กองทุนสวัสดิการมัสยิดอัตตักวาเชียงใหม่ อีกหนึ่งเครื่องมือในการจัดการปัญหาในชุมชนมุสลิม โดย ชุมพล ศรีสมบัติ
กองทุนสวัสดิการมัสยิดอัตตักวาเชียงใหม่ อีกหนึ่งเครื่องมือในการจัดการปัญหาในชุมชนมุสลิม
โดย ชุมพล ศรีสมบัติ
การขับเคลื่อนงานของชุมชนมุสลิมอัตตักวาเชียงใหม่ การจัดการบริหารของชุมชนแห่งนี้ น่าสนใจมากถือได้ว่าเป็นชุมชนมุสลิมต้นแบบของพื้นที่ภาคเหนือในการพัฒนาที่เอื้อประโยชน์ให้กับสังคมชุมชนและอีกหนึ่งโครงการของความพยายามในการขับเคลื่อนกิจกรรมที่สามารถจะสร้างสุขให้กับพี่น้องในชุมชนคือ การจัดตั้งกองทุนสวัสดิการ
กองทุนสวัสดิในชุมชนมุสลิมแห่งนี้การคือความพยายามในการพึ่งพาตนเองที่ต้องการสร้างหลักประกันเพื่อความมั่นคงแก่คนในชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้นด้วยการยึดมั่นสายสัมพันธ์แห่งความเป็นพี่น้องในอิสลามการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งเป็นสิทธิและหน้าที่ของมุสลิมทุกคนที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย การช่วยเหลือเกื้อกูลกันนี้มิได้จำกัดในรูปของสิ่งของ หรือเงินทอง แต่ยังหมายรวมถึงการแสดงน้ำใจ การเสียสละแรงกายเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่พี่น้องของเรา
เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้เกิดความมั่นคงของคนในชุมชนเป็นฐานรากให้สามารถดำรงยืนหยัดเป็นตัวของตัวเองลดการพึ่งพาภายนอกเป็นฐานสำคัญที่จะนำไปสู่การพึ่งตนเองของชุมชนในมิติอื่น ๆ
น.ท.สมคิด ลัทธิศักดิ์กองทุนสวัสดิการชุมชนของมัสยิดอัตตักวา ทำการเปิดอย่างเป็นทางการ ไปเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2558 ที่ผ่านมา ทางกองทุนฯ ได้รับการสนับสนุนจากมัสยิด องค์กรในชุมชน และผู้ใหญ่ใจดีหลายท่านร่วม บริจาคสบทบเป็นทุนในการก่อตั้ง ครั้งแรก กว่าสองแสน บาท โดยมีเงื่อนไขว่า คนในชุมชนจะต้องร่วมเป็นเจ้าของกองทุน และต้องเป็นสมาชิก ทุกครอบครัว และสมาชิกต้องร่วมบริจาคให้กับกองทุนฯ วันละหนึ่งบาท หรือเดือนละ 30 บาท เป็นประจำทุกเดือน
อนันต์ ใบนานา นายอนันต์ ใบนานา ประธานกองทุนสวัสดิการภายใต้การดูแลของมัสยิดอัตตักวา เล่าว่า “ การเกิดขึ้นมา ของ กองทุนสวัสดิการชุมชน ในบ้านเรา ก่อนอื่นก็ต้องขอบคุณ องค์กร สสม. ที่มาจุดประกาย โดยการนำโครงการชุมชนรักษ์สุขภาวะฯ เข้ามาในพื้นที่ โดย ศูนย์กิจกรรมภาคเหนือ นำโดย น.ท.สมคิด ลัทธิศักดิ์ ผอ.ศูนย์กิจกรรมภาคเหนือ อ.ภัทธพงษ์ อิลาชาญและคณะ(องค์กรมุสลิมภาคเหนือเพื่อการพัฒนา) ซึ่งเป็นผู้ขับเคลือนสร้างแผนการทำงาน คณะกรรมการมัสยิด สัปปุรุษ์ ทั้งชายหญิง ที่ช่วยกันผลักดัน ให้เกิดการงานที่ดี ๆ นี้ขึ้นมา”นายอนันต์ เล่าอีกว่า " จริง ๆ แล้ว เรื่องการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการ อยู่ในความคิด ของผมมานานแล้ว แต่ ก็ได้แต่คิด เพราะขาดแนวร่วมและการสนับสนุน วันนี้ สิ่งที่ผมคิด สิ่งที่เคยฝัน เป็นจริงขึ้นมาได้ ก็ด้วยความร่วมมือจากองค์กร บุคคล ที่กล่าวไว้ข้างต้น ผมเริ่มเดินสาย หารืออิหม่าม คณะกรรมการมัสยิด พ่อค้า นักธุรกิจ มุสลิม สอบถาม ชาวบ้าน หากเราจะมีกองทุนฯ ที่สามารถจะช่วยเหลือ ซึ่งกันและกันได้ โดยช่วยกันวันละ 1 บาท เราจะเริ่มจาก การดูแลในเรืองของการตายก่อน ซีงแน่นอน ทุกชีวิต หนีไม่พ้นแน่นอน วันละบาทของท่าน เราจะจัดการ ดูแลช่วยเหลือท่าน
หากสมาชิกในชุมชนเสียชีวิต ทางคณะกรรมการที่เราจัดตึ้งขึ้น เราจะบริการจัดการมัยยิดหรือศพ อย่างครบวงจร คือตั้งแต่ประสานกุโบร์ (สุสาน) ขุดหลุม อาบน้ำ ผ้าห่อกะฟั่น กระทั้งฝั่งเสร็จ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ส่งอาหารในการดูแลบ้านญาติผู้เสียชีวิตให้อีกเป็นเวลา 3 วันและยังอำนวยความสะดวกวัสดุอุปกรณ์ในการจัดเลี้ยงทำบุญกรณีญาติผู้ตายร้องขอเรื่องนี้ขอเป็นเรืองหลักของกองทุนฯก่อน
ศุภมิตร ฟูอนันต์ อิหม่ามมัสยิดฯหากมีการเจ็บไข้ได้ป่วยคลอดบุตรทางกองทุนฯก็จัดมอบเงินช่วยเหลือตามระเบียบที่เราวางไว้อนาคตข้างหน้าเราจะจัดหาทุนการศึกษาสำหรับเด็กเยาวชนที่มีฐานะยากจนหรือผู้ที่ขัดสนซึ่งบ้างครั้งก็จนปัญญา หาทางออกไม่ได้ ไม่รู้จะพึ่งพาใคร สามารถมาหยิบยืมได้เพื่อแก้ไขปัญหาในภาวะที่จำเป็นเร่งด่วน เช่น หาเงินค่าเทอมให้ลูกไม่ทัน หรือเหตุฉุกเฉินใดๆที่คาดไม่ถึง โดยพิจารณาตามความจำเป็น...อินชาอัลลอฮ์"
กองทุนสวัสดิการของชุมชนมุสลิมอัตตักวาคือกองทุนซอดาเกาะห์(กองทุนบุญ)ให้แล้วลืมไปเลย ฝากไว้ที่อัลลอฮ์..จุดประสงค์ของการตั้งกองทุนเป้าหมายไม่ได้อยู่ว่าใครจะได้อะไรเท่าไหร่ แท้จริงแล้วอยากให้เกิดการมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เกิดความรัก การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ในขณะ ที่ในสังคมปัจจุบันที่มีแต่การแข่งขัน ตัวใครตัวมัน ให้กลับคืนสู่
ธรรมชาติของความเป็นมนุษย์ คืนสู่แบบอย่างการดำเนินชีวิตตามแบบอย่างท่าน นบี ซ๊อลฯ และบรรดาเหล่าซอฮาบะฮ์ เริ่มจากการเสียสละของเราคนละนิดคนละหน่อย เชื่อว่า หากพวกเราต่างมีเจตนารมณ์และเป้าหมายเดียวกัน อินชาอัลลอฮ์ต่อไปในอนาคต กองทุนลักษณะนี้จะเป็นที่พึ่งพาของคนในชุมชนได้มากกว่าที่คิดแน่นอน
นี่เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่ต้องใช้ ต้องการ ความรัก ความสามัคคี ของพี่น้องที่อยู่ร่วมกัน ร่วมกันคิด ร่วมกันสร้าง และร่วมรับประโยชน์ สิ่งที่เกิดมิได้เกิดจากความบังเอิญ หรือคนนอกมาจัดการให้ หากแต่เกิด จากภายในที่ประสบปัญหาร่วมกัน พร้อมช่วยกันแก้ไขหาทางออก ไม่ใช่ตัวใครตัวมัน ฉันรอดคนอื่นเป็นยังไงไม่สน นี่ไม่ใช่ความคิดของผู้ศรัทธา มีโอกาสได้นั่งคุยกับ ดร.สุชาติ เศรษฐมาลินี อาจารย์เล่าเรื่องราวหนึ่งที่น่าสนใจให้ฟังว่า...มีนักวิจัยฝรั่งกลุ่มหนึ่ง ทำการทดสอบ ในเรื่องของการอยู่รอดของมนุษย์ ในพื้นที่แถบแอฟฟิกาประเทศหนึ่ง โดยใช้วิธีวางอาหารไว้ที่แห่งหนี่ง นำเด็ก 10 คน มาทำการทดลอง โดยตั้งกติกาว่า ผู้ชนะเท่านั้นที่จะได้ครอบครองอาหาร..ลองคิดซิว่าถ้าเป็นเราท่าน จะทำเช่นไร บางคนอาจตอบว่า เด็กต้องแข่งขัน และวิ่งให้เร็วที่สุด เพื่อไปให้ถึงอาหารนั้น การแย่งชิง ความโกลาหลต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ครับผิดคาด.....เด็กทั้งสิบใช้วิธีจับมือกันแล้วก็ออกเดินไปพร้อมๆ
เพื่อให้ถึงอาหารที่วางไว้ ฝรั่ง...ถามว่าทำไมพวกคุณถึงทำเช่นนี้ เด็ก ๆตอบว่า ฉันจะมีความสุขได้อย่างไร ?ในขณะที่ฉันได้กินและเพื่อนของฉันต้องอดอยาก ในเรื่องนี้ท่านบี (ซ.ล.) ผู้เป็นสุดที่รักของเราได้กล่าวไว้ว่า
"ข้าขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่า ความศรัทธายังไม่สมบูรณ์สำหรับผู้ที่นอนหลับ ท้องก็อิ่ม ในขณะที่เพื่อนบ้านของเขากำลังหิวโหย" (บันทึกโดยอัลหัยษะมีย์)
ปัจจุบันความเสียสละและความมีน้ำใจ กำลังจะจางหายไปจากสังคมของเรา แต่หากเรา ต่างช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันสังคมก็เป็นสุข..
วันนี้หากผู้ด้อยโอกาสถูกทอดทิ้งย่อมเกิดช่องว่างระหว่างคนมีฐานะกับพวกเขาแน่นอนสิ่งที่ตามมาคือปัญหาของสังคมซึ่งความรับผิดชอบต้องเกิดกับผู้นำชุมชน พี่น้องที่อยู่บ้านใกล้เรือนเคียงทีต้องเตรียมคำตอบไว้ในวันพิพากษา
เชื่อว่าการจัดสวัสดิการชุมชนจะเป็นกลไกการทำงานอีกหนึ่งรูปแบบที่จะบรรเทาปัญหาได้ในระดับหนึ่งและที่สำคัญก่อให้เกิดความสัมพันธ์การเชื่อมร้อยความรักของคนในชุมชนให้เหนียวแน่นขึนด้วยความเป็นพี่น้องร่วมศรัทธาเราท่านจะรู้สึกมีมั่นคงภาคภูมิใจอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีและมีความสุข อีกทั้งทำให้พี่น้องได้มีทั้งสุขภาพใจ กาย ที่ดี อินชาอัลลอฮ์..แน่นอน การตอบแทนของอัลลอฮ์ย่อมมีแก่ผู้ประกอบการดีเสมอ..อามีน
(ชุมพล ศรีสมบัต
รอง ผอ.ศูนย์กิจกรรมภาคเหนือ มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย สสม. 2558)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
โปรดใช้วิจารณญานในการแสดงความคิดเห็น