กองทุนซะกาตเชียงใหม่ หนึ่งในโครงการ สสม.ในการจัดเข้าระบบสู่กองทุนสาธารณะประโยชน์

#มุมมองจากพื้นที่กองทุนซะกาตแก้ไขปัญหาความยากจนได้จริงหรือ

โดย ชุมพล  ศรีสมบัติ
      จากโครงการจัดตั้งกองทุนซะกาตในจังหวัดเชียงใหม่ของศูนย์กิจกรรมภาคเหนือ แผนงานสร้างสุขมุสลิมไทย สสม. ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการอิสลามจังหวัดเชียงใหม่ และอีกหลายองค์กรร่วมกันผลักดัน จนสามารถจัดตั้งองค์กรซะกาตระดับจังหวัดขึ้นมา กำลังเข้าสู่ปีที่ 11
      การจัดการ มีการจัดเก็บข้อมูล ทั้งผู้รับซะกาต ผู้จ่ายซะกาต มีแบบฟรอม อย่างเป็นระบบ ในการดำเนินการสำหรับผู้จ่ายและผู้รับซะกาต ซึ่งแบ่งออกเป็น ซะกาตสำหรับ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย ผู้ป่วยติดเตียง ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ซะกาตฉุกเฉิน สำหรับ คนเดินทาง และผู้มีความต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วนจากการป่วยไข้ หรือกรณีเกิดภัยพิบัติ และความจำเป็นต่าง ๆ ตามการเห็นควรหรือได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการ  ซะกาตทุนการศึกษา ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาถึงระดับอุดมศึกษา  ซะกาตส่งเสริมต่อยอดอาชีพ สำหรับผู้ที่ยากจนที่ต้องการการอุดหนุนทั้งด้านทุนและเครื่องมือในการทำงาน
          หลังจากการทำงาน มานานพอสมควร จะเห็นได้ว่า กองทุนซะกาต สามารถบรรเทาของเดือดร้อนของผู้คนได้ในระดับหนึ่ง แต่ไม่ใช่ทั้งหมด อาจด้วยเงินซะกาต มีไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้รับซะกาต ซึ่งดูจากสิถิติแล้ว มีผู้รับซะกาตเพิ่มขึ้นทุกปี จึงต้องเฉลี่ยแบ่งปันกันภายในแต่ละพื้นที่ กลายเป็นเงินจำนวนน้อยหรือเรียกว่าเป็นเบี้ยหัวแตกไป ไม่อาจสนองต่อความต้องการของผู้คนยากจน ขัดสนในชุมชนได้อย่างพอเพียง 
        ถึงแม้นจะมีองค์กรซะกาตในระดับจังหวัดอยู่แล้ว ก็ยังมี หลาย องค์กร ที่ทำการจัดเก็บซะกาต และนำมาแจกจ่ายผ่านองค์กรของตนเอง นอกจากนั้นยังมีกลุ่มบุคคลอีกจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่จ่ายผ่านกองทุนฯที่มีอยู่ที่มีอยู่ แต่มีการจัดการด้วยตนเอง โดยผู้รับส่วนใหญ่ก็เป็นกลุ่มเป้าหมายเดียวกัน ซึ่งเฉลี่ยแล้ว ก็เป็นเพียงเงินจำนวนเล็กน้อย ไม่อาจตอบโจทย์ในการแก้ไขปัญหาความยากจนให้ยั่งยืนได้ เงินจำนวนนี้จะได้รับกันเพียงปีละครั้ง โดยเฉพาะช่วงเดือนรอมฎอน ส่วนใหญ่เงินซะกาต จะถูกนำมาแจกจ่ายในช่วงนี้ อาจด้วยความเชื่อว่าเป็นเดือนที่ได้รับผลบุญในการตอบแทนสูง
          ปัญหาผู้รับซะกาต ที่ไม่มีคุณสมบัติ ก็ยังมีให้เห็น กรรมการซะกาตในพื้นที่ ควรมีการคัดกรองผู้ที่มีคุณสมบัติอย่างแท้จริง แยกให้ออกว่า กลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการช่วยเหลือตามหลักการศาสนาเป็นผู้ "ยากจน" หรือ "อยากจน" นี่ก็คือปัญหาหนึ่ง ที่ต้องสร้างสำนึก และสร้างความเข้าใจในสิทธิหน้าที่ของผู้คน
        ในส่วนตัว มองว่า การที่จะทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ ต้องได้รับความร่วมมือจากผู้นำชุมชน และคนในชุมชน ช่วยกันสร้างจิตสำนึกร่วมโดยเฉพาะองคกรมัสยิด เป็นปัจจัยสำคัญและแกนกลางในการขับเคลื่อนงานนี้  เพื่อสร้างการรองรับต่อยอดให้กับกลุ่มผู้รับซะกาตให้เกิดความยั่งยืน
        กองทุนออมทรัพย์ กองทุนสวัสดิการ หรือ กองทุนช่วยเหลืออื่นๆ อันเกิดจากชุมชน มีเป้าหมายเพื่อเป็นที่พึ่งพาช่วยเหลือกันในยามยาก สิ่งเหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นจากความรัก ความห่วงใยเป็นพื้นฐาน  ด้วยมองเห็นปัญหาร่วมกัน รวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มได้ และสามารถเป็นศูนย์กลางในการแก้ไขเศรษฐกิจ ทั้งด้านอาชีพ หรือด้านสวัสดิการเรื่องสุขภาพ ยามเจ็บไข้ได้ป่วย หรือบุคคลในครอบครัวเสียชีวิต เป็นอีกหนึ่งทางออกในการดูแลซึ่งกันและกันโดยตรงในชุมชน เป็นอีกหนึ่งกองทุนหนึ่งมัสยิด ที่ ทาง สสม.บรรจุไว้ภายใต้โครงการมัสยิดครบวงจร
       กลับมาในเรื่องของกองทุนซะกาต จากการติดตาม และสังเกตุ ผู้ที่ได้รับซะกาต โดยเฉพาะในส่วนของ ซะกาตส่งเสริมอาชีพ ถึงแม้นกลุ่มนี้จะได้รับการดูแลจากกองทุนซะกาต แต่ก็เป็นการช่วยเหลือแบ่งเบาภาระหรือความต้องการในเบื้องต้น เท่านั้น เพราะยังมีผู้รับซะกาต รายอื่นอีกมากที่ต้องการความช่วยเหลือเช่นกัน  
     ประเด็นคือหลังจากรับการช่วยเหลือจากกองทุนซะกาตแล้ว หลังจากนี้ละหากต้องการความช่วยเหลือ เราจะกลับเข้าไปร้องขอความช่วยเหลือได้ใหม อันนี้ลองคิดดูแล้วกัน     แต่หากว่า เรามีสหกรณ์ หรือกลุ่มกองทุนในชุมชน ที่เรามีส่วนร่วมในความเป็นเจ้าของ  ที่สามารถแก้ปัญหา ความยากจนซ้ำซ้อน โดยที่ไม่ต้องแบมือไปขอใคร เรามีฐานะผู้ถือหุ้นส่วนกองทุนฯ ศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ก็ยังอยู่กับเราตลอด ด้วยเงินของเราเงินของพี่น้องพ้องเพื่อนในชุมชนต้องช่วยกันสร้างและรักษา กลุ่มกองทุนในชุมชน ให้อยู่อย่างยั่งยืนเพื่อดูแลกันและกัน
       สังคมแห่งอุดมการณ์จะเกิดขึ้นอย่างแท้จริง หากผู้คนต่างแบ่งปันช่วยเหลือกันและกัน เริ่มจากครอบครัว ญาติ พี่น้อง ผู้คนในชุมชน สร้างความเป็นเอกภาพ ช่วยกันมองหรือแก้ปัญหา เป็นอย่าง ๆไป เริ่มจากเรื่องปากท้อง เป็นปัจจัยสี่พื้นฐานที่ต้องสอดส่องดูแลซึ่งกันและกันสังคมก็ไม่เป็นสังคมพึงพา หรือรอคอย 
      
#กำเหนิดกองทุนซะการเชียงใหม่ กับการรวมพลังคนทำงาน เพื่อหนุนเสริมสังคม (#ลดมือล่าง  #สร้างมือบน)
มุสลิมล้านนา ดิอะลามี่
ชุมพล  ศรีสมบัติ

  เมือกล่าวถึง ซะกาต สำหรับพี่น้องมุสลิมแล้วคงเข้าใจดีว่า สิ่งนี้คืออะไร แต่หลายท่านที่เป็นพี่น้องต่างศาสนิก คงยัง ต้องอธิบาย ปูพื้น นิดหน่อย  การจ่ายซะกาตเป็นหลักปฏิบัต 1 ใน 5 ประการที่ชาวมุสลิมจะต้องถือปฏิบัติ เป็นศาสนบัญญัติในการสั่งใช้สำหรับผู้ที่มีทรัพย์ครบจำนวนตามเกณฑ์และครอบครองทรัพย์นั้นครบครบรอบปีจะต้องแบ่งปันส่วนหนึ่งของทรัพย์นั้นตามอัตราที่ศาสนากำหนด (แตกต่างกันตามประเภทของทรัพย์สิน) แบ่งปันไปยัง บุคคล 8 ประเภท เช่น คนยากจน คนขัดสน และ มีใครอีกบ้าง หาอ่านได้ไม่ยาก สำหรับผู้สนใจ
        กองทุนซะกาตและบัยตุลมาล จังหวัดเชียงใหม่ ก่อกำเนิดเกิดขึ้นมาเมื่อสามปีที่แล้ว โดย เริ่มจาก ศูนย์กิจกรรมภาคเหนือ แผนงานสร้างสุขมุสลิมไทย หรือ เรียกกัน สั้น ว่า สสม   ชวนเชิญ ผู้หลักผู้ใหญ่ และนักขับเคลื่อนในพื้นที่ ผู้สนใจทั้งหลาย..ที่อยากเห็นการเกิดของกองทุนซะกาต ..กองทุนที่ตอบสนองต่อประโยชน์สุขของสังคมมุสลิมอย่างแท้จริง เพื่อให้เป็นกลไกดูแลปัญหาความยากจนขัดสนในสังคมมุสลิมจังหวัดเชียงใหม่  ได้ ขับเคลื่อนงานไปในทิศทางเดียวกัน
 หลังจากพูดคุยกันมองเห็นปัญหามากมาย ในการจัดการซะกาต ณ ปัจจุบัน เงินซะกาตที่จ่ายออกไปยังชุมชนมุสลิมต่าง ๆ ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ นับหลายล้านบาท ทั้งที่จ่ายกัน เอง และองค์กร ในพื้นที่หลายองค์กร รวบรวมไปยังพี่น้องที่ยากจน  การจัดเก็บ และการจ่าย ยังไม่มีทั้งข้อมูลคนยากจน คนแปดประเภท การจัดการยังไม่เป็นระบบที่ชัดเจน ทำให้ซะกาตที่จ่ายออกไปยังไม่สามารถแก้ไขความยากจนของพี่น้องที่มีสิทธิไม่ ที่จ่ายผ่านมือคนยากจน คนละเล็กละน้อย กลายเป็นเบี้ยหัวแตก ไม่ก่อเกิดประโยชน์อันใด ทั้งที่กองทุนซะกาตน่าจะเป็นกองทุนที่สร้างโอกาส สร้างสวัสดิการให้กับพี่น้อง เพราะสิ่งนี้ เป็นบัญญัติ ที่ระบุไว้ในคัมภีร์ กุรอ่าน และคำสั่งใช้ของท่านนบีมุฮัมหมัด(ศ๊อลฯ) ในการดูแลสังคม
         จากกลุ่มเล็ก จาก การพูดคุย การมองเห็นปัญหา เกิดการผลักดันกองทุนซะกาต เข้าสู่ที่ประชุมของคณะกรรมการอิสลามจังหวัดเชียงใหม่ เสนอให้จัดตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการด้านนี้โดยเฉพาะ มติที่ประชุมเห็นด้วยและเร่งดำเนินการ ให้บรรลุผล เพื่อจะได้ก่อประโยชน์และสร้างความสุขให้กับพี่น้องที่กำลังประสบปัญหา ในด้านอาชีพ การดำรงชีวิต การศึกษา  จึงมีการแต่งตั้งคณะทำงานร่วมกับกรรมการอิสลามจังหวัด และกรรมการกองทุนซะกาตและบัยตุลมาล จังหวัดเชียงใหม่ โดยการทำงานขึ้นตรงกับสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเชียงใหม่ ในฝ่ายซะกาต  
       ท่านอีหม่ามมุสตอฟา หะซัน ประธานใหญ่ที่ปรึกษากองทุนซะกาตฯ เชียงใหม่กล่าวว่า “ โครงการกองทุนซะกาตฯ ทาง กอจ.ชม ได้แต่งตั้ง คณะอนุกรรมการดำเนินงาน เพื่อรวบรวมซะกาตในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และทั่วไป จัดให้บุคคล 8 จำพวก เราแบ่ง การจ่ายซะกาตหลัก ๆ ไว้ 4 กองทุน คือ ซะกาตสังคมสงเคราะห์ ซึ่งกลุ่มเป้าหมายกลุ่มนี้คือ ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย ไม่มีคนดูแล ผู้พิการ และบุคคลที่อยู่ในเงื่อนไขของผู้มีสิทธิรับซะกาต  สองคือ กองทุนเพื่อการศึกษาเด็กยากจน ในส่วนนี้ เราจะจัดกิจกรรม ในพื้นที่มัสยิด เพื่อให้ เด็กเยาวชน ได้มาพบปะ รู้จัก แลกเปลี่ยน อีกทั้งยังได้รับฟังการนาซีฮัต(การตักเตือน) จากผู้รู้ นักวิชาการศาสนา ของ กองทุนอีกด้วย  กลุ่มที่สาม ก็จะเป็นกองทุนส่งเสริมหรือพัฒนาอาชีพ กองทุนนี้ เราจะต่อยอดสำหรับผู้มีอาชีพอยู่แล้ว แต่ยังขาดอุปกรณ์ ในการประกอบอาชีพ ส่วนนี้ กรรมการกองทุนฯ จะเป็นผู้เข้าลงไปดูถึงความต้องการของพี่น้องชาวซะกาต เพื่อตอบสนองตรงตามความต้องการของผู้รับอย่างแท้จริง และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง  ส่วนที่สี่ ส่วนนี้ เราเรียกว่า กองทุนฉุกเฉิน ใช้ได้ในกรณี มูซาเฟร(คนเดินทาง) เช่นตกรถไม่มีค่ารถกลับบ้าน เจ็บไข้ได้ป่วย หรือกรณีจำเป็นใด ๆ ที่คณะกรรมการเห็นว่าอยู่ในเงื่อนไข และมีสิทธิในการรับซะกาต โดยความเห็นของ กรรมการ เป็นอันสิ้นสุด”
       ปัจจุบันกองทุนซะกาตจังหวัดเชียงใหม่ ยังคงเป็นแหล่งพึ่งพิง ของ พี่น้องชาวซะกาตในพื้นที่ ถึงแม้นกองทุนฯ ไม่สามารถ จะช่วยเหลือ พี่น้อง ได้อย่างเติมที่  เนื่องจากจำนวนเงินที่ได้รับ กับ จำนวนผู้รับซะกาต มีจำนวนมีค่อนข้างมาก จึงต้องเฉลี่ยแบ่งปันกัน เพื่อบรรเทาปัญหา ไปในระดับหนึ่งก่อน อินชาอัลลอฮฺ หากเป็นพระสงค์ ของเอกองค์อัลลอฮฺ ด้วยกับความเพิ่มพูนในริสกี รายได้ ของพี่น้อง เงินซะกาต ก็คงจะเพียงพอในการยกระดับฐานะคนยากจน ให้หมดสิ้นไป

บทความนี้ตีพิมพ์ในนิตยสารดิอะลามี

ความคิดเห็น