ชุมชนมุสลิมป่าเห็ว จังหวัดลำพูน ชุมชนมุสลิมที่ต้องการฟื้นฟู

ชุมชนมุสลิมป่าเห็ว จังหวัดลำพูน  ชุมชนมุสลิมที่ต้องการฟื้นฟู

โดย ชุมพล ศรีสมบัติ



         ชุมชนป่าเห็ว ตั้งอยู่ในพืนที่ การปกครองของเทศบาลตำบลอุโมค์  จ.ลำพูน ชุมชนบ้านป่าเห็ว  มาจากชื่อของต้นเห็วหลวง หรือต้นตะเคียนหมู เป็นไม้ยืนต้นขึ้นอยู่จำนวนมากบริเวณหมู่บ้านและพระอุโบสถวัดป่าเห็ว



         เล่า กันว่า ก่อนหน้านั้น ชุมชนแห่งนี้ เคยมี มุสลิม อยู่ร่วมสามสิบครัวเรือน แต่ด้วยสภาพแวดล้อม ที่เอื้อต่อการละเลยเรื่องศาสนา เพราะไม่มีศูนย์กลางศาสนาอยู่ในชุมชน หรือ อาจจะเป็นความขัดแย้งในเรื่องของการปฏิบัติศาสนกิจ หรือพิธีกรรมบ้างอย่าง เช่นอ่านกุรอ่านบ้านผู้เสียชีวิต มีการเชิญชุมชนใกล้เคียงมาร่วมแล้วไม่มีใครมา ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนมุสลิมด้วยกันค่อยๆ เลือนหายไป ไม่มีการติดต่อสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

         ด้วยแนวทางที่ปฏิบัติหรือ พิธีกรรมต่างกัน จึงเป็นเหตุให้พีน้องที่ นี่ ห่างจากศาสนา สุดท้ายก็ลืมศาสนาเดิมของตนเอง เรื่องราวนี้ เคยได้ยินจากปากคนพื้นที่ เท็จจริงประการใด ไม่ทราบ วัลลอฮฮูอะลัม หรือ อาจขาดครูผู้รู้ คอยตักเตือนและแนะนำสั่งสอน ทำให้พี่น้องมุสลิมที่นี่ เริ่ม ออกจากศาสนา ไปทีละครอบครัว จวบ จนปัจจุบัน ที่ดึงกลับมาได้ ก็ไม่เกิน สิบ ครอบครัว แต่ก็ยังหาความเข้มแข็ง ได้ไม่ ด้วยหลาย ๆ ปัจจัย





          ในยุคกาลก่อน โน้น มีหลายองค์กร เข้าไปทำงานฟื้นฟู ไม่ว่า จะเป็นกลุ่มดาวะฮฺ ตับฆีค กลุ่ม นักศึกษา หรือองค์กร ที่เคลื่อนไหว ณ ขณะนั้น ทุกกลุ่ม ที่เข้าไปทำงานมีความเพียร พยายาม ที่จะทำให้พี่น้องกลับเข้ามาสู่ศาสนาเดิม ส่งผู้รู้เข้าไปให้ความรู้ รวบรวมทรัพย์สินเงินทอง เพื่อสร้าง ที่ละหมาดให้กับ พีน้องในพื้นที่ แต่ก็ได้เพียงชั่วครู่ สำหรับบางครอบครัว บางคนบอกว่า พอกลับเข้ารับศาสนาอิสลามแล้ว เกิดอาการย้อนศร ฝันไม่ดี บางคนบอกว่าเหมือนจะมีสิ่งเล้นลับจะทำร้าย หรือ เหตุผลต่าง ๆ นา ๆ ที่จะสรรหามาอ้าง ด้วยกับการขาดความเชื่อมโยงกับอิสลามมาเนินนาน



            ผม มีโอกาสเข้าไปเยียมพี่น้องมุสลิมป่าเห็ว อีกครั้งหนึ่งหลังจากที่ห่างหายไปหลายปี เมื่อได้ยินข่าว จากทางมัสยิดอัต-ตักวา ประกาศ การขอรับบริจาคของชุมชนมุสลิมป่าเห็วลำพูน เพื่อ สร้างผนังกั้นน้ำ และโรงครัว ของ บาแล หรือบาลาเซาะฮฺ ที่ละหมาดในชุมชน ซึ่งอาจจะถูกน้ำเซาะเสียหายได้เนื่องจากปลูกสร้างอยู่ติดริมเหมืองน้ำ

             ทาง ชมรมสื่อมุสลิมภาคเหนือเชียงใหม่ ศูนย์กิจกรรม ของ สสม. อาสา กับทางมัสยิดอัต-ตักกวา ขอ เป็นตัวแทนในการนำเงิน จากการรับบริจาคของพีน้องที่มาละหมาดวันศุกร์ เพื่อไป มอบให้แกนนำชุมชน ประกอบกับที่เราอยากหาโอกาส ได้พบปะพูดคุย ถึงสถานการณ์ของมุสลิมในพื้นที่นี้ในปัจจุบัน หลังจากขาดการติดต่อกันมาอย่างยาวนาน เราพบ กับ คุณ วิลาศ อารีย์ บุตรชาย ทายาท ลุงโก่ หรือลุงบุญมา อารีย์ ผู้นำที่เอ่ยนามข้างต้น



                           วิลาศ อารีย์ เสื้อยืดคอกลมสีดำ

           ซึ่ง ปัจจุบันคุณวิลาศ ยังคงสืบทอดการทำงานของคนรุ่นพ่อเพื่่อรักษาศาสนาอิสลามในพื้นทีอย่าง เหนี่ยวแน่น และยังคงทำงานประสาน กับองค์กรต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มดาวะฮฺ ตับฆีค หรือ พี่น้อง ในพื้นที่ และต่างพื้นที่ เพื่อประโยชน์สิทธิต่าง ๆ ที่พึงได้รับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียนการสอนศาสนา ซะกาต ของมุสลิมในชุมชนแห่งนี้ ที่ยังเหลืออยู่ ด้วยฐานะของพี่น้องมุสลิมที่นี่ส่วนใหญ่ มีฐานะค่อนข้างยากจนถึงจนมาก จึงจำเป็นต้องขอรับการช่วยเหลือพีน้องจากภายนอก โดยเฉพาะความเข้มแข็งในเรื่องศาสนาเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องทำงานกันอย่างต่อ เนื่อง

           คุณวิลาศ เล่าให้ฟังว่า ในปี ๔๓ โครงการค่ายอาสาฯ ชมรมมุสลิม จากมหาวิทยา มหานคร ร่วมกับผู้มีจิตศรัทธา เข้ามาในพื้นที่เพื่อจะสร้างบาลาเซาะ แห่งใหม่ หลังจากมีการสร้างมาแล้วครั้งหนึ่ง ด้วยการต่อเติมบ้านของพีน้องมุสลิมในพื้นที่ท่านหนึ่ง สร้างมาแล้วก็ไม่มีคนมาร่วมละหมาดเนื่องจาก เป็นการสร้างต่อเติม จากบ้านของพี่น้องที่นั้น สิทธิเลยต้องตกเป็นเจ้าของบ้าน เนื่องจากไม่มีใครไปใช้บริการ อีกทั้ง ในขณะนั้นพี่น้องเราหลุดออกจากศาสนาไปแล้วหลายครอบครัว



        นับเป็น ความเมตาและเป็นกำหนดของอัลลอฮฺ(ซุบฮาฯ) ทำให้ สถานที่ละหมาดของชุมชนได้เกิดขึ้นอีกครั้ง โดยที่ดินที่สร้างเป็นที่ดินวิลาศ อารีย์ มอบให้เพื่อสาธารณะประโยชน์ ในการดำเนินการก่อสร้าง และที่สำคัญด้วยกับพลังการทุ่มเทกับการทำงานของนักศึกษามุสลิม ของมหาวิทยาลัยมหานครในยุคนั้น ทำให้ความเป็นมุสลิมของพี่น้องมุสลิมที่ยังเหลืออยู่ กลับมามีชีวิตใหม่อีกครั้งหนึ่ง

          ปัจจุบัน ที่แห่งนี้กลายศูนย์กลางในการจัดการบริหารชุมชน ที่สำหรับชี้แนะชี้นำและให้ความรู้เรื่องศาสนา เป็นที่ทำอิบาดัต ก้มกราบขอบคุณพระผู้เป็นเจ้า ของพี่น้องในพื้นทีแห่งนี้ ขอขอบคุณ น้อง นักศึกษาในยุคนั้น ก็ขอบอกว่าสิ่งที่พวกคุณทีทิ้งไว้ยังคงยังประโยชน์ให้กับพี่น้องในพื้นที่ จวบจนปัจจุบัน

ความคิดเห็น