มัสยิดอัสสลามสันกำแพง ความเป็นมาของชุมชนมุสลิมในอีกหนึ่งพื้นที่ของเชียงใหม่

ประวัติมัสยิดอัสสลามสันกำแพง อีกหนึ่งมัสยิดที่เน้นในการศึกษาอิสลาม


มัสยิดอัสสลาม สันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ ตำบล ทรายมูล อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นมัสยิดที่จดทะเบียนกับกรมศาสนา หนึ่งในสิบสามของมัสยิดใยจังหวัด



เริ่มจากมัสยิดดุนนูร ช้างเผือก ได้มีการรวมตัวของกลุ่มพี่น้องมุสลิมที่อพยพมาจากบังคลาเทศได้เป็นคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดดุนนูร ช้างเผือก เท่าที่จำได้ เมาลานาบิดาของอิหม่ามมุสตอฟาเป็นอิหม่าม อัลมัรฮูม ฮัจยีมูกูเมียร์ ศรีชนะ อัลมัรฮูมอับดุลสุวรรณ สุวรรณทิพย์ (ขอแยกส่วนที่จะโยงไปสู่สันกำแพง)




อัลมัรฮูม ฮัจยีมูกูเมียร์ ศรีชนะ อัลมัรฮูม ฮัจยีมูกูเมียร์ ศรีชนะ นายอับดุลการีม นายนูราม๊อด ฮัจยียูซุฟ คาน ฮัจยีหมง ฟูอนันต์ นายมอด เซลามัน ในตอนนั้น ได้จัดงานเมาลิดขึ้นที่บ้านของนางไพรวัลย์ พงษ์มณี หลายๆท่านเห็นว่าที่นี้สมควรจะมีมัสยิดเป็นสถานที่ใช้อิบาดะห์ ไม่จำเป็นต้องไปที่อื่น(ในตอนนั้นจะไปละหมาดที่มัสยิดดุนนูร ช้างเผือก) จึงได้มีการประชุมกันในปี 2521 ประมาณเดือนกพ.- มีนาคม และได้มีการเชิญนายเชาว์ ธีรสวัสดิ์ เข้ามาร่วมในการสร้างมัสยิด ในตอนนั้นมีพี่น้องมุสลิมชาวจีนฮ่ออยู่หลายครอบครัว ส่วนมากจะเป็นครอบครัวของตระกูล ธีรสวัสดิ์ และตระกูลมาตระกูล



การขอรับบริจาคจากพี่น้องมุสลิมทั้วทั้งภาคเหนือหลั่งไหลกันเข้ามาอย่างง่ายดาย มีงบประมาณสร้างในตอนนั้นอยู่ประมาณ 3-5 แสนบาท ก็เริ่มจะหาสถานที่ โดยอัลมัรฮูม ฮัจยีมูกูเมียร์ ศรีชนะได้เสนอที่ดินให้เป็นของมัสยิดเนื้อที่ประมาณ 1 ไร่กว่าๆ การก่อสร้างมัสยิดเป็นไปอย่างรวดเร็ว ประมาณ 3 เดือน เสร็จ ด้วยกับการร่วมมือจากทุกฝ่ายและความสามัคคีที่มีในยุคนั้น ฮัจยียง (หมง) ฟูอนันต์ จึงให้ชื่อว่ามัสยิดอัสสลาม สันกำแพง เชียงใหม่ซึ่งแปลว่าสันติ





แผ่นไม้แกะสลัก หลังแท่นเทศนาธรรม(คุตบะฮฺ) หลังจากที่มีการก่อสร้างเสร็จแล้วก็ทำการเปิดมัสยิดโดยเชิญจุฬาราชมนตรี ต่วน สุวรรศาสตร์ มาเปิดในตอนนั้น และได้มีการของบประมาณไปยังประเทศลิเบีย เพื่อสร้างอาคารเรียน จึงได้งบประมาณ 2 แสนบาท จึงสร้างอาคารเรียนจนเสร็จสิ้น

อาคารเรียน ลิเบีย ปัจจุบันอาารแห่งนี้ถูกไฟใหม้แล้ว)คณะกรรมการชุดแรกในปัจจุบันนี้ก็ยังคงมีเหลืออยู่บ้าง ที่จากไปก็หลายท่าน ในชุดแรก อัลมัรฮูมอับดุลสุวรรณ สุวรรณทิพย์ เป็นอิหม่าม นายเชาว์ ธีรสวัสดิ์ เป็นคอเต็บ นายประวิน สุวรรณทิพย์ เป็นบิหลั่น ปัจจุบันนี้มัสยิดอัสสลามยังคงยืนตระหง่าอยู่มา32ปี มีชนรุ่นต่อรุ่นที่เติบโตไปตามกาลเวลา 

ปัจจุบัน ผู้คนหรือสัปปุรุษ์ที่เป็นคนดั่งเดิมเริ่มลดน้อยถอยลง เนื่องจากย้ายไปทำมาหากินนอกพื้นที่ แต่แน่นอนที่ใดมีมัสยิดที่นั่น จึงมีพี่น้องจากพื้นที่อื่นเข้ามาเพิ่มจำนวนสัปปุรุษ์แทน มัสยิดคือปัจจัยจำเป็นของความเป็นอยู่ วิถี อัตลักษณ์ ของพี่น้องมุสลิม สำคัญคือ การได้เคารพสักการะพระผู้ทรงสร้างร่วมกัน คุณค่าของการทำละหมาดหรือการงานดีๆที่ทำร่วมกัน ย่อมได้ผลบุญคุณค่าที่ยิ่งใหญ่กว่า

นายมหาอ๊อดอาลี ศรีชนะเป็นอิหม่าม นายสมบัติ สุวรรณทิพย์ เป็นคอเต็บ นายไสว เอียดตรง เป็นบิหลั่น โดยการบริหารโดยคณะกรรมการมัสยิด ซึ่งให้ความสำคัญในเรืองของการศึกษาในพื้นที่ การศึกษาศาสนาอิสลามปัจจุบัน จึงจำเป็นที่จะต้องการความร่วมมือจากทุกฝ่ายในชุมชน ร่วมรับรู้ปัญหา ช่วยกันแก้ไข พัฒนา ความมือ ร่วมแรง ร่วมใจ ร่วมรับผลประโยชน์ที่จะตกสู่ชุมชน อันจะนำมาซึ่งความมั่นคงและความสันติสุขของผู้คน





*ข้อมูลโดย ฮัจยีสมบัติ สุวรรณทิพย์ บุตรอัลมัรฮูมอับดุลสุวรรณ สุวรรณทิพย์) ถ่ายภาพโดย นายชุมพล ศรีสมบัติ ภาพแถม นะครับ ชมคลิปครับ
ชุมพล  ศรีสมบัติ รายงาน

ความคิดเห็น