ละหมาดตัสเบี๊ยะ


ละหมาดตัสเบี๊ยะ


بِسْمِ اللهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْمِ

اَلْحَمْدُ للهِ رَبِّ الْعَالَمِيْنَ وَ الصَّلاَةُ وَالسَّلاَمُ عَلىَ سَيِّدِنَا مُحَمَّدٍ وَعَليَ اَلِهِ وَصَحْبِهِ أَجْمَعِيْنَ

เป็นหลักฐานที่ท่านอัตติรมีซีย์  ได้รายงานไว้จากท่าน อิบนุมุบาร็อก ร่อฮิมะฮุลลอฮ์ ดังนี้

‏حَدَّثَنَا ‏ ‏أَحْمَدُ بْنُ عَبْدَةَ ‏ ‏حَدَّثَنَا ‏ ‏أَبُو وَهْبٍ ‏ ‏قَالَ سَأَلْتُ ‏ ‏عَبْدَ اللَّهِ بْنَ الْمُبَارَكِ ‏ ‏عَنْ الصَّلَاةِ الَّتِي يُسَبَّحُ فِيهَا فَقَالَ ‏ ‏يُكَبِّرُ ثُمَّ يَقُولُ سُبْحَانَكَ اللَّهُمَّ وَبِحَمْدِكَ وَتَبَارَكَ اسْمُكَ وَتَعَالَى جَدُّكَ وَلَا إِلَهَ غَيْرُكَ ثُمَّ يَقُولُ خَمْسَ عَشْرَةَ مَرَّةً سُبْحَانَ اللَّهِ وَالْحَمْدُ لِلَّهِ وَلَا إِلَهَ إِلَّا اللَّهُ وَاللَّهُ أَكْبَرُ ثُمَّ يَتَعَوَّذُ وَيَقْرَأُ ‏ ‏بِسْمِ اللَّهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيمِ ‏ ‏وَفَاتِحَةَ الْكِتَابِ ‏ ‏وَسُورَةً ثُمَّ يَقُولُ عَشْرَ مَرَّاتٍ سُبْحَانَ اللَّهِ وَالْحَمْدُ لِلَّهِ وَلَا إِلَهَ إِلَّا اللَّهُ وَاللَّهُ أَكْبَرُ ثُمَّ يَرْكَعُ فَيَقُولُهَا عَشْرًا ثُمَّ يَرْفَعُ رَأْسَهُ مِنْ الرُّكُوعِ فَيَقُولُهَا عَشْرًا ثُمَّ يَسْجُدُ فَيَقُولُهَا عَشْرًا ثُمَّ يَرْفَعُ رَأْسَهُ فَيَقُولُهَا عَشْرًا ثُمَّ يَسْجُدُ الثَّانِيَةَ فَيَقُولُهَا عَشْرًا ‏ ‏يُصَلِّي أَرْبَعَ رَكَعَاتٍ عَلَى هَذَا فَذَلِكَ خَمْسٌ وَسَبْعُونَ تَسْبِيحَةً فِي كُلِّ رَكْعَةٍ يَبْدَأُ فِي كُلِّ رَكْعَةٍ بِخَمْسَ عَشْرَةَ تَسْبِيحَةً ثُمَّ يَقْرَأُ ثُمَّ يُسَبِّحُ عَشْرًا فَإِنْ صَلَّى لَيْلًا فَأَحَبُّ إِلَيَّ أَنْ يُسَلِّمَ فِي الرَّكْعَتَيْنِ وَإِنْ صَلَّى نَهَارًا فَإِنْ شَاءَ سَلَّمَ وَإِنْ شَاءَ لَمْ يُسَلِّمْ

          "ได้เล่าให้ทราบโดยอะ ห์ บิน อับดะฮ์ ได้เล่าให้เราทราบโดยอบูวะฮ์บิน เขากล่าวว่า ฉันได้ถามท่านอับดุลลอฮ์ บิน มุบาร็อก จากเรื่องละหมาดที่มีตัสบีห์  ท่านอับดุลลอฮ์ตอบว่า  ให้เขาทำการตักบีรหลังจากนั้นก็ให้กล่าว ซุบฮานะกัลลอฮุ้มม่า วะบิฮัมดิก้า วะตะบาร่อกัสมุก้า วะตะอาลาญัดดุก้า วะลาอิลาฮ่าฆ็อยรู่ก้า หลังจากนั้นให้กล่าว ซุบฮานัลลอฮ์วัลฮัมดุลิลลาฮ์วะลาอิลาฮะอิลลัลลฮ์วัลลอฮุอักบัร 15 ครั้ง  หลังจากนั้นให้กล่าวอะอูซุบิลลาฮ์แล้วอ่านบิสมิลลาฮ์ อัลฟาติฮะฮ์และซูเราะฮ์  หลังจากนั้นให้กล่าวซุบฮานัลลอฮ์วัลฮัมดุลิลลาฮ์วะลาอิลาฮะอิลลัลลฮ์วัลลอฮุ อักบัร 10 ครั้ง หลังจากนั้นให้ทำการุกั๊วะอฺ  แล้วกล่าวตัสบีห์ 10 ครั้ง หลังจากนั้นเงยศีรษะขึ้นมาจากรุกั๊วอฺแล้วให้กล่าวตัสบีห์ 10 ครั้ง หลังจากนั้นทำการสุยูดแล้วให้กล่าวตัสบีห์ 10 ครั้ง หลังจากเงยศีรษะขึ้นมาก็ให้กล่าวตัสบีห์ 10 ครั้ง หลังจากนั้นสุยูดครั้งที่สองก็ให้กล่าวตัสบีห์ 10 ครั้ง ให้เขาทำการละหมาด 4 ร่อกออัตโดยดำเนินตามนี้  ดังกล่าวก็เป็นการกล่าวตัสบีห์ 75 ครั้งในทุก ๆ ร่อกะอัตให้เขาเริ่มในทุก ๆ ร่อกะอัตกับการกล่าวตัสบีห์ 15 ครั้ง หลังจากนั้นให้อ่านอัลฟาติฮะฮ์แล้วตัสบีห์ 10 ครั้ง ดังนั้นหากเขาได้ละหมาดในตอนกลางคืน ที่รักยิ่งยังฉันแล้วให้ทำการให้สลามทุก ๆ 2 ร่อกะอัต และหากเขาละหมาดในตอนกลางวัน แน่นอนว่าหากเขาต้องการให้สลาม(ทุกสองร่อกะอัตก็จงทำ) หรือหากเขาไม่ต้องการให้สลาม(โดยละหมาดทีเดียว 4 ร่อกะอัตเลยก็จงทำ)" รายงานโดยอัตติรมีซีย์ (443) http://www.sunnahstudent.com/forum/index.php?topic=3523.0

กล่าวว่า ฮาดิษเกี่ยวกับละหมาดตัสเบียะ เป็นหะดิษเฎาะอีฟ โดยอ้างคำฟัตวา อิบนุอุษัยมีน เล่ม 14



وأما صلاة التسبيح فالصواب أنها ليست بسنة بل هي بدعة، والحديث الذي ذكرت عنها في سؤالك غير صحيح، قال الإمام أحمد ? رحمه الله -‏#8207; لا تعجبني صلاة التسبيح، قيل لم‏؟‏ قال‏#8207; ليس فيها شيء يصح، ونفض يده كالمنكر، وقال النووي‏#8207; حديثها ضعيف، وفيها تغيير لنظم الصلاة المعروفة، وقال العقيلي‏#8207; ليس فيها حديث يثبت، وقال أبو بكر ابن العربي‏#8207; ليس فيها حديث صحيح ولا حسن،

          และสำหรับการ ละหมาดตัสเบียะนั้น ที่ถูกต้อง มันไม่ใช่สุนนะฮ แต่ทว่า มันเป็นบิดอะฮ และหะดิษที่ท่านได้ระบุในคำถามของท่าน นั้น ไม่เศาะเฮียะ อิหม่ามอะหมัด ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน ได้กล่าวว่า "การละหมาดตัสเบียะ ไม่ได้ทำให้ข้าพเจ้าภูมิใจ " มีผู้ถามว่า "ทำไมหรือ? ท่านกล่าวว่า "ในนั้นไม่มีหะดิษเศาะเฮียะเลย และท่านได้สะบัดมือของท่าน เหมือนกับว่า มันเป็นสิ่งต้องห้าม และอิหม่ามนะวาวีย์ กล่าวว่า หะดิษของมัน เฎาะอีฟ และในนั้น เป็นการเปลี่ยนแปลงระเบียบการละหมาดที่เป็นที่รู้กัน และอัลอะกีลีย์กล่าวว่า ในมัน(ละหมาดตัสเบียะ) ไม่มีหะดิษที่มั่นคง และอบูบักร อิบนุอะเราบีย์ กล่าวว่า " ในมัน ไม่มีหะดิษเศาะเฮียะ และไม่มีหะดิษหะซัน ..........

--วิจารณ์..บังหะสันผู้เป็นวะฮาบีย์---

จากรายงาน ที่บัทึกโดยท่านอีหม่าม อาบุดาวุด(รฮ) ผู้ที่เป็น 1 ใน 5 ท่านที่เป็นนักมุฮาดีษีน และเป็นที่ยอมรับผลงานโดย นักรายฮาดิสด้วยกัน ในการที่ท่านได้เก็บเกี่ยวสายรายงานต่าง ที่เป็นแบบฉบับ ของท่านนบี(ซล)

เรื่อง ละหมาดตัสเบียะส์ ที่ทัศนะใหม่ คือวะฮาบีย์ วิจารณ์และไม่ยอมรับถึงความดออีฟของรายงานบทนี้ นั้น ไม่ใช่เรื่องใหม่และไม่ใช่เรืองแปลกแต่อย่างใด

แต่ อยากนำเสนอว่า ก็ในเมื่อ วะฮาบีย์มักอ้างว่า พวกเขานั้น จริงๆแล้วก็นับถือมัสหับของท่านอีหม่าม  ฮัมบาลี (รฮ) ฉนั้นกฏเกนณ์ฟิกฮ์ต่างๆ นั้นก็ย่อมจะเอาจากท่าน อิหม่ามผู้นี้ เหมือนดังที่บรรดา ผู้ตักลีดตาม ทัศนะอื่นๆที่เขาปฏิบัติกันอยู่...

ฉนั้น ถ้าเราจะพุดว่า การที่ทัศนะใหม่อ้างว่าเขายึดตามทัศนะของอีหม่ามฮัมบาลี นั้นเป็นการมุสา ก็ไม่ผิดอะไร..เพราะเป็นที่รู้กันทั่วแล้วว่า ทัศนะใหม่นั้น จะเลือกเอาฮาดิสของท่านอีหม่ามฮัมบาลีในส่วนที่ซอเหียะเท่านั้น ส่วนที่เป็นดออีฟนั้น ซึ่งท่านอีหม่ามฮัมบาลีนำมาเป็น หลักฐานทางนิติบัญญัตินั้นใช้ในทาง ศาสนาและท่านยังนำมาใช้ก่อนการอิตติญาดเสียด้วยซ้ำนั้น แต่วะฮาบีย์หรือทัศนะใหม่กลับไม่นำมันมาใช้เหมือนผู้ที่ตนอ้างว่าตักลีดตาม

ดัง นั้น ทัศนะให่หรือแนวทางวะฮาบีย์นั้น ก็คือ ทัศนะที่ไม่ยึดตามมัสหับหนึ่งมัสหับใด  แต่จะเลือกเอาของสิ่งบรรดาผู้รู้หรือุลามะของทัศนะเหล่านั้น มาใช้และเลือกเอาสิ่ง มันเหมาะเจาะหรือสอดคล้องกับทัศนะของตนที่ มาใช้..

จะเห็นได้บ่อยครั้ง จากการที่เราได้สนทนา กับผู้รู้วะฮาบีย์หรือผู้ตักลีดตามทัศนะนี้ มักจะพบบ่อยว่า..

คำ พูดและคำอ้าง จากบุคลๆคนเดียวกัน แต่คนละบทความวะฮาบีย์ มักจะยกคำพูดที่ตนเองเห็นว่ามันสอดคล้องและเอนเอียงไปทางแนวทางของตนเช่น คำอ้างของท่าน..
อิหม่าม อะหมัด   ที่ท่านกล่าวว่า.. "การละหมาดตัสเบียะ ไม่ได้ทำให้ข้าพเจ้าภูมิใจ " มีผู้ถามว่า "ทำไมหรือ? ท่านกล่าวว่า "ในนั้นไม่มีหะดิษเศาะเฮียะเลย และท่านได้สะบัดมือของท่าน เหมือนกับว่า มันเป็นสิ่งต้องห้าม

--จริงๆแล้วการนำคำพูดโดยพยายามบิดเบือนความเข้าใจของผู้อื่น มาอ้างนั้น ถือว่า เป็น การใส่ร้ายต่อท่าน อะหมัด อย่างน่าเกลียด ..โดยที่เอาความเข้าใขของท่านอิบนุ  อุษัยมี ผู้ที่ตนอยู่ในแนวทางเดียวกันมาอ้าง นั้นถือว่า ในหลักการตัดสินบททีว่าด้วย ความแข็งแรงของสายรายงานแล้วเขาไม่กระทำกัน เพราะถือว่า เป็นแค่เพียงความคิดเห็นของผู้ที่ไม่เห็นด้วยของบางบุคคลเท่านั้น แต่มันไม่มีผลต่อ ตัวบทหรือความแข็งแกร่งของฮาดิสที่มาจากปากของท่านนบีเลยแม้แต่น้อย ในทางกลับกัน มันไม่ได้ให้ทำสายรายงานนั้น..อ่อน..หรือ เมาดัวะลงไปด้วยกับความเห็นของผู้ที่ ไม่ตรงกัน

ฉนั้น การที่ท่านอีหม่ามอะหมัด พูดเช่นนั้น ท่านก็ไม่ได้ปฏิเสธฮาดีบทนี้เลย ละหมาดตัสเบียะนั้น เป็นสิ่งที่ไร้หลักฐาน และเป็นเรื่องที่กุขึ้นมา มันเป็นเค่คำพูดและความเห็นของอุลามะในสายวฮาบีย์บางคนเท่านน้น  ดังนั้น ตรงนี้ไม่ใช่หลักฐานว่า ละหมาดตัสเบียะกระทำไมได้และไม่มีแบบอย่างจากท่านนบีมาก่อน..[/color]

และที่บังหะสันผู้ที่เป็นวะฮาบีย์ยกคำอ้าง ของอิหม่ามนะวาวีย์ กล่าวว่า หะดิษของมัน
เฎาะอีฟ เช่นกันนั้น...

มันก็เป็นเหตุผลคล้ายๆกับคำพูดข้างบน  เพียงแต่ท่าน อีหม่าม นาวาวีย์บอกว่าฮาดิสนี้
ดออี ฟ เท่านั้น แต่ท่านก็ไม่ได้ปฏิเสธมันหรือละทิ้งมัน ตรงกันข้าม ท่านเองเป็นผู้ที่อยู่ในแนวทางของท่านอีหม่ามชาฟีอี ผู้ที่ยืนยันว่า ฮาดิสดออีฟนั้น สามารถนำมาปฏิบัติหรือส่งเสริมในการทำอ้ามัลอีบาดัตได้  ท่านอีหม่าม อิบนุหะญัร และท่าน อีหม่ามนาวาวีย์ ก็ยังสนับสนุนในสิ่งที่ท่านอีหม่ามชาฟีอีพูดไว้ และท่านถือว่า..ไม่เป็นเรื่องผิดแผกแต่อย่างใดในทัศนะของเราเกี่ยวกับ ฟาดอลุ้ลอะม้าล

แต่วะฮาบีย์นั้น มักจะนำอะไร ที่มันสอดคล้องกับทัศนะของตนเองมาอ้างเสมอ..เช่นถ้าเรื่อง
การ รำลึกถึงท่านนบี(เมาลิดนั้น) อีหม่ามนะวาวีย์ถือว่ากระทำได้ ..บังหะสันวะฮาบีย์ก็คัดค้านเอาเป็นเอาตาย ว่า เป็นความคิดที่บิดอะ ตามไม่ได้ เพราะเป็นแค่ความเห็นของอุลามะเท่านั้น ไม่ใช่มาจากกีตาบุลลอฮ์และซุนนะบี  ทั้งที่หลักฐานการทำเมาลิด ไม่มีจากฮาดิสซอ
เหียะและดออีฟ บังหะสันก็ยกมาอ้างอย่างโน้นอย่างนี้ว่าตาม ท่านผู้รู้เฟหล่านนั้นไม่ได้   แต่..ถ้าอย่างไหนที่ท่านผู้รู้เหล่านั้น มีความคิดเห็นหรือสอดคล้องกับทัศนะของตนเองละก้อ  บังหะสันจะลิงโลดดีใจและยกมันมาอ้างทันที...โดยไม่ละอายใจตัวเองบ้างว่า ความคิดของตนเองนั้นหาได้เหมือนความคิดของผู้รู้เหล่านั้นทุกอย่างไม่

อี หม่ามนาวาวีย์.นั้น ท่านไม่ได้ปฏิเสธฮาดิสนี้ ว่าการละหมาดตัสเบียะนั้น กระทำไม่ได้เลยแม้แต่น้อย...เพียงแตท่านบอกถึงระดับของฮาดิสเท่านั้น

คำว่าดออีฟ แปลว่าอ่อน ไม่ได้หมายความเลยเถิดว่า ใช้ไม่ได้อย่างที่วะฮาบีย์เตะทิ้งมันเลย
มัน เป็นเพียงเพียงแต่ การอ่อนจากกระแสรายงานเท่านั้น ที่บรรดา นักฮาดิสทั้งหลายได้วางกฏระเบียบในการเลือกสรรฮาดีสเท่านั้น  เช่นผู้ที่รายงาน อาจจะเป็นคนขี้ลืม หรือแก่ชรา หรือ ไม่น่าคบ หรือไม่เคร่งศาสนาฯลฯ

แต่ไม่ใช่ว่าสิ่งที่ท่านเหล่านั้นนำมารายงาน นั้น เป็นสิ่งมดเท็จ (หรือเป็นคนมุสาเป็นอาจิณ)ฮาดีสดออีฟคือสิ่งที่เป็นคำพูดจากท่านนบี(ซล)ไม่ ได้เป็นสิ่งที่กุหรือตกแต่งหรือปลอมแปลงแต่อย่างใด ด้วยเหตุนี้

บรรดารู้และอุลามะทั้งหลายโดยเฉพาะท่าน อีหม่ามฮัมบาลี ท่านอีหม่ามชาฟีอี ท่าน
อีหม่ามมาลีกี(รฮ) จึงไม่ปฏิเสธมันเลย

ดัง นั้น ฮาดิสที่ ท่านอบูดาวุดนำมารายงานนั้นแม้จะเป็นดออีฟก็ถือว่า อยู่ในระดับดี และในมัสหับชาฟีอีถือว่า สามารถที่จะกระทำอ้าม้าล..ตราบใดที่ผู้กระทำมีความมั่นใจในสายที่รายงานมา.. ว่ามีความถูกต้อง..

ความว่า...ท่านอบูดาวุด รายงานว่า..ท่านอินุอับบาส กล่าวว่า..ท่านนบีได้เคยแนะนำให้ลุงของท่านคือ(ท่านอับบาส บินอับดุลมุตตอเล็บ)ว่าละหมาดตัสเบียะนั้น สามารถลบล้างบาปเก่าๆที่ผ่านมานั้นได้.
โดย ที่ท่านได้แนะนำให้ท่านละหมาดตัสเบียะในทุกๆคืน และทุกๆสัปดาห์แต่ถ้าทำไม่ได้ให้กระทำ ทุกหนึ่งเดือน แต่ถ้ากระทำไม่ได้ก็ขอให้กระทำในทุกๆปี แต่ถ้าไม่สามารถกระทำได้ อย่างน้อย ก็1ครั้งในชีวิต...

ฉนั้นฮาดีสบทนี้ ถ้าสมมุติว่ามันเป็นฮาดีสซอเหียะ ผู้ที่อ้าวว่าดออีฟและไปฏิเสธเลย นั้นคือความขาดทุน ของเขา ในการเข้าเฝ้ากัลอัลลออ์กับละหมาดดังกล่าว แต่ในเมื่อมันเป็นเพียงดออีฟ  เราผู้อยู่ในทัศนะชาฟีอี(รฮ)หรือฮัมบาลีนั้น ย่อมไม่ขาดทุนใดๆเลย...อิงชาอัลเลาะห์


ฉนั้น การที่ท่านอีหม่ามอะหมัด พูดเช่นนั้น ท่านก็ไม่ได้ปฏิเสธฮาดีบทนี้เลย ละหมาดตัสเบียะนั้น เป็นสิ่งที่ไร้หลักฐาน และเป็นเรื่องที่กุขึ้นมา มันเป็นเค่คำพูดและความเห็นของอุลามะในสายวฮาบีย์บางคนเท่านน้น  ดังนั้น ตรงนี้ไม่ใช่หลักฐานว่า ละหมาดตัสเบียะกระทำไมได้และไม่มีแบบอย่างจากท่านนบีมาก่อน..[/color]

และที่บังหะสันผู้ที่เป็นวะฮาบีย์ยกคำอ้าง ของอิหม่ามนะวาวีย์ กล่าวว่า หะดิษของมัน
เฎาะอีฟ เช่นกันนั้น...

มันก็เป็นเหตุผลคล้ายๆกับคำพูดข้างบน  เพียงแต่ท่าน อีหม่าม นาวาวีย์บอกว่าฮาดิสนี้
ดออี ฟ เท่านั้น แต่ท่านก็ไม่ได้ปฏิเสธมันหรือละทิ้งมัน ตรงกันข้าม ท่านเองเป็นผู้ที่อยู่ในแนวทางของท่านอีหม่ามชาฟีอี ผู้ที่ยืนยันว่า ฮาดิสดออีฟนั้น สามารถนำมาปฏิบัติหรือส่งเสริมในการทำอ้ามัลอีบาดัตได้  ท่านอีหม่าม อิบนุหะญัร และท่าน อีหม่ามนาวาวีย์ ก็ยังสนับสนุนในสิ่งที่ท่านอีหม่ามชาฟีอีพูดไว้ และท่านถือว่า..ไม่เป็นเรื่องผิดแผกแต่อย่างใดในทัศนะของเราเกี่ยวกับ ฟาดอลุ้ลอะม้าล

แต่วะฮาบีย์นั้น มักจะนำอะไร ที่มันสอดคล้องกับทัศนะของตนเองมาอ้างเสมอ..เช่นถ้าเรื่อง
การ รำลึกถึงท่านนบี(เมาลิดนั้น) อีหม่ามนะวาวีย์ถือว่ากระทำได้ ..บังหะสันวะฮาบีย์ก็คัดค้านเอาเป็นเอาตาย ว่า เป็นความคิดที่บิดอะ ตามไม่ได้ เพราะเป็นแค่ความเห็นของอุลามะเท่านั้น ไม่ใช่มาจากกีตาบุลลอฮ์และซุนนะบี  ทั้งที่หลักฐานการทำเมาลิด ไม่มีจากฮาดิสซอ
เหียะและดออีฟ บังหะสันก็ยกมาอ้างอย่างโน้นอย่างนี้ว่าตาม ท่านผู้รู้เฟหล่านนั้นไม่ได้   แต่..ถ้าอย่างไหนที่ท่านผู้รู้เหล่านั้น มีความคิดเห็นหรือสอดคล้องกับทัศนะของตนเองละก้อ  บังหะสันจะลิงโลดดีใจและยกมันมาอ้างทันที...โดยไม่ละอายใจตัวเองบ้างว่า ความคิดของตนเองนั้นหาได้เหมือนความคิดของผู้รู้เหล่านั้นทุกอย่างไม่

อี หม่ามนาวาวีย์.นั้น ท่านไม่ได้ปฏิเสธฮาดิสนี้ ว่าการละหมาดตัสเบียะนั้น กระทำไม่ได้เลยแม้แต่น้อย...เพียงแตท่านบอกถึงระดับของฮาดิสเท่านั้น

คำว่าดออีฟ แปลว่าอ่อน ไม่ได้หมายความเลยเถิดว่า ใช้ไม่ได้อย่างที่วะฮาบีย์เตะทิ้งมันเลย
มัน เป็นเพียงเพียงแต่ การอ่อนจากกระแสรายงานเท่านั้น ที่บรรดา นักฮาดิสทั้งหลายได้วางกฏระเบียบในการเลือกสรรฮาดีสเท่านั้น  เช่นผู้ที่รายงาน อาจจะเป็นคนขี้ลืม หรือแก่ชรา หรือ ไม่น่าคบ หรือไม่เคร่งศาสนาฯลฯ

แต่ไม่ใช่ว่าสิ่งที่ท่านเหล่านั้นนำมารายงาน นั้น เป็นสิ่งมดเท็จ (หรือเป็นคนมุสาเป็นอาจิณ)ฮาดีสดออีฟคือสิ่งที่เป็นคำพูดจากท่านนบี(ซล)ไม่ ได้เป็นสิ่งที่กุหรือตกแต่งหรือปลอมแปลงแต่อย่างใด ด้วยเหตุนี้

บรรดารู้และอุลามะทั้งหลายโดยเฉพาะท่าน อีหม่ามฮัมบาลี ท่านอีหม่ามชาฟีอี ท่าน
อีหม่ามมาลีกี(รฮ) จึงไม่ปฏิเสธมันเลย

ดัง นั้น ฮาดิสที่ ท่านอบูดาวุดนำมารายงานนั้นแม้จะเป็นดออีฟก็ถือว่า อยู่ในระดับดี และในมัสหับชาฟีอีถือว่า สามารถที่จะกระทำอ้าม้าล..ตราบใดที่ผู้กระทำมีความมั่นใจในสายที่รายงานมา.. ว่ามีความถูกต้อง..

ความว่า...ท่านอบูดาวุด รายงานว่า..ท่านอินุอับบาส กล่าวว่า..ท่านนบีได้เคยแนะนำให้ลุงของท่านคือ(ท่านอับบาส บินอับดุลมุตตอเล็บ)ว่าละหมาดตัสเบียะนั้น สามารถลบล้างบาปเก่าๆที่ผ่านมานั้นได้.
โดย ที่ท่านได้แนะนำให้ท่านละหมาดตัสเบียะในทุกๆคืน และทุกๆสัปดาห์แต่ถ้าทำไม่ได้ให้กระทำ ทุกหนึ่งเดือน แต่ถ้ากระทำไม่ได้ก็ขอให้กระทำในทุกๆปี แต่ถ้าไม่สามารถกระทำได้ อย่างน้อย ก็1ครั้งในชีวิต...

ฉนั้นฮาดีสบทนี้ ถ้าสมมุติว่ามันเป็นฮาดีสซอเหียะ ผู้ที่อ้าวว่าดออีฟและไปฏิเสธเลย นั้นคือความขาดทุน ของเขา ในการเข้าเฝ้ากัลอัลลออ์กับละหมาดดังกล่าว แต่ในเมื่อมันเป็นเพียงดออีฟ  เราผู้อยู่ในทัศนะชาฟีอี(รฮ)หรือฮัมบาลีนั้น ย่อมไม่ขาดทุนใดๆเลย...อิงชาอัลเลาะห์

คัดลอกจาก
http://www.sunnahstudent.com/forum/index.php?topic=44.0




การละหมาดตัสเบี๊ยะไม่มีสุนัตให้ทำเป็นญามาอะห์ใช่หรือไม่ครับอาจารย์
1 หากทำเป็นญามาอะห์จะได้ผลบุญ27เท่าหรือไม่ครับ
2 หากผู้ที่เป็นมะมูมไม่เหนียตเป็นมะมูมแต่ละหมาดทำอิริยาบทตามอีม่ามละหมาดของเขาจะใช้ได้หรือไม่ครับ(ละหมาดตัสเบี๊ยะครับ)
3 จากการกระทำในข้อ2 ถ้าเป็นละหมาดฟัรดู ฮุก่มว่าอย่างไรครับ
-----------------------------------



الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد  ؛


การ ละหมาดซุนนะฮฺ (อันนัฟฺล์) มี 2 ประเภท กล่าวคือ ประเภทที่หนึ่ง ไม่มีซุนนะฮฺให้ทำละหมาดซุนนะฮฺนั้นแบบญะมาอะฮฺ (คือไม่มีซุนนะฮฺให้ทำแบบญะมาอะฮฺเลยในหลักเดิม หรือมีซุนนะฮฺให้กระทำแบบญะมาอะฮฺในบางเวลา เช่น การละหมาดวิตร์ในเดือนร่อมาฎอน) อาทิเช่น การละหมาดซุนนะฮฺร่อวาติบที่ถูกบัญญัติสำหรับการละหมาดฟัรฎูทั้งก่อนและหลัง การละหมาดฟัรฎู, การละหมาดฎุฮา และการละหมาดตะฮียะตุ้ลมัสญิด (อิอานะตุตตอลิบีน ; อัดดุมยาฏี เล่มที่ 1/284/อัลอิกนาอฺ ฟี ฮัลลิ อัลฟาซฺ อบีชุญาอฺ ; อัลค่อฏีบ อัชชัรบีนีย์ เล่มที่ 1/353)

และส่วนหนึ่งจากประเภทแรกซึ่งไม่มีซุนนะฮฺให้กระทำแบบญะมาอะฮฺคือการละหมาดตัสเบียะฮฺ (อิอานะตุตตอลิบีน อ้างแล้ว เล่มที่ 1/299/อัลอิกนาอฺฯ อ้างแล้ว เล่มที่ 1/276)


ประเภท ที่สอง คือ ละหมาดที่มีซุนนะฮฺให้กระทำแบบญะมาอะฮฺ คือ การละหมาดอีดทั้งสอง, ละหมาดจันทรคราสและสุริยคราส, ละหมาดขอฝน(อิสติสกออฺ), ละหมาดตะรอวีฮฺ (ดูอิอานะตุตตอลิบีน อ้างแล้ว เล่มที่ 1/301-307)


             จากที่กล่าวมาข้างต้น จึงได้คำตอบว่า การละหมาดตัสเบียะฮฺไม่มีซุนนะฮฺให้กระทำเป็นญะมาอะฮฺครับ ส่วนถ้าหากละหมาดซุนนะฮฺประเภทนี้ (ประเภทที่หนึ่งซึ่งมีละหมาดตัสเบียะฮฺรวมอยู่ด้วย) ในหนังสืออันนิฮายะฮฺ ระบุว่า : หากละหมาดแบบญะมาอะฮฺก็ไม่ถือว่ามักโระฮฺแต่อย่างไร? (อิอานะตุตตอลีบีน อ้างแล้ว เล่มที่ 1/284)

             กล่าว คือตามหลักเกณฑ์ในมัสฮับอัชชาฟิอีย์นั้นการกระทำเช่นนี้เป็นสิ่งที่ค้านกับ สิ่งที่ดีกว่า (คิลาฟุ้ลเอาลา) ไม่เป็นซุนนะฮฺและไม่เป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ (มักรูฮฺ) เพราะไม่มีการห้ามเป็นกรณีเฉพาะรายงานมานั่นเอง (อิอานะตุตตอลิบีน 1/307/อัลฟะตาวา อัลกุบรอ อัลฟิกฮียะฮฺ ; อิบนุ ฮะญัร อัลฮัยตะมีย์ 1/262)

            ส่วนที่ถามว่า หากทำเป็นญะมาอะฮฺแล้วจะได้ผลบุญของการละหมาดญะมาอะฮฺหรือไม่ กรณีนี้นักวิชาการเห็นต่างกัน ฝ่ายหนึ่งบอกว่าได้ผลบุญของการละหมาดญะมาอะฮฺ อีกฝ่ายหนึ่งบอกว่า ไม่ได้บุญ ซึ่งอัลบุญัยริมีย์ระบุว่า ครูของท่านยึดทัศนะของฝ่ายที่สองนี้ (อิอานะตุตตอลิบีน 1/284)

            สำหรับ คำถามที่ตั้งประเด็นมาว่า หากผู้ที่เป็นมะอฺมูมไม่เหนียตเป็นมะอฺมูมแต่ละหมาดทำอิริยาบถตามอิหม่าม ละหมาดตัสเบียะฮฺของเขาจะใช้ได้หรือไม่? ขอตอบว่า หลักเดิมนั้นเงื่อนไขในการตาม (กุดวะฮฺ) มะอฺมูมจำต้องเหนียตตามหรือเหนียตญะมาอะฮฺพร้อมกับการตักบีร่อตุ้ลอิฮฺรอม เพราะการตามเป็นการปฏิบัติจึงต้องการเหนียต (มุฆนีย์ อัลมุฮฺต๊าจฺญ์ ; อัลคอฏีบ อัชชิรบีนีย์ 1/501 อัลมัจญ์มูอฺ ชัรฮุ้ลมุฮัซซับฺ ; อันนะวาวีย์ 4/95 , บุนญัยรีมีย์ อะลัลค่อฏีบ 2/115)

ฉะนั้น  ถ้าหากมะอฺมูมละทิ้งการเหนียตนี้หรือสงสัยในการเหนียตและทำตามอิหม่ามในการ ปฏิบัติ  หรือ  การให้สล่าม หลังจากรอนานเพื่อตามอิหม่าม การละหมาดของเขาใช้ไม่ได้ (อ้างแล้ว) เพราะถือว่าทำเล่น ๆ โดยไม่แยกว่าผู้นั้นรู้ถึงข้อห้ามหรือไม่รู้ก็ตาม  ตามทัศนะที่เป็นมาตรฐาน (มุอฺตะมัด) –บุนญัยรีมีย์ฯ 2/115)

ทั้งนี้ยกเว้นว่า มะอฺมูมไม่ได้เหนียตตามในตอนแรกและตักบีร่อตุ้ลอิฮฺรอมเพียงคนเดียว ต่อมาก็เหนียตตามในระหว่างการละหมาดของเขา กรณีนี้มีความเห็นขัดแย้งกันและเมื่อมะอฺมูมละทิ้งการเหนียตตามนี้หรือเหนีย ตละหมาดคนเดียวและตักบีร่อตุ้ลอิฮฺรอมแบบมุตลัก (คือไม่มีเหนียตทั้ง 2 กรณี) การละหมาดของเขาถือว่าใช้ได้โดยลำพัง และถ้าหากเขาทำตามอิหม่ามในอิริยาบถต่าง ๆ โดยไม่มีการตั้งเหนียตใหม่ กรณีนี้มี 2 ประเด็น ที่ถูกต้องที่สุด (อะเซาะฮฺ) ถือว่าการละหมาดของเขาใช้ไม่ได้ ประเด็นที่สองเป็นประเด็นที่ถูกต้อง (ซ่อฮีฮฺ) ถือว่าการละหมาดของเขาไม่เสีย แต่เขาไม่ได้ผลบุญของการละหมาดญะมาอะฮฺโดยไม่มีข้อขัดแย้ง เพราะถือว่าเขาละหมาดเพียงลำพัง (ดูรายละเอียดในอัลมัจญ์มูอฺ , อันนะวาวีย์ เล่มที่ 4/95-96)

กรณีที่กล่าวมานี้ใช้เป็นฮุก่มทั้งในส่วนการละหมาดฟัรฎูหรือซุนนะฮฺในเรื่องการละหมาดญะมาอะฮฺ ยกเว้นการละหมาดวันศุกร์ซึ่งมีรายละเอียดระบุเอาไว้ ว่าต้องเหนียตตามสถานเดียว อันนี้กล่าวโดยสรุป!


คัดลอกจาก
http://www.alisuasaming.com/qa/index.php?topic=127.0




คุณค่าละหมาดตัสเบี๊ยะฮฺ

       จากอิบนุอับบาส (ร.ฏ) เล่าว่า ท่านรอซูลุ้ลลอฮฺ (ซล) กล่าวกับอับบาส บินอับดุลมุฏฏอลิล (ร.ฎ) ว่า โอ้อับบาส โอ้ลุงของฉัน เอาไหม ฉันจะมอบสิ่งหนึ่งให้กับท่าน เอาไหมฉันจะมอบของขวัญให้กับท่าน  เอาไหมฉันจะมอบของขวัญให้กับท่าน เอาไหมฉันจะบอกท่านถึงกิจกรรมหนึ่ง เมื่อท่านปฏิบัติมัน ท่านจะได้รับประโยชน์ถึงสิบประการด้วยกัน นั่นคืออัลลอฮุตะอาลาจะอภัยในบาปของท่านทั้งหมด ทั้งบาปที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ หรือหลังจากนี้ ทั้งบาปเก่าและบาปใหม่ อีกทั้งที่ทำโดยไม่ได้ตั้งใจและที่ทำโดยตั้งใจ จะเป็้นบาปเล็กหรือบาปใหญ่ ตลอดจนบาปที่ทำนั้นจะโดยลับๆ หรือเปิดเผยก็ตาม กิจกรรมนั้นคือการละหมาดสี่รอกาอัต

       ในทุกๆ รอกาอัตให้ท่านอ่านฟาติฮะฮฺและซูเราะฮฺ ในรอกาอัตแรกเมื่อท่านเสร็จจากการอ่านฟาติฮะฮฺและซูเราะฮฺแล้ว ขณะที่ยืนอยู่ ก่อนลงรุกั๊วะ ให้ท่านกล่าว "ซุบฮานัลลอฮฺ วัลฮัมดุลิ้ลลา วะลาอิลาฮะอิ้ลลั้ลลอฮฺ วัลลอฮุอักบัร" สิบห้าครั้ง ต่อจากนั้นจงกล่าวในขณะรุกั๊วะ สิบครั้ง เมื่อเงยศีรษะขึ้นจากรุกั๊วะให้กล่าวสิบครั้ง ในขณะซุญูดให้กล่าวอีกสิบครั้ง และกล่าวในขณะนั่งสองซุญูดอีกสิบครั้ง และในซุญูดที่สองอีกสิบครั้ง และหลังจากซุญูดครั้งที่สองก่อนยืนขึ้นให้นั่งและกล่าวคำเหล่านี้อีกสิบ ครั้ง รวมเป็นเจ็ดสิบห้าครั้ง ให้ละหมาดสี่รอกาอัตโดยที่ทุกๆ รอกาอัต ทำลักษณะนี้(ลุงของฉัน)ถ้าหากท่านมีความสามารถที่จะทำละหมาดนี้ทุกๆ วัน ท่านก็จงทำเถิด ถ้าไม่สามารถทำได้ ก็ทำทุกๆวันศุกร์ หากไม่สามารถทำได้ก็เดือนละครั้ง หากไม่สามารถทำได้ ก็ทำปีละครั้ง และหากไม่สามาถทำได้อีกก็ให้ทำสักครั้งหนึ่งในชีวิต           (อบูดาวุด)

จาก อิบนุ อุมัดรฺ เล่าว่า ท่านรอซูลุ้ลลอฮฺ (ซล)ได้ส่งญะอฺฟัร บินอบีฏอลิบ (ร.ฎ)ไปยังเมืองฮะบะซะฮฺ เมื่อเขากลับมายังเมืองมะดีนะฮฺ ท่านนบี (ซล)ได้สวมกอดเขาและจูบที่หน้าผากพร้อมกับกล่าวว่า เอาไหม ฉันจะให้ของขวัญกับท่าน เอาไหม ฉันจะบอกข่าวดีกับท่าน เอาไหม ฉันจะให้ของขวัญกับท่าน ญะอฺฟัรได้ตอบว่า ครับ โอท่านรอซูลุ้ลลอฮฺ หลังจากนั้นท่านนบี (ซล) ได้อธิบายวิธีการละหมาดตัสเบี๊ยะฮฺให้กับเขา  (มุสตัดร็อกฮากีม)


คัดลอกจาก

http://www.muslim2world.com/1431/index.php?option=com_content&view=article&id=57&Itemid=61

ความคิดเห็น