ผู้หญิงกับความรุนแรง หย่าสามครั้งในอิสลามที่ประเทศอินเดีย

 ผู้หญิงกับความรุนแรง หย่าสามครั้งในอิสลาม

โดยชุมพล  ศรีสมบัติ

     ในปี 2013 มีโอกาสได้ไปศึกษาดูงานที่ประเทศอินเดีย

      ถ่ายภาพกับ นอซิน นักกฏหมายสาวมุสลิม


    ที่เมืองมุมใบ ในวันที่ ๒๔ มิ.ย. 2013 พวกเราแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม ผมเลือกไปดูงานที่ Majlis (ศูนย์กฏหมายมาฮ์จิส) เป็นองค์กร การศึกษาและเสริมพลัง ผู้หญิงเกี่ยวกับสิทธิทางกฏหมายของสตรี และนักเคลื่อนไหวชาวมุสลิม ทีทำงานเพื่อส่งเสริมสิทธิของผู้หญิงมุสลิม เราได้พูดคุย กับ นอชิน นัก กฏหมายสาวมุสลิม ซึ่งนับได้ว่าเธอทำงานด้านกฏหมายเกี่ยวกับสตรีกรณีผู้หญิงที่ถูกฟ้องหย่า

         ประเด็น ที่น่าสนใจ หรือที่ผมสนใจมาก คือประเด็น การหย่า สาม ครั้ง ของ คนมุสลิม เธอเล่าให้ฟังว่า ตอนเมือเธอยังเด็กเธอได้เห็น คุณลุงของเธอ บอกหย่า กับคุณป้า ของเธอ สามครั้ง ก็ถือเป็นอันว่าต้องขาดกัน คุณป้าของเธอกลายเป็นหญิงหม้ายต้องทิ้งลูกตั้ง 5 คนไว้กลายเป็นหญิงหม้ายที่ไม่มีที่พึ่งไร้เกียรติ์ในสังคม เธอเคยคิดว่า กฏหมาย อิสลามช่างไม่ยุติธรรมต่อผู้หญิงเลย

         เธอมุ่งมั่นเรียนกฏหมาย จนจบ และเธอก็มาทำงานในประเด็นผู้หญิง เธอให้ความรู้ในเรือง ของการหย่า สำหรับ ผู้หญิงมุสลิม ไม่ใช่พูดสามครั้ง แล้วจบ แต่ในกฏหมายอิสลามนั้น มีเงื่อนไข ในการหย่า เพราะไม่ใช่เรื่องของปัจเจก แต่เป็นผลกระทบของคนหลายคน ตั้งแต่ครอบครัว สังคม ชุมชน การที่การหย่าจะมีผลสมบรูณ์ เธอบอกว่า มีเงื่อนไข ว่า  หนึ่งต้องมีเหตุอันสมควร สองต้องมีสภาพจิตใจที่สมบรูณ์ และผู้ที่มีอิดดะคือ ระยะเวลาที่บรรดาหญิงรอคอยและไม่สามารถแต่งงานใหม่หลังจากสามีเสียชีวิตหรือหย่าจากนางไป

         หญิงที่อยู่อิดดะฮฺจากการหย่าที่มีสิทธิ์คืนดีได้ ต้องพักที่บ้านของสามี นางจักต้องได้รับค่าเลี้ยงดูและที่พักอาศัย เพราะนางยังมีสภาพเป็นภรรยาอยู่ และไม่อนุญาตขับไล่นางออกจากบ้านของสามี เว้นแต่นางได้ประพฤติในสิ่งที่หยาบโลนอย่างชัดแจ้งจากคำพูด หรือการกระทำ ที่จะสร้างความเสื่อมเสียให้กับสมาชิกในครอบครัว 

         ทั้งนี้ ผู้หญิงมุสลิมยังมีสิทจบธิในมะฮัร (สินสอด)ซึ่งต้องคืนให้เธอ  การหย่า เป็นสิทธิทั้งหญิง และชาย  เรื่องนี้ ก็ฟังเขามาอีกที หากผิดพลาดประการใดผมขอน้อมรับการชี้นำ ทุกประการ

ภาพอาวุธที่สร้างความรุนแรงวาดจากคนในครอบครัว



ปัญหาสังคม ปัญหาครอบครัว ปัญหาความรุนแรงในประเทศอินเดีย หรือที่ไหน ๆ ในโลก สังคมที่มีชายเป็นใหญ่ ยิ่งในอินเดีย มีวัฒนธรรมที่หญิงสู่ขอชาย และต้องมีสินสอดให้กับฝ่ายชาย ซึ่งเป็นความทุกข์ทรมารของผู้ปกครองฝ่ายหญิง และเป็นหน้าที่ ที่ต้องหาคู่ให้กับลูกสาว  
       เป็นภาระอันหนักอึ้งของผู้ปกครอง เป็นเรื่องน่าอับอายเมื่อลูกสาวโตมาไม่สามารถให้ลูกสาวออกเรือนได้  จึงเกิดโศกนาฏกรรมขึ้น เล่ากันว่าคนอินเดียเลือกจะทำแท้งหากรู้ว่าเด็กในท้องเป็นผู้หญิง หรือถ้าลืมตาดูโลกแล้ว ก็จะหาทางทำให้ตายเพราะมองไม่เห็นประโยชน์ที่จะมีลูกสาว



เข้าใจว่าในสังคมมุสลิมในอินเดียเองส่วนใหญ่ก็ยังคงมีการปฏิบัติตามจารีตประเพณีเดิมดังกล่าวข้างต้น เคยได้ยินเพื่อนบ้านที่เป็นชาวปากีฯท่านหนึ่งเล่าถึงความทุกข์ในหัวอกที่ลูกสาวยังไม่ออกเรือน และมุสลิมอินเดียท่านหนึ่งยังต้องหาสินสอดให้กับฝ่ายชาย 
    การด้อยค่าสตรี การใช้ความรุนแรงการหย่าสามครั้ง โดยไม่เข้าใจเจตนารมณ์ของบทบัญญัติจึงเป็นปัญหาการด้อยค่า ลดเกียรติ ลดทอนคุณค่าเด็กและสตรีผลักให้เขาและเธอเผชิญชะตากรรมที่ไม่ได้ก่อ โดยใช้ กฏศาสนาหรือกฏใด ๆ ตามที่ตนเองเข้าใจ มาเป็นตัวตัดสิน อัฏเตาฟิรุลลอฮ


ข่าวมุสลิมเชียงใหม่










ความคิดเห็น