แอ่วกว๊านพะเยา..แวะมัสยิด กับแวดล้อมของสังคมพุทธศาสนา การอยู่ร่วมกันและวิถีของคนพะเยา เราต่างกันแค่ศาสนาที่ตนเองนับถือ แต่หัวใจ ความผูกพัน ในความเป็นคนล้านนาพะเยา มิได้ด้อยไปกว่ากันเลย พวกเขาเกิดที่เมืองพะเยา เป็นคนพะเยา มิอาจกล่าวได้ว่าเขารักเมืองพะเยาน้อยกว่าคนพะเยาที่นับถือศาสนาที่ต่างกัน เข้าใจ รับฟัง เรียนรู้ ความรัก ก็จะปกคลุมในดินแดนล้านนา อย่าให้ภาพแห่งหนังฮอลีวู๊ด.กับความรุนแรงที่พวกเขาสร้างขึ้น.มาสร้างความชิงชังให้กับพี่น้องคนไทยด้วยกัน หัวใจของมุสลิมในล้านนามิได้ต่างไปจากคนล้านนาทั่วไป โอบอ้อมอารีย์ มีน้ำใจ สำหรับพี่น้องที่มาเยือนมาแอ่วดั่งภาษิตล้านนาที่กล่าวว่า "ยินดียิ่งแล้ว แขกแก้วมาเยือน
#แก้ไข..ชื่ออิหม่ามนายทองคำ อับดุลอารีย์ ครับ
#แก้ไข..ชื่ออิหม่ามนายทองคำ อับดุลอารีย์ ครับ
มาจังหวัดพะเยา หากไม่แวะที่กว๊านพะเยา ก็เหมือนมาไม่ถึงเมืองนี้
กว๊านพะเยา อยู่ในเขตอำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา เป็นทะเลสาบน้ำจืดใหญ่เป็นอันดับ 1 ในภาคเหนือ และ อันดับ 4 ของประเทศไทย (รองจากบึงบอระเพ็ด, หนองหาน และบึงละหาน)คำว่า "กว๊าน" ตามภาษาพื้นเมืองหมายถึง "บึง" เกิดขึ้นจากกรมประมงได้ทำประตูกั้นน้ำไว้เพื่อให้ราษฎรมีน้ำใช้ในฤดูแล้ง และในฤดูฝนก็กั้นไม่ให้น้ำไหลแรงไปท่วมเรือกสวนไร่นาที่อยู่ปลายน้ำ ตั้งอยู่ใจกลางเมืองพะเยา มีทิวเขาเป็นฉากหลัง เกิดจากน้ำที่ไหลมาจากห้วยต่างๆ 18 สาย มีปริมาณน้ำเฉลี่ยปีละ 29.40 ล้านลูกบาศก์เมตร มีพันธุ์ปลาน้ำจืดถึง 45 ชนิด ใน 17 วงศ์ มีเนื้อที่ 12,831 ไร่ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาต่างๆ ทัศนียภาพโดยรอบกว๊านพะเยา มีส่วน ทำให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติ ที่สวยงามประทับใจผู้พบเห็น จนอาจจะกล่าวได้ว่าหัวใจของเมืองพะเยาอยู่ที่กว๊านพะเยานี่เอง และด้วยความสมบูรณ์ของพันธุ์ปลาที่กว๊านพะเยา ทำให้เป็นแหล่งที่ผลิตปลาส้มรายใหญ่และขึ้นชื่อ จนกลายเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงของจังหวัดพะเยา
กว๊านพะเยาในอดีตแต่เดิมเคยเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำมีสายน้ำอิงไหลพาดผ่านคดเคี้ยวทอดเป็นแนวยาวไปตลอด จากทิศเหนือจรดขอบกว๊านฯ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประกอบกับมีหนองน้ำน้อยใหญ่หลายแห่งและร่องน้ำหลายสายที่ไหลลงมาจากขุนเขาดอยหลวงแล้วเชื่อมติดต่อถึงกัน ทำให้พื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำแห่งนี้จึงมีความอุดมสมบูรณ์ยิ่งนักและมีผู้คนเข้ามาตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่เป็นชุมชนนานนับตั้งแต่โบราณ
หลังจากเสร็จจากการเที่ยวชมดูความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮสิ่งที่ลืมมิได้ คือมัสยิด ในจังหวัดพะเยามีมัสยิด อยู่ทั้งหมดถึง 3 แห่งด้วยกัน มีมัสยิดที่อำเภอเชียงคำ 1 แห่งมัสยิดแห่งนี้ตั้งโดยทุนส่วนตัวของเจ้าของพื้นที่ที่ตั้งมัสยิดเป็นส่วนใหญ่จึงมีการดูแลตลอด และอีกมัสยิดชื่อมัสยิดอิสลามบ้านแสงไทร อ.ปง เป็นมัสยิดที่ทำงานเผยแพร่ศาสนากับพี่น้องชาวเขา ภายใต้มูลนินิรักษ์มนุษย์ชาติ ที่ตั้งอยู่บ้านห้วยมะหินฝน อำเภอแม่จัน จ.เชียงราย
เดิมมัสยิด ญามีอุ้ลอิสลาม จังหวัดพะเยา ตั้งอยู่ที่ ตรงริมกว๊านพะเยา ใกล้กับสำนักงานเทศบาลพะเยา ซึ่งเป็นบ้านของ อีหม่ามฮาบีบ หรือ อีหม่ามสมคิด อับดุลอาลี ต่อมา ผู้คน ที่มา ละหมาดก็เพิ่มมากขึ้น ทำให้พื้นที่ มัสยิดเดิมคับแคบ ไป ท่านอีหม่าม จึงได้ปรึกษา อาจารย์ สิทธิโชค หากิจ ที่มารับราชครูในจังหวัดพะเยาและ พี่น้องมุสลิมในพื้นที่ ในการการสร้างมัสยิดหลังใหม่ขึ้น โดยเห็นว่า ที่ดินกุโบร์ (ป้าช้า) ซึ่งเป็นที่ดิน ของราชพัสดุ น่าจะเป็นทำเลที่เหมาะสมในการสร้างมัสยิด จึงได้ชวนพี่น้องในพื้นที่ ทำการ พัฒนา ที่ดินกุโบร์ที่รกร้าง เพื่อจะทำการมัสยิด แต่ก็มีปัญหา ในเรื่องของพื้นที่ไม่ชัดเจนกับทางองค์กรปกครองในท้องถิ่น ท้องถิ่น สุดท้าย ก็ มีการเจราจา ตกลงกันได้ โดย พี่น้องมุสลิม ได้พื้นที่ประมาณ ๘ ไร่ เพื่อสร้างมัสยิด พร้อมกุโบร์
จากนั้น ก็เริ่มหาทุน โดย ท่านอีหม่ามฮาบีบ และ อาจารย์ สิทธิโชค เป็นแกน นำในการ หาเงิน บริจาค จนเป็น มัสยิด ในปัจจุบัน สำหรับ เป็นศูนย์รวมจิตใจของพี่น้องในพื้นที่ เป็นแหล่งพบปะ เชื่อมความสัมพันธ์ พี่น้องในพื้นที่และพี่น้องมุสลิม ที่เดินทางผ่าน จังหวัด พะเยา มัสยิดจึงมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนชุมชนคุณธรรม ศูนย เรียนรู้ จริยธรรม เพื่อให้ศาสนิกชน ทุกท่านนำคำสอนที่ได้รับไปประพฤติปฏิบัติในครอบครัวชุมชน การอยู่ร่วมกัน โดยเฉพาะสังคมที่มีความต่าง ซึ่งสามารถ ต้อนรับ และสร้างความเข้าใจให้พี่น้องต่างศาสนิก ให้มีโอกาสได้เรียนรู้เข้าใจในคำสอนอิสลาม
รายงานโดย ชุมพล ศรีสมบัติ
แก้ไขข้อความ ข้างรูปที่ 3 บรรทัดที่ 2 ภายในริมกว๊าน ไม่มี .....ฮาอาร ....ฮาลาล เป็น ".....อาหาร....ฮาลาล."
ตอบลบร้านอาหารฮาลาลจะมีถนน พหลโยธิน นะคะถ้าจำไม่ผิด น่าจะเยื้องๆกับ รพ.พระเยารามอ่ะค่ะ แล้วถ้าวิ่งต่อไปอีกหน่อยเลยตลาดมณีรัตน์ไปนิดก็จะมีเพิงเล็กๆหน้าวิลล่า เขาจะขายพวกขนมจีน กล้วยทอดค่ะ เขาจะมีป้ายข้างเพิง 786
ตอบลบ