Haw จีนฮ่อ ในเมืองล้านนา

Haw จีนฮ่อ ในเมืองล้านนา
 นักภาษาศาสตร์จัดให้อยู่ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต (Sino-Tibetan Language Family) Synonyms : Ho


  5 จังหวัด 20 อำเภอ 71 หมู่บ้าน ประชากรรวม 21,579 คน (ทำเนียบชุมชนบนพื้นที่สูง 2540, น.63) พวกจีนฮ่ออยู่ทางตอนใต้ของจีน พรมแดนระหว่างไทย ลาว อาศัยอยู่บนเทือกเขา รู้จักในนาม Chinese hill farmer (Lebar and others, p.2) ชาวจีนฮ่อที่พบในประเทศไทย อพยพเข้ามาหลังการปฏิวัติระบบจักรพรรดิ์ของจีน มาเป็น คอมมิวนิสต์ โดยผู้นำการอพยพคือนายทหาร เข้ามาอยู่อาศัยในเขตติดต่อไทยพม่า ปัจจุบันพบจีนฮ่อในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง และพะเยา ชาวจีนฮ่อในประเทศไทยถือเป็นชนกลุ่มน้อยที่อพยพเข้ามาในลักษณะผู้ลี้ ภัยทางการเมือง และเปรียบเสมือนแนวกันชนในการสกัดกั้นลัทธิคอมมิวนิสต์ จีนฮ่อ ชื่อนี้ได้ยินกันมาตลอดแต่น้อยคนที่จะทราบว่าใครคือจีนฮ่อ จีนฮ่อคือ ชาวจีนกลุ่มหนึ่งที่อพยพมาจากมณฑลยูนาน ลงมาทางภาคเหนือของประเทศไทย ในรูปลักษณะของพ่อค้าแร่ ที่ใช้ม้าต่างหรือ ฬ่อ เป็นพาหนะในการบรรทุกสินค้าผ่านมาทางฮ่องลึกหรือด่านแม่สาย เดินตามช่องทางนี้มาตั้งแต่โบราณ




 ช่องทางต่าง ๆ ตามทิวเขาแดนลาว ในแนวเหนือ - ใต้ ที่กั้นเขตแดนไทย - กับพม่า จะมีช่องทางต่าง ๆ และทิวเขาแนวนี้เป็นที่ตั้งของกองทหารจีนคณะชาติ ที่เราไปเรียกเหมาว่า จีนฮ่อ คือ
 ช่องทางฮ่องลึก (ด้านท่าขี้เหล็กของพม่า ติดกับอำเภอแม่สาย)
 ช่องทางเมืองฝาง (น้ำกก)
 ช่องทางดอยลาง - ดอยสันจุ๊
 ช่องทางหมูฮ่อ (ช่องกิ่วผาวอก) เชียงดาว
 ช่องทางหลักแต่ง (ช่องเมืองแหง)
 ช่องทางนาป่าแปก (แม่ฮ่องสอน)
 ชนชาวจีนกลุ่มที่บรรทุกสินค้า (เช่นฝิ่น) เข้ามาทางฮ่องลึกไม่ใช่จีนแต้จิ๋ว ซึ่งเป็นชาวจีนกลุ่มใหญ่ในประเทศไทยเรียกว่า พวกจีนฮ่อ ชาวจีนฮ่อประมาณ ๑ ใน ๓ จะนับถือศาสนาอิสลาม ใช้ภาษาจีนกลาง ได้พากันอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดเชียงราย และกลายเป็นคนไทย เป็นคหบดีของเมืองเชียงใหม่ เมืองลำพูนไปหมดแล้ว และถูกวัฒนธรรมของท้องถิ่นกลืน จนกลายเป็นคนไทยไปหมด
 ดังนั้นฮ่อ ที่เป็นรากศัพท์ของฮ่อที่เราเรียกกันในปัจจุบัน จะต้องถือว่าไม่มีแล้ว แต่มีฮ่อรุ่นใหม่ที่เราไม่รู้ว่าจะเรียกว่าอย่างไร ก็เลยเรียกว่า จีนฮ่อ จีนฮ่อรุ่นใหม่ซึ่งความจริงไม่ใช่ แต่เป็นทหารของกองกำลังทหารจีนคณะชาติ ยังมีจีนฮ่อพลเรือน ซึ่งอพยพลี้ภัยสงครามเข้ามาอยู่ในรัฐฉาน สหภาพพม่า และอยู่มานานจนถูกกวาดอย่างจริงจังจากพม่า จึงทะลักเข้ามาตั้งถิ่นฐานในไทย จุดที่สำคัญที่สุดคือ ดอยตุง ดอยแม่สลอง ในจังหวัดเชียงราย และถ้ำง๊อบในจังหวัดเชียงใหม่




 เมื่อจีนคอมมิวนิสต์เข้าครอบครองแผ่นดินใหญ่ได้ทั้งหมด เป็นผลให้ จอมพล เจียงไคเช็ค ผู้นำจีนชาติ ต้องถูกไล่ตีตกทะเลไปอยู่ยังฟอร์โมซา หรือเกาะไต้หวันในปัจจุบัน จีนคอมมิวนิสต์เข้าครอบครองแผ่นดินใหญ่ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๙๒ กองกำลังทหารจีนคณะชาติ "ก๊กมินตั๋ง" ที่สำคัญที่เรารู้จักกันในนามของ "กองพล ๙๓" ซึ่งยืนหยัดอยู่ในพม่านั้น ก็ถูกกำลังของพม่ากวาดล้างเกือบจะสลาย ส่วนกองพล (ไม่ได้มีกำลังอัตรากองพล) และกองพลอื่น ๆ ก็เช่นกันถูกกวาดล้างไปจนสูญสลาย ส่วนกองพล ๙๓ นั้น ไม่ได้ถึงกับสลายตัวทั้งกองพล และพอดีกับการที่สหรัฐอเมริกามีนโยบายยับยั้งการเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ ในภูมิภาคเอเซียอาคเนย์ จึงให้การช่วยเหลือทำให้กองพล ๙๓ แปรสภาพเป็นกองทหารจีนกู้ชาติ มีกำลังนับหมื่น แต่ในที่สุดสหประชาชาติ ก็ไม่ยินยอมให้กองพล ๙๓ อยู่บนแผ่นดินไทย และอยู่ในแผ่นดินพม่า สหประชาชาติจึงลงมติให้ย้ายกองพล ๙๓ ผ่านประเทศไทย กลับไปอยู่ไต้หวัน เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๖ แต่ปรากฏว่าผู้บังคับบัญชาชั้นสูงของกองพล และทหารในกองพลนี้ ระดับผู้บังคับบัญชาขึ้นมาใหม่ โดยได้ชาวจีนจากราษฏรอาสาสมัครชาวยูนาน ที่หนีภัยคอมมิวนิสต์ มาสมัครเป็นทหารจำนวนมาก คราวนี้ได้จัดกำลังใหม่เป็นรูป "กองทัพ" มีถึง ๕ กองทัพ คือ ท.๑ - ๕ และยืนหยัดต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ต่อไป ในรัฐฉานของพม่า หาเลี้ยงชีพด้วยการรับจ้าง ลำเลียงฝิ่น เป็นกองคาราวาน โดยเดินทางลำเลียงระหว่างรอยต่อของไทย พม่า และลาว จนถูกขนานนามว่า "สามเหลี่ยมทองคำ"




 ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๔ กองทัพก๊กมินตั๋ง ถูกกองทัพพม่าและจีนคอมมิวนิสต์ผลักดัน กวาดล้างอย่างรุนแรง จนไม่สามารถตั้งถิ่นฐานที่มั่นในพม่าได้อีกต่อไป จนเริ่มทะลักเข้าสู่ประเทศไทย โดยกองทัพที่ ๓ ของนายพล หลี่ เหวิน ฝาน ได้เข้ามาทางเชียงใหม่ อำเภอฝาง นายพลต้วน ซี เหวิน เข้ามาตั้งมั่นอยู่ในอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ที่ดอยตุง และดอยแม่สลอง และดอยแม่สลองนี้แหละ ที่เป็นที่ตั้งของกองบัญชาการกองทัพที่ ๕ และส่วนส่งกำลังบำรุงอยู่อย่างเจ้าของพื้นที่เลยทีเดียว ในขณะนั้นผู้บัญชาการกองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๗ ซึ่งกองพันตั้งอยู่ที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๗ มีพื้นที่รับผิดชอบในการสนับสนุนการรบ ของทหารราบคือ กรมผสมที่ ๗ ตลอดพื้นที่จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน และลำปาง เคยนำรถที่เรียกว่า รถจี๊บกลางของทหาร จะขึ้นไปสำรวจบนดอยแม่สลอง แต่ขึ้นไม่ได้เพราะกลายเป็นแผ่นดินที่ต้องห้ามสำหรับคนไทยทั้ง ๆ ที่เป็นแผ่นดินไทย และในปี พ.ศ.๒๕๐๘ พวกนี้พยายามทะลักลงมาสู่ที่ราบ เพื่อยึดครองพื้นที่ราบของอำเภอแม่จัน





 ใน 7 ไปกับท่าน นั่งเฮลิคอปเตอร์ตรวจการเคลื่อนย้ายของจีนฮ่อกลุ่มนี้ และพบกำลังเคลื่อนย้ายลงมาเป็นขบวนยาวเหยียด ต้องใช้เครื่องขยายเสียงประกาศ (ให้ล่ามจีนพูด) ให้ถอนกลับขึ้นไป มิฉะนั้นจะใช้ปืนใหญ่ยิง ความจริงแล้วขู่ไปอย่างนั้น เพราะปืนใหญ่ยังอยู่ที่อำเภอแม่ริม และสมัยนั้นถนนจากเชียงใหม่ไปลำปางไม่มี ถนนจากเชียงใหม่ผ่านดอยสะเก็ดมาเชียงรายไม่มี มีแต่ทางรถลากไม้ ซึ่งต้องเอารถจี๊บกลางบุกมาถึงเชียงราย แต่เขาก็เชื่อฟังดีจึงถอยกลับขึ้นไปบนเขา กองทัพ ๕ ของนายพล ต้วน ตั้งมั่นอย่างมั่นคง มีกรมฝึกทหารใหม่ เพื่อเสริมกำลังให้แก่หน่วยที่ตั้งอยู่ทางพม่า มีโรงเรียนนจีนที่นักเรียนจีนที่นักเรียนมีวินัยมาก มีการค้า การรับจ้างลำเลียงฝิ่น ต่อมาได้มีการให้อพยพกลับไต้หวันในรอบสองอีก แต่พวกนี้ไม่ยอมกลับ แต่ทั้ง ท.๓ และ ท.๕ ประกาศให้ความร่วมมือกับกองทัพไทยทุกรูปแบบ ยอมให้ปลดอาวุธ ยอมมอบฝิ่นที่อยู่ในครอบครองเป็นจำนวนประมาณ ๔๐ ตัน (นำไปเผาที่หลังกองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๗ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่) ยอมถูกปลดอาวุธ ขออยู่ใต้กฎหมายไทย ขอตั้งถิ่นฐานอยู่ในไทย ไม่ย้ายไปไหนอีก และกำลังติดอาวุธบางส่วนก็เข้าร่วมในการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ กับทหารไทย



 ในการสู้รบเพื่อยึดเขาค้อ อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ทหารจีนชาติ หรือจีนฮ่อ ได้ทำการร่วมอย่างเข้มแข็ง บาดเจ็บ ล้มตายไม่ใช้น้อย และได้ชัยชนะ จนมีการสร้างอนุสาวรีย์เล็ก ๆ ของจีนฮ่อให้บนเขาค้อ ความจริงคือ อนุสาวรีย์ของทหารจีนชาติ อดีตทหารกองพล ๙๓ และกลับมาเป็นกองทัพที่ ๕ กำลังอีกพวกหนึ่งก็เข้าทำการรบชิงที่มั่น ผกค.ที่ดอยผาตั้ง ตอนนี้อยู่ในพื้นที่อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย อยู่ไม่ไกลกันนักกับภูชี้ฟ้าที่อยู่ในเขตอำเภอเทิง ซึ่งพวกจีนฮ่อเหล่านี้ ชำนาญในภูมิประเทศมากกว่าทหารไทย เพราะเขาตั้งฐานอยู่บนเขามาตลอด จึงชำนาญภูมิประเทศ แม้ว่าฝ่าย ผกค.จะมีทั้งพวก ลาว ไทย ญวน และ"ม้ง" ที่ชำนาญเขา แต่เมื่อสู้รบกันก็สู้จีนฮ่อไม่ได้ เราจึงได้แผ่นดินผาตั้งที่เคยถูกประกาศว่า เป็นเขตปลดปล่อยกลับคืนมา กลายเป็นบ้านผาตั้ง ที่มีโรงแรมที่พัก มีร้านอาหารอร่อย "ขาหมู หมั่นโถว"



 ขอสรุปทหารจีนฮ่อที่เราเรียกกัน ความจริงแล้ว กองพล ๘๓ ก็สลายไปหมดแล้ว ตั้งแต่ปี ๒๔๙๖ ทหารที่ยึดครองอยู่ที่ดอยตุง และดอยแม่สลองคือ ทหารจีนชาติ ภายใต้การนำของนายพล ต้วน ซี เหวิน และเมื่อทางการเข้าควบคุม และกำกับดูแลตลอดจนจัดที่ทำกินให้ แล้วก็ให้มาอยู่รวมกันที่ดอยแม่สลองทั้งหมด และก่อตั้งเป็นหมู่บ้านสันติคีรี และทางกองบัญชาการทหารสูงสุด ก็ต้องตั้ง บก.๐๔ ควบคุมดูแลส่งกำลังให้ พันเอก กาญจนะ ประกาศวุฒิสาร ได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ "ทหารจีนชาติ ก๊กมินตั๋ง ตกค้างภาคเหนือประเทศไทย" หนังสือนี้ไม่ได้วางขายตามแผงหนังสือทั่วไป พ.อ.กาญจนะ ฯ ได้คลุกคลีอยู่ที่ บก.๐๔ นานกว่า ๒๐ ปี รู้จักดีกับนายพลต้วน และเสธ.ทั้งหลายของจีนฮ่อพวกนี้ ต่อมามีชื่อเป็นไทยทุกคน เสธ.กู้ อยู่หมู่บ้านทางขึ้นดอยอ่างขาง จังหวัดเชียงใหม่




 ดังนั้นเมื่อจบสิ้นการสู้รบกับพวก ผกค.แล้ว พวกจีนฮ่อเหล่านี้ก็ได้สัญชาติไทยหมด ซึ่งครั้งแรกให้เฉพาะชั้นผู้นำตามโควต้าการแปลงสัญชาติเป็นไทย ปีละ ๒๐๐ คน

 จีนฮ่อเป็นกลุ่มชนที่ในอดีตเคยเป็นทหารจีนคณะชาติ หนีการปราบปรามของฝ่ายจีนคอมมิวนิสต์เข้ามาทางประเทศพม่า แล้วอพยพเข้ามาในประเทศไทยในระหว่าง ปี พ.ศ.๒๔๙๓ - ๒๔๙๙ อาศัยอยู่ทางภาคเหนือของไทยในเขตจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน การออกนอกเขตจังหวัดที่อยู่ต้องขออนุญาตจากจังหวัด กระทรวงมหาดไทยได้แบ่งชาวจีนฮ่อในประเทศไทย ออกเป็น ๓ กลุ่มคือ

 อดีตทหารจีนคณะชาติ ได้แก่บุคคลตามบัญชีรายชื่อที่ทางทหารได้สำรวจและรวบรวมเสนอคณะรัฐมนตรี และได้รับอนุมัติให้แปลงสัญชาติ และให้ฐานะเป็นคนต่างด้าว รวม ๕ รุ่น จำนวน ๑๓,๗๒๘ คน ปัจจุบันทางราชการได้ผ่อนผันให้อดีตทหารจีนคณะชาติ และครอบครัวอาศัยอยู่ในเขตจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน รวม ๘ อำเภอกับ ๑ กิ่งอำเภอ

 จีนฮ่ออพยพ ได้แก่คนจีนที่เป็นครอบครัวของอดีตทหารจีนคณะชาติ เข้ามาอยู่ในประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๙๗ - ๒๕๐๔ โดยอาศัยอยู่ในเขตจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน การออกนอกเขตจังหวัดต้องขออนุญาตจากจังหวัด

 จีนฮ่ออิสระ ได้แก่ชาวจีนที่อ้างว่าเป็นญาติพี่น้องของอดีตทหารจีนคณะชาติ และจีนฮ่ออพยพ พลเรือนหลบหนีเข้าประเทศไทย ตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๕๐๕ - ๒๕๓๒ อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน การออกนอกเขตจังหวัดต้องขออนุญาตจากจังหวัด

 ชาวจีนฮ่อมีวัฒนธรรมดั้งเดิมในกลุ่มของตนเอง เพราะมีเชื้อสายจีน ภาษาที่ใช้คือ ภาษาจีนกวางตุ้ง และภาษาจีนกลาง การตั้งถิ่นฐานจะกระจายอยู่ในเขตพื้นที่ภูเขา หรือพื้นที่สูงทางภาคเหนือตอนบน




 จีนฮ่อในแม่สาย
 ชุมชมชาวจีนฮ่อที่เป็นที่รู้จักดีก็คือ บริเวณตลาดใหม่ ม.6 บ้านป่ายาง และที่ชุมชนจีนฮ่อบ้านถ้ำ ซึ่งส่วนใหญjจะเป็นเครือญาติกันทั้งนั้น จากการสอบถามคนจีนฮ่อที่อาศัยอยู่ตลาดใหม่ได้ความว่า บริเวณนี้เริ่มมีชาวจีนฮ่ออพยพมาตั้งรกรากประมาณปี พ.ศ. 2492 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของชุมชนจีนฮ่อตลาดใหม่

 ปัจจุบันยังมีเรือนไม้เก่า ๆ ให้ได้เห็นกันอยู่บ้าง แต่ก็หาที่เป็นแบบดั้งเดิมไม่ค่อยมีแล้ว ส่วนใหญ่จะต่อเติมจากเรือนไม้ธรรมดา ไปเป็นกึ่งปูนกึ่งไม้ตามสมัยนิยม บริเวณตลาดใหม่ยังเป็นที่ตั้งของสมาคมหยูนหนาน ซึ่งเป็นทั้งโรงเรียนศึกษาผู้ใหญ่ด้วย และก็เป็นที่พบปะสังสรรค์ของพี่น้องชาวจีนฮ่อในอำเภอแม่สายด้วยเช่นกัน

 ส่วนชาวจีนฮ่อที่นับถือศาสนาอิสลาม จากการพูดคุยกับคนเฒ่าคนแก่ตลาดใหม่แล้ว ได้ใจความคร่าว ๆ ว่า เป็นชนเผ่าหนึ่ง ซึ่งเมื่อหลายร้อยปีก่อนอาศัยอยู่ในประเทศจีน เช่นเดียวกับมองโกเลีย แมนจู หรือเผ่าโลโล ซึ่งคนจีนที่นับถือศาสนาอิสลามนี้เรียกันว่า หุย หรือหุยเจี้ยว ส่วนจีนฮ่อที่นับถือศาสนาพุทธจะเรียกว่า ฮั่นเจี้ยว

 ชนเผ่าหุยจะเป็นลักษณะสูง ขาว ผู้หญิง(โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีอายุ) จะนิยมแต่งชุดคลุมหัว (แบบอิสลามทั่วไป) ส่วนผู้ชายนิยมไว้หนวดเครายาว (ตามความนิยมของชายมุสลิมทั่วไป)
 ปัจจุบันชาวจีนฮ่อในอำเภอแม่สายรุ่นหลัง ๆ นี้จะมีหน้าที่การงานที่ดี ไม่เหมือนรุ่นปู่ยา ตาทวด ที่ต้องหลบลี้หนีสงครามจากประเทศจีน จนต้องขาดการศึกษาที่ดี วันนี้นับว่าจีนฮ่อรุ่นใหม่ได้สร้างความเจริญให้กับท้องถิ่นที่อยู่ได้อย่าง มากมาย และทางรัฐบาลไทยก็ได้ทำการมอบสิทธิเป็นคนไทยให้แก่จีนฮ่อรุ่นก่อน ๆ เกือบหมดแล้ว ส่วนรุ่นหลัง ๆ เมื่อเกิดในแผ่นดีนไทย พวกเด็กเหล่านั้นก็เป็นคนไทยโดยกฏหมาย

 http://atcloud.com/stories/65191




อีกหนึ่งงานเรื่องจีนฮ่อ ไม่ทราบนามผู้เขียน


ฮ่อ เป็นการเขียนแบบเลียนเสียงท้องถิ่นตามแบบของไทยภาคกลาง ซึ่งแท้จริงแล้วคนภาคเหนือจะออกเสียง ห้อ ( เสียงครึ่งตรีครึ่งโท ) และในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ เขียน หร้อ แต่เพื่อเป็นความสะดวกของคนทั่วไปและตามที่เขียนในต้นฉบับ จึงใช้ “ ฮ่อ ”


   ชาวฮ่อหรือคนจีนที่อยู่ ในมณฑลยูนนาน ประเทศจีนซึ่งมีอาณาเขตตอนใต้ติดต่อกับรัฐฉานของพม่า แคว้นลาวอินโดจีนเหนือ และอยู่ไม่ห่างไกลจากเขตไทยตอนเหนือสุด ชาวฮ่อเรียก ตัวเองว่า “ ยูนนานเย่อ ” หรือ “ “ หานจื้อเย่น ” ชาวเหนือและชาวไทใหญ่ เรียกว่า “ ฮ่อ ”


   
      ชาวฮ่อ แบ่งออกเป็น 2 พวก คือพวกนับถือศาสนาอิสลาม เรียกว่า “ ผาสี ” ซึ่งหมายถึงคนจีนยูนนนานที่เข้ารีตทางศาสนาอิสลาม ไม่รับประทานหมู ตั้งบ้านเรือนอยู่เมืองอีซี กับเมืองห่วยซี ใต้นครคุรหมิงแห่งมณฑลยูนนาน ชาวฮ่อผาสีได้เดินทางนำม้าและลาบรรทุกสินค้า เป็นกองคาราวานมาขายให้แก่ชาวเหนือ เมื่อ 50-60 ปีก่อน ( นับจาก พ . ศ .2490) และบางคนมีภรรยา ปลูกสร้างบ้านเรือนเป็นหลักฐานอยู่ในเมืองเชียงรายและเชียงใหม่หลายครอบครัว
   ชาวฮ่ออีกพวกหนึ่งเรียก ว่า “ ผาห้า ” รับประทานหมู ไม่เข้าจารีตศาสนาอิสลาม นับถือดวงวิญญาณบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว มีขนบธรรมเนียมนับถืออย่างเดียวกับชาวจีนทั่วไปพวกหลังนี้ได้เข้ามาอยู่ เมืองเชียงรายอย่างกระจัดกระจายตามเขตเจริญในอำเภอต่าง ๆ แห่งละ 5-10 คน เช่น ที่อำเภอ แม่สาย อำเภอเชียงของ ตามบนภูเขา เช่น ดอยช้าง เขตอำเภอเมือง ดอยผาแดง ดอยผาหม่น เขตอำเภอเชียงคำ ก็มีชาวฮ่อผาห้าอยู่ปะปนกับชาวเย้า เพราะใช้ภาษาและตัวหนังสือคล้ายคลึงกัน พวกฮ่อเหล่านี้โดยมากเดินทางตระเวนหาซื้อฝิ่นจากชาวเขาในเขตไทย อินโดจีน พม่า หรือบางทีก็เดินทางหาซื้อฝิ่นจากยูนนานตอนใต้แล้วนำมาขายอีกต่อหนึ่ง


   ในมณฑลยูนนาน มีพวกฮ่อที่นับถือศาสนาอิสลามน้อยฮ่อผาสี มักตั้งอยู่รวมกันเป็นเมืองหนึ่งต่างหาก เช่น เมืองอีซี เมืองห่วยซี ตามร้านขายอาหารในเมืองต่าง ๆ เขตยูนนาน ถ้าเป็นร้านของชาวฮ่อผาสีแล้ว จะมีตัวอักษรแขกติดอยู่ในร้าน พร้อมทั้งภาพสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของเมืองเมกกะ อันเป็นที่นับถือของเขาติดอยู่


   ชาวฮ่อทั้งสองพวกนี้ ติดต่อกันในทางค้าขาย ชาวฮ่อผาห้าเป็นคนมีใจคอกว้างขวาง คบค้าสมาคมกับชนชาติต่าง ๆ ได้ง่าย สำหรับพวกผาสี เนื่องจากลัทธิศาสนาบังคับทำให้ดูคล้าย ๆ กับเป็นคนใจแคบ ไม่ค่อยคบค้าสมาคมกับคนต่างศาสนา เขาจะไม่อภัยให้แก่บุคคลผู้กล่าวคำโต้แย้งกับพระคัมภีร์ ของพระผู้เป็นเจ้าแห่งศาสนาของเขาเลย ชาวฮ่อผาสีที่มาตั้งหลักฐานอยู่ในจังหวัดเชียงรายมีบุตรหลานกลายเป็นชาว เหนือ เฉพาะเครื่องแต่งกายเท่านั้น ส่วนจิตใจยังคงเป็นชาวฮ่ออย่างเดิม ทั้งนี้เพราะผู้ใหญ่คอยเข้มงวดกวดขันทางศาสนาและการคบค้าสมาคมอยู่ตลอดเวลา เคยปรากฏครั้งหนึ่งที่มีบุตรสาวของชาวฮ่อคนหนึ่งรักใคร่ กับชายต่างศาสนา เขาถึงกับตัดขาดกันเมื่อบุตรสาวหนีตามชายนั้นไป แต่สำหรับชาวฮ่อผาห้าหรือพวกฮ่อนอกจากรีตอิสลามนั้น บุตรหลานที่เกิดมาได้กลายเป็นชาวเหนือไปแล้ว


   การตั้งถิ่นฐาน มณฑล ยูนนานมีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล พื้นที่ราบมีน้อย โดยมากมีภูเขาสูงเรียงรายอยู่ติดกันเป็นพืด การเดินทางติดต่อกันโดยวิธีเดินเท้าและขี่ม้า ทางรถไฟมีอยู่สายเดียว คือจากวินเยนเหนือเมืองฮานอย ( อินโดจีนเหนือ ) ผ่านเมืองเชงเกี่ยงไปสู่เมื่องคุณหมิง ถนนสายยาวที่สุดคือถนนสายพม่า - ยูนนาน


   ภูมิประเทศทางภาคใต้ยู นนานกับภาคกลาง และภาคเหนือไม่เหมือนกับยูนนานตอนใต้ เช่น แถบเมืองเชียงรุ่งและเมืองซึเหมา เมืองดังกล่าวมีต้นไม้เขตโซนร้อนขึ้นบนภูเขาเต็มพืดไปหมด แต่ตอนเหนือขึ้นไปบนภูเขาต่าง ๆ มีต้นไม้เฉพาะที่สงวนเอาไว้ริมห้วยลำธาร นอกนั้นเป็นภูเขาหัวโล้น สภาพความเป็นอยู่จึงค่อนข้างจะแร้นแค้น ทั้งพืชผลต่าง ๆ ก็เป็นประเภทที่ขึ้นในโซนปานกลางหรือโซนหนาว คือมีต้นสนมากที่สุดไม่มีต้นหมากหรือต้นมะพร้าว เนื่องจากยูนนานเป็นอาณาจักรแห่งภูเขา การตั้งบ้านเรือนจึงอยู่ตามที่ราบเชิงเขา และทำนาทำสวนกันบนเนินโดยทำเป็นแปลงลดหลั่นกันลงเป็นชั้น ๆ กั้นเอาน้ำในลำห้วยลำธารมาใช้ แต่ไม่ใคร่จะพอ ต้องอาศัยน้ำฝนที่ตกลงมาอย่างปรอย ๆ ที่นาตามที่ราบมีน้อย โดยเหตุนี้บรรดาพ่อค้าต่างเมืองจึงต้องมีเสบียงอาหารข้าวสารบรรทุกม้าลาติด ตัวไปด้วย


   ชาวฮ่อชอบตั้งบ้าน เรือนอยู่กันเป็นกลุ่ม ไม่มีชนชาติอื่นเข้าไปตั้งบ้านเรือนอยู่ปะบน โดยเหตุที่มีการปล้นสะดมเสมอชาวฮ่อจึงไม่แยกันอยู่เหมือนตามชนบทของเรา เขาทำกำแพงเมืองล้อมรอบอย่างใหญ่โต มีประตูปิดเปิดได้ ถ้ามีคนแปลกปลอมเข้าไป ก็จะถูกสอดส่องดูการเคลื่อนไหวอยู่ทุกระยะกำแพงเมื่อสร้างด้วยอิฐิดินฉาบปูน หนา 2-3 ศอก สู 5-6 เมตร ตอนบนทำเป็นหลังคามุงกระเบื้องดินเผาเป็นลูกคลื่นแบบหังคาวัดจีน


   ภายในกำแพงเมืองมีกำแพง แห่งตระกูลอีกเป็นชั้นที่สอง ตระกูลใดมีสมาชิกมากก็ปลูกสร้างบ้านรวมกันอยู่เป็นกลุ่ม ๆ แล้วก่อกำแพงล้อมรอบ มีประตูปิดเปิดประตูเดียวมีช่องเล็ก ๆ ขนาดเอาปืนวางยิงต่อสู้บุคคลภายนอกได้ ทำหลังคาและกำแพงเช่นเดียวกันกับหลังคากำแพงเมือง เหตุทั้งนี้เพราะมีพวกโจรต่างถิ่นยกเข้ามาปล้นสะดมอยู่เป็นนิตย์ มีจำนวนโจรตั้งแต่ 50-500 คน พวกโจรโดยมากเป็นพ่อค้ากองคาราวานที่ทำการค้าขายเร่ร่อนไปตามหัวเมืองต่าง ๆ เมื่อเห็นเมืองไหนมีกำลังน้อยกว่าฝ่ายตน ก็ยกเข้าทำการปล้นสะดมบางทีก็เป็นชาวเมืองทั้งเมืองซึ่งมีอาชีพทางโจรกรรม เห็นว่าเมืองไหนกำลังน้อยพอจะยกพวกปล้นไปได้ก็ยกไป และเพื่อไม่ให้ชาวเมืองจำได้เขามักมอมหน้าหมด บางพวกเข้าปล้นอย่างเปิดเผยไม่ต้องมอมหน้า พวกปล้นเหล่านี้ชอบเดินทางไปปล้นในถิ่นไกล ๆ เพราะการคมนาคมติดต่อกันไม่สะดวก รัฐบาลจีนเองก็มีปัญหาเพราะต้องสู้รบ กับพวกเดียวกันอยู่ตลอดเวลาทั้งอาณาเขตประเทศจีนกว้างขวาง ดูแลปกครองไม่ทั่วถึงชาวเมืองแต่ละเมืองจึงจำเป็นต้องต่อสู้เพื่อรักษาผล ประโยชน์ตนเอง


   ในบริเวณกำแพงแห่งตระกูล นั้น สมาชิกในตระกูลจะปลูกตึกดิน 2 ชั้นเตี้ย ๆ อยู่เป็นหลัง ๆ ไป ผู้มีฐานะก็ปลูกกว้างขวางใหญ่โต ผู้ที่อัตคัดหรือเป็นบริวารก็ปลูกหลังเล็ก หลังคามุงด้วยกระเบื้องอย่างวัดจีน บางหลังมุงด้วยฟางหนาราว 1 ศอกมีลานดินอยู่ตรงกลางสำหรับมีพิธีรื่นเริงหรือกิจกรรมในดำเนินชีวิต แต่ละบ้านเลี้ยง ม้า ลา วัว ควาย หมู เป็ด ไก่ และแพะ โดยจะทำเล้าไก่ เล้าเป็ด คอกวัวควาย และคอกหมูไว้ต่างหาก ส่วนม้าลาก็ทำเป็นโรงติดอยู่กับตัวบ้าน ตอนบนของโรงม้าลาทำเป็นที่พักแก่แขกที่มาเยือน ยุ้งข้าวใช้เป็นที่เก็บข้าวฟ่อน คือชาวฮ่อเก็บเอาข้าวไว้ทั้งต้นรวมทั้งเมล็ดข้าว และกองฟาง เมื่อจะดำก็ฟาดเอาเมล็ดข้าวเปลือกออก การตำข้าวใช้มาเทียมไม้ท่อนซึ่งมีวงล้อสำหรับนวดข้าวเดินเป็นรูปวงกลมรอบ ๆ ฟางที่ได้จะใช้เลี้ยงสัตว์ ใช้มุงหลังคาบ้านและใช้แทนฟืนหุงต้ม เพราะยูนนานตอนเหนือขาดแคลนฟืน ภูเขาที่มีอยู่ก็เป็นภูเขาหัวโล้นไปหมด


   การปลูกบ้านของชาวฮ่อจะ ใช้ไม้น้อยที่สุดเพราะไม้หายาก จึงใช้ดินมาปั้นเป็นก้อน ๆ โดยไม่ต้องเผาไฟ ทำเป็นอิฐก่อกันเป็นตึก 2 ชั้นเตี้ย ๆ ข้างบนทึบ ชายคายื่นล้ำลงมาเพื่อกันไม่ให้ฝนสาดฝาพังทลาย และเพื่อป้องกันอิฐดิบนั้น ชาวฮ่อจึงใช้ปูนผสมดินเหนียวกับทรายฉาบนอกอีกชั้นหนึ่ง ภายในบ้านชั้นล่างทำเป็นที่รับแขกและหุงอาหาร ชั้นบนเป็นที่หลับนอนของเจ้าของบ้าน ความใหญ่เล็กของตึกก็แล้วแต่ฐานะ การปลูกสร้างนั้นไม่มีการขอแรงช่วยกัน ทุกอย่างต้องจ้างทั้งนั้นนับตั้งแต่ปั้นดินเหนียวเป็นก้อน จนกระทั่งเสร็จเป็นหลัก เมื่อปลูกสร้างเสร็จก็ทำพิธีขึ้นบ้านใหม่ เซ่นเจ้าอย่างแบบจีนโดยเอาผ้าผืนใหญ่ มาเขียนตัวอักษรจีนปิดไว้บนขื่อและประตู ห้อยชายลงมา ในวันขึ้นบ้านใหม่นั้น เจ้าของบ้านจะฆ่าหมูไก่เปิดและแพะ ปรุงเป็นอาหารเลี้ยงชาวบ้าน คนเฒ่าคนแก่มารับประทานน้ำชา อาหาร มีการเล่นละครแบบยูนนานคล้าย ๆ งิ้วในงานนี้มีคนแก่คนหนึ่งเล่านิยายปรัมปราให้ชาวบ้านฟัง เพราะชาวยูนนานไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่นิยมฟังนิยายมาก ดังจะเห็นตามร้านขายน้ำชา อาหาร ตามหัวเมืองต่าง ๆ มีการเล่านิยายเสมอ ถ้ามีคนฟังมากเจ้าของร้านจะอนุญาต ให้ผู้เล่าขึ้นไปยืนบนโต๊ะเล่านิยายพร้อมกับทำท่าทางประกอบ


   
      การแต่งกาย อากาศในมณฑลยูนนานค่อนข้างหนาวเพราะอยู่ในโซนปานกลาง ล้อมรอบไปด้วยภูเขาสูง ด้วยเหตุนี้ชาวฮ่อจึงแต่งกายไม่เรียบร้อย ผู้ชายสวมหมวกกลม ๆ ไม่มีปีก แต่มียอดจุกอยู่ตรงกลางเรียกว่า “ กะน้าก้วย ” เสื้อหลายชั้นชิดต้นคอ ผ่าอกป้ายปิดข้างบ้าง ผ่าอกกลางบ้าง เสื้อยาวใต้เอวเล็กน้อย ถ้าเวลาอยู่บ้านหร้อมีงานมักสวมเสื้อยาวลงมาใต้เอวเล็กน้อย ถ้าเวลาอยู่บ้านหรือมีงานมักสวมเสื้อยาวลงมาใต้เข่าไม่มีจีบ หรือรัดเอวให้สวยงามแต่อย่างใด แขนเสื้อกว้างยาวหุ้มข้อมือ นิยมใช้สำมากกว่าสีขาว ใช้กระดุมผ้า กางเกงขากว้าง หรือบางทีก็ทำอย่างผ้านุ่ง สวมถุงเท้ารองเท้าที่ทำกันขึ้นใช้เอง ผู้หญิงไว้ผมมวย แต่งกายคล้ายชาย แต่ผ่าอกป้ายมาทางไหล่ข้างซ้าย ติดกระดุมผ้าใต้รักแร้ ใช้ผ้าสีขาวสับด้วยแถบชายผ้าใหญ่สีดำ หรือบางทีก็ใช้ชุดดำล้วน ถ้ามีงานพิธีมักใส่กระบังหน้าเล็ก ๆ เหนือหน้าผากอ้อมไปทางหูทั้งสองข้าง คล้ายกับเครื่องแต่งกายของหญิงจีนสมัยโบราณหรือคล้ายกับงิ้ว ในฤดูหนาวใช้ผ้ากรุด้วยขนแกะภายในเสื้อ ฤดูร้อนใช้ผ้าแพรปังลิ้น แพรญวน หญิงใส่ต่างหู กำไลมือ ฯลฯ
   
   มีธรรมเนียมที่แปลกอยู่อย่างหนึ่ง ผู้หญิงชาวจีนยูนนานใช้ผ้าเย็บเป็นถุงรัดเท้าให้เล็กตั้งแต่เด็กเพื่อไม่ให้ เท้าโต เวลาเดินไปไหนมาไหนจะช้า และคล้ายกับตุ๊กตาเดิน อันเป็นขนบธรรมเนียมนิยมของชาวจีนยูนนานมาแต่โบราณกาล เล่ากันถึงเหตุที่หญิงต้องรัดเท้านั้นว่า ในกาลครั้งหนึ่ง มีพ่อค้าเดินทางไปค้าขายยังเมืองหนึ่งแล้วเกิดพอใจรักใคร่หญิงชาวเมืองนั้น และได้พากันหนีไป ชาวเมืองไล่ติดตามไม่ทันเพราะหญิงชายนั้นเดินทางไปได้รวดเร็ว นับแต่นั้นมาจึงบังคับเด็กหญิงกำลังจะขึ้นวัยสาวของตนทุกคนรัดเท้าไม่ให้ เท้าโต เพื่อให้เดินทางลำบากและช้า เมื่อมีชายพาหนีก็จะติดตามได้ทันท่วงที เพราะการคมนาคมในมณฑลยูนนานไม่สะดวก ต้องเดินด้วยเท้าไปตามไหล่เขา ชาวจีนยูนนานจึงถือเป็นจารีตประเพณีกันสืบมา


   
      อาชีพชาวจีนฮ่อมีอาชีพในการค้าขาย และการกสิกรรมการค้าขายนั้นมีม้าลาบรรทุกสินค้านำไปซื้อ ขายแลกเปลี่ยนกันจากตำบลหนึ่งไปยังตำบลหนึ่ง สินค้ามีผ้าไหม หม้อทองแดง ผ้าเจี๋ยน ( ผ้าขนสัตว์ ) พืช ผลไม้ เนย ฯลฯ ทั้งนี้ไม่ค่อยมีการปลูกฝิ่นและค้าฝิ่นในยูนนานตอนกลาง ฝิ่นมีการปลูกและค้ากันในแถบยูนนานตอนใต้และชายแดนติดต่อกับพม่า อินโดจีนเท่านั้น เพราะกฎหมายเมืองจีนห้ามการปลูกค้า สูบ และ มีฝี่นไว้ภายในครองครองอย่างเด็ดขาด ผู้ใดทำการปลูกฝิ่นหรือสูบฝิ่นมีโทษถึงประหารชีวิต แต่ยังมีการปลูกค้าและสูบกันบนเขาต่าง ๆ ตามชายแดนเพราะทางยูนนานมีพนักงานเจ้าหน้าที่บริหารไม่พอที่จะปราบปราม การปกครองดูแลไม่ทั่วถึงกัน ฝิ่นจึงไหลประดังเข้ามาสู่เขตไทย โดยการนำของพวกพ่อค้าชาวฮ่อซึ่งมีม้าลาและบริวารนับเป็นจำนวนหลายร้อยคน คนเหล่านี้มักมีอาวุธดี ๆ พร้อมจะเดินทางคุมกันเป็นคาราวาน กว้านซื้อฝิ่นนำมาขายชายแดนไทย ซึ่งชายไทใหญ่เจ้าของถิ่นเองก็ไม่กล้าทักท้วง เพราะกำลังอาวุธด้อยกว่าพวกพ่อค้าชาวฮ่อเหล่านี้
   เมืองต่าง ๆ ในมณฑลยูนนานตอนกลาง มีการเปลี่ยนเวรกันเข้าตลาด วันนั้นเปิดตลาดที่นี่ วันถัดไป เปิดตลาดที่โน่นบรรดาพวกพ่อค้าต่างนำม้าลาบรรทุกสินค้า หรือใช้คนเอาของบรรทุกหลังเดินทาง เครื่องบรรทุกของไว้บนหลังเขาทำเป็นรูปโค้งอ้อมมาข้างหน้า เพื่อให้บรรจุสินค้าได้มาก เรียกว่า “ เป้ ” เมื่อปลดลงจากหลังและบ่าแล้วก็มีไม่ค้ำไว้ไม่ให้ล้ม ไม้ค้ำนี้เองใช้เป็นไม้เท้า สำหรับยันขึ้นเขาหรือเวลาเดินทาง สินค้ามีประเภทเครื่องนุ่งห่มเสื้อผ้าเครื่องใช้และยังมีพืชไร่ รวมทั้งอาหารอื่น ๆ อีกด้วย
   


   
      วิถีชีวิต การทำไร่ของชาวจีนฮ่อจะทำกันตามเชิงเขาและที่ราบใกล้ ห้วยลำธาร โดยปลูกข้าว ( ไรน์ ) ข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าวฟ่าง มันฝรั่ง มันเทศ ผักกาดหัว กะหล่ำปลี และถั่วฝักใหญ่ซึ่งเขาเรียกว่า “ ตาเตา ” เมื่อขัาวไม่พอรับประทานก็ใช้มันและพืชเหล่านี้ผสมหุงต้มรับประทาน การทำอาหารใช้กระทะใบใหญ่ใบเดียว ฟืนค่อนข้างหายาก ใช้มูลวัวควายปน ใบหญ้าใบสนแทน บางบ้านใช้ถ่านหินซึ่งมีพวกชาวบ้านขุดขายน้ำหายาก ต้องเดินทางไปตักที่บ่อตามที่ราบต่ำใกล้ห้วยลำธารบ่อน้ำจะก่อฐาน และด้านล่างกว้างตอนบนแคบ ชาวบ้านจะไม่อาบน้ำทุกวัน คือ 2-3 วันจะอาบน้ำครั้งหนึ่ง แต่ทุกวันมีการเช็ดตัว โดยมีกะละมังละผ้าขนหนูวางไว้ให้
   
      อาหารและยา อาหารของชาวจีนฮ่อโดยมากเป็นเนื้อวัวแห้ง เพราะราคาเนื้อวัวถูกกว่าหมู ใช้น้ำมันพืชผัดกับผักกะหล่ำปลี หัวบีท หัวผักกาด ฯลฯ ราคาเนื้อสดในตลาดเมืองคุนหมิงระหว่างต้นปี พ . ศ .2486 มีดังนี้ หมูน้ำหนัก 1 ชั่ง (0.60 กิโลกรัม หรือ 600 กรัม ) ราคา 1,500 เหรียญจีน เนื้อวัว 1,000 เหรียญจีน เนื้อแพะ 800 เหรียญจีน (1 เหรียญจีนเท่ากับเงินไทย 4 สตางค์ ) กับข้าวมีการต้ม ผัด ดอง ของดองชนิดหนึ่งเรียก “ เยนไฉ่ ” มีขิงดอง หัวผักกาดดอง ฯลฯ น้ำพรกดองเรียก “ เจี๋ยง ” ชาวฮ่อไม่ใช้กะปิน้ำปลาแต่ใช้น้ำซีอิ๊วซึ่งทำมาจากถั่วเหลือง เรียกว่า “ เจี๋ยงยิ้ว ” บางทีทำกับข้าวเป็นผักล้วน ๆ ไม่มีเนื้อเลยเรียกว่า “ กินเจ ” ใช้ผัด้วยน้ำมันพืชบ้าง ดองบ้าง การรับประทานใช้ตะเกียบ มีน้ำชา ถ้วยสุรา ขนาดจิ๋วอย่างจีน
   
      ของเสพย์ติด มียาเหลือง หรือเรียกว่า “ หวางเยน ” เป็นยาสูบสีเหลืองนิ่ม เป็นฝอยอย่างหมูหยอง กลิ่นหอมชวนสูบ ใช้บ้องยาอยางบ้องกัญชา เรียกว่า “ เยนทุ่ง ” พวกฮ่อที่อยู่แถบสิบสองปันนา โดยมากติดฝิ่น ถ้าเมืองไหนเจ้าเมืองและพนักงานกวดขัน ก็จะลักลอบสูบกัน ถ้าจับได้ตามกฎหมายของเขาโทษถึงถูกยิงเป้า แต่บางเมืองปล่อยกนอย่างเสรี โดยเจ้าเมืองทำเป็นเอาหูไปนาเอาตาเอาตาไปไร่เสีย ยิ่งหากเฃป็นหัวเมืองชายแดนติดต่อกับเขตพม่า อินโดจีนแล้ว โดยมากเจ้านายเป็นผู้ทำการค้าฝิ่นเสียเอง ด้วยเหตุนี้บรรดาเจ้าเมืองฮ่อจึงร่ำรวยกันแทบทุกคน
   
      ภาษา ภาษา ฮ่อที่ใช้พูดและเขียนทุกวันนี้เป็นภาษาจีนกลางซึ่งทาง รัฐบาลจึงประกาศให้ใช้ ทั่วประเทศ มีผิดเพี้ยนไปบ้างเป็นบางคำบางประโยค เช่น มีด - เตา ปืน - เซียง ข้าว - ฝาน รองเท้า - ไหจื้อ ฬา - พอจื้อ ไม้ขีดไฟ - โห้ฉาย น้ำชา - ช่า หมู - จู
   ชื่อผู้ชายนำหน้านามด้วย คำว่า เลา หมายถึง นายหรือคุณ เช่น ชื่อเลาว่อง เลาเออ เลาซาน เลาลิ เลามา เลาฟู่ ฯลฯ ผู้หญิงชื่อ ลิ่ง ซาง รียัง ฯลฯ ประโยค เช่น สบายดีหรือนี้ลื้อเฮ้าใจ๋ , ไปที่ไหน - นี่เขอนาเตี้ย , อยู่ไหน - นาเตี้ยใจ๋ , ทำงานอะไร - นี่เจิ้งน้าหยัง , มีธุระอะไร - เจิ้งนาหยังซื๋ซิ่น , ชื่ออะไร , นาหยังมิ๋นจื้อ , รับประทานอาหารหรือยัง - ซึฝานปู่ยิว , มีภรรยาแล้วหรือ , ยิ่วเล่า - โพ่ลิปะยิว ฯลฯ
   
   มีบทเพลงไพเราะอยู่บทหนึ่งที่ชาวฮ่อในเมืองคุนหมิงชอบร้อง มีเนื้อเพลงดังนี้
   
   ไท้เยี้ยงฉ่า ซิวเม้งจิวยี่ ยิวผ่า สางไล้ ฟ้าเออแส่ว แลวเม้ง เนียนให่ชื่อยี่ ย๋างเตอคาย เม่ลี้ แซ่วแนวเฟยชี้วู้ยุ่งจง ว่อเตเซงซุน แซ้วแนวอย่างปู่หุยไล้ ว่อเตเซงซุนแซ้ว แนวปู่หุยไล้ว เปียดเตอนา โยโย่ - เปียดเตอนา โย โย โย ว่อเต เซงซุน แซ้ว - แนวปู่หุยไล้


   แปลว่า พระอาทิตย์ฉายแสงตามเวลาขงมัน แต่ใจของมนุษย์เรานี้มิเหมือนพระอาทิตย์คือเร็วยิ่งกว่า เปรียบเหมือนนกน้อยตกอยู่ในอุ้งมือเรา เมื่อบินหลุดลอยไปแล้วก็ไม่มีวันจะกลับคืนมา เปรียบวัยของเรา นับวันที่จะล่วงเลยไปทุกเวลา


   ชาวจีนฮ่อมีสุภาษิตโบราณ ไว้สั่งสอนบุตรหลานอยู่หลายบท มีคำกล่าวถึงความเศร้าโศกบทหนึ่งว่า “ เมื่ออยู่ในวัยเด็กเป็นกำพร้าบิดามารดา 1 ในวัยกลางคนมีครอบครัวบุตรธิดาแล้วแต่ภรรยาแม่เรือนตายจากไป 1 และเมื่อแก่เฒ่าชราภาพแล้ว หากบุตรผู้สืบแซ่วงศ์สกุลตายจากไป 1 ทั้งสามประการนี้ เป็นความวิปโยคอย่างแทบจะตายตามกันได้ ”


   บริเวณใต้เมืองคุนหมิงมี คนไทยเผ่าหนึ่ง ซึ่งเรียกตนเองว่า ไตหย่า ไตชาย ฯลฯ ชาวไทยเผ่านี้ มีขนบธรรมเนียมคล้ายคลึงกับชาวจีน มักมารับจ้างทำงานกับชาวจีนฮ่อเสมอ ชาวจีนฮ่อเรียกคนเผ่านี้ว่า “ หานเป่อี ” คือ ผู้ซึ่งมีขนบธรรมเนียมครึ่งไทยครึ่งฮ่อ


   ลักษณะทั่วไป ชาว ฮ่อเป็นคนซื้อสัตย์ ชอบใช้หัวคิดสุขุม รักพวกพ้อง ขยันในการงาน พูดน้อย เคร่งครัดต่อจารีตประเพณี การขโมยคดโกงกันไม่ค่อยมี ชีวิตความเป็นอยู่ภายในครอบครัวนั้นหญิงผู้เป็นภรรยาต้องเคารพสามีเหมือน เป็นนายของตน ต้องตื่นนอนแต่เช้าตรู่ ต้มน้าร้อนเตรียมไว้ให้สามีล้างหน้า ไปเก็บผักพืชตามไร่สวนมาทำอาหาร ต้มน้ำชาเตรียมไว้ให้สามีล้างหน้า ไปเก็บผักพืชตามไร่สวนมาทำอาหาร ต้มน้ำชาเตรียมไว้ให้สามีไปติดต่อธุระการงานนอกบ้าน ตอนสายภายหลังรับประทานอาหารเช้าแล้วหญิงเอาผ้าไปซัก ฯลฯ ชายเลิกร้างหญิงได้ แต่หญิงเลิกร้างกับชายไม่ได้ ไม่ใช่เมื่อไม่พอใจสามีแล้วหอบข้าวของหนีไปอยู่บ้านตน ถ้ากระทำเช่นนั้นจะถูกบิดามารดาของตนไล่กลับมา ไม่ยอมให้เข้าบ้าน สามีตามไปพบมีสทธิ์ทุบตีได้ ระหว่างอยู่ด้วยกันนี้ จะไปเยี่ยมบิดามารดาหรือญาติสามีเสียก่อน ของตนต้องขออนุญาตถ้าไม่ให้ไปแล้วก็ไปเยี่ยมไม่ได้ เมื่อสามีสิ้นชีวิตแล้ว ภรรยาต้องอยู่รับใช้บิดามารดาของสามีตลอดชีวิต ถ้ามีผู้มาชอบพอรักใคร่ต้องสู่ขอกับบิดามารดาของสามี ถ้าอนุญาตก็แต่งงานใหม่อีกได้ ถือกันว่าผู้หญิงเป็นทาสที่ซื้อเอามาเป็นภรรยา และรับใช้บิดามารดา ทั้งนี้หญิงที่เคยมีสามีแล้วจะแต่งงานกับผู้ชายฮ่อที่อยู่ในเมืองเดียวกัน ไม่ได้


   บิดามารดาชาวจีนฮ่อมักหมั้นเด็กของเขาไว้แต่เล็ก บางทีคู่หมั้นอยู่ต่างเมืองไม่เคยเห็นหน้าตากันเลย บางทีเป็นคนเมืองเดียวกัน ชาวฮ่อไม่มีสิทธิ์เสรีในการเลือกคู่ครองสุดแล้วแต่บิดามารดาจะเห็นควร ที่หมั้นเมื่อโตเป็นหนุ่มสาวแล้วก็มี โดยมีแม่เสื่อคอยทำการติดต่อชักนำ และเจรจาตกลงสู่ขอการแต่งงานมีขนบประเพณีแบบจีน คือแต่งที่บ้านเจ้าสาวเลี้ยงน้ำร้อน น้ำชา สุรา อาหารแก่แขก เจ้าบ่าวไปรับเอาเจ้าสาวไปอยู่บ้านตน เอาเจ้าสาวนั่งในเกี้ยวมีคนหาม ตลอดทางยิงปืนขึ้นบนท้องฟ้า ถ้าใครยิงปืนมาก ถือว่าเป็นผู้มีเงินมีเกียรติพอถึงบ้านพ่อผัวแม่ผัว เจ้าสาวเข้าไปกราบไหว้กล่าวฝากเนื้อฝากตัว ขอให้เอ็นดู คิดเสมอเป็นธิดาในไส้ของตน ถ้ามีลูกแล้วบรรดาญาติพี่น้องจะทำพิธีผูกมือและนำเงินมาให้เป็นของขวัญ


   บ้านทุกหลังของชาวจีนฮ่อเขาทำแท่นบูชาไว้ภายในบ้านมีธูปเทียน ดอกไม้ กระดาษเงินกระดาษทอง ชาวฮ่อนับถือดวงวิญญาณของบรรพบุรุษเป็นพระเจ้า ( เว้นแต่พวกนับถืออิสลาม ) ภายในเมืองแต่ละเมืองมักมีต้นไม่ใหญ่ ซึ่งทำเป็นศาลเจ้าไว้ นาน ๆ จะมีผู้นำเอาเครื่องเซ่น หัวหมู เป็ด ไก่ ทาสีแดง และผลไม้ กระดาษเงินกระดาษทอง รวมทั้งธูปเทียนไปบูชา ถือว่าเป็นที่สิงสถิตของเจ้าประจำเมือง สามารถบันดาลสิ่งต่าง ๆ ได้ตามความปรารถนา โดยมากผู้ที่ไปทำการเซ่นไหว้นั้นมักมีเหตุการณ์บังเกิดขึ้นภายในครอบครัว เช่น มีผู้เจ็บป่วยหรือประสบเคราะห์กรรม มีความทุกข์ทรมานใจอย่างใดอย่างหนึ่ง การเจ็บป่วยเขาใช้รักษากับแบบแผนโบราณคือใช้สมุนไพรอย่างจีน นอกจากนี้ ยังใช้วิธีขูดลากเหรียญบนผิวหนังโดยแรงจนเป็นผื่นแดง เรียกว่า “ กว่าซา “ ซึ่งผู้ถูกขูดมักจะร้องหรือครางในขณะรักษา ( ดูประกอบที่ กวางชา )


   พิธีกรรม ชาวฮ่อมีงานปีใหม่อย่างเดียวกันกับจีน มีการจุดประทัด นำถาดหัวหมู ขาหมู เป็ด ไก่ ซึ่งทาสีแดง ขนมปาปา ( ขนมชนิดหนึ่ง ) ผลไม้ ธูปเทียน ผลไม้มีสีส้มจีนซึ่งเรียกว่า “ ฮ่วงโก้ ” ลูกเชอรี่ที่เรียกว่า “ ลี่ซื่อ ” นำไปเซ่นเจ้างานปีใหม่มี 3 วัน ทุกคนต่างหยุดงาน และต่างกายสวยงามเลี้ยงสุราอาหาร ให้ของขวัญแก่กัน มีการไหว้บิดามาราดาหรือสามีภรรยาที่ล่วงลับไปแล้ว ที่สุสานมีการเล่นการพนันทุกประเภทซึ่งทางเจ้าเมืองเปิดให้มีการประมูลและ เล่นกันอย่างเปิดเผย


   เมื่อมีคนตายภายในบ้าน เขาจัดงานศพ 1 คืน หรือ 2 วัน มีการพนันเลี้ยงสุราอาหารแก่ผู้เฒ่าชาวบ้าน ไม่มีสวดมนต์ ญาติพี่น้องหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะนุ่งผ้าขาวห่มขาว เอาศพบรรจุโลง ร้องไห้เดินตามศพไม่มีการแห่ เมื่อนำไปฝังเสร็จแล้วต้องไว้ทุกข์ถึงผู้ตายเป็นเวลาหลายวัน


   การเดินทางไปเมืองคุนหมิ งจากจังหวัดเชียงรายสมัย พ . ศ .2493 ไปได้ 2 ทาง คือทางรถยนต์กับทางเดินเท้า ทางรถยนต์ออกจากอำเภอแม่สายเข้าเขตรัฐฉานของพม่า ผ่านเชียงตุง น้ำคงปางหลวง น้ำคำ ลาเสี้ยว รุ่งริ่ง เปาซาน ยงผิง เสียวกวาน ซูฉง คุนหมิง โดยใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์นี้ราว 9 วัน


   ส่วนการเดินทางด้วยเท้าหรือม้า เริ่มจากเชียงตุงไปเมืองมะ เชียงรอ เมืองปาน เมืองฮุน เมืองไฮ เชียงรุ่ง ฟูเออ ซือเหมา ห่วยซี จากห่วยซีไปคุนหมิงมีรถยนต์ ทางที่เดินเป็นภูเขาทั้งนั้น และใช้เวลาเดินทางนานกว่าถนนสายพม่า - จีน ซึ่งมีรถยนต์ติดต่อไปมาได้โดยสะดวกตลอดฤดูแล้ง


   
      ในเชียงใหม่ ฮ่อกลุ่มแรกที่เข้ามาส่วนใหญ่เป็นพ่อค้าขายสินค้าจำพวกสมุนไพร ของป่า ส่วนใหญ่อพยพมาจากเมืองแม่ซาซุน เมืองต๋าไปยี มณฑลยูนนานเข้ามาไทยทางแม่สายมาเชียงใหม่ทางดอยนางแก้ว ดอยสะเก็ด ตั้งค่ายพักครั้งแรกที่ตลาดสันทรายน้อย อีกพวกตั้งค่ายพักที่ท่ากระดาษ ตำบลฟ้าฮ่าม พวกของท่านเจิ๋งชงหลิ่งมาตั้งถิ่นฐานที่บ้านฮ่อ เมื่อประมาณ พ . ศ .2458 เจิ๋งชงหลิ่งได้มีส่วนช่วยขนส่งลำเลียงอุปกรณ์ก่อสร้างจากเชียงใหม่ไปถ้ำขุน ตาลด้วยขบวนม้า - ล่อ จนสามารถสร้างเส้นทางรถไฟสายเหนือแล้วเสร็จ และท่านยังได้บริจาคที่ดินประมาณ 100 ไร่ แก่การรถไฟ และการสร้างสนามบินในเชียงใหม่ ซึ่งพระเจ้าอยู่หัวรัชการที่ 7 ได้พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เจิ๋งชงหลิ่งเป็น “ ขุนชวงเลียง ” พระราชทานนามสกุลว่า “ วงศ์ลือเกียรติ ” ทำให้ผู้นำฮ่อที่ชื่อเจิ๋งชงหลิ่งรู้จักกันในนาม “ ท่านขุนชวงเลียง ลือเกียรติ ” แต่นั้นมา และใน พ . ศ .2458 ได้เริ่มสร้างมัสยิดอิสลามบ้านฮ่อหลังแรกขึ้นเป็นศูนย์กลางของฮ่อในเวียง เชียงใหม่ ที่บ้าน จะต้องมีการอยู่ไฟ โดยลูกคนแรก แม่จะอยู่ไฟเป็นเวลา 5 วัน และลูกคนตอมาจะอยู่ไฟเพียงสามวัน ซึ่งก็ต้องมีการผูกเฉลวลงอาคมกำกับไว้ด้วย การอยู่ไฟนี้อาจอยู่ไฟในท่านั่งหรือท่ายืนก็ได้ ในท่ายืนอยู่ไฟนั้นจะมีการเผาหินให้ร้อนแล้วให้แม่ลูกอ่อนถอดเสื้อผ้าออกหมด ใช้ผ้าห่มคลุมตัวและปกศีรษะแล้วยืนคร่อมหิน และตักน้ำต้มสมุนไพรรดก้อนหิน ให้ไอร้อนและไอสมุนไพรรมไปทั่วร่าง เมื่ออยู่ไฟครบกำหนดแล้วก็จะพักอยู่ในห้องเตาไฟนั้นนานถึงหนึ่งเดือน ส่วนการอยู่ไฟในท่านั่งนั้น แม่ลูกอ่อนจะถอดเสื้อผ้าออกหมดแล้ว คลุมด้วยผ้าห่มตั้งแต่คอถึงปลายเท้าและยังต้องปกศีรษะไว้ด้วย นั่งยอง ๆ อยู่บนขอนไม้ที่สูงกว่าหินเผาไฟนั้นเล็กน้อย จากนั้นเทน้ำต้มสมุนไพรลงที่ก้อนหินให้ไอน้ำรมแม่ลูกอ่อนจนทั่วถึง สำหรับรกของเด็กนั้นจะฝังไว้ใต้ถุนบ้านตรงที่เด็กเกิด เมื่ออยู่ไฟเสร็จ ญาติของแม่ลูกอ่อนก็จะห่อฝักส้มป่อยสามท่อน และขมิ้นสามท่อนเป็นของฝากเพื่อขอบคุณผู้ที่มาเป็นเพื่อนแม่ลูกอ่อน ส่วนเด็กนั้นเมื่อแข็งแรงพอแล้วก็จะนำไปเลี้ยงในเปลไม้ไผ่สาน ซึ่งหากมีลูกต่อมาอีกก็จะใช้เปลอันเดียวกันนี้เท่านั้น
   
      ด้านพิธีกรรมเกี่ยวกับงานศพนั้น ชาวละว้าถือว่าเป็นพิธีที่สนุกที่สุด การจัดงานศพจะจัดตามความสะดวกของเจ้าภาพ เช่น หากเจ้าภาพมีฐานะดีก็อาจฆ่าวัวหรือควายเลี้ยงดูแขกในพิธีศพ แต่คนที่ฐานะไม่ดีก็จะใช้หมูแทน เพียงแต่ไม่อาจเล่น “ ซวงละมาง ” และ “ มฮลอก ” โโดยที่การเล่น “ ซวงละมาง ” นั้นละม้ายกับการเล่นลาวกระทบไม้ และการเล่น “ มฮลอก ” เป็นการเล่นขับเพลงไปพร้อมกับการชี้ไปที่ภาพใบไม้ เวลามีแขกมาที่งานศพก็จะเปิดผ้าคลุมหน้าศพออก และผู้หญิงก็จะพากันร้องไห้ทุกครั้งที่เปิดผ้าคลุมหน้าศพออก กลางคืนมีการขับเพลง เมื่อแขกกลับเจ้าภาพจะห่อเนื้อมอบให้แขกเป็นที่ระลึก จากนั้น “ ปูลาม ” หรือผู้นำทางพิธีกรรมและญาติกับพวกผู้ชายก็จะนำหมูและไก่ ไปฆ่าทำอาหารที่เตาไฟบนศาลาผีประจำหมู่บ้าน มีการจัดทำเสาฝังเบี้ยประดับด้วยเขาควาย หรือคางหมูที่ฆ่าในพิธีมาประดับโลงศพทำด้วยท่อนไม้ผ้าครึ่ง และขุดเอาเนื้อไม้ออกเพื่อใส่ศพแล้ทำฝาประกบ “ ปูลาม ” กับลูกหาบจะไปส่งเสาและโลงที่ป่าช้า แล้วฝังศพพร้อมกับอาวุธและเครื่องใช้ที่ทำด้วยไม้ โดยปูลามจะเลือกที่ฝังศพ ทั้งนี้คนอื่น ๆ จะไม่ตามไปถึงป่าช้า


ที่มาของบทความ

http://www.openbase.in.th/node/6450

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

โปรดใช้วิจารณญานในการแสดงความคิดเห็น