ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

วรรณกรรม นวนิยายจุดหักเหของมุสลิมจีนในเมือง

หรือว่าจะเป็นจุดหักเหของมุสลิมจีนในเมือง

ภาพไม่เกีี่ี่ี่ี่ี่ี่ี่ี่ี่ยวข้องกับบทความ

         เรื่องเล่าทางด้านวรรณกรรมของมุสลิมในเมืองจีน ในอดีตที่ผ่านมา ผู้คนแทบจะไม่รู้จักวรรณคดีของชาวมุสลิมในจีนจนกระทั่งต้นปีค.ศ.1990 วรรณกรรมจีนของฮั่วต๋า เรื่อง “พิธีศพของมุสลิม” ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมทางด้านวรรณกรรมระดับชาติของจีน  เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่สะท้อนความรักของครอบครัวพ่อค้าชาวหุย ในช่วงปีค.ศ. 1960 เรื่องราวต่างๆ ในนวนิยาย เป็นความขัดแย้งของชาวหุยรุ่นลูกและชาวหุยรุ่นแม่ ความรักที่มีสะท้อนให้เห็นนั้นเป็นความรักของลูกสาวชาวหุยที่มีต่อครูชายที่ไม่ใช่ชาวหุย เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่บรรยายถึงเรื่องความรักฉันท์หนุ่มสาว หลังจากเรื่องดังกล่าวแล้ว วรรณกรรมของชาวหุยเริ่มเป็นที่รู้จักของผู้คนมากขึ้น

        ในปีค.ศ. 2006 นวนิยายเรื่องยาวเรื่อง“ครอบครัวชาวหุย” โดยนักเขียนที่ใช้สมญานามว่า“ หยวนคัง” เป็นชาวปักกิ่งดั้งเดิม เกิดเมื่อปีค.ศ. 1945 มีอาชีพเป็นนักเขียน นักเขียนพู่กันจีน มีอาชีพเป็นครูมีประสบการณ์ในการสอนระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และระดับอุดมศึกษา ช่วงวัยหนุ่มเคยเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือชาวธิเบต 2 ปี นวนิยายที่เขียนมีจำนวนหลายเล่ม เช่น “เปลวเทียนธิเบตเหนือ” “วันอวสานของคนเจ้าตัณหา”  เป็นต้น นักเขียนคนดังกล่าวเรียกตัวเองว่า “นักเขียนมุสลิม”

 หน้าปก”ครอบครัวชาวหุย”(ภาพไม่ปรากฏ)

     หยวนคัง เล่าว่าเขาไม่เคยเห็นปู่ย่าปฏิบัติศาสนกิจตั้งแต่เด็ก ไม่ค่อยเข้ามัสยิด เพราะฉะนั้นเจ้าตัวเองก็ไม่เคยเข้าไปเรียนศาสนาในมัสยิด หลังจากที่คุณปู่เสียชีวิต เขาได้ประกอบพิธีทางด้านศาสนาตามธรรมเนียมของชาวหุย โดยมีผู้ที่สามารถอ่านกุรอานได้เป็นผู้มาอ่านในพิธี หยวนคังแทบจะไม่รู้เลยว่าเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องนั้น มีความหมายอย่างไร หยวนคังเหมือนลูกหลานชาวหุยคนอื่นๆ ในชุมชนที่ พ่อแม่ส่งไปเรียนโรงเรียนสามัญตั้งแต่ประถมศึกษาจนกระทั่งถึงมัธยมศึกษา ในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกพรรคนั้น หยวนคังได้ถูกตามตัวไปสัมภาษณ์ โดยมีกรรมการของทางรัฐถามถึงศาสนาที่นับถือ “หยวนคัง”ตอบว่า ศรัทราในลัทธิเลนิน ไม่เชื่อศาสนาสากล“หยวนคัง” จึงสามารถเป็นสมาชิกพรรคได่อย่างราบรื่นปีค.ศ.1974 ตามการคัดเลือกของกระทรวงกลาโหม   หยวนคังและสหายอีก 2 คน ไปเป็นอาสาสมัครในการพัฒนาทางด้านการศึกษาทางตอนเหนือของธิเบต หลายครั้งที่ผ่านไปเมืองลาซา เคยพบมัสยิดที่ถูกทำลาย แต่ยังคงมีผู้หญิงชาวธิเบตใส่ชุดคลุมยาว กุลีกุจอภายในมัสยิด ต่อมาเขาถึงรู้ว่าผู้หญิงกลุ่มดังกล่าวนั้นเป็นชาวธิเบตที่นับถือศาสนาอิสลาม เหตุการณ์ดังกล่าวคอยทำให้เขาคิดถึงความเป็นตัวตนของตัวเองอยู่ตลอดเวลา

ระหว่างที่เป็นอาสาสมัครอยู่ที่ธิเบต การประพฤติตัวของเขานั้น ไม่มีความแตกต่างกับคนทั่วไป ดื่มเหล้าสูบบุหรี่เป็นอาจิณ กระทั่งหยวนคังมีโอกาสคบเพื่อนร่วมงานที่มาจากทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ในปีค.ศ. 1980 หยวนคังถึงจะเริ่มรู้จักอิสลาม รู้ว่าการดื่มสุรานั้นเป็นบาปใหญ่ เขาเลยเลิกอย่างเด็ดขาด และเขาก็ได้เลิกสูบบุหรี่ เพราะกลัวเป็นมะเร็ง

เรื่องเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้สำหรับคนที่มีความศรัทรานั้น อาจเป็นเรื่องที่ไม่อยู่ในสายตาแต่เป็นเพราะว่าสิ่งเหล่านนี้ถูกสะสมในจิตใต้สำนึกของหยวนคัง จึงทำให้หยวนคังมีความรู้สึกว่า การที่ให้คนที่มีการศึกษาไม่สูงเรียนรู้ศาสนาง่ายกว่า คนที่มีการศึกษาในระดับหนึ่ง

หยวนคังมีโอกาส รู้จักครูเหอ ที่เป็นครูสอนศาสนาตั้งแต่ปีค.ศ. 1996 ตั้งแต่นั้นมาเขาได้เรียนกุรอานและความรู้พื้นฐานทางด้านศาสนากับครูเหอ หยวนคังเล่าว่า “ ภาพวันแรกที่เดินเข้ามัสยิดยังคงติดตาอยู่ทุกวันนี้ วันนั้นเดินเข้ามัสยิดด้วยความเกรงกลัว ไม่มีความมั่นใจเลย แต่หลังจากวันนั้นแล้วรู้สึกไม่อยากจากไปเลย ”  ต่อมามีอยู่วันหนึ่งขณะที่หยวนคังได้นั่งเรียนศาสนากับครูเหอ เกิดความคิดขึ้นมาในบันดลว่า “ ฉันมีโอกาสมานั่งเรียนกับครูเหอ แต่มีผู้คนอีกจำนวนที่ไม่มีโอกาสมานั่งเรียน การเผยแพร่ศาสนาในลักษณะนี้ก็มีข้อจำกัดมากขึ้น ” ต้นทุนของหยวนคังคือเคยเป็นนักข่าว  จิตใต้สำนึกทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการ“เผยแพร่ศาสนา” ผ่านสื่อขึ้นมาทันที  ถ้าจะเขียนนวนิยายเรื่องหนึ่ง ที่สะท้อนถึงเรื่องของศาสนา ก็น่าจะมีคนสนใจมากกว่านี้ นี่จึงเป็นจุดประกายของการเขียนนวนิยายเรื่อง “ครอบครัวชาวหุย”

“ครอบครัวชาวหุย” เป็นเรื่องที่เล่าถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของชุมชนมุสลิม“หนิวเจีย”  โดยมุ่งเน้นเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงหลังจากการรื้อถอน เพื่อสร้างเมืองใหม่ตามนโยบายการวางผังเมืองใหม่ของรัฐบาล การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวถือเป็นครั้งสำคัญของกลุ่มชนชาติในเมืองหลวง ผู้เขียนได้พรรณนาถึงการเปลี่ยนแปลงของความใหม่และความเก่า ความโสภาและอัปลักษณ์ ความทันสมัยและความสิ่งที่สืบทอดกันมา แสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งความใจของคนที่มีอายุแตกต่างกัน สถานภาพไม่เหมือนกัน การพรรณนาทั้งหมดสะท้อนให้เห็นชีวิตของประชาชนชาวหุยที่อาศัยอยู่ในเมืองหลวง เนื้อหาของนวนิยายสะท้อนถึงครอบครัวของหยวนคังเอง เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นมาภายใน 4 รุ่นของตระกูลหมี่ เปรียบเทียนเล่าถึงความเคร่งครัดของคนรุ่นเก่าและความเลอะเลือนของคนรุ่นใหม่ สิ่งที่หลงเหลือไว้นั้นคือความหวังและความซังกะตาย  อาศัยความแน่วแน่และเคร่งครัดในเรื่องของความศรัทราของคุณหมี่เซ่าหยวน(ซึ่งเป็นตัวหยวนคังเอง) ทำให้ตัวหลายๆ คนได้หันกลับมาสนใจศาสนา ขณะเดียวกันก็มีอีกหลายๆ คนที่ยังหลงระเริงกับวัฒนธรรมกลุ่มใหญ่

นวนิยายเรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่สะท้อนให้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นกลับครอบครัวของชาวหุยในปัจจุบันของจีน โดยเฉพาะครอบครัวชาวหุยที่อาศัยอยู่ในเมือง เป็นเรื่องที่ชาวหุยจะต้องทบทวนกับวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้น รวมทั้งการตระหนักถึงปัญหาทางด้านการศึกษาของครอบครัว  ปัญหาการสืบทอดความรู้ทางด้านศาสนาให้กับคนรุ่นใหม่ ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริงของสังคมทุกวันนี้

นวนิยายของหยวนคัง จึงเป็นนวนิยายที่สะท้อนความเป็นอยู่ของชาวหุยที่อาศัยอยู่ในเมือง ตามประสบการณ์ของตัวเองอย่างตรงไปตรงมา  หยวนคังถือว่า ตัวเองเป็นนักเขียนมุสลิม ที่เต็มไปด้วยความศรัทรา ดังนั้นการเขียนนั้นจำเป็นต้องเขียนตามความเป็นจริง เช่นนี้แล้วถึงจะสามารถแสดงให้เห็นถึงเจตนาในการเขียนอย่างแท้จริง

หลังจากหยวนคังได้ตีพิมพ์นวนิยายดังกล่าวที่โรงพิมพ์ฮ่องกง  เสียงสะท้อนจากผู้อ่านชาวหุยในโลกอินเตอร์เน็ต มีความรู้สึกเดียวกับผู้เขียนอย่างท่วมท้น หรือว่าเสียงสะท้อนเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่ให้เกิดจุดหักเหของมุสลิมจีนในเมือง

 

แหล่งข้อมูลอ้าง
คัดลอกจาก
https://www.publicpostonline.net/613


ความคิดเห็น