เกล็ดเล็กน้อย ฃาวดาริด “ผู้ที่ถูกคนในชนชั้นทางสังคมที่เหนือกว่าตั้งใจเหยียบย่ำทำลาย” เรื่องการหย่าสามครั้งในอิสลาม จากการดูงานที่อินเดีย

เกล็ดเล็กน้อย เรื่องการหย่าสามครั้งในอิสลาม จากการดูงานที่อินเดีย
ชุมพล ศรีสมบัติ

     ผมเป็นหนึ่งในสองของผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจากแผนงานสร้างเสริมสุภาวะ มุสลิมไทย (สสม.) ให้ได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการเสริมสร้างภาวะการนำเพื่อสร้างความเป็นธรรมทาง สุขภาพ (นธส.) ซึ่งเป็นหลักสูตรหนึ่งในการสร้างและพัฒนาบุคคลากรของแผนงานฯ ต่าง ๆ ที่ ทำงานอยู่ภายใต้สำนัก 9  ของ สสส. โดยมีเป้าหมาย เพื่อ “เสริมสร้างภาวะการนำที่มีความสุขและความสมดุลในงานและชีวิต ที่ขับเคลื่อนด้วยพลัง กระบวนทัศน์และจิตวิญญาณ เพื่ออำนวยให้เกิดปัจจัยทางสังคมและสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างความ เป็นธรรมทางสุขภาพในประชากรกลุ่มเฉพาะ” โครงการฯใช้เวลาดำเนินงานทั้งหมดหนึ่งปีกับ หกเดือน ประกอบด้วย 7 หลักสูตรรวมถึงโครงการปฏิบัติการ

         มีหนึ่งหลักสูตรที่ถูกกำหนดดูงานที่ประเทศอินเดีย คือหลักสูตร ที่ 4 ชื่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างความเหลี่ยมล้ำไปสู่ความเท่าเทียมและความเป็น ธรรมในสังคม  พวกเรามาถึงประเทศอินเดีย โดยเริ่มจากเมืองมุมใบ หลังจากพักผ่อนนอนหลับ เช้าวันแรก ทางโครงการฯ ได้พาพวกเราทั้งหมด 40 ชีวิต ไปดูขบวนการทำงานของกลุ่มชุมชนชาวพุทธดาลิด( จัณฑาล ) ซึ่งเป็นกลุ่มไม่มีวรรณะ เป็นกลุ่มที่ห้ามแตะต้องยุ่งเกี่ยวและมีตราบาป ส่วนคำว่าดาริด หมายถึง “ผู้ที่ถูกคนในชนชั้นทางสังคมที่เหนือกว่าตั้งใจเหยียบย่ำทำลาย” ด้วยโครงสร้างทางสังคมในวัฒนธรรมของอินเดียเช่นนี้   จึงเสี่ยงต่อการถูกกีดกัน ลดทอนความเป็นมนุษย์ ถูกดูถูก และต้องเผชิญความรุ่นแรงอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน

       ที่เมืองมุมใบ ในวันที่ สองพวกเราแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม ผมเลือกไปดูงานที่ Majlis (ศูนย์กฏหมายมาฮ์จิส) เป็นองค์กร การศึกษาและเสริมพลัง ผู้หญิงเกี่ยวกับสิทธิทางกฏหมายของสตรี และนักเคลื่อนไหวชาวมุสลิม ทีทำงานเพื่อส่งเสริมสิทธิของผู้หญิงมุสลิม ทำงานเชื่อมโยงกับเหยื่อของความรุนแรง รวมทั้งผู้พิพากษา ตำรวจ ทนายความ ผู้ให้คำปรึกษา และนักสังคมสงเคราะห์ เพื่อช่วยให้พวกเขาปกป้องสิทธิของผู้หญิงได้อย่างมีประสิทธภาพ และสร้างวัฒนธรรมเรื่องสิทธิสตรีให้เกิดขึ้นในสังคม
    

   เราได้พูดคุย กับ นอชิน นัก กฏหมายสาวมุสลิม ซึ่งนับได้ว่าเธอทำงานด้านกฏหมายเกี่ยวกับสตรีกรณีผู้หญิงที่ถูกฟ้อง หย่า      ประเด็น ที่น่าสนใจ หรือที่ผมสนใจมาก คือประเด็น การหย่า สาม ครั้ง ของ คนมุสลิม เธอเล่าให้ฟังว่า ตอนเมือเธอยังเด็กเธอได้เห็น คุณลุงของเธอ บอกหย่า กับคุณป้า ของเธอ สามครั้ง ก็ถือเป็นอันว่าต้องขาดกัน คุณป้าของเธอกลายเป็นหญิงหม้ายต้องทิ้งลูกตั้ง 5 คนไว้กลายเป็นหญิงหม้ายที่ไม่มีที่พึ่งไร้เกียรติ์ในสังคม เธอเคยคิดว่า กฏหมาย อิสลามช่างไม่ยุติธรรมต่อผู้หญิงเลย

           เธอมุ่งมั่นเรียนกฏหมาย จนจบ และเธอก็มาทำงานในประเด็นผู้หญิง เธอให้ความรู้ในเรือง ของการหย่า สำหรับ ผู้หญิงมุสลิม ไม่ใช่พูดสามครั้ง แล้วจบ แต่ในกฏหมายอิสลามนั้น มีเงื่อนไข ในการหย่า เพราะไม่ใช่เรื่องของปัจเจก แต่เป็นผลกระทบของคนหลายคน ตั้งแต่ครอบครัว สังคม ชุมชน การที่การหย่าจะมีผลสมบรูณ์ เธอบอกว่า มีเงื่อนไข ว่า หนึ่งต้องมีเหตุอันสมควร สองต้องมีสภาพจิตใจที่สมบรูณ์ และผู้ที่มีอิดดะคือ ระยะเวลาที่บรรดาหญิงรอคอยและไม่สามารถแต่งงานใหม่หลังจากสามีเสียชีวิตหรือ หย่าจากนางไป
            การหย่า ๓ ครั้งในที่นี้ ไม่ได้หมายความว่าสามีกล่าวกับภรรยาว่า “ฉันขอหย่าเธอ ๓ ครั้ง” ในวาระโอกาสเดียวกัน ทว่า หมายถึงเป็นการแสดงเจตนารมณ์ ว่าจะหย่าในต่างกรรมต่างวาระกัน ๓ ครั้ง และแต่ละครั้งจะต้องรอให้ครบกำหนด (อิดดะฮฺ) กล่าวคือ ๓ เดือนกับ ๑๐ วัน (๑๐๐ วัน) การหย่า จะต้องมีพยานบุคคลรับรู้ (ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้พยานได้ไกล่เกลี่ยประนีประนอมทั้งสองฝ่าย)
           หญิงที่อยู่อิดดะฮฺจากการหย่าที่มีสิทธิ์คืนดีได้ ต้องพักที่บ้านของสามี นางจักต้องได้รับค่าเลี้ยงดูและที่พักอาศัย เพราะนางยังมีสภาพเป็นภรรยาอยู่ และไม่อนุญาตขับไล่นางออกจากบ้านของสามี เว้นแต่นางได้ประพฤติในสิ่งที่ไม่เหมาะสมอย่างชัดแจ้งจากคำพูด หรือการกระทำ ที่จะสร้างความเสื่อมเสียให้กับสมาชิกในครอบครัว          
           เมื่อพิจารณาจากกฎหมายอิสลามเกี่ยวกับการหย่าร้าง จะเห็นได้ว่าเป็นกฎหมายที่ละเอียดอ่อน รัดกุม ครอบคลุมถึงสิทธิของทุกฝ่าย โดยเฉพาะสิทธิสตรีที่่เป็นภรรยา 
วัลลอฮุอาลัม
ชมภาพบรรยายเมืองมุมใบ บางมุมในประเทศอินเดีย












ความคิดเห็น