อิสลามการการกินอาหาร /ขิง/องุ่น (عِنَبٌ)/ อัรรอยฮาน (اَلرَّيْحَانُ /มะกอก (زَيْتُوْن)

สลามการการกินอาหาร /ขิง/องุ่น  (عِنَبٌ)/ อัรรอยฮาน (اَلرَّيْحَانُ /มะกอก (زَيْتُوْن)





อาหารเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ทุกคน การเลือกบริโภคอาหารที่ดีมีประโยชน์สำคัญสำหรับมนุษย์มาก เพราะอาหารมีผลต่อสุขภาพและจิตใจของมนุษย์ การที่มนุษย์จะมีสุขภาพดีจิตแจ่มใสสมองปลอดโปร่งก็มาจากการเลือกอาหารที่ดีเหมาะกับวัยและสภาพของของมนุษย์ ตรงกันข้าม หากบริโภคอย่างผิดๆ ก็จะเป็นอันตรายต่อร่างกาย


อิสลามกล่าวถึงเรื่องการบริโภคอาหารไว้มากหมายหลายโอกาส การกินในอิสลาม
 มีหลากหลาย อิสลามมองการกินอย่างรอบด้าน อิสลามมิได้ตีกรอบการกินไปที่เหตุและผลแต่ครอบคลุมไปทุกด้าน การบริโภคอย่างอิสลามมิใช่เพื่อสร้างเนื้อหนังมังสาให้แต่เพียงผู้กินแต่ยังสร้างสรรค์สังคมให้เข็มแข็งอีกด้วย
อิสลามมิได้สอนให้ผู้บริโภคมองไปที่ตนเองอย่างเดียว แต่กลับให้มองกว้างถึงสังคมและคนรอบข้าง อิสลามสอนให้มุสลิมรู้จักเลือกกินให้รู้ว่ากินอย่างไรจึงจะได้รับความโปรดปรานจากพระผู้เป็นเจ้า และเลือกกินอย่างไรสังคมจึงจะเป็นสุข ให้เพื่อนบ้านได้อิ่มและในขณะเดียวกันให้ตนเองมีสุขภาพที่ดี

  

อิสลามได้วางหลักโภชนาการเพื่อสร้างจิตสำนึกและแนวทางให้กับมุสลิมในเรื่องของการเลื่อกอาหารและ
 ความผูกพันระหว่างมุสลิมกับพระผู้เป็นเจ้า ผู้ซึ่งประทานปัจจัยยังชีพให้กับมนุษย์และความสัมพันธ์ของ
 การบริโภคกับสังคมดังต่อไปนี้
 1 . อาหารหรือปัจจัยยังชีพเป็นเนียะอฺมัต ที่องค์อัลลอฮ์ทรงประทานให้ ฉะนั้นทุกครั้งที่บริโภคหรือได้รับปัจจัยยังชีพสิ่งที่พึ่งกระทำคือระลึกถึงคุณ ยำเกรงต่ออัลลอฮและขอพรให้เกิดความจำเริญในอาหารนั้น
 2. ต้องเป็นอาหารที่อนุมัติ ( หาลาล ) ในตัวอาหารเองหรือการได้มาของอาหารต้องเป็นการได้มาที่ถูกต้อง โดยหลีกเลี่ยงอาหารที่หารอมหรือซุบฮาต ( คลางแคลงไม่แน่ชัดว่าหาลาลหรือหารอม )
 3. เป็นอาหารที่มีประโยชน์มีคุณค่าทางด้านโภชนาการ ไม่ใช่อาหารที่มีโทษและอันตรายต่อผู้บริโภคหรือเป็นสาเหตุให้เกิดโทษต่อคนรอบข้างหรือต่อสังคม
 4. บริโภคแต่พอควร ไม่ควรบริโภคอย่างฟุ่มเฟือย
5. อนุมัติและส่งเสริมให้บริโภคอาหารที่มีประโยชน์
 2.1 เน้นความสำคัญของอาหารบางชนิด เช่น นม น้ำผึ้ง เนื้อ ผลไม้ และผักต่างๆ
 2.2 เน้นความสะอาดของอาหาร
 2.3 ส่งเสริมให้กินพอสมควร
 
ที่มาจาก   แผนงานสร้างเสริมสุขภาวะมุสลิมไทย



ขิง (زَنْجَبِيْل)
โดย...อาลี เสือสมิง
             ขิง ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Zingiber officinale Roscoe ในวงศ์ Zingiberaceae เหง้ามีกลิ่น รสเผ็ด ใช้ประกอบอาหารและทำยาได้ ขิงแกลงหรือขิงแครงก็เรียก ชาวอาหรับเรียก ขิงว่า ซันญะบีล (زَنْجَبِيْل ) เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาเปอร์เซีย มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย
             ในคัมภีร์อัลกุรอาน ระบุคำว่า ซันญะบีล (زَنْجَبِيْل ) เอาไว้ 1 แห่ง ในบทอัดดะฮฺร์ อายะฮฺที่ 17 ซึ่งมีใจความว่า
           “ชาวสวรรค์จะถูกเสริฟน้ำด้วยภาชนะเครื่องดื่มที่ปนหรือเจือขิง
              ท่านอัลกุรฏุบีย์ (ร.ฮ) กล่าวว่า ชาวอาหรับจะดื่มด่ำกับเครื่องดื่มที่มีขิงเจือหรือผสม เพราะให้กลิ่นหอมละมุน ทำให้ลิ้นสะอาด และช่วยย่อยอาหารได้ดี
             อัซซันญะบีล (اَلزَّنْجَبِيْل ) – Zingiber Ginger – เป็นสมุนไพรที่มีกลิ่นหอม มีอายุขัย มีลำต้นสูงประมาณ 1.5 เมตร ใบเหมือนหอกมีสีเขียวเข้ม บ้างก็ว่า ขิง มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่แหล่งผลิตจะอยู่ในเขตศูนย์สูตรของแอฟริกาและอินเดีย ชาวจีนและอินเดียรู้จักใช้ขิงเป็นยารักษาโรคและเครื่องเทศนับแต่สมัยโบราณ
             กาลิโนส กล่าวว่า : ขิงมีสรรพคุณในการให้ความร้อนสูง หากเราต้องการให้ร่างกายอบอุ่นในเวลาอันรวดเร็วก็ต้องกินขิง
              มีรายงานระบุว่า : กษัตริย์ แห่งโรมันได้เคยมอบขิงจำนวนหนึ่งให้เป็นของกำนัลแก่ท่านศาสดา (ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) แล้วท่านได้แบ่งให้ผู้คนนำไปทำอาหารส่วนหนึ่ง ให้ท่านอบูสะอีด อัลคุดรีย์ (ร.ฎ) ส่วนหนึ่ง (บันทึกโดย อบูนุอัยม์ในอัฏฏิบบุนนะบะวีย์)
             ท่าน อิบนุ อัลก็อยยิม (ร.ฮ) ระบุว่า : กล่าวโดยรวมแล้ว ขิงมีประโยชน์ต่อตับและกระเพาะ น้ำขิงคั้นมีสรรพคุณบำรุงกำลัง เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ เพิ่มน้ำอสุจิ และทำให้จดจำดี
             อิบนุ ซีนา กล่าวถึงสรรพคุณของขิงว่า : เพิ่มความจำ ลดอาการปวดไมเกรนและอาการคอแห้ง มีฤทธิ์ป้องกันอากาศเป็นพิษ
             อย่าง ไรก็ตาม ขิง มีส่วนประกอบที่มีรสเผ็ด ควรรับประทานแต่พอดี ไม่ควรรับประทานมากเกินไป เพราะจะเป็นผลอันตรายต่อเยื่อบุทางเดินอาหารและระบบการย่อย ขิงยังมีสรรพคุณทำให้กระปี้กระเป่า กระตุ้นการเต้นของหัวใจและระบบการหายใจ ไล่ลม บรรเทาอาการเจ็บกระเพาะได้ดีอีกด้วย

ขออนุญาตเสริมข้อมูลงานวิจัยเกี่ยวกับขิงในด้านความปลอดภัยในการบริโภคค่ะ  

ขิง:ข้อควรระวังในการบริโภค 
1. การใช้น้ำสกัดจากขิงที่เข้มข้นมากๆ จะให้ผลตรงข้าม คือ จะไประงับการบีบตัวของลำไส้จนทำให้ลำไส้หยุดบีบตัว ดังนั้นการดื่มน้ำที่สกัดจากขิงไม่ควรใช้น้ำเข้มข้นมากเกินไป 

2. การทดลองในหนูพบว่า เมื่อใช้สารสกัดขิง (สกัดด้วยน้ำ) อาจมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของโครโมโซม เมื่อให้ในขนาด 10 ก./กก. 

3. มีรายงาน การบริโภคน้ำขิงอาจก่อให้เกิดการแพ้ได้ อาการแพ้ที่พบได้แก่ ผื่นคันตามร่างกาย 

4. การทดลองในหนูซึ่งตั้งท้องกินน้ำผสมน้ำชงขิง (20 ก./ลิตร) เมื่อหนูตั้งท้องวันที่ 6-15 พบว่าทำให้หนูแท้งลูกมากกว่ากลุ่มควบคุม 2 เท่า  รายงานอีกฉบับแสดงผลของสารสกัดขิงด้วยอัลกอฮอล์ (95%) เมื่อป้อนให้หนูขาวที่ท้อง ไม่พบว่ามีผลต่อตัวอ่อนแต่อย่างใด เนื่องจากมีรายงานการใช้สมุนไพรขิงในตำรายาทำแท้ง จึงควรระมัดระวังไม่ใช้เกินขนาดในหญิงมีครรภ์ แต่อย่างไรก็ตามมีผู้ศึกษาในหนูขาวบางการศึกษา พบว่าไม่ทำให้เกิดการแท้งแต่อย่างใด 

5. มีผู้ศึกษาฤทธิ์ในการก่อกลายพันธุ์ของขิงหลายกลุ่ม สารสกัดขิงด้วยน้ำร้อนมีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ (เมื่อตรวจสอบโดยใช้ B2911 cell และ Salmonella typhimurium strain TA100 แต่ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ใน strainTA98) เนื่องจากมีสารสำคัญในขิงหลายชนิดที่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ ได้แก่ 6-gingerol และ shogaol (โดยมีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ ใน S. typhimurium TA100 แต่ไม่มีผลใน TA 98 และ 6-gingerol มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ใน E. coli strain HS 30) บางการศึกษาพบว่า น้ำคั้นจากขิงจะมีฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ และยับยั้งการก่อกลายพันธุ์ของ 6-gingerol และยังมีผู้รายงานสนับสนุนฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ของน้ำคั้นจากขิง ตัวอย่างคือ สาร Safrole เป็นสารต้านการก่อกลายพันธุ์ที่พบในขิงอีกชนิดหนึ่ง แต่จะสลายตัวได้ง่ายเมื่อได้รับความร้อน 70 C นาน 30 นาที หรือการฉายแสง หรือการต้มเดือดเพียง 1-5 นาที ทำให้สารดังกล่าวไม่ออกฤทธิ์

 6. มีรายงานพบว่าการให้ขิงในขนาดสูง อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการจับตัวของเกร็ดเลือด ทำให้เลือดออกง่าย แต่จะหายไปหลังจากหยุดรับประทาน 1 อาทิตย์ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์ Thromboxane synthetase และเสริมฤทธิ์ prostacyclin อาจต้องระวังในผู้ป่วยที่กำลังรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด เช่น heparin warfarin และ aspirin รวมทั้งผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องการจับตัวของเกร็ดเลือดควรระมัดระวังการบริโภคน้ำขิง และควรปรึกษาแพทย์ 7. มีรายงานการเกิดความเป็นพิษ ของผนังลำไส้เมื่อได้รับขิงในขนาด 6 ก. ซึ่งอาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ 8. เนื่องจากขิงมีฤทธิ์ขับน้ำดี จึงไม่ควรใช้ในผู้ที่มีปัญหานิ่วในถุงน้ำดี และควรปรึกษาแพทย์ก่อนการบริโภคน้ำขิง


เอกสารอ้างอิง Backon J. Ginger as an antiemetic: possible side effects due to its thromboxane synthetase activity. Anaesthesia 1991;46:705-6. Bordia A, et al. Effect of ginger (Zingiber officinale Roscoe) and fenugreek (Trigonella foenum graecum L.) on blood lipids, blood sugar and platelet aggregation in patients with coronary artery disease. Prostaglandins, Leukotrienes and Essential Fatty Acids. 1997;56:379-84. Farag SE, Abo-Zeid M. Degradation of the natural mutagenic compounds safrole in spices by cooking and irradiation. Die Nahrung 1997;41(6):359-61. Fischer-Rasmussen W, Kjaer S, Dahl C, et al. Ginger treatment of hyperemesis gravidarum. Eur J Obstet Gynecol Reprod Biol 1990;38:19-24. Iwlkinson JM. Effect of ginger tea on the fetal development of Sprague-Dawley rats. Reproduct Toxicol 2000;14(6):507-12. Lumb A. Effect of dried ginger on human platelet function. Thrumb Haemost 1994;71(1):110-1. Mahmoud I, Alkofahi A, Abdelaziz A. Mutagenic and toxic activities of several spices and some Jordanian medicinal plants. Int J Pharmacog 1992;30(2):81-5. Mukhopadhyay MJ, Mukherjee A. Clastogenic effect of ginger rhizome in mice. Phytother Res 2000;14(7):555-7. Pang HA, Lee YW, Suh NJ, Chang IM. Toxicological study on Korean tea materials: screening of potential mutagenic activities by using SOS-chromotest. Korean J Pharmacog 1990;21(1):83-7. Ramos Ruiz A, De la Torre RA, Alonso N, Villaescusa A, Betancourt J, Vizoso A. Screening of medicinal plants for induction of somatic segregation activity in Aspergillus indulans. J Ethnopharmacol 1996;52(3):123-7. Schimmer O, Kruger A, Paulini H, Haefele F. An evaluation of 55 commercial plant extracts in the Ames mutagenicity test. Pharmazie 1994;49(6):448-51.  Weidner MS, Sigwart K. Investigation of the teratogenic poteintial of Zingber officinale extract in the rat. Report Toxicol 2001;15(1):75-80. Weidner MS, Sigwart K. The safety of a ginger extract in the rat. J Ethnophar-macol 2000;73:513-20. World Health Organization. WHO monographs on selected medicinal plants. Volume I, Hong Kong:Malta, 1999.

---ซิลเวีย อิรฟาน---
credit แหล่งเดียวกัน


                                                               
           
พันธุ์ไม้และสมุนไพรในอัลกุรอาน : 2. องุ่น  (عِنَبٌ)
           
           

           
โดย...อาลี เสือสมิง
           
                          ชื่อไม้เถาชนิด  Vitis  vinifera  Linn  ในวงศ์  Vitidaceae  ผลเป็นพวง  กินได้หรือใช้หมักทำเหล้า  เรียกเหล้าองุ่น  ในภาษาอาหรับเรียก  “องุ่น”  ว่า  อินะบุน  (عِنَبٌ)  มีรูปพหูพจน์ว่า  อะอฺนาบุน  (أعْنَابٌ )  คำว่า  “อินะบุน”  ถูกกล่าวในคัมภีร์อัลกุรอาน 2 แห่งคือ  ในบท  อัลอิสรออฺ  อายะฮฺที่ 91  และบทอะบะซะ  อายะฮฺที่  28  ส่วนคำว่า  “อะอฺนาบุ้”   ถูกกล่าวไว้  9  แห่งด้วยกัน   รวมทั้งหมด  11 แห่ง   ในจำนวนนี้มีอยู่ 6 แห่งที่พระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ)   ทรงระบุเรื่อง  “องุ่น”   ไว้เกี่ยวกับบรรดาความโปรดปรานของพระองค์ที่ทรงประทานให้กับมวลบ่าวของพระองค์ในโลกนี้และในสวนสวรรค์
           
              ท่านอิบนุ อัลก็อยยิม (ร.ฮ)  กล่าวว่า :  องุ่นเป็นผลไม้ที่ประเสริฐสุด   มีประโยชน์ที่สุด  รับประทานได้ทั้งสด  แห้ง  เขียว  และสุก  เป็นผลไม้ที่ร่วมกับผลไม้ต่างๆ  เป็นอาหารพร้อมกับอาหารหลัก  เป็นแกงพร้อมกับน้ำแกงอื่น  เป็นยาพร้อมกับบรรดายาทั้งหลาย  เป็นเครื่องดื่มร่วมกับเครื่องดื่มต่างๆ มีธรรมชาติเหมือนกับธัญพืช คือ ร้อนและเย็น
           
           
              องุ่นที่ดีคือ องุ่นผลใหญ่ น้ำมาก  องุ่นขาวดีกว่าองุ่นดำ  เมื่อมันมีรสหวานเท่ากัน  ผลองุ่นที่ถูกเด็ดและปล่อยไว้ 2 วันหรือ 3 วัน ย่อมดีกว่าผลองุ่นที่ถูกเด็ดในวันแรก  องุ่นมีสรรพคุณดีต่อท้อง  ทำให้ถ่ายง่าย  องุ่นที่ติดอยู่กับต้นจนเปลือกลีบ ดีสำหรับการบริโภคเป็นอาหาร ทำให้ร่างกายแข็งแรง  สารอาหารขององุ่นมีสรรพคุณเหมือนกับมะเดื่อและลูกเกด  แต่การกินองุ่นมากๆ  อาจทำให้ปวดศีรษะได้  ให้กินทับทิมหรือกล้วยแก้
           
              สรรพคุณขององุ่นทำให้อารมณ์ดีและทำให้มีน้ำมีนวล  ถือเป็นราชาผลไม้หนึ่งในสามชนิด คือ องุ่น, อินทผลัม และมะเดื่อ  (ซาดุ้ลม่าอ๊าด ฟี ฮัดยิค็อยริ้ลอิบ๊าด, อิบนุ อัลก็อยยิม เล่ม 3 หน้า 284)  มีรายงานระบุว่า  ท่านศาสดา  (ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)  ชอบรับประทานองุ่นและแตงโม
           
              เมล็ดองุ่นมี  OPC  (Oligomericproanthocyanidins)  ซึ่งเป็นสารที่จัดอยู่ในกลุ่ม  ไบโอฟลาโวนอย1ด์  ที่มีมากในพืช  กล่าวกันว่า  โอพีซี มีฤทธิ์เป็นสารล้างพิษที่ดีกว่า  ไวตามินซี และไวตามินอี  ถึง  50  เท่าในการกำจัดสารพิษที่เกิดภายในเนื้อเยื่อทั่วไปและในเนื้อเยื่อไขมัน
           
           
              นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติในการล้างผนังหลอดเลือดให้สะอาด  เพื่อให้เลือดไหลไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้สะดวกและคล่องตัว  โดยเฉพาะที่สมองและปลายมือ  ปลายนิ้ว   แถมยังมีผู้อ้างว่า  สาร โอพีซี  ป้องกันบอดตาไส อันเกิดจากความเสื่อมของประสาทรับแสงที่จอภาพด้านหลังของลูกตาได้ด้วย  นอกจากนี้  สารโอพีซี  จะมีอยู่ในเปลือกขององุ่นแดงเป็นส่วนใหญ่ มีสรรพคุณป้องกันโรคหัวใจอีกด้วย  (นายแพทย์สุวัฒน์ จันทร์จำนง,  อาหารกับสุขภาพ  (2547)  สำนักพิมพ์สุขภาพใจ หน้า 103-104)
           
              เมล็ดองุ่นมีสรรพคุณมากขนาดนี้ คราวหน้ากินองุ่นอย่าบ้วนเม็ดองุ่นทิ้งเสียล่ะ เคี้ยวไปกับเนื้อองุ่นเลย ขมหน่อยฝาดนิดแต่มีประโยชน์นะ  จะบอกให้                        

 ที่มา  http://learners.in.th/blog/thephariski/360571
           


 พันธุ์ไม้และสมุนไพรในอัลกุรอาน : อัรรอยฮาน (اَلرَّيْحَانُ)
โดย...อาลี เสือสมิง
             
         อัรรอยฮาน (اَلرَّيْحَانُ ) ท่านอิบนุ อัลก็อยยิม (ร.ฮ) กล่าวว่า : อัรรอยฮาน คือ พืชทุกชนิดที่มีกลิ่นหอม (ฉุน) แต่ละดินแดนเรียกชื่อต่างกัน ชาวมัฆริบ (ดินแดนตะวันตกของโลกอิสลามในแอฟริกาเหนือ) เรียกว่า อัลอาซฺ (اَلآسُ ) ซึ่งชาวอาหรับรู้จักกันว่า อัรรอยฮาน (اَلرَّيْحَانُ) ส่วนชาวอิรักและชาม (ซีเรีย) เรียกว่า อัลฮับกุ้ (اَلْحَبْقُ)
            โดย ทั่วไปแล้วอัรรอยฮาน ได้แก่ พืชจำพวก กะเพรา, โหระพา, สาระแหน่, ผักชี ฯลฯ              *  กะเพรา  ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Ocimum tenuiflorum Linn.ในวงศ์ Labiatae กลิ่นฉุน ใช้ปรุงอาหาร พันธุ์ที่กิ่งและก้านใบสีเขียวอมแดง เรียก กะเพราแดง ใช้ทำยาได้     *  โหระพา  ชื่อไม้ล้มลุกชนิด 
Ocimum basilicun Linn. ในวงศ์ Labiatae ใบมีกลิ่นฉุน กินได้    *  สะระแหน่ ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Mentha cordifolia Opiz ในวงศ์ Labiatae ใบมีกลิ่นฉุน กินได้   *  ผักชี ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Coriandrum satirum Linn. ในวงศ์ Umbelliferae ทั้งต้นมีกลิ่น ใช้เป็นผัก เรียกว่า ผักชี ดอกเล็กสีขาว ผลกลมมีกลิ่นฉุน เมื่อแก่ใช้เป็นเครื่องเทศ, ชีฝรั่ง:  ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Eryngium foetidum Linn.ในวงศ์ Umbelliferae ใบยาวรีขอบจัก กลิ่นฉุน ใช้แต่งกลิ่นอาหาร
             ใน คัมภีร์อัลกุรอาน ระบุถึง อัรรอยฮาน เอาไว้ 2 แห่ง คือ ในบทอัรเราะฮฺมาน อายะฮฺที่ 12 และบทอัลวากิอะฮฺ อายะฮฺที่ 89  โดยกล่าวถึงเรื่องราวของสวนสวรรค์ที่พระผู้เป็นเจ้า (ซ.บ) ทรงประทานให้กับผู้ศรัทธา  ซึ่งในสวนสวรรค์นั้นมี “รอยฮาน” คือพืชที่ส่งกลิ่นหอม ในบทอัรเราะฮฺมานนั้น ระบุถึงว่า ในโลกใบนี้ซึ่งพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ) ทรงให้มนุษยชาติอาศัยอยู่ มีผลหมากรากไม้ มีต้นอินทผลัมที่มีทะลาย และเมล็ดธัญพืชที่มีเปลือก และอัรรอยฮาน คือ พืชพันธุ์ที่มีกลิ่นหอม
             มี รายงานระบุว่า : ผู้ใดถูกเสนอรอยฮานให้แก่เขา เขาก็จงอย่าปฏิเสธ เพราะแท้จริง รอยฮานนั้นเบาในการถือ มีกลิ่นหอมดี             (บันทึกโดยมุสลิม)              อีกรายงาน หนึ่งระบุว่า : เมื่อผู้หนึ่งในหมู่พวกท่านถูกมอบอัรรอยฮานให้ ผู้นั้นก็จงอย่าปฏิเสธอัรรอยฮานนั้น เพราะมันมาจากสวนสวรรค             (บันทึกโดย อบูดาวูด และอัตติรมีซีย์)
  
             อัร รอยฮาน ชนิดที่เรียกว่า อัลอ๊าซฺ (الآس) เป็นไม้ล้มลุกในวงศ์ Myrtacees มีความสูงถึง 2 เมตร มีกิ่งก้านสาขาที่มีตุ่มให้กลิ่นหอม  มักขึ้นอยู่ในที่โล่งเชิงเขา  และนิยมปลูกในเขตที่มีน้ำมากและริมฝั่งแม่น้ำ  กิ่งของมันจะสดอยู่เป็นเวลานาน  กล่าวกันว่า แหล่งกำเนิดเดิมของมันอยู่ในดินแดนเปอร์เซีย  ต่อมาชาวอาหรับนำมาแพร่หลายในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและในสเปน แต่ชาวอาหรับในดินแดนตะวันตก เรียกว่า อัรรอยฮาน  
             ผล ของมันเรียกว่า ฮับบุลอ๊าซ อัลฮับล๊าส  ใบของมันมีน้ำมันหอมระเหยทำให้สดชื่นและไล่แมลงได้  เมื่อนำเอาใบอัลอ๊าซ (รอยฮาน) ที่แห้งมาบดและโรยที่แผลเริม จะมีผลดี และใช้ดับกลิ่นใต้วงแขนได้ดี  อัลอ๊าซยังมีสรรพคุณทำให้รากผมแข็งแรงและดำเงางาม  ผลของอัลอ๊าซ ที่เรียกว่า อัลฮับล๊าส มีสรรพคุณบรรเทาอาการเสมหะที่ปนเลือดในหน้าอกและปอด เคลือบกระเพาะอาหาร  มีประโยชน์ต่ออาการท้องเดิน  ขับปัสสาวะ และบรรเทาอาการเหงือกบวมอักเสบ  ตลอดจนแก้พิษของแมงมุมและแมงป่อง
  
             อัล บัฆดาดีย์ ระบุว่า : การสูดดม อัลอ๊าซ จะช่วยบรรเทาอาการปวดหัว              อัลฮับกุ้ (اَلْحَبْقُ– Sweet Basil) คือรอยฮานของเมืองชาม (ซีเรีย) น่าจะมีแหล่งกำเนิดเดิมในอินเดีย เป็นสมุนไพรที่มีกลิ่นหอม ในวงศ์ S,Labiee เป็นไม้ประดับ  มีความสูงประมาณ 50 ซ.ม. ใบสีขาวมีขอบหยัก  ดอกมีสีขาวอมแดงเล็กน้อย  นิยมใช้เป็นเครื่องเทศเพื่อแต่กลิ่นของอาหาร อิบนุ อัลก็อยยิม (ร.ฮ) ระบุว่า  การสูดดม อัลฮับกุ้  จะบรรเทาอาการปวดศีรษะ เนื่องจากความร้อน  ทำให้หลับดี  เมล็ดของมันทำให้อาการท้องร่วงบรรเทาและบำรุงหัวใจ

             ท่าน อิบนุ ซีนา ระบุว่า  อัลฮับกุ้ มีสรรพคุณรักษาอาการริดสีดวงทวาร  อาการวิงเวียนศีรษะและเลือดกำเดาออก ในบ้านเรา มีตำรับอาหารไทยที่นิยมใส่พืชจำพวกอัรรอยฮานอยู่หลายอย่าง  ที่นิยมที่สุดแบบอาหารจานด่วนก็คงเป็นผัดกะเพรา  กล่าวกันว่า สูตรผัดกะเพราที่แพร่หลายไปทั่วในปัจจุบันนั้น  เพิ่งจะมีมาเมื่อ 30-40 ปีที่ผ่านมา  โดยเริ่มต้นที่เมืองพัทยาเป็นที่แรก

http://www.alisuasaming.com/Word/hml_word/Book/plantquran08.html




มะกอก (زَيْتُوْن)
โดย...อาลี เสือสมิง
มะกอก (زَيْتُوْن ) ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ Spondias pinnata Kurz ในวงศ์ Anacardiaceae ใบอ่อนมีรสเปรี้ยว ใช้เป็นผักดิบ ผลขนาดลูกหมากดิบ เมื่อสุกมีรสเปรี้ยวเจือฝาดใช้ปรุงอาหาร รากและเมล็ดใช้ทำยาได้, มะกอกบ้าน หรือมะกอกป่า ก็เรียก
              มะกอกฝรั่ง ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Spondias cytherea Sonn ในวงศ์ Anacardiaceae ผลใหญ่ เนื้อหนากรอบ กินดิบๆ ได้
              มะกอก น้ำ ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Elaeocarpus hygrophilus Kurz ในวงศ์ Elaeocarpaceae มักขึ้นริมน้ำ ผลเล็กรี รสเปรี้ยวฝาด ใช้ดองเป็นอาหาร
             ชาวอาหรับเรียกมะกอกรวมๆ ว่า ซัยตูน” (زَيْتُوْن ) ซึ่งมาจากคำว่า ซัยตฺ (زَيْتٌ ) คำว่า ซัยตฺยังหมายถึง น้ำมันที่สกัดจากมะกอกหรือน้ำมันพืชโดยทั่วไป เช่น ซัยตฺซัยตูน (น้ำมันมะกอก), ซัยตฺซุรเราะฮฺ (น้ำมันข้าวโพด) และซัยตฺอันนัคละฮฺ (น้ำมันปาล์ม) เป็นต้น
              คำ ว่า ซัยตฺถูกระบุไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน 1 แห่งในบทอันนู๊ร อายะฮฺที่ 35 มีใจความว่า: อัลลอฮฺทรงเป็นดวงประทีปแห่งชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน อุปมาดวงประทีปของพระองค์เสมือนดังช่องตามผนังที่มีตะเกียงอยู่ภายใน ตะเกียงนั้นอยู่ในโคมแก้ว อันโคมแก้วนั้นประหนึ่งดังดวงดาวที่ประกายแสงมลังมเลือง โดยมันถูกจุดขึ้นจาก (น้ำมัน) ของต้นไม้ที่มีความจำเริญ คือ ต้นมะกอก มันมิได้อยู่ทางตะวันออก และมิได้อยู่ทางตะวันตก น้ำมันของมันแทบจะประกายแสงออกมา แม้นว่าไฟมิได้สัมผัสมันก็ตาม..
              ที่ ว่า ต้นมะกอกไม่ได้อยู่ทางตะวันออก และมิได้อยู่ทางตะวันตกนั้น เพราะมันเป็นไม้ยืนต้นที่ขึ้นอยู่ในเขตทะเลทรายของดินแดนกึ่งกลางของโลกตาม แผนที่ ความร้อนและแสงแดดได้แผดเผาผลมะกอกจนสุกงอม และน้ำมันที่สกัดจากผลมะกอกนั้นก็ใสสะอาด ความใสสะอาดของน้ำมันมะกอกเกือบจะประกายแสงออกมาในตัวมันเอง แม้ ว่าจะไม่ได้เอาไฟไปจุดให้มันลุกโพลง ความของอายะฮฺนี้เป็นการอุปมาอุปมัยความบริสุทธิ์แห่งหลักคำสอนของอิสลามที่ พระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ) ทรงประทานให้กับเหล่ามวลบ่าวนอกเหนือจากความมหัศจรรย์ของต้นมะกอกและน้ำมัน ของมัน
              ส่วน คำว่า อัซซัยตูนนั้นถูกระบุไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน 6 แห่งด้วยกัน ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวของสวนผลไม้ที่มีผลไม้หลากชนิด และกล่าวถึงผลไม้ในสวนสวรรค์ พระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ) ทรงสาบานด้วยมะเดื่อและมะกอกในบทอัตตีน อายะฮฺที่ 1 ซึ่งนักวิชาการอธิบายว่าการสาบานด้วยมะเดื่อและมะกอกเป็นนัยระบุถึง ภูเขามะกอกเทศ ในดินแดนปาเลสไตน์ ซึ่งเป็นนิวาสถานของท่านศาสดาอีซา (อะลัยฮิซซลาม)
              ทั้ง นี้นับแต่สมัยโบราณเมื่อหลายพันปีก่อน ดินแดนปาเลสไตน์มีการเพาะปลูกมะกอกและมะเดื่อ มีหลักฐานยืนยันว่า ชาวยะบู๊ส ซึ่งเป็นชาวคะนาอัน (กันอาน) เป็นกลุ่มชนรุ่นแรกๆ ที่ทำการเพาะปลูกมะกอก มะเดื่อ และองุ่น ในดินแดนนี้ และยังรู้จักการสกัดน้ำมันจากผลมะกอกอีกด้วย
              มี อัลฮะดีษระบุว่า พวกท่านจงรับประทานมะกอกและทาด้วยน้ำมันมะกอกเพราะ น้ำมันมะกอกนั้นมาจากต้นไม้ที่จำเริญ” (จากท่านอบูฮุรอยเราะฮฺ (ร.ฎ) บันทึกโดย อัตติรมิซีย์และ อิบนุมาญะฮฺ) และอีกบทหนึ่งระบุว่า พวกท่านจงทำน้ำแกงด้วยผลมะกอก (หรือน้ำมันมะกอก) และทาด้วยน้ำมันมะกอก เพราะมันมาจากต้นไม้ที่จำเริญ” (จากท่านอิบนุ อุมัร (ร.ฎ) บันทึกโดย อัลบัยฮะกีย์ และ อิบนุมาญะฮฺ)
              ท่าน อิบนุ อัลก็อยยิม (ร.ฎ) ระบุว่า มะกอกมีสรรพคุณร้อน น้ำที่ถูกคั้นจากผลมะกอกสุกถือว่ามีประโยชน์มาก ผลสีดำมีสรรพคุณล้างพิษและเป็นยาระบาย ขับพยาธิ และชะลอความแก่ น้ำผลมะกอกที่ผสมเกลือจะบรรเทาอาการพุพองของแผลที่เกิดจากไฟไหม้ ทำให้เหงือกแข็งแรง ใบมะกอกมีสรรพคุณแก้ผื่นผดคัน งูสวัด เริม และห้ามเลือด (ซาดุ้ลมะอ๊าด, อิบนุ อัลก็อยยิม 3/272)      
              นักการ แพทย์สมัยใหม่ได้วิจัยถึงสรรพคุณของมะกอกและน้ำมันมะกอก พบว่า การบริโภคอาหารของพลเมืองรอบๆ เขตทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (ยุโรปตอนใต้-แอฟริกาเหนือ-เอเชียน้อย) ที่มีส่วนผสมของมะกอกและน้ำมันมะกอกมีอัตราของผู้ป่วยด้วยโรคเส้นเลือดหัวใจ ตีบมีน้อยกว่าในภูมิภาคอื่นๆ ผลการวิจัยยังพบอีกว่า น้ำมันมะกอกสามารถลดปริมาณคลอเรสเตอรอลในเลือด และมีผลป้องกันโรคมะเร็งในเต้านมสำหรับสตรีที่รับประทานน้ำมันมะกอกเป็น ประจำอีกด้วย


ความคิดเห็น