن الخمر فنهاه او كره ان يصنعها
فقال: انما اصنها للدواء، فقال (ص) انه ليس بدواء ولكنه داء. رواه مسلم
ความว่า:
แท้จริงฏอริกบินสุไวดอัลญูอฟีย์ได้ถามท่านนบีเกี่ยวกับเคาะมัรดังนั้นท่านนบีจึง
ได้ห้ามมันหรือท่านไม่ชอบให้ผลิตเคาะมัรท่านฏอริกกล่าวว่าฉันได้ผลิตมันเพื่อเป็นยา
1 อิบนุ ตัยมิยะฮ์ 1 : 270
2 อิบนุล กอยิม 3 : 114
3 อิบนุล อะอรอบีย์ อะฮฺกามุล กุรอาน 1988, เบรูด ดารุลกุตุบ อัลอิลมิยะฮ์ 1 : 59
------------------------------------------------------------------
ท่านนบีกล่าวว่ามันไม่ใช่ยาแต่มันเป็นโรค1
บันทึกโดยมุสลิม
ب- عن ابي الدرداء قال : قال رسول الله (ص) : ان الله نزل الداء والدواء، وجعل
لكل داء دواء فتداووا، ولا تتداووا بحرام. اخرجه ابوداود
ความว่า:
รายงานจากอะบีอัลดัรดาอฺกล่าวว่าท่านรสูลกล่าวว่าแท้จริงอัลลอฮฺได้ประทานโรค
และยาและพระองค์ได้สร้างยาสำหรับโรคทุกชนิดดังนั้นพวกท่านจงรักษาและพวกท่านอย่า
รักษาด้วยสิ่งที่หะรอม2 บันทึก
โดยอะบูดาวูด
ج- عن ابي هريرة رضي الله عنه قال : ﻧﻬى رسول الله (ص) عن الدواء الخبيث.
رواه ابو داود
ความว่า:
รายงานจากอะบีฮุรอยเราะฮฺกล่าวว่าท่านรสูลได้ห้ามจากยาที่ไม่ดี3
บันทึกโดยอะบูดาวูด
د- قال عبد الله بن مسعود : ان الله لم يجعل شفاء كم فيما حرم عليكم. رواه
البخاري
ความว่า:
ท่านอับดุลเลาะบินมัสอูดกล่าวว่าแท้จริงอัลลอฮฺไม่ทรงสร้างให้พวกท่านหายจาก
โรคด้วยสิ่งที่พระองค์ทรงห้ามพวกท่านบันทึก4
โดยบุคอรีย์
1 อันนะวาวีย์ 13 : 152
2 อัสสิญิสตานีย์ อัลอัซดีย์, สุนันอะบีดาวูด เบรูด ดารุลกุตุบ อัลอิลมิยะฮ์ 10 : 357
3 อัสสิญิสตานีย์ อัลอัซดีย์ 10 : 353
4 เชากานีย์, 8 : 203
--------------------------------------------
ที่ชัดเจนก็คือคำพูดนี้ท่านอิบนุมัสอูดได้ยินจากท่านรสุล และท่านไม่ได้พูดออกมาด้วย
ความเห็นของท่านเอง
ความเห็นที่สองอนุญาต
อุลามาอฺในมัซฮับซอฮิรีย์ ได้มีความเห็นว่าอนุญาตให้รักษาโรคด้วยสิ่งที่หะรอม ส่วน
หนึ่งก็คืออนุญาตให้รักษาโรคด้วยเคาะมัรถ้าหากผู้ป่วยนั้นจำเป็นต้องใช้และรักษาด้วยเคาะมัร
ท่านอิบนุฮัซมิน ได้กล่าวว่าผู้ใดที่ถูกบังคับให้ดื่มเคาะมัรหรือมีความจำเป็นเพราะหิวหรือเพื่อ
รักษาโรคหรืออาหารติดคอก็อนุญาตให้ดื่มเคาะมัร หรือไม่รู้ว่ามันเป็นเคาะมัรและไม่
จำเป็นต้องลงโทษฮัดแก่พวกเขา1
ท่านอิบนุฮัซมินได้มีความเห็นว่า บรรดาหะดีษที่ยึดโดยความเห็นแรกนั้นส่วนหนึ่งเป็น
หะดีษฎออีฟ และอีกส่วนหนึ่งท่านมีความเห็นว่าสิ่งที่หะรอมเช่นเคาะมัรนี้ในตอนที่มีความ
จำเป็นในการักษาโรคก็เป็นสิ่งที่อนุญาตและหะลาลและไม่เข้าในสิ่งที่ไม่ดี และไม่เรียกว่ายาที่
ไม่ดี/สกปรกและไม่เป็นสิ่งที่หะรอมและไม่เรียกว่ายาที่หะรอมที่ต้องห้ามในการรักษาโรค
ท่านอิบนุ ฮัซมินได้ยึดเป็นหลักฐานในความเห็นของท่านคือ คำตรัสของอัลลอฮฺที่ว่า
وقد فصل لكم ما حرم عليكم الاما اضطررتم اليه. الانعام: 119
ความว่า:
และแท้จริงพระองค์ได้ทรงแยกแยะไว้ให้พวกเจ้า (ได้รู้แจ้งแล้ว) ถึงสิ่งที่ทรงบัญญัติ
ห้ามแก่พวกเจ้ายกเว้นสัตว์ที่พวกเจ้าได้รับความเดือดร้อน (ความจำเป็น) จนต้องบริโภค
มัน
และท่านได้ยึดจากการที่ท่านนบีได้อนุญาตให้คนในกลุ่ม ( غرينة) ดื่มน้ำปัสสาวะของ
อูฐเพื่อรักษาโรค2
ความเห็นที่สามต้องดูรายละเอียด
1 อิบนุ อัซมิน 1 : 268
2 อิบนุ ฮัซบิน 1 : 168
----------------------------------------------------------------------
1. มัซฮับชาฟิอีย์
สำหรับอุลามาอฺในมัซฮับชาฟิอีย์มีความเห็นว่าอนุญาตให้รักษาโรคด้วยนะญิสและสิ่งที่
หะรอมทั้งหลายนอกจากเคาะมัร นี่เป็นความเห็นของอุลามาอฺส่วนมากจากพวกเขา ส่วนคุมัร
พวกเขามีความเห็นว่าอนุญาตให้ดื่มในตอนที่อาหารติดที่คอ แต่ในการรักษาโรคอุลามาอฺ
ส่วนมากจากพวกเขามีความเห็นว่าไม่อนุญาต นี่คือความเห็นที่ถูกต้องของพวกเขา แต่อุลา
มาอฺอีกส่วนหนึ่งจากพวกเขามีความเห็นว่าอนุญาตให้รักษาโรคด้วยเคาะมัร1
2. อุลามาอในมัซฮับฮะนาฟีย์
สำหรับอุลามาอในมัซฮับฮะนาฟีย์ พวกเขามีหลายความเห็นเกี่ยวกับการรักษาโรคด้วย
สิ่งที่ หะรอม พวกเขาส่วนหนึ่งได้ห้ามรักษาโรคด้วยสิ่งที่หะรอม และอีกส่วนหนึ่งอนุญาต
โดยมีเงื่อนไข เงื่อนไขของการอนุญาตส่วนหนึ่งคือ มั่นใจว่าโรคนี้จะหายด้วยสิ่งที่หะรอมนี้
ความเห็นที่ถูกคัดเลือก
ท่านอับดุลการีมไซดานได้เลือกความเห็นของอุลามาอซอฮิริยะฮ์และเป็นความเห็น
ของนักกฎหมายอิสลามในมัซฮับฮะนาฟีย์ส่วนมากและเป็นความเห็นของอิมามอัลไอนิย์จากอุ
ลามาอฮะนาฟีย์หลังจากที่ท่านได้โต้แย้งหลักฐานของกลุ่มที่ไม่อนุญาต สำหรับหลักฐานของ
ความเห็นที่เราเลือกนี้คือหลักฐานที่ท่านอิบนุฮัซมินและท่านอัลไอนีได้ยกมาที่มีความชัดเจน
และหนักแน่นและเราจะไม่นำหลักฐานมาเพิ่มเติม นอกจากจะเน้นสิ่งที่พวกเขาได้กล่าวถึง
คือ การอนุญาตนั้นมีเงื่อนไขว่า ไม่มียาอื่นที่หะลาลที่จะได้มาแทนที่ยาที่หะรอม และหมอที่
จะบอกว่ายานี้จำเป็นสำหรับผู้ป่วยนั้นจะต้องเป็นหมอที่ไว้วางใจได้และมีความสามารถ ( (كفؤ
แต่ปัญหาก็คือหมอที่บอกถึงความจำเป็นของยาที่หะรอมนั้นจะต้องเป็นมุสลิมหรือไม่ ?
คำตอบก็คือ จำเป็นต้องเป็นมุสลิมถ้ามี แต่ถ้าหากไม่มีหมอมุสลิมที่เชี่ยวชาญ ที่มีก็
คือหมอที่ไม่ใช่มุสลิมที่เชี่ยวชาญและเราคิดว่าเขาบอกความจริง ดังนั้น คำพูดของเขาที่บอก
ว่าไม่มียาอื่นนอกจากยาที่หะรอมในกฎหมายอิสลามนั้นจะยอมรับได้หรือไม่ ที่ชัดเจน
1 อัช ชีรอซีย์ 9 : 48
--------------------------------------------------------------------
الظاهر) ) อนุญาตให้ยอมรับคำพูดของเขาในตอนที่จำเป็น เพราะไม่มีหมอมุสลิมที่ไว้วางใจ
ได้และเชี่ยวชาญ1
การใช้ทองและไหมในการรักษาโรค
การใช้ทองและไหมในการรักษาโรคก็เหมือนกับการรักษาโรคด้วยสิ่งที่หะรอม ถ้าหาก
ว่าทั้งสองนั้นมีประโยชน์และมีความจำเป็นในการรักษาโรคและมีหลักฐานจากหะดีษที่
ชี้ให้เห็นว่าอนุญาต
1. หะดีษที่เกี่ยวกับการใช้ทองในการรักษาโรค
عن عرفجة بن اسعد : انه اصيب انفه يوم الكلاب في الجاهلية، فاتخذ انفامن ورق –
اي فضة – فأنتن عليه، فأمره النبى (ص) ان يتخذانفامن ذهب . رواه النسائي
ความว่า :
รายงานจากอัรฟะญะฮ์บินอัสอัดว่าจมูกของท่านได้เกิดความเสียหายในวัน
สงคราม
يوم الكلاب) ) ในสมัยญาฮิลิยะฮ์ดังนั้นท่านได้ทำจมูกจากเงินหลังจากนั้นเกิดมีกลิ่นขึ้น
ท่านนบีได้สั่งให้ท่านทำจมูกจากทอง2
บันทึกโดยนะซาอีย์
หะดีษนี้ชี้ให้เห็นว่า อนุญาตให้ใช้ทองเพื่อรักษาโรค หรือเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย
บนใบหน้า และเราสามารถกิยาสกับเรื่องนี้การอนุญาตผูกฟันกับทองสำหรับผู้ชาย ถ้าหากมี
ความจำเป็นในการรักษาโรคและไม่มีสิ่งที่จะมาแทนทองได้ เพราะว่าทองเป็นสิ่งที่ต้องห้าม
สำหรับผู้ชายแต่อนุญาต เพราะความจำเป็นในการรักษาโรค
2. หะดีษที่เกี่ยวกับการใช้ไหมในการรักษาโรค
1 อับดุลการีม ไซดาน, อัลมุฟัศศอล 1997 เบรูด มุอัสสะฮ์ อัรริสาละฮ์ 3 : 111
2 อัส สุยูตีย์ สุนัน นะซาอีย์ ไคโร ดารุรรออฺยาน ลิตตุรอส 8 : 142
การใช้ไหมเป็นที่ต้องห้ามสำหรับผู้ชาย แต่อนุญาตถ้าหากเพื่อรักษาโรคเพราะมี
หลักฐานจากหะดีษคือ
عن انس – رضي الله عنه – ان رسول الله (ص) ارخص لعبدالرحمن بن عوف ،
والزبيرين العوام ، في قميص حريرعن حكة كانت ﺑﻬما ، رواه النسائي
ความว่า :
รายงานจากท่านอะนัสว่าท่านรสูลได้ผ่อนปรนให้แก่อับดุลรอฮมานบินเอาฟ
และซูไบรบินอัลอะวามเกี่ยวกับเสื้อจากผ้าไหมเพราะโรคที่มีกับท่านทั้งสอง1
บันทึกโดยนะสาอีย์
หะดีษนี้เป็นหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่า อนุญาตให้ผู้ชายใส่ผ้าไหมเพื่อรักษาโรค โดย
อนุญาตให้ผู้ที่เป็นโรคผิวหนังใส่มัน ถ้าหากผ้าไหมนี้สามารถให้หายโรคนั้นได้
เราสามารถกิยาสกับเรื่องนี้สำหรับผู้ที่แพ้ใช้ผ้าฝ้ายและอื่นๆ ที่ทำให้เกิดโรคผิวหนัง
ดังนั้น ถ้าหากว่าการใส่ผ้าไหมสามารถป้องกันจากโรคนั้นได้ตามความเห็นของหมอ เช่น
โรคผิวหนังนี้ก็อนุญาตสำหรับผู้ชายที่มีโรคผิวหนังใส่ผ้าไหม
การใช้สิ่งที่ต้องห้ามเพื่อรักษาโรคให้หายเร็ว
ในหนังสือ ( الفتاوى الهندية ) มีเขียนว่า อนุญาตสำหรับผู้ป่วยดื่มเลือดและน้ำปัสาวะ
และรับประทานซากสัตว์เพื่อรักษาโรค ถ้าหากว่าหมอมุสลิมเป็นคนบอกว่าโรคของเขาจะหาย
ด้วยสิ่งเหล่านั้น และไม่มีสิ่งที่หะลาลสามารถแทนที่สิ่งเหล่านั้นได้ แต่ถ้าหากหมอบอบกว่า
โรคของเขาจะหายเร็วด้วยสิ่งเหล่านั้นในเรื่องนี้มีสองความเห็น2
ดังนั้น อนุญาตให้ใช้สิ่งที่หะรอมเพื่อให้โรคหายเร็วตามความเห็นหนึ่งของอุลามาอ
ในมัซฮับ
ฮะนาฟีย์
1 อัสสุยูตีย์ 8 : 178
2 อัล ฟะตาวา อัล หินดิยะห์ 5 : 127
-----------------------------------------------------------------------------
5.3 การรักษาโรคในปัจจุบัน
ยาที่มีสิ่งต้องห้ามเป็นส่วนผสม
ยาในสมัยใหม่นี้บางครั้งมีส่วนผสมของสิ่งที่ต้องห้าม เช่น แอลกอฮอล ยาพิษ นะญิส
หรืออื่นๆ จากสิ่งที่หะรอมในอิสลาม ถึงแม้ว่าจะมาจากอาหารหรือเครื่องดื่ม ดังนั้นในทัศนะ
ของอิสลามยาประเภทนี้อนุญาตหรือไม่อนุญาตให้รับประทานหรือรักษาโรค ถ้าหากว่ามี
ความจำเป็นในการรักษาโรคด้วยสิ่งนั้น ? คำตอบดังต่อไปนี้
1. ถ้าหากไม่มีสิ่งอื่นที่จะแทนที่ได้
ถ้าหากไม่มีสิ่งอื่นที่จะแทนที่ยาที่มีส่วนผสมสิ่งที่ต้องห้ามนั้น ก็อนุญาตให้ใช้ยานี้
เพราะว่าในเมื่อเราอนุญาตให้ใช้สิ่งที่ต้องห้ามที่ไม่มีการผสมกับสิ่งที่หะลาลอย่างอื่นในตอนที่
จำเป็นในการรักษาโรคถ้าหากไม่มีสิ่งอื่นมาแทนที่ได้ ดังนั้น สิ่งที่ต้องห้ามที่ได้มีการผสมกับ
สิ่งหะลาลนั้น อนุญาตให้ใช้ยิ่งกว่านั้น
2. ถ้าหากมีสิ่งอื่นที่จะแทนที่ได้หรือความต้องการนั้นไม่ถึงขั้นจำเป็น
ถ้าหากมีสิ่งอื่นมาแทนที่ยาที่มีสิ่งหะรอมเป็นส่วนผสม แต่หายากเพราะมีน้อยมาก
(ไม่ค่อยมี) หรือราคาแพงหรือผลของมันยังไม่เหมือนยาที่ได้ผสมกับสิ่งหะรอม หรือความ
ต้องการต่อยาที่ได้ผสมกับสิ่งที่หะรอมนั้นไม่ถึงขั้นจำเป็น ดังนั้นยาประเภทนี้อนุญาตให้ใช้
หรือไม่ ?
คำตอบในเรื่องนี้ก็คือจะต้องพิจารณาดูก่อน ถ้าหากว่าสิ่งที่หะรอมนั้นได้ละลายและ
หายไปโดยไม่เหลือแม้แต่รสชาติและกลิ่น ดังนั้นยาประเภทนี้อนุญาตให้ใช้ในตอนที่จะต้อง
ใช้ยานั้น เพราะสิ่งที่หะรอมไม่มีอีกแล้วเนื่องจากได้ละลายและหายไปในยาที่หะลาลที่ได้ยึดหุ
กมนี้คือ จากความเห็นของบรรดานักกฎหมายอิสลาม1
แต่ถ้าหากว่าสิ่งที่หะรอมไม่ได้ละลายหรือไม่ได้หายไปในยาที่หะลาลอาจจะเป็น
เพราะว่าสิ่งที่หะรอมนั้นมีปริมาณมากหรือความรุนแรงของมันมากกว่าความรุนแรงของยาที่
หะลาล สืบเนื่องจากนั้นก็ยังคงเหลือรสชาติหรือกลืนสิ่งที่หะรอมอยู่ ดังนั้นในกรณีเช่นนี้ก็จะ
เป็นยาที่หะรอมที่หุกมของมันก็เหมือนกับเรื่องที่เราได้กล่าวมาแล้วที่จะต้องมีเงื่อนไขในการ
ใช้ยาที่มาจากสิ่งที่ต้องห้าม ถ้าหากยานั้นมีความจำเป็นในการรักษาโรคและไม่มียาที่หะลาล
จะแทนที่ได้ก็อนุญาตให้ใช้ถ้าไม่เช่นนั้นก็ไม่อนุญาต
การรักษาโรคด้วยวิธีใส่เลือดของคนอื่น
1 อับดุลการีม ไซดาน 3 : 130
---------------------------------------------------------------------
บางครั้งผู้ป่วยมีความต้องการต่อเลือดจากคนอื่นที่จะต้องใส่ในร่างกายของเขาโดย
ผ่านเส้นเลือดและนับได้ว่าเลือดที่จะเอามาจากคนอื่นนั้นมีความจำเป็นในการรักษาโรคหรือ
เขามีความต้องการต่อเลือดนั้นหลังจากได้มีการผ่าตัด ดังนั้นเรื่องนี้เป็นที่อนุญาตหรือไม่ ?
คำตอบก็คือเรื่องนี้เป็นที่อนุญาต เพราะได้ระบุในหนังสือ ( الفتاوى الهندية ) ของอุลา
มาอในมัซฮับฮะนาฟีย์ว่า อนุญาตให้บ่าวดื่มเลือด น้ำปัสสาวะและรับประทานซากสัตว์เพื่อ
รักษาโรคถ้าหากหมอมุสลิมได้บอกว่าเขาจะหายด้วยยานั้นและไม่มีสิ่งที่หะลาลจะมาแทนที่
แต่ถ้าหากหมอบอกว่าท่านจะหายเร็วด้วยยานี้ ในเรื่องนี้มีสองความเห็น1 ในเมื่ออนุญาตให้
ดื่มเลือดเพราะความจำเป็นในการรักษาโรคก็ยิ่งอนุญาตให้รับมันโดยวิธีใส่ผ่านเส้นเลือดของ
ผู้ป่วย ( (اولى بالجواز
การใช้สิ่งเสพติดในการผ่าตัด
ส่วนมากจะมีการใช้สิ่งเสพติดในตอนทำการผ่าตัดและส่วนมากแล้วไม่สามารถจะทำ
การผ่าตัดได้โดยไม่ให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว (เมา) สลบก่อนและจะให้สลบนั้นส่วนมากโดยผ่านวิธี
ฉีด / ทาสิ่งเสพติดที่ร่างกายของผู้ป่วยและทำให้เขาไม่รู้สึกตัว ดังนั้น เรื่องนี้เป็นที่อนุญาต
หรือไม่
คำตอบก็คืออนุญาต เพราะเป็นส่วนหนึ่งของความจำเป็นในการรักษาโรคและการ
ผ่าตัดและยิ่งกว่านั้น การใช้สิ่งเสพติดนั้นจะเข้าในเรื่องสิ่งที่ต้องห้ามที่ได้อนุญาตเพราะความ
จำเป็นในการรักษาโรค ถึงแม้ว่าจะทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวและหมดสติเพราะการหมดสติตรงนี้
เนื่องจากมีความจำเป็นในการรักษาโรคไม่เหมือนกับการหมดสติด้วยการดื่มสิ่งมึนเมา
การใช้อวัยวะของผู้ตายในการรักษาผู้ที่มีชีวิต
บางครั้งมีความจำเป็นที่จะต้องใช้อวัยวะของผู้ที่เสียชีวิตในการรักษาผู้ป่วย เรื่องนี้เป็น
ที่อนุญาตหรือไม่ ?
คำตอบก็คือจะต้องดูรายละเอียดต่อไปนี้
อิสลามเคารพผู้ตาย
อิสลามให้ความเคารพต่อผู้ตายและรักษาเกียรติของผู้ตาย
1 อัล ฟะตาวา อัล หินดิยะฮ์ 5 : 355
-------------------------------------------------------------------
عن عائشة – رضى الله عنها – ان رسول الله (ص) قال: كسرعظم الميت ككسره حيا
رواه ابوداود
ความว่า:
รายงานจากอาอิชะฮ์แท้จริงท่านรสูลได้กล่าวว่าการทำให้กระดูกของผู้ตายหักก็
เหมือนกับการทำให้กระดูกผู้ที่มีชีวิตหักบันทึก
โดยอะบูดาวูด
ความเหมือนกันในหะดีษนี้หมายความว่า เหมือนกันในเรื่องบาป เพราะว่าเกียรติ
ของผู้ตายก็เหมือนเกียรติของผู้มีชีวิต
ในการอธิบายของหะดีษนี้ท่านอัลตอยบีย์กล่าวว่า ในหะดีษนี้ชี้ให้เห็นว่า เราไม่
สามารถดูถูกผู้ตายเหมือนกับที่เราไม่สามารถดูถูกผู้มีชีวิต
عن ابن مسعود قال : أذى المؤمن في موته كأذاه في حياته
รายงานจากอิบนุมัสอูดกล่าวว่า การทำร้ายคนมุอมินในตอนที่เขาเสียชีวิตเหมือนกับ
การทำร้ายเขาในตอนที่เขามีชีวิต1
แต่การใช้อวัยวะของผู้ตายในการรักษาผู้มีชีวิตเพื่อให้เขาได้มีชีวิตต่อนั้นเป็นการดูถูก
ผู้ตายหรือไม่
การใช้อวัยวะของผู้ตายเป็นการดูถูกหรือไม่?
ถึงแม้ว่าอิสลามให้เกียรติและเคารพผู้ตาย แต่การใช้อวัยวะของเขาเพื่อรักษาผู้ที่มี
ชีวิตนั้นไม่ได้หมายความว่าเป็นการดูถูกเขาและไม่ได้ขัดแย้งกับความจำเป็นที่จะต้องให้
เกียรติและเคารพเขา ที่เป็นหลักฐานในเรื่องนี้คือ การอนุญาตให้ผ่าท้องของสตรีที่เสียชีวิตที่
กำลังตั้งครรภ์เพื่อจะเอาทารกที่ยังมีชีวิตออกจากท้องของสตรีคนนั้น เพราะว่าในเรื่องนี้เป็น
การทำความเสียหายต่อส่วนร่างกายของผู้ตายเพื่อจะให้ทารกที่ยังมีชีวิตนั้นได้มีชีวิตต่อก็
เช่นเดียวกันอนุญาตให้ทำความเสียหายต่อส่วนหนึ่งของร่างกายผู้ตาย เช่น การเอาปอดของ
1 อัสสิญิสตานีย์ อัลอัซดีย์ 9 : 24
---------------------------------------
ผู้ตายมาแทนที่ปอดของผู้มีชีวิตเพื่อให้พ้นจากความเสียหาย ถึงแม้ว่าผู้ตายนั้นเป็นคนอื่นที่
ไม่ใช้สายเลือดของผู้มีชีวิต เพราะการกระทำเช่นนี้นับได้ว่าเป็นการให้ความช่วยเหลือต่อผู้ที่
ต้องการความช่วยเหลือและจะเข้าในเรื่อง " "وتعاونواعلى البروالتقوى
อนุญาตให้ผู้ที่มีความจำเป็นรับประทานเนื้อคนตาย
ท่านอะบูอิสฮาก ชีรอซีย์ในมัซฮับ ชาฟิอีย์ได้เขียนในหนังสือ " المهذب" ของท่านว่า
และถ้าหากเขามีความจำเป็นและมีมนุษย์ที่เสียชีวิตก็อนุญาตให้เขารับประทานเนื้อผู้เสียชีวิต
นั้น เพราะเกียรติของผู้มีชีวิตสำคัญกว่าเกียรติของผู้เสียชีวิต1
ความเห็นนี้ได้ให้น้ำหนักแก่เกียรติของผู้มีชีวิตโดยให้เขาได้มีชีวิตต่อไปมากกว่าเกียรติ
ของผู้เสียชีวิต ด้วยการอนุญาตให้รับประทานเนื้อผู้เสียชีวิตและวิธีการยึดเป็นหลักฐานของ
ความเห็นนี้คือ ในเมื่ออนุญาตให้รับประทานเนื้อผู้ที่เสียชีวิตก็อนุญาตให้เอาอวัยวะส่วนหนึ่ง
ของผู้ที่เสียชีวิตมาใช้แก่มนุษย์ที่ป่วยเพื่อให้เขาได้พ้นจากความเสียหายหรือเป็นการแทนที่
อวัยวะของเขาที่เสียไป เช่น ดวงตาและอื่นๆ
สรุปก็คือ อนุญาตให้ใช้อวัยวะของผู้ที่เสียชีวิตแก่มนุษย์ที่ยังมีชีวิตเพื่อให้เขาได้พ้น
จากความเสียหาย หรือเพื่อแทนที่อวัยวะของเขาที่หายไป
การใช้ประโยชน์ของผู้ป่วยจากอวัยวะของผู้ที่มีชีวิต
บางครั้งผู้ป่วยมีความต้องการต่ออวัยวะของคนอื่นที่ยังมีชีวิตอยู่ ดังนั้น อนุญาตให้
เอาอวัยวะที่ผู้ป่วยมีความต้องการจากมนุษย์ที่ยังมีชีวิตด้วยความยินยอมและพอใจของ
เจ้าของให้ใช้ในการรักษาผู้ป่วยหรือไม่ ?
คำตอบในเรื่องนี้มีความแตกต่างในสองกรณี
กรณีแรกถ้าหากว่าการตัดอวัยวะที่ต้องการนั้นเป็นการนำไปสู่การเสียชีวิตของเจ้าของ
อวัยวะนั้น เช่น การถอดหัวใจหรือปอด ดังนั้นเรื่องนี้ไม่อนุญาตเด็ดขาด ถึงแม้ว่าเจ้าของ
จะพอใจและยินยอมก็ตาม เพราะเรื่องนี้จะเป็นการฆ่าตัวตายและการฆ่าตัวตายนั้นไม่อนุญาต
ถึงแม้ว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้คนอื่นได้พ้นจากความตาย
กรณีที่สองการตัดอวัยวะของคนที่มีชีวิตเพื่อไปแทนอวัยวะผู้ป่วยที่ได้เสียไป ถ้าหาก
ไม่มีการแทนด้วยอวัยวะที่ดีก็จะนำไปสู่ความเสียหายและเจ้าของอวัยวะที่ถูกตัดนั้นจะไม่ถึงแก่
เสียชีวิต เช่น ผู้ที่เสียดวงตาทั้งสอง ถ้าหากไม่ได้ทดแทนด้วยดวงตาที่ดีก็ไม่มีความหวังว่าจะ
1 อัชชีรอซีย์ อัล มุหัซซับ 1959 พิมพ์ครั้งที่ 2 เบรูด ดารุลมะอฺริฟะฮฺ 9 : 385
ได้มองเห็นเหมือนเดิม ดังนั้น อนุญาตให้ตัดอวัยวะที่ดีจากผู้ที่มีชีวิตด้วยความยินยอมของ
เขาเพื่อรักษาผู้ป่วยหรือไม่ ?
คำตอบก็คืออนุญาตให้ตัดอวัยวะของผู้ที่มีชีวิตด้วยความพอใจและยินยอมจากเขา
เพื่อใช้อวัยวะนี้สำหรับผู้ป่วยเพื่อเป็นการแทนอวัยวะของเขาที่ได้เสียไป เพราะว่าอวัยวะของ
มนุษย์เปรียบ เสมือนทรัพย์สินของเขา ในเมื่ออนุญาตให้เขามอบทรัพย์สินของเขาแก่คนอื่นก็
อนุญาตเช่นเดียวกันในเรื่องของอวัยวะ__
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
โปรดใช้วิจารณญานในการแสดงความคิดเห็น