กระบวนการกลายเป็นชายขอบของมุสลิมพม่าในชุมชนช้างคลาน[1]


กระบวนการกลายเป็นชายขอบของมุสลิมพม่าในชุมชนช้างคลาน


   เป็น งานอีกชิ้นหนึ่งที่เล่าถึงเรื่อง มุสลิมพม่าที่ชุมชนมุสลิมช้างคลาน ผมได้อ่านงานเต็มของรายงานฉบับนี้แล้ว ต้องยอมรับว่า เป็นงานที่ดีมาก ในมุมมองที่มองจากมุสลิมพม่าในช้างคลาน หากจะสมบรูณ์ยิ่งขึ้น น่าจะมีการนำเสนอ ผลกระทบของผู้คนในพื้นที่ อีกมุมหนึ่ง คิดว่าจะเป็นอีกงานหนึ่งที่น่าสนใจ
     
   กระบวนการกลายเป็นชายขอบของมุสลิมพม่าในชุมชนช้างคลาน[1]
 
   สมัคร์ กอเซ็ม
   ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
   คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 
  บทนำ
      ประเทศ ไทยรับเอาระบบเศรษฐกิจแบบเปิดนับตั้งแต่ช่วงต้นปี 1960 ซึ่งได้ส่งผลต่อการกลายเป็นอุตสาหกรรมและการกลายเป็นเมืองอย่างรวดเร็ว  ไม่เพียงเฉพาะกรุงเทพฯ เท่านั้น แต่เมืองหลักๆ  อย่างเชียงใหม่ก็ได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนาทางเศรษฐกิจเช่นกันในขณะเดียวกันพม่าก็รับเอานโยบายต่อการลงทุนในต่างประเทศเพียงแต่ว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจในพม่าไม่ได้เป็นไปอย่างรวดเร็วเหมือนที่ เกิดขึ้นในไทย
   การพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ไม่เท่าเทียมกันนี้เองได้ส่งผลให้แรงงานพม่าจำนวนมากหลั่งไหลข้ามพรมแดนเพื่อเข้ามาหาการจ้างงานในประเทศไทย  ความ แตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมและชาติพันธุ์มีส่วนผลักดันให้เกิดการปะทะ สังสรรค์ของคนในสังคมที่มีความไม่เท่าเทียมกัน
   โดยเฉพาะเมื่อสังคมนั้นอยู่ในบริบทของสังคมเมืองจึงทำให้ภาพของชนชั้นทาง สังคมเกิดขึ้นอีกทั้งด้วยความเจริญและความมั่งคั่งได้กระจายออกไปอย่างไม่เท่าเทียมกันใน พื้นที่ของเมือง จนเกิดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสถานภาพทางสังคม ซึ่งไม่เพียงแต่ช่องว่างทางสังคมที่มากขึ้น
   แต่ว่ายังเบียดบังให้ชนชั้นด้อยกว่าทางด้านทุนและทรัพยากรทางเศรษฐกิจและ สังคม ต้องตกไปอยู่ในสังคมชายขอบและความพยายามที่จะอยู่รอดของคนเหล่านี้ในสังคมบริโภคนิยมเป็นศูนย์กลางจึงจำเป็นต้องอาศัยทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดทั้งแรงงานและร่ายกายเพื่อดิ้นรน
ต่อรองกับสังคมและวัฒนธรรมศูนย์กลางอยู่ตลอดเวลา (ปิ่นแก้ว, 2546: 16) เช่นเดียวกับชุมชนที่ประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เข้ามาอยู่รวมกัน ถึงแม้ว่าจะมีความเป็นหนึ่งเดียวทางด้านศาสนาก็ตามใน รายงานฉบับนี้ ผู้ศึกษาได้ใช้วิธีการศึกษาทางด้านมานุษยวิทยาในการสังเกตการณ์และการ
   สัมภาษณ์เก็บข้อมูลโดยการพูดคุยกับแรงงานมุสลิมพม่าในเชียงใหม่โดยเฉพาะในชุมชนมุสลิมช้างคลาน จากนั้นผู้ศึกษาได้รวบรวมข้อมูลทั้งหมดในการวิเคราะห์ทางวัฒนธรรมเพื่อที่จะศึกษาถึงปัจจัยและกระบวนการในการเกิดการกลายเป็นชายขอบของคนพม่าในชุมชน มุสลิมช้างคลานซึ่งถือเป็นชุมชนศาสนาที่มีประเด็นและกรณีที่น่าสนใจในการทำความเข้าใจถึงปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ที่อยู่ร่วมอุดมการณ์อย่างเดียวกัน แต่ทว่าตั้งอยู่บนพื้นฐานของ “ความต่าง” ทั้งทางด้านชาติพันธุ์ ประวัติศาสตร์ และทางเศรษฐกิจของสมาชิกในสังคม ในท้ายที่สุดแล้วก็เพื่อที่จะสามารถเข้าใจถึงอิทธิพลที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงของสังคมในระบบทุนนิยมและบริโภคนิยมที่ถือเป็นภัยที่คุกคามอยู่ในปัจจุบัน
             
   ประเด็น: มุสลิมพม่า
       
 
 
   มุสลิม พม่าเป็นชนกลุ่มน้อยที่อยู่ในสังคมพม่าชาวพุทธ พวกเขาเป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่ยากจนที่สุดในพม่าที่กระจัดกระจายไปทั่วประเทศโดยที่ไม่ได้รับการดูแลทำให้พวกเขาจำนวนมากอพยพเข้ามาอยู่ในบริเวณชายแดนไทย-พม่า อำเภอแม่สอดจังหวัดตาก โดยส่วนใหญ่จะเข้าไปทำงานที่ใช้แรงงานหนัก แต่ทว่าการเข้ามาทำงานในเมืองไทยก็ทำให้ชีวิตของพวกเขาดีขึ้น จนกระทั่งหลังจากผ่านไป 2 ช่วงอายุคน พวกเขาก็สร้าง “อนาคต”ของตนเองขึ้นมาได้ มุสลิมพม่าจำนวนมากก็ไม่ต้องเสียภาษี บางคนเก็บเงินในปีหนึ่งจนสามารถซื้อทองได้เกือบสิบบาทส่วนเด็กที่เกิดมาก็ยังได้รับสัญชาติไทยและบางคนสามารถซื้อที่ดินเป็นของตนเองได้ อย่างไรก็ตาม เรื่องราวความสำเร็จต่างๆทำให้เกิดความดึงดูดให้มุสลิมพม่าตัดสินใจเข้ามาสร้างอนาคตของตนเองในเมือง
 ไทยเพิ่มขึ้น และด้วยวิถีชีวิตระหว่างพรมแดนที่ข้ามไปมาทุกวันจนทำให้สามารถสร้างพื้นที่ให้แก่มุสลิมพม่ามาตั้งถิ่นฐานของตนเอง และเมื่อการเข้ามาของแรงงานได้เติบโตขึ้นทำให้มุสลิมพม่าบางส่วนตัดสินใจเข้ามาทำงานในเชียงใหม่โดยเลือกชุมชนมุสลิมช้างคลานที่อยู่ในบริบทของความเป็นเมือง ความเจริญ และความเป็นมุสลิม
 
   ชุมชนมุสลิมช้างคลานในเชียงใหม่

 
 
   ชุมชน ช้างคลานตั้งอยู่ใกล้กับพื้นที่ศูนย์กลางของเมืองเชียงใหม่และเป็นชุมชนที่ เป็นจุดรวมของชาวมุสลิมหลากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ ประกอบไปด้วย คนพื้นเมือง
   มุสลิมเชื้อสายบังคลาเทศ เชื้อสายอินเดีย เชื้อสายปาทาน เชื้อสายจีนยูนนาน และเชื้อสายพม่า โดยมีมัสยิดช้างคลานเป็นศูนย์กลางของชุมชน อีกทั้งเป็นพื้นที่ที่ชาวมุสลิมพม่าเลือกที่จะเข้ามาอาศัยอยู่เพื่อมาหางาน ทำในเชียงใหม่ ทำให้ในปัจจุบันมีจำนวนมุสลิมพม่าในชุมชนช้างคลานมากถึง 2,000 คน โดยส่วนหนึ่งเป็นกลุ่มที่ย้ายมาจากอำเภอแม่สอด
และอีกกลุ่มหนึ่งอพยพมาจากรัฐฉานของพม่า
       ชาวมุสลิมพม่าเข้ามาทำงานในชุมชนและภายนอกชุมชนจนเรียกได้ว่าเป็น “อาชีพที่ทำได้ทุกอย่าง” เช่น แม่บ้าน กรรมกร ลูกจ้างร้านอาหาร หรือแม้แต่ขอทาน โดยมีอัตราค่าแรงงานอยู่ที่ 70-150 บาทต่อวัน อีกทั้งนอกจากที่พวกเขาไม่ใช่เป็น “คนไทย”แล้ว หากเปรียบเทียบกับมุสลิมกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆในชุมชนพวกเขาถือเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ยากจนที่สุดในชุมชนช้างคลานและส่วนมากพวกเขาก็เลือกที่จะเป็นแรงงานให้กับมุสลิมในชุมชนเพื่อความอยู่รอดของตนเอง
   ดัง กล่าวชี้ให้เห็นว่า ชุมชนช้างคลานเป็นตัวอย่างหนึ่งที่มีการผนวกกลืนความแตกต่างระหว่างศาสนาและชาติพันธุ์เข้าด้วยกันซึ่งถือว่าเป็นชุมชนมุสลิมแห่งใหญ่ของเชียงใหม่ที่มีความหลากหลายแต่ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในการมองความแตกต่างภายนอกและภาพลักษณ์เป็นตัวแบ่งชี้วัดความสูงต่ำบนล่างของคน  อีกทั้งด้วยบริบทต่างรายล้อมเข้ามามีอิทธิพลขับเร่งกระบวนการที่เรียกว่า “ความเป็นชายขอบ” (Marginality) จึงทำให้ผู้คนในชุมชนเกิดการแย่งชิงพื้นที่ของตนเองในการดำรงชีวิตอยู่รอด และรักษาความเป็นตัวตนเอาไว้
 
   การซ้ำเติมความเป็นชายขอบ

 
   ใน ฐานะของความเป็นชุมชนมุสลิม ชาวมุสลิมพม่ายังถูกจัดอยู่ในสถานะภาพที่ต่ำที่สุดในชุมชนเพราะนอกเหนือจาก
   พวกเขากลายเป็นแรงงานให้แก่คนไทยแล้วพวกเขายังเป็นแรงงานหนักราคาถูกอีกด้วย พวกเขาคิดว่าตนเองเป็น “สมาชิก”ของชุมชน แต่ก็ไม่สามารถผนวกรวมเข้าไปในชุมชนได้มากนักพวกเขายังเป็นกลุ่มคนที่ไม่ได้รับการกล่าวสลามทักทายจากมุสลิมคนอื่นๆยามเมื่อพบหน้ากันตามริมถนน ร้านน้ำชา หรือแม้แต่ในมัสยิด
   ทั้งนี้อาจเป็นเพราะชาวมุสลิมพม่าบางคนมานั่งขอทานที่หน้ามัสยิดบางคนก็พยายามเข้าไปสลามมุสลิมที่มาละหมาดพร้อมกับแบมือเป็นนัยเพื่อขอเงินทำให้มุสลิมในชุมชนไม่ชอบที่พวกเขามีพฤติกรรม “สลามแบมือ” เช่นนี้ ซึ่งยิ่งทำให้ภาพลักษณ์ของมุสลิมพม่าถูกตอกย้ำใน “เรื่องความจนและความสกปรกไม่น่าไว้วางใจ” ให้แก่มุสลิมในชุมชน จนกระทั่งเป็นเหตุให้ทุกคนเบือนหน้าหนี และไม่ต้อนรับการเข้ามาของพวกเขา
 
   ชีวิตของฮูเซ็น
 
   ฮู เซ็น ทำงานที่ร้านขายข้าวสารและพักอาศัยอยู่กับภรรยาที่อยู่ใกล้ที่ทำงาน เขามีบัตรต่างด้าว หรือ บัตรประจำตัวผู้ไม่มีสัญชาติไทย (บัตรสีชมพู)และบัตรประกันสุขภาพของผู้ไม่มีสัญชาติไทย หรือ บัตรส้ม เขาเล่าว่า
   “เขาเองก็มาจากที่แม่สอดเหมือนกัน แต่ว่าไม่สามารถกลับไปได้ ตำรวจมันเยอะ อยู่ที่นี่ก็ดีอยู่แล้ว กับตำรวจที่นี่ก็สนิทคุ้นเคยกันดีถึงแม้ว่าที่แม่สอดชาวพม่าจะอยู่ด้วยกันดี และรู้สึกสบายกว่า แต่พอมาอยู่ช้างคลานก็มีงานทำที่ดีกว่า งานที่ทำอยู่ก็มีรายได้ประมาณ 5,000บาท ในแต่ละเดือนก็มีค่าใช้จ่ายค่าเช่าห้อง ค่าน้ำค่าไฟประมาณเดือนละ1,760 บาท รวมถึงค่ากินอยู่ แต่เขาก็ยังพอมีเงินเก็บบ้าง” ในการทำบัตรแต่ละครั้งเมื่อบัตรหมดอายุก็จะจ่ายค่าทำบัตรทั้งสองแบบ รวมกัน 3 พันกว่าบาทต่อปี และต้องทำทุกปี”
       นอกจากนี้การจะเข้ามาอยู่ที่ช้างคลานของมุสลิมพม่าไม่ใช่เป็นเรื่องที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ เพราะพวกเขาจะต้องเสียเงินหลายบาทเพื่อให้ตัวเองอยู่อย่าง “ถูกกฎหมาย” อีกทั้งการเอาผลประโยชน์จากผู้ที่มาเดินเรื่องกฎหมายให้เป็นคนที่พวกเขาเช่าบ้านอาศัยอยู่ด้วย โดยเรียกเก็บเงินค่าเดินเรื่องประมาณ 1,000 บาทต่อคน
 
 
   แรงงานหนัก ราคาถูก และ “มุสลิมด้วยกัน”
 
 
 
   คน พื้นที่หลายคนเลือกที่จะจ้างแรงงานพม่าเพราะว่า “อย่างน้อยก็เป็นมุสลิม” เขาคิดคำนวนผลประโยชน์แล้ว “มันคุ้มค่า ราคาก็ไม่แพงแถมให้เงินไปก็ได้บุญอีก เพราะเป็นมุสลิม”
   ซึ่งดูเหมือนเป็นแง่ดีและเกิดประโยชน์ร่วมกัน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงนั้นการทำงานตั้งอยู่บนรากฐานของผลประโยชน์สูงสุด  มุสลิมพม่าบางคนที่ทำงานในชุมชนไม่สามารถปฏิบัติศาสนกิจได้เพราะมันนอกเหนือจากเวลาการทำงานของแรงงานต่างด้าวควรจะ เป็น พวกเขาต่างแปลกใจว่าทำไมนายจ้างที่เป็นมุสลิมละหมาดอยู่ครบทุกเวลาแต่ปรากฏว่าไม่ได้นึกถึงว่าแรงงานที่จ้างมาก็เป็นมุสลิมเหมือนกันมีนายจ้างน้อยมากที่จะเปิดพื้นที่ให้แรงงานมุสลิมพม่าได้ละหมาดในช่วงเวลา การทำงาน
 
   อิสรภาพที่ไม่เคยมี, “พม่าครองเมือง!”
 
   มุสลิม พม่าที่มาอยู่ช้างคลาน บ้านเดิมของพวกเขาถูกกดขี่จากการปกครองแบบเผด็จการ การใช้ชีวิตที่ถูกบังคับมาตลอด เมื่อมาอยู่ที่ชุมชนช้างคลานทำให้พวกเขาสามารถทำตามใจอะไรก็ได้บางครั้งสิ่งนั้นคนพื้นที่มองว่ามันเกินกว่าที่จะรับได้ เพราะคนพม่ามักจะบ้วนน้ำหมากเปรอะไปทั่วจนทำให้มันกลายเป็นภาพลักษณ์ในแง่ลบ ขาดวัฒนธรรม และสกปรก
   แต่ว่าการเข้ามาของมุสลิมพม่าในชุมชนนี้กลายเป็นสิ่งที่คนพื้นที่มองว่าภัยคุกคามจากการเข้ามาของคนพม่าจะนำปัญหามาให้แก่ชุมชน อย่างไรก็ตามการเข้ามาอยู่ในช้างคลานเป็นสิ่งที่ทำให้ชีวิตของเขาเติมเต็มได้ชีวิตความเป็นมุสลิมและการทำงานหารายได้มันสร้างชีวิตใหม่ที่ดีให้เขาจึงเกิดการดึงเอาเพื่อน พี่น้องครอบครัวของเขาจากบ้านเดิมเข้ามาอาศัยที่นี่ มุสลิมพม่าเลือกที่เอาชุมชนช้างคลานเป็นถิ่นหลักปักฐานเพื่อการทำงาน และด้วยเป็นชุมชนที่มีมัสยิดเป็นศูนย์กลาง มีความเป็นสังคมมุสลิมก็ยิ่งทำให้คนพม่าต้องการที่จะเข้ามาอยู่ร่วมพวกเขาก็เพียงต้องการอยากมีชีวิตในแบบที่เขาเคยเป็น
   เพียงแต่วัฒนธรรมความเป็นอยู่ของคนมันต่างกัน การมองเห็นคุณค่าในสิ่งต่างๆก็ต่างกันไปด้วย
 
   วันอีดทั้งสอง: ภาพสะท้อนความเป็นชายขอบ
 
 
 
   พี่ ฟารีดา เป็นคนขายหมากให้กับคนพม่า เธอบอกว่า “คิดถึงที่แม่สอดมาก ในช่วงวันอีดที่นั่นสนุกมาก คึกคักและเป็นกันเอง แตกต่างจากที่ช้างคลาน เพราะไม่ได้ออกไปไหน ก็ไม่รู้ว่าจะเดินไปไหน ไปบ้านใคร” ในวันอีด มุสลิมพม่าที่ช้างคลานจะรู้สึกถึง “ความเป็นคนพลัดถิ่น” เหมือนเป็นคนที่อยู่ผิดที่ผิดเวลา ไม่รู้ว่าตนเองจะอยู่แห่งหนใดในชุมชนในระดับชีวิตประจำวัน พวกเขายังพอสามารถที่จะแสดงตัวตนอะไรได้บ้างในการต่อสู้กับคนในพื้นที่เพื่อเอาตัวเองให้อยู่รอด แต่ว่าวันอีดวันรื่นเริง วันที่มุสลิมทั้งเชียงใหม่จะไปมาหาสู่กันเยี่ยมเยียนกันตามกลุ่มพี่น้อง เครือญาติ หรือความเป็นพี่น้องมุสลิม แต่มุสลิมพม่าเหมือนบุคคลล่องหน ไม่มีใครมาทักทายสลามกับพวกเขาหรือการขอมาอัฟ อีกทั้งในวันอีดพวกเขายังคงต้องทำงานโดยเฉพาะแม่บ้านชาวพม่าต้องทำงานหนักกว่าเดิมหลายเท่าในการจัดเลี้ยงอาหาร ให้มุสลิมในชุมชน
 
   “หม่องวางระเบิดที่มัสยิดช้างคลาน”
 
   หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น เชียงใหม่นิวส์ ฉบับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 ได้เสนอข่าวว่า: “จาก กรณีเกิดเหตุระเบิดขึ้นในมัสยิดช้างคลาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่ จนทำให้นายอาซิซ ชาวพม่าที่ทำงานทำความ

ชมรมกองทุนมุสลิมพม่าจังหวัดเชียงใหม่
         
                       
       
         กลุ่มมุสลิมพม่าคิดได้รวมกลุ่มก่อตั้ง “ชมรมกองทุนมุสลิมพม่าจังหวัดเชียงใหม่” ขึ้นมา ภายใต้ความขมขื่นและการเลือกปฏิบัติภายในชุมชน ทำให้มุสลิมพม่ารู้สึกว่าตนเองจะต้องร่วมมือกันในการรวมกลุ่มและสร้างองค์กร ในการช่วยเหลือมุสลิมพม่าที่กระจายออกไปทำงานในที่อื่นๆ ในเชียงใหม่ เพื่อช่วยเหลือมุสลิมพม่าในเรื่องของศาสนาต่าง เช่น เวลามีคนตาย การแต่งงาน การทำงานในสถานประกอบการต่างๆ อีกทั้งการรวมตัวกันเป็นขบวนการทางสังคมเพื่อเรียกร้องสิทธิต่างๆ และที่สำคัญคือ การรวมตัวกันเพื่อช่วยเหลือกันโดยไม่ต้องหลบซ่อนหรือว่ารอคอยการช่วยเหลือ จากส่วนกลางเพียงอย่างเดียว ดังกล่าวนั้น อำนาจเกิดขึ้นได้ทุกที่ แม้ที่ที่ไร้อำนาจมากที่สุด เพราะว่าอำนาจมีทั้งที่เป็นครอบงำและด้านที่สร้างสรรค์ อีกทั้งไม่มีอำนาจใดครอบงำได้เบ็ดเสร็จตลอดเวลาในพื้นที่ที่มีการต่อสู้ (อานันท์, 2548:214) และด้วยเหตุผลจากการที่ถูกสังคมมองว่าเป็นพวกที่ชอบตีกัน แย่งผัวแย่งเมีย ทำให้กลุ่มชมรมมีมาตรการในการจัดระเบียบโดยการออกทะเบียนสมรสขึ้นเพื่อใช้ใน การกำหนดความสัมพันธ์ของประชากรของพวกเขาให้แน่นอน ไม่ให้มีกรณีข้อพิพาทเหมือนในอดีต เพราะการที่สังคมมองเอาเรื่องนี้เป็นภาพยึดติดให้พวกเขา มันก็เป็นการง่ายและอันตรายที่สุดในการที่จะเอาเรื่องนี้มาใส่วาทกรรมทาง ศาสนา เพราะว่าการปะทะประสานวาทกรรมทางศาสนาก็อาจมีทิศทางของการผนวกกลืน (Incorporation) หรือปฏิเสธ (Negation) ก็ได้ อาจนำเอาเข้าไปโยงเรื่องของจริยธรรม หรือศีลธรรมต่างๆ แล้วนำไปนิยามให้มุสลิมพม่ากลายเป็นคนผิดแปลกของสังคม
               
                 การสร้างบ้านหลังใหม่?                           
       
         ตามแนวคิดของ Gupta and Ferguson (1997) ในการพิจารณาการสร้างพื้นที่ (place) ใน ฐานะที่ถูกสร้างขึ้นมาในความสัมพันธ์เชิงพื้นที่และความสัมพันธ์ทางสังคม ซึ่งมันมาเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางประวัติศาสตร์และวาทกรรมในการสร้าง พื้นที่ (place making) ทำให้พื้นที่ที่สร้างไม่มีความมั่นคง (instable) แต่ว่ามีการปรับขอบเขตของพื้นที่ มีการช่วงชิงความหมาย (contestation) ที่ เกิดขึ้นในการต่อรองในรูปแบบต่างๆ ของปฏิสัมพันธ์เชิงอำนาจที่เหลื่อมล้ำระหว่างกลุ่มต่างๆ ที่เกี่ยวข้องนั้นปรากฏชัดเจนอยู่บ้างในการศึกษามุสลิมพม่าที่ช้างคลาน แต่ก็มีความต่างไปจากชุมชนมุสลิมพม่าที่ อ.แม่สอด จ.ตาก เพราะว่าด้วยบริบทของประวัติศาสตร์ที่ต่างกัน การเข้ามาในชุมชนช้างคลาน คนพม่าเข้าในช่วงที่มีการเจริญเติบโตและมีความเป็นเมืองสูง อีกทั้งการเข้ามาเป็นกลุ่มหลังสุดทำให้คนพม่าไม่สามารถมีอิทธิพลต่อการจับ จองและใช้พื้นที่ได้เช่นเดียวกับที่แม่สอด ด้วยความที่แม่สอดเป็นพื้นที่ชายแดนไทย-พม่า ทำให้การติดต่อไปมาของคนทั้งสองประเทศเกิดการเปลี่ยนแปลงต่อการตั้งถิ่นฐาน ของมุสลิมพม่า แต่ในส่วนของช้างคลานนั้นกลุ่มที่เข้ามาตั้งรกรากกลุ่มแรกเป็นเชื้อสาย ปากีสถาน และดำรงอยู่มาได้หลายชั่วอายุจนเกิดการผสมกลมกลืนกลายเป็นคนเมืองไปหมด จึงทำให้มุสลิมพม่าเข้ามาอยู่ในช้างคลานในฐานะกลุ่มที่อพยพมาใหม่ เพื่อมาหางานทำมากกว่าที่จะมาหาบ้านใหม่อย่างที่แม่สอด ถึงอย่างนั้นมุสลิมพม่าก็พยายามที่จะมีส่วนในการใช้พื้นที่ของสังคมส่วนรวม และใช้ความเป็นมุสลิมในการเข้ามาอยู่ร่วมกันกับคนหลากหลายชาติพันธุ์ในชุมชน ช้างคลานแห่งนี้
       
         สรุปผลการศึกษา:
       
         (1). บริบทของกระบวนสร้างความเป็นชายขอบของมุสลิมพม่า
     
               
         กระบวนการกลายเป็นชายขอบของมุสลิมพม่าเกิดมาจากบริบทใหญ่ๆ อยู่ 3 ประการคือ ประการแรก บริบทรัฐชาติ ในเรื่องความมั่นคง การหวาดระแวงต่อความไม่สงบของประเทศ/รัฐ ทำให้เกิดพฤติกรรมจับจ้องพฤติกรรมต่อสังคมมุสลิมโดยรวม แล้วมุสลิมพม่าก็เป็น “แพะ” ที่เป็นผู้ก่อเหตุและสร้างความไม่เสถียรภาพต่อมุสลิมในสังคม เพราะว่าเป็นกลุ่มคนแปลกหน้าที่เข้ามาใหม่ และ “ไม่น่าไว้วางใจ” ดังที่ปรากฏชัดเจนในเหตุการณ์การวางระเบิดที่มัสยิดช้างคลาน อันเป็นเรื่องของการเข้าใจผิด จนเป็นสาเหตุหนึ่งที่สำคัญในการทำให้มุสลิมพม่าถูกตกเป็นเป้าสายตาของคนส่วน รวม จากเหตุการณ์นี้ทำให้มุสลิมในชุมชนพยายามสร้างความรู้สึกแปลกแยกให้แก่ มุสลิมพม่าโดยใช้อำนาจในการกดทับ กีดกันสิทธิ ตลอดจนการจำกัดในเรื่องของพื้นที่ เวลา และความสัมพันธ์
       
         ในประการต่อมาคือ บริบทของทุนนิยม ด้วยเพราะแรงงานพม่าเป็นแรงงานราคาถูก ซึ่งเป็นวาทกรรมที่ถูกทั้งรัฐและปัจเจกสร้างและสานต่อวาทกรรม อีกทั้งด้วยการกระแสทุนนิยมเน้นความพึงพอใจสูงสุด ทำให้เกิดการแสวงหากำไรมากที่สุดด้วยต้นทุนที่ต่ำ จึงเป็นเหตุทำให้คนพม่าถูกดึงเข้าสู่กระบวนการของทุนนิยมและความเป็นเมือง จนเกิดความแปลกแยกในสถานภาพและบทบาทของตนเองต่องานที่ต้องทำ เช่นกรณีของมุสลิมพม่าบางคนต้องไปทำงานในสถานบริการบางประเภทที่ขัดกับคำสอน ทางศาสนา ก็ยิ่งทำให้ภาพลักษณ์ของพวกเขากลายเป็นสิ่งที่วิพากษ์บนระดับของศีลธรรมโดย คนในชุมชน อีกทั้งการที่ต้องเป็นคนใช้แรงงานราคาถูกก็ยิ่งทำให้สถานภาพทางสังคมของ มุสลิมพม่าถูกลดต่ำลงไปด้วย
       
         ประการสุดท้ายคือ บริบททางชาติพันธุ์ ด้วยปัจจัยของความแตกต่างทำให้อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ถูกจับขั้วในระดับที่ ต่างกัน ซึ่งเกิดขึ้นจากการมองว่า “ความต่างเป็นภัยคุกคาม” และไม่สามารถที่จะเข้ามาผสมกลมกลืนกันได้ จึงทำให้มีการตอกย้ำหรือสร้างภาพลักษณ์ขึ้นมาใหม่โดยการเอาลักษณะด้อยที่ ปรากฏเห็นชัดมาสร้างวาทกรรมเพื่อทำให้เกิดการสร้างภาพความจริง จนกระทั่งกลายเป็น การกักขังภาพลักษณ์ หรือ Stereotype ขึ้นมา
       
         ด้วย บริบทดังกล่าวทำให้เกิดภาพของชนชั้นทางสังคมขึ้น ผ่านระบบความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียม จึงเป็นเหตุที่นำไปสู่กระบวนการกลายเป็นชายขอบ เพราะว่าความเป็นชายขอบถูกสร้างขึ้นบนความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ไม่เท่าเทียม กันในมิติต่างๆ ซึ่งแนวคิดของ Tsing (1993) มองว่าสภาวการณ์ของการถูกทำให้กลายเป็นชายขอบ คนชายขอบเองก็ไม่ได้จำนนต่อการถูกเบียดขับให้ตกอยู่ในพื้นที่ชายขอบเพียง อย่างเดียว แต่ได้พยายามในการตอบโต้ และการป้ายตนเองออกจากภาวะชายขอบด้วย “การตีความใหม่” (reinterpret) หรือ “การนิยามใหม่” (redefine) เกี่ยวกับความเป็นชายขอบของตนเอง ควบคู่ไปกับการนิยามกลุ่มที่มาเกี่ยวข้องใหม่ เพื่อนำไปสู่การเปิดพื้นที่ และเพื่อการขยายขอบเขตของพื้นที่ทางสังคมให้กับกลุ่มของตนเอง
       
         (2). อิทธิพลของศาสนาต่อชุมชนมุสลิมช้างคลาน
               

     
         ศาสนามีส่วนสำคัญในการอยู่ร่วมกันของชุมชนมุสลิมช้างคลาน เพราะสมาชิกทุกคนนับถือศาสนาเดียวกันคือ อิสลาม ทำให้เกิดการศึกษา “ศาสนา” ในฐานะของปรากฏการณ์ทางสังคมที่มีมิติเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างของ คนมุสลิมที่มีความต่างกัน ในระดับปัจเจกศาสนาก็มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมทางสังคม ดังที่เห็นจากการใช้ศาสนาเป็นหน่วยในการสร้างวาทกรรมเพื่อสร้างอำนาจให้ กลุ่มชาติพันธุ์ของตน ในแรกเริ่มคนพื้นเมืองมองเห็นการปฏิบัติที่แตกต่างกันเป็นปัจจัยในการโจมตี ความผิดแปลกไปจากหลักการเดิมของศาสนา แต่ว่าคนพม่าเองก็ใช้อัตลักษณ์ทางสังคม ซึ่งก็คือ “อัตลักษณ์ความเป็นมุสลิม” ในการตอบโต้และเพื่อสร้างความชอบธรรมในการใช้พื้นที่และแสดงการดำรงอยู่ของ กลุ่มตนเอง ดังนั้น “ศาสนา” จึงเป็น “พลังทางสังคม” อย่างหนึ่ง (อภิญญา, 2548:79) ซึ่งสามารถเข้าใจได้จากกระบวนการกลายเป็นชายขอบของมุสลิมพม่าที่ช้างคลานก็ มีอิทธิพลของศาสนาอิสลามในการที่ดึงเอามุสลิมที่มีความแตกต่างหลากหลายเข้า มาอยู่ด้วยกันในจินตนาการของ “ความเป็นชุมชนมุสลิม” แต่ ด้วยภายใต้บริบทของความต่างจึงทำให้เมื่อมาอยู่ร่วมกันได้นำไปสู่การแบ่ง พรรคแบ่งพวกของมุสลิม แล้วนำไปสู่การมีอคติ การเลือกปฏิบัติระหว่างกัน   
       
         บทส่งท้าย: ปัญหาการนิยามความต่าง               
     
  
       
         กระบวนการกลายเป็นชายขอบที่เกิดขึ้นในสังคมมุสลิมยังมีสาเหตุมาจาก “การนิยามตนเอง” ของคนในสังคม เพราะต่างคนต่างบอกว่า ตนเองเป็นคนเมือง คนพื้นที่ดั้งเดิม หรือเป็นคนปาทาน คนบังคลาเทศ คนจีน หรือว่า คนพม่า แต่พบว่าไม่มีใครนิยามว่า “ตนเองเป็นมุสลิม” อาจเพราะว่าไม่อยากดูเหมือนเป็นพวกเดียวกัน กลัวว่าภาพลักษณ์ของตนจะเหมือนกับกลุ่มที่ตนเองไม่ชอบ จึงพยายามแยกความแตกต่างของกลุ่มพวกตนเอง จึงทำให้การนิยามตนเองตามเชื้อชาติของตนเป็นหลักได้กลายเป็นปัญหาที่เกิด ขึ้นในชุมชน และลุกลามใหญ่โตกลายเป็นปัญหาระดับโลกที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
       
         ดังนั้น สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจคือ มุสลิมพม่าอพยพเข้ามาในประเทศไทยเพื่อต้องการที่จะ “สร้างอนาคตของตนเอง” และมีชีวิตที่ดีขึ้น พวกเขาเลือกที่จะอาศัยอยู่ในชุมชนมุสลิมเพราะเขาคิดว่ารู้สึกเหมือน “อยู่บ้าน” ในชุมชนมุสลิมด้วยกัน แต่เพราะด้วยความยากจนของเขา ความเข้าใจผิดและการเลือกปฏิบัติทางวัฒนธรรม ทำให้พวกเขาไม่สามารถกลมกลืนได้อย่างเต็มที่ และด้วยปัจจัยทางการเมืองเองที่ทำให้พวกเขาถูกนำเสนอภาพ “ความน่าหวาดระแวง” มากขึ้น อีกทั้งการเป็น “คนที่เข้ามาใหม่” ทำให้พวกเขายังคงถูกพิจารณามองว่าเป็น “คนอื่น” อยู่ดี   
                       
         บรรณานุกรม                   
         จรัญ มะลูลีม, กิติมา อมรทัต และพรพิมล ตรีโชติ. (2539). ไทยกับโลกมุสลิม : กรณีศึกษากรณีชาวไทยมุสลิม. สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
       
         ชูศักดิ์ วิทยาภัค (บ.ก.). (2541). “สังคมศาสตร์กับการศึกษาคนชายขอบ,” ใน สังคมศาสตร์ (เชียงใหม่: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) 11 (1).
       
         ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล (บ.ก.). (2545). ชีวิตชายขอบ : ตัวตนกับความหมาย. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน).
       
         ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี (บ.ก.). (2546). อัตลักษณ์ ชาติพันธุ์ และความเป็นชายขอบ. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน).
       
         สุเทพ สุนทรเภสัช. (2548). ชาติพันธุ์สัมพันธ์ : แนวคิดพื้นฐานทางมานุษยวิทยาในการศึกษาอัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์ ประชาชาติ และการจัดองค์กรความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.
       
         สุริชัย หวันแก้ว. (2550). คนชายขอบ : จากความคิดสู่ความจริง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
       
         เสาวนีย์ จิตต์หมวด. (2535). วัฒนธรรมอิสลาม. กรุงเทพฯ: ทางนำ.
       
         อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2543). “พื้นที่ในทฤษฎีทางสังคมศาสตร์,” ใน สังคมศาสตร์. (เชียงใหม่: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) 12 (2).
       
         . (2546). รายงานการวิจัยเรื่องอัตลักษณ์ (Identity): การทบทวนทฤษฎีและกรอบแนวคิด. คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาสังคมวิทยา สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
       
         . (2548). “ศาสนา,” ใน แนวความคิดพื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรม. ภาคสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
       
         อมรา พงศาพิชญ์. (2537). วัฒนธรรม ศาสนา และชาติพันธุ์ : วิเคราะห์สังคมไทยแนวมานุษยวิทยา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
       
         อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2548). “อำนาจ,” ใน แนวความคิดพื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรม. ภาคสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
       
         Gupta, A. and J. Ferguson. Beyond ‘culture’: space, identity, and the politics of difference. in Gupta, A. and J. Ferguson (eds.), Culture, Power, Place : Explorations in Critical Anthropology (pp.33-51), Durham : Duke University Press.
       
         Tsing, A. (1993). In the Realm of the Diamond Queen: Marginality in an Out-of-the-Way Place. New Jersey:


ความคิดเห็น