จีนยูนนาน หรือจีนภูเขาหรือ จีนฮ่อ คือใคร

 จีนยูนนาน หรือจีนภูเขาหรือ จีนฮ่อ คือใคร

        จีนยูนนาน หรือจีนภูเขาหรือ จีนฮ่อ คือใคร ชาวจีนที่ส่วนหนึ่งที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศไทยนั้นคนไทยหรือคนล้านนารู้จัก กันดีว่าเป็น “จีนฮ่อ” หรือ “คนฮ่อ” ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่เดินทางค้าขายระหว่างจีนตอนไต้กับเมือง ต่างๆในรัฐฉาน ล้านนา และพม่า 

        ดังนั้นคนจีนมีมาจากภูเขาทางตอนเหนือของประเทศไทยใน ปัจจุบันจึงเรียกวาจีนฮ่อและพม่าเรียกว่า “จีนภูเขา” (ภูวดล, 2549, 503) การศึกษาทบทวนความรู้เรื่องจีนฮ่อในประเทศไทยนั้นมีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่สนใจและ หาความหมายเกี่ยวกับคำว่าฮ่อ มีศาสตราจารย์เจีย ยัน จองและนักวิจัยสถาบันวิจัยภาษาและ วัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชนบทที่ตีพิมพ์เผยแพร่ความหมายของคำว่าจีนฮ่อและจีนฮ่อในมิติต่างๆ ในฐานะที่เป็นชาติพันธุ์หนึ่ง 

         โดยที่การศึกษานี้ใช้การอธิบายของนรเศรษฐ พิสิทฐพันพร 2548 สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย จีนฮ่อ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนา ชนบท มหาวิทยาลัยมหิดลเรียบเรียงเป็นประเด็นต่างๆได้ดังนี้ (เจีย เยนจอง ,2537,114-118และนรเศรษฐ 2548) ชาวจีนจากมณฑลยูนนานได้เดินทางค้าขายในบริเวณภาคเหนือของประเทศไทยมาช้า นานแล้ว พ่อค้าชาวจีนจากมณฑลยูนนานเหล่านี้มีชื่อเรียกในภาษาล้านนาว่า “ฮ่อ” คำว่าฮ่อ หมายถึงชาวจีนซึ่งอยู่ที่มณฑลทางใต้ของจีน (เช่น จากมณฑลยูนนาน) และอาจจะรวมถึงกลุ่ม ชาติพันธุ์อื่น ๆ ที่มาจากมณฑลนี้หรือมาจากมณฑลใกล้เคียงด้วย (เช่น จากมณฑลกวางสี และ มณฑลเสฉวน)


                “ฮ่อ” ในตำนานและ “ฮ่อ”ในประวัติศาสตร์ ที่มาของคำว่าฮ่อ สันนิษฐานว่า อาจมาจากชื่อเรียกอาราจักรน่านเจ้า ซึ่งตั้งอยู่ที่ตาหลี่ ริม ทะเลสาบหนองแส (หรือ “ซีเอ้อห่อ”) ชาวจีนเรียกชาวป่าที่อยู่ทะเลสาบหนองแสนี้ว่า “ฮ่อ/ห้อ” ชื่อเต็มคือ “ซีเอ้อห่อหมาน” หรือ “ชาวป่าที่อยู่บริเวณแม่น้ำหนองแส” ต่อมาชาวป่า “ฮ่อ/ห้อ” ได้ ย้ายจากทะเลสาบหนองแสไปอยู่คุนหมิง ก็ยังถูกเรียกว่า “ฮ่อ/ห้อ” ตามที่อยู่เดิมที่ริมทะเลสาบหนอง แส เมื่อกาลเวลาผ่านไป คำว่า “ฮ่อ” ในความหมายที่แปลว่า จีน เช่น ฮ่อปักกิ่ง หมายถึง “จีน ปักกิ่ง” ต่อมาคำว่า “ฮ่อ” ได้เข้ามาสู่อาณาจักรล้านนาและล้านช้าง ชาวไทยล้านนาและลาวเรียก ชาวจีนที่มาจากมณฑลยูนนานและบริเวณใกล้เคียงว่า “ฮ่อ” ประวัติศาสตร์ล้านนากล่าวว่า ขุนเจือง วีรกษัตริย์แห่งเมืองพะเยา สิ้นพระชนม์ในขณะทำสงครามกับ “พญาฮ่อแมนตาตอกขอกฟ้าตายืน” ที่เมืองยูนนาน นอกจากนี้ประวัติศาสตร์ล้านนายังกล่าวว่า ระหว่างปี พ.ศ. 1947 – 1948 (ตรงกับ สมัยหมิงของจีน) ได้เกิดสงครรามระหว่างอาณาจักรล้านนากับฮ่อ พญาสามฝั่งแกนแห่งอาณาจักร ล้านนาได้เกณฑ์ทหารจากเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ฝาง และเชียงแสน ทำสงครามชนะฮ่อ ขับไล่ ฮ่อไปจนสุดแดนสิบสองพันนา

        นอกจากนี้ในพงศาวดารเมืองหลวงพระบางกล่าวว่า พ.ศ. 2197 ฮ่อ หัวขาวยกกองทัพมาตีเมืองแฉวนหวีฟ้าสิบสองพันนาลื้อ บุตรของเจ้าเมืองแฉวนหวีฟ้าหนีศึกฮ่อหัว ขาวพาเอาไพร่พลลงมาพึ่งพระเจ้าล้านช้างเวียงจันทน์ คำว่า “ฮ่อ” ต่อมาได้เข้ามาสู่ภาษาไทย คนไทยภาคกลางใช้คำว่า ฮ่อ เมื่อมีการส่งกองทัพ จากกรุงเทพฯไปปราบฮ่อ ความเป็นมาของการปราบฮ่อมีว่า ระหว่างปี พ.ศ. 2392 – 2402 (ตรงกับ สมัยชิงของจีน) ชาวจีนจากมณฑลทางใต้ของจีน มีหงซิ่วเฉียน เป็นผู้นำ ได้ก่อการกบฏและตั้ง อาณาจักรขึ้นเรียกว่า ไท่ผิงเทียนกั๋ว (หรือ มหาศานติแดนสวรรค์) ต่อมาถูกทางการจีนปราบจน แตกหนีเข้าไปในดินแดนของเวียดนาม พม่า ลาว และไทย จีนเหล่านี้มีชื่อต่อมาว่า ฮ่อธงดำและฮ่อ ธงเหลือง ฮ่อ ได้ปล้นสะดมทำความเดือดร้อนบริเวณทางเหนือของไทย ทางตะวันอออกของพม่า และทางตะวันตกของเวียดนาม ทางการไทยได้ส่งกองทัพไปปราบฮ่อรวม 4 ครั้ง (ปี พ.ศ. 2418, 2426, 2428 และ 2430 ) ผลของการทำสงครามปราบฮ่อ ได้มีการสร้าง เหรียญปราบฮ่อ ใน พ.ศ. 2427 เพื่อพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบแก่ผู้ที่ไปราชการทัพปราบฮ่อ และได้มีการสร้าง อนุสาวรีย์ปราบฮ่อ ที่จังหวัดหนองคายเมื่อปี พ.ศ. 2459


                                                                    ภาพอนุสวรีย์ปราบฮ่อ(เก่า)


        เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งวีรกรรมของทหารที่ ไปราชการทัพปราบฮ่อ แม้จะมีการใช้คำว่า “ฮ่อ” ในภาษาไทย แต่คนไทยส่วนใหญ่ก็ไม่เข้าใจแจ่ม ชัดว่า “ฮ่อ” คือใคร หลังจากสงครามปราบฮ่อ ระหว่างปี พ.ศ. 2418 – 2430 แล้ว คำว่า “ฮ่อ” ก็ เลือนหายไปจากการใช้ชีวิตประจำวันของคนไทยส่วนใหญ่ “ฮ่อ”และ “จีนยูนนาน”ในภาดเหนือของไทย ชาวจีนยูนนานมีความสัมพันธ์กับดินแดนทางตอนเหนือของประเทศไทย ในปัจจุบันมา ยาวนานซึ่งปรากฏในตำนานทางภาคเหนือหลายฉบับพร้อมทั้งเรียกชาวจีนเหล่านั้นว่า ฮ่อ ฮ่อว้อง แต่ชาวจีนฮ่อ หรือชาวจีนยูนนานที่คนไทยรู้จักกันดีคนแรกคือ เจิ้งเหอ ที่คนส่วนใหญ่ขนานนามว่า ซำปอกง มีเรื่องเล่าต่างๆของเจิ้งเหอที่ออกเดินทางสำรวจพื้นที่ในคาบสมุทรตองใต้ของประเทศจีน ระหว่างปีพ.ศ. 1948ถึง1976 (จีรจันทร์,2548,170-205)และเจิ้งเหอคนนี้เป็นชาวจีนที่เป็นมุสลิมอีก 

        ชาวจีนยูนนานได้ถูกเรียกกันภายในกลุ่มคนไทยล้านนาทางตอนเหนือของประเทศไทยว่า ฮ่อ หรือ จีนฮ่อ คำว่า ฮ่อนั้นมีความหมายที่แปรเปลี่ยนไปตามกาลเวลาและบริบททางสังคมและต่อมาในช่วง ที่บริเวณพื้นที่ของอาณาจักรล้านนานั้นกลุ่มชาวจีนยูนนานก็จะถูกรู้จักกันดีในนามของพ่อค้าม้าต่าง ที่ขนส่งสินค้าระหว่างพื้นที่ของจีนตอนใต้กับกลุ่มเมืองต่างๆในล้านนา ล้านช้าง และเดินทางออก ทะเลที่พม่า กลุ่มเหล่านี้ถูกเรียกว่าจีนฮ่อเช่นกันและในบริบทของจีนฮ่อในช่วงนี้เองถ้าเป็นเรื่อง สินค้านั้นจะถูให้ความหมายในทางที่ดีแต่ถ้ามีความหมายในทางต่อต้านรัฐหรือเป็นตัวละครที่แสอง ถึงการรุกรานบ้านเมือง ฮ่อ ก็จะถูกให้ความหมายในทางที่มี่เช่นการปราบฮ่อ กบฏฮ่อ เป็นต้น



            ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นนั้นก็จะแปรเปลี่ยนไปตามบริบทต่างและเวลา 
เมื่อดินแดนในแถบลุ่มน้ำโขงได้เผชิญหน้ากับการล่าอาณานิคมกลุ่มชาวจีนฮ่อที่ได้ตั้งถิ่น ฐานในประเทศไทยหรือล้านนานั้นก็ได้ถูกผนวกเป็นพลเมืองรัฐสยามเช่นกันการผนวกในครั้งนั้น ได้ถูกเรียกกันในหมู่นักวิชาการว่าการกลืนกลาย(Assimilations) ซึ่งเป็นกระบวนการที่เชื่อว่าทำให้ ชาวจีนในประเทศไทยกลายเป็นพลเมืองไทยโดยวิธีการต่างๆที่เป็นการยินยอมและบางกรณีก็ เป็นไปตามกฎหมายซึ่งการผนวกนี้ก็ไม่ได้มีปัญหาที่ร้ายแรงมากในภาคเหนือแต่ปัญหาจะมีความ รุนแรงมากในกรุงเทพหลังสงครามโลกครั้งที่2 ดั้งนั้นการกลืนกลายจึงไม่ได้มีมิติเดียว และเมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่2ในประเทศจีนมี การเปลี่ยนแปลงโดยพรรคคอมมิวนิสต์ได้มีชัยชนะเหนือพรรคก๊กมินตั๋ง และสามารถสถาปนา สาธารณรัฐประชาชนจีนสำเร็จและพรรคก๊กมินตั๋งได้ไปตั้งที่มั่นในเกาะไต้หวันแต่การสู้รบในแบบ ของทั้งสองกลุ่มยังคงดำเนินต่อไปตามแนวชายแดนรัฐต่างๆทางจีนตอนใต้เช่นในพม่า กองทัพที่ เรียกกันว่ากองพลที่ 93 กองทัพที่ 3 และ5 ยังคงดำเนินการรบอยู่อย่างต่อเนื่องในประเทศพม่า บริเวณรัฐฉานทำให้ประเทศสาธารณรัฐประชานจีนเรียกร้องให้ประชาคมโลกรับทราบว่ามีกอง กำลังต่างชาติในดินแดนพม่าที่มีแนวทางการรบเพื่อต่อต้านรัฐจีนให้พม่ากดดันกองกำลังนี้ให้พ้น เขตแดนพม่าโดยเร็วดังนั้นทางสหรัฐอเมริกาที่ยังคงสนับสนุนจีนคณะชาติอยู่ขณะนั้นได้เป็นคน ดำเนินการเคลื่อนย้ายกองทัพเหล่านี้กลับไปยังไต้หวันราว 2 ครั้งด้วยกันในปีพ.ศ.2496-2497 และ พ.ศ. 2504 แต่ถึงอย่างไรก็ตามยังคงมีกองกำลังส่วนหนึ่งที่ไม่ต้องการเดินทางไปยังไต้หวันโดยการ นำของนายพลหลี่แห่งกองทัพที่ 3และนายพลต้วนแห่งกองทัพที่ 5 ซึ่งขณะนั้นได้มาตั้งกองกำลังใน ดินแดนประเทศไทยที่ถ้ำง็อบอำเภอฝางจังหวัดเชียงใหม่และดอยแม่สลองอำเภอแม่จัน(ในขณะนั้น) จังหวัดเชียงรายตามลำดับซึ่งทั้งสองกองกำลังนี้ได้กลายเป็นผู้พลัดถิ่นชาวจีนยูนนานกลุ่มใหม่ที่มา ตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยโดที่กลุ่มทั้งสองนี้มีความสัมพันธ์กับรัฐไทยในเรื่องอุดมการณ์การ ต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์เช่นกันในยุคที่เรียกกว่าสงครามเย็นในบริเวณชายแดนไทย พม่า ลาวและที่ เชื่อมต่อกับจีนทางมณฑลยูนนานนั้นได้กลายเป็นพื้นที่ของการต่อสู้เพื่ออุดมการณ์และการช่วงชิง อำนารัฐโดยมีกลุ่มต่างๆที่เคลื่อนไหวดังนี้ กลุ่มทหารจีนคณะชาติ กองทัพที่ 3และ5 กองกลังกู้ชาติ ไทใหญ่ที่เรียกตนเอกว่ากลุ่มหนุ่มศึกหาญ กลุ่มกู้ชาติคะฉิ่น และกลุ่มที่ยึดถือแนวทางลัทธิ คอมมิวนิสต์ที่เคลื่อนไหวเพื่อล้มรัฐพม่า ไทยและลาว รวมทั้งกองกำลังชนกลุ่มน้อยที่สามารถเข้า กับทุกกลุ่มได้เพื่อผลประโยชน์บางประการเช่นกลุ่มว้า กลุ่มม้ง ที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆตามแนว รอยต่อทั้ง สี่ประเทศนับเป็นพื้นที่ที่จุดเชื่อมต่อ จุดแตกหักและจุดศูนย์กลางของความหลากหลาย ทางวัฒนธรรมและอุดมการณ์(กาญจนะ,2546)

        สำหรับประเทศไทยนั้นก็ได้ให้ความสำคัญของกองกำลังต่างๆนี้แตกต่างกันและดู เหมือนว่าจะได้ให้ความสำคัญแก่กองกำลังจีนคณะชาติอย่างเห็นได้ชัดในการให้ความช่วยเหลือ และการให้ความร่วมมือของกองกองกำลังจีนคณะชาติเป็นอย่างดีด้วยการเจรจาตกลงกันในเรื่องที่ แต่ละฝ่ายต้องการเช่นประเทศไทยต้องการให้กองกำลังจีนคณะชาติไปช่วยรบกับกลุ่มแนวร่วม พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยที่เขาค้อและที่ดอยผาตั้งและทางกองกำลังเองต้องการเงินและ อาวุธต่างๆเพื่อเคลื่อนไหวในตามแนวชายแดนประเทศต่างๆอยู่ แต่เนื่องจากกาสู้รบที่ร่วมกับไทย แล้ว กองกำลังจีนคณะชาติยังคงมีความสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่มกองกำลังต่างๆในหลากหลายรูปแบบทั้ง เป็นความร่วมมือกันและเป็นความขัดแย้งกันในเรื่องการขนสินค้าต้องห้ามเช่น อาวุธ สินค้าหนีภาษี และที่สำคัญที่สุดคือยาเสพติดโดยพื้นที่บริเวณนี้ได้กลายเป็นแหล่งผลิตยาเสพติดที่ใหญ่แห่งหนึ่ง ของโลกที่เกิดขึ้นจากกองกำลังเหล่านี้ตั้งแต่ผลิตและขนส่งเพื่อนำรายได้มาเลี้ยงกองกำลังตนเองไว้ อุดมการณ์การกู้ชาติเลยกลายเป็นขบวนการอาชญากรที่แฝงตัวเข้ามามีผลประโยชน์ร่วมกันที่อำนาจ รัฐใดๆเข้าไปไม่ถึงเนื่องจากแต่ละกลุ่มนั้นมีทั้งอำนาจเงินอาวุธและกำลังคนเกิดการสู้รบแย่งชิง ความเป็นใหญ่ในธุรกรรมต้องห้ามหลายครั้งในดินแดนที่เรียกว่าสามเหลี่ยมทองคำ(กาญจนะ,2546)

        เมื่อกระแสของโลกเปลี่ยนไปด้วยการเมืองระหว่างประเทศที่มุ่งเปิดความสัมพันธ์ กับประเทศสาธารณะรัฐประชาชนจีนทำให้ประเทศไทยต้องมีการทบทวนนโยบายที่ไม่ต้องมีกอง กำลังเพื่อเป็นกันชนกับฝ่ายตรงข้ามอีกต่อไปกองกำลังจีนคณะชาติจะมีสถานภพใดสถานภาพหนึ่ง ภายใต้รัฐไทย ซึ่งกองกำลังที่หลากหลายนั้นมีจำนวนมากและที่สำคัญคือกองกำลังจีนคณะชาติที่ ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ทั้งๆที่ ทางไต้หวันเองก็ประกาศว่าไม่รับรู้เรื่องกองกำลังเหล่านี้ในประเทศไทย อีกแล้วหลังจากสิ้นสุดกาขนส่งกองกำลังกองพลที่ 93 ในปี2504แล้วแต่ความจริงก็มีความช่วยเหลือ แบบลับอยู่ตลอดเวลาแต่ไม่ได้เป็นรัฐต่อรัฐเท่านั้นเองดังนั้นรัฐบาลจึงต้องมีพื้นที่ให้กับกลุ่มคน เหล่านี้และครอบครัวอีกจำนวนหนึ่งที่ติดตามมากับกองกำลังนี้ จึงเกิดนโยบายให้สัญชาติไทยกับ กลุ่มทหารจีนคณะชาติโดยให้ชื่อว่ากลุ่มอดีตทหารจีนคณะชาติและครอบครัว 2.2ภาษา วัฒนธรรม ศาสนา วิถีชีวิต ของชาวจีนยูนนาน: ความเหมือนและความต่างกับคนจีนทั่วไป ความหลากหลายด้านด้านศาสนา ชาวจีนยูนนานมีการนับถือศาสนาสามศาสนาหลักคือ พุทธ คริสต์ และอิสลาม และชาวจีนที่เรียกกันว่าจีนฮ่อนั้นในช่วงการค้าข้ามพรมแดนด้วยขบวนม้า ต่างนั้นเป็นชาวจีนที่นับถือศาสนาอิสลามและตั้งถิ่นฐานในสืบลูกสืบหลานมาเป็นระยะเวลากว่า ร้อยปีในตัวเมืองเชียงใหม่ก่อตั้งศาสนสถานที่เรียกว่ามัสยิดบ้านฮ่อ (เจิ้งเหอที่เป็นเดินทางสำรวจ ทะเลใต้ก็เป็นมุสลิมเช่นกัน) ในการอพยพที่เรียกว่าส่วนหนึ่งของกองพล 93 นั้นเมื่อคราวสำรวจเพื่อโอนสัญชาตินั้นใน หมู่บ้านที่เป็นทหารจีนคณะชาตินั้นมีสัดส่วนการนับถือศาสนาดังนี้

        ผู้นับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 10 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 70 นับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ 20 โดยประมาณทั้งนี้ยังไม่ได้นับรวม กับผู้อพยพชาวจีนยูนนานที่เหลืออีก 42 หมู่บ้าน(ซึ่งก็น่าจะมีสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน) (กาญจนะ,2546) ความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ชาวจีนยูนนานที่เป็นผู้อพยพทั้งที่เป็นกองกำลังทหารจีน คณะชาติเดิมและเป็นผู้อพยพชาวบ้านนั้นมีการผสมกลกลืนกับกลุ่มชาติพันอื่นๆมาโดยตลอด โดยเฉพาะกลุ่มไทใหญ่และม้ง (กรณีบ้านวาวี)สะท้อนให้เห็นถึงการกลืนกลายด้วยการแต่งงานจาก วัฒนธรรมที่แข็งกว่ามักกลืนวัฒนธรรมทีอ่อนกว่าคนส่วนใหญ่ที่เป็นลูกผสมระหว่าชาติพันธุ์อื่นกับ ชาวจีนยูนนานมักจะเรียกตัวเองว่า “จีน” ด้วยเช่นกันแต่ทั้งนี้ไม่ได้ว่าชาติพันธุ์อื่นๆที่แต่งงานกับ ชาวจีนยูนนานและลูกที่เกิดมาจะต้องเรียกตนเองว่าชาวจีนเสมอไปแต่ในสังคมไทยโดยเฉพาะใน ภาคเหนือนั้นลูกชาวจีนยูนนานที่มีบิดาเป็นชาวจีนและมารดาเป็นคนเมือง(เชียงใหม่)สามารถเรียก และเลือกว่าตนเองสามารถเป็นคนไทยได้เช่นกัน ในกรณีนี้ขอยกตัวอย่างคนในชุมชนนันทาราม จังหวัดเชียงใหม่ที่เป็นตระกูลสืบสาแหรกจากเจ้าเชียงตุง(ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่สมัยเจ้ากาวิ ละ)และในคนรุ่นที่ 4 มีผู้หญิงในตระกูลแต่งงานกับชาวจีนยูนนาน 2 คนที่นับถือศาสนาพุทธและ อิสลามโดยลูกที่เกิดมานั้นไม่เรียกตนเองว่าเป็นคนจีนแต่จะนิยามว่าเป็นคนไทยแต่สำหรับ ครอบครัวที่แต่งงานกับคนจีนยูนนานมุสลิมนั้นยังคงความเป็นคนจีนยูนนานแค่การนับถือศาสนาอิสลามเท่านั้นที่เหลืออยู่


            มิติด้านภาษา การใช้ภาษาในชุมชนชาวจีนฮ่อมีการใช้ภาษาที่หลากหลายเช่น ภาษาจีน กลาง ภาษาไทยกลาง ภาษาไทยใหญ่ภาษาลีซอ เป็นต้น แต่ภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวันคือ ภาษาจีนอิ่นหน่านหว่า จัดอยู่ในตรูกูลจีน-ทิเบต (Sino-Tibetan) ในกลุ่มภาษาจีนแมนดาริน ตะวันตกเฉียงใต้ (South Western Mandarin) ภาษานี้มีความใกล้เคียงกับภาษาจีนแมนดาริน แต่การออกเสียงคำและการใช้ คำศัพท์มีความแตกต่างกันกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ก็สามารถพูดอิ่นหน่านหว่าได้ อิ่นหน่านหว่า กลายเป็นภาษากลางระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ชาวจีนฮ่อที่แต่งงานกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่นลูกหลาน มักจะใช้อิ่นหน่านหว่าตามบิดา เด็ก ๆ จะพูดได้อย่างน้อย 2 ภาษา คือภาษาอิ่นหน่านหว่า (เรียนจาก บิดาหรือมารดา) และภาษาจีนกลาง (เรียนที่โรงเรียนจีน) ปัจจัยที่ทำให้เด็ก ๆ ชาวจีนฮ่อยังพูดภาษาอิ่นหน่านหว่าก็คือ สภาพแวดล้อมที่เด็ก ๆ จีนฮ่อ เติบโตถ้าสิ่งแวดล้อมมีชาวจีนฮ่อมาก ก็จะมีการพูดภาษาอิ่นหน่านหว่า เช่นที่บ้านอรุโณทัย ตำบล เมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ประชากรของหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นชาวจีนฮ่อ เด็ก ๆ จะพูดภาษาจีนอิ่นหน่านหว่าเป็นหลัก ขณะที่บ้านรักไทย ตำบลหมอกจำแป่ อำเภอเมือง จังหวัด แม่ฮ่องสอน ประชากรของหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นไทยใหญ่ เด็ก ๆ มีแนวโน้มพูดภาษาไทยใหญ่ กรณีการแต่งงานระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ ชายจีนฮ่อที่แต่งงานกับสตรีกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ลูก จะพูดได้ทั้ง 2 ภาษา แต่โดยทั่วไปถ้ามารดาพูดภาษาอิ่นหน่านหว่าเด็ก ๆ จะพูดภาษาตามมารดา ถ้า มารดาไม่พูดภาษาอินหน่านหว่า เด็กมีแนวโน้มจะไม่พูดภาษาอิ่นหน่านหว่าแต่ยังสามารถฟังภาษา อิ่นหน่านหว่าได้ (นรเศษรฐ,2548,5-20) ในการใช้ภาษาของชาวจีนยูนนานในปัจจุบันนั้นยังคงมิติของภาษาจีนไว้ในบางกรณีแต่ก็ เปลี่ยนแปลงไปบ้างมีการใช้ภาษาไทยเมือง(ล้านนา)และภาษาไทยภาคกลางในการติดต่อค้าขายซึ่ง ถือว่าก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้นภาษาไทยและภาษาจีนเป็นภาษาในการค้าขายภาษาจีนยังมี บทบาทในกลุ่มทหารจีนคณะชาติอพยพด้วยการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในโรงเรียนที่จัดขึ้น ในชุมชนทหารจีนคณะชาติอพยพ แต่ในกรณีภาษาจีนนั้นเป็นภาษาที่สืบเนื่องจากชนชาติที่มีอารย ธรรมมายาวนานและคิดว่าชาติจีนเท่านั้นที่เป็นศูนย์กลางของโลก ดังนั้นการที่จะสืบทอดความเป็น ชนชาติที่มีอารยธรรมนั้นภาษาจึงเป็นส่วนสำคัญในการเข้าถึงความมีอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ที่ ยิ่งใหญ่ ที่จะเข้าใจในปรัชญาการดำเนินชีวิต ของคนจีนและแสดงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ เป็นอย่างดี ดังนั้นความสำคัญของภาษาจีนจึงมีความหมายในหลากหลายมิติของความเป็นคนจีน และสามรถแบ่งระดับชนชั้นและกลุ่มชาติพันธุ์ย่อยของคนจีนได้ได้




        ดังนั้นภาษาจีนจึงเป็นสิ่งที่คู่กับความเป็นจีนอย่างเหนียวแน่น ในกลุ่มของชาวจีนพลัดถิ่นที่ เรียกว่าจีนฮ่อ หรือ จีนยูนนานพวกเขาเหล่านั้นก็ได้ให้ความสำคัญกับภาษาจีนอย่างยิ่งเช่นกันมีการ เปิดสอนภาษาจีนในชุมชนพลัดถิ่นอย่างกว้างขวางในทุกๆชมชนทั้งที่เป็นชุมชนทหารจีนคณะชาติ และชาวจีนยูนนานอพยพ ซึ่งในขณะนั้นประเทศไทยยังมีนโยบายปิดโรงเรียนสอนภาษาจีนใน ประเทศไทยแต่นโยบายเหล่านี้ก็ไม่ได้มีผลต่อชุมชนพลัดถิ่นเหล่านั้นยังได้มีการเปิดสอนภาษาจีน อยู่และคนจีนในเมืองไทยต่างส่งลูกหลานไปเรียนภาษาจีนในชุมชนพลัดถิ่นเหล่านี้ในช่วงนโยบาย ดังกล่าวที่กำลังดำเนินอยู่อย่างเข้มงวดและยาวนานถึงทุกวันนี้ จนเมื่อนโยบายของมหาอำนาจเปลี่ยนแปลงกับประเทศสาธารณะรัฐประชาชนจีนและใน เวลาต่อมาก็สิ้นสุดสงครามเย็น ประเทศจีนได้เปลี่ยนแปลงนโยบายในทางที่เปิดประเทศด้วย นโยบายสี่ทันสมัยในยุคเติ้งเสี่ยวผิง ความสำคัญของภาษาจีนจึงทวีความสำคัญข้นด้วยแนวความคิด ที่ว่าเป็นภาษาในการค้าขายที่สำคัญเนื่องจากชาวจีนมีจำนวนประชากรมากถึงหนึ่งพันสามร้อยล้านคนในขณะนี้ (2550) ดังนั้นการสอนภาษาจีนที่ยังคงมีบทบาทอยู่ในชุมชนพลัดถิ่นเหล่านี้จึงเป็นส่วนสำคัญใน การต่อยอดการให้การศึกษาภาษาจีนในสังคมไทยแห่งหนึ่งลูกหลานชาวจีนยูนนานเหล่านี้จึงได้รับ ประโยชน์จากการศึกษาภาษาจีนและสามารถเข้าถึงทรัพยากรทางสังคมในมิติต่างๆได้ดีมากกว่าชาว จีนโพ้นทะเลที่ไม่ได้ศึกษาภาษาจีนจากนโยบายปิดโรงเรียนจีนของรัฐ เนื่องจากชุมชนพลัดถิ่น เหล่านั้นยังคงใช้ภาษาจีนในการสื่อสารและสื่อความหมายเชิงคุณค่าและวัฒนธรรมในมิติทาง อุดมการณ์ ในชีวิตประจำวันนั่นเอง

พลวัฒ ประพัฒน์ทอง นักศึกษา
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ที่มา http://www.vavee.net/hill_vavee4.html


ความคิดเห็น