ร่วมงานเลี้ยงฉลองอีดอิดิ้ลอัฏฮาที่ผ่านมา กับชมรมมุสลิมชาวใต้ภาคเหนือ และชมรมมาลายูล้านนา ณ ร้านอาหารพริกไทย หน้ามัสยิดบ้านฮ่อ เชียงใหม่
ย้อนไปเมื่อเดือน สิงหาคม 2562 เวลา 17.00 น. ดร.ธานินท์ สลาม ประธานชมรมมุสลิมชาวไทยภาคเหนือ กล่าวต้อนรับและเล่าถึงความเป็นมาของชมรมฯ นายกวินธร วงค์ลือเกียรติ กล่าวขอบคุณ และชื่นชมในการรวมตัวของมุสลิมเชื้อสายมาลายูที่มาอาศัยและเข้ามาทำงานในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่
อาจารย์ธานิน สลาม ปธ.มุสลิมชาวใต้นายมะสุกี กือเต๊ะ เลขาของชมรมฯ กล่าวว่า "การจัดตั้งชมรม ขึ้นมาเพื่อเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างมุสลิมชาวใต้ ส่งเสริมการดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในยามเจ็บไข้ได้ป่วย หรือกรณีการเสียชีวิต ถือเป็นเรื่องใหญ่ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องเร่งรีบจัดการ ทางชมรมฯ ยังได้จัดตั้งกองทุนสวัสดิการโดยรวบรวมจากสมาชิก เพื่อดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกัน"
นายมะสุกี กล่าวอีกว่า "ภายใต้ชมรมมุสลิมชาวใต้ภาคใต้ ยังมีชมรมย่อยของมุสลิมในพื้นที่สามจังหวัดชายแดน รวมตัวกัน เป็นชมรมมาลายูภาคใต้ แต่ก็ถือเป็นทำงานร่วมกันในร่มใหญ่ เป้าหมายคือรักษาอัตลักษณ์ ของชาวมุสลิมมาลายู พลัดถิ่น ที่มารับราช ประกอบธุระกิจ มัคคุเทศก์และอีกหลากหลายอาชีพ ในจังหวัดเชียงใหม่ มีโอกาสได้พบปะพูดคุยกันดำรงไว้ซึ่งความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน สำคัญเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับคนพื้นที่อย่างสันติสุข"
**เรื่องของการรวมกลุ่ม ที่มีความเหมือนทางวัฒนธรรมเป็นเรื่องของวิถีชีวิตของมนุษย์ในแต่ละแห่งหรือแต่ละ ชุมชนหรือแต่ละสังคมที่มีการปฏิบัติ เลือกสรร ปรับเปลี่ยน ประยุกต์ และถ่ายทอดสืบๆ ต่อๆ กันมา ดังนั้นในแต่ละกลุ่มหรือแต่ละสังคมจึงมี วัฒนธรรมย่อย สังคมพหุวัฒนธรรม
ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า สังคมไทยมีสภาพความเป็นพหุวัฒนธรรมตลอด มา ผู้คนที่อาศัยอยู่ร่วมกันในสังคมไทยอย่างมีความสุขนั้น มีความ หลากหลายหรือมีความเป็นพหุ ทั้งในด้านชาติพันธุ์ ศาสนา และ วัฒนธรรม การเข้าใจถึงวัฒนธรรมที่หลากหลายจึงเป็นสิ่งจาเป็นของการ อยู่ร่วมกันอย่างสันติ ความความหลากหลายในสังคมพหุวัฒนธรรม
(**Nurihah)อ้างอิง
เชียนเมื่อวันที่ 24 ส.ค.2019
โดยชุมพล ศรีสมบัติ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
โปรดใช้วิจารณญานในการแสดงความคิดเห็น