อดีตเรื่องของก๊กมินตั๋งในเชียงราย การได้มาซึ่งสัญชาติไทยของทหารจีนคณะชาติ

 อดีตเรื่องของก๊กมินตั๋ง ในเชียงราย การได้มาซึ่งสัญชาติไทยของทหารจีนคณะชาติ


ในปี พ.ศ.2492 ขณะนั้นประเทศจีนได้เกิดการแบ่งฝ่ายออกเป็น 2 ฝ่าย คือฝ่ายประชาธิปไตยซึ่งเป็นรัฐบาลจีนขณะนั้น ภายใต้การนำของนายพล เจียงไคเช็ค พรรคก๊กมินตั๋ง และอีกฝ่ายหนึ่งก็คือฝ่ายคอมมิวนิสต์ ภายใต้การนำของ เหมาเจ๋อตง ทั้งสองฝ่ายต่างมีกำลังทหารของตนเองและสู้รบกันเพื่อแย่งชิงประชาชนและอำนาจ การปกครองประเทศจีน ฝ่ายของนายพลเจียงไคเช็คมีกำลังทหารส่วนหนึ่งเรียกว่ากองพลหน่วยที่ 93 ได้ปฏิบัติการอยู่แถบคุนหมิง มณฑลยูนาน ทั้งสองฝ่ายต่างรบสู้กันอย่างดุเดือด และในที่สุดฝ่ายคอมมิวนิสต์ภายใต้การนำของเหมาเจ๋อตง ก็เป็นผู้ชนะพรรคก๊กมินตั๋งจึงได้ถอยหนีไปอยู่เกาะไต้หวัน และนายพลเจียงไคเช็คก็ได้เป็นประธานาธิบดีของไต้หวันในเวลาต่อมา กอง พลที่ 93 อพยพติดตามไปไต้หวันไม่ทัน หรือโดนเจียงไคเช็คทิ้งก็ไม่อาจทราบได้ จึงตั้งกองกำลังอยู่ที่ยูนาน จากนั้นก็ถูกกองทัพจีนคอมมิวนิสต์คุกคามอย่างหนักจึงต้องสู้ไปพลางถอยไปพลาง สุดท้ายก็ถอยไปเข้าเขตของพม่าตอนบนพม่าก็ไม่ยอมเพราะถือว่าเป็นการรุกล้ำ อธิปไตยจึงส่งกำลังมาต่อสู้เพื่อพลักดันให้ออกจากพม่าสู้หลายครั้ง แม้ว่าพม่าจะเป็นฝ่ายรุก กองพล 93 เป็นฝ่ายถอย

แต่สุดท้ายก็พลักดันออกจากพม่าไม่สำเร็จ เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับไทยด้วย เพราะมีกองกำลังบางส่วนที่ถอยเข้ามาในเขตรอยต่อของไทยกับพม่า เช่นบริเวณดอนตุง ดอยแม่สลอง เป็นต้น สำหรับการอพยพของกองกำลังที่ 93 มาจากจีนนั้น ในเวลาเดียวกันก็มีชาวบ้านที่ไม่ได้เป็นกองทหารอพยบตามมาด้วย ทั้งนี้เพราะชาวบ้านเหล่านั้นไม่ต้องการอยู่ภายใต้การปกครองของจีน คอมมิวนิสต์และโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้นำทางทหารของกองพลที่ 93 คือ นายพลหลี่มี่เป็นที่นับถือของชาวบ้านในเป็นอย่างมาก ดังนั้นกองพล 93 จึงประกอบไปด้วยทหารของกองพลเอง ชาวบ้าน ชาวไร่ชาวนา และกองกำลังต่าง ๆ ที่กระจัดกระจายกันไปเพราะถูก คอมมิวนิสต์คุกคาม เข้ามารวมตัวอยู่ด้วยกัน เช่น นายพลหลี่เหวินฝาน ได้นำกองกำลังอาสาสมัครป้องกันหมู่บ้านเข้ามาร่วมกับนายพลหลี่มี่ด้วย การอพยพเข้ามาสู่ดินแดนประเทศไทยนั้น กระจายอยู่ตามแนวชายแดนต่าง ๆ คือ อำเภอแม่อาย อำเภอแม่จันอำเภอแม่สรวย อำเภอพาน (จังหวัดเชียงราย) อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่และเทือกเขาบางส่วนในเขตจังหวัดน่าน
ในช่วงที่ ไต้หวันทำการอพยพชาวกองพลที่ 93 ไปสู่ประเทศไต้หวันนั้น ได้มีชาวไร่ชาวนาบางส่วนที่มากับพวกทหารของกองพลที่ 93 ไม่ได้อพยพไปด้วย กลับตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมืองไทย ทั้งนี้เพราะหลายคนมีครอบครัวที่นี่ หลายคนเกิดที่นี่ และคิดว่าตนเองแท้จริงไม่ได้เป็นทหารของกองพลที่ 93 การไปไต้หวันเหมือนกับเป็นส่วนเกินและต้องไปเริ่มต้นใหม่ และหลายคนรักที่จะอยู่ประเทศไทย ช่วงนั้นได้มีขบวนการผู้ก่อการ ร้ายคอมมิวนิสต์เริ่มเข้ามาในประเทศไทย และชาวบ้านเหล่านี้ก็ไม่ชอบคอมมิวนิสต์ ประกอบกับได้รับการฝึกอบรมแบบทหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฝึกตามแบบของโรงเรียนนายร้อยหวังผู่ จึงมีความพร้อมที่จะทำการรบและป้องกันตนเอง รัฐบาลจอมพลถนอมในขณะนั้นได้ทำการติดต่อชาวบ้านเหล่านี้ให้อยู่ที่เมืองไทย เพื่อร่วมกันต่อต้านผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่เห็นด้วย จึงปักหลักอยู่ต่อที่ประเทศไทย


พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ พลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์
รัฐบาลไทยได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปเจรจากับไต้หวันเพื่อหา ข้อสรุปเกี่ยวกับชาวจีนอพยพที่ยังเหลืออยู่ในเมืองไทย รัฐบาลไต้หวันได้สรุปว่ากลุ่มชาวจีนดังกล่าวให้อยู่ภายใต้การดูแลของรัฐบาล ไทย รัฐบาลไทยจึงได้สั่งให้กลุ่มชาวจีนที่อพยพอาศัยอยู่ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ และ เชียงราย เพื่อความสะดวกในการควบคุมผู้อพยพ รัฐบาลไทยจึงตั้งให้กองบัญชาการที่ดอยแม่สลอง กองบัญชาการทหารสูงสุดนำโดย พล.อ.อ. ทวี จุลละทรัพย์ เสธฯ บ.ก.ทหารสูงสุด และ พล.ท. เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ รองเสธฯ เป็นผู้ดูแล โดยประสานงานกับผู้ว่าราชการจังหวัด มี ผู้นำที่มีชื่ออยู่สองคน คือ นายพลหลี่เหวินฝาน และ พันเอกเฉินโหม่วซิว ได้เป็นผู้นำของชาวจีนที่เหลืออยู่ในเมืองไทย ขณะนั้นมีการแทรกซึมของคอมมิวนิสต์เป็นอย่างมาก และเนื่องจากคอมมิวนิสต์ไม่ถูกกับชาวจีนที่อพยพ จึงมักสร้างสถานการณ์ต่าง ๆ นา ๆเพื่อโยนความผิดให้กับชาวจีนกลุ่มนี้ เช่น ปล้นสะดม ฆ่าผู้นำชนกลุ่มน้อยเผ่าม้งที่จงรักภักดีต่อรัฐบาลไทย โดยคนทั่วไปในขณะนั้นรู้จักชาวจีนกลุ่มนี้ในนามของกองพลที่ 93 แต่แล้วคนไทยก็รู้ว่าหลงกลพวกคอมมิวนิสต์เมื่อมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น คือ
หน่วยงานของจังหวัดได้รับการติดต่อขอเข้ามอบตัวจากกลุ่มผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ที่บ้านห้วยกว้าง ตำบล แซว อำเภอเชียงแสน ทำให้เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2512 นายประหยัด สมานมิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย พ.ต.อ. ศรีเดช ภูมิประหมัน ผู้กำกับตำรวจภูธรเชียงราย นายทหารจากกองทัพภาคที่3 และคณะ รวมทั้งสิ้น 8 นายได้เดินทางเพื่อเข้าไปต้อนรับการกลับตัวกลับใจของกลุ่มผู้ก่อการร้ายดัง กล่าว การเดินทางไปครั้งนี้ผู้นำชาวจีนอพยพได้ทำการทักท้วงมิให้คณะของผู้ว่าเข้า ไปในเขตของคอมมิวนิสต์ เพราะรู้ว่าเป็นกลลวงแต่ทางคณะไม่ฟังคำทักท้วงจึงได้เดินทางเข้าไปในบริเวณ พื้นที่ที่ ผกค. ตกลงจะทำการมอบตัวแต่แล้วเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น เจ้าหน้าที่ผู้ใหญ่ทั้งคณะถูก ผกค. สังหารเกือบหมดเหลือรอดมาได้แต่เพียงนายอำเภอเมืองเชียงรายเพียงคนเดียว

เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้รัฐบาลไทยรู้ว่าคอมมิวนิสต์ร้ายแรงเพียงใด เมื่อ เรื่องนี้เกิดขึ้นทางกองบัญชาการทหารสูงสุดได้มีคำสั่งให้ชาวจีนอพยพที่เคย ได้รับการฝึกแบบทหาร ออกช่วยปราบปรามโดยเข้าร่วมกับกองกำลังทหารและตำรวจ ซึงการปราบปรามผู้ก่อการร้ายใช้เวลายืดเยื้อ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 ไปจนถึง พ.ศ.2516 เหตุการณ์ผู้ก่อการร้ายจึงได้สงบลง เมื่อสิ้นสุดการปราบปรามผู้ก่อการร้ายสงบลงแล้ว รัฐบาลไทยก็ได้ให้กองกำลังจีนอพยพ(กองพล93)จัดตั้งเป็นหมู่บ้านยุทธการ ได้แก่ หมู่บ้านผาตั้ง หมู่บ้านแม่แอบ สำหรับ หมู่บ้านแม่สลอง เดิมที่เรียกว่า หมู่บ้านหินแตก จึงให้เปลี่ยนชื่อเป็น หมู่บ้านสันติคีรี โดย พล.อ.อ. ทวี จุลละทรัพย์ เป็นผู้กำหนดชื่อหมู่บ้าน

ปี พ.ศ. 2524 พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้ให้ชาวจีนอพยพจัดตั้งเป็นกองกำลังอาสาสมัครไทย จำนวน 4 กองร้อย ร่วมกับกองกำลังกองทัพภาคที่ 3 เพื่อออกกวาดล้างผู้ก่อการร้ายที่เขาค้อ และที่เขาหญ้า จังหวัดเพชรบูรณ์ ผลการกวาดล้างได้รับชัยชนะตามเป้าหมายที่รัฐบาลไทยกำหนด ทางรัฐบาล ไทยมองเห็นความสำคัญและผลงานที่ได้กระทำต่อบ้านเมืองของกลุ่มชาวจีนอพยพหรือ ที่รู้จักในนามของกองพล 93 กองบัญชาการทหารสูงสุดจึงตั้งคณะกรรมการเพื่อแปลงสัญชาติให้เป็นคนไทย
ในพ.ศ. 2514 , 2518 , 2520 สิ้นสุดในปี พ.ศ. 2521 โดยทางราชการจะออกบัตรประจำตัวชัวคราวให้กับนายทหารจีน(กองพล93) ใช้ในการออกจากเขตกำหนด(ดอยแม่สลอง) โดยใช้บัตร(ตามภาพ)แสดงแทนบัตรประชาชนไทย หลังจากนั้นอีก 8 ปี จึงได้อนุมัติให้ทำบัตรประชาชนไทยถาวร แก่ชาวจีนอพยพ(กองพล93) เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2529 โดยออกให้กับครอบครัวของนายทหารก่อน จากนั้นจึงออกให้ประชาชนจีนที่ติดตามกองทัพมานั้นเป็นลำดับไป สำหรับ บัตรประจำตัวนายทหารจีน(กองพล93) ที่ทางราชการออกให้ก่อนหน้านั้น(ตามภาพ) ทางราชการได้เรียกกลับคืน โดยเปลี่ยนกับบัตรประชาชนไทยถาวรในเวลาเดียวกันนั้น
เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจ กองทัพภาคที่ 3 จึงได้มอบอำนาจการปกครองหมู่บ้านอดีตทหารจีน(กองพล93)บางหมู่บ้านให้กับ กระทรวงมหาดไทย ตามนโยบายของรัฐบาล เช่น หมู่บ้านสันติคีรี ( ดอยแม่สลอง ) เป็นหมู่ที่ 18 ตำบลป่าซาง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ตามข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่า ชาวจีนอพยพ(กองพล 93) เพิ่งจะได้รับอนุญาตให้มีบัตรประชาชนไทยถาวรได้ในปี พ.ศ.2529 (2514-2520 เป็นช่วงของการอนุญาตให้แปลงสัญชาติเป็นไทย)

ที่มา http://yui000.exteen.com/ ปริศนา ชาติกำเหนิด สนธิ ลิ้มทองกูล
อ่านต่อได้ที่http://nonlaw.7forum.net/t104-topic#866
ภาพค้นจาก กูลเกิ้ล ขออนุญาติเจ้าของภาพมา ณ ที่นี้

ความคิดเห็น