อุปสรรคโควตาฮัจญ์ของจีน
การทำฮัจญ์เป็นศาสนบัญญัติที่สำคัญของศาสนาอิสลาม มุสลิมที่ไม่ติดเงื่อนไขทางด้านทรัพย์สิน สุขภาพและการเดินทางจะต้องปฏิบัติ ประชาชาติมุสลิมนั้นอาศัยอยู่ทั่วโลก การเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจที่นครเมกกะหฺในเดือนซุลฮิจญะหฺ(เดือนที่ 12 ของปฎิทินอาหรับ ) ข้อกำหนดและระเบียบของแต่ละประเทศในการเดินทางไปประกอบศาสนพิธี มีความแตกต่างกัน แล้วปัจจุบันนี้การเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ของชาวมุสลิมในจีนมีความ ก้าวหน้าอย่างไรแล้วยังรอความสมบูรณ์ปัญหาประเด็นใดบ้าง
ก่อน สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นช่วงที่ชาวจีนได้เริ่มต้นเดินทางไปศึกษาศาสนาอิสลามในประเทศ ตะวันออกกลางเป็นจำนวนมากในยุคใกล้ ช่วงเวลาดังกล่าวจึงเกิดนักวิชาอิสลามในจีนเป็นจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะนักแปลภาษาอย่าง หม่าเจียน เฉินเค่อหลี่เป็นต้น รูปแบบการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ในสมัยนี้เป็นชาวมุสลิมจีนต้องสรรหาวิธี การเดินทางในรูปแบบต่างๆ เช่นการเดินทางผ่านประเทศที่สาม เป็นต้น หลังจากการสถาปนาประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ทางการจีนได้เปิดสายการบินตรงที่เชื่อมกับประเทศอาหรับ ทำให้การเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ได้รับความสะดวกขึ้น แม้ว่าจะถูกจำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมประกอบพิธีฮัจญ์ก็ตาม การประกอบพิธีฮัจญ์ได้หยุดชะงักระหว่างปีค.ศ. 1966-1976 เหมือนกับกิจกรรมทางด้านศาสนาอื่นๆ ของจีนในช่วงปฎิวัติวัฒนธรรมจีน
ตั้ง แต่ปีค.ศ. 1987 เป็นต้นมา รัฐบาลจีนให้ความเสรีภาพในการนับถือศาสนา กิจกรรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจึงได้รับการฟื้นฟูขึ้นในปีดังกล่าว ในปีนี้จึงเป็นปีที่ชาวมุสลิมจีนต่างๆ ก็รู้สึกยินดีกัน ต่อจากนั้นรัฐบาลจีนก็ยังคงให้โควตากับผู้ประการฮัจญ์ในรูปแบบต่างๆ ก่อนปี ค.ศ. 2006 นั้นเป็นเพราะว่าจำนวนชาวมุสลิมจีนที่เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์นั้นมีจำนวน ไม่มากพอ จึงเกิดการแสวงสรรหาเส้นทางในการเดินทางไปแสวงบุญ ในรูปแบบต่างๆ เช่นการเดินทางผ่านมาเยี่ยมญาติที่ภาคเหนือของไทย หลังจากนั้นค่อยยื่นขอวีซ่าสำหรับไปประกอบการฮัจญ์จากสถานฑูตซาอุดิอารเบีย ประจำประเทศไทย เป็นต้น ความยืดหยุ่นในยื่นวีซ่าผ่านประเทศที่สาม ส่งผลให้เกิดความยากในการบริหารจัดการของรัฐบาลจีน รัฐบาลจีนจึงได้ส่งสาร์นถึงรัฐบาลของซาอุดิอารเบีย ให้ระงับการของวีซ่าเพื่อประกอบการฮัจญ์ทุกกรณี
หลัง จากที่ทางการจีนระงับแล้ว ทางรัฐบาลจีน ได้สรรหาวิธีต่างๆ บริหารจัดการทุกอย่าง เช่นนอกจากมีสายการบินบินตรงจากปักกิ่งแล้ว ยังได้เพิ่มเที่ยวบินตรงไปยังเมืองเมกกะฮฺจากเมืองสำคัญต่างๆ ของจีน เช่น เมืองคุนหมิง อุรุมฉี หลานโจวเป็นต้น แนวทางการจัดการของรัฐบาลจีนมีความก้าวหน้าขึ้น กระนั้นก็ตาม อัตราเรื่องโควตาของการทำฮัจญ์ยังคงเป็นปัญหาได้เมื่อมีมุสลิมในจีนบางกลุ่ม ที่ยังไม่พอใจกันการบริหารจัดการของทางการมากนัก
เมื่อ ไม่นานมานี้ ชาวเน็ตในอำเภอกว่างเหอของมณฑลหนิงเซี่ยได้ชูประเด็นเรื่องสัดส่วนของอัตรา โตวต้าขึ้นมาอีกครั้ง อำเภอกว่างเหออยู่ใกล้เมืองหลินเซี่ย ซึ่งเป็นเมืองที่ได้ชื่อว่า”เมกกะฮ์น้อย”ในจีน อำเภอกว่างเหอมีประชากรทั้งหมดเกือบ 210,000 แสนคน 98 เปอร์เซ็นต์นับถือศาสนาอิสลาม รวมมีประชากรที่นับถือศาสนาอิสลามทั้งหมด 205800 คน มีมัสยิด 530 กว่าแห่ง ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย ค้าขายขนสัตว์ ใบชาต่างๆ เป็นต้น ในแต่ละปีสามารถผลิตขนแกะที่มีคุณภาพได้ ในปีค.ศ.2007 ผลิตภัณฑ์ของขนแกะมีมากกว่า 30000 ตันและสามารถค้าขายใบชามากกว่า 2000 ตัน
เมื่อ ฐานะทางด้านเศรษฐกิจดีขึ้น จึงเป็นผลให้ผู้ที่แจ้งความประสงค์เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์เป็นจำนวนมาก สถิติล่าสุดระบุว่า จำนวนผู้ที่สมัครเพื่อเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์มีจำนวนมากถึง 5670 คน คาดว่าน่าจะมีมากกว่า 6000 คน ดควต้าที่ได้รับจัดสรรจากทางรัฐบาลคือ 200 ราย เมื่อเทียบเป็นสัดส่วนแล้วประมาณร้อยละ 3.3 จริงๆ แล้วสัดส่วนของผู้ที่ได้โควตา อาจดูเหมือนมีสัดส่วนที่ไม่ค่อยสะดุดตา ทว่าเมื่อผู้ที่ต้องการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์นั้นส่วนมากเป็นคนแก่วัยชรา ที่มีความพร้อมมากตามเงื่อนไขต่างๆ ของศาสนา สัดส่วนดังกล่าวจึงดูเหมือนจะไม่ค่อยเพียงพอสำหรับผู้สมัครที่มีความพร้อม ณ ปัจจุบันนี้
ชาว มุสลิมจีนวัยชราเหล่านี้ ส่วนมากได้เผชิญผ่านแหตุการณ์ปฎิวัติวัฒนธรรม ซึ่งเป็นช่วงที่งดกิจกรรมทางศาสนาทุกอย่าง เพราะชะตากรรมในสมัยนั้นจึงทำให้พวกเขาไม่กล้าที่จะคาดคิดเรื่องการเดินทาง ไปประกอบพิธีฮัจญ์ที่นครเมกกะฮ์เลย ทว่าทุกวันนี้รัฐบาลมีนโยบายเปิดโอกาสให้มุสลิมในจีน สามารถเดินทางไปทำฮัจญ์ได้ รวมทั้งมุสลิมในจีนมีความเป็นอยู่ดีขึ้น พวกเขาจึงมีความมุ่งหวังในการเดินทางไปประกอบการฮัจญ์อย่างแรงกล้า ทว่าเงื่อนไขในการดำเนินการจริงนั้น ยังมีรายละเอียดบางส่วนที่พวกเขาคาดหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
รายละเอียดที่พวกเขามีความคาดหวังให้ทางรัฐบาลปรับแก้มีดังต่อไปนี้
• จำนวนโควต้าในการประกอบการฮัจญ์ของทางการนั้นมีจำกัดมาก
• การกระจายจำนวนโควตาสำหรับการทำฮัจญ์นั้นจะต้องพิจารณาตามสัดส่วนและจำนวนจริงของชาวจีนมุสลิมที่อยู่ในเมืองนั้นๆ
• ค่าใช้จ่ายในการประกอบการฮัจญ์ ตามค่าใช้จ่ายจริงคนละประมาณ 3 หมื่นหยวน(1 หยวน ประมาณ 5 บาท) แต่เมืองบางเมืองถ้าที่มีผู้แจ้งความประสงค์เป็นจำนวนมาก โควตามีจำนวนน้อย จึงทำให้เกิดการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ จากพนักงานบางส่วน จึงทำให้เกิดความไม่โปร่งใสขึ้น
• ควรมีการอนุมัติให้เอกชนจัดการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ในเชิงท่องเที่ยว เพื่อว่าจะได้มีความยืดหยุ่นในการประกอบพิธฮัจญ์มากขึ้น
แนวทางในการเสนอการแก้ไขปัญหามีดังนี้คือ
ควร มีการนำเสนอให้ทางรัฐบาลทราบปัญหาดังกล่าวอย่างชัดเจน เพื่อว่าจะได้ลดความคลางแคลงใจของของชาวมุสลิมจีน เมื่อเทียบกันแล้วจำนวนชาวมุสลิมในจีนมีจำนวนที่ใกล้เคียงกับของประเทศ มาเลเซีย จำนวนผู้ที่ไปประกอบการฮัจญ์ที่ประเทศมาเลเซียนั้นมีจำนวนที่แตกต่างกันมาก ในแต่ละปีมาเลเซียมีประชากรเดินทางไปทำฮัจญ์ปีละ 150,000 คน ส่วนจำนวนผู้ประกอบการฮัจญ์ในปี ค.ศ.2010นั้น มีเพียง 13000 คน
กรณี ที่เป็นเมืองหรือชุมชนที่มีชาวมุสลิมมากนั้น ควรเพิ่มสัดส่วนของผู้ที่เดินทางเพิ่มขึ้น กรณีเมืองกว่างเหอนั้น ควรเพิ่มจำนวนผู้ประกอบการจาก 200 คนเป็น 500-1000 คน การแก้ปัญหาดังกล่าวจึงเป็นการแก้ปัญหาในระยะยาว เป็นเรื่องที่ชี้ให้เห็นถึงความปรองดองของสังคมจีน อนึ่ง ยังเป็นผลดีต่อนโยบายทางด้านการทูตของประเทศจีนและซาอุดิอาระเบียอีกด้วย
นโยบาย การนับถือศาสนาของประเทศจีน เป็นนโยบายที่เนื่องด้วยการทำฮัจญ์นั้นเป็นศาสนกิจที่สำคัญของศาสนาอิสลาม เมื่อรายละเอียดของการดำเนินการเรื่องต่างๆ นั้นจะต้องใช้เวลาในการสร้างความสมบูรณ์ ถ้าเราเข้าใจเบื้องหลังความเป็นมาของปัญหาต่างๆ แล้ว เราก็จะเข้าใจสถานการณ์ปัจจุบันของจีน และที่สำคัญคือผู้เขียนคิดว่าในอนาคตนั้น การแก้ปัญหาดังกล่าวจะต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลคอมมิวนิตส์จีนอย่าง จริงจังแน่นอน
แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
http://www.360doc.com/content/09/0930/10/296815_6627837.shtml
http://www.norislam.com/batch.download.php?aid=4354][/url]
http://www.islamzx.com/thread-1137-1-1.html
คัดลอกบทความจาก
https://www.publicpostonline.net/2563
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
โปรดใช้วิจารณญานในการแสดงความคิดเห็น