นัยน์ตาปีศาจ ในมุมมองของศาสนา

นัยน์ตาปีศาจ

   นัยน์ตาปีศาจ (อังกฤษ: Evil eye) เป็นการมองที่เชื่อกันในหลายวัฒนธรรมว่าสามารถทำให้ผู้ถูกมองได้รับการบาดเจ็บหรือโชคร้าย อันเกิดจากการจ้องมองด้วยความอิจฉาหรือความเดียดฉันท์ คำนี้มักจะหมายถึงอำนาจของบุคคลใดบุคคลหนึ่งในการก่อให้เกิดสิ่งที่เลวร้ายได้ด้วยการมองอย่างประสงค์ร้าย

   ความเชื่อดังกล่าวทำให้วัฒนธรรมหลายวัฒนธรรมพยายามหาทางป้องกันก่อนที่จะเกิดสิ่งที่เลวร้ายขึ้น ความคิดและความสำคัญของนัยน์ตาปีศาจก็แตกต่างกันออกไปเป็นอันมากระหว่างวัฒนธรรมต่างๆ ความเชื่อนี้ปรากฏหลายครั้งในบทแปลของพันธสัญญาเดิม[1] และแพร่ขยายออกไปอย่างกว้างขวางในบรรดาอารยธรรมของกลุ่มชนต่าง ๆ ในบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน กรีซคลาสสิกอาจจะเรียนรู้จากอียิปต์โบราณ และต่อมาก็ผ่านความเชื่อนี้ต่อไปยังโรมันโบราณ[2][3]
   ลักษณะของความเชือ
  อิลยา เรพิน, "มุซฮิคกับนัยน์ตาปีศาจ" (ค.ศ. 1877)
 
   แนวความเชื่อบางอย่างเกี่ยวกับนัยน์ตาปีศาจเชื่อว่าคนบางคนสามารถนำอันตรายมายังผู้อื่นได้ด้วยการจ้องด้วยตาที่มีเวทมนตร์ที่ประสงค์ร้าย แต่โดยทั่วไปแล้วมักจะเป็นการจ้องด้วยความอิจฉา และความรุนแรงของอันตรายต่อผู้ที่ถูกจ้องก็ต่างกันออกไป ในบางวัฒนธรรมก็กล่าวว่าผู้ถูกจ้องจะประสบกับโชคร้าย หรือในกรณีอื่นก็เชื่อว่าการจ้องจะทำให้ผู้ถูกจ้องป่วย และบางครั้งอาจจะมีอาการหนักถึงเสียชีวิตได้ ในวัฒนธรรมเกือบทุกวัฒนธรรมเหยื่อของเวทมนตร์ส่วนใหญ่เชื่อกันว่าจะเป็นเด็กหรือทารก เพราะเด็กมักจะได้รับการเยินยอสรรเสริญจากคนแปลกหน้า หรือ จากสตรีที่ไม่มีบุตร แอแลน ดันด์สศาสตราจารย์สาขาวิชาตำนานพื้นบ้านแห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ผู้ทำการศึกษาเกี่ยวกับความเชื่อนี้ในวัฒนธรรมต่างๆ และพบว่ามีพื้นฐานร่วมกันอยู่อย่างหนึ่งที่ว่าการแก้เคล็ดจะเกี่ยวกับการทำให้ชื้น และ การป้องกันจากภัยของการถูกมนต์ขลังของนัยน์ตาปีศาจ ที่ทำได้ด้วยปลาในบางวัฒนธรรมมีความเกี่ยวโยงกับปลาจะเปียกอยู่ตลอดเวลา[4] ดันด์สข้อสังเกตตังกล่าวใน “Wet and Dry: The Evil Eye”

   ความเชื่อเกี่ยวกับนัยน์ตาปีศาจในรูปแบบหนึ่งกล่าวว่า ผู้หนึ่งตามปกติแล้วจะมิได้เป็นผู้มีความประสงค์ร้ายต่อผู้ใดอาจจะมีอำนาจในการทำร้ายผู้ใหญ่, เด็ก, สัตว์เลี้ยง หรือ สิ่งของได้โดยเพียงแต่จ้องด้วยความอิจฉา คำว่า “Evil” อาจจะเป็นคำที่ทำให้เข้าใจผิดในบริบทนี้ เพราะเป็นคำที่มีนัยยะว่าบุคคลดังกล่าวจงใจที่จะ “แช่ง” ผู้โชคร้าย ความเข้าใจในความคิดเกี่ยวกับ “evil eye” ให้ดีขึ้นอาจจะมาจากคำภาษาอังกฤษสำหรับการจ้องมองด้วยนัยน์ตาปีศาจที่เรียกว่า “overlooking” ที่เป็นนัยยะว่าเป็นการจ้องอย่างจงใจเป็นเวลานานกว่าเหตุต่อสิ่งที่ประสงค์จะจ้องไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์เลี้ยง หรือ สิ่งของ

   ขณะที่วัฒนธรรมบางวัฒนธรรมเชื่อว่านัยน์ตาปีศาจเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างไม่ได้ตั้งใจโดยผู้ที่โชคร้ายพอที่จะถูกแช่งโดยอำนาจที่มาจากการจ้องมอง แต่กระนั้นก็มีผู้ที่เชื่อว่าเป็นอำนาจที่เกิดขึ้นที่อาจจะไม่ได้เกิดขึ้นอย่างจงใจแต่ก็เป็นอำนาจที่มาจากความอิจฉา

   ประวัติ
   หลักฐานทางลายลักษณ์อักษรและหลักฐานทางโบราณคดียืนยันว่าความเชื่อในเรื่องนัยน์ตาปีศาจทางตะวันออกของบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนดำเนินมาเป็นเวลาหลายพันปี ที่เริ่มด้วย เฮซิโอด, คาลลิมาคัส, เพลโต, ดิโอโดรัส ซิคัลลัส, ธีโอคริตัส, พลูทาร์ค, พลินิ และ ออลัส เกลลิอัส ในงานเขียน “Envy and the Greeks” (ไทย: ความอิจฉาและชาวกรีก) ที่เขียนในปี ค.ศ. 1978) ปีเตอร์ วอลค็อทกล่าวถึงงานอ้างอิงกว่าร้อยชิ้นของนักประพันธ์ผู้เขียนงานเกี่ยวกับนัยน์ตาปีศาจ การศึกษางานอ้างอิงเหล่านี้เพื่อทำการเขียนเกี่ยวกับนัยน์ตาปีศาจก็ยิ่งทำให้มองเห็นภาพที่ขาดความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นไปอีก ไม่ว่าจะเป็นการเขียนจากมุมมองของตำนานพื้นบ้าน, เทววิทยา, คลาสสิค หรือ มานุษยวิทยา ขณะการเขียนจากแนวต่างๆ เหล่านี้มักจะอ้างอิงถึงแหล่งข้อมูลที่ใกล้เคียงกัน แต่กระนั้นแหล่งข้อมูลแต่ละแหล่งก็จะมีมุมมองของความเข้าใจนัยน์ตาปีศาจที่ต่างกันออกไป ที่ว่าเป็นความเชื่อที่ว่าบุคคลบางคนมีตาที่มีอำนาจในการก่อให้เกิดความเจ็บป่วยหรือความตายแก่ผู้ที่ถูกจ้องมองได้ไม่ว่าจะโดยความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม
   นัยน์ตาปีศาจในสมัยคลาสสิค
   ความเชื่อในเรื่องนัยน์ตาปีศาจในสมัยโบราณมีพื้นฐานมาจากหลักฐานของแหล่งข้อมูลเช่น อริสโตฟานีส, เอเธเนียส และ พลูทาร์ค และยังมีผู้คาดกันว่าโสกราตีสเป็นผู้มีอำนาจในการใช้นัยน์ตาปีศาจ และผู้ติดตามและผู้ชื่นชมในตัวโสกราตีสต่างก็หลงเสน่ห์จากการจ้องมองอย่างเอาจริงเอาจังของโสกราตีส ลูกศิษย์ของโสกราตีสเรียกกันว่า “Blepedaimones” ที่แปลว่าการมองอย่างดีมอน (demon) ไม่ใช้เพราะเป็นผู้ที่ถูกสิงหรือมีอำนาจในการใช้นัยน์ตาปีศาจ แต่เพราะถูกสงสัยว่าเป็นผู้ที่ตกอยู่ภายใต้การสะกดจิตและอันตรายจากการชักจูงของโสกราตีส
   ในสมัยกรีก-โรมันคำอธิบายอย่างมีเหตุผลของอำนาจของนัยน์ตาปีศาจเป็นสิ่งที่ปรากฏทั่วไป คำอธิบายของพลูทาร์คกล่าวว่าตาคือสิ่งที่สำคัญที่สุดถ้าไม่เป็นสิ่งเดียว ที่เป็นที่มาของรังสีที่เป็นอันตรายที่พุ่งออกมาราวกับศรพิษจากส่วนลึกของบุคคลผู้เป็นเจ้าของอำนาจของนัยน์ตาปีศาจ (Quaest.Conv. 5.7.2-3=Mor.80F-81f) พลูทาร์คกล่าวถึงอำนาจของนัยน์ตาปีศาจว่าเป็นสิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นสิ่งไม่อาจจะอธิบายได้ที่เป็นแหล่งของอำนาจอันวิเศษและเป็นที่มาของความน่ากังขา
   ความเชื่อในเรื่องนัยน์ตาปีศาจในสมัยโบราณก็ต่างกันออกไปตามแต่ภูมิภาคและยุคสมัย และความกลัวนัยน์ตาปีศาจก็รุนแรงไม่เท่าเทียมกันไปทุกมุมเมืองในจักรวรรดิโรมัน บางท้องที่ก็อาจจมีความหวาดกลัวที่สูงกว่าท้องที่อื่น ในสมัยดรมันไม่แต่บุคคลเท่านั้นที่เชื่อกันว่าอาจจะเป็นผู้มีอำนาจในการใช้นัยน์ตาปีศาจ และ อาจจะเป็นกลุ่มชนทั้งกลุ่ม โดยเฉพาะประชากรชาวพอนทัส หรือ ซิทเธียที่เชื่อกันว่าเป็นกลุ่มชนที่มีอำนาจในการใช้นัยน์ตาปีศาจ
   การเผยแพร่ของความเชื่อในเรื่องนัยน์ตาปีศาจไปทางตะวันออกเกิดขึ้นระหว่างการขยายอำนาจของอเล็กซานเดอร์มหาราชที่เป็นการเผยแพร่ความเชื่อนี้และความเชื่อต่างๆ ของกรีกไปทั่วจักรวรรดิ

การเผยแพร่ความเชื่อ
                               
         ต้นไม้ที่เต็มไปด้วยนัยน์ตาปีศาจในคาพะโดเคียในตุรกี   
   ความเชื่อในเรื่องนัยน์ตาปีศาจที่รุนแรงที่สุดอยู่ในบริเวณตะวันออกกลาง, แอฟริกาตะวันออก, แอฟริกาตะวันตก, อเมริกากลาง, เอเชียใต้, เอเชียกลาง และยุโรป โดยเฉพาะในบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน ที่นอกจากนั้นแล้วก็ยังเผยแพร่ไปยังบริเวณอื่นที่รวมทั้งตอนเหนือของยุโรป โดยเฉพาะในบริเวณวัฒนธรรมเคลต์และใน อเมริกา ที่นำเข้าไปโดยนักอาณานิคมยุโรป และต่อมาผู้ย้ายเข้าไปตั้งถิ่นฐานที่มาจากตะวันออกกลาง, แอฟริกาตะวันออก, แอฟริกาตะวันตก,อเมริกากลาง
   ความเชื่อในเรื่องนัยน์ตาปีศาจพบในบทเขียนของอิสลามที่ศาสดามุฮัมมัด กล่าวว่า “อิทธิพลของนัยน์ตาปีศาจเป็นเรื่องที่จริง...”[5] นอกจากนั้นกิจการการขจัดนัยน์ตาปีศาจก็ยังเป็นประเพณีที่ถือปฏิบัติกันอย่างแพร่หลายโดยมุสลิม เช่นแทนที่จะกล่าวชมความงามของเด็กโดยตรง ก็มักจะกล่าวว่า “ما شاء الل” ที่แปลว่า “ถ้าเป็นสิ่งพระเจ้าทรงมีพระสงค์” แทนที่ ซึ่งเท่ากับเป็นการกล่าวว่าเป็นพรที่เป็นอำนาจของพระเจ้าที่ประทานให้บุคคลที่ได้รับการชื่นชม[6] นอกจากจะมีหลักฐานสนับสนุนในบทเขียนของอิสลามแล้ว ก็ยังมีความเชื่ออื่นๆ ในเรื่องนัยน์ตาปีศาจที่ไม่มีหลักฐานยืนยันที่พบในศาสนาพื้นบ้านที่มักจะเกี่ยวกับการใช้เครื่องรางในการป้องกันจากภัยที่อาจจะประสบ
   แม้ว่าความคิดในเรื่องการจ้องมองแทบจะไม่พบในสังคมเอเชียตะวันออก และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ความเชื่อเรื่องการ Usog ในฟิลิปปินส์ถือเป็นข้อยกเว้น
   ชาวยิวอัชเคนาซิในยุโรปและสหรัฐอเมริกาแม่แบบ:Who มักจะอุทานว่า “Keyn aynhoreh” (ไทย: ไม่เอานัยน์ตาปีศาจ) ในภาษายิดิช เพื่อเป็นการป้องกันจากการสาปแช่งหลังจากที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้รับคำชมโดยไม่ทันคิด หรือ หลังจากการประกาศข่าวดี
   ในบริเวณภูมิภาคอีเจียน และอื่นๆ ที่ผู้มีตาสีอ่อนน้อย ก็เป็นที่เชื่อกันว่าผู้ที่มีตาสีเขียวเป็นผู้มีอำนาจในการใช้นัยน์ตาปีศาจไม่ว่าจะโดยการจงใจหรือไม่จงใจก็ตาม[7] ความเชื่อนี้อาจจะมีสาเหตุมาจากการที่ผู้คนจากต่างวัฒนธรรมที่ไม่คุ้นกับความเชื่อดังกล่าว เช่นผู้คนจากทางเหนือของยุโรป อาจจะปฏิบัติในสิ่งที่ขัดกับประเพณีท้องถิ่นในการจ้องมองหรือการชมความงามของเด็ก ฉะนั้นในกรีซและตุรกีเครื่องลางที่ใช้ในการต่อต้านอำนาจของนัยน์ตาปีศาจจึงเป็นตาสีฟ้า
   สำหรับผู้ที่ไม่เชื่อในเรื่องของอำนาจของนัยน์ตาปีศาจ คำเปรยเช่น “to give someone the evil eye” จึงมักจะมีความหมายเพียงว่าเป็นการจ้องมองด้วยความโกรธหรือความเดียดฉันท์เท่านั้น
   ยันต์และการแก้
   การพยายามที่จะป้องกันจากนัยน์ตาปีศาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการใช้เครื่องรางกันหลายวัฒนธรรม เครื่องรางประเภทนี้จัดอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า “apotropaic” (ที่มาจากภาษากรีกว่า “prophylactic” หรือ “ป้องกัน”) ที่แปลตรงตัวว่าเครื่องรางที่ “หันเหไปทางอื่น” หรือปัดอันตรายไปทางอื่น
   สิ่งที่ง่ายที่สุดในการป้องกันในประเทศยุโรปที่เป็นคริสเตียนคือกาทำสัญญาณกางเขนด้วยนิ้วมือไปยังแหล่งที่มาของอันตราย หรือ ผู้โดยอันตรายที่บรรยายในบทแรกของนวนิยายเรื่อง “แดรคคิวลา” โดยแบรม สโตเคอร์ที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1897:

 ภาพค้นหาจากกูลเกิ้ล   

ความคิดเห็น