ประวัติ เส้นทาง สายสกุลสุลต่านสุไลยมาน

 ประวัติ เส้นทาง สายสกุลสุลต่านสุไลยมาน

      สุลต่าน สุไลยมาน (ซาห์) เป็นบุตรชายคนโตของท่านดาโต๊ะ โมกอล เป็นชาวอาหรับเปอร์เซีย นับถือศาสนาอิสลามตามซุนนะฮ์ ตามแนวทางของท่านนะบีมุฮัมมัด หรือที่เรียกว่า "สุนหนี่" ท่านได้อพยพครอบครัวและบริวารจากเมืองสาเลห์ (ชวาภาคกลาง) อันเนื่องมาจากการรุกรานจากนโยบายเรือปืน ของนักเดินเรือชาวโปตุเกส สเปน และอังกฤษ ซึ่งไม่เพียงแต่หาสินค้าพื้นเมืองเพื่อทำการค้า แต่ยังทำการล่าอาณานิคมไปด้วย โดยการระดมยิงปืนใหญ่จากเรือเผาทำลายเมืองที่ไม่ยอมตกเป็นอาณานิคมของตน เมืองสาเลห์ในอดีต หรือเมืองสาเลห์ก็หนีไม่พ้นจากการรุกรานนั้นเช่นกัน  

      ท่านโมกอลจึงอพยพครอบครัวและบริวารโดยทางเรือมาตั้งหมู่บ้านที่ตำบลเขาหัว แดง ริมทะเลปากอ่าวสงขลา ใน ปี พ.ศ. 2145 ซึ่งบริเวณหัวเขาแดงในอดีต ก่อนที่ท่านโมกอลจะอพยพมานั้นเป็นบริเวณที่เป็นเทือกเขา ในส่วนที่เป็นที่ราบก็เป็นที่ลุ่มต่ำน้ำท่วมอยู่เสมอ และในส่วนที่เป็นที่ดอนก็แห้งแล้ง ทำให้ไม่มีความเหมาะสมที่จะเพาะปลูก และไม่เป็นที่ต้องการของชนพื้นเมืองเดิม   

      เนื่องจากสันนิษฐานว่าท่านโมกอล เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถทั้งในด้านการปกครอง การค้าและการเดินเรือ ท่านกลับเห็นว่าภูมิประเทศบริเวณเขาหัวแดงนี้ เหมาะที่จะร้างบ้านเรือนมากทีสุด เนื่องจากสามารถสร้างเป็นเมืองท่าหรือสถานีการค้าได้ เพราะอยู่ริมทะเลมีแหล่งจอดเรือได้สะดวก และมีชัยภูมิที่เหมาะสมจากการที่มีภูเขาหัวแดง ทำหน้าทีกำบังลมมรสุม รวมทั้งป้องกันภัยรุกราน ที่สำคัญคือ ในบริเวณดังกล่าวอยู่ไม่ห่างจากแหล่งสินค้าที่ประเทศทางตะวันตกต้องการ เช่น ของป่า สัตว์ป่า และแร่ธาตุ ซึ่งนั่นหมายถึงโอกาสในการรวบรวมสินค้าจากภูมิภาค ทั้งในตอนบนและตอนล่างของเมืองสงขลาด้วย ท่านโมกอลจึงตัดสินใจสร้างบ้านเมืองขึ้นในบริเวณดังกล่าว 

      เมือง สงขลาภายใต้การปกครองของท่านโมกอลเจริญรุ่งเรืองขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการสร้างกำแพงเมือง ป้อมปราการ และคูเมืองโอบล้อมอย่างแข็งแรง และเริ่มขยายอาณาเขตการปกครองมายังบริเวณพื้นทีว่างเปล่าบนเกาะใหญ่ และบริเวณชายฝั่งที่อยู่ระหว่างเขตเมืองพัทลุงและปัตตานี ความเจริญรุ่งเรืองอย่างรวดเร็วนี้ทราบถึงเจ้าพระยานครศรีธรรมราช ซึ่งมีหน้าที่ดูแลหัวเมืองทางภาคใต้ของกรุงศรีอยุธยา เจ้าพระยานครศรีธรรมราชจึงได้รายงานสถานการณ์ความเคลื่อนไหวของเมืองสงขลา ภายใต้การปกครองของท่านโมกอลไปยังกรุงศรีอยุธยา ซึ่งตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระเอกาทศรถ(ครองราชย์ พ.ศ.2148-2153) ด้วย สายพระเนตรที่ยาวไกลของสมเด็จพระเอกาทศรถ ได้โปรดเกล้าแต่งตั้งท่านโมกอล ให้เป็นข้าหลวงใหญ่แห่งพระเจ้ากรุงสยาม ประจำเมืองพัทลุงอยู่ที่เขาหัวแดง แขวงเมืองสงขลา มีหน้าที่ปกครองดูแลเมืองพัทลุง และเก็บเงินค่าธรรมเนียมเทียบท่าจอดเรือจากบรรดาเรือสินค้า ส่งเป็นส่วยเข้าท้องพระคลังหลวงที่กรุงศรีอยุธยา ทั้งนี้นอกจากได้รับประโยชน์โดยตรงจากการเก็บส่วยแล้ว อีกสาเหตุหนึ่งก็เพื่อผลประโยชน์ทางการค้าของกรุงศรีอยุธยาเอง เนื่อง จากความเจริญทางด้านการค้าของเมืองสงขลา ทำให้กรุงศรีอยุธยาระบายสินค้าส่งออกมายังเมือง ที่มีท่าจอดเรือสะดวกและมีการติดต่อค้าขายกับต่างชาติอยู่แล้ว 

      ท่านโมกอลได้ดำรงตำแหน่งจนถึงปี พ.ศ.2163 จึงถึงแก่อสัญกรรม รวมระยะเวลาที่ท่านปกครองเมืองสงขลา 15 ปีเศษ และท่านสุไลยมานได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม(ครองราชย์ พ.ศ.2153-2171) ให้ขึ้นครองนครสงขลา สืบต่อจากบิดานปี พ.ศ.2163 ในฐานะผู้สำเร็จราชการนครสงขลา เช่นเดียวกับบิดา

      สุลต่านสุไลยมาน ได้อพยพจากเมืองสาเลห์มาพร้อมบิดา (ท่านโมกอล) เมื่อท่านมีอายุเพียง 12 ปี เมื่อครั้งบิดาสร้างเมืองสงขลาและปกครองเมืองสงขลา ท่านมีส่วนช่วยเหลือบิดาในด้านการปกครอง และดูแลปราบปรามโจรสลัด ที่เข้ามาคุกคามเมืองสงขลอยู่เนืองๆ หลังจากที่ท่านโมกอลเสียชีวิตลง สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ได้โปรดเกล้าแต่งตั้งท่านสุลัยมาน เป็นข้าหลวงใหญ่ผู้สำเร็จราชการนครสงขลาเช่นเดียวกับบิดา ซึ่งสมัยท่านสุไลยมานได้ปฏิบัติหน้าที่ของท่าน ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและด้วยความจงรักภักดีอย่างยิ่ง 

      ต่อ มาในปี พ.ศ.2173 เจ้าพระยากลาโหมศรีสุริยวงศ์ ได้ขึ้นครองราชโดยทำการประหารชีวิตราชโอรสของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมทั้งสองคน และสถาปนาตนเป็นปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ปราสาททอง โดยมีพระนามว่า"สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง"(ครองราชย์ พ.ศ.2173-2199) ท่านสุไลยมานเห็นว่าเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง และมิใช่เป็นการสืบราชสันตติวงศ์ตามกฏมณเฑียรบาล จึงประกาศแข็งเมืองไม่ยอมขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา และได้ประกาศเป็นรัฐอิสระ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2173 

      ในช่วงเวลาที่นครสงขลาแข็งเมืองนั้น เมืองปัตตานีก็ไม่ยอมรับในอำนาจของสมเด็จพระเจ้าปราสาททองเช่นเดียว กัน(พ.ศ.2173) และได้ใช้โอกาสในช่วงการผลัดแผ่นดินนั้น ยกทัพมาตีเมืองพัทลุง และเมืองนครศรีธรรมราช อันเป็นหัวเมืองสำคัญทางตอนใต้ของกรุงศรียุธยา อนึ่ง เมืองนครศรีธรมราชในช่วงระยะเวลาดังกล่าวเป็นช่วงอยู่ในภาวะอ่อนแอขาดความ สามัคคีเป็นอย่างยิ่ง อันเป็นผลสืบเนื่องจากการแต่งตั้งออกญาเสนาภิมุข(ยามาดา นางามาชา)ซึ่งเป็นคนญี่ปุ่นมาเป็นเจ้าเมือง เมื่อออกญาถึงแก่ได้เสียชีวิตลง บุตรชาย(โอนิน) ได้ยึดอำนาจปกครองแทน และใช้นาจเพื่อพรรคพวกของตนเป็นหลัก ก่อให้เกิดความระส่ำระสายแก่เมืองนครศรีธรรมราชเป็นอย่างยิ่ง แม้สมเด็จพระเจ้าปราสาททองจะส่งทัพจากกรุงศรีอยุธยามาช่วยรบกับปัตตานี ก็ไม่สามารถสู้รบกับกองทัพจากเมืองปัตตานีได้

      ในขณะเดียวกันเมืองสงขลาแทบจะเรียกได้ว่าอยู่นอกระบบการปกครองของกรุง ศรีอยุธยา เนื่องจากไม่ได้ถูกโจมตีจากปัตตานี อีกทั้งยังไม่ถูกเกณฑ์กำลังเข้ารวมกับกองทัพอยุธยาเพื่อรบกับปัตตานีด้วย แต่เนื่องจากการดำเนินนโยบายทางการเมืองผิดพลาดของเมืองสงขลาในขณะนั้นที่ เชื่อมั่นว่าการพึ่งพากรุงศรีอยุธยาน่าจะดีกว่า จึงส่งฑูตไปยังกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นสาเหตุจากการถูกโจมตีจากเมืองปัตตานีในเวลาต่อมา และได้รับความเสียหายอย่างยับเยินแม้จะจัดเตรียมกำลังพลอย่างเข้มแข็งแลวก็ ตาม โดยกรุงศรีอยุธยาไม่สามารถช่วยเหลือได้แต่ประการใด  

      เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้สุลต่านสุไลยมาน เกิดความไม่มั่นใจในอำนาจของกรุงศรีอยุธยา จึงตั้งตนเป็นอิสระไม่อยู่ในอำนาจของกรุงศรีอยุธยา ชาวเมืองต่างพากันเรียก"สุลต่านสุไลยมานาซาห์" 

      หลังจากตั้งตนเป็นรัฐสุลต่าน สุไลยมานได้ตระหนักดีว่าในกาลข้างหน้าคงหลีกเลี่ยงการรุกรานจากทั้งเมือง ปัตตานี กรุงศรีอยุธยาและโจรสลัด ที่คอยปล้นสดมภ์ได้ยาก ท่านจึงร่วมมือกับชาวต่างชาติสร้างป้อมปราการ และหอรบมากมาย ดังปรกฏในจดหมายเหตุชาวฝรั่งเศสว่า 

      "เมื่อ พ.ศ.2186 มีแขกมลายูคนหนึ่งได้ตั้งตัวเป็นใหญ่ที่เมืองสงขลา และได้กบฏต่อพระเจ้ากรุงสยาม แขกมลายูผู้นี้ได้ทำป้อมประตูหอรบอย่างแข็งแรงแน่นหนา และได้ชักชวนบรรดาพ่อค้าทั้งหลาย ให้เข้าไปทำการค้าขายที่เมืองสงขลาอย่างมาก ฝ่ายกรุงศรีอยุธยาก็ยกทัพไปปราบปรามหลายครั้งแต่ก็พ่ายแพ้กลับมาทุกคราว แขกมลายูคนนี้ได้ตั้งตัวเป็น เจ้าเมืองสงขลา"  



      หลังจากนั้นเมืองสงขลาได้เป็นเมืองที่เข้มแข็งและขยายอำนาจออกไปกว้างขวาง ท่านสุไลยมานได้ร่วมมือกับเจ้าเมืองไทรบุรี เข้ายึดเมืองพัทลุง อันเป็นเหตุให้สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ให้ยกทัพหลวงมาปราบถึง 2 ครั้ง แต่ไม่สำเร็จ(พ.ศ.2189 และ พ.ศ.2191) ต่อมาในปี พ.ศ.2192 ท่านสุไลยมานได้ยกกองทัพเข้าบุกยึดเมืองนครศรีธรรมราชและพัทลุงไว้ได้สำเร็จ 

      เมืองสงขลามีความเจริญรุ่งเรืองและเติบโตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเป็นเมืองท่าการค้าที่สำคัญ โดยสินค้าหลักที่สำคัญคือ พริกไทย และรังนก บริเวณรอบทะเลสาบสงขลาเป็แหล่งปลูกพริกไทยที่สำคัญ ส่งผลให้เมืองสงขลาเป็นตาดการค้าพริกไทยที่สำคัญ ทำให้เศรษฐกิจการค้าของเมืองสงขลาเจริญรุ่งเรืองเป็นอันมาก นอกจากนี้ยังมีสินค้าจำพวกข้า ถ้วย จาน ชาม และอื่นๆอีกด้วย  

      ในปี พ.ศ.2202 หลังจากสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ขึ้นครองราชย์ สุลต่านสุไลยมานได้ยอมรับอำนาจอันชอบธรรม ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จึงได้ส่งฑูตไปยังกรุงศรีอยุธยา ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงรับฑูตนั้นไว้ด้วยความยินดี เป็นการลดความตึงเครียดทางการเมือง ขณะเดียวกันเมืองสงขลายังคงมีอำนาจเช่นเดิมโดยที่อยุธยาไม่สามารถแทรกแซงได้

      สุลต่านสุไลยมานถึงแก่กรรมในปี พ.ศ.2211 รวมอายุได้ 76 ปี 

      เมื่อเปลี่ยนราชวงศ์จากปราสาททองเป็นบ้านพลูหลวง พระเพทราชามิได้วางตัวเป็นปรปักษ์ต่อเชื้อสายสุลต่านสุไลยมาน แต่ว่าทรงมอบตำแหน่งเจ้าเมืองพัทลุงให้บุตรชายอีกคนหนึ่งของสุลต่านได้ครอง อีกครั้ง ดำรงตำแหน่งพระยาจักรี( ฮุสเซน) 

      เชื้อสายของพระยาจักรีสืบสายเป็นขุนนางไทยมาจนถึงสมัยธนบุรี และรัตนโกสินทร์ตอนต้น ส่วนใหญ่ได้ดำรงตำแหน่งพระยาราชบังสัน หรือพระยาราชวังสัน มีอำนาจหน้าที่ทางด้านทัพเรือ หนึ่งในจำนวนนี้คือพระยาราชวังสัน(หวัง)ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลก ท่านตั้งเคหสถานอยู่ติดวัดหงษ์รัตนาราม ในคลองบางกอกใหญ่ ฝั่งธนบุรี  

      พระยาราชวังสัน(หวัง)และคุณหญิงชูภรรยาเอกมีธิดา ๓ คน หนึ่งในจำนวนนี้ชื่อเพ็ง ได้สมรสไปกับพระยานนทบุรี(จันท์)เจ้าเมืองนนทบุรี คุณหญิงเพ็งมีธิดาชื่อเรียม  

      ต่อมาคุณเรียมได้ถวายตัวเข้ารับราชการฝ่ายใน เป็นพระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ท่านเป็นเจ้าจอมมารดาของพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าทับ กรมหลวงเจษฎาบดินทร์ ซึ่งเมื่อสิ้นรัชกาลที่ ๒ แล้วก็ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติด้วยความเห็นชอบของ "อเนกมหาชนนิกร สโมสรสมมุติ" คือจากที่ประชุมกันของขุนนางผู้ใหญ่และพระบรมวงศานุวงศ์ เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๓ แห่งบรมราชจักรีวงศ์ - พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนเจ้าจอมมารดาเรียมต่อมาก็ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระศรีสุลาไลย 

      ชื่อนี้ สันนิษฐานว่า "สุลาไลย" เป็นการแผลงคำจาก "สุไล" ซึ่งเกี่ยวโยงไปถึงชื่อสุลต่านสุไลยมาน ต้นตระกูลเดิมของเจ้าจอมมารดาเรียม เพราะคำศัพท์ไทยรุ่นเก่ามีการแผลงทำนองนี้อยู่ อย่างชื่อ พิมพิลาไลย มาจาก พิมพิไล ซึ่งหมายถึงรูปงาม  

      ถึงแม้ว่าพระราชโอรสในสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ มิได้มีพระองค์ใดได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าฟ้า และมิได้ครองราชย์สืบต่อมา แต่พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ในพระราชวงศ์จักรีเริ่มแต่รัชกาลที่ ๕ เป็นต้นมาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน ล้วนสืบเชื้อสายจากสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ทั้งสิ้น  

      ทั้งนี้เพราะพระราชินีในรัชกาลที่ ๔ สมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ เดิมคือหม่อมเจ้ารำเพย พระธิดาในพระองค์เจ้าศิริวงศ์ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ พระราชโอรสในรัชกาลที่ ๓ สมเด็จพระเทพศิรินทรฯจึงทรงเป็นพระนัดดา หรือ " หลานปู่" ในสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ และทรงเป็น "เหลนทวด" ในสมเด็จพระศรีสุลาไลย  

      พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ของสมเด็จพระเทพศิรินทรฯ คือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นสมเด็จพระบรมอัยกาธิราชในพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน  

      เชื้อสายของสุลต่ายสุไลมานจึงเกี่ยวข้องกับราชวงศ์จักรี ผ่านทางสมเด็จพระศรีสุลาไลย และสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วยประการนี้

      ผูู้้สืบเชื้อสายจากสุลต่านสุไลยมาน ในปัจจุบันที่อยู่ทั้งในกรุงเทพฯ อยุธยา และภาคใต้ เช่น สงขสลา พัทลุง ไชยา สุราษร์ธานี เป็นต้น ชุมชนที่เป็นลูกหลานสุลต่านสุลัยมานที่พอจะสืบโยง  

      กับวงศ์ญาติได้ ก็คือ ชุมชนมัสยิดต้นสน คลองบางหลวง เขตบางกอกใหญ่ มัสยิดกุฎีขาว เขตธนบุรี มัสยิดบางกอกน้อย บางอ้อ เป็นต้น 

      สำหรับมัสยิดต้นสน หรือชื่อที่เรียกทั่วไปว่า กุฎีต้นสน หรือกุฎีใหม่ จากบันทึกทางประวัติศาสตร์ทำให้ทราบว่ากุฎีต้นสนและชุมชนแห่งนี้มีอายุกว่า 400 ปี ฉะนั้นชุมชนมุสลิมนี้จึงมีอยู่ตั้งแต่สมัยอยุธยา ชุมชนตั้งอยู่ริมคลองบางหลวงหรือคลองบางกอกใหญ่ ซึ่งในอดีตก็คือส่วนหนึ่งของ แม่น้ำเจ้าพระยา มุสลิมในชุมชนนี้ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากพ่อค้ามุสลิมชาติต่าง ๆ ที่เดินทางติดต่อ ค้าขายกับอยุธยา เช่น เปอร์เซีย อาหรับ อินเดีย จาม เขมร จีน ฯลฯ แวะพำนักและตั้งถิ่นฐานมี ครอบครัวที่นี่ ครั้นเมื่อกรุงศรีอยุธยาใกล้จะแตก มุสลิมในอยุธยาซึ่งก็มีบรรพบุรุษจากชนชาติต่าง ๆ และส่วนใหญ่จะตั้งถิ่นฐานอยู่ริมแม่น้ำได้อพยพล่องแพตามลำน้ำเจ้าพระยามา ตั้งถิ่นฐานสมทบกับมุสลิมที่อยู่เดิมในบริเวณนี้ โดยอีกส่วนหนึ่งแวะตั้งถิ่นฐานอยู่ริมฝั่งน้ำบริเวณนนทบุรี บางอ้อ บางกอกน้อย ดังนั้นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ นอกจากจะเรียกมุสลิมกลุ่มนี้ว่า "แขกมัวร์หรือแขกเทศ" แล้วยังเรียก "แขกแพ" 

      มุสลิมในชุมชนนี้มีบรรพบุรุษจากหลายเชื้อชาติ แต่ที่สำคัญคือ ส่วนหนึ่งเป็นเชื้อสายของสุลต่านสุไลยมาน ซึ่งรับราชการในตำแหน่งสำคัญ ๆ นับเนื่องแต่สมัยกรุงธนบุรีสืบต่อจนกรุง รัตนโกสินทร์ ศพของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่จึงฝังอยู่ในกุโบรฺของมัสยิดแห่งนี้ ทั้งนี้รวมถึงเจ้าพระยาจักรีซึ่งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จไปในพิธีฝัง ด้วยพระองค์เอง 

      ในปัจจุบันผู้สืบเชื้อสายมาจากสุลต่านสุไลยมานมีทั้งมุสลิมและพุทธ

   ภาพประกอบจากการโพสต์บนเฟสบุ๊ค   

 ที่มา    

   http://www.muslim4health.or.th/

ความคิดเห็น