ความฝันในอิสลาม/งานแต่งงานอิสลาม คู่ครอง เราเลือกได้หรือไม่ หรือถูกกำหนดไว้แล้ว


ความฝันในอิสลาม





الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد...؛


ในภาษาอาหรับมีคำว่า อัรรุอฺยะฮฺ (اَلرُّؤيَةُ) คือการมองเห็นที่เกี่ยวกับประสาทสัมผัสทางตา และคำว่า อัรฺรุอฺยา (اَلرُّؤيا) หมายถึงสิ่งที่คนนอนหลับมองเห็นในขณะหลับ ซึ่งก็คือ ความฝันนั่นเอง นักวิชาการแบ่งความฝันออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1) ความฝันที่มาจากอัลลอฮฺ (ซ.บ.) -الرؤيامن الله-
2) ความฝันที่มาจากชัยฏอน (الحُلْمُ مِن الشيطان)

สังเกตได้ว่าถ้าเป็นความฝันประเภทแรก จะใช้คำว่า (الرُّؤيا) แต่ถ้าเป็นความฝันประเภทที่สอง จะใช้คำว่า (الحُلْمُ) มีรูปพหูพจน์ว่า อะหฺลามฺ (أَحْلاَمٌ) ความฝันที่เป็นเรื่องจริง (الرؤياالصادقة) เป็นสภาพแรกที่เกิดขึ้นกับท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ในเรื่องวะฮีย์ ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) จะไม่เห็นความฝันใดนอกจากมันจะปรากฏเยี่ยงแสงอรุณเบิกฟ้า (บุคอรี-มุสลิม)
และความฝันของผู้ศรัทธานั้นเป็นส่วนหนึ่งจาก 46 ส่วนของการเป็นนบี นักวิชาการบางท่านแบ่งความฝันออกเป็น 3 ชนิด คือ
1) ฝันดี (الرؤياالصالحة) เป็นข่าวดีจากพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.)
2) ความฝันอันเกิดจากการสร้างความเศร้าหม่นหมองของชัยฏอน
3) ความฝันอันเกิดจากความครุ่นคิดในใจของบุคคล

และผู้ใดฝันเห็นสิ่งที่ตนไม่พึงปรารถนา ก็ให้ผู้นั้นลุกขึ้นและทำละหมาดโดยไม่ต้องเล่าให้ผู้ใดรับทราบ (มุสลิม) และคนที่ปฏิเสธตลอดจนคนฟาซิก (คนชั่ว) ก็อาจจะเห็นความฝันที่เป็นจริงได้เช่นกัน ฝันร้ายนั้นมาจากชัยฏอนเป็นความฝันที่ชัยฏอนใช้สร้างความหวาดกลัวหรือความโศกเศร้าให้เกิดขึ้นกับผู้ที่ฝันนั้น ผู้ใดฝันร้ายก็ขอให้ความคุ้มครองต่อพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ให้ถ่มน้ำลายทางด้านซ้ายและปกปิดความฝันนั้น โดยท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้สัญญาว่าหากทำเช่นนั้นแล้ว ความฝันนั้นก็จะไม่ส่งผลอันใด

และความฝันที่เป็นเท็จ (الرؤياالباطلة) มี 7 ประเภท
1) ฝันที่เกิดจากการครุ่นคิดในใจ, ฟุ้งซ่าน, เศร้าหมอง, วาดหวังและฝันมั่วแบบสับสน (الأضغاثُ)
2) ฝันเปียก (الحُلْمُ) ที่จำต้องอาบน้ำยกหะดัส
3) การเตือนหรือขู่ให้กลัวจากชัยฏอน
4) ความฝันที่พวกนักไสยศาสตร์ทั้งญินและมนุษย์ทำให้ผู้นอนหลับฝันเห็น
5) ฝันเท็จไร้สาระ ซึ่งชัยฏอนทำให้ผู้นอนหลับฝันเห็น
6) ความฝันที่เกิดโดยนิสัยหรือธาตุแท้ของผู้ฝัน
7) ความฝันที่เป็นความเจ็บปวดรวดร้าว (الوجَع) คือการที่ผู้นั้นฝันเห็นเรื่องราวฝังใจที่อาจจะผ่านพ้นเวลามานานนับสิบปี

ส่วนฝันที่เป็นจริง (الرؤياالحق) มี 5 ประเภท

1) ฝันที่เป็นความสัจจริง (الرؤياالصادقة) ความฝันประเภทนี้เป็นส่วนหนึ่งจากความเป็นนบี (النبوة) เช่นความฝันที่พระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ให้ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ฝันเห็นว่าท่านและเหล่าสาวกได้เข้าสู่นครมักกะฮฺโดยปลอดภัยและฏอว๊าฟรอบบัยติลลาฮฺ เชือดสัตว์และโกนศีรษะและขลิบผมเมื่อครั้งที่ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) เดินทางถึงอัลหุดัยบียะฮฺ ดังปรากฏในอายะฮฺที่ว่า (لقدصدق الله رسوله الرؤيابالحق) หรือการฝันของท่านนบีอิบรอฮีม (อ.ล.) ว่าท่านจะเชือดบุตรชายของท่าน (يابُنَىَّ إنى أرى فى المَنَامِ أنى أذبَحُكَ) เป็นต้น
2) ความฝันที่ดี (الرؤياالصالحة) เป็นการแจงข่าวดีจากอัลลอฮฺ (ซ.บ.)
3) ความฝันที่ม่าลักแห่งความฝันทำให้ผู้นอนหลับฝันเห็น ซึ่งม่าลักท่านนีมีชื่อว่า ซิดดีกูนฺ
4) ฝันเป็นนัย (الرؤياالمرموزة)
5) ฝันประจักษ์พยานคือดีกลายเป็นร้าย ร้ายกลายเป็นดี เช่น คนหนึ่งฝันเห็นว่าตนกำลังตีกลองในมัสญิด คนๆ นั้นจะสำนึกผิดจากสิ่งที่ไม่ดีและจะกลายเป็นผู้มีชื่อเสียง หรือคนหนึ่งฝันเห็นว่าตนกำลังอ่านอัลกุรอ่านในห้องอาบน้ำหรือกำลังเต้นรำ คนๆ นั้นจะเป็นคนที่ผู้คนรู้จักในทางเสื่อมเสีย เป็นต้น
และความฝันของสตรีที่มีรอบเดือนและผู้มีญุนุบถือว่าเป็นฝันที่ถูกต้องได้เพราะพวกกาฟิรและมะญูซีย์ไม่อาบน้ำยกหะดัสและท่านนบียูซุฟ (อ.ล.) ก็อธิบายฝันให้แก่กษัตริย์อียิปต์ซึ่งเป็นกาฟิร และฝันของเด็ก ๆ ก็ถูกต้องได้ เพราะนบียูซุฟ (อ.ล.) เคยฝันเห็นขณะมีอายุได้ 7 ขวบแล้วเล่าให้นบียะอฺกู๊บ (อ.ล.) ฟัง (สรุปความจากตำราตะอฺฏีรุ้ลอะนามฺ ฟี ตัฟซีร อัลอะหฺลามของอันนาบุลิซีย์ บทนำ)

ที่มา
http://www.alisuasaming.com/index.php/webbord/30/1139



ถาม ดิฉันอยากจะทราบเกี่ยวกับเรื่องการทำนายฝัน ดิฉันได้ยินว่าความฝันหลังรุ่งอรุณเป็นความฝันที่ไม่มีความหมายและส่วนใหญ่แล้วเป็นการล่อลวงของชัยฏอนซึ่งไม่มีอะไรมากไปกว่านั้น จริงไหมคะ


ตอบ เชค อะตียะฮ ซ็อกร์ อดีตประธานคณะกรรมวินิจฉัยปัญหาศาสนาของมหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร มาตอบดังนี้ :-
“ เกี่ยวกับเรื่องการทำนายฝันนั้น เรื่องนี้เป็นความเร้นลับที่อัลลอฮฺผู้ทรงรู้ถึงสิ่งเร้นลับทรงรู้แต่เพียงผู้เดียว
ดังนั้น คำทำนายฝันที่ทำไว้เป็นลายลักษณ์อักษรหรือโดยวาจาจึงเป็นเรื่องเหตุผลของแต่ละคนและไม่สามารถ
เชื่อถือได้ นั่นก็เพราะว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องพ้นญาณวิสัยที่มีอะไรบางอย่างเกี่ยวข้องกับวิญญาณและอยู่นอกขอบ
เขตโลกของมนุษย์ ความฝันไม่มีกฎ การทำนายความฝันเป็นเพียงความเห็นที่ใครบางคนนำมาเขียนเป็นหนังสือโดย
อ้างว่าตัวเองเป็นแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้ในการทำนายฝันและแต่ละคนทำนายความฝันเรื่องเดียวกันแตกต่างกันไป
อย่างไรก็ตาม มีความจริงบางอย่างต่อไปนี้ที่คุณควรจะต้องรู้ซึ่งทั้งหมดมาจากฮะดีษ(คำพูด)ของท่านศาสดามุฮัมมัด
ฮะดีษแรก “ การเห็นมโนภาพมาจากอัลลอฮฺ (มันมาจากการดลบันดาลใจของพระเจ้า) ขณะที่ความฝันมาจากมารร้าย
เมื่อใครคนหนึ่งในหมู่ท่านฝันร้าย ให้เขาถุย(โดยไม่ต้องมีน้ำลาย)ออกมาทางด้านซ้ายมือและอ่านกุรอานซูเราะฮฺ
อันนาสและซูเราะฮฺ อัลฟะลัก และฝันนั้นจะไม่เป็นอันตรายต่อเขา”
ฮะดีษที่สอง “ เมื่อชั่วโมงสุดท้ายใกล้มาถึงมุสลิมจะมองเห็นภาพที่แท้จริงได้จากมโนภาพและความซื่อสัตย์จะช่วยเขา
ให้มองเห็นภาพที่แท้จริงได้อย่างชัดเจน ยิ่งไปกว่านั้น การได้เห็นภาพที่แท้จริงในมโนภาพก็ถือเป็น 45 ส่วนของการเป็นนบี

          การเห็นภาพมีสามประเภทด้วยกัน ประเภทแรกก็คือฝันดีที่เป็นข่าวดีจากอัลลอฮฺ ฝันร้ายซึ่งมาจากชัยฏอนที่จะรุกรานหัวใจด้วยความเศร้าประเภทที่สามก็คือฝันที่เป็นผลของเรื่องที่คิดไว้ล่วงหน้า ดังนั้นถ้าใครในหมู่พวกท่านเห็นอะไรบางอย่างเป็นเรื่องเศร้าในฝันเขาก็ควรจะนมาซสองร็อกอัตและไม่ต้องเล่าความฝันให้ใครได้รู้”
ฮะดีษที่สาม : ท่านนบีมุฮัมมัด ได้กล่าวว่าใครที่เห็นท่านในฝัน เขาก็เห็นท่านจริงๆ เพราะชัยฏอนไม่สามารแปลงร่างเป็นนบีได้


สรุปก็คือ การทำนายฝันมิใช่ความรู้จากการทดลองที่ถ่ายทอดให้คนจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง มันเป็นของขวัญจากพระเจ้าที่ประทานแก่คนที่อัลลอฮฺทรงประสงค์ดังเช่นกรณีของนบียูซุฟ และความฝันมิใช่แหล่งที่มาของกฎหมาย ดังนั้น จึงไม่น่าตกใจอะไร”เชค อะหมัด คุตตี ก็ให้คำตอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า :-

“ ความฝันมีสามประเภท ประเภทแรกถูกเรียกว่า มุบัชชิรอต ซึ่งเป็นฝันดีที่บ่งชี้ถึงข่าวดี ฝันประเภทนี้มาจากการดลใจจากมลาอิก๊ะฮฺหรืออัลลอฮฺดลใจด้วยการให้คำแนะนำอะไรบางในจิตสำนึกของเรา เกี่ยวกับเรื่องความฝันประเภทนี้ ท่านนบีมุฮัมมัด ได้กล่าวว่า

“ไม่มีสิ่งใดแห่งการเป็นนบีหลงเหลืออีกต่อไปแล้วตอนนี้ (กล่าวคือหลังจากการที่ท่านเรียกร้องเชิญชวนให้คนรู้ว่าท่านเป็นนบี)ยกเว้นการมองเห็นในมโนภาพที่ได้ถูกประทานแก่ผู้ศรัทธาที่ทรงคุณความดีและมันเป็นสามสิบส่วนของการเป็นนบี” ความฝันประเภทนี้ได้แก่ลางสังหรณ์หรือการรู้ล่วงหน้าก่อนว่าอะไรจะเกิดขึ้นในอนาคต ตัวอย่างเช่น ผู้ศรัทธาอาจจะได้เห็นภาพการตายอันยิ่งใหญ่ของเขาหรือเหตุการณ์บางอย่างจะเกิดขึ้นในอนาคตหรือได้รับการยืนยันบางอย่างจากสภาวะทางจิตใจของเขาเองหรือแม้แต่ได้รับการเตือนเกี่ยวกับการละทิ้งบางอย่างหรือต้องทำบางอย่าง สิ่งเหล่านี้มีอยู่ในมโนภาพของท่านนบีมุฮัมมัด หรือนบีอื่นๆหรือการได้เห็นสัญลักษณ์ของอิสลามอย่างเช่นก๊ะอฺบ๊ะฮฺหรือมัสญิดของท่านนบี เป็นต้น

          ฝันประเภทที่สองเกิดขึ้นจากการกระซิบหรือการดลใจของชัยฏอนศัตรูที่อยู่กับเราตลอดกาล มันเห็นเราในลักษณะที่เราไม่เห็นมัน ถ้าเราไม่มีการคุ้มครองป้องกันที่ดีให้พ้นจากมันและการดลใจเช่นนั้น มันก็จะล่อเราให้ติดกับของมันทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว

          ฝันประเภทที่สามสามารถกล่าวได้ว่าเป็นฝันที่หาสาระไม่ได้ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากผลของการที่อาหารไม่ย่อยหรือการจินตนาการมากเกินไปหรือจากการพบเห็นอะไรบางอย่างในชีวิตที่อาจทำให้คนผู้นั้นเก็บไปฝันคนที่ฝันดีควรจะนำความฝันของตนไปบอกเล่าให้คนอื่นบ้างโดยเพาะคนที่ซื่อสัตย์ไว้วางใจได้และคนที่เกรงกลัวพระเจ้า แต่ถ้าหากเขาฝันร้ายมีคำแนะนำมิให้เขาเล่าความฝันแก่ผู้ใด สำหรับคนที่ฝันร้ายนั้น 

        มีข้อแนะนำให้เขาเปลี่ยนที่นอนเสียและวิงวอนขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺด้วยการกล่าวว่า“บิสมิลลาฮิลละซี ลายะดุรรุ มาอิสมิฮี ชัยอุน ฟิลอัรฎ์ วะลาฟีอัสสะมาอิ วะฮุว่ะ อัสสะมีอุล อะลี” (ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ด้วยพระนามของพระองค์ไม่มีสิ่งใดในโลกหรือในชั้นฟ้าสามารถทำร้ายใดๆได้ พระองค์ทรงได้ยินและทรงรอบรู้) ท่านศาสดามุฮัมมัด กล่าวว่าคนที่กล่าวคำวิงวอนเช่นนั้นจะได้รับการปกป้องให้พ้นจากอันตรายใดๆที่เป็นไปได้


          ฝันประเภทแรกนั้น ผู้ศรัทธาทุกคนควรจะขัดเกลาตนเองให้ไปถึงขั้นนั้นและจะต้องป้องกันตนเองให้พ้นจากความฝันประเภทที่สอง ทางที่ดีที่สุด    ที่จะป้องกันการดลใจและการกระซิบของชัยฏอนก็คือการขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺ การระลึกถึงอัลลอฮฺอยู่ตลอดเวลา มีความคิดที่ดีใช้ชีวิตและ  ประพฤติตนอย่างถูกต้อง มีข้อแนะนำว่าก่อนเข้านอนให้ชำระร่างกายเหมือนกับการเตรียมตัวนมาซ หลังจากนั้นให้อ่านซูเราะฮฺ อัล-ฟาติฮะฮฺ,อัล-อิคลาศ, อัล-ฟะลักและอัน-นาส รวมทั้งอายะฮฺกุรซีย์ด้วย



ที่มา : เว็บไซต์ชมรมมุสลิมพระจอมเกล้าฯลาดกระบัง
credit
http://www.muslimvoicetv.com/



คำถาม: มักได้ยินคนพูดว่าอัลลอฮ์ให้เป็นเนื้อคู่กัน คู่แล้วไม่แคล้วกัน ตามทัศนของอิสลามเรื่องแบบนี้เราสามารถเชื่อได้หรือเปล่า


คำตอบ: ในหลักการของศาสนาว่าด้วยการเลือกคู่ครองนั้น ศาสนาอนุญาตให้ผู้ชายมีสิทธิในการเลือกผู้หญิงมาเป็นภรรยา และอนุญาตให้ผู้หญิงตัดสินใจว่าจะรับเลือกผู้ชายคนที่มาสู่ขอหรือไม่ด้วยเช่นกัน

- หากผู้ชายสนใจผู้หญิงคนหนึ่งซึ่งเขาเองก็มีพร้อม เขาจึงมาสู่ขอนาง
- แต่นางเห็นว่าไม่น่าจะเหมาะสมกับตน นางสามารถปฏิเสธการสู่ขอนั้นได้นะ
ประเด็นนี้จึงเป็น สามารถลบล้างคำกล่าว หรือการให้ร้ายหลักการของศาสนาอิสลามที่ว่า "อิสลามส่งเสริมให้มีการคลุมถุงชน เพราะต่างฝ่ายมีสิทธิปฏิเสธได้นั้นเอง"

        ประเด็นต่อมา เมื่อเราเลือกผู้หญิงคนหนึ่ง หลังจากนั้นก็ไปทำการสู่ขอนางเพื่อให้เป็นภรรยา, นางเห็นว่าเขาผู้นั้นมีศาสนา และเหมาะสมที่จะเป็นหัวหน้าครอบครัวได้จึงตกลงรับการสู่ขอของเขานั่นเอง เช่นนั้นเราอาจจะเรียกได้ว่าเป็นความประสงค์ของอัลลอฮฺนั้นก็ไม่ผิดอะไร เพราะเราเลือกคู่ครองของเราด้วยการตัดสินใจของเราเอง ส่วนพระองค์อัลลอฮฺทรงรู้ล่วงหน้าแล้วว่า เราจะได้ครองคู่กับคนนั้น หรือคนนี้

ฉะนั้นหากจะพูดว่า เมื่ออัลลอฮฺให้เป็นเนื้อคู่กันแล้วก็ไม่แคล้วกัน เราก็สามารถพูดได้ แต่ต้องเข้าใจด้วยว่า เราเป็นคนเลือกคู่ด้วยตัวของเราเอง ส่วนพระองค์อัลลอฮฺทรงรู้ล่วงหน้าอยู่แล้วว่า เราจะเป็นคู่ของคนนั้น เช่นนี้จึงจะเป็นความหมายที่ถูกต้องที่สุด


เรียบเรียงโดย สำนักข่าวมุสลิมไทย
ข้อมูลจาก www.mureed.com


ความคิดเห็น