การบริหารและการ ใช้อำนาจของผู้นำ ตามหลักศาสนาอิสลาม
โดย : อนันต์ (อับดุลฮา กีม) วันแอเลาะ เลขานุการคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนนทบุรี
อิสลามได้กำหนดแนวทางให้ผู้นำในทุกระดับชั้น ต้องบริหารและใช้อำนาจให้เป็นไปตามบทบัญญัติอิสลามในทุกกรณี ตั้งแต่วิธีการได้มาซึ่งตำแหน่งผู้นำ การจัดตั้งองค์กร การปรึกษาหารือ การบริหารการจัดการ ปรัชญา วิสัยทัศน์ โดยมุ่งสู่คุณานุประโยชน์ที่ประชาคมมุสลิมจะพึงได้รับเป็นประการสำคัญ ทั้งในด้านการศึกษา จริยธรรม สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง
การนำระบบที่มิใช่อิสลามมาใช้ในการปกครอง เป็นการทำลายอิสลามและประชาคม สังคมจะเต็มอยู่ด้วยการต่อสู้ ช่วงชิง ความแตกแยก และความเป็นสัตรู และที่ร้ายที่สุดคือ การเสียประโยชน์ของสัปปุรุษในสังคมที่มีความขัดแย้ง
อิสลามได้วางหลักการปกครองไว้ดังนี้ :
[ وَمَنْ لَمْ يَحْكُمْ بِمَا أَنْزَلَ اللهُ فَأُولئِكَ هُمُ الْكَافِرُوْنَ ]
[ سُوْرَةُ الْمَائِدَةِ : ٤٤ ]
บุคคลใดที่ไม่ปกครองให้เป็นไปตามพระบัญญัติที่อัลเลาะห์ได้ทรงประทานมา พวกเขาเหล่านั้นคือพวกกาเฟร ซูร่อตุ้ลมาอิดะห์ โองการที่ 44
[ وَمَنْ يَبْتَغِ غَيْرَ اْلإِسْلاَمِ دِيْنًا ، فَلَنْ يُقْبَلَ مِنْهُ فَهُوَ اْلآخِرَةِ مِنَ الْخَاسِرِيْنَ ]
[ سُوْرَةُ آلَ عِمَرَانَ : ٨٥]
และบุคคลใดแสวงหาแนวทางอื่นซึ่งมิใช่อิสลาม ไม่มีวันที่เขาจะได้รับการตอบรับ และเขาคือคนหนึ่งจากผู้ขาดทุนในวันอาคิเราะห์ ซูเราะห์อาละอิมรอน โองการที่ 85
ที่มาและสิทธิอำนาจของผู้นำ
ในหนังสือ [ قُرَّةُ الْعَيْنِ بِفَتَاوَى عُلَمَاءِ الْحَرَمَيْنِ ] หน้า 136 , ซึ่งเป็นหนังสือตอบปัญหาในลักษณะอ้างอิงของท่าน [ اَلشَّيْخُ مُحَمَّدُ بْنُ سُلَيْمَانَ الْكُرْدِيُّ الْمَدَنِيُّ الشَّافِعِيُّ ] ได้ระบุที่มาและสิทธิอำนาจของผู้นำไว้ดังนี้ :
[ وَالسُّلْطَانُ الْمَذْكُوْرُ فِيْ بُلْدَانِكُمْ : يُسَمَّى إِمَامًا أَعْظَمَ ، بِمَعْنَى : أَنَّهُ تَنْفُذُ أَحْكَامُهُ كَاْلإِمَامِ اْلأَعْظَمِ ، وَيَجْرِيْ مِنْهُ مَا قَرَّرُوْهُ فِي اْلإِمَامِ اْلأَعْظَمِ ، فَلَقَدْ صَرَّحَ أَئِمَّتُنَا : أَنَّ اْلإِمَامَةَ تَنْعَقِدُ بِطُرُقٍ
أَحَدُهَا : بِبَيْعَةِ أَهْلِ الْحَلِّ وَالْعَقْدِ مِنَ الْعُلَمَاءِ وَالرُّؤَسَاءِ وَوُجُوْهِ النَّاسِ الَّذِيْنَ يَتَيَسَّرُ اجْتِمَاعُهُمْ حَالَةَ الْبَيْعَةِ .
وَثَانِيْهَا : بِاسْتِخْلاَفِ اْلإِمَامِ .
وَثَالِثُهَا : بِاسْتِيْلاَءِ الشَّوْكَةِ ، وَإِنِ اخْتَلَّتْ فِيْهِ الشُّرُوْطُ كُلُّهَا .
وَسَلاَطِيْنُ بِلاَدِكُمْ فِيْمَا بَلَغَنِيْ ، لاَيَخْرُجُوْنَ عَنْ هذِهِ اْلأَقْسَامِ ، فَمَنِ اسْتَجْمَعَ الشُّرُوْطَ الَّتِي اشْتَرَطُوْهَا فِي فِي اْلإِمَامِ اْلأَعْظَمِ ، فَهُوَ إِمَامٌ أَعءظَمُ حَقِيْقَةً ، وَإِلاَّ : فَهُوَ مُتَوَلِّ بِالشَّوْكَةِ ، فَلَهُ حُكْمُ اْلإِمَامِ اْلأَعْظَمِ فِيْ عَدَمِ انْعِزَالِهِ بِالْفِسْقِ وَغَيْرِهِ . وَاللهُ أَعْلَمُ ]
ผู้ปกครองดังกล่าวในประเทศของท่าน [ ประเทศในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ] เรียกว่า อิหม่ามอะอ์ซอม ในความหมายที่คำสั่งต่างๆ ย่อมมีผลบังคับใช้เช่นเดียวกับอิหม่ามอะอ์ซอม และ ย่อมดำเนินภารกิจตามที่กำหนดไว้ในตำแหน่งอิหม่ามอะอ์ซอมทุกประการ บรรดาผู้นำทางวิชาการของเราต่างแสดงทัศนะไว้เป็นที่ชัดเจนว่า ผู้นำสูงสุดนั้น ได้มาในหลายแนวทางดังนี้ :
1. โดยการให้สัตยาบันของบารมีชน จากกลุ่มนักวิชาการอิสลาม บรรดาหัวหน้า และบุคคลชั้นนำในสังคม ที่อาจรวมตัวกันได้ขณะให้สัตยาบัน
2. โดยการแต่งตั้งจากผู้นำคนก่อน
3. โดยการทำรัฐประหารของกองกำลังติดอาวุธ แม้จะมีความบกพร่องในเงื่อนไขทั้งหมดก็ตาม
ผู้ปกครองในประเทศของท่านตามที่ข้าพเจ้าทราบนั้น ต่างอยู่ในแนวทางเหล่านี้ ดังนั้น ผู้ที่มีเงื่อนไขครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในตัวผู้นำสูงสุด ย่อมถือได้ว่าเป็นอิหม่ามอะอ์ซอมโดยแท้จริง แต่ถ้าไม่ครบถ้วนเรียกว่า [ مُتَوَلٍّ بِالشَّوْكَةِ ] ซึ่งเป็นอิหม่ามอะอ์ซอม ในกรณีที่จะทำการถอดถอนในฐานะที่ทำความผิดหรือในกรณีอื่นมิได้ อัลเลาะห์ทรงเป็นผู้รู้ยิ่ง .
ในตำราบางเล่ม เรียกผู้นำที่ขาดคุณสมบัติซึ่งได้มาด้วยวิธีการหนึ่งวิธีการใดข้างต้นว่า อิหม่าม
ด็รูเราะห์ [ إِمَامُ ضَرُوْرَةٍ ] ซึ่งมีสิทธิและอำนาจเช่นเดียวกับอิหม่ามอะอ์ซอมทุกประการ
ผู้ตามต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามผู้นำ
ในหนังสือ [ تَنْوِيْرُ الْقُلُوْبِ فِيْ مُعَامَلَةِ عَلاَّمِ الْغُيُوْبِ ] หน้า 49 ระบุข้อความไว้ดังนั้น :
[ وَكَذلِكَ : تَجِبُ الطَّاعَةُ ِلأَئِمَّةِ الْمُسْلِمِيْنَ فِيْ غَيْرِ مَعْصِيَةِ اللهِ تَعَالَى ، لِقَوْلِهِ تَعَالَى : [ أَطِيْعُوا اللهَ وَأَطِيْعُوا الرَّسُوْلَ وَأُولِى اْلأَمْرِ مِنْكُمْ ] ، قَالَ بَعْضُهُمْ : اَلْمُرَادُ بِهِمْ : اَلْعُلَمَاءُ الْعَامِلُوْنَ بِعِلْمِهِمْ ، اَْلآمِرُوْنَ بِالْمَعْرُوْفِ وَالنَّاهُوْنَ عَنِ الْمُنْكَرِ ، وَقَالَ بَعْضُهُمْ : اَلْمُرَادُ بِهِمْ : أُمَرَاءُ الْحَقِّ الْعَامِلُوْنَ بِأَمْرِ اللهِ وَأَمْرِ السُّنَّةِ ، وَلاَيُطَاعُوْنَ فِيْ مَعْصِيَةِ اللهِ ، لِقَوْلِهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : [ لاَ طَاعَةَ لِمَخْلُوْقٍ فِيْ مَعْصِيَةِ الْخَالِقِ ] رَوَاهُ اْلإِمَامُ أَحْمَدُ وَالْحَاكِمُ ]
และเช่นเดียวกัน วายิบต้องปฏิบัติตามบรรดาผู้นำของหมู่มวลมุสลิม ในกรณีที่ไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อ อัลเลาะห์ผู้ทรงสูงส่ง ดังพระดำรัสของพระผู้ทรงสูงส่งที่ระบุว่า : [ จงปฏิบัติตามอัลเลาะห์ และจงปฏิบัติตาม ร่อซู้ล และผู้นำในหมู่พวกท่าน ] นักวิชาการอิสลามบางท่านให้ทัศนะว่า จุดมุ่งหมายของคำว่าผู้นำ หมายถึง นักวิชาการอิสลามที่ทำตามความรู้ ที่กำชับให้ทำความดี และที่ห้ามมิให้ทำความชั่ว , และนักวิชาการอิสลามอีกบางท่านให้ทัศนะว่า จุดมุ่งหมายของคำว่าผู้นำ หมายถึง ผู้นำผู้มีสิทธิ์อำนาจ ซึ่งปฏิบัติตามพระบัญชาของ อัลเลาะห์และตามซุนนะห์ แต่จะปฏิบัติตามผู้นำไม่ได้ ในกรณีที่เป็นการฝ่าฝืนต่ออัลเลาะห์ ตามพระคำของท่านร่อซู้ล [ ซ.ล. ] ที่ระบุว่า : [ ไม่มีการปฏิบัติตามสิ่งที่ถูกสร้าง ในกรณีที่เป็นการฝ่าฝืนต่อพระผู้สร้าง ]
รายงาน โดย อิหม่ามอะห์หมัดและท่านฮาเก็ม
อำนาจหน้าที่ของกรรมการ
ซูรอหรือการปรึกษาหารือหรือการประชุม เป็นกลไกสำคัญที่ถูกนำมาใช้ในการบริหาร โดยเฉพาะในปัญหาที่ไม่มีตัวบทกำหนดไว้อย่างชัดเจน คือเป็นหน้าที่ของผู้นำที่ต้องเรียกประชุมปรึกษาหารือ และการ วินัจฉัยของผู้นำถือเป็นที่สิ้นสุด จะถือเสียงข้างมากจากที่ประชุมมิได้ ในอิสลามนั้นเสียงข้างมากจะถูกนำมาใช้ในกรณีการคัดเลือกผู้นำสูงสุดของชุมชน เพียงกรณีเดียวเท่านั้น ดังปรากฏหลักฐานในหนังสือ [ اَلشُّوْرَى ] ของ ดร.อับดุลเลาะห์ บิน อะห์หมัด กอดีรีย์ หน้า 92 ดังนี้ :
[ وَلكِنْ يَبْدُوْ أَنَّ رَأْيَ اْلأَكْثَرِيْنَ : يَجِبُ أَنْ يَكُوْنَ مُلْزَمًافِي اخْتِيَارِ خَلِيْفَةِ الْمُسْلِمِيْنَ ]
แต่เป็นที่ปรากฏชัดว่า ความเห็นส่วนใหญ่ จะมีผลบังคับเฉพาะในการเลือกผู้นำสูงสุดของหมู่มวลมุสลิมเท่านั้น
ที่เป็นเช่นนั้นเพราะ สังคมไม่มีผู้นำ ซึ่งเป็นหน้าที่ของ [ أَهْلُ الْحَلِّ وَالْعَقْدِ ] หรือ [ คนบารมีชนในสังคม ] ที่ต้องสรรหาผู้นำ โดยใช้เสียงข้างมากของที่ประชุมเป็นเครื่องมือในการตัดสิน
ในอิสลามกรรมการมีฐานะเป็นเพียงที่ปรึกษา และผู้ปฏิบัติตามคำสั่งโดยชอบของผู้นำเท่านั้น จะใช้เสียงข้างมากของที่ประชุม มาบีบบังคับให้ผู้นำต้องปฏิบัติตามความต้องการของกรรมการมิได้ การประชุมในอิสลามจึงไม่มีการขอมติจากที่ประชุม แต่ข้อวินิจฉัยของผู้นำ คือมติที่ประชุม และคือคำสั่งที่กรรมการทุกคนต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตาม จะฝ่าฝืนมิได้ การฝ่าฝืนจะมีความผิดตามหลักศาสนาอิสลามในข้อหาเป็น [ بُغَاةٌ ] หรือ [ กบฏ ] ซึ่งต้องถูกปราบปรามและถูกประหารชีวิต หากไม่กลับตัวปรับใจ ทั้งหมดนั้นก็เพื่อความเป็นเอกภาพและความเป็นระเบียบ อันจะก่อเกิดพลังอันยิ่งใหญ่ ที่จะผลักดันสังคมให้รุดหน้าต่อไป .
ศาสนทูตแห่งอัลเลาะห์ [ ซ.ล. ] ระบุหน้าที่ของคณะทำงานหรือกรรมการไว้ดังนี้ :
[ وَعَنْ عَائِشَةَ رَضِيَ اللهُ عَنْهَا قَالَتْ : قَالَ رَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : إِذَا أَرَادَ اللهُ بِاْلأَمِيْرِ خَيْرًا ، جَعَلَ لَهُ وَزِيْرَ صِدْقٍ ، إِنْ نَسِيَ ، ذَكَّرَهُ ، وَإِنْ ذَكَرَ ، أَعَانَهُ ، وَإِذَا أَرَادَ بِهِ غَيْرَ ذلِكَ ، جَعَلَ لَهُ وَزِيْرَ سُوْءٍ ، إِنْ نَسِيَ ، لَمْ يُذَكِّرْهُ ، وَإِنْ ذَكَرَ ، لَمْ يُعِنْهُ ] [ رَوَاهُ أَبُوْ دَاوُوْدَ بِإِسْنَادٍ جَيِّدٍ عَلَى شَرْطِ مُسْلِمٍ ]
รายงานจากอาอิซะฮ์ [ رَضِيَ اللهُ عَنْهَا ] ว่า ศาสนทูตแห่งอัลเลาะห์ [ ซ.ล. ] ทรงกล่าวว่า เมื่ออัลเลาะห์ทรงมีพระประสงค์ดีต่อผู้นำ พระองค์จะประทานให้เขามีผู้ปฏิบัติงานที่มีความจริงใจ หากลืม เขาก็จะเตือน หากนึกขึ้นได้ ก็จะให้ความช่วยเหลือ และเมื่อทรงมีพระประสงค์เป็นอย่างอื่น ก็จะประทานให้เขามีผู้ร่วมงานที่ชั่วช้า หากลืมก็จะไม่เตือน หากระลึกได้ ก็จะไม่ให้ความช่วยเหลือ
ราย งานโดยอะบูดาวูด ด้วยสายรายงานที่ครบถ้วนตามเงื่อนไขของท่านมุสลิม
อำนาจหน้าที่ของกรรมการจึงมีอยู่เพียง 2 ประการ คือ :
1. ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่อผู้นำ
2. ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้นำ
การยุติข้อขัดแย้ง
ในการประชุม ซึ่งประกอบไปด้วยประธานและกรรมการ เพื่อพิจารณาเรื่องหนึ่งเรื่องใด ความเห็นที่แตกต่างกัน จากการให้คำปรึกษาหรือข้อเสนอแนะของกรรมการ ถือเป็นเรื่องปกติและเป็นสิ่งที่ดี เพื่อผู้นำจะได้เทียบเคียงเหตุผล และวินิจฉัยคัดเลือกแนวทางที่ดีที่สุด ใกล้เคียงกับเจตนารมณ์ของอิสลามมากที่สุด ไปใช้ในการบริหารจัดการ
การขัดแย้งที่เกิดขึ้นในการประชุมระหว่างกรรมการด้วยกันเอง หรือการขัดแย้งในหมู่มวลสัปปุรุษ ต้องให้ผู้นำเป็นผู้ตัดสินวินิจฉัย ดังความที่ปรากฏในพระคัมภีร์อัลกุรอานดังนี้ :
[ فَلاَ وَرَبِّكَ لاَيُؤْمِنُوْنَ حَتَّى يُحَكِّمُوْكَ فِيْمَا شَجَرَ بَيْنَهُمْ ثُمَّ لاَيَجِدُوْا فِيْ أَنْفُسِهِمْ حَرَجًا مِمَّا قَضَيْتَ وَيُسَلِّمُوْا تَسْلِيْمًا ] [ سُوْرَةُ النِّسَاءِ : ٦٥ ]
มิได้ ขอยืนยันต่อองค์พระผู้อภิบาลของเจ้าว่า พวกเขาจะยังไม่มีศรัทธา จนกว่าพวกเขาจะมอบให้เจ้าเป็นผู้ตัดสินในข้อขัดแย้งระหว่างพวกเขา และจนกว่าจะไม่มีความคับแค้นใจในตัวพวกเขา ต่อกรณีที่เจ้าได้ตัด สินวินิจฉัย และจนกว่าพวกเขาจะตอบรับโดยดุษฎี ซูเราะห์ อันนิซาอ์ โองการที่ 65
ในวิชา [ วิธีพิจารณาความตัวบท ] หรือ [ أُصُوْلُ الْفِقْهِ ] ได้ระบุถึงวิธียุติข้อขัดแย้งไว้ดังนี้ :
[ إِذَا حَكَمَ الْحَاكِمُ ، يُرْفَعُ الْخِلاَفُ ]
เมื่อ ผู้นำได้ตัดสินวินิจฉัยแล้ว ข้อขัดแย้งต้องยุติทันที
สังคมของเราในปัจจุบันนี้ เป็นสังคม [ فَوْضَى ] ไร้ระเบียบแบบแผน ไม่รู้จักสิทธิอำนาจของตนว่ามีมากน้อยเพียงใด ไม่ยึดหลักศาสนาอิสลาม ตามอารมณ์ ยึดกิเลสและความคิดเห็นของตนเป็นที่ตั้ง ถ้าผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นมุสลิม ยังขาดความรู้ ความเข้าใจและขาดศรัทธา ที่จะประพฤติปฏิบัติให้เป็นไปตามพระบัญญัติที่พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงประทาน แล้ว ทั้งผู้นำ กรรมการ และสัปปุรุษ ย่อมต้องประสบกับความหายนะอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สมดังความในพระคัมภีร์อัลกุรอานที่ระบุว่า :
[ وَأَطِيْعُوا اللهَ وَرَسُوْلَهُ وَلاَتَنَازَعُوْا فَتَفْشَلُوْا وَتَذْهَبَ رِيْحُكُمْ وَاصْبِرُوْا ، إِنَّ اللهَ مَعَ الصَّابِرِيْنَ ]
[ سُوْرَةُ اْلأَنْفَالِ : ٤٦ ]
จงปฏิบัติตามอัลเลาะห์และศาสนทูตของพระองค์ และอย่าได้ขัดแย้งกัน อันจะเป็นเหตุให้พวกท่านต้องล้มเหลวปราชัย และสูญเสียซึ่งพลังของพวกท่าน และจงอดทน แท้จริง อัลเลาะห์ทรงอยู่เคียงข้างผู้ที่มีความอดทน ซูร่อตุ้ลอันฟาล โองการที่ 46
credit http://www.rabity.ac.th/index.php?mo=3&art=248666
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
โปรดใช้วิจารณญานในการแสดงความคิดเห็น