หัวข้อ : การละหมาดของสตรีในบ้านของหล่อน ดีกว่าการละหมาดในมัสยิด
การละหมาดของสตรีในบ้านของหล่อน ดีกว่าการละหมาดในมัสยิด
คำถาม ?
เนื่องจากภรรยาของผม ได้เดินทางไปยังต่างประเทศเพื่อเยี่ยมครอบครัวของหล่อน ซึ่งหล่อนได้รับทราบมาว่า การเดินทางเพื่อไปละหมาดญะมะอะ ในมัสยิดโดยเฉพาะละหมาดเวลาศุบฮิ จะทำให้ได้รับผลบุญมาก แต่มัสยิดอยู่ห่างจากที่พักของหล่อนมาก ซึ่งต้องใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง ไม่ทราบว่า ถ้าหล่อนจะละหมาดที่บ้าน หล่อนจะได้รับผลบุญเทียบเท่ากับการที่หล่อนเดินทางเพื่อไปละหมาดที่มัสยิดหรือไม่ นอกจากนี้ เป็นที่อนุมัติหรือไม่ หากว่ากระผมจะทำการละหมาดศุบฮิแทนหล่อน หลังจากที่ผมได้ทำการละหมาดศุบฮิของผมเสร็จสิ้นแล้ว
คำตอบ 1
บรรดาการสรรเสริญเป็นของพระองค์อัลลอฮ์
ในส่วนของการละหมาดของสตรีนั้น การละหมาดในบ้านของนางนั้นดีกว่าการละหมาดในมัสยิด ซึ่งมีรายงานจากท่านหญิง Umm Humayd ภรรยาของท่าน Abu Humayd al-Saa’idi ซึ่งเธอได้เดินทางไปพบกับท่านนบี และเธอได้กล่าวกับท่านว่า โอ้รอซุลลุ้ลลอฮ ฉันรักที่จะละหมาดร่วมกับท่าน
ท่านนะบี จึงตอบว่า ฉันรู้ว่าเธอรักที่จะละหมาดร่วมกับฉัน แต่การละหมาดในห้องของเธอนั้นดีกว่า การละหมาดให้ห้องโถ่งของบ้านของเธอ และการละหมาดในห้องโถ่งของบ้านของเธอนั้น ดีกว่าการละหมาดในมัสยิดของชุมชนของเธอ และการละหมาดในมัสยิดของชุมชนของเธอนั้น ดีกว่าการละหมาดในมัสยิดของฉัน
เมื่อได้ยินเช่นนั้นท่านหญิง Umm Humayd จึงได้ทำการจัดสร้างสถานที่ละหมาดของนางซึ่งเป็นห้องที่อยู่ชั้นบนในบ้านของเธอ ซึ่งเธอได้กระทำการละหมาดที่นั้นจนกระทั่งเธอได้กลับไปสู่ความเมตตาของพระองค์อัลลอฮ
Narrated by Ahmad (26550); classed as saheeh by Ibn Khuzaymah in his Saheeh (3/95), Ibn Hibbaan (5/595) and al-Albaani in Saheeh al-Targheeb wa’l-Tarheeb (1/135).
รายงานจาก อิบนุ มัสอูด บอกว่า ท่านนะบีมุฮัมมัด กล่าวว่า
“ นางทำการละหมาดในบ้านของนาง ดีกว่าการละหมาดที่ลานบ้านของนาง และถ้านางละหมาดในห้องนอนของนางดีกว่า การละหมาดในบ้านของนาง”
Narrated by Abu Dawood (570) and al-Tirmidhi (1173); classed as saheeh by Shaykh al-Albaani in Saheeh al-Targheeb wa’l-Tarheeb (1/136).
คำตอบ 2
ส่วนการที่คุณจะทำการละหมาดแทนภรรยาของคุณหลังจากที่คุณละหมาดศุบฮิเสร็จแล้วนั้น ไม่เป็นที่อนุมัติที่ใครจะทำการละหมาดแทนให้ผู้ใด ไม่ว่าผู้นั้นจะยังมีชีวิตอยู่หรือเสียชีวิตไปแล้ว ( ที่มาจาก : Fath al-Baari 11/584)
“ต้องมีความบริสุทธิ์ใจในการปฏิบัติอิบาดะฮ์ (เคารพ), ไม่ว่าจะเป็นการละหมาด หรือการถือศีลอด และไม่ควรยอม หรือ เป็นตัวแทนในการปฏิบัติให้กับบุคคลอื่นที่ยังมีชีวิตอยู่” ( ที่มาจาก : al-Mawsoo’ah al-Fiqhiyyah 2/334)
ที่มา : http://islamqa.com/en/ref/90071
แปลโดย : นูรุ้ลนิซาอ์
credit
http://www.islamiclawthai.com/?p=279#more-279
เนื่องจากภรรยาของผม ได้เดินทางไปยังต่างประเทศเพื่อเยี่ยมครอบครัวของหล่อน ซึ่งหล่อนได้รับทราบมาว่า การเดินทางเพื่อไปละหมาดญะมะอะ ในมัสยิดโดยเฉพาะละหมาดเวลาศุบฮิ จะทำให้ได้รับผลบุญมาก แต่มัสยิดอยู่ห่างจากที่พักของหล่อนมาก ซึ่งต้องใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง ไม่ทราบว่า ถ้าหล่อนจะละหมาดที่บ้าน หล่อนจะได้รับผลบุญเทียบเท่ากับการที่หล่อนเดินทางเพื่อไปละหมาดที่มัสยิดหรือไม่ นอกจากนี้ เป็นที่อนุมัติหรือไม่ หากว่ากระผมจะทำการละหมาดศุบฮิแทนหล่อน หลังจากที่ผมได้ทำการละหมาดศุบฮิของผมเสร็จสิ้นแล้ว
คำตอบ 1
บรรดาการสรรเสริญเป็นของพระองค์อัลลอฮ์
ในส่วนของการละหมาดของสตรีนั้น การละหมาดในบ้านของนางนั้นดีกว่าการละหมาดในมัสยิด ซึ่งมีรายงานจากท่านหญิง Umm Humayd ภรรยาของท่าน Abu Humayd al-Saa’idi ซึ่งเธอได้เดินทางไปพบกับท่านนบี และเธอได้กล่าวกับท่านว่า โอ้รอซุลลุ้ลลอฮ ฉันรักที่จะละหมาดร่วมกับท่าน
ท่านนะบี จึงตอบว่า ฉันรู้ว่าเธอรักที่จะละหมาดร่วมกับฉัน แต่การละหมาดในห้องของเธอนั้นดีกว่า การละหมาดให้ห้องโถ่งของบ้านของเธอ และการละหมาดในห้องโถ่งของบ้านของเธอนั้น ดีกว่าการละหมาดในมัสยิดของชุมชนของเธอ และการละหมาดในมัสยิดของชุมชนของเธอนั้น ดีกว่าการละหมาดในมัสยิดของฉัน
เมื่อได้ยินเช่นนั้นท่านหญิง Umm Humayd จึงได้ทำการจัดสร้างสถานที่ละหมาดของนางซึ่งเป็นห้องที่อยู่ชั้นบนในบ้านของเธอ ซึ่งเธอได้กระทำการละหมาดที่นั้นจนกระทั่งเธอได้กลับไปสู่ความเมตตาของพระองค์อัลลอฮ
Narrated by Ahmad (26550); classed as saheeh by Ibn Khuzaymah in his Saheeh (3/95), Ibn Hibbaan (5/595) and al-Albaani in Saheeh al-Targheeb wa’l-Tarheeb (1/135).
รายงานจาก อิบนุ มัสอูด บอกว่า ท่านนะบีมุฮัมมัด กล่าวว่า
“ นางทำการละหมาดในบ้านของนาง ดีกว่าการละหมาดที่ลานบ้านของนาง และถ้านางละหมาดในห้องนอนของนางดีกว่า การละหมาดในบ้านของนาง”
Narrated by Abu Dawood (570) and al-Tirmidhi (1173); classed as saheeh by Shaykh al-Albaani in Saheeh al-Targheeb wa’l-Tarheeb (1/136).
คำตอบ 2
ส่วนการที่คุณจะทำการละหมาดแทนภรรยาของคุณหลังจากที่คุณละหมาดศุบฮิเสร็จแล้วนั้น ไม่เป็นที่อนุมัติที่ใครจะทำการละหมาดแทนให้ผู้ใด ไม่ว่าผู้นั้นจะยังมีชีวิตอยู่หรือเสียชีวิตไปแล้ว ( ที่มาจาก : Fath al-Baari 11/584)
“ต้องมีความบริสุทธิ์ใจในการปฏิบัติอิบาดะฮ์ (เคารพ), ไม่ว่าจะเป็นการละหมาด หรือการถือศีลอด และไม่ควรยอม หรือ เป็นตัวแทนในการปฏิบัติให้กับบุคคลอื่นที่ยังมีชีวิตอยู่” ( ที่มาจาก : al-Mawsoo’ah al-Fiqhiyyah 2/334)
ที่มา : http://islamqa.com/en/ref/90071
credit
http://www.islamiclawthai.com/?p=279#more-279
การละหมาดในแถวสุดท้ายของผู้หญิงนั้นดีที่สุด
คำถาม
ในการยืนละหมาดญะมะอะของสตรีที่มัสยิด ซึ่งมีการแยกสัดส่วนกันอย่างชัดเจนระหว่างที่ละหมาดของฝ่ายชายและฝ่ายหญิง อีกทั้งสถานที่ละหมาดของสตรีมีการปกปิดอย่างมิดชิดนั้น ตำแหน่งของการยืนละหมาดของสตรีในแถวหน้าจะดีที่สุดเหมือนกับการยืนละหมาดในแถวหน้าของบุรุษหรือไม่
เนื่องจากมีข้อถกเถียงกันโดยอ้างอิงถึงฮาดิษของท่านนะบีมุฮัมมัด ที่ได้กล่าวไว้ว่า แถวในการยืนละหมาดของบุรุษที่ดีที่สุดนั้นคือแถวแรก และที่แย่ที่สุดคือการยืนละหมาดในแถวสุดท้าย ส่วนสตรีนั้นแถวในการยืนละหมาดที่ดีที่สุดคือแถวสุดท้าย และที่แย่ที่สุดคือการยืนละหมาดในแถวแรก
ซึ่งจากฮาดิษข้างต้น ส่งผลให้สตรีบางส่วนไม่ต้องการที่จะทำการยืนละหมาดในแถวแรกให้เต็ม อีกทั้งข้อถกเถียงเกี่ยวฮาดิษข้างต้นนั้น ได้ถูกนำมาใช้เฉพาะการละหมาดร่วมกันของสตรีและบุรุษที่ไม่มีม่านกั้นแยกกันระหว่างที่ละหมาดของชายและหญิงอย่างชัดเจน หรือไม่
คำตอบ
จากฮาดิษดังกล่าวนั้น ถือว่าเป็นฮาดิษที่เชื่อถือได้ (ซอเฮียะ) แต่อย่างไรก็ตามนักวิชาการหลาย ๆ ท่านก็มีความเห็นสอดคล้องกัน ว่าในกรณีที่สถานที่ละหมาดของชายและหญิงไม่ได้แบ่งแยกกันอย่างชัดเจน แถวการยืนละหมาดของสตรีที่ดีที่สุดนั้นก็คือแถวสุดท้าย แต่ถ้ามีม่านกั้นสถานที่ละหมาดระหว่างชายและหญิงอย่างชัดเจนแล้ว แถวในการยืนละหมาดของสตรีที่ดีที่สุดนั้นก็คือแถวแรก ซึ่งจะคล้ายคลึงกับกรณีแถวในการยืนละหมาดของฝ่ายชาย ซึ่งจำเป็นจะต้องยืนในแถวแรกให้เต็มก่อนที่จะทำการขึ้นแถวละหมาดใหม่ต่อไป อีกทั้งจะต้องทำการยืนละหมาดให้ชิดกันมากที่สุด เพื่อปิดช่องว่าง ซึ่งเป็นหลักการปฏิบัติที่ถูกต้องตามฮาดิษของท่านนะบีมุฮัมมัด
กล่าวคือ เมื่อมีการกั้นระหว่างที่ละหมาดของชายและหญิงอย่างชัดเจนแล้ว แถวในการยืนละหมาดของสตรีที่ดีที่สุดนั้นก็คือ แถวแรก
ขอความเมตตาจากพระองค์อัลลอฮ์ ในการช่วยเหลือพวกเราทั้งหมดให้สามารถปฏิบัติอิบาดะฮ์ดังกล่าวได้ ซึ่งเป็นกิจการที่พระองค์ทรงรักและทรงพอพระทัย
จาก Majmoo’ Fattaawa Ibn Baaz (25/145)
แปลโดย นูรุ้ลนิซาอ
ในการยืนละหมาดญะมะอะของสตรีที่มัสยิด ซึ่งมีการแยกสัดส่วนกันอย่างชัดเจนระหว่างที่ละหมาดของฝ่ายชายและฝ่ายหญิง อีกทั้งสถานที่ละหมาดของสตรีมีการปกปิดอย่างมิดชิดนั้น ตำแหน่งของการยืนละหมาดของสตรีในแถวหน้าจะดีที่สุดเหมือนกับการยืนละหมาดในแถวหน้าของบุรุษหรือไม่
เนื่องจากมีข้อถกเถียงกันโดยอ้างอิงถึงฮาดิษของท่านนะบีมุฮัมมัด ที่ได้กล่าวไว้ว่า แถวในการยืนละหมาดของบุรุษที่ดีที่สุดนั้นคือแถวแรก และที่แย่ที่สุดคือการยืนละหมาดในแถวสุดท้าย ส่วนสตรีนั้นแถวในการยืนละหมาดที่ดีที่สุดคือแถวสุดท้าย และที่แย่ที่สุดคือการยืนละหมาดในแถวแรก
ซึ่งจากฮาดิษข้างต้น ส่งผลให้สตรีบางส่วนไม่ต้องการที่จะทำการยืนละหมาดในแถวแรกให้เต็ม อีกทั้งข้อถกเถียงเกี่ยวฮาดิษข้างต้นนั้น ได้ถูกนำมาใช้เฉพาะการละหมาดร่วมกันของสตรีและบุรุษที่ไม่มีม่านกั้นแยกกันระหว่างที่ละหมาดของชายและหญิงอย่างชัดเจน หรือไม่
คำตอบ
จากฮาดิษดังกล่าวนั้น ถือว่าเป็นฮาดิษที่เชื่อถือได้ (ซอเฮียะ) แต่อย่างไรก็ตามนักวิชาการหลาย ๆ ท่านก็มีความเห็นสอดคล้องกัน ว่าในกรณีที่สถานที่ละหมาดของชายและหญิงไม่ได้แบ่งแยกกันอย่างชัดเจน แถวการยืนละหมาดของสตรีที่ดีที่สุดนั้นก็คือแถวสุดท้าย แต่ถ้ามีม่านกั้นสถานที่ละหมาดระหว่างชายและหญิงอย่างชัดเจนแล้ว แถวในการยืนละหมาดของสตรีที่ดีที่สุดนั้นก็คือแถวแรก ซึ่งจะคล้ายคลึงกับกรณีแถวในการยืนละหมาดของฝ่ายชาย ซึ่งจำเป็นจะต้องยืนในแถวแรกให้เต็มก่อนที่จะทำการขึ้นแถวละหมาดใหม่ต่อไป อีกทั้งจะต้องทำการยืนละหมาดให้ชิดกันมากที่สุด เพื่อปิดช่องว่าง ซึ่งเป็นหลักการปฏิบัติที่ถูกต้องตามฮาดิษของท่านนะบีมุฮัมมัด
กล่าวคือ เมื่อมีการกั้นระหว่างที่ละหมาดของชายและหญิงอย่างชัดเจนแล้ว แถวในการยืนละหมาดของสตรีที่ดีที่สุดนั้นก็คือ แถวแรก
ขอความเมตตาจากพระองค์อัลลอฮ์ ในการช่วยเหลือพวกเราทั้งหมดให้สามารถปฏิบัติอิบาดะฮ์ดังกล่าวได้ ซึ่งเป็นกิจการที่พระองค์ทรงรักและทรงพอพระทัย
จาก Majmoo’ Fattaawa Ibn Baaz (25/145)
แปลโดย นูรุ้ลนิซาอ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
โปรดใช้วิจารณญานในการแสดงความคิดเห็น