อิสลามว่าอย่างไร?เกี่ยวกับเรื่องหมอดู/ทำไมคนมุสลิมต้องละหมาด/ทำไมอิสลามห้ามดอกเบี้ย
อิสลามว่าอย่างไร?เกี่ยวกับเรื่องหมอดู
บทความนี้ ได้มาจาก blog ของคุณผู้ใช้นามว่า
ค.โคกทรายhttp://www.oknation.net/blog/SeksantS
เป็นบทความที่ให้ความรู้กับผู้ที่เป็นมุสลิมที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับหมอดูและก็เป็นเกล็ดความร้สำหรับบุคคลทั่วไปได้เป็นอย่างดีต้องขอขอบคุณบทความที่ดีมีสาระของคะณ ค.โคกทราย มา ณ ที่นี้ด้วย
ได้ดวงของผู้นำและบ้านเมือง อันที่จริงเรื่องหมอดูก็เป็นเรื่องราวที่มีแต่ครั้งโบราณกาล ยามรู้สึกว่าบ้านเมืองมีปัญหาชนชั้นปกครองก็จะเรียกโหรเข้ามาพยากรณ์เหตุการณ์บ้านเมืองโดยใช้หลักวิชาด้านโหราศาสตร์ จนมาถึงในทุกระดับชนชั้น ยามมีปัญหาเขาจะไปหาหมอดูเพื่อที่จะทำนายทายทักว่าเขาจะมีชะตาชีวิตเป็นอย่างไร เพื่อให้เขาได้รู้ล่วงหน้าและหาทางปัดเป่าปัญหาที่จะเกิดขึ้นให้ผ่านพ้นไปด้วยดี นับเป็นผลทางจิตวิทยาในการสร้างกำลังใจ ในสภาพแห่งความไม่แน่นอนของชีวิต ยินเรื่องราวเกี่ยวกับหมอดูมากเหลือเกินในช่วงนี้ โดยเฉพาะในเรื่องเกี่ยวกับ
จากตรงนี้ผมไม่ได้ลบหลู่ในความเชื่อที่แต่ละคนมี แต่ผมอยากจะนำเสนอความเชื่ออีกความเชื่อหนึ่งที่กล่าวถึงเรืองการดูหมอ นั่นคือทรรศนะของอิสลาม ซึ่งในที่นี้จะยกข้อมูลหลักจากสองแหล่งคือคัมภีร์อัลกุรอ่านและอัลฮาดิษ(พระวจนะของศาสดามูฮัม
หมัด)
ในสังคมอาหรับซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดของท่านศาสดามูฮัมหมัด ได้มีคนจำพวกหมอดูที่แสร้งทำเป็นรู้ว่าเหตุการณ์ในอนาคตโดยติดต่อกับบรรดาสิ่งลึกลับ ท่านได้อ่านโองการจากอัลกุรอ่านให้คนเหล่านี้ฟังว่า
“จงกล่าวเถิด ไม่มีผู้ใดในชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน รู้ในสิ่งพ้นญานวิสัยนอกจากอัลเลาะฮฺ”(กุรอาน 27:65)
และท่านศาสดาได้ประกาศเกี่ยวกับตัวท่านเองว่า
“…และมาตรว่าฉันรู้ในสิ่งพ้นญานวิสัย แน่นอน ฉันคงได้มีสิ่งดีมากมาย และความชั่วใดๆ จะไม่ระคายฉัน ฉันไม่ใช่ใครอื่น นอกจากเป็นผู้ตักเตือนและแจ้งข่าวดีแก่ชนผู้ศรัทธา”(กุรอ่าน 7:188)
อิสลามถือว่าการเชื่อบรรดาหมอดูเป็นการปฏิเสธศาสนาอิสลาม
การต่อสู้ของอิสลามเพื่อกำจัดการเชื่อโชคลางและดูหมอ ไม่ใช่เฉพาะคนที่เป็นหมอดูเท่านั้นแต่รวมถึงคนที่ไปหาคนพวกนี้ด้วย
ท่านศาสดากล่าวว่า
“การนมาซ(นมัสการ)ของผู้ที่ไปหาหมอเวทมนต์เพื่อขออะไรบางอย่างและเชื่อในสิ่งที่หมอเวทมนต์บอกจะไม่ถูกรับเป็นเวลา 40 วัน (รายงานโดยมุสลิม)
“ใครก็ตามที่ไปหาหมอดู ผู้ที่ใช้เวทมนต์คาถาหรือผู้ที่ให้โชคลางเพื่อขอสิ่งหนึ่งสิ่งใดและเชื่อคนเหล่านั้นพูดก็เท่ากับว่าคนผู้นั้นปฏิเสธสิ่งที่ถูกประทานมาให้แก่มูฮัมหมัด”(รายงานโดย บัซซาร และอบูยะอฺลา)
อิพระองค์ การปฎิบัติตามแบบอย่างของศาสดา ให้ช่วยกันช่วยเหลือกันเรืองความดีและยับยั้งความชั่ว หลีกเลี่ยงจากสิ่งไร้สาระทั้งมวล สลามสอนให้ปฏิบัติตามทางนำที่พระผู้เป็นเจ้าให้มา ในเรื่องการให้เอกภาพต่อ
และเชื่อมั่นในเรื่องผลการปฏิบัติดี ชั่วในโลกนี้ และรับผลการปฏิบัติดี ชั่ว ในโลกนี้ และโลกหน้า
อ้างอิงข้อมูลจาก http://www.sunnahstudent.com/forum/index.php?topic=2489.30 คำสำคัญ : พลังแห่งการศรัทธา
ทำไมคนมุสลิมต้องละหมาด
ถ้าคุณรักผู้หญิงคนหนึ่ง แล้วคุณเข้าไปหาเขาวันละ 5 ครั้ง เขาจะไม่ตอบรักคุณเหรอ ?ฉันใดฉันนั้น นัยของการละหมาดคือการที่มนุษย์ติดต่อเชื่อมโยงกับพระเจ้าของเขา ในอิสลามกำหนดให้มุสลิมละหมาดวันละ 5 เวลา การปฏิบัติละหมาดเสมือนการแสดงความรักต่อพระเจ้า ยิ่งมุสลิมรักพระเจ้าของเขามากแค่ไหน เขาก็ย่อมต้องการให้พระองค์ทรงโปรดปรานมากขึ้นเท่านั้น และมุสลิมจะทำทุกอย่างที่พระองค์พอใจ และออกห่างทุกอย่างที่พระองค์ทรงห้าม การละหมาดก็เหมือนกับการที่มุสลิมเข้าไปย้ำพันธสัญญากับพระเจ้า ในรอบวันมุสลิมจะรู้ดีว่าเขาต้องรำลึกถึงพระเจ้า เข้าไปพบกับพระเจ้าอย่างน้อย 5 ครั้ง มุสลิมที่ตระหนักถึงเรื่องนี้ก็จะมุ่งทำแต่ความดีไม่กล้าทำความชั่วตลอดทั้งวัน
ที่มาของข้อมูล : หนังสือ "อิสลาม กับคำถามที่ต้องตอบ" ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.piwdee.net/lamat.htm การละหมาด (วิกิพีเดีย)
ได้อะไรจากการละหมาดของคนมุสลิม
ฮิกมะฮ์ของการละหมาด Posted by Sulaiman_Bin_Lasem
เคล็ดลับหรือฮิกมะฮ์ของการละหมาดมีมากมายหลายประการ ซึ่งสรุปได้ดังนี้ : 1.เป็นการเตือนให้มนุษย์รู้จักตนเองว่าเป็นบ่าวของอัลเลาะฮ์ผู้ทรงยิ่งใหญ่และเกรียงไกรเพื่อระลึกไว้ตลอดไป โดยที่กิจการงานในทางโลกและความสัมพันธ์กับผุ้อื่นอาจทำให้มนุษย์หลงลืมตนเอง แต่เมื่อถึงเวลาละหมาดมันจะทำให้เขานึกขึ้นได้อีกครั้งหนึ่งว่าตนเป็นบ่าวของอัลเลาะฮ์ผู้ทรงยิ่งใหญ่และเกรียงไกร
2.เพื่อให้ฝังแน่นอยู่ในจิตใจของมนุษย์ว่า ไม่มีผู้ที่จะให้ความช่วยเหลือและให้ความสุขที่แท้จริงนอกจากอัลเลาะฮ์ ผู้ทรงเกรียงไกรเท่านั้น แม้เขาจะพบเห็นในโลกนี้ว่ามีสื่อและสาเหตุมากมายที่ดูเพียงผิวเผินแล้ว ช่วยเหลือและให้ความสุข แต่แท้ที่จริงแล้วอัลเลาะฮ์ตะอาลาได้ให้สิ่งเหล่านั้นเป็นเพียงเครื่องอำนวยความสะดวกสบายแก่มนุษย์เท่านั้น ทุกครั้งที่มนุษย์หลงลืมและปล่อยตัวไปกับสื่อต่าง ๆ ที่เป็นเพียงผิวเผิน การละหมาดจะเป็นสิ่งคอยเตือนเขาว่าที่แท้จริงนั้นมาจากอัลเลาะฮ์ตะอาลาเพียงองค์เดียว พระองค์ทรงช่วยเหลือ ทรงให้ความสุข ทรงให้โทษ ทรงให้คุณ ทรงให้เป็น และทรงให้ตาย
3.มนุษย์จะได้ใช้ละหมาดเป็นช่วงเวลาของการสำนึกผิด จากความผิดต่าง ๆ ที่เขาได้ก่อขึ้นเนื่องจากในช่วงวันหนึ่งกับคืนหนึ่งนั้น มนุษย์ต้องเผชิญกับบาปและความผิดต่าง ๆ มากมาย ทังที่เขารู้ตัวและอาจไม่รู้ตัว ดังนั้นการละหมาดระหว่างเวลาหนึ่ง จะช่วยขัดเกลาเขาให้สะอาดบริสุทธิ์จากบาปและความผิดต่าง ๆ ได้ ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวอธิบายเรื่องดังกล่าวไว้ในฮะดิษซึ่งรายงานโดยมุสลิม (668) จากท่านญาบิร บุตร อับดิ้ลลาห์ ได้กล่าวว่า "เปรียบละหมาดห้าเวลาเหมือนแม่น้ำที่มีน้ำมากไหลผ่านประตูบ้านคนใดคนหนึ่งในพวกท่าน โดยที่เขาอาบน้ำจากแม่นั้นทุกวัน ๆ ละห้าครั้ง" ญาบิรได้กล่าวว่า "ฮะซันได้กล่าวว่า : การกระทำดังกล่าวจะทำให้มีสิ่งสกปรกใดเหลืออยู่อีกไหม?" (หมายความว่า "สิ่งสกปรก" ในที่นี้หมายถึงบาปต่าง ๆ ซึ่งตามรายงานของอะบีฮุรอยเราะฮ์ (ร.ด.) ที่มุสลิม (667) ได้บ่างชี้เช่นนั้น คือ "นั่นก็เหมือนกับละหมาดหน้าเวลาที่อัลเลาะฮ์จะทรงใช้มันลบล้างบาปต่าง ๆ"
4.ละหมาดเป็นเสมือนอาหารที่หล่อเลี้ยงหลักศรัทธา (อะกีดะฮ์) ที่อยู่ในจิตใจ ความเพลิดเพลินในดุนยาและการลวงล่อของชัยตอน จะทำให้มนุษย์หลงลืมหลักอะกีดะฮ์นี้ ถึงแม้จะถูกปลูกฝังอยู่ในจิตใจแล้วก็ตาม และเมื่อมนุษย์ตกอยู่ในความหลงลืม ในลักษณะเช่นนี้อย่างต่อเนื่องด้วยเหตุที่จมปลักอยู่ในอารมณ์ใฝ่ต่ำ และเพื่อนฝูงที่เลวคอยชัดนำ ความหลงลืมนี้จะเปลี่ยนเป็นการปฏิเสธและไม่ยอมรับเหมือนต้นไม้ที่ขาดน้ำล่อเลี้ยงก็จะเหี่ยวเฉาและตายไปในที่สุด และในไม่ช้าต้นไม้นั้นก็จะกลายเป็นฟืนที่ไร้ค่า แต่มุสลิมที่ยืนหยัดปฏิบัติละหมาดอย่างสม่ำเสมอ ละหมาดนั้นก็จะเป็นอาหารคอยหล่อเลี้ยงความมีศรัทธาของเขาให้สดชื่นและงอกงาม ความเพลิดเพลินในดุนยาไม่อาจทำให้ศรัทธาของเขาอ่อนแอและตายได้ (อัลฟิกห์ 1/88-89)
อ้างอิงข้อมูลจาก http://www.sunnahstudent.com/forum/index.php?topic=2489.30 คำสำคัญ : พลังแห่งการศรัทธา
ทำไมอิสลามห้ามดอกเบี้ย
หลายคนเข้าใจคิดผิดว่าอิสลามกับดอกเบี้ยเป็นของคู่กัน ไม่ว่าใครจำภาพ "ชายอินเดียชุดขาวโพกหัวพูดไทยไม่ชัดคอยไล่ขูดดอกเบี้ยชาวบ้าน" มาจากการ์ตูนขายหัวเราะ หรือเกมโชว์ในทีวี หรือจำมาจากตลกคาเฟ่ ขอให้ลองๆ ลืมไปก่อนนะครับ เพราะสิ่งที่ท่านจะได้อ่านในย่อหน้าต่อไป มันค่อนข้างจะขัดกับภาพลักษณ์เหล่านั้นมากทีเดียว (ใครที่เคยเข้าใจแบบนั้นผมก็จะไม่โกรธหรอกครับ)
"ผู้ใดที่กินดอกเบี้ย ถือว่าผู้นั้นได้ประกาศสงครามกับพระเจ้าของเขาแล้ว" นี่เป็นธรรมนูญของอิสลามครับ อิสลามถือว่าการกินดอกเบี้ยเป็นความผิด เป็นบาปขั้นสูงทีเดียวครับ ถึงได้เปรียบเทียบผู้ที่มีพฤติกรรมแบบนี้เสมอกับว่าเขาประกาศสงครามกับพระผู้เป็นเจ้าของเขาเลยทีเดียว
เหตุผล ? ผู้ที่กู้ ผู้ที่หยิบยืมคนอื่น ในทัศนะอิสลามถือว่าเขาเป็นคนเดือดร้อนครับ และการหากำไรจากผู้เดือดร้อนจึงเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง พระเจ้าทรงสร้างให้มีคนรวยและคนจนเพื่อที่จะหวังว่าพวกเขาจะได้ช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกัน อิสลามสนับสนุนให้มคนมั่งมีหยิบยื่นให้คนขัดสนโดยปราศจากการหวังิส่งตอบแทน (ดอกเบี้ย) มิหนำซ้ำอิสลามยังส่งเสริมให้เจ้าหนี้ยกหนี้ให้กับลูกหนี้อีกด้วย ถ้าลูกหนี้มีความสามารถ ทั้งนี้ถือเป็นการเชื่อมโยงสัมพันธ์กันระหว่างผู้คน เป็นการเชื่อมสังคมให้สมัครสมานเป็นเนื้อเดียวกัน
ในโลกแห่งความเป็นจริง การเปิดโอกาสให้หยิบยืมเงินกันโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนอาจเป็นเรื่องยาก อาจจะมีคนรวยน้อยคนที่จะใจบุญเช่นนั้น แต่ก็ใช่ว่าระบบไร้ดอกเบี้ยจะเป็นเพียงวิมานในอากาศนะครับ ยังมีระบบการกู้ยืมแบบไร้ดอกเบี้ยที่ใช้งานได้จริง และกำลังได้รับความนิยมอย่างมาก นั่นคือ "ระบบธนาคารอิสลาม"
ที่มาของข้อมูล : หนังสือ "อิสลาม กับคำถามที่ต้อง ตอบ"
ดอกเบี้ย
"และอัลลอฮฺทรงอนุมัติการซื้อขาย และทรงห้ามริบา(ดอกเบี้ย) ดังนั้นผู้ใดที่การตักเตือนจากพระเจ้าของเขาได้มายังเขา แล้วเขาก็เลิก(จากสิ่งที่ถูกห้าม) สิ่งที่ล่วงแล้วมาก็เป็นสิทธิของเขา(ไม่ต้องคืนหรือชดใช้) และเรื่องราวของเขานั้นมอบให้เป็นภาระของอัลลอฮฺ(ที่จะทรงพิจารณาเขา) และผู้ใดวกกลับไป (กระทำ)อีก ชนเหล่านี้แหละคือชาวนรกโดยที่พวกเขาจะอยู่ในนรกนั้นตลอดกาล" (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 275)
"บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย! พึงยำเกรงอัลลอฮฺเถิด และจงละเว้นดอกเบี้ยที่ยังเหลืออยู่เสียหากพวกเจ้าเป็นผู้ศรัทธา และ ถ้าพวกเจ้ามิได้ปฏิบัติตาม ก็พึงรับรู้ถึงสงครามจากอัลลอฮฺและศาสนทูตของพระองค์(หมายถึงอัลลอฮฺและศาสนทูตประกาศเป็นปฏิปักษ์อย่างชัดเจนกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับดอกเบี้ย) และหากพวกเจ้าสำนึกผิดกลับเนื้อกลับตัวแล้ว สำหรับพวกเจ้าก็คือต้นทุนแห่งทรัพย์ของพวกเจ้า โดยที่พวกเจ้าจะได้ไม่อธรรม และไม่ถูกอธรรม” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 278-279)
"ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ประณามผู้ที่กินริบา ผู้ให้กิน ผู้บันทึก และผู้เป็นพยานทั้งสองคน และท่านกล่าวว่า พวกเขาอยู่ในฐานะที่เท่าเทียมกัน(ในบาป)" (บันทึกโดย มุสลิม 1598)
“พวกท่านจงออกห่างจากสิ่งที่ทำให้หายนะ (บาปใหญ่) เจ็ดอย่าง” พวกเขา(บรรดาเศาะหาบะฮฺ)ได้ถามว่า “โอ้ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ มันคืออะไรบ้าง?” ท่านจึงกล่าวว่า “(มันคือ) การตั้งภาคีกับอัลลอฮฺ การใช้เวทมนต์ไสยศาสตร์ การฆ่าชีวิตหนึ่งที่พระองค์ทรงห้ามเว้นแต่ด้วยความชอบธรรม การกินริบา(ดอกเบี้ย) การกินทรัพย์สินของเด็กกำพร้า การถอยหนีในวันแห่งการเผชิญหน้ากับศัตรู และการใส่ความหญิงหนึ่งที่ดีที่เป็นผู้มีศรัทธาและบริสุทธิ์” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ หมายเลข 2766 และสำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน และมุสลิม หมายเลข 89)
“โอ้ ผู้ศรัทธาทั้งหลาย! จงอย่ากินดอกเบี้ยหลายเท่าที่ถูกทบทวี และพวกเจ้าพึงยำเกรงอัลลอฮฺเถิด เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับความสำเร็จ” (อาล อิมรอน 130)
“และหากเขา (ลูกหนี้) เป็นผู้ยากไร้ก็จงให้มีการรอคอย(ให้ผ่อนผัน) จนกว่าจะถึงคราวสะดวก และการที่พวกเจ้าจะให้เป็นทานนั้น ย่อมเป็นการดีแก่พวกเจ้า หากพวกเจ้ารู้” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 280)
“ทองคำแลกทองคำ เงินแลกเงิน ข้าวสาลีแลกข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์แลกข้าวบาร์เลย์ ผลอินทผลัมแลกผลอินทผลัม และเกลือแลกเกลือ ปริมาณต้องเท่ากัน ส่งมอบกันทันทีมือต่อมือ ดังนั้นหากสิ่งเหล่านี้ต่างประเภทกัน พวกท่านจงซื้อขายแลกเปลี่ยนได้ตามต้องการตราบใดที่มีการส่งมอบมือต่อมือ” (บันทึกโดยมุสลิม 1587)
มีบทบัญญัติเกี่ยวกับทรัพย์สินครอบคลุมสามด้าน คือ ความยุติธรรม ความเพิ่มพูน และความอธรรม ที่ยุติธรรมก็คือการซื้อขาย ที่เพิ่มพูนก็คือการบริจาค ส่วนที่อธรรมก็คือ ริบา (ดอกเบี้ย) เป็นต้น
ดอกเบี้ย หรือ อัร-ริบา คือการเกินเลยในการซื้อขายแลกเปลี่ยนระหว่างสิ่งสองสิ่งที่มีสาเหตุริบาอยู่ ในตัวของมัน
หุก่ม(บทบัญญัติ)เกี่ยวกับดอกเบี้ย
1. ดอกเบี้ย ถือเป็นบาปใหญ่ประเภทหนึ่ง และมันเป็นสิ่งที่ต้องห้ามในทุกศาสนาที่เป็นศาสนาแห่งฟากฟ้า(ศาสนาที่มี คัมภีร์จากพระผู้เป็นเจ้าซึ่งรวมศาสนายูดายของยิว ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม) เนื่องจากมันแฝงไปด้วยความเสียหายที่ใหญ่หลวง มันเป็นต้นเหตุของการเป็นศัตรูกันระหว่างมนุษย์ มันนำไปสู่การงอกเงยของทรัพย์สินผ่านการขูดรีดจากทรัพย์สินของคนจน มันเป็นการอธรรมต่อผู้ที่มีความจำเป็น ทำให้คนรวยกดขี่คนยากจน ปิดหนทางการบริจาคและการทำดีต่อผู้อื่น และทำลายความรู้สึกเมตตาสงสารต่อเพื่อนมนุษย์ อัลลอฮฺตะอาลาตรัสว่า
2. ดอกเบี้ย เป็นการกินทรัพย์สินของเพื่อนมนุษย์โดยมิชอบ ทำให้การหารายได้ การทำธุรกิจ และการผลิตที่มนุษย์มีความต้องการเกิดการชะงักงัน ผู้ที่รับดอกเบี้ยทรัพย์ของเขาเพิ่มขึ้นโดยไม่ต้องเหน็ดเหนื่อย ทำให้เขาละทิ้งการทำธุรกิจ และการทำประโยชน์ที่มนุษย์จะได้ประโยชน์จากมัน จุดจบของผู้ที่ยุ่งเกี่ยวกับริบาทุกคนคือความถดถอยของทรัพย์สินเงินทอง
บทลงโทษเกี่ยวกับดอกเบี้ย
ริบาเป็นบาป ใหญ่ และแท้จริงแล้วอัลลอฮฺได้ประกาศสงครามกับผู้ที่กินและผู้ที่ให้ริบา ซึ่งต่างจากบาปอื่นๆ
1. อัลลอฮฺตรัสว่า
2. รายงานจากท่าน ญาบิร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า
3. รายงานจากท่านอบูฮุรอยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ จากท่านนบี ศ็อลลัลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
ประเภทของดอกเบี้ย
1.ริบา นะสีอะฮฺ
ริบา นะสีอะฮฺ คือการเพิ่มที่ผู้ขายรับจากผู้ซื้อเป็นสิ่งทดแทนการยืดเวลา(ชำระ) เช่น เขาให้เงินไปหนึ่งพันบาทเป็นเงินสด โดยที่อีกฝ่ายต้องคืนให้หลังจากหนึ่งปีเป็นเงินหนึ่งพันสองร้อยบาทเป็นต้น หรือการผันหนี้แก่ผู้ขัดสน ในลักษณะที่ว่าเขามีทรัพย์ที่ค้างชำระเหนือบุคคลหนึ่ง เมื่อถึงเวลาชำระเขาก็จะกล่าวแก่บุคคลนั้นว่า “ท่านต้องการชำระทันที หรือต้องการเพิ่มดอกเบี้ย(โดยที่ยังไม่ต้องชำระ)" ถ้าหากอีกฝ่ายพอใจจะชำระก็ชำระ หรือไม่เขาก็จะเพิ่มเวลาให้ โดยมีการเพิ่มทรัพย์(หนี้)ขึ้นด้วย ทำให้จำนวนทรัพย์ที่ต้องชำระเหนือลูกหนี้ผู้นั้นมีมากขึ้น เฃ่นนี้คือรากฐานของ ริบาหรือดอกเบี้ยในสมัยญาฮิลิยะฮฺ ที่อัลลอฮฺได้ทรงห้ามไว้และกำหนดให้มีการยืดเวลาแก่ผู้ขัดสน(โดยไม่มีการ เพิ่ม) ซึ่งริบาประเภทนี้เป็นริบาที่อันตรายที่สุด เพราะมีผลเสียมากมาย โดยที่มันได้รวบรวมทุกประเภทไว้ในตัวมัน คือ นะสีอะฮฺ ริบาฟัฎล์ (ดอกเบี้ยส่วนต่าง) และ ริบาเงินกู้
1.1 อัลลอฮฺตรัสว่า
1.2 อัลลอฮฺตรัสว่า
หรือการซื้อ ขายแลกเปลี่ยนทรัพย์ในประเภทของริบาฟัฎล์ (ดูความความหมายในหัวข้อถัดไป) กันทั้งสองฝ่าย โดยมีการล่าช้าในการส่งมอบของทั้งสองฝ่าย หรือเพียงฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด เช่น ซื้อขายทองกับทอง ข้าวสาลีกับข้าวสาลี (โดยไม่รับมอบทันที) เป็นต้น หรือขายประเภทหนึ่งกับอีกประเภทหนึ่งจากประเภทเหล่านี้โดยมีการค้างชำระ (เช่น ขายทองด้วยเงินโดยไม่มีการส่งมอบกันทันที หรือข้าวสาลีกับข้าวบาร์เลย์โดยไม่มีการส่งมอบให้แก่กันทันที แม้จะไม่มีการเพิ่มราคาจากเดิมกันก็ตาม)
2.ริบาฟัฎล์
ริบาฟัฎล์ คือการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินกับเงิน หรืออาหารกับอาหารโดยมีการเพิ่ม(เป็นส่วนต่าง เช่น นำข้าวชนิดหนึ่งจำนวนหนึ่งลิตรมาแลกกับข้าวชนิดอื่นจำนวนหนึ่งลิตรครึ่ง เป็นต้น) ซึ่งถือเป็นสิ่งหะรอม ศาสนาได้มีหลักฐานอย่างชัดเจนถึงการห้ามริบานี้ในสิ่งหกประเภท ดังที่รอซูลุลลอฮฺได้กล่าวว่า
สิ่งที่อยู่ในขอบข่ายริบาฟัฎล์
- ให้เทียบ เคียง(กิยาส)ทุกๆ สิ่งที่มีสาเหตุแห่งริบา(อิลละฮฺ)เหมือนกันกับสิ่งหกประเภทดังกล่าวข้างต้น นั่นคือ อิลละฮฺ(สาเหตุการเป็นริบา)ของทองและเงินก็คือการเป็นเงินตรา และอิลละฮฺในสี่ประเภทที่เหลือก็คือ การเป็นสิ่งที่ใช้ตวงและเป็นอาหาร หรือการชั่งและเป็นอาหาร
- เครื่องตวงให้ถือเครื่องตวงชาวมะดีนะฮฺเป็นเกณฑ์ ส่วนเครื่องชั่งก็ให้ยึดเครื่องชั่งของชาวมักกะฮฺ ส่วนสิ่งที่ไม่มีทั้งสองที่(ไม่ได้ใช้การชั่งหรือตวง)ก็ให้ยึดธรรมเนียม ปฏิบัติ และทุกๆ สิ่งที่มีการห้ามริบาฟัฎล์ก็ถือว่าห้ามริบานะสีอะฮฺเช่นกัน
3.ดอกเบี้ยเงินกู้
ริบาเงินกู้ ลักษณะของมันก็คือ การที่บุคคลหนึ่งทำการให้กู้ยืมสิ่งใดสิ่งหนึ่งแก่ผู้อื่น แล้ววางเงื่อนไขแก่เขาว่าต้องจ่ายคืนมากกว่าที่กู้ไป หรือเขาต้องให้ประโยชน์หนึ่งประโยชน์ใด เช่นให้เขาได้อยู่อาศัยในบ้านของผู้กู้หนึ่งเดือนเป็นต้น ซึ่งริบานี้ถือว่าต้องห้าม แต่ถ้าหากเขาไม่ได้วางเงื่อนไขไว้แล้วผู้กู้ได้ให้ประโยชน์หรือจ่ายสิ่งที่ ดีกว่าด้วย(ความสมัครใจ)ตัวเองถือว่าเป็นสิ่งที่อนุญาตและได้ผลบุญ
หุก่มของริบาฟัฎล์
- เมื่อใด ที่การซื้อขายแลกเปลี่ยนระหว่างสิ่งที่เป็นประเภทเดียวกันและมีสาเหตุของริ บาในตัวมันถือว่าการเกินเลยกัน (การแลกด้วยจำนวนที่ไม่เท่ากัน) และการไม่ส่งมอบกันทันทีถือเป็นสิ่งที่หะรอม เช่นการซื้อขายทองกับทอง ข้าวสาลีกับข้าวสาลี เป็นต้น การซื้อขายแบบนี้มีเงื่อนไขที่จะทำให้มันถูกต้อง (ตามหลักศาสนา) คือจะต้องเท่ากันในจำนวน และมีการส่งมอบกันในทันที เพราะเป็นสิ่งที่มีประเภทและสาเหตุของริบาอย่างเดียวกัน
- เมื่อใดที่มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนระหว่างสิ่งของสองประเภทที่มี สาเหตุของริบาฟัฎล์อย่างเดียวกันแต่ต่างประเภทกันถือว่าการไม่ส่งมอบกัน ทันทีเป็นที่ต้องห้าม ส่วนการเกินเลยกัน(การแลกด้วยจำนวนไม่เท่ากัน)เป็นสิ่งที่อนุญาต เช่นซื้อขายทองกับเงิน หรือข้าวสาลีกับข้าวบาร์เลย์ เป็นต้น ถือว่าอนุญาตให้มีการเกินเลยกัน (เช่น แลกข้าวสาลี 1 กิโลกรัม แลกกับข้าวบาเลย์ 2 กิโลกรัม) เมื่อใดที่มีการรับกันทันทีมือต่อมือ(ไม่มีการค้างกัน) เพราะทั้งสองสิ่งต่างประเภทกันแต่มีสาเหตุริบาอันเดียวกัน (คือเป็นเงินตราหรืออาหาร)
- เมื่อใดที่มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนระหว่างสิ่งของสองประเภทที่มี สาเหตุของริบาแตกต่างกันถือว่าอนุญาตให้มีการเกินเลยกันและค้างชำระกัน เช่น ซื้ออาหารด้วยเงิน หรือ อาหารด้วยทองคำ เป็นต้น ถือว่าอนุญาตให้มีการเกินเลยกัน (เช่นข้าว 1กระสอบแลกกับเงิน 300 บาท) และอนุญาตให้มีการล่าช้าในการส่งมอบกัน (ส่งมอบข้าวสารวันนี้ แต่เงินจ่ายพรุ่งนี้หรือเดือนหน้า) เพราะสิ่งแลกเปลี่ยนทั้งสองต่างประเภทกันและมีสาเหตุแห่งริบาต่างกันด้วย
- เมื่อใดที่มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนระหว่างสิ่งของสองประเภทที่ไม่มี สาเหตุของริบาอยู่ในทรัพย์ทั้งสอง ถือว่าอนุญาตให้มีการเกินเลยกันและค้างชำระกัน เช่น ซื้อขายอูฐหนึ่งตัวแลกกับอูฐสองตัว หรือ เสื้อหนึ่งตัวแลกกับเสื้อสองตัว เป็นต้น ถือว่าอนุญาตให้มีการเกินเลยกันและค้างชำระกันได้ ไม่อนุญาตให้ทำการซื้อขายของประเภทเดียวกันแต่ต่างชนิด นอกจากจะต้องมีคุณลักษณะที่เหมือนกัน ดังนั้นจึงห้ามซื้อขายผลอินทผลัมสดแลกกับผลอินทผลัมแห้ง (เป็นอินทผลัมเหมือนกันแต่ต่างชนิด อันหนึ่งสด อันหนึ่งแห้ง) เพราะของสดเมื่อแห้งลงจะมีจำนวนลดลงทำให้เกิดส่วนต่างกัน(ริบาฟัฎล์)ที่ถือ ว่าต้องห้าม
- หุก่มการซื้อขาย
หุก่มการซื้อขายทองรูปพรรณ
ไม่อนุญาตให้ มีการซื้อขาย(แลกเปลี่ยน)เครื่องประดับเงินหรือทองกับสิ่งที่เป็นประเภท เดียวกันโดยมีการเกินเลยกัน (เช่น ไม่นำทองรูปพรรณชิ้นหนึ่งไปแลกด้วยทองรูปพรรณอีกชิ้น โดยที่ทั้งสองชิ้นไม่เท่ากัน) เพราะลักษณะของการผลิตสิ่งของแต่ละอันต่างกัน แต่ทางออกก็คือให้ขายของตนชิ้นนั้นด้วยเงินก่อนแล้ว แล้วเอาเงินนั้นไปซื้อเครื่องประดับ(ของอีกฝ่าย)
หุก่มการซื้อขายสัตว์
- ไม่ถือ ว่ามีสาเหตุแห่งริบาในการซื้อขายสัตว์ที่ยังมีชีวิตอยู่ เช่นเดียวกับสิ่งที่ซื้อขายกันด้วยจำนวน ดังนั้นจึงอนุญาตให้ซื้อขายอูฐหนึ่งตัวแลกอูฐสองหรือสามตัว แต่เมื่อใดที่มันกลายเป็นสิ่งที่ชั่งตวง (กลายเป็นเนื้อ) ก็จะมีเหตุแห่งริบา จึงห้ามซื้อขายเนื้อแพะหนึ่งกิโลกรัมแลกเนื้อแพะสองกิโลกรัม แต่อนุญาตให้ซื้อขายแลกเปลี่ยนเนื้อแพะหนึ่งกิโลกรัมกับเนื้อวัวสองกิโลกรัม เพราะต่างประเภทกันเมื่อใดที่มีการส่งมอบกันทันที (โดยไม่มีการค้างชำระ)
- อนุญาตให้ซื้อทองเพื่อสะสมหรือเพื่อหวังกำไร เช่นซื้อทองมาขณะที่ราคาของมันยังต่ำ แล้วขายไปเมื่อราคามันเพิ่มขึ้น
หุ่กมการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราและธนบัตรต่างๆ
การแลกเงิน คือการซื้อขายแลกเปลี่ยนสิ่งที่เป็นเงินตรากับเงินตราไม่ว่าจะเป็นชนิดเดียว กันหรือต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นเงินที่ทำจากทองหรือแร่เงิน หรือธนบัตรที่มีการใช้กันในปัจจุบันก็มีหุก่มเดียวกับทองคำและเงิน เพราะเป็นเงินตรา(เป็นมูลค่า)เหมือนกัน
- เมื่อมี การซื้อขายแลกเปลี่ยนสิ่งที่เป็นเงินตราชนิดเดียวกัน เช่นทองคำแลกทองคำ หรือธนบัตรชนิดเดียวกัน เช่น เงินริยาลแลกกับเงินริยาล (หรือเงินบาทแลกเงินบาท) ไม่ว่าจะเป็นเหรียญหรือธนบัตรจำเป็นจะต้องให้เท่ากันในเรื่องของจำนวน(20 บาทที่เป็นธนบัตร ต้องด้วยแลก 20 บาทที่เป็นเหรียญ) และต้องมีการรับกันทันทีระหว่างทั้งสองฝ่ายในที่ที่ตกลงซื้อขาย
- เมื่อมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนสิ่งที่เป็นเงินตรากับเงินตราแต่ต่าง ชนิดกัน เช่น ทองคำแลกเงิน หรือ เงินริยาลของซาอุดิอารเบียแลกกับเงินดอลลาร์ของอเมริกา ถือว่าอนุญาตให้มีการเกินเลยกันเรื่องของจำนวน แต่วาญิบที่จะต้องมีการส่งมอบและรับกันทันทีระหว่างทั้งสองฝ่ายในที่ที่ตกลง ซื้อขาย
- เมื่อผู้ทำการแลกเปลี่ยนทั้งสองคนแยกย้ายกันก่อนที่จะมีการส่งมอบ จำนวนของทั้งหมดหรือบางส่วน (หุก่มก็คือ)ส่วนที่ใช้ได้ก็คือเฉพาะจำนวนที่ได้มีการรับกันไปแล้วในที่ตกลง เท่านั้น ส่วนที่เหลือที่ยังไม่มีการส่งมอบและรับกันไปถือว่าเป็นโมฆะ ตัวอย่างเช่น ฝ่ายหนึ่งได้ให้เงินสกุลดีนาร์ไปหนึ่งดีนาร์เพื่อแลกกับเงินสกุลดิรฮัมจำนวน สิบดิรฮัม แต่ฝ่ายหลังขณะนั้นมีเงินอยู่เพียงห้าดิรฮัมให้ถือว่าการแลกเปลี่ยนนี้ที่ ใช้ได้ก็คือจำนวนครึ่งดีนาร์เท่านั้นส่วนที่เหลือเป็นอะมานะฮฺ(เงินฝาก)ที่ อยู่กับผู้ขายอีกฝ่าย
หุก่มการคิดดอกเบี้ยของธนาคาร
ผลประโยชน์ที่ ธนาคารในปัจจุบันรับไปจากการกู้ยืมนั้นถือว่าเป็นริบาที่ต้องห้าม และผลประโยชน์ที่ธนาคารมอบให้เพื่อตอบแทนการฝากก็เป็นริบาที่ไม่อนุญาตให้ ผู้ใดใช้ประโยชน์จากมันแต่จะต้องทำให้มันหมดไป
หุก่มการฝากเงินไว้กับธนาคารในระบบดอกเบี้ย
- จำเป็น ที่มุสลิมจะต้องใช้บริการธนาคารอิสลามเมื่อใดก็ตามที่เขาต้องการฝากหรือโอน เงิน แต่ถ้าหากไม่มีธนาคารอิสลามถือว่าอนุญาตให้ใช้บริการธนาคารอื่นเพราะความจำ เป็นในการฝากแต่จะต้องไม่รับผลประโยชน์(ดอกเบี้ย) และการโอนกับธนาคารอื่นก็เช่นกันตราบใดที่ไม่ขัดกับบทบัญญัติศาสนา
- ถือว่าเป็นที่ต้องห้ามสำหรับมุสลิมที่จะทำงานกับธนาคารหรือองค์กร ใดๆ ที่มีการรับหรือให้ริบา(ดอกเบี้ย) และค่าตอบแทนที่ได้รับจากแหล่งดังกล่าวก็เป็นสิ่งที่ผิดหลักและเขาจะต้องถูก ลงโทษจากอัลลอฮฺ
จะทำอย่างไรกับทรัพย์สินที่เป็นดอกเบี้ย
ดอกเบี้ยถือ เป็นบาปใหญ่ เมื่ออัลลอฮฺประทานความเมตตาให้ผู้ทำริบาและเขาได้กลับตัวสู่พระองค์(เตาบัต ) แต่ยังมีทรัพย์ที่เขาได้สะสมมันมาจากการทำริบาเหลืออยู่กับเขาและเขาต้องการ ทำให้มันพ้นไปจากตัวเขา จะมีสองลักษณะดังนี้
- ลักษณะ แรกคือ ริบานั้นยังอยู่ที่บุคคลอื่นเขายังมิได้รับมันมา เขาก็จงรับเฉพาะต้นทุนของเขาและปล่อยส่วนเกินที่เป็นริบาไว้
- ลักษณะที่สองคือทรัพย์ริบาถูกรับมาแล้วอยู่ในมือเขา เขาก็ต้องไม่คืนมันแก่เจ้าของและไม่ใช้ประโยชน์จากมันด้วย เพราะมันเป็นรายได้ที่สกปรก ทางออกก็คือให้เขาบริจาคมันไป หรือใช้มันให้หมดไปกับโครงการสาธารณะประโยชน์ เช่น สร้างเสาไฟให้แสงสว่างแก่ถนน หรือสร้างถนน สร้างห้องน้ำสาธารณะ เป็นต้น
- http://www.kroobannok.com/blog/26549
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
โปรดใช้วิจารณญานในการแสดงความคิดเห็น