รากเหง้าของปัญหาชนกลุ่มน้อยชาวโรฮิงญาคือระบอบเผด็จการทหารพม่า

 รากเหง้าของปัญหาชนกลุ่มน้อยชาวโรฮิงญาคือระบอบเผด็จการทหารพม่า

โดย สุรพงษ์ ชัยนาม    

   

         กล่าวในภาพรวม ประเทศพม่าประกอบด้วยชาติพันธุ์ 19 กลุ่มหลักโดยชนกลุ่มน้อยชาวโรฮิงญาถือเป็นกลุ่มย่อยใน 19 กลุ่มชาติพันธุ์ เป็นชนกลุ่มน้อยที่นับถือศาสนาอิสลาม อาศัยอยู่ในรัฐอาราคาน(Arakan) ด้านทิศตะวันตกของพม่า มีพรมแดนติดต่อกับประเทศบังกลาเทศ ซึ่งในรัฐอาราคานมีชนชาติอาราคานที่นับถือศาสนาพุทธประกอบเป็นกลุ่มคนส่วนให ญ่ของรัฐอาราคาน     

       รัฐบาลเผด็จการทหารพม่าสมัยนายพลเนวินได้ทำการรัฐประหารโค่นรัฐบาลปร ะชาธิปไตยของอูนุเมื่อปี พ.ศ. 2505 และได้สถาปนาระบอบเผด็จการทหารมาตลอด 46 ปีที่ผ่านมา เป็นที่ทราบกันดีทั่วไปว่า นับตั้งแต่ระบอบเผด็จการทหารพม่าขึ้นมามีอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จเป็นเวลา 46 ปีเต็มจนถึงปัจจุบันระบอบเผด็จการทหารพม่ามีนโยบายเพื่อแบ่งแยกและปกครอง (divide and rule) ในพม่าอย่างชัดเจนมาตลอด ด้วยการใช้ปัจจัยความแตกต่างทางเชื้อชาติและศาสนาระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ทั้ ง 19 กลุ่มหลักและกลุ่มย่อย เป็นเครื่องมือทางการเมืองการปกครอง สร้างความเกลียดชังความแตกแยกระหว่างคนเชื้อชาติพม่า (ซึ่งมีกว่า 70%) กับกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ และระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ด้วยกัน ทั้งนี้ ฝ่ายเผด็จการทหารพม่าจะพยายามทำความเข้าใจและให้การสนับสนุนกลุ่มชาติพันธุ์ ต่าง ๆ ที่นับถือศาสนาพุทธเพื่อดึงมาเป็นแนวร่วม ในการทำสงครามปราบปรามกลุ่มชนส่วนน้อยอื่น ๆ ที่ไม่นับถือศาสนาพุทธ (เช่น ปราบปรามชาวกะเหรี่ยง KNU ที่นับถือศาสนาคริสต์และชาวโรฮิงญาซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม เป็นต้น) พร้อมกับให้ความร่วมมือกับกลุ่มชนส่วนน้อยบางกลุ่มหารายได้และผลประโยชน์มหา ศาลจากการผลิตและค้ายาเสพติดทุกประเภท (เช่น ยินยอมหลับหูหลับตาให้กับชนกลุ่มน้อยว้าแดงในรัฐฉานทำการผลิตและค้ายาบ้าเพื ่อลักลอบเข้ามาขายในประเทศไทย) ตลอดจนการหารายได้จากการทำลายสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ (เช่น การตัดไม้ทำลายป่า)   

       สำหรับกรณีของชนกลุ่มน้อยชาวโรฮิงญาในพม่านั้น รัฐบาลเผด็จการทหารพม่าได้ทำการปราบปรามอย่างรุนแรงมาโดยตลอด เพื่อบีบให้ชาวโรฮิงญาหนีการปราบปราม ทิ้งที่อยู่อาศัย อันเป็นการเปิดโอกาสให้ชาวอาราคาน (ซึ่งส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ) เข้ามาครอบครองพื้นที่อาศัยของชาวโรฮิงญา การบีบให้ชนกลุ่มน้อยชาวโรฮิงญาละทิ้งที่อยู่อาศัยเพื่อหนีการปราบปรามโดยฝ่ ายรัฐบาลเผด็จการทหารพม่าถือได้ว่าเป็นนโยบายการบริหารจัดการเพื่อกำจัดชาติ พันธุ์อย่างเป็นระบบ (managed ethnic cleansing) ไม่ต่างจากนโยบายของอดีตประธานาธิบดี Slobodan Milosevic ที่ใช้การปราบปรามชาวบอสเนียอย่างรุนแรงเพื่อบีบให้ออกจากพื้นที่อาศัย เปิดทางให้ชาวเซิร์บเข้ามายึดครองพื้นที่อาศัยของชาวบอสเนียในอดีตประเทศยูโ กสลาเวีย อีกทั้งไม่แตกต่างจากนโยบายและการปฏิบัติการรุนแรงของขบวนการก่อการร้ายใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย เพื่อหวังสร้างความสะพรึงกลัวให้กับชาวไทยที่ไม่ใช่มุสลิมหนีอพยพออกจากพื้น ที่อันตรายของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อันนำไปสู่สภาพการณ์ของผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ (internally displaced persons)เพื่อเปิดทางให้กับกลุ่มที่สนับสนุนการก่อการร้ายย้ายเข้ามายึดครอง พื้นที่ที่ถูกทอดทิ้ง   

       รัฐบาลเผด็จการทหารพม่าได้ทำการปราบปรามชาวโรฮิงญาอย่างรุนแรงและอย่ างกว้างขวางครั้งใหญ่ 2 ครั้ง (ช่วงปี พ.ศ. 2521 และ พ.ศ. 2544) โดยผลของการปราบปรามอย่างรุนแรงอย่างโหดเหี้ยมทั้งสองครั้งดังกล่าวได้ทำให้ ชาวโรฮิงญาหนีภัยไปอาศัยอยู่ในประเทศบังกลาเทศ (ครั้งแรกจำนวน 200,000 คน ครั้งที่สอง 250,000 กว่าคน) และแม้ว่าทางสำนักข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยของสหประชาชาติ (องค์การ UNHCR) จะได้ช่วยให้ชาวโรฮิงญาเดินทางกลับไปยังถิ่นฐานเดิมในพม่าช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2544-2548 แต่เนื่องจากทางรัฐบาลเผด็จการทหารพม่าได้ปล่อยให้ชาวอาราคานที่นับถือศาสนา พุทธเข้าไปครอบครองพื้นที่อาศัยของชาวโรฮิงญาเกือบหมดแล้ว อีกทั้งไม่เคยให้สัญชาติพม่าแก่ชาวโรฮิงญา (รวมทั้งชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ ในพม่า) เป็นผลทำให้ชาวโรฮิงญากลายเป็นบุคคลไร้สัญชาติในพม่าและยังต้องประสบกับการป ราบปรามอย่างต่อเนื่องจากฝ่ายทหารพม่า ทำให้ต้องหนีกลับไปหาที่พักพิงในค่ายผู้อพยพของ UNHCR (กว่า 60,000 คน) และค่ายที่ทางการบังกลาเทศจัดให้ (กว่า 100,000 คน) ภายใต้สภาพความเป็นอยู่ที่เลวร้าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านสาธารณสุขและสาธารณูปโภค      

       เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปทั้งในวงการของ NGO ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสิทธิมนุษยชนและความช่วยเหลือด้านมนุษ ยธรรมว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้ชาวโรฮิงญาหนีภัยไปยังประเทศบังกลาเทศนั้น เป็นเพราะการปราบปรามอย่างรุนแรงของรัฐบาลเผด็จการทหารพม่า ส่วนการหนีออกจากค่ายผู้อพยพในบังกลาเทศโดยเดินทางมาทางเรือโดยส่วนใหญ่อ้าง ว่าเพื่อไปยังประเทศมาเลเซีย แต่หลงทางหรือถูกลมพัดมายังฝั่งไทยนั้น มีสาเหตุสำคัญมาจากการไม่สามารถทนสภาพเลวร้ายของค่ายผู้อพยพ จึงจำเป็นต้องดิ้นรนหาแหล่งพักพิงใหม่ จึงทำให้เกิดขบวนการค้าและลักลอบมนุษย์ระหว่างประเทศ ทั้งนี้ การที่ชาวโรฮิงญาสามารถเดินทางออกมาจากประเทศบังกลาเทศทางเรือโดยเลาะมาตามช ายฝั่งของบังกลาเทศพม่า จนถึงไทยได้ย่อมต้องได้รับการรู้เห็นเป็นใจจากเจ้าหน้าที่ของบังกลาเทศและพม ่าจนสามารถมาขึ้นบนฝั่งไทยได้ มีการจ่ายเบี้ยบ้ายรายทางให้กับขบวนการลักลอบมนุษย์ ตลอดจนเจ้าหน้าที่ของบังกลาเทศ พม่า ไทย และมาเลเซียเป็นทอด ๆ ไป (ไม่แตกต่างจากขบวนการลักลอบมนุษย์ทางบกที่นำชาวเกาหลีเหนือหลบหนีออกมาจากเ กาหลีเหนือผ่านทางจีนลงมายังพม่าหรือลาว เพื่อเข้ามายังประเทศไทย) ชาวโรฮิงญาเหล่านี้เมื่อมาถึงไทยหรือมาเลเซียแล้วก็จะกระจายไปอยู่ตามโรงงาน ต่างๆ เป็นคนเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายที่กลายเป็นแรงงานผิดกฎหมาย ไม่ต่างจากแรงงานทาส และเป็นที่ต้องการของบรรดานายทุน เจ้าของโรงงาน เจ้าของไร่ยางพารา เพราะค่าจ้างต่ำมากเป็นพิเศษ ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ เป็นผลทำให้ประเทศไทยกลายเป็นแหล่งรองรับบุคคลเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายหลายสัญ ชาติหลายเผ่าพันธุ์ที่ขบวนการค้ามนุษย์และการลักลอบมนุษย์ในภูมิภาคเอเชียใต ้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียตะวันออก นำมาทิ้งไว้ให้ไทยต้องแบกภาระอย่างไม่มีที่สิ้นสุด โดยการสมรู้ร่วมคิดของบรรดาเจ้าหน้าที่ไทยที่ทุจริตประพฤติมิชอบ   

       โดยข้อเท็จจริงแล้ว รัฐบาลของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่ฝ่ายไทยจำต้องรีบดำเนินการหาทางแก้ไขปัญหาผ ู้เข้าเมืองผิดกฎหมายชาวโรฮิงญามาตั้งแต่กรกฎาคม 2550 แล้ว และได้มีบัญชาเป็นทางการมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศและสภาความมั่นคงแห่ งชาติเป็นหน่วยงานหลักร่วมกันพิจารณาดำเนินการหามาตรการแก้ไขเป็นการเร่งด่ว นที่สุด พร้อมทั้งได้สั่งการชัดเจนให้กระทรวงการต่างประเทศจัดการประชุมระดับภูมิภาค เกี่ยวกับประเด็นการลักลอบขนคนเข้าเมือง (Human smuggling) ที่กรุงเทพฯ ในโอกาสแรก ซึ่งรวมทั้งกรณีชาวโรฮิงญา แต่เวลาผ่านไป 1 ปีครึ่ง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกลับไม่ได้ดำเนินการอะไรอย่างจริงจัง กลับปล่อยปละละเลยจนมีเหตุการณ์ร้ายแรงตามที่เป็นข่าวเมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ทางกองทัพเรือได้ปฏิบัติต่อชาวโรฮิงญาอย่างไร้มนุษยธรรม เป็นผลให้ชาวโรฮิงญาเสียชีวิตกลางทะเลจำนวนมาก ส่วนข่าวดังกล่าวจะจริงหรือเท็จยังไม่มีใครสามารถยืนยันได้ แต่ที่แน่นอนคือ ภาพลักษณ์และภาพพจน์ของประเทศไทยได้รับความเสียหายไปแล้วจากการรายงานข่าวขอ งบรรดาสื่อต่างประเทศ เพราะความไม่เอาใจใส่และไม่รับผิดชอบของหน่วยงานของไทย โดยปล่อยปละละเลยมาเป็นเวลากว่า 1 ปีครึ่ง    

       ประเด็นข่าวเรื่องหน่วยงานไทยที่เกี่ยวข้องได้ละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อ ชาวโรฮิงญาจนมีผลทำให้เกิดการเสียชีวิตจำนวนมากนั้น ประเด็นไม่ได้อยู่ที่สิทธิในการผลักดันหรือในการส่งตัวชาวโรฮิงญากลับ ไปยังแหล่งที่เดิม เพราะทุกประเทศมีอำนาจอธิปไตยที่จะไม่ให้มีการเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย หากแต่ประเด็นอยู่ที่วิธีการดำเนินการและการปฏิบัติต่อชาวโรฮิงญาว่าผิดหลัก มนุษยธรรมหรือไม่ มีการดำเนินการเกินกว่าเหตุ และขัดต่อหลักการว่าด้วยสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานหรือไม่ แต่สิทธิมนุษยชนไม่ได้หมายความว่าชาวโรฮิงญามีสิทธิที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมา ยของไทยหรือมีสิทธิที่จะอ้างสิทธิมนุษยชนเพื่อละเมิดอธิปไตยในน่านน้ำของไทย ข้อครหาที่มีต่อรัฐบาลไทยจะเบาบางและหมดไปต่อเมื่อคณะกรรมการที่มีหน้าที่สอ บสวนหาข้อเท็จจริงในเรื่องนี้สามารถสรุปความจริงออกมาได้อย่างปราศจากข้อสงส ัยใด ๆ ในโอกาสแรก     

       โดยสรุปปัญหาเรื่องของคนเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายชาวโรฮิงญาโดยเนื้อหาแ ล้วไม่ได้แตกต่างจากแรงงานผิดกฎหมายชนกลุ่มน้อยชาวพม่าอีกกว่า 3 ล้านคนในประเทศไทย รวมทั้งแรงงานผิดกฎหมายชาวเกาหลีเหนือ ชาวลาว และกัมพูชาอีกหลายหมื่นคนที่เข้ามาในไทยอย่างผิดกฎหมาย แต่ในกรณีของชาวพม่า(ชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์ต่าง ๆ) ที่หนีมาฝั่งไทยจะด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจหรือเป็นเพราะถูกปราบปรามอย่างรุนแร งจากเผด็จการทหารพม่าก็ตาม ล้วนเป็นเหตุการณ์ยืนยันให้เป็นที่ประจักษ์อย่างปราศจากข้อสงสัยใด ๆ ทั้งสิ้นว่า รัฐบาลที่ทำการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงที่สุดและอย่างยาวนานที่สุดใน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือภูมิภาคอาเซียนคือรัฐบาลของระบอบเผด็จการ ทหารพม่าซึ่งอยู่ในอำนาจมากว่า 46 ปีแล้ว ไม่ใช่รัฐบาลไทยชุดปัจจุบันแน่นอน ตรงกันข้ามประเทศไทยกลับต้องมาแบกภาระหนักหน่วงดูแลผู้อพยพผู้เข้าเมืองโดยผ ิดกฎหมายจากประเทศพม่ามาเป็นเวลากว่า 46 ปี ทั้งนี้เพราะรากเหง้าของปัญหาชาวโรฮิงญาและปัญหาชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ จากพม่าที่หนีมาพักพิงในประเทศไทย มีสาเหตุโดยตรงมาจากระบอบการเมืองที่เป็นเผด็จการ และไร้มนุษยธรรมที่มีอยู่ในประเทศพม่า นั่นคือ ระบอบเผด็จการทหารพม่าที่ไม่เอื้ออาทรต่อประชาชนพม่าที่มุ่งแต่จะปราบปรามอย ่างรุนแรง ที่ไม่เคยคิดแก้ปัญหาขัดแย้งที่มีกับบรรดากลุ่มชนส่วนน้อยชาติพันธุ์ต่าง ๆ ด้วยวิธีการทางการเมืองหรือด้วยการเจรจาหาข้อยุติอย่างสันติวิธี แต่กลับมุ่งใช้การแก้ปัญหาขัดแย้งด้วยวิธีการทางการทหารตลอด 46 ปีที่ผ่านมา โดยไม่ใส่ใจกับผลกระทบร้ายแรงที่มีต่อประเทศเพื่อนบ้านอย่างไทย หากแต่จงใจสร้างปัญหาให้กับไทยมาโดยตลอดอย่างไม่มีที่จบสิ้น และในเมื่อข้อเท็จจริงเป็นดังกล่าวมานี้ จึงเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าเพราะเหตุใดความขัดแย้งระหว่างระบอบเผด็จการทหารพ ม่ากับบรรดากลุ่มชนส่วนน้อยกลุ่มต่าง ๆ ถึงไม่เคยได้ข้อยุติแบบสันติวิธีในรูปแบบของข้อตกลงทางการเมือง (political settlement) จะมีบางครั้งก็แต่เพียงในรูปแบบของข้อตกลงหยุดยิง (ceasefire agreement) อันเป็นเพียงการหย่าศึกชั่วคราวเท่านั้น เพื่อรอวันที่จะกลับมาห้ำหั่นกันอีกในอนาคต รากเหง้าของปัญหาร้ายแรงทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดขึ้นในพม่าและส่งผลกระทบทางล บโดยตรงต่อความมั่นคงทุกด้านของประเทศไทยคือ ระบอบการเมืองที่เป็นเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จที่มีอยู่ในพม่ามากว่า 46 ปีแล้ว ฉะนั้นตราบใดที่ยังไม่มีกระบวนการประชาธิปไตยและการปรองดองภายในพม่าเกิดขึ้ นอย่างเป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่องและอย่างชอบธรรมสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงบริเวณชายแดนด้านทิศตะวันตกของไทยก็ยากที่จะเกิดขึ้นได้

ชะตากรรมด้านสิทธิมนุษยชนของชาว "โรฮิงญา"      

  โรฮิงญา คือพม่าหน้าแขก ที่มีเชื้อสายบังกลาเทศ มีถิ่นฐานอยู่ไกลถึงแคว้นยะไข่ที่ติดกับบังกลาเทศ ปกติดินแดนแถบนี้ก็แปลกแยกจากพม่าอยู่แล้ว ชาวมุสลิม 5แสนคนที่นั่นยิ่งแปลกแยกจากชาวยะไข่ทั่วไปที่นับถือพุทธอีกด้วย โดยพวกเขามีชาติพันธุ์และหน้าตาเดียวกับแขกเบงกอลเพราะถูกอังกฤษลากให้เข้า มาอาศัยอยู่ในพม่า นับตั้งแต่ที่อังกฤษผนวกพม่าเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดินิยมอินเดียเมื่อ ร้อยกว่าปีก่อน

   นโยบาย แบ่งแยกและปกครองของฝรั่งเจ้าอาณานิคมสร้างความแตกแยกให้แก่ชนท้องถิ่นภาย ใต้อาณัติของตนมานานแล้ว และตกทอดมาถึงทุกวันนี้ ก็เพราะแขกมุสลิมจากเบงกอลฟากตะวันออกนั้น เข้ามาแย่งพื้นที่และทรัพยากรของพม่ายะไข่ คนท้องถิ่นก็เกลียดชัง รัฐบาลพม่าทุกวันนี้ก็กดขี่ชนิดทำกันอย่างไม่ใช่คน

         โรฮิงญาหลบหนีเข้าไทยมานานแล้ว โดยปะปนกับแรงงานต่างด้าวอื่นๆ ชนิดดูหน้าก็นึกว่า ชาวปากีสถาน หรือบังกลาเทศ เดิมทีก็ไม่น่าอันตรายด้านความมั่นคงของสังคมมากไปกว่าแรงงานต่างด้าวกลุ่ม อื่นที่ท่วมประเทศอยู่ในเวลานี้ เดินกันเต็มเมือง ชอนไชลึกซึ้งเข้าไปอยู่ถึงบ้านช่องห้องหอผู้ดีมีสกุล

    แต่ การที่ปรากฏกระบวนการชักนำชาวโรฮิงญาให้เข้าสู่ไทยอย่างเป็นระบบเมื่อไม่นาน มานี้และเกิดขบวนการเรียกร้องสิทธิมนุษยชนให้พวกเขาอยู่ในไทยอย่างถาวร จับได้ถึงความเกี่ยวข้องกับมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พื้นที่ที่กำลังลุกเป็นไฟอยู่นั้น เป็นเรื่องที่ไม่ธรรมดา 

    การจับกุมและผลักดันกลับชาวโรฮิงญาแค่พันเศษในปีนี้เทียบไม่ได้เลยกับโรฮิงญาอีกราว 2หมื่นที่อยู่ในประเทศไทยซึ่งยอมทำทุกอย่างเพื่อความอยู่รอดของตัว โดยส่วนหนึ่งมีการติดต่อกับกลุ่มมุสลิมเคร่งจารีต ชักพาลงไปทำอะไรลึกลับบริเวญรอยต่อชายแดนไทย-มาเลเซีย

   ผู้ นำพม่านั้นเป็นพวกเกลียดชังชนเชื้อสายอื่นและศาสนาอื่น ความคิดแบบโบราณนี้มีส่วนทำให้ความสงบในดินแดนที่เต็มไปด้วยคนหลาก ชาติพันธุ์นั้นไม่เกิดขึ้น คนไร้รากแบบโรฮิงญานั้นเป็นที่ถูกเกลียดอย่างที่สุด จึงต้องโดนกดขี่ขนาดหนัก ไม่มีสัญชาติ ไม่มีการศึกษา ไม่มีงาน ไม่มีอนามัย ไม่มีทรัพย์สิน โดนกระทืบทำร้ายและถูกเกณฑ์แรงงานเป็นประจำ บีบกันชนิดถ้าไม่อยากตายก็ต้องหลบหนีออกนอกประเทศ จึงมีโรฮิงญาเหลือในพม่าราวล้านคน แต่อพยพไปอยู่ในประเทศมุสลิมเอเชียอื่นราว 3ล้าน

           ตามความคิดของข้าพเจ้าแล้วการที่ประเทศ ไทยมีบทลงโทษผู้หลบหนีเข้าเมืองน้อย ทำให้โรฮิงญาเลือกหนีเข้าไทยก่อนเดินทางต่อไปประเทศอื่น ชาว โรฮิงญาเลือกเดินทางเข้าประเทศไทย เพราะเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ แล้ว ไทยมีการลงโทษทางกฎหมายกับผู้ที่หลบหนีเข้าเมืองไม่รุนแรง คนเหล่านี้จึงเดินทางเข้ามาเพื่อเดินทางต่อไปยังประเทศอื่น โดยเฉพาะประเทศมาเลเซีย ประกอบกับปัจจุบันมีขบวนการนายหน้านำพาคนเหล่านี้เข้ามาในประเทศไทยเราด้วย จึงทำให้คนเหล่านี้เดินทางโดยสะดวกมากขึ้น

      ส่วน สาเหตุที่ทำให้ชาวโรฮิงยาต้องอพยพออกจากประเทศนั้น เนื่องจากไม่ได้รับการรับรองจากทางการพม่า มีการถูกกระทำทารุณกรรม ถูกบังคับใช้แรงงานมาโดยตลอด พวกเขาต้องการสภาพชีวิตที่ดีขึ้นจึงพยายามหลบหนีออกนอกประเทศเพื่อไปแสวงโชค ในสิ่งที่ดีกว่า นี้ วิธีการแก้ปัญหาอย่างถาวรทำได้โดยรัฐบาลต้องรีบหารือกับประเทศที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาทางผลักดันคนเหล่านี้ออกนอกประเทศไปโดยเร็ว และต้องทำโดยยึดหลักสิทธิมนุษยชนด้วยเพราะอย่างไรพวกเขาก็ คือ มนุษย์ เช่นเดียวกับเรา

     

 ที่มา

  http://www.oknation.net/blog/lilyflower/2009/02/05/entry-1

คัดลอกบทความจาก

http://onknow.blogspot.com/2009/01/blog-post_9353.html


เปลือยชีวิต ชาวโรฮิงญา กับชีวิตที่มากกว่าคำว่า..โหดร้าย


   เปลือยชีวิต ชาวโรฮิงญา กับชีวิตที่มากกว่าคำว่า..โหดร้าย (คมชัดลึก)
             "อยู่ที่รัฐอาระกัน ก็เหมือนรอคอยความตาย สู้บากหน้ามาหาความหวังใหม่ดีกว่า" 
             "โร ฮิงญา" ชนกลุ่มน้อยในประเทศพม่า เชื้อชาติอาระกัน เอ่ยปากเล่าถึงชีวิตที่สุดแสนจะโหดร้ายของพวกเขา ในเขตพื้นที่จังหวัดหม่องดอ และจังหวัดสิดอ ในรัฐอาระกัน ประเทศพม่า   
             มามุต ฮุดเซ็น อายุ 50 ปี เล่าถึงครอบครัวของเขาที่จังหวัดหม่องดอ ทางตอนเหนือของประเทศพม่า ติดกับประเทศบังกลาเทศ ว่า มีเมีย 1 คน ลูกชาย 1 คน ผู้หญิง 3 คน มีอาชีพทำนา ซึ่งเป็นอาชีพหลักของชาวโรฮิงญาในย่านดังกล่าว "ลำบากมากๆ" มามุต บ่น เนื่องจากบางวันแทบจะไม่มีอะไรกินเลย เพราะความยากจน และยังถูกกลั่นแกล้งจากทหารพม่า ที่มักจะเข้ามาในหมู่บ้าน เก็บเกี่ยวผลผลิตของชาวบ้านไปหน้าตาเฉย ใครขัดขืนก็จะโดนเฆี่ยนด้วยหวาย หรือบางรายถึงขั้นโดนฆ่าทิ้งก็มีให้เห็นบ่อยๆ เมื่อใครไปขายของได้เงินแล้วหากทหารพม่ารู้ ก็จะเข้ามาถามก่อนที่จะแย่งเงินเหล่านั้นไปทันที  
             "ไม่ มีสภาพความเป็นคน หรือเป็นมนุษย์เลย พวกเราอยู่อย่างไร้อนาคต โดนกดดันจากทหารพม่าตลอดเวลา ไม่สามารถเดินทางไปไหนมาไหน โดยเฉพาะการเดินทางข้ามเขตที่ไม่สามารถทำได้เลย จะเดินทางไปมาได้ก็เฉพาะภายในจังหวัดที่ตั้งถิ่นฐานอยู่เท่านั้น เพราะหากออกนอกพื้นที่ไม่เฉพาะทหารพม่าที่คอยจับจ้อง ชาวพม่าก็ไม่ชอบขี้หน้าพวกเรา และบ่อยครั้งที่พวกเราโดนทำร้ายร่างกายโดยชาวพม่า หรือโดนดูถูกเหยียดหยาม ถ่มน้ำลายใส่ก็มี"
             ฮามิด ดูซัน ชายหนุ่มอาระกัน วัย 19 ปี กล่าวว่า พวกเรายากจนมาก ซ้ำร้ายโดนกลั่นแกล้งตลอดเวลา ออกไปสมัครงานที่ไหนก็ไม่ได้ เนื่องจากเป็นชนกลุ่มน้อย ทั้งยังเป็นชนกลุ่มที่รัฐบาลพม่ารังเกียจมากที่สุด ถึงขั้นไม่ยอมรับว่ามีพวกเราอยู่ในประเทศ พวกเราไม่มีสิทธิอะไรเลย ทั้งที่ดิน การศึกษา การรักษาพยาบาล 
             "น้อย ใจครับ ผมเกิดในจังหวัดหม่องดอ รัฐอาระกัน ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศพม่า แม้ว่าผมจะมีเชื้อสายบังกลาเทศ แต่การที่เกิดที่รัฐอาระกัน ก็มีความรักและความผูกพันต่อแผ่นดินเกิด แต่แผ่นดินที่ผมเกิดกลับไม่ต้อนรับผม ผมไม่เข้าใจครับ โดยเฉพาะการตั้งข้อรังเกียจต่อพวกเราของรัฐบาลทหารพม่า" 
             ฮามิด เล่าอีกว่า ชาวโรฮิงญา แม้ว่าจะมีประวัติศาสตร์ที่ไม่ดีกับชาวพม่าสมัยรัฐบาลอังกฤษเป็นเจ้า อาณานิคมในย่านนี้ แต่หลังจากอังกฤษออกไปแล้ว พวกเราถือเป็นชนกลุ่มน้อยที่ไม่เคยต่อสู้ หรือเรียกร้องอะไรจากรัฐบาลทหารพม่าเลย นอกจากเรียกร้องขอ  “สิทธิความเป็นคน” ให้ทัดเทียมกับชาวพม่าทั่วไปแค่นั้นพวกเราก็พอใจแล้ว
             เชย ลี ฮัน ดา อายุ 25 ปี จากจังหวัดมุสิดอ กล่าวว่า ตอนที่โดนจับตัวอยู่ที่ สภ.ปากน้ำ จ.ระนอง และได้รับอาหารจากตำรวจไทย เชื่อไหมว่า เมื่อได้กินข้าวคำแรกน้ำตาไหลออกมาทันที และหลายคนก็มีความรู้สึกเช่นเดียวกัน คือ นอกจากจะซาบซึ้งในน้ำใจของคนไทยที่ต่างจากชาวพม่าที่โดนจับ และโดนทำร้ายที่เกาะแห่งหนึ่งในพม่า 
             "พวกเราโดนควบคุมตัวไว้ถึง 5 วัน ไม่ได้กินอะไรเลย"
             ฮัน ดา เล่าขณะน้ำตาคลอเบ้าว่า อีกเหตุผลที่ทำให้น้ำตาร่วง คือ คิดถึงลูกเมียที่บ้าน บ่อยครั้งที่พวกเราอดข้าว ไม่มีอะไรจะกิน บางครั้งกินแค่วันละมื้อ จะกินครบ 3 มื้อเช่นคนทั่วไปก็น้อยเต็มที โดยเฉพาะหลายครั้งที่ต้องอด เนื่องจากต้องการให้ลูกเมียอิ่มก่อน ส่วนเราผู้ชายอดทนได้
             "ทุก คนรักบ้านเกิดครับ ไม่มีใครที่ต้องการดิ้นรน หรือดั้นด้นเดินทางออกจากบ้านเกิด มีแต่ทุกคนดิ้นรนเพื่อที่จะอาศัยอยู่ในบ้านเกิดหรือถิ่นฐานที่ตนถือกำเนิด แต่จากความโหดร้ายที่พวกเราได้รับ มันสุดที่จะบรรยายให้เห็นหรือให้รับรู้ได้ หากไม่เจอด้วยตนเองยากที่จะบรรยายจริงๆ ผมถามเพื่อนๆ ถึงความรู้สึกตอนนี้ ทราบว่าทุกคนห่วงเมีย ห่วงลูกที่อยู่ที่รัฐอาระกัน โดยเฉพาะอาจจะถูกทำร้ายอีกหลังจากที่ทหารพม่าทราบว่าพวกเราหายตัวไป"
             มา มัด จอคิด อายุ 24 ปี จากจังหวัดมุสิดอ ซึ่งยังนอนรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลระนอง หลังจากโดนทหารพม่าทำร้ายจนได้รับบาดเจ็บสาหัส ขณะเรือที่เดินทางกำลังลอยลำบริเวณจังหวัดมะริด ประเทศพม่า "ทันที ที่ทุกคนเห็นทหารพม่า ซึ่งนั่งเรือรบมาทั้งหมด 4 ลำ ล้อมรอบพวกเรา กลัวมากครับ เพราะทุกคนรู้ถึงกิตติศัพท์ความโหดร้ายของทหารพม่าเป็นอย่างดี"
   
             บางคนตัวสั่นเทาไปหมด และแล้วในที่สุดพวกเราก็ได้รับการทำทารุณกรรมจริงๆ ตั้งแต่ทหารพม่าลงมาควบคุมตัว จะแตะ ต่อย ตบหน้า ถีบ จนกระทั่งนำตัวพวกเราไปยังเกาะแห่งหนึ่ง ทุกคนจึงถูกลงโทษโบยด้วยแส้จนได้รับบาดเจ็บ และใช้ผ้าพันชุบน้ำมันจุดไฟเผามาลน ตนเองโชคร้ายที่สุด เพราะเป็นแผลฉกรรจ์ที่ขา "เจ็บมากๆ ครับ แต่พวกเราทุกคนทนได้ เพราะความเจ็บปวดแค่นี้ เมื่อเทียบกับความโหดร้ายที่เราได้รับอยู่ทุกวันมันเทียบกันไม่ได้เลย" 
   
             มา มัด จอคิด เล่าต่อว่า หลังจากพวกเรานอนทนทุกข์ทรมานอยู่ถึง 4 คืน 5 วัน ทหารพม่าจึงปล่อยลงเรือ และให้เดินทางต่อจนถูกทหารไทยจับตัว “ทุกคนดีใจ กราบพระอัลเลาะห์ทันทีที่เห็นทหารไทย เพราะทุกคนรู้ว่านั่นคือ รอดแล้วจากความรู้สึกในตอนนั้น” พวกเราไม่เคยคิดที่จะมาทำให้คนไทยยุ่งยาก เพียงแต่ไม่รู้ว่าจะไปไหน ทุกประเทศล้วนรังเกียจพวกเรา  
             "แม้ ผมจะถูกควบคุมตัวในเมืองไทย โดนจองจำในห้องขัง ในเรือนจำ หรือที่ไหนๆ พวกเราดีใจเพราะนั่นเป็นชีวิตที่สุขสบายที่สุดที่ได้พบเจอ ตอนนี้ผมนอนรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลระนอง คุณรู้ไหมว่าความรู้สึกผมเหมือนอยู่โรงแรมชั้น 1 อยู่ห้องพักดีๆ ได้กินอาหารอิสลามที่อร่อยที่สุดในชีวิตของผม ทั้งๆ ที่ผมน่าจะเป็นทุกข์กับสภาพบาดแผลที่ผมได้รับ แต่ความรู้สึกเป็นสุขมันมีมากกว่าจริงๆ ครับ ผมอิจฉาคนไทยจริงๆ ที่ได้เกิดมาบนผืนดินแห่งนี้ ผืนแผ่นดินที่มีแต่ความสุข ไม่เป็นผืนแผ่นดินที่มีแต่ความทุกข์เช่นผืนแผ่นดินของพวกผม" มามัด จอคิด กล่าวในที่สุด
   
   
   ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
   
   โดย บุญเลื่อน พรหมประทานกุล
   
   credit  http://hilight.kapook.com/view/33433

ความคิดเห็น