วรรณะใหญ่ ๆ ในศาสนาพราหมณ์มีอยู่ ๔ วรรณะ

 วรรณะใหญ่ ๆ ในศาสนาพราหมณ์มีอยู่ ๔ วรรณะ




 ระบบวรรณะเกิดจากพวก อริยะ หรือ อารยัน ซึ่งเข้ามารุกรานชนพื้นเมืองในอินเดียครั้งทำสงครามกับเจ้าของถิ่นเดิมซึ่งเรียกว่าพวก มิลักขะ (หรือ ทัสสยุ หรือทราวิฑ) จนได้รับชัยชนะ พวกมิลักขะต้องถอยร่นลงไปทางใต้ เหล่าอริยะจึงใช้ศาสนาพราหมณ์เป็นเครื่องมือในการแบ่งวรรณะ โดยถือว่าวรรณทั้ง ๔ เกิดมาจากอวัยวะของพระพรหมที่ต่างกัน และพระพรหมได้กำหนดหน้าที่ให้วรรณะทั้ง ๔ ต่าง ๆ กันไว้เรียบร้อยแล้ว
   วรรณะใหญ่ ๆ ในศาสนาพราหมณ์มีอยู่ ๔ วรรณะ ดังนี้
   ๑. วรรณะพราหมณ์ เกิดจากโอษฐ์ของพระพรหม มีสีเครื่องแต่งกายประจำวรรณะ คือ สีขาว ซึ่งแสดงถึงความบริสุทธิ์มีหน้าที่กล่าวมนต์ ให้คำปรึกษากับพระเจ้าแผ่นดิน ตลอดจนสอนมนต์ให้แก่คนทั่วไป ส่วนพวกที่เป็นนักบวชก็ทำหน้าที่สอนไตรเภทและประกอบพิธีทางศาสนา
   ๒. วรรณะกษัตริย์ เกิดจากพระอุระของพระพรหม และถือว่าสืบเชื้อสายมาจากพระอาทิตย์ สีเครื่องแต่งกายประจำวรรณะ คือ สีแดง ซึ่งหมายถึงนักรบ ทำหน้าที่รบเพื่อป้องกันหรือ ขยายอาณาจักร รวมทั้งเป็นนักปกครอง เป็นพระเจ้าแผ่นดินหรือคณะผู้ปกครองแบบสามัคคีธรรม
   ๓. วรรณะแพศย์ เกิดจากพระเพลา (ตัก) ของพระพรหม มีสีเครื่องแต่งกายประจำวรรณะ คือ สีเหลือง เป็นพวกแสวงหาทรัพย์สมบัติ ได้แก่พวกพ่อค้า คหบดี เศรษฐี และเกษตรกร
   ๔. วรรณะศูทร เกิดจากพระบาท (เท้า) ของพระพรหม มีสีเครื่องแต่งกายประจำวรรณะ คือ สีดำหรือสี อื่น ๆ ที่ไม่มีความสดใส มีหน้าที่เป็นกรรมกร ลูกจ้าง
   ๕. จัณฑาล เป็นอีกวรรณะหนึ่งซึ่งถือว่าเป็นพวกต่ำสุด คือ จัณฑาล ลูกที่เกิดจากพ่อแม่ต่างวรรณะกัน ถือเป็นพวกจัณฑาล ซึ่งจะถูกรังเกียจและเหยียดหยาม ไม่มีคนในวรรณะอื่นคบหาสมาคมด้วย การถือวรรณะอย่างรุนแรงเช่นนี้ เป็นพื้นฐานอันสำคัญอย่างหนึ่งของสังคมอินเดียทั้งก่อนพุทธกาลและในสมัพุทธกาล ที่มาhttp://www.phuttha.com
   จัณฑาล: ระบบชนชั้นของศาสนาที่กลายเป็นปัญหาสังคม 
        คนอินเดียราว 170 ล้านคน (บางข้อมูลว่าถึง 300 ล้านคน) เกิดมาในกลุ่มที่เรียกว่า อวรรณะหรือ ถูกเรียกว่าจัณฑาล หรือ อธิศูทร และคนกลุ่มวรรณะจัณฑาลคือกลุ่มที่ถูกรังเกียจ และถูกเลือกปฏิบัติมากที่สุดในสังคมอินเดียในขณะนี้
        ตามความเชื่อในศาสนาฮินดูเกี่ยวกับเรื่องวรรณะในอินเดียนั้น วรรณะมี 4 ชั้น คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร โดยมีบทบาทความสำคัญในสังคม ตามลำดับ แต่เมื่อมีการแต่งงานข้ามวรรณะ บุตรที่เกิดมาก็จัดเป็นพวกจัณฑาล
   คนวรรณะจัณฑาลถูกคนวรรณะอื่นรุมรังเกียจจนถึงกับไม่กล้าจับต้องพวกเขา กลัวว่าจะติดเชื้อโรค โดนเงาก็ยังไม่ได้ นี่เป็นคำสอนกันมาแต่โบราณและยังคงเชื่อกันจนในทุกวันนี้
      อาชีพของพวกเขาก็คืออ กวาดถนน ล้างท่อระบายน้ำ เก็บขยะ เป็นต้น ถ้าจะทำการเกษตรก็ทำได้เพียงเช่าที่เขาทำ ไม่มีสิทธิ์เป็นเจ้าของที่ดิน ไม่อนุญาตให้ใช้ของบางชนิดซึ่งคนในวรรณะอื่นๆใช้ และจะอาศัยแถวๆ กองขยะหรือตามแหล่งเสื่อมโทรม
     เมื่อเกิดมาเป็นจัณฑาลล(อธิศูทร)ก็ต้องมีชีวิตอยู่อย่างจัณฑาล และตายไปอย่างจัณฑาล ที่สำคัญพวกเขาเองก็ยอมรับว่าพวกตนถูกพระเจ้าสาปให้เกิดมาใช้กรรมใช้เวร เขาจึงเป็นคนที่แตกสลาย ไร้อนาคต สมดังคำว่าจัณฑาล(Dalit)ซึ่งแปลว่ามืดมน ไร้อนาคต
        เรื่องระบบชนชั้นวรรณะในอินเดียนั้นถูกฝังรากลึก อยู่ในวัฒนธรรมของชาวอินเดียมาอย่างช้านาน แม้จะมีกฎหมายออกมาห้ามการเลือกปฏิบัติเช่นนี้มากว่า 50 ปีแล้วก็ตาม (ตั้งแต่ปี 2498) แต่ด้วยความเชื่อที่ฝังลึกในเรื่องวรรณะนี้จึงไม่อาจจะเปลี่ยนแปลงได้โดยง่าย แม้กฏหมายเปลี่ยนไป แต่ความเชื่อของคนยังไม่เปลี่ยนแปลง มีเจตนารมณ์ทางการเมืองที่จะให้ยุติการเลือกปฏิบัติต่อคนจัณฑาล แต่อคติที่มีต่อคนกลุ่มนี้ฝังรากลึก ไม่สามารถทำให้หมดไปได้
      มีโรงเรียนรัฐบาลในอินเดียถึงร้อยละะ 38 ซึ่งเด็กจัณฑาลต้องแยกโต๊ะรับประทานอาหารกับเด็กวรรณะอื่น และมีโรงเรียนถึงร้อยละ 20 ซึ่งเด็กจัณฑาลไม่ได้รับอนุญาติให้ดื่มน้ำ ร่วมแหล่งเดียวกับเด็กวรรณะอื่นๆ ถ้าเด็กเหล่านี้ได้เข้าโรงเรียนก็จะต้องนั่งแถวหลังสุด!
        แต่ที่แย่ไปกว่านั้นน ก็คือเคยเกิดกรณีครูลงโทษนักเรียนจัณฑาลอย่างรุนแรง ชายผู้หนึ่งกล่าวว่า เขาลาออกจากโรงเรียนเมื่อ 38 ปีก่อน เพราะถูกลงโทษด้วยการตีด้วยขาเก้าอี้ เพียงเพราะจ่ายค่าเล่าเรียนไม่ตรงเวลา ในขณะที่นักเรียนคนอื่น ที่ทำแบบเดียวกับเขา แต่อยู่ต่างวรรณะกัน เพียงแค่ถูกตักเตือนเท่านั้น นอกจากนี้นักเรียนจัณฑาล ยังคงต้องนั่งอยู่หลังห้อง และไม่ได้รับการเหลียวแลจากครูผู้สอน

   เขาเล่าต่ออีกว่า ร้านขายของชำในหมู่บ้านในอุตรประเทศ ไม่ยอมรับเงินจากมือโดยตรงของลูกค้าจัณฑาล และอีกหลายหมู่บ้านที่คนจัณฑาลถูกก่อกวนรังควานเมื่อสวมเสื้อผ้าใหม่ บางคนถูกบังคับให้เหน็บกิ่งไม้ไว้ที่หลัง เพื่อให้ช่วยลบรอยเท้าเวลาเดิน หรือแม้จะจัดงานแต่งงาน ก็ยังถูกวรรณะอื่นที่อยู่ในหมู่บ้านเดียวกันกดดันให้เลิก ครูผู้หนึ่งเล่าว่า ครอบครัวของเขาเตรียมจัดงานใหญ่โต แต่ทันทีที่เขาเดินออกจากบ้าน เพื่อไปหาลูกสาว ชาวบ้านบางคนที่อยู่ในวรรณะสูงกว่า ออกมาด่าทอว่า วรรณะจัณฑาลไม่ควรมีพิธีแต่งงานที่เอิกเกริก

   แม้คนจัณฑาลยังคงถูกเลือกปฏิบัติอยู่ แต่ก็ยังคงมีการรณรงค์ตามหมู่บ้าน เพื่อให้เด็ก ๆ ได้มีโอกาสเรียนหนังสือ เพื่อให้คนจัณฑาลได้รู้สึกเชื่อมั่นว่าการศึกษา ยังคงเป็นกุญแจสำคัญของความสำเร็จ
   ื  แต่ทุกคนก็เห็นว่ามันยากอยู่ หากคนวรรณะอื่น ๆ ไม่ร่วมมือที่จะมองและปฏิบัติต่อกันให้สมกับที่เขาเป็นมนุษย์เหมือนกัน
   นักเคลื่อนไหวเพื่อคนจัณฑาลในอินเดียกล่าวว่า แม้ประเทศอินเดียจะมีโครงการส่งยานอวกาศไปยังดวงจันทร์ แต่คนจัณฑาลก็ยังถูกกดให้จมปลักอยู่กับอาชีพที่ใช้แรงงาน เช่นการล้างท่อระบายน้ำ ซึ่งแม้ว่าพวกเขาต้องการเปลี่ยนอาชีพ แต่ก็ยังคงถูกบังคับให้ทำงานประเภทนี้อยู่ต่อไป
   ต้องยอมรับว่าศาสนาสามารถส่งผลต่อชีวิตคนทั้งปัจเจกและสังคมได้อย่างลึกซึ้งและยาวนานจริงๆ 
       หากเราย้อนกลับมาดูรายละเอียดเรื่องของระบบวรรณะตามหลักความเชื่อของศาสนาฮินดู เราจะเห็นความตั้งใจของคนยุคโบราณมากขึ้น สี่วรรณะของศาสนาฮินดูมีหน้าที่เฉพาะเจาะจงของแต่ละวรรณะดังนี้ 1. พราหมณ์ มีหน้าที่สั่งสอนผู้คนให้มีความรู้ท้างด้านขนบธรรมเนียมและประเพณี 2. กษัตริย์ มีหน้าที่ปกครองบ้านเมือง 3. ไวศยะ มีหน้าที่ใช้วาจาค้าขาย 4. ศูทร มีหน้าที่แรงงาน
      ถ้าดูลึกๆๆ การที่ศาสนาฮินดูแบ่งคนออกเป็น 4 วรรณะ และให้แต่ละวรรณะมีหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไป เป็นการแบ่งแยกในเรื่องลำดับความสำคัญและลำดับศักดิ์ศรีสูงต่ำทางสังคมมาก่อน และเรื่องความยากง่ายของงานก็อาจมีส่วนประกอบด้วย
        และก็เป็นไปได้ที่ว่าา เพราะพวกเขาเวลานั้นมีแนวคิดว่า สังคมต้องมีงานหลัก 4 ประเภทนี้ และงานแต่ละประเภทนี้ต้องใช้คนที่มี "สายพันธุ์" หรือดีเอ็นเอที่แตกต่างกัน จึงจะทำได้ดี แม้เป็นคนเหมือนกันแต่ยืนส์ต่างพันธุ์ก็ทำไม่ได้หรือทำได้ไม่ดี อีกทั้งงานบางอย่างต้องการความศักดิ์สิทธิ์ของสายเลือดแท้ที่สืบต่อกันมา ซึ่งนี่ก็เป็นแนวคิดแบบโบราณ เช่นคนจะเป็นผู้ปกครองก็ต้องมีสายเลือดกษัตริย์เท่านั้น จะเป็นนักบวชก็ต้องสายเลือดพราห์มเท่านั้น
      ถ้าจะพยายามมองแง่ดีก็มองได้อีกว่าา การแบ่งแยกชนชั้นวรรณะซึ่งเป็นการแบ่งงานเช่นนี้ จะทำให้เกิดความต่อเนื่องในการถ่ายทอดความรู้ความสามารถให้กับคนในวรรณะเดียวกันไปเรื่อยๆ ก็จะกลายเป็นการพัฒนาต่อยอดความรู้ความสามารถและเทคโนโลยีไปด้วย
      แต่ก็ไม่ค่อยมีใครเชื่อทฤษฎีนี้สักเท่าไหร่
   แต่กลับเชื่อมากกว่าคือ ก็มีบางแนวคิดวิเคราะห์ว่า เรื่องระบบวรรณะนี้ จริงๆแล้วอาจเป็นแผนการของพวกกษัตริย์และพราห์มสมคบคิดกันใช้ศาสนามาอ้าง เพื่อกดหัวประชาชนซึ่งเป็นคนนอกเชื้อสายของพวกตนไม่ให้กล้าคิดแข็งข้อขึ้นมาชิงอำนาจและล้มล้างราชวงศ์ของกษัตริย์!! ซึ่งวิธีกดหัวด้วยกำลังทหารก็อาจไม่เข้มแข็งพอหรือไม่ยั่งยืนพอ เพราะประชาชนมีจำนวนมหาศาล อย่ากระนั้นเลย ให้พวกเราใช้วิธีกดหัวให้ปกครองง่ายกว่าคือใช้ศาสนาควบคุมจิตใจประชาชนไว้ ซึ่งก็จะทำให้ไม่กล้าแม้แต่จะคิด
   ซึ่งก็พิสูจน์แล้วว่าระบบที่โง่เขลาและไร้จริยธรรมขนาดนี้ยังคงได้ผลมานานนับหลายพันปี และยังคงอยู่อย่างมั่นคงจวบจนปัจจุบัน
     asqfish.wordpress.com
   ก่อนจบยังมีอีกประเด็นที่ต้องเพิ่มเติมอีกหน่อยก็คือประเด็นปัญหาเรื่องการแต่งงานข้ามวรรณะ
   แน่นอนว่า การแต่งงานโดยที่สามีภรรยาอยู่วรรณะเดียวกัน เมื่อมีลูก ลูกก็จะอยู่ในวรรณะเดียวกับพ่อแม่ และก็มักถือกันมาตลอดว่าถ้าแต่งงานข้ามวรรณะ ลูกที่ออกมาจะเป็นจัณฑาลหมด
   อย่างไรก็ดี ก็มีบางตำรา(ซึ่งก็ปรากฎในวิกิพีเดียด้วย)ก็บอกว่า ของดั้งเดิมไม่ได้เป็นอย่างนั้นเสียทีเดียว หากมีการแต่งงานข้ามวรรณะกัน จะมีวรรณะต่างกันเรียกว่าวรรณะสังกร และมีการแต่งงานข้ามวรรณะแบบที่ส่งผลดีและส่งผลไม่ดี ดังนี้
   แบบแรก การแต่งงานข้ามวรรณะแล้วส่งผลดี คือแต่งงานโดยสามีอยู่ในวรรณะที่สูงกว่าภรรยา
   -สามีวรรณะพราหมณ์ ภรรยาวรรณะกษัตริย์ จะมีลูกเป็นวรรณะมูรธาวสิกตะ
   -สามีวรรณะพราหมณ์ ภรรยาวรรณะแพศย์ จะมีลูกเป็นวรรณะอัมพัษฐะ
   -สามีวรรณะพราหมณ์ ภรรยาวรรณะศูทร จะมีลูกเป็นวรรณะนิษาทะ
   -สามีวรรณะกษัตริย์ ภรรยาวรรณะแพศย์หรือศูทร จะมีลูกเป็นวรรณะมาหิษยะ
   -สามีวรรณะแพศย์ ภรรยาวรรณะศูทร จะมีลูกเป็นวรรณะกรณะ
   ส่วนการแต่งงานที่เลว คือแต่งงานข้ามวรรณะโดยภรรยาอยู่ในวรรณะที่สูงกว่าสามี
   -ภรรยาวรรณะพราหมณ์ สามีวรรณะกษัตริย์ จะมีลูกเป็นวรรณะสูตะ
   -ภรรยาวรรณะพราหมณ์ สามีวรรณะแพศย์ จะมีลูกเป็นวรรณะไวเทหถะ
   -ภรรยาวรรณะพราหมณ์ สามีวรรณะศูทร จะมีลูกเป็นวรรณะจัณฑาล อันนี้เลวร้ายที่สุด
   -ภรรยาวรรณะกษัตริย์ สามีวรรณะแพศย์ จะมีลูกเป็นวรรณะมาคระ
   -ภรรยาวรรณะกษัตริย์ สามีวรรณะศูทร จะมีลูกเป็นวรรณะกษัตตฤ
   -ภรรยาวรรณะแพศย์ สามีวรรณะศูทร จะมีลูกเป็นวรรณะยาโยควะ
   แนวทางนี้ยังบอกอีกว่า นอกจากนี้แล้วยังมีวรรณะอื่นๆ อีก 3,000 วรรณะเกิดจากการแต่งงานของลูกของสามีภรรยาในวรรณะกษตริย์และแพศย์ และยังขึ้นกับการทำอาชีพของคนนั้นๆด้วย เช่น คนวรรณะพราหมณ์ ถ้าทำอาชีพแบบศูทร 7 ชั่วคน ก็จะเป็นวรรณะศูทร เป็นต้น และวรรณะสังกรยกเว้นจัณฑาลก็สามารถเข้าสู่ 4 วรรณะแรกได้ เช่น ตระกูลพราหมณ์ชายที่แต่งงานกับหญิงวรรณะนิษาทะมาแล้ว 7 ชั่วคน ลูกที่เกิดมาในรุ่นต่อมาจะมีวรรณะพราหมณ์
   อันนี้ก็แล้วแต่ว่าจะเชื่อหรือไม่ แต่ที่แน่ๆคือ ภาคปฏิบัติที่ทำในสังคมจริงกันมาตลอดไม่ได้ยึดตามนี้
   และไม่ว่าใครจะมองอย่างไร แต่ผู้เขียนถือว่า เรื่องวรรณะมันก็คือเรื่องเดียวกับการเหยียดผิว (apathied) เหยียดเชื้อสายหรือเหยียดเชื้อชาติ (racism) เหยียดเพศ (sexism) และเหยียดศาสนา (sectism) ดีๆนี่เอง เพียงแต่ใส่เรื่องราวสตอรี่ว่ามีประวัติศาสตร์เชิงเทพนิยายประกอบเข้าไปให้ฟังดูขลังขึ้น
   -----
   ดูวีดีโอเกี่ยวกับคนวรรณะจัณฑาล เรื่อง "The Untouchable"
   http://youtu.be/15elGwkFUYE

   คัดลอกจาก  
   ต่ำกว่าจัณฑาล!!!
   วรรณะนี้เรียกว่า "มหาจัณฑาล" เรียกในภาษาฮินดีว่า mahadalit
   จำได้ไหมว่าจัณฑาลแปลว่าอะไร? แปลว่า มืดมน สิ้นหวัง ไร้อนาคต ครับ และเมื่อเป็นมหาจันฑาลก็ย่อมต้องแปลว่ายิ่งกว่านั้น
   คนในวรรณะ "มหาจัณฑาล" นี้จะเป็นกลุ่มที่ยากจนแสนเข็ญที่สุดในหมู่พวกจัณฑาลด้วยกัน และถูกรังเกียจมากที่สุดด้วย
   เมื่อเร็วๆนี้ที่อินเดียเกิดภัยน้ำท่วม คนอินเดียหลายร้อยคนต้องอพยพไปอยู่ในศูนย์บรรเทาทุกข์ที่รัฐบาลจัดสรรให้ โดยทุกคนจะได้รับแจกอาหารเป็นข้าวและมันบดให้รับประทานกันวันละสองมื้อ
   ปรากฏว่า คนในวรรณะสูงกว่าก็เรียกร้องให้ทางการแยกครัวแยกเตาที่ทำอาหารให้พวกมหาจัณฑาลต่างหากจากของพวกเขาด้วย
   ยังไม่พอ เรื่องวรรณะยังมีผลลามไปถึงสิ่งอื่นๆด้วย ที่พักก็ต้องแยกต่างหากและแน่นอนว่าต้องสภาพแย่กว่า เงินช่วยเหลือก็ไม่ได้ แผ่นยางสังเคราะห์ที่ใช้คลุมที่พักที่ได้รับแจกก็ต้องสีต่างและคุณภาพแย่กว่า
   เรื่องของศาสนานี่บางทีก็ทำให้สามัญสำนึกแห่งความเป็นมนุษย์ของคนเราบกพร่องเอาได้เหมือนกันครับ

   โดย ดร.ศิลป์ชัย เชาว์เจริญรัตน์ เผยแพร่ครั้งแรก 25 มิถุนายน 2012
   คัดลอกจาก
   http://www.oknation.net/blog/Nomades/2013/08/05/entry-1


ดร.เอ็มเบ็ดก้าร์ เพชรในสลัม
โดย...พระอัครเดช โลภะผล
วัดฉาง ต.บางปรอก อ.เมือง จ.ปทุมธานี
(เนื้อหาและภาพประกอบเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน) 
           

        
            ประเทศอินเดียได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีศาสนาและลัทธิต่างๆรวมอยู่ด้วยกันมากมายหลากหลายศาสนา หลากหลายลัทธิซึ่งคำสอนต่างๆนั้นก็มีอยู่มากมายแต่ประเทศอินเดียนั้นมีศาสนาหลักคือ ศาสนาพราหมณ์ หรือศาสนาฮินดูในปัจจุบัน ชาวอินเดียเชื่อว่าพวกเขาเกิดมาจากส่วนหนึ่งของพรหมและหากปฏิบัติโยคะหรือการทรมานตนต่างๆให้เต็มที่แล้วก็จะสามารถเข้าถึงพรหมันกลับเข้าไปเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพรหมอีก ศาสนาพราหมณ์นั้นเป็นศาสนาที่มีอายุยืนนานแทบจะมาก่อนศาสนาอื่นๆในโลกหรืออาจจะเกิดก่อนศาสนาใดๆในโลกก็ว่าได้เพราะว่ามีอายุกว่า 3,000 ปี และศาสนาพราหมณ์นั้นมีเอกลักษณ์ที่เด่นอีกอย่างหนึ่งคือระบบวรรณะซึ่งมหาตมะคานธีได้กล่าวเอาไว้ว่า ระบบวรรณะเป็นเอกลักษณ์ของประเทศอินเดียในวรรณะทั้ง 4 นั้นมี
   
               • วรรณะกษัตริย์ ทำหน้าที่ปกครองบ้านเมือง
               • วรรณะพราหมณ์ ทำหน้าที่สั่งสอน ทำพิธีทางศาสนา
               • แพทย์ ทำหน้าที่ทำอาชีพค้าขายต่างๆ
               • ศูทร ทำหน้าที่ทำอาชีพกสิกรรมต่างๆ
   
               แต่ยังมีอีกวรรณะหนึ่งซึ่งถือว่าไม่เป็นที่ยอมรับของสังคมอินเดียซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นกาลกินีของประเทศอินเดียเลยก็ว่าได้วรรณะนั้นก็คือวรรณะจัณฑาลคนในวรรณะนี้ทำหน้าที่ล้างส้วม เก็บขยะงานหนักๆต่างๆ ที่อยู่ก็ไม่มีเป็นของตนเอง อาหารบางครั้งก็ต้องเก็บหากินตามกองขยะ วรรณะจัณฑาลนี้ยังสามารถแบ่งออกได้อีกเป็น 3 จำพวก คือ
   
               • พวกที่แตะต้องไม่ได้
               • พวกที่มองด้วยไม่ได้
               • พวกที่พูดคุยด้วยไม่ได้
   
               เพราะเหตุนี้เองวรรณะจัณฑาลจึงเป็นที่รังเกียจของวรรณะทั้งสี่ ซึ่งถือว่าเป็นอวรรณะ มหาตมะคานธีได้กล่าวไว้ว่า วรรณะจัณฑาลถือเป็นความอัปยศของสังคมฮินดูและการถือระบบวรรณะในประเทศอินเดียก็ได้มีการสืบทอดกันต่อมา
  
             จนกระทั่งมีเพชรเม็ดงามได้บังเกิดขึ้นในหมู่ของชนจัณฑาลนั่นก็คือ ดร.เอ็ม  เบ็ดการ์ หรือในตอนเด็กๆมีชื่อว่าพิม โดยดร.เอ็มเบ็ดก้าร์นั้นตั้งแต่เล็กโดนระบบวรรณะกดขี่ ข่มเหง รังแก ไม่ว่าจะเป็นในโรงเรียนที่ห้ามนั่งเรียนโต๊ะเดียวกันกับคนวรรณะอื่นๆ การจะดื่มน้ำจากที่สาธารณะก็ต้องอาศัยเพื่อนช่วยกรอกน้ำเข้าปากให้โดยที่ห้ามสัมผัสกับบ่อน้ำโดยเด็ดขาด มีอยู่ครั้งหนึ่งพิมต้องการเดินทางไปเยี่ยมบิดาของเขาจึงได้ขอเช่าเกวียนเพื่อเดินทาง แต่พอเดินทางไปได้สักพักคนขับเกวียนรู้ว่า พิมเป็นคนวรรณะจัณฑาลก็ถูกขับไล่ลงจากเกวียน เพราะกลัวว่าความอัปมงคลจะมาติดที่เกวียน
  
            แต่พิมเองก็สงสัยว่าทำไมไม่กลัวความอัปมงคลติดเงินค่าจ้างเดินทางหรืออย่างไร ด้วยความคับแค้นใจที่มีอยู่ทำให้พิม ตั้งใจ แน่วแน่ว่า สิ่งเดียวที่จะยกระดับควาบเป็นคนจัณฑาลของเขาได้ก็คือการศึกษาเพราะการศึกษาจะช่วยให้เขาอยู่รอดในสังคมอินเดียได้ เขาจึงได้ตั้งใจศึกษาหาความรู้อย่างเต็มความสามารถ จนวันหนึ่งครูใจพระที่คอยช่วยเหลือพิมอยู่บ่อยๆได้ให้พิมใช้นามสกุลเดียวกันกับเขาแต่เดิมพิมนามสกุลว่า สักปาล ซึ่งใครได้ยินก็รู้ว่าเป็นคนจัณฑาล ได้รับการเปลี่ยนนามสกุลใหม่ว่า เอ็มเบ็ดก้าร์
  

               ซึ่งเป็นนามสกุลของคนในวรรณะพราหมณ์ แต่ว่าเอ็มเบ็ดก้าร์ที่เปลี่ยนนามสกุลใหม่ที่แท้ก็คือ พิม สักปาล นั่นเอง จึงทำให้พิมต้องทนรับความกดขี่ข่มเหงรังแกต่อไป เมื่อเอ็มเบ็ดก้าร์จบปริญญาตรีแล้วก็ได้ทุนไปเรียนต่อที่ต่างประเทศ ในต่างประเทศนั้นเอ็มเบ็ดก้าร์เห็นว่าไม่มีการถือวรรณะใดๆทั้งสิ้นทุกคนต่างเป็นอิสระเสรี มีสิทธิเท่าเทียมกัน ไม่มีการกดขี่ข่มเหงใดๆ เลย ซึ่งคนในวรรณะพราหมณ์ที่มาเรียนต่อที่ต่างประเทศก็พักอยู่ร่วมห้องเดียวกับเอ็มเบ็ดก้าร์โดยที่เขาไม่ได้กลัวความอัปมงคลมาติดตัวเขาแต่อย่างใด
  
              เขาก็ปฏิบัติกับเอ็มเบ็ดก้าร์เหมือนคนทั่วๆไป เอ็มเบ็ดก้าร์ตั้งใจเรียนเป็นอย่างมากเขาใช้วันๆหนึ่งอ่านหนังสือวันละไม่ต่ำกว่า 18 ชั่วโมง จนเอ็มเบ็ดก้าร์เรียนจบปริญญาโท และปริญญาเอก ทางด้านเศรษฐศาสตร์ และทางด้านรัฐศาสตร์ ปริญญารวมแล้วไม่ต่ำว่า 7 ปริญญา ซึ่งถือได้ว่าเป็นคนจัณฑาลคนแรกเลยก็ว่าได้ที่เรียนจบเป็นด๊อกเตอร์ เมื่อเรียนจบเขากลับมาประเทศอินเดียเพื่อทำงานชดใช้เงินที่เรียนไปแต่ก็ยังไม่วายถูกระบอบวรรณะข่มเหงอีก แม้ดร.เอ็มเบ็ดก้าร์จะเป็น ด๊อกเตอร์แล้วแต่ความเป็นจัณฑาลก็ยังคงมีอยู่ในตัวเขาอยู่นั่นเองการทำงานโดยไม่มีเพื่อนร่วมงาน และลูกน้องก็ถือวรรณะทำให้ดร.เอ็มเบ็ดก้าร์รู้สึกท้อแท้เป็นอย่างมาก เขาจึงหนีไปเป็นอาจารย์สอนพิเศษในมหาวิทยาลัย และได้สอนเป็นที่โดดเด่น อาจารย์หนุ่มผู้มีไฟแรงสอนเรื่องที่ยากให้เข้าใจง่าย
  
               จึงมีผู้สนใจเข้าฟังในชั่วโมงที่ดร.เอ็มเบ็ดก้าร์บรรยายเป็นจำนวนมาก แต่แล้วเหมือนถูกกลั่นแกล้งเมื่อมีคนรู้ว่าดร.เอ็มเบ็ดก้าร์เป็นคนจัณฑาลจึงทำให้ถูกรังเกียจตั้งแต่ในวันนั้นเป็นต้นมา ดร.เอ็มเบ็ดก้าร์จึงไปเปิดสำนักงานทนายความเพื่อว่าความให้แก่คนในวรรณะจัณฑาล บางครั้งว่าความให้ฟรีๆก็มี และได้จัดพิมพ์หนังสือ มุขนายกเพื่อเป็นปากเป็นเสียงแก่คนในวรรณะจัณฑาล โดยเรียกร้องสิทธิต่างๆที่คนในวรรณะจัณฑาลไม่ได้รับเท่าเทียมกันกับคนในวรรณะอื่นๆ ให้มีสิทธิเท่าเทียมกันที่จะได้รับ
  
             ในตอนนั้นประเทศอินเดียยังอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศอังกฤษ ดร.เอ็มเบ็ดก้าร์จึงมีโอกาสเป็นตัวแทนของชนชั้นจัณฑาลร่วมเรียกร้องความเป็นอธิปไตยและเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค ให้แก่คนวรรณะจัณฑาล เขาเคยกล่าวไว้ครั้งหนึ่งว่า สัตว์เดรัชฉานยังเอาเข้าไปอยู่ร่วมกับมนุษย์ในบ้านได้ ที่เราเป็นมนุษย์แท้ๆทำไมถึงเข้าไปอยู่ร่วมกันไม่ได้ เพราะการที่เคยถูกระบบวรรณะกดขี่ ข่มเหง รังแกมาก่อนจึงทำให้ดร.เอ็มเบ็ดก้าร์เป็นผู้นำที่สำคัญของชนชั้นวรรณะจัณฑาลในการที่จะให้ประเทศอินเดียมีระบบวรรณะเดียวคือวรรณะฮินดู ดร.เอ็มเบ็ดก้าร์ได้เคยเข้าร่วมประชุมครั้งสำคัญๆหลายครั้ง เช่นการประชุมโต๊ะกลม เพื่อเรียกร้องเอกราชและล้มล้างระบบวรรณะ
  

               แต่มหาตมะคานธีกล่าวไว้ว่า เอกราชมาก่อน เรื่องอื่นทีหลัง โดยไม่ได้ให้ความสนใจต่อเรื่องอื่น วิธีการเรียกร้องสิทธิของคนจัณฑาลโดยการนำของดร.เอ็มเบ็ดก้าร์นั้น เขาใช้วิธีการ เรียกร้องอย่างสงบเพื่อไม่ให้มีการกระทบกระทั่งกันอย่างรุนแรง หรือที่เรียกว่า  สัตยาเคราะห์ นั่นคือการใช้มวลชนเข้าไปไหว้เทพเจ้าฮินดูในโบสถ์ โดยเรียกร้องให้เปิดโบสถ์เพราะพวกเขาถือว่า พวกเขาก็นับถือศาสนาฮินดูเหมือนกันทำไมจะไหว้เทพเจ้าพวกเขาไม่ได้
  
              จากเหตุการณ์นี้ทำให้เกิดการกระทบกันถึงขั้นบาดเจ็บกันไปก็มีหลายรายเพราะพวกพราหมณ์ไม่ยอมให้วรรณะจัณฑาลเข้าไปไหว้เทพเจ้า และอีกครั้งหนึ่งที่บ่อน้ำสาธารณะซึ่งคนในวรรณะจัณฑาลห้ามเข้าไปใช้ แต่รัฐบาลสร้างไว้สำหรับคนทั่วไป จึงเกิดการรวมตัวกันขึ้นเพื่อที่จะไปดื่มจะใช้บ่อน้ำสาธารณะนั้น ก็เกิดการปะทะกันอีกแต่วรรณะจัณฑาลก็ได้เรียกร้องสิทธิของพวกเขาได้อีกครั้งหนึ่งจึงได้ดื่มจะใช้น้ำสาธารณะนั้น แต่พอหลังจากกลุ่มคนจัณฑาลจากไปแล้ว พวกพราหมณ์ได้ทำพิธีขับไล่เสนียดความอัปมงคลออกไปจากบ่อน้ำโดยมูลโคมาประกอบพิธีจึงทำให้น้ำสกปรกมาก พวกจัณฑาลได้กล่าวว่า  พวกเขาได้ดื่มและใช้น้ำเท่านั้นน้ำยังไม่สกปรกเท่ากับพิธีขับไล่เสนียดของพวกพราหมณ์เลย
  
             ในที่สุดโอกาสก็มาอยู่ในมือของดร.เอ็มเบ็ดก้าร์เมื่ออินเดียได้อิสรภาพจากประเทศอังกฤษ ดร.เอ็มเบ็ดก้าร์เป็นผู้ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งใน 7 คน ในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกของอินเดียซึ่งก็เท่ากับว่าดร.เอ็มเบ็ดก้าร์จะได้กำจัดระบบวรรณะที่ไม่เป็นธรรมของอินเดียได้สิ้นซาก เพราะการร่างรัฐธรรมนูญนั้นงานส่วนใหญ่อาจจะถือได้ว่าทั้งหมดดร.เอ็มเบ็ดก้าร์เป็นคนลงมือทำเอง การร่างรัฐธรรมนูญโดยคนที่มาจากวรรณะจัณฑาลก็เสร็จเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศอินเดียโดยใช้เวลาไม่นานนักระบบวรรณะก็ถือได้ว่าสิ้นซากไปแต่หากว่าเป็นเพียงในรัฐธรรมนูญเท่านั้น

  
           ไม่ใช่ว่าดร.เอ็มเบ็ดก้าร์ต่อสู้เพื่อความเสมอภาคแต่เพียงเท่านั้น ดร.เอ็มเบ็ดก้าร์ยังได้เผาคัมภีร์มนูซึ่งถือว่าเป็นคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาฮินดู เหตุที่


   ดร.เอ็มเบ็ดก้าร์เผาคัมภีร์นี้ก็เพราะว่าความอยุติธรรมในเรื่องระบบวรรณะได้เกิดจากคัมภีร์เล่มนี้ก็ว่าได้จึงได้ไม่ให้การยอมรับคัมภีร์นี้และได้เผาทิ้งไปดังที่กล่าวมา
   จากนั้นไม่นานดร.เอ็มเบ็ดก้าร์ได้นำหมู่ชนกว่าห้าแสนคนปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะซึ่งการกระทำของดร.เอ็มเบ็ดก้าร์ในครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นประวัติศาสตร์ของ
   ประเทศอินเดียเนื่องจากเขาได้ปลุกพุทธศาสนาให้ตื่นขึ้นมาจากอินเดียอีกครั้งหนึ่งจากการปฏิญาณตนในครั้งนั้นเขาก็ได้นับถือพระพุทธศาสนาเหตุที่ดร.เอ็ม
   เบ็ดก้าร์นับถือศาสนานั้นก็เพราะว่าพระพุทธศานาไม่มีการแบ่งแยกชั้นวรรณะให้ความเสมอภาคเท่าเทียมกันและมีความเป็นเสรีภาพมากกว่าศาสนาฮินดูที่เชื่อถือ
   ระบบวรรณะ จากเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครั้งนี้เองชาวอินเดียที่นับถือพระพุทธศาสนาเมื่อสวดไตรสรณ์คมจึงมักจะสวดคำว่า พิมฺพํ สรณํ คจฺฉามิ ต่อท้ายด้วย เพราะ
   ถือว่าดร.เอ็มเบ็ดก้าร์เป็นผู้นำความเสมอภาค เสรีภาพกลับมาสู่วรรณะจัณฑาลหรืออินเดียเกือบจะทั้งประเทศก็ว่าได้ นอกจากนี้แล้วดร.เอ็มเบ็ดก้าร์ยังได้เปิด
   มหาวิทยาลัย 2 แห่ง เพื่อเป็นที่ให้ความรู้แก่ผู้ที่ต้องการศึกษาหาความรู้โดยไม่มีการแบ่งชนชั้นวรรณะอีกด้วย ได้เรียกร้องสิทธิให้คนจัณฑาลมีสิทธิเข้ารับราชการ
   ได้เหมือนกับคนในวรรณะอื่นๆ ยกระดับความเป็นอยู่ของคนจัณฑาลให้ใช้ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยห้ามให้หากินตามกองขยะ เป็นต้น จึงถือได้ว่าดร.เอ็ม
   เบ็ดก้าร์เป็นเพชรเม็ดเอกมีค่ามากที่มาจากสลัมอย่างแท้จริง

  
  
  
   เอกสารอ้างอิงhttp://www.stou.ac.th/study/sumrit/9-55%28500%29/page1-9-55%28500%29.html

ความคิดเห็น