การทำแท้ง เนื่องจากเด็กเกิดจากการซีนาอนุญาตให้ผู้หญิงทำแท้งหรือไม่?

อนุญาตให้ผู้หญิงที่ทำ ซีนาทำแท้งหรือไม่?


การทำแท้ง เนื่องจากเด็กเกิดจากการซีนา    


ตอบคำถามโดย เชค มุฮัมมัด ศอลิหฺ อัล-มุนัจญิด
อิบนุ อับดุรรอูฟ แปลและเรียบเรียง


คำถาม: อนุญาตให้ผู้หญิงที่ทำ ซีนาทำแท้งหรือไม่?

คำตอบ: มีการทุ่มเทในการอิจญติ ฮาด(วินิจฉัย)ของบรรดานักนิติศาสตร์อิสลาม ซึ่งได้จดจ่อกับเรื่องการทำแท้ง และกฎเกณฑ์ต่างๆเกี่ยวกับผลลัพธ์ที่จะตามมา แต่พวกเขาไม่เคยให้ความสำคัญกับการเข้าไปยังรายละเอียดว่าการตั้งครรภ์นั้น เกิดมาจากการผิดศีลธรรม(ซินา)หรือไม่? ที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะว่า พวกเขาได้พิจารณาแล้วเรื่องนี้ก็อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์เดียวกันการทำแท้งที่เกิด จากการแต่งงานที่ถูกต้อง

หากการทำ แท้งที่เกิดจากการแต่งงานที่ถูกต้องเป็นเรื่องฮะรอมภายใต้สภาพปกติ ดังนั้นมันก็ควรเป็นเรื่องฮะรอมยิ่งในกรณีการตั้งครรภ์ที่เกิดจาก การผิดศีลธรรม(ซินา) เพราะว่าการอนุญาตการทำแท้งจากการตั้งครรภ์ที่เกิดจากการผิดศีลธรรม จะเป็นการส่งเสริมการกระทำความชั่วและแพร่กระจายความไร้ศีลธรรม


พื้นฐาน ของหลักการอิสลามอย่างหนึ่งก็คือ การห้ามการผิดศีลธรรมและวิธีการทุกอย่างที่จะนำไปสู่สิ่งนี้ เช่น ห้ามการตะ บัรรุจญฺ(การอวดโฉมและเครื่องประดับ) และการปะปนระหว่างชายหญิงอย่างเสรี


           นอก จากนี้ เด็กที่อยู่ในครรภ์ที่บริสุทธิ์ ไม่เคยกระทำความผิดใดๆ ก็ไม่ควรที่จะถูกฆ่าสังเวยความผิด เพราะว่าความผิดนั้นถูกกระทำโดยผู้อื่น อัลลอฮฺตรัสว่า

وَلاَ تَزِرُ وَازِرَةٌ وِزْرَ أُخْرَى

           และไม่มีผู้แบกภาระใดที่จะแบก ภาระของผู้อื่นได้(อัล อิสรออ์ 17 : 15)



เป็นที่ รู้กันว่า ท่านเราะซูล(صلى الله عليه وسلم)ได้ส่งผู้หญิงเผ่าฆอมิดี ยฺ ซึ่งตั้งครรภ์เนื่องจากผิดประเวณี จนนางได้คลอดลูก หลังจากคลอดลูกแล้ว ก็ได้ส่งนางกลับไปให้นมลูกจนกระทั่งเด็กหย่านม นางได้กลับมาพร้อมกับเด็กที่มีชิ้นขนมปัง ท่านเราะซูลได้ส่งเด็กให้กับชายมุสลิมผู้หนึ่ง จากนั้นท่านได้สั่งให้ให้นางลงไปในหลุมที่ขุดไว้ระดับอก จากนั้นสั่งให้ผู้คนขว้างนาง [1]

           ท่าน อิมาม นะวาวียฺ ได้กล่าวถึงฮะดีษนี้ว่า “ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ นางจะไม่ถูกขว้าง จนกว่านางจะคลอดบุตรเสียก่อน ไม่ว่าการตั้งครรภ์นี้จะเกิดจากซินาหรือไม่ก็ตาม นี่เป็นสิ่งที่สอดคล้องกัน เพื่อที่เด็กที่อยู่ในครรภ์จะไม่ถูกฆ่า

            เช่นเดียวกันในกรณีที่การลงโทษของนางคือการโบย(ถ้าหากนางเป็นหญิงโสด-ผู้ แปล) มติเอกฉันท์ของนักนิติศาสตร์อิสลามก็คือจะไม่มีการโบย จนกว่านางจะคลอดบุตรเสียก่อน”(เศาะฮีฮฺ มุสลิม บิ ชัรหฺ อัน-นะวะวียฺ 11/202)


            เหตุการณ์ นี้แสดงให้เราเห็นอย่างชัดเจนถึงขอบเขตที่กฎหมายอิสลาม(ชะรีอะฮฺ)ให้ความใส่ ใจต่อเด็กที่อยู่ในครรภ์ แม้ว่าจะเกิดจากการผิดประเวณีก็ตาม

            ท่านนบีได้ยืดเวลาการลงโทษตามกฎฮุดูด(การลงโทษอาชญากรรม)ที่ ต้องกระทำต่อแม่ เพียงเพื่อรักษาชีวิตของเด็กในครรภ์

            แล้ว เราจะจินตนาการเอาเองได้อย่างไรว่าผู้ออกกฎหมาย(หมายถึง อัลลอฮฺ)ให้ฆ่าเด็กในครรภ์โดยการทำแท้ง เพื่อจะสนองความปรารถนาของผู้ที่ตามอารมณ์และความใคร่กระนั้นหรือ?

           ยิ่ง ไปกว่านั้นผู้ที่กล่าวว่าการทำแท้งนั้นเป็นที่อนุญาตในระยะ 40 วันแรกของการตั้งครรภ์ โดยพวกเขายึดเอาข้อผ่อนปรนตามชะรีอะฮฺ ที่วางอยู่บนหลักการอิจญติฮาดของพวกเขา เช่นเดียวกันกับการถือศีลอดในเดือนรอมฎอนที่ยกเว้นผู้ที่มีอุปสรรค หรือการนมาซย่อในการเดินทางของนมาซสี่เราะกะอะฮฺ

แต่การเน้นของชะรีอะฮฺในเรื่องข้อผ่อนปรนนั้นจะต้องไม่เกี่ยวข้องกับเรื่อง ฝ่าฝืนคำสั่งของอัลลอฮฺ

           อิ มาม อัล-กุรอฟียฺ กล่าวว่า “สำหรับเรื่องการฝ่าฝืนคำสั่ง ของอัลลอฮฺ จะไม่สามารถนำไปเป็นเหตุผลสำหรับการผ่อนปรน เพราะฉะนั้นผู้ที่ออกเดินทางไปเพื่อกระทำบาปก็ไม่สามารถนมาซย่อหรือละศีลอด ได้ อันเนื่องจากสาเหตุของการเดินทางเป็นสิ่งผิด จึงไม่อนุญาตให้มีการผ่อนปรน เพราะว่าการผ่อนปรนที่อยู่บนพื้นฐานของการกระทำบาปนั้นจะเป็นการสนับสนุนผู้ คนให้กระทำบาปมากยิ่งขึ้น”(อัล-ฟุรูกฺ 2/33)

           บน หลักการนี้ พื้นฐานของชะรีอะฮฺจะไม่ผ่อนปรนให้ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ เนื่องจากการผิดประเวณี เหมือนกับการผ่อนปรนให้กับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์เนื่องจากการแต่งงานที่ถูก ต้อง ดังนั้น ชะรีอะฮฺจะไม่ช่วยเหลือหญิงที่ประพฤติชั่ว และหล่อนจะพบว่าไม่ง่ายที่จะเป็นอิสระจากการกระทำที่น่ารังเกียจนี้



           ในเรื่องเกี่ยวกับเด็กที่เกิดจากกรณีซีนาไม่มีผู้ปกครอง เพราะว่า “พ่อ” ตามหลักชะรีอะฮฺนั้นไม่สามารถให้กับใครได้ เว้นแต่เกิดมาจากหญิงที่ผ่านการแต่งงานที่ถูกต้องเท่านั้น นี่คือส่วนหนึ่งของความหมายจากฮะดีษที่ว่า

‏    الْوَلَدُ لِلْفِرَاشِ ‏وَلِلْعَاهِرِ ‏ ‏الْحَجَرُ
متفق عليه (البخاري 2053 - مسلم 1457)

           เด็กเป็นของเจ้าของที่นอน ส่วนผู้ละเมิดประเวณีจะได้ก้อนหิน

(รายงานโดยสอดคล้องกันระหว่าง บุคคอรียฺ 2053 และมุสลิม 1457,)

           กรณี นี้ผู้ปกครองของเด็กที่เกิดจากซีนานั้นคือ ซุลฏอน(ผู้ ปกครองอาณาเขตอิสลาม) เขาคือ วะลียฺ อัล-อัมรฺ(ผู้ปกครอง กิจการมุสลิม) เขาจะเป็นผู้ปกครองให้กับบุคคลที่ไม่มีผู้ปกครอง ซุลฎอนนั้น จะจัดการกับภาระกิจต่างๆเพื่อดำรงไว้ซึ่งผลประโยชน์ของทุกฝ่าย แต่นั้นไม่ได้หมายความว่า การทำลายชีวิตเด็กที่เกิดจากซินาเป็นผลประโยชน์ของผู้เป็นแม่(เพื่อหล่อนจะ ได้รู้สึกอิสระ ไม่ต้องรับผิดชอบ-ผู้แปล) เพราะว่าการทำเช่นนี้จะเป็นการส่งเสริมหล่อนและคนอื่นๆให้กระทำซินาที่ชั่ว ร้ายนี้อีก


           เป็น ไปได้ที่จะหาทางออกโดยการทำแท้ง สำหรับผู้ที่ทำซินา ซึ่งหล่อนได้กระทำสิ่งที่ชั่วร้ายนี้ แต่ต้องการเตาบะฮฺตัวด้วย ความจริงใจ พร้อมๆกับมีความกลัวอย่างยิ่ง(ในด้านอันตรายต่อชีวิต) นี่เป็นหลักใหญ่จากหลักการของชะรีอะฮฺ(ดูรายละเอียดในคำถามที่ผ่านมา) แต่ต้องมีเงื่อนไขว่าจะทำได้ในระยะแรกของการตั้งครรภ์ซึ่งสามารถเป็นไป ได้(เป็นช่วงที่วิญญานยังไม่เข้าสู่ร่างกายของเด็ก-ผู้แปล)

นี่เป็นคำฟัตวาที่ให้ไว้เฉพาะ บุคคลบางคนเท่านั้น ไม่ใช่คำฟัตวาที่ใช้ได้ทั่วไป เพื่อที่จะไม่นำข้อปรนผ่อนนี้ไปใช้ในด้านต่างๆอย่างเปิดกว้าง จนเป็นสาเหตุของการส่งเสริมความชั่วให้ระบาดขึ้นในสังคมมุสลิม วัลลอฮุ อะอฺลัม – อัลลอฮฺคือผู้ที่รู้ดีที่สุด

           (จากหนังสือ อะหฺกาม อัล-ญะนีน ฟี อัล-ฟิกฮฺ อัล-อิสลามียฺ โดย อุมัร อิบนฺ มุฮัมมัด อิบนฺ อิบรอฮีม ฆอนิม)

ความคิดเห็น