ชาวหุยมุสลิมในจีนรุ่นใหม่ กับการฟื้นฟูความเป็นอิสลาม

 ชาวหุยรุ่นใหม่ กับการฟื้นฟูความเป็นอิสลาม

โดย ดร.นิสริน  หวังตักวาดีน

     ไม่ว่าคุณจะเป็นใครมาจากไหน หลังจากถอดรองเท้าแล้ว ทุกคนต้องซุยูด ต่อหน้าอัลลอฮ์ (ซ.บ.)ทุกสิ่งทุกอย่างก็เกิดความเสมอภาค……

        วัฒนธรรมจีนมีลักษณะที่ขึ้นลง ตามการส่งเสริมและให้ความสำคัญจากทางการเป็นหลัก ในช่วงต้นของประวัติศาสตร์จีน สามารถกล่าวได้ว่าราชวงค์ถังเป็นราชวงค์ที่มีความเฟื่องฟูทางด้านวัฒนธรรม มากที่สุด หลังจากที่สถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน ดูเหมือนว่าการส่งเสริมวัฒนธรรมต่างๆ ของจีนจะคงที่ แต่เหตุการณ์กลับตรงกันข้ามเมื่อเกิดเหตุการณ์ปฎิวัติวัฒนธรรมขึ้นในปีค.ศ. 1966-1976

      เหตุการณ์ปฎิวัติวัฒนธรรมเป็นเหตุการณ์ที่นำมาซึ่งการทำลายความเชื่อ ประเพณีและจารีตที่สั่งสอมมาตั้งแต่บรรพกาล อย่างที่อาจารย์วรศักดิ์ มหัทธโนบลผู้เชี่ยวชาญทางด้านได้กล่าวว่า “ในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม จารีตแต่โบราณถูกทำลายจนแทบไม่เหลือ การทำลายดังกล่าว เป็นการทำลายไปถึงขั้นของจิตวิญญาณ ทำหลายหลักความสัมพันธ์ 5 สถานดั้งเดิมที่ถูกหล่อหลอมมาจากลัทธิขงจื่อ” วัฒนธรรมความเชื่อของลัทธิขงจื่อยังถูกทำลาย นับประสาอะไรกับวัฒนธรรมของกลุ่มชนชาติต่างๆที่อยู่ในจีน รวมทั้งวัฒนธรรมอิสลามของชาวหุยก็ย่อมที่จะต้องถูกทำลายเช่นกัน

         การฟื้นฟูทางด้านวัฒนธรรมดั้งเดิมของจีน เริ่มมีการให้ความสำคัญอีกครั้งภายใต้การนำของประธานาธิบดีหูจิ่นเทา ซึ่งมีการประกาศฟื้นฟูวัฒนธรรมดั้งเดิม คืนชีพแนวคำสอนของขงจื่อ ด้วยการริเริ่มให้โรงเรียนต่างๆเปิดสอนคัมภีร์จตุรปกรณ์อันเป็นคำสอนของขง จื่อให้กับเด็กๆ อีกทั้งสนับสนุนกิจกรรมต่างๆในศาสนามากขึ้น อย่างเช่นการอนุญาตให้มีการจัดพิธีบูชาขงจื่อ หรือบรรพกษัตริย์โบราณอย่างหวงตี้ – ต้าอี่ว์อย่างเอิกเกริก นอกจากนั้นแล้วยังมีการประกาศวันหยุดราชการ ในวันที่ตรงกับเทศกาลที่เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาอีกด้วย การฟื้นฟูทางวัฒนธรรมในรูปแบบดังกล่าว ก็ย่อมมีอิทธิพลต่อกลุ่มชนชาติชาวหุยที่นับถือศาสนาอิสลามในจีน

        รัฐบาลคอมมิวนิตส์จีน เคารพสิทธิ์ในการนับถือศาสนาของประชาชนจีนตั้งแต่สถาปนาสาธารณะรัฐประชาชน จีน  ตั้งแต่ค.ศ. 1949 โดยเฉพาะเยาวชนที่มีอายุมากกว่า 18 ขึ้นไป โดยเฉพาะหลังจากการเปิดประเทศจีน การให้เสรีทางด้านเศรษฐกิจ เป็นผลให้ชาวต่างชาติ จากกลุ่มประเทศต่างๆ เข้าไปมีบทบาทค้าขายในจีน ชาวจีนจึงได้สัมผัสวัฒนธรรมของชาวต่างชาติที่มีความหลากหลาย รวมทั้งวัฒนธรรมอิสลามจากชาวตะวันออกกลางที่เข้าไปมีบทบาททางด้านต่างๆ ในจีน

“เป็นเรื่องพ่อแม่คาดคิดไม่ถึงว่า ผมเป็นมุสลิมที่ศรัทธราตั้งแต่อายุ 20  เมื่อก่อนพวกเขาเคยคิดว่าผมไปละหมาดทุกวันศุกร์ก็น่าจะเพียงพอแล้ว พวกเขามีความมุ่งหวังว่าผมจะต้องเป็นคนดีของสังคม ไม่ลืมฐานะของตัวเอง” นี่เป็นคำพูดของ Li Xin  นักศึกษาชาวหุย ณ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในเมืองเซี่ยงไฮ้ Li Xin  เป็นชาวหุยที่ชอบเล่นคอมพิวเตอร์  เขาใช้สื่อออนไลท์ในการสร้าง“กรุ๊ปมุสลิม” เล็กๆขึ้นมากรุ๊ปหนึ่ง1400725716

Li Xin ชาวหุยรุ่นใหม่

          หลังจากพักเที่ยง Li Xin  ก็เตรียมตัวทำน้ำละหมาด เขาไม่ได้ทำน้ำละหมาดจากก๊อกน้ำประปาเหมือนคนทั่วไป เขาใช้กาน้ำในการทำน้ำละหมาด เขาบอกว่า“ จริงๆ แล้วผมจะใช้น้ำจากน้ำประปาก็ได้นะ แต่ผมรู้สึกว่ามันจะสิ้นเปลืองเกินไป ถึงแม้ว่าจะใช้น้ำชำระเรื่องร่างกายเพื่อละหมาด ก็ไม่ควรสิ้นเปลือง ” หลังจากทำน้ำละหมาดเสร็จแล้ว            Li Xin ก็ไปหยิบผ้าปูละหมาดจากล๊อคเกอร์ของเขา เพื่อทำละหมาด เขาจะดูเวลาละหมาดตามปฎิทินบอกเวลาละหมาดของเขา ที่แขวนอยู่บนผนังของหอพัก

        Li Xin เป็นชาวซีอาน มีชื่อภาษาอาหรับว่า”ยูซุฟ”  Li Xin เกิดในชุมชนแห่งหนึ่งของซีอาน ซึ่งเป้นชุมชนที่มีมัสยิดเป็นศูนย์กลางของชุมชน ชาวฮั่นและคนที่ไม่ใช่ชาวหุย จะเรียกชุมชนแห่งนี้ว่า “หุยหมินเจีย”(ถนนของชาวหุย)

       มัสยิดตั้งอยู่ซอยตรง กันข้ามกับบ้านของ Li Xin พ่อแม่ของ Li Xin เป็นคนที่เคร่งครัดในศาสนา พยายามอยู่ในร่องรอยของศาสนาอิสลามคือไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ละหมาดวันละห้าเวลา

        ตอนเรียนอยู่ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 Li Xin มีโอกาสได้พูดคุยเรื่องศาสนากับอีหม่ามที่เรียนจบจากต่างประเทศ หลังจากนั้นที่เขารู้สึกว่าสิ่งที่เขารู้เกี่ยวกับศาสนาอิสลามนั้นมีไม่มาก เขาจึงเกิดแรงดลใจในการศึกษาศาสนาอิสลามตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เช่น Li Xin บอกว่า“ เมื่อก่อนเข้าใจแต่ว่าการถือศีลอดนั้น เป็นการฝึกความอดทนของตนเองเท่านั้น แต่สาเหตุที่สำคัญอีกเหตุผลหนึ่งคือ ในโลกนี้ยังมีพี่น้องที่อดอยากอีกจำนวนมาก มีเพียงวิธีเช่นนี้ ถึงจะเข้าใจความทรมานของผู้ที่ไม่มีกิน ”  Li Xinบอกว่า”มุสลิมที่ศรัทธราที่แท้จริงนั้น ใช่ว่าจะหยุดที่การทำอิบาดะห์อย่างเดียว ที่สำคัญคือจะต้องเข้าใจผู้อื่น เป็นห่วงผู้อื่น”

         หลังจากที่ Li Xin ใช้สมาร์ทโฟน เขาสรรหาโหลดโปรแกรมอะซานลงในเครื่อง หลังจากที่ใช้แล้วมีเสียงที่ตอบรับค่อนข้างดี ด้วยเหตุที่ Li Xin มีความถนัดทางด้านคอมพิวเตอร์อยู่แล้ว เขาจึงสรรหาโปรแกรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับศาสนาอิสลาม แล้วแปลเป็นภาษาจีน สุดท้ายแล้วนำลงในอินเตอร์เน็ต ปรากฏว่าได้รับความนิยมชมชอบจากผู้ที่ใช้อินเตอร์เน็ตมาก  Li Xinบอกว่า “ คนที่อาศัยอยู่ในเมืองหลวง มีแต่ความเร่งรีบ เวลาในการเรียนรู้มีจำกัด สื่อออนไลท์ต่างๆ จึงสามารถช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ สมาร์ทโฟนใช่ว่าจะมีแต่เรื่องบันเทิงอย่างเดียว เราสามารถทำให้มันเป้นครูที่ดีของเราได้”

      Ma Yu เป็นหนุ่มชาวหุยอายุ 26 ปี ที่เดินทางมาถึงเซี่ยงไฮ้วันแรก วันนั้นเป็นวันศุกร์พอดี สิ่งที่เขากระทำสิ่งแรกที่เซี่ยงไฮ้คือสรรหามัสยิดที่จะไปร่วมละหมาดวัน ศุกร์  เพื่อนๆ ของเขาแนะนำให้เขาไปละหมาดที่มัสยิดแห่งหนึ่ง ซึ่งสร้างตั้งแต่ปีค.ศ. 1921 เมื่อถึงเวลาละหมาดเขากุลีกุจอไปทำน้ำละหมาด  Ma Yu กล่าวว่า “ไม่ว่าคุณจะเป็นใครมาจากไหน หลังจากถอดรองเท้าแล้ว ทุกคนต้องซุยูดต่อหน้าอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทุกสิ่งทุกอย่างก็เกิดความเสมอภาค ไม่มีการแบ่งรวยจน ไม่แบ่งชนชาติ อาชีพ ขอเพียงแต่ทุกคนมีความตั้งใจจริง ก็จะได้รับผลบุญจากพระองค์(ซ.บ.)”

       Wang Feng เป็นเพื่อนของ Ma Yu เขาพูดว่า” คนรุ่นเรา ควรจะตระหนักเห็นความสำคัญของศาสนาอิสลามมากขึ้น ควรทำความรู้จักกับศาสนาอิสลามใหม่ ( เพราะรุ่นพ่อแม่ ไม่มีโอกาสเรียนรู้ศาสนาในช่วงปฺฎิวัติวัฒนธรรม ) ศาสนาอิสลามไม่ใช่ว่าไม่ทานหมู และไม่ดื่มเหล้าเท่านั้น อยากจะให้ทุกคนตระหนักถึงความศรัทธรา ”  ก่อนหน้านี้ Wang Feng ไปราชการที่ฮ่องกง เขาเห็นเด็กๆ นั่งห้อมล้อมกันฟังบรรยายศาสนาหลังละหมาดมักริบ เป็นสิ่งที่เขารู้สึกประทับใจจนถึงทุกวันนี้

      จากตัวอย่างข้างต้น ผู้เขียนคิดว่าการฟื้นฟูศาสนาอิสลามของชาวหุยรุ่นใหม่นั้นน่าจะเป็นเรื่อง บวกมากกว่าลบ แม้ว่าการฟื้นฟูในเชิงนโยบายอาจมีสิ่งใดๆ แฝงอยู่หรือไม่ก็ตาม แต่ตัวอย่างข้างต้นก็แสดงให้เก็นถึงความผ่อนปรนของรัฐบาลคอมมิวนิสต์จีนใน การให้ความเสรีภาพทางด้านศาสนา

แหล่งข้อมูลอ้างอิง: http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9500000124594

http://www.duost.com/20140522/135660.html

ที่มาคัดลอกจาก

https://www.publicpostonline.net/693

ความคิดเห็น