ล่ามภาษาอาหรับตัวแทนการค้าที่ผลิตจากมณฑลหนิงเซียะ

 นักแปลภาษา... ‘อาหรับ-จีน


พับลิกโพสต์ออนไลน์ :
โดย : นิสรีน หวังตักวาดีน

“ถ้า ตอนนั้นดิฉันไม่เลือกเรียนภาษาอาหรับ ตอนนี้ดิฉันก็ยังคงเป็นเด็กเลี้ยงแกะอยู่ที่บ้าน” นี่เป็นคำพูดของหญิงสาวชาวหุยเมืองถงซิน มณฑลหนิงเซียะที่ชื่อว่า SuHongmei
ปัจจุบันนี้เธอเป็นหญิงสาววัยทำงานที่เต็มไปด้วยความคล่องแคล่วและมั่นใจ เธอเล่าว่าเธอมาจากครอบครัวชาวหุยที่ยากจน ตอนเธออายุ 17 ปี เธอแอบเรียนภาษาอาหรับที่ตำบลของเธอ เนื่องจากโรงเรียนที่สอนเป็นโรงเรียนหญิงล้วนและค่าเล่าเรียนไม่มากนัก เมื่อพ่อแม่รู้จึงไม่ได้ห้ามปราม เนื่องจากเธอมีพื้นฐานในการเรียนภาษาอาหรับมาตั้งแต่เด็ก จึงทำให้เธอสามารถเรียนรู้หลักการแปลภาษาอาหรับได้อย่างแตกฉาน หลังจากที่เธอเรียนจบเธอไปเป็นล่ามให้กับพ่อค้าชาวซาอุดิอาระเบียที่เมือง อี้อู มณฑลเจ้อเจียง ได้รับเงินเดือนครั้งแรกที่ 1,500 หยวน ซึ่งเป็นค่าตอบแทนจำนวนไม่น้อยสำหรับเธอในขณะนั้น
ระหว่าง ที่ทำงานนั้นเธอก็สะสมประสบการณ์และศึกษาวิธีการทำการค้าของพ่อค้าชาวอาหรับ จนเธอสามารถสะสมข้อมูลพื้นฐานของลูกค้าได้ไม่น้อย ระหว่างที่ทำงานนั้นเธอได้แต่งงานกับหนุ่มล่ามชาวหุยที่มาจากเมืองเดียวกัน หลังแต่งงานทั้งสองได้จัดตั้งบริษัทตัวแทนสรรหาล่ามภาษาอาหรับ นอกจากนั้นแล้วเธอและสามียังมีโครงการที่จะจัดตั้งบริษัทนำเข้าส่งออก(เน้นกลุ่มประเทศอาหรับ) ระหว่าง นั้นเขาทั้งสองได้สร้างเครือข่ายในการทำการค้ากับพ่อค้าชาวอาหรับจำนวนไม่ น้อย ทุกครั้งที่ทั้งสองกลับไปเยือนบ้านเกิดนำของฝากมีค่าต่างๆ ไปให้กับญาติ ๆ เธอและสามีได้สร้างบ้านหลังใหม่พร้อมเฟอร์นิเจอร์หรูให้กับพ่อแม่ ทำให้พี่น้องของเธอทั้งหลายรู้สึก ‘ตาร้อน’ ไปตามๆ กัน และ SuHongmei กลายเป็น ‘ดารา’ ในดวงใจของหญิงสาวชาวหุยหลายๆ คน
“เมื่อ 10 ปี ก่อนผมมาเป็นล่ามภาษาอาหรับที่เมืองอี้อู ตอนนี้ผมกลายเป็นคนที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ ในฐานะที่ผมรับผิดชอบธุรกิจทางด้านการค้ากับกลุ่มประเทศอาหรับ 10 กว่าประเทศ และยังเป็นผู้ประสานงานล่ามภาษาอาหรับบริเวณชายฝั่งตะวันออก 3,000 กว่าคน ”ผู้จัดการ SuGuobin ของบริษัทนำเข้าส่งออกYounisi แห่งเมืองอี้อู มณฑลเจ้อเจียงกล่าว
SuGobin เป็นชาวหุยเมืองถงซิน มณฑลหนิงเซียะ เขาเติบโตท่ามกลางครอบครัวของชาวหุย เขามีพี่น้องทั้งหมด 6 คน น้องชายคนที่ 4 ของเขาเริ่มใช้ภาษาอาหรับในการทำการค้าก่อน แล้วนำพาพี่น้องทั้ง 5 คนในครอบครัวของเขาทำการค้าระหว่างประเทศที่เมืองอี้อู และมีการติดต่อการลูกค้าจากกลุ่มประเทศอาหรับ 10 กว่าประเทศ น้องชายคนที่สี่ SuGuobin เป็นล่ามภาษาอาหรับท็อปเท็นของเมืองหวู่จงมณฑลหนิงเซียะมาหลายปีแล้ว รายได้เฉลี่ยทั้งปีของพี่น้องทั้ง 5 คนนี้ ตั้งแต่ 100,000-1,000,000 ล้าน หยวน จากตัวอย่างข้างต้น เราจะเห็นได้ว่าพื้นฐานการประสบความสำเร็จข้างต้นของชาวหุยทั้งสองรายนี้ นั้น มาจากการเป็นล่ามภาษาอาหรับ
นักวิชาการ Jin Zhongjie จาก มหาวิทยาลัยหนิงเซียะ ให้ข้อสรุปไว้ว่า ล่ามภาษาอาหรับและตัวแทนการค้านั้นเป็นสิ่งที่รัฐบาลแต่ละระดับของมณฑลหนิง เซียะปลุกปั้นขึ้นมา โดยอ้างอิงจากการปฏิรูปการเปิดประเทศ - นโยบายพัฒนาภาคตะวันตก - แผนการสร้างชนบทรูปแบบใหม่ - จาก มหภาคสู่จุลภาค จึงทำให้เห็นรูปของมหภาคที่ชัดเจนมากขึ้น ชาวชนบทนับพันที่เดินออกจากหมู่บ้านในฐานะที่เป็นบุคลากรทางด้านล่ามภาษา อาหรับ เดินทางจากภาคตะวันตกไปสู่ภาคตะวันออก จากในประเทศไปสู่ต่างประเทศ จากคนบ้านๆ กลายเป็นนักการแปลหรือผู้จัดการของบริษัท ซึ่งทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นนักการค้าชาวหุยรูปแบบใหม่ เบื้องหลังการประสบความสำเร็จของนักการแปลเหล่านี้ Jin ชี้ ว่า สิ่งที่สำคัญนั้นเป็นเพราะว่าชาวหุยนั้นมีภาษาและวัฒนธรรมที่เหมือนกับกลุ่ม ชนชาติอื่นๆ ที่นับถือศาสนาอิสลาม การให้ความสำคัญในเรื่องการศึกษานั้นเป็นสิ่งที่ศาสนาอิสลามปลูกฝังมา ตั้งแต่เกิด รวมทั้งอารยธรรมจีนเป็นอารยธรรมที่เปิดกว้างให้โอกาสในการศึกษาแลกเปลี่ยน ทางด้านวัฒนธรรม
สถาบันที่ปลูกฝังนักการแปลของมณฑลหนิงเซียะทั้งแบ่งออกเป็น 5 รูปแบบ
1.การศึกษาผ่านมัสยิด
2. การผสมผสานระหว่างมัสยิดและโรงเรียน
3. สถาบันการศึกษาของเอกชน
4. สถาบันที่จัดขึ้นโดยรัฐ
5. การศึกษาตามหลักสูตรของภาครัฐ
ในเมื่อความต้อง การของตลาดมีมาก การสร้างนักการแปลที่มีคุณภาพก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ท้าทายต่อการเรียนการสอน ทางรัฐก็เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว ทางการของมณฑล หนิงเซียะได้มีการสร้างหลักสูตรและตำราที่เกี่ยวข้อง มีการจัดอบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้องจากสถาบันต่างๆ เสมอ ล่าสุดมีการผลิตตำราที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดสอนนักการแปลโดยตรง โดยมีเนื้อหาครอบคลุม การค้าระหว่างประเทศ กฎหมายทางด้านการค้า มารยาทในการทำการค้า วัฒนธรรมอิสลามและการสนทนาทั่วไปเป็นต้น ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องประเมินว่าการผลิตตำราเช่นนี้ ทำให้การเรียนการสอนนักการแปลภาษาอาหรับเพื่อการค้าและธุรกิจ มีความมาตรฐานและเป็นระบบกว่าเดิม
มณฑล หนิงเซียะเป็นมณฑลปกครองตัวเองของชาวหุย เราจะเห็นได้ว่า ชาวหุยที่อยู่ในมณฑลดังกล่าวมีความคล่องตัวในการปกครองตัวเองมากกว่า ชาวหุย 2 ล้านกว่าคนที่อาศัยอยู่เมือง ดังกล่าว ในฐานะที่พวกเขานับถือศาสนาอิสลาม พวกเขาจึงส่งบุตรหลานเข้าศึกษาตามมัสยิดหรือโรงเรียนสอนศาสนาตามประเพณี หลายปีมานี้เนื่องด้วยการติดต่อของจีนและกลุ่มประเทศอาหรับมีมากขึ้น บุคลากรทางด้านนี้จึงเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น พร้อมด้วยการสนับสนุนของทางรัฐบาล จึงทำให้นักการแปลเหล่านี้สามารถสร้างฐานะทางด้านการงานได้อย่างราบรื่นและ มั่นคง
เช่นเดียวกับที่ หัวหน้ากรมสวัสดิการสังคมและทรัพยากรมนุษย์ของหนิงเซียะกล่าวว่า “ภายใต้สิ่งแวดล้อมดังกล่าว ชาวหนิงเซียะต้องอาศัยความได้เปรียบ ในการผลิตล่ามภาษาอาหรับ ให้ล่ามภาษาอาหรับกลายเป็นงานรูปแบบใหม่ของหนุ่มสาวชาวหุย พยายามผลักดันให้สถาบันการแปลเป็นสถาบันที่เลิศล้ำ และนำพาแรงงานจากแรงงานขั้นพื้นฐานก้าวไปสู่แรงงานทางด้านความรู้และเทคนิค ทั้งนี้เพื่อให้รายได้เฉลี่ยทั้งปีเพิ่มสูงขึ้นด้วย”

แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-http://www.oktranslation.com/Cms/Article.aspx?ArticleID=1220
-http://news.xinhuanet.com/society/2011-04/07/c_13817305.htm
-http://www.nx.xinhuanet.com/newscenter/2009-03/14/content_15952788.htm
คัดลอกบทความจาก พับลิกโพสต์
ลิงค์บทความ
http://www.publicpostonline.com/main/content.php?page=sub&category=6&id=205

ความคิดเห็น