ปัญหาความขัดแย้งในด้านศาสนาอิสลาม อ.ประเสริฐ มะหะหมัด
คำตอบจุฬาราชมนตรี เกี่ยวกับปัญหาความขัดแย้งในด้านศาสนาอิสลาม จากการรวบรวมโดย ศอ.บต
ปัญหาที่ 1 ในพิธีการต่างๆ ซึ่งประธานจะต้องจุดธูปบูชาพระรัตนตรัย ผู้ที่อยู่ในที่ประชุมจะต้องลุกขึ้นยืนตรงในขณะที่ประธานลุกขึ้นไปจุดธูปเทียนนั้น ชาวพุทธจะต้องประนมมือ ส่วนมุสลิมจะต้องยืนตรง การยืนตรงเช่นนั้น จะขัดกับหลักการศาสนาอิส ลามหรือไม่ คำตอบ การยืนขึ้นขณะประธานทำพิธีดังกล่าว ขัดต่อหลักการศาสนาอิสลาม ข้อเสนอแนะ ควรให้มุสลิมนั่งอยู่กับที่ตามเดิม และถ้าจะเป็นการยืน ก็ควรยืนในขณะที่ประธานเดินเข้าสู่ห้องประชุมเท่านั้น เพื่อ เป็นเกียรติแก่ประธานฯ
ปัญหาที่ 2 การที่นักเรียนนักศึกษามุสลิมรำไหว้ครู โดยการการบในวิชามวยไทย กระบี่กระบอง นาฏศิลป์ เป็นต้น ผิดหลักการศาสนาอิสลามหรือไม่ จะทำได้ในลักษณะใดบ้าง คำตอบ การกราบสิ่งอื่นนอกจากอัลเลาะห์ตาอาลา จะกราบในวาระใดหรือเจตนาใดก็ตาม ถือเป็นความผิดต่อบทบัญญัติศาสนาอิสลามทั้งสิ้น ข้อเสนอแนะ สำหรับนักเรียนนักศึกษาที่เป็นมุสลิม ควรสอนเฉพาะเนื้อหาวิชาล้วนๆ การกราบในพิธีดังกล่าวให้งดเว้นโดยเด็ดขาด และหากจะจัดพิธีไหว้ครู ก็ให้ดูในข้อที่ 3
ปัญหาที่ 3 ในพิธีไหว้ครู ถ้านักเรียนนักศึกษาไทยมุสลิมเข้าร่วมพิธีทางโรงเรียนจัดขึ้น ซึ่งไม่มีการกราบ แต่จะมีการนำดอกไม้ธูปเทียนมอบให้แก่ครูอาจารย์ เพื่อแสดงความกตัญญูรู้คุณ จะขัดหลักการศาสนาอิสลามหรือไม่ และการที่นักเรียนไหว้ครูหรือกราบครูในห้องเรียนจะทำได้หรือไม่
คำตอบ
1. การนำดอกไม้มอบแก่ครู ถ้าเพื่อนำดอกไม้นั้นไปกราบไหว้บูชา ก็ผิดบทบัญญัติศาสนาอิสลาม แต่ถ้าเป็น เจตนาอื่นนอกจากนั้น ก็ไม่เป็นไร
2. การไหว้ทำความเคารพครู ในห้อง เรียน ไม่ผิดบทบัญญัติศาสนาอิสลาม
3. การกราบ ผิดบทบัญญัติศาสนาอิส ลาม
4. การมอบธูปเทียน ถ้าประโยชน์ของธูปเทียนที่ครูรับไว้นั้น นำไปเพื่อใช้งานอันไม่เกี่ยว กับการกราบไหว้บูชา หรือเกี่ยวกับพิธีศาสนาอื่น ก็อนุโลมให้มอบได้แต่ไม่บังควรนัก เพราะโดย ทั่วไปธูปเทียน ถูกใช้ในเรื่องกราบไหว้บูชามาก กว่าอย่างอื่น
ข้อเสนอแนะ
การจัดพิธีไหว้ครู มิใช่พิธีการของศาสนาอิสลาม นักเรียนมุสลิมต้องงดเว้นอย่างเด็ดขาด นอกจากจะเปลี่ยนรูปแบบ พิธีทางศาสนาพราหมณ์ - พุทธ มาเป็นแบบศาสนาอิสลาม และการมอบของที่ระลึกแก่ครู ก็ควรเหลือเพียงดอกไม้ ส่วนธูปเทียนตัดออกเสียในวันไหว้ครู นักเรียนมุสลิมควรจัดกิจกรรมดังนี้ - เชิญอิหม่ามและกรรมการมัสยิด และหรือผู้ทรงคุณวุฒิ มาเป็นผู้นำในการขอพร - ถ้าบุคคลในข้อ 1 มีความรู้พอ ก็ให้เป็นคนให้โอวาทในทางศาสนาอิสลาม เกี่ยวกับการเคารพครูบาอาจารย์
ปัญหาที่ 4 การเชิญผู้นำอิสลามเข้าร่วมในพิธี ควรกำหนดบทสวดให้แน่นอน ท่านคิดว่าควรใช้บทสวดใด
คำตอบ
บทสวดในศาสนาอิสลามไม่มี มีแต่บทขอพรซึ่งศาสนาอิสลามมิได้กำหนดไว้ตายตัว สุดแต่ผู้รู้ในท้องถิ่นจะนิยมปฏิบัติ
ข้อเสนอแนะ
ให้อยู่ในดุลยพินิจ ของผู้รู้มุสลิมในท้องถิ่นนั้นๆ บทขอพรที่ส่วนใหญ่ปฏิบัติกันอย่างกว้างขวางทั่ว ไปคือ
1. การอ่านอัลกุรอาน
2. การซอลาวาต
3. การขอดุอา
ปัญหาที่ 5 การชักชวนให้นักศึกษาไทยมุสลิม ไปร่วมในพิธีและงานพิธีต่างๆ ที่ขัดกับหลักการศาสนาอิสลาม เช่น วันสงกรานต์ วันลอยกระทง การแห่เทียนพรรษา เป็นต้น ย่อมเป็นสาเหตุให้เกิดความแตก แยก ควรหาทางแก้ไขปัญหาและป้องกันอย่างไร
คำตอบ วิธีป้องกันคือ งานนี้ไม่ต้องเชิญมุสลิมเข้าร่วม เพราะขัดต่อหลักการศาสนาอิสลามอยู่แล้ว
ปัญหาที่ 6 การที่หน่วยราชการ ได้ให้ใช้พระมหาคัมภีร์อัล กุรอาน เพื่อให้ชายไทยมุสลิมที่เป็นคู่กรณีหรือพยานสาบานตัว จะ ขัดกับหลักการศาสนาอิส ลามหรือไม่
คำตอบ การสาบาน ต้องสาบานต่ออัลเลาะห์ตาอาลา และการใช้อัลกุรอานมาถือไว้ขณะสาบาน ไม่ผิดบทบัญญัติศาสนาอิสลาม
ปัญหาที่ 7 การร่วมในพิธีวันสำคัญของชาติ เช่น วันปิยมหา ราช มีการนำพวงมาลาแล้วมีการถวายบังคมพระบรมรูปทรงม้าหรือพระบรมฉายาลักษณ์ ถ้าชาวไทยมุสลิมทำความเคารพด้วยการยืนตรง หรือคำนับ จะขัดหลักศาสนาอิสลามหรือไม่ และควรปฏิบัติอย่างไร
คำตอบ - การนำพวงมาลาไปถวายบังคมพระบรมรูปทรงม้านั้น ผิดบทบัญญัติศาสนาอิสลาม เพราะอิสลามห้ามเคารพรูปปั้น ไม่ว่าจะเป็นรูปปั้นอะไรก็ตาม - การยืนตรงต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์นั้น ไม่ผิดบทบัญญัติศาสนาอิสลาม เพราะมิใช่รูปปั้น นักวิชาการอิสลามมีความเห็นว่า
1. รูปปั้นหรือสลัก หรือหลอมทุกชนิด เป็นสิ่งต้องห้าม (ฮะรอม)
2. รูปภาพไม่เป็นสิ่งต้องห้าม เมื่อรูป ภาพไม่เป็นสิ่งต้องห้าม การจะแขวนไว้ที่ไหน ก็ไม่เป็นสิ่งต้องห้าม และ การยืนต่อหน้ารูปภาพโดยมิได้เจตนาบูชา จึงไม่เป็นการต้องห้าม
ปัญหาที่ 8 การแต่งกายตามเครื่องแบบต่างๆ เพื่อความเหมาะสมตามสถานการณ์และสถานที่ เช่น การแต่งกายเครื่องแบบลูกเสือ เครื่องแต่งกายกีฬาที่จำเป็นต้องนุ่งกางเกงขาสั้น เป็นต้น ขัดกับหลัก การศาสนาอิสลามหรือไม่ ควรปฏิบัติอย่างไร
คำตอบ การแต่งกายแบบนั้น ถือว่าผิดบทบัญญัติศาสนาอิสลาม ข้อเสนอแนะ ให้นุ่งกางเกงขายาวพ้นหัวเข่า หรือสวมถุงเท้าให้สูงขึ้นมา
ปัญหาที่ 9
การร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี จะขัดต่อหลัก การศาสนาอิสลามหรือไม่ และเนื้อร้องมีความ หมายอย่างไร คำอธิบายเกี่ยวกับ การร้องเพลงสรร เสริญพระบารมี ข้าวรพุทธเจ้า คำสรรเสริญตามหลักภาษานั้น ไม่มีการแปลตามมูลภาษา หากใช้ในการแทนตัวผู้พูด เรียกว่าบุรุษที่ 1 หรือผู้ฟัง เรียกว่าบุรุษที่ 2 หรือผู้ถูกกล่าวถึง เรียกว่าบุรุษที่ 3 ดังนั้น เมื่อภาษาไทยใช้คำสรรพนามบุรุษที่ 1 ต่อพระมหากษัตริย์ว่า ข้าพระพุทธเจ้า ก็มิได้หมายความตามมูลเดิมของภาษา หากหมายความเป็บุรุษสรรพนามที่ 1 ที่ตรงกับคำธรรมดาว่า ฉัน, ผม, ข้าพเจ้า นั้นเอง ดังนั้นการใช้สรรพนามดังกล่าว จึงไม่ถือเป็นความผิดตามบทบัญญัติอิสลาม อนึ่ง ถ้าจะแปลกันตามมูลเดิมของภาษาจริงๆ คำว่า ข้าพระพุทธเจ้า ก็สามารถแยกการแปลได้ดังนี้ - ข้า .. สรรพนามบุรุษที่ 1 บ่าว, คนรับใช้, ทาส - พระ .. ใช้เป็นคำนำหน้านามพระเจ้าแผ่นดิน หรือเจ้านายชั้นสูง หรือผู้มีคุณธรรมดี ฯลฯ - พุทธ .. ผู้รู้, ผู้ตรัสรู้, ผู้ตื่นแล้ว - เจ้า .. ใช้เติมท้ายคำเรียกผู้ที่นับถือ ฯลฯ จะเห็นว่า การแยกแปลออกมาตามมูลเดิมทางภาษา ก็กลายไปเป็น "คุณลักษณะ" กลางๆ ซึ่งไม่จำกัดว่าจะเป็นผู้ใด
ในพจนานุกรม คำว่า "ข้าพระพุทธเจ้า" ให้ความหมายไว้ว่า "สรรพนามบุรุษที่ 1 ใช้พูดกับเจ้าหน้าที่ชั้นสูง หรือพระเจ้าแผ่นดิน มีความ หมายเท่ากับ " ข้าพเจ้า" การใช้คำพูดไม่ว่าจะเป็นภาษาใดก็ตาม ย่อมขึ้นอยู่กับเจตนาของผู้พูดเองว่า จะหมาย ความคำพูดนั้นอย่างไร เพราะคำพูดเป็นสื่อของความหมาย ที่สะท้อนจากความรู้สึกนึกคิดของคนเรา ดังนั้นเมื่อพจนานุกรมและผู้พูด พูดคำว่า"ข้าพระพุทธเจ้า" ในความหมายของ "สรรพนามบุรุษที่ 1" ก็ไม่ถือว่ากล่าวคำพูดที่ผิดต่อหลัก การอิสลามแต่ประการใดๆ
อนึ่ง หลักภาษาไทยแบ่งการพูดออกเป็น 2 ลักษณะคือ คำพูดสามัญธรรมดา กับราชาศัพท์ เมื่อเราจะพูดภาษาไทย ก็ต้องใช้หลักภาษาไทยให้ถูกต้องและคำว่า "ข้าวรพุทธเจ้า" ก็คือคำว่า "ข้าพระพุทธเจ้า" นั่นเอง - วร .. ดี, วิเศษ,ยอดเยี่ยม. มีค่า. ประเสริฐ 2. เอามโนและศิริกราน หมายความว่า เอาใจและศีรษะนอบน้อมถวายบังคมพระเจ้า อยู่หัว นบพระภูมิบาลบุญดิเรก พระเจ้าอยู่ หัว ผู้มีบุญญาธิการ คำว่า มโน .. ใจ, ศิระ .. ศีรษะ ทั้งใจและศีรษะได้นอบน้อม ต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัว ซึ่งการน้อมนบก็ยังมิได้ มีความหมายเจาะจงลงไปว่าต้องกราบ เพระคำว่า - กราน .. ตามพจนานุกรม หมายถึง นอบ, ไหว้, นอบน้อม ดังนั้น การแสดงความนอบน้อมต่อพระ มหากษัตริย์ที่ใช้คำว่า "ถวายบังคม" จึงมิได้จำกัดเฉพาะว่าจะต้องเป็น "การกราบ" ซึ่งผิดบทบัญ ญัติศาสนาอิสลาม เพราะการกราบนั้นศาสนาอิสลามสอนไว้ ให้กระทำเฉพาะต่อพระองค์อัลเลาะห์ ตาอาลา เท่านั้น จะกระทำต่อสิ่งอื่นหรือบุคคลอื่นไม่ได้การถวายบังคม จึงขึ้นอยู่กับหลักความเชื่อและหลักศาสนาของผู้กระทำ
สำหรับผู้ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม ก็อาจหมายถึงการกราบ การหมอบลงไปต่อหน้าพระพักต์ ซึ่งเป็นท่าทางอันแสดงออกทางกิริยา อนึ่ง คำว่า "ถวายบังคม" แยกแปลได้ดังนี้ - ถวาย หมายถึง มอบ, ให้, ให้ดู, ให้ชม - บังคม หมายถึง ไหว้, มีความหมายเท่ากับ "กราบ" ด้วย เมื่อผู้นับถือศาสนาอิสลาม ไม่สามารถจะถวายบังคมด้วยการกราบได้ ก็กระทำได้ด้วยการยืนตรงการแสดงท่าถวายบังคมเพียงเท่าที่กล่าวมานี้ มิได้หมายความว่า ผู้นับถือศาสนาอิสลามจะขาดความเคารพนบนอบ ต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็หาไม่ แท้จริงแล้วในจิตใจของผู้นับถือศาสนาอิสลาม ก็คงเปี่ยมด้วยความเคารพนบนอบ และจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เหมือนกับชายไทยที่นับถือศาสนาพุทธนั่นเอง
3. เอกบรมจักริน ทรงเป็นกษัตริย์สืบราชวงศ์จักรีอันประเสริฐ ทรงเป็นเอกในประเทศไทย พระสยามินทร์
4. พระยศยิ่งยง เย็น ทรงมีพระเกียรติคุณงามมาก ประชาชนมีความร่มเย็นเพระพระ องค์ปกป้อง ศิระเพราะพระบริบาล คุ้มครอง คำว่า "บริบาล" เป็นคุณลักษณะซึ่งแสดงถึงการปกป้องคุ้มครองดูแล ซึ่งเป็นไปได้ตั้งแต่บิดา มารดา จนถึงพระผู้เป็นเจ้า และตรงกับพระนามของพระผู้เป็นเจ้า ที่แปลว่า อภิบาล หรือ บริบาล คือว่า ร๊อบบฺ พระนามของพระผู้เป็นเจ้านั้น นักวิชา การแบ่งออกเป็น 2 คือ พระนามแห่งอาตมัน พระนามแห่งคุณลักษณะ พระนามแห่งอาตมันนั้น จะนำไปใช้กับบุคคลอื่นไม่ได้ นอกจากจะต้องเพิ่มคำว่า "ข้า" ลงไป แต่พระนามแห่งคุณลักษณะนั้น สามารถจะใช้ร่วมโดยบุคคลอื่นๆ ได้ และคำๆ นี้ก็เป็นหนึ่งในจำนวนพระนามแห่งคุณลักษณะ หากนำ ไปใช้โดยเจาะจง เป็นคุณลักษณะของพระผู้เป็นเจ้า ก็ต้องหมายถึงพระองค์จะนำมาใช้กับบุคคลอื่นไม่ได้ และต้องเพิ่มคำว่า "ข้า" ลงไปถ้าหมายความไม่จำกัดเจาะจงว่า เป็นคุณลักษณะของพระองค์ ก็สามารถนำมาใช้กับบุคคลอื่นๆ ได้โดยทั่วไป
5. ผลพระคุณธรักษา ด้วยผลแห่งความดีที่พระองค์ทรงปกป้อง คุ้มครองให้ประชา ชนได้มีสุขสำราญปวงประชาเป็นสุขสานต์
6. ขอบันดาล ธ ประสงค์ใด ขอพระคุณนั้น จงบันดาลสิ่งที่พระองค์ต้องพระราชประสงค์จำนงหมาย จงสฤษดิ์ดังหวังวรหฤทัย จงสำเร็จสมพระราชหฤทัยหวัง ดังที่ได้น้อมเกล้าฯถวายพระพรชัย ดุจถวายชัย ชโย ประโยคท่อนท้ายนี้ เป็นการถวายพระพรแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยอ้างถึงความดีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้การคุ้มครองต่อประชาชนจนเป็นสุข ขอความดีของพระองค์ได้บันดาลให พระองค์ สำเร็จสมพระราชหฤทัยหวัง เป็นประเพณี การถวายพระพรชัยมงคล ซึ่งมักจะอ้างแบบนั้น หากจะหมายความตรงตามตัวอักษร ตามหลักการอิสลามแล้ว ถือว่าผิด เพราะความดีนั้นไม่อาจบันดาลสิ่งใดได้ ผู้บัน ดาลคือพระองค์อัลเลาะห์ตาอาลาคำพูดทำนองนี้ มีความหมายในเชิงเปรียบเทียบ เพื่อเน้นถึงความเคารพในพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้มีน้ำหนักยิ่งขึ้น มิได้มีความหมายที่เป็นจริงในทางรูปธรรม เมื่อคำพูดในเชิงเปรียบเทียบเช่นนี้ การจะตัดสินนัยยะแห่งคำพูด ก็ต้องพิจารณาถึงเจตนาของผู้พูด และเจตนาของผู้พูดประโยคเหล่านั้น จะวัดกันที่หลักยึดมั่นในจิตใจเป็นประ การสำคัญ ซึ่งมีการแสดงออกเป็นกระจกสะท้อนถึงหลักยึดมั่นนั้น
อนึ่ง สาเหตุที่ทางศาสนาอิสลามถือว่าสิ้นสภาพอิสลามมีอยู่ 3 สาเหตุคือ
1. การกระทำที่ทำให้สิ้นสภาพอิสลาม
2. ความคิดที่ทำให้สิ้นสภาพอิสลาม
3. คำพูดที่ทำให้สิ้นสภาพอิสลาม คำพูดที่แสดงถึงเจตนาว่า จะปฏิบัติการกระทำที่ทำให้สิ้นสภาพอิสลาม โดยไม่ได้กระทำจริงตามนั้น ยังไม่ถือว่าสิ้นสภาพอิสลาม แต่ถ้าจิตใจ คิดที่จะเลิกจากสภาพอิสลาม หรือจะนับถือศาสนาอื่น เพียงแต่มีความลังเลในหัวใจต่อความคิดนั้น ก็ทำให้สิ้นสภาพอิสลามได้แล้ว ถ้าสมมุติจะยึดตามบางคน ที่แปลบทเพลงไปตามความหมายที่นิยามตามหลักศาสนาอื่นๆ เมื่อมุสลิมนำมาใช้โดยไม่มีเจตนาที่จะทำและมิได้กระทำ เช่น อาจจะแปลคำ กราน เป็นกราบหรือ นบ เป็น กราบ หรือ บังคม เป็น กราบ คำพูดก็เป็นเพียงคำพูดซึ่งยังไม่มีการกระทำ จึงไม่ถือเป็นคำพูดที่ทำให้ขาดสภาพอิสลาม เพราะการกราบผิดตรงการกระทำ แต่เมื่อนำมาเป็นคำ พูดก็ยังสามารถจะแปลออกไปได้อีกตามเจตนาของผู้พูดเอง ดังกล่าวไว้แล้ว การร้องเพลงชาติผิดหลักการศาสนาหรือไม่ ?
การร้องเพลงชาติไม่ผิดหลักศาสนา เพลงชาติ ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย เป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน อยู่ดำรงคงไว้ได้ทั้งมวล ด้วยไทยล้วนหมาย รักสามัคคี ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่ สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี เถลิงประเทศชาติไทยทวีมีชัย ชโย คำอธิบาย ประเทศไทยเป็นที่รวมของคนเชื้อชาติไทย เป็นประเทศของประชาชนทั่วทุกแห่ง คนไทยได้ดำรงรักษาไว้ให้คงอยู่ได้ทั้งหมด เพราะคนไทยล้วนแต่มีความร่วมรักสามัคคีกัน ตามปกติคนไทยรักความสงบ แต่เมื่อถึงคราวรบ คนเก่งกล้าไม่เกรงกลัวศัตรู ไม่ยอมให้ใครใช้กำลังทำลายเอกราชได้ตามความชอบ คนไทยยอมสละเลือดทุกหยาดเพื่อชาติ จะปกครองประเทศไทยให้เจริญและมีชัยชนะ (โดย อาจารย์กำชัย ทองหล่อ)
ปัญหาที่ 10 การจัดพิธีเฉลิมฉลองวันคล้ายวันประสูติของพระบรมศาสดานบีมูฮำหมัด มีขอบเขตเพียงใด ควรจะพิจารณา 1. การแห่โดยเอาสุภาพสตรีถือบายศรี มาร่วมขบวนแห่ 2. การแต่งรถนำประกวด บางคันแต่งรูปสัตว์ เช่น รูปนก
คำตอบ ขอบเขตของงานเมาลิดกลางคือ
1. อ่านอัลกุรอาน
2. อ่านประวัติท่านศาสดา
3. อ่านบทขอพร (ดุอา)
4. อ่านบทซิกรุ้ลเลาะห์
5. อ่านซอลาหวาต
6. เลี้ยงอาหารแก่ผู้เข้าร่วมพิธี
- การแห่สุภาพสตรี ผิดบทบัญญัติศาสนาอิสลาม
- การแต่งรถประกวด ไม่ผิดบทบัญญัติ ทั้งนี้ถ้าผู้แต่งไม่ยึดถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของศาสนา โดยถือเป็นเพียงการประกวดตามระเบียบประเพณี
- การแต่งเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ผิดบทบัญญัติศาสนาอิสลาม
ปัญหาที่ 11
ทำไมในท้องถิ่นที่มีคนไทยมุสลิมมาก โรงเรียนและสถานที่ราชการ จึงไม่หยุดในวันศุกร์และวันเสาร์เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนและข้าราชการมุสลิมไปละหมาดในวันศุกร์ได้
คำตอบ
เพราะทางราชการมีคำสั่งไว้อย่างนั้น ความจริงสมัยแรกก็อนุโลมให้ท้องถิ่นที่มีมุสลิม หยุดวันพฤหัสบดี วันศุกร์ แต่ต่อมาก็เปลี่ยนแปลงเป็นวันเสาร์ – อาทิตย์ ไม่เกี่ยวกับข้อห้ามข้อใช้ทางศาสนา
ปัญหาที่ 12
พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายศาสนาอิสลาม กฎกระทรวงและระเบียบต่างๆ ไม่เหมาะสมกับปัจจุบัน ทางสำนักจุฬาราชมนตรีจะดำเนินการอย่างไร
คำตอบ
กระทรวงมหาดไทย แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่ง ทำหน้าที่ร่าง "พระราชบัญญัติบริหารกิจการศาสนาอิสลาม" ขณะนี้กระทรวงมหาดไทยได้ส่งต้นฉบับที่เสร็จเรียบร้อย มาให้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยพิจารณา และจะส่งกลับกระทรวงมหาดไทยเพื่อดำเนินการต่อไป
ปัญหาที่ 13
ให้พิจารณาปัญหาการให้สลามของนักเรียนในห้องและในโรงเรียน
คำตอบ
ถ้าครูและนักเรียนทั้งหมดเป็นมุสลิม ก็ควรให้มีการกล่าวสลาม เพื่อฝึกวัฒนธรรมทางศาสนา แต่การจะใช้คำสวัสดี และการไหว้ ก็ไม่ขัดกับหลัก การศาสนาอิสลาม ทั้งนี้หากกระทำต่อผู้ที่ไม่ได้เป็นมุสลิม ก็ทำอย่างหลัง
ปัญหาที่ 14
ให้พิจารณาหนังสือ "ศาสนาเปรียบเทียบ" ของเสถียร พันธุรังษี ได้เขียนข้อความที่ขัดกับหลัก การศาสนาอิสลาม สมควรให้สำนักจุฬาราช มนตรีพิจารณาดูว่า ข้อความใดที่ควรจะต้องทอนออกหรือไม่อย่างไร
คำตอบ
ศอ.บต.ควรจะจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินการในเรื่องนี้ด้วย เพราะมีงบประมาณของทางราชการพร้อมมูล ส่วนสำนักจุฬาราชมนตรีนั้น ไม่มีงบประมาณดำเนินการอาจจะไม่ได้ผลเท่าที่ควร
ปัญหาที่ 15
ตามระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดว่า เมื่อนักเรียนเข้าแถวเชิญธงชาติแล้ว ให้มีการสวดมนต์ไหว้พระ ซึ่งเรื่องนี้ นักเรียนที่นับถือศาสนาอิสลามไม่สามารถจะปฏิบัติได้ และตามระเบียบไม่ได้กำหนดหรือชี้แนะไว้ว่า ให้นักเรียนที่นับถือศาสนาอิสลามทำอย่างไร เรื่องนี้ควรจะได้เสนอแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมแก่กระทรวงศึกษาธิการ
คำตอบ
สำหรับนักเรียนมุสลิม ควรทำดังต่อไปนี้
1. ให้นักเรียนกล่าวทบทวนรุก่นอีหม่าน รุก่นอิสลาม
2. ให้นักเรียนอ่านดุอา เช่น ความว่า "โอ้อัลเลาะห์โปรดเปิดความรู้แก่พวกเรา และโปรดแผ่กระจายคลังแห่งเมตตาของพระองค์ แก่พวกเรา โอ้พระองค์ผู้ทรงเมตตา ยิ่งกว่าบรรดาผู้เมตตาทั้งปวง"
3. จบด้วยการซอลาหวาตแก่ท่านนบี (ซ.ล.)
ปัญหาที่ 16
ปัญหาคำว่า "เมือง" ที่เป็นอำเภอมีสถานีตำรวจเทศบาล ฯลฯ แล้วถือเป็นเมืองที่จะแยกมัสยิดไม่ได้ แต่มีมุสลิมกลุ่มหนึ่งตีความว่า "เมือง" ที่แยกมัสยิดไม่ได้ จะต้องเป็นเมืองที่ปกครองโดย มุสลิมเท่านั้น แต่ถ้าเป็นเมืองที่ถูกปกครองโดยศาสนาอื่น ถือว่าไม่เป็นเมือง สามารถแยกมัสยิดได้ เช่น ในกรณี 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถือว่าคนไทยพุทธปกครอง ใคร่ขอทราบความจริงที่ถูกต้อง
คำตอบ
ความเห็นเช่นนั้นไม่ถูกต้อง การสร้างมัสยิดเพื่อทำละหมาดวันศุกร์นั้น ให้สร้างได้ทั้งสิ้นในพื้นที่ทุกลักษณะคือ
1. مصر เมืองใหญ่ คือเมืองที่มีสถานที่ทำการทางราชการ เช่น ศาล สถานีตำรวจ ที่ว่าการอำเภอ และแหล่งทำการค้าและธุรกิจต่างๆ อย่างกว้างขวาง
2. بلد เมืองเล็ก คือเมืองที่มีสิ่งดังกล่าวน้อยกว่า ไม่ครบถ้วนเหมือนเมืองใหญ่
3. قرية หมู่บ้าน หมู่บ้านที่ไม่มีที่ทำการต่างๆ และไม่มีแหล่งธุรกิจตามที่กล่าวมาเลย ส่วนการจัดสร้างเพิ่ม เพื่อละหมาดวันศุกร์ซ้อนขึ้นมาอีกนั้น หากมัสยิดเก่าแคบ ไม่จุคนละหมาด ก็สามารถจะทำซ้อนขึ้นมาได้
ปัญหาที่ 17
ปัญหาพวก "ดะวะห์" ซึ่งมีความหมายว่าการเผยแพร่ศาสนา จะพูดเกี่ยวกับหลักศาสนาทั่วๆ ไป พูดถึงบาปบุญ ทั้งโลกนี้และโลกหน้า ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือพวกดะวะห์ พูดให้คนมุสลิมสามัคคีกัน แต่มีความหมายเท่ากับไม่ไห้สามัคคีกับผู้ที่นับถือศาสนาอื่น ในบางครั้งพวกเขาก็พูดรุนแรงไปห้ามคนมุสลิมเข้าร้านคนไทยพุทธ ใคร่ขอทราบความจริงที่ถูกต้อง
คำตอบ
ได้ค้นคว้าหลักการของ "ดะวะห์" แล้วไม่มีระบุให้แตกสามัคคีกับคนต่างศาสนา หลักการของดะวะห์ก็คือหลักอิสลามนั่นเอง ส่วนบางคนที่มีความคิดรุนแรงไปนั้น ก็เป็นเรื่องของคนส่วนน้อย ซึ่งต้องค่อยๆ ชี้แจงให้เข้าใจ
ข้อเสนอแนะ
ควรเชิญหัวหน้ากลุ่มดะวะห์มาพบ เพื่อซักซ้อมความเข้าใจกันบ่อยๆ และทางราชการควรอำนวยความสะดวกแก่การจัดกิจกรรมดะวะห์อย่างจริงจัง เพราะเป็นผลดีต่อทางราชการโดย ตรง
ปัญหาที่ 18
ปัญหาในพิธีฌาปนกิจศพของคนไทย ที่นับถือศาสนาพุทธ ใคร่ขอทราบว่ามุสลิมจะเข้าร่วมในพิธีเผาศพได้หรือไม่ และจะเป็นการขัดกับหลักศาสนาหรือไม่
คำตอบ
การเข้าร่วมพิธีเผาศพ ผิดบทบัญญัติศาสนาอิสลาม การเข้าไปร่วมแสดงความเสียใจในงาน และเยี่ยมเยียนครอบครัว ของผู้ตายต่างศาสนา รวมทั้งการช่วยเหลือด้านต่างๆ นั้น ไม่ผิดบท บัญญัติศาสนาอิสลาม
ปัญหาที่ 19
ปัญหาในพิธีสดุดีลูกเสือ ในการประกอบพิธีสดุดีลูกเสือ นักเรียนจะต้องนั่งคุกเข่าทำความเคารพพระบรมรูป ร.5 ซึ่งถ้านั่งคุกเข่าดังกล่าวเหมือน กับท่านั่งละหมาด ใคร่ขอทราบว่าการประกอบพิธีของมุสลิมในท่านั่งดังกล่าว จะขัดกับหลักศาสนาอิสลามหรือไม่
คำตอบ
การทำความเคารพต่อรูปปั้น ไม่ว่าจะโดยรูปแบบใดๆ ก็ตาม ถือเป็นการขัดต่อบทบัญญัติศาสนาอิสลามทั้งสิ้น การกระทำดังกล่าวจึงผิดบทบัญ ญัติศาสนาอิสลามอย่างแน่นอน
ปัญหาที่ 20
ปัญหาเรื่องการไว้ทุกข์ หากมุสลิมไปร่วมงานในพิธีของชาวไทยที่นับถือศาสนาพุทธ โดยการแต่งกายชุดดำจะเป็นการขัดด้วยหลักการศาสนาอิสลามหรือไม่ ใคร่ขอทราบข้อเท็จจริงและความ เห็น
คำตอบ
ในการแต่งกายไว้ทุกข์ด้วยชุดดำ ผิดบทบัญญัติศาสนาอิสลาม
ข้อเสนอแนะ
อิสลามกำหนดไว้อาลัยแก่ผู้ตาย ซึ่งบังคับแก่สตรีเท่านั้น โดยการเว้นการแต่งกายที่ฉูดฉาด ห้ามใส่เครื่องประดับ และเครื่องหอมทุกชนิด การที่มุสลิมไปร่วมงานศพของเพื่อนต่างศาสนาให้แต่ง งานตามแบบธรรมดาทั่วไป อย่าแต่งชุดดำ
ปัญหาที่ 21
ปัญหาเรื่องการทำความเคารพ พระบรมฉายาลักษณ์ การแสดงความเคารพพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในพิธีการต่างๆ จะขัดต่อหลักการศาสนาอิสลามหรือ ไม่ ใคร่ขอทราบข้อเท็จจริงและความเห็น
คำตอบ
- การยืนตรงต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ เพื่อระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ขัดต่อบทบัญญัติของศาสนาอิสลาม
- การก้มศีรษะไม่ถึงขั้นรุกัวะ ถือเะป็นการกระทำที่ไม่บังควร (มักรูฮฺ)
- การก้มศีรษะถึงขั้นรุกัวะ บางทัศนะว่าต้องห้าม (ฮะรอม) บางทัศนะว่าไม่บังควร (มักรูฮฺ)
ปัญหาที่ 22
กรณีคนที่มิได้เป็นมุสลิมเข้าไปในมัสยิด เช่น ข้า ราชการหรือผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ เข้าไปในมัส ยิด เพื่อพบปะและชี้แจงข้อราชการให้ประชาชนทราบนั้น บางคนก็เข้าไปไม่ได้เพราะต้องห้าม ขอทราบว่าความจริงเป็นอย่างไร ?
คำตอบ
มัสยิดทุกมัสยิด มีกรรมการมัสยิดเป็นผู้ดูแล อำนาจในการอนุญาต ให้ใครเข้าไปภายในมัสยิดเป็นของผู้ดูแลถ้าผู้ดูแลอนุญาตก็เข้าได้ ไม่อนุญาตก็เข้าไม่ได้
ปัญหาที่ 23
มีครูสอนศาสนาอิสลาม ในโรงเรียนประชาบาล ได้สอนจริยธรรมแก่นักเรียนไทยมุสลิม โดยบอกว่าเมื่อนักเรียนพบกันไม่ว่าที่ใด ก็ควรสลามหรือจับมือกัน แต่ครูไทยพุทธ บางคนไม่เข้าใจ กลับ ไปพูดว่าครูสอนศาสนาอิสลามบิดเบือนเด็ก และได้ก่อให้เด็กไทยละทิ้งวัฒนธรรมไทย ซึ่งก่อให้ เกิดความขัดแย้ง
คำตอบ
เป็นความเข้าใจผิด ของครูที่นับถือศาสนาพุทธเอง ซึ่งความไม่เข้าใจเช่นนี้เป็นเหตุให้เกิดกรณีพิพาทขึ้นระหว่างศาสนา เป็นผลร้ายที่ต้องขจัดโดยเร็ว
ข้อเสนอแนะ
ศอ.บต. ควรแนะนำครูทุกคนให้เข้าใจถึงสิทธิหน้าที่ของผู้นับถือศาสนาอิสลาม ตามบทบัญ ญัติของรัฐธรรมนูญ ซึ่งให้สิทธิเสรีภาพแก่คนไทยในการนับถือศาสนาและปฏิบัติศาสนา ไม่ว่าศาสนาอะไรก็ตาม ผู้ที่ขัดขวางมิให้ผู้อื่นนับถือหรือปฏิบัติศาสนา จึงเป็นผู้ทำผิดบทบัญญัติรัฐธรรมนูญโดยตรง
อนึ่ง คำว่า "วัฒนธรรมไทย" ไม่ควรจำกัดแต่วัฒนธรรมที่รู้สึก และใช้กันเฉพาะในสังคมที่นับถือศาสนาพุทธเท่านั้น หากจะต้องหมาย ความรวมไปถึง วัฒนธรรมที่รู้จักและใช้ในสังคมมุสลิมด้วย ทั้งนี้เพราะมุสลิมได้รวมเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย มาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน และคำว่า "คนไทย"ตามความ หมายของรัฐธรรมนูญ ก็ไม่ถูกกำหนดขึ้นโดยเงื่อนไขทางศาสนาทางภาษา หรือทางวัฒนธรรมอื่นๆ ตลอดจนเงื่อนไขที่แตกต่างกันทางสังคม การที่มุสลิมปฏิบัติวัฒนธรรมอิสลาม จึงไม่ถือเป็นการทำลายวัฒนธรรมไทย แต่กลับเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมไทยให้มีลักษณะเด่น ที่คนต่างชาติได้ไว้วางใจยิ่งขึ้นด้วยซ้ำว่า วัฒนธรรมส่วนหนึ่งของไทยก็คือ รับวัฒนธรรมทางศาสนาทุกศาสนา สมกับที่มีบทบัญญัติรัฐธรรมนูญให้สิทธิเสรีภาพในการนับถือและปฏิบัติศาสนา
เมื่อศาสนาอิสลาม ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย และคนนับถือศาสนาอิสลามเป็นคนไทย ทั้งทางพฤตินัย นิตินัย อย่างที่เป็นอยู่ ควรยอมรับวัฒนธรรมทางศาสนาอิสลาม เข้ามาเป็นวัฒนธรรมไทยด้วย จึงจะถูกต้อง
ดังนั้น ในสังคมมุสลิม รัฐจึงต้องส่งเสริมให้ใช้วัฒนธรรมอิสลามอย่างเต็มที่ เพื่อปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ดังได้กล่าวไว้แล้วในบทนำ หากรัฐหรือคนของรัฐพยายามตัดหรือลดหรือกีดกัน มิให้คนนับถือศาสนาอิสลาม ปฏิบัติวัฒนธรรมอิสลาม แน่นอน รัฐและคนของรัฐนั่นแหละกระทำผิดต่อบทบัญญัติรัฐธรรรมนูญ มิใช่มุสลิมหรอกที่กระทำผิดรัฐธรรรมนูญ
บทความนี้ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการนำไปเผยแพร่ต่อ และกรุณาระบุที่มาของบทความ
ที่มา http://www.miftahbandon.org/data/index.php?option=com_content&v...
คำตอบจุฬาราชมนตรี เกี่ยวกับปัญหาความขัดแย้งในด้านศาสนาอิสลาม จากการรวบรวมโดย ศอ.บต
ปัญหาที่ 1 ในพิธีการต่างๆ ซึ่งประธานจะต้องจุดธูปบูชาพระรัตนตรัย ผู้ที่อยู่ในที่ประชุมจะต้องลุกขึ้นยืนตรงในขณะที่ประธานลุกขึ้นไปจุดธูปเทียนนั้น ชาวพุทธจะต้องประนมมือ ส่วนมุสลิมจะต้องยืนตรง การยืนตรงเช่นนั้น จะขัดกับหลักการศาสนาอิส ลามหรือไม่ คำตอบ การยืนขึ้นขณะประธานทำพิธีดังกล่าว ขัดต่อหลักการศาสนาอิสลาม ข้อเสนอแนะ ควรให้มุสลิมนั่งอยู่กับที่ตามเดิม และถ้าจะเป็นการยืน ก็ควรยืนในขณะที่ประธานเดินเข้าสู่ห้องประชุมเท่านั้น เพื่อ เป็นเกียรติแก่ประธานฯ
ปัญหาที่ 2 การที่นักเรียนนักศึกษามุสลิมรำไหว้ครู โดยการการบในวิชามวยไทย กระบี่กระบอง นาฏศิลป์ เป็นต้น ผิดหลักการศาสนาอิสลามหรือไม่ จะทำได้ในลักษณะใดบ้าง คำตอบ การกราบสิ่งอื่นนอกจากอัลเลาะห์ตาอาลา จะกราบในวาระใดหรือเจตนาใดก็ตาม ถือเป็นความผิดต่อบทบัญญัติศาสนาอิสลามทั้งสิ้น ข้อเสนอแนะ สำหรับนักเรียนนักศึกษาที่เป็นมุสลิม ควรสอนเฉพาะเนื้อหาวิชาล้วนๆ การกราบในพิธีดังกล่าวให้งดเว้นโดยเด็ดขาด และหากจะจัดพิธีไหว้ครู ก็ให้ดูในข้อที่ 3
ปัญหาที่ 3 ในพิธีไหว้ครู ถ้านักเรียนนักศึกษาไทยมุสลิมเข้าร่วมพิธีทางโรงเรียนจัดขึ้น ซึ่งไม่มีการกราบ แต่จะมีการนำดอกไม้ธูปเทียนมอบให้แก่ครูอาจารย์ เพื่อแสดงความกตัญญูรู้คุณ จะขัดหลักการศาสนาอิสลามหรือไม่ และการที่นักเรียนไหว้ครูหรือกราบครูในห้องเรียนจะทำได้หรือไม่
คำตอบ
1. การนำดอกไม้มอบแก่ครู ถ้าเพื่อนำดอกไม้นั้นไปกราบไหว้บูชา ก็ผิดบทบัญญัติศาสนาอิสลาม แต่ถ้าเป็น เจตนาอื่นนอกจากนั้น ก็ไม่เป็นไร
2. การไหว้ทำความเคารพครู ในห้อง เรียน ไม่ผิดบทบัญญัติศาสนาอิสลาม
3. การกราบ ผิดบทบัญญัติศาสนาอิส ลาม
4. การมอบธูปเทียน ถ้าประโยชน์ของธูปเทียนที่ครูรับไว้นั้น นำไปเพื่อใช้งานอันไม่เกี่ยว กับการกราบไหว้บูชา หรือเกี่ยวกับพิธีศาสนาอื่น ก็อนุโลมให้มอบได้แต่ไม่บังควรนัก เพราะโดย ทั่วไปธูปเทียน ถูกใช้ในเรื่องกราบไหว้บูชามาก กว่าอย่างอื่น
ข้อเสนอแนะ
การจัดพิธีไหว้ครู มิใช่พิธีการของศาสนาอิสลาม นักเรียนมุสลิมต้องงดเว้นอย่างเด็ดขาด นอกจากจะเปลี่ยนรูปแบบ พิธีทางศาสนาพราหมณ์ - พุทธ มาเป็นแบบศาสนาอิสลาม และการมอบของที่ระลึกแก่ครู ก็ควรเหลือเพียงดอกไม้ ส่วนธูปเทียนตัดออกเสียในวันไหว้ครู นักเรียนมุสลิมควรจัดกิจกรรมดังนี้ - เชิญอิหม่ามและกรรมการมัสยิด และหรือผู้ทรงคุณวุฒิ มาเป็นผู้นำในการขอพร - ถ้าบุคคลในข้อ 1 มีความรู้พอ ก็ให้เป็นคนให้โอวาทในทางศาสนาอิสลาม เกี่ยวกับการเคารพครูบาอาจารย์
ปัญหาที่ 4 การเชิญผู้นำอิสลามเข้าร่วมในพิธี ควรกำหนดบทสวดให้แน่นอน ท่านคิดว่าควรใช้บทสวดใด
คำตอบ
บทสวดในศาสนาอิสลามไม่มี มีแต่บทขอพรซึ่งศาสนาอิสลามมิได้กำหนดไว้ตายตัว สุดแต่ผู้รู้ในท้องถิ่นจะนิยมปฏิบัติ
ข้อเสนอแนะ
ให้อยู่ในดุลยพินิจ ของผู้รู้มุสลิมในท้องถิ่นนั้นๆ บทขอพรที่ส่วนใหญ่ปฏิบัติกันอย่างกว้างขวางทั่ว ไปคือ
1. การอ่านอัลกุรอาน
2. การซอลาวาต
3. การขอดุอา
ปัญหาที่ 5 การชักชวนให้นักศึกษาไทยมุสลิม ไปร่วมในพิธีและงานพิธีต่างๆ ที่ขัดกับหลักการศาสนาอิสลาม เช่น วันสงกรานต์ วันลอยกระทง การแห่เทียนพรรษา เป็นต้น ย่อมเป็นสาเหตุให้เกิดความแตก แยก ควรหาทางแก้ไขปัญหาและป้องกันอย่างไร
คำตอบ วิธีป้องกันคือ งานนี้ไม่ต้องเชิญมุสลิมเข้าร่วม เพราะขัดต่อหลักการศาสนาอิสลามอยู่แล้ว
ปัญหาที่ 6 การที่หน่วยราชการ ได้ให้ใช้พระมหาคัมภีร์อัล กุรอาน เพื่อให้ชายไทยมุสลิมที่เป็นคู่กรณีหรือพยานสาบานตัว จะ ขัดกับหลักการศาสนาอิส ลามหรือไม่
คำตอบ การสาบาน ต้องสาบานต่ออัลเลาะห์ตาอาลา และการใช้อัลกุรอานมาถือไว้ขณะสาบาน ไม่ผิดบทบัญญัติศาสนาอิสลาม
ปัญหาที่ 7 การร่วมในพิธีวันสำคัญของชาติ เช่น วันปิยมหา ราช มีการนำพวงมาลาแล้วมีการถวายบังคมพระบรมรูปทรงม้าหรือพระบรมฉายาลักษณ์ ถ้าชาวไทยมุสลิมทำความเคารพด้วยการยืนตรง หรือคำนับ จะขัดหลักศาสนาอิสลามหรือไม่ และควรปฏิบัติอย่างไร
คำตอบ - การนำพวงมาลาไปถวายบังคมพระบรมรูปทรงม้านั้น ผิดบทบัญญัติศาสนาอิสลาม เพราะอิสลามห้ามเคารพรูปปั้น ไม่ว่าจะเป็นรูปปั้นอะไรก็ตาม - การยืนตรงต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์นั้น ไม่ผิดบทบัญญัติศาสนาอิสลาม เพราะมิใช่รูปปั้น นักวิชาการอิสลามมีความเห็นว่า
1. รูปปั้นหรือสลัก หรือหลอมทุกชนิด เป็นสิ่งต้องห้าม (ฮะรอม)
2. รูปภาพไม่เป็นสิ่งต้องห้าม เมื่อรูป ภาพไม่เป็นสิ่งต้องห้าม การจะแขวนไว้ที่ไหน ก็ไม่เป็นสิ่งต้องห้าม และ การยืนต่อหน้ารูปภาพโดยมิได้เจตนาบูชา จึงไม่เป็นการต้องห้าม
ปัญหาที่ 8 การแต่งกายตามเครื่องแบบต่างๆ เพื่อความเหมาะสมตามสถานการณ์และสถานที่ เช่น การแต่งกายเครื่องแบบลูกเสือ เครื่องแต่งกายกีฬาที่จำเป็นต้องนุ่งกางเกงขาสั้น เป็นต้น ขัดกับหลัก การศาสนาอิสลามหรือไม่ ควรปฏิบัติอย่างไร
คำตอบ การแต่งกายแบบนั้น ถือว่าผิดบทบัญญัติศาสนาอิสลาม ข้อเสนอแนะ ให้นุ่งกางเกงขายาวพ้นหัวเข่า หรือสวมถุงเท้าให้สูงขึ้นมา
ปัญหาที่ 9
การร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี จะขัดต่อหลัก การศาสนาอิสลามหรือไม่ และเนื้อร้องมีความ หมายอย่างไร คำอธิบายเกี่ยวกับ การร้องเพลงสรร เสริญพระบารมี ข้าวรพุทธเจ้า คำสรรเสริญตามหลักภาษานั้น ไม่มีการแปลตามมูลภาษา หากใช้ในการแทนตัวผู้พูด เรียกว่าบุรุษที่ 1 หรือผู้ฟัง เรียกว่าบุรุษที่ 2 หรือผู้ถูกกล่าวถึง เรียกว่าบุรุษที่ 3 ดังนั้น เมื่อภาษาไทยใช้คำสรรพนามบุรุษที่ 1 ต่อพระมหากษัตริย์ว่า ข้าพระพุทธเจ้า ก็มิได้หมายความตามมูลเดิมของภาษา หากหมายความเป็บุรุษสรรพนามที่ 1 ที่ตรงกับคำธรรมดาว่า ฉัน, ผม, ข้าพเจ้า นั้นเอง ดังนั้นการใช้สรรพนามดังกล่าว จึงไม่ถือเป็นความผิดตามบทบัญญัติอิสลาม อนึ่ง ถ้าจะแปลกันตามมูลเดิมของภาษาจริงๆ คำว่า ข้าพระพุทธเจ้า ก็สามารถแยกการแปลได้ดังนี้ - ข้า .. สรรพนามบุรุษที่ 1 บ่าว, คนรับใช้, ทาส - พระ .. ใช้เป็นคำนำหน้านามพระเจ้าแผ่นดิน หรือเจ้านายชั้นสูง หรือผู้มีคุณธรรมดี ฯลฯ - พุทธ .. ผู้รู้, ผู้ตรัสรู้, ผู้ตื่นแล้ว - เจ้า .. ใช้เติมท้ายคำเรียกผู้ที่นับถือ ฯลฯ จะเห็นว่า การแยกแปลออกมาตามมูลเดิมทางภาษา ก็กลายไปเป็น "คุณลักษณะ" กลางๆ ซึ่งไม่จำกัดว่าจะเป็นผู้ใด
ในพจนานุกรม คำว่า "ข้าพระพุทธเจ้า" ให้ความหมายไว้ว่า "สรรพนามบุรุษที่ 1 ใช้พูดกับเจ้าหน้าที่ชั้นสูง หรือพระเจ้าแผ่นดิน มีความ หมายเท่ากับ " ข้าพเจ้า" การใช้คำพูดไม่ว่าจะเป็นภาษาใดก็ตาม ย่อมขึ้นอยู่กับเจตนาของผู้พูดเองว่า จะหมาย ความคำพูดนั้นอย่างไร เพราะคำพูดเป็นสื่อของความหมาย ที่สะท้อนจากความรู้สึกนึกคิดของคนเรา ดังนั้นเมื่อพจนานุกรมและผู้พูด พูดคำว่า"ข้าพระพุทธเจ้า" ในความหมายของ "สรรพนามบุรุษที่ 1" ก็ไม่ถือว่ากล่าวคำพูดที่ผิดต่อหลัก การอิสลามแต่ประการใดๆ
อนึ่ง หลักภาษาไทยแบ่งการพูดออกเป็น 2 ลักษณะคือ คำพูดสามัญธรรมดา กับราชาศัพท์ เมื่อเราจะพูดภาษาไทย ก็ต้องใช้หลักภาษาไทยให้ถูกต้องและคำว่า "ข้าวรพุทธเจ้า" ก็คือคำว่า "ข้าพระพุทธเจ้า" นั่นเอง - วร .. ดี, วิเศษ,ยอดเยี่ยม. มีค่า. ประเสริฐ 2. เอามโนและศิริกราน หมายความว่า เอาใจและศีรษะนอบน้อมถวายบังคมพระเจ้า อยู่หัว นบพระภูมิบาลบุญดิเรก พระเจ้าอยู่ หัว ผู้มีบุญญาธิการ คำว่า มโน .. ใจ, ศิระ .. ศีรษะ ทั้งใจและศีรษะได้นอบน้อม ต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัว ซึ่งการน้อมนบก็ยังมิได้ มีความหมายเจาะจงลงไปว่าต้องกราบ เพระคำว่า - กราน .. ตามพจนานุกรม หมายถึง นอบ, ไหว้, นอบน้อม ดังนั้น การแสดงความนอบน้อมต่อพระ มหากษัตริย์ที่ใช้คำว่า "ถวายบังคม" จึงมิได้จำกัดเฉพาะว่าจะต้องเป็น "การกราบ" ซึ่งผิดบทบัญ ญัติศาสนาอิสลาม เพราะการกราบนั้นศาสนาอิสลามสอนไว้ ให้กระทำเฉพาะต่อพระองค์อัลเลาะห์ ตาอาลา เท่านั้น จะกระทำต่อสิ่งอื่นหรือบุคคลอื่นไม่ได้การถวายบังคม จึงขึ้นอยู่กับหลักความเชื่อและหลักศาสนาของผู้กระทำ
สำหรับผู้ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม ก็อาจหมายถึงการกราบ การหมอบลงไปต่อหน้าพระพักต์ ซึ่งเป็นท่าทางอันแสดงออกทางกิริยา อนึ่ง คำว่า "ถวายบังคม" แยกแปลได้ดังนี้ - ถวาย หมายถึง มอบ, ให้, ให้ดู, ให้ชม - บังคม หมายถึง ไหว้, มีความหมายเท่ากับ "กราบ" ด้วย เมื่อผู้นับถือศาสนาอิสลาม ไม่สามารถจะถวายบังคมด้วยการกราบได้ ก็กระทำได้ด้วยการยืนตรงการแสดงท่าถวายบังคมเพียงเท่าที่กล่าวมานี้ มิได้หมายความว่า ผู้นับถือศาสนาอิสลามจะขาดความเคารพนบนอบ ต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็หาไม่ แท้จริงแล้วในจิตใจของผู้นับถือศาสนาอิสลาม ก็คงเปี่ยมด้วยความเคารพนบนอบ และจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เหมือนกับชายไทยที่นับถือศาสนาพุทธนั่นเอง
3. เอกบรมจักริน ทรงเป็นกษัตริย์สืบราชวงศ์จักรีอันประเสริฐ ทรงเป็นเอกในประเทศไทย พระสยามินทร์
4. พระยศยิ่งยง เย็น ทรงมีพระเกียรติคุณงามมาก ประชาชนมีความร่มเย็นเพระพระ องค์ปกป้อง ศิระเพราะพระบริบาล คุ้มครอง คำว่า "บริบาล" เป็นคุณลักษณะซึ่งแสดงถึงการปกป้องคุ้มครองดูแล ซึ่งเป็นไปได้ตั้งแต่บิดา มารดา จนถึงพระผู้เป็นเจ้า และตรงกับพระนามของพระผู้เป็นเจ้า ที่แปลว่า อภิบาล หรือ บริบาล คือว่า ร๊อบบฺ พระนามของพระผู้เป็นเจ้านั้น นักวิชา การแบ่งออกเป็น 2 คือ พระนามแห่งอาตมัน พระนามแห่งคุณลักษณะ พระนามแห่งอาตมันนั้น จะนำไปใช้กับบุคคลอื่นไม่ได้ นอกจากจะต้องเพิ่มคำว่า "ข้า" ลงไป แต่พระนามแห่งคุณลักษณะนั้น สามารถจะใช้ร่วมโดยบุคคลอื่นๆ ได้ และคำๆ นี้ก็เป็นหนึ่งในจำนวนพระนามแห่งคุณลักษณะ หากนำ ไปใช้โดยเจาะจง เป็นคุณลักษณะของพระผู้เป็นเจ้า ก็ต้องหมายถึงพระองค์จะนำมาใช้กับบุคคลอื่นไม่ได้ และต้องเพิ่มคำว่า "ข้า" ลงไปถ้าหมายความไม่จำกัดเจาะจงว่า เป็นคุณลักษณะของพระองค์ ก็สามารถนำมาใช้กับบุคคลอื่นๆ ได้โดยทั่วไป
5. ผลพระคุณธรักษา ด้วยผลแห่งความดีที่พระองค์ทรงปกป้อง คุ้มครองให้ประชา ชนได้มีสุขสำราญปวงประชาเป็นสุขสานต์
6. ขอบันดาล ธ ประสงค์ใด ขอพระคุณนั้น จงบันดาลสิ่งที่พระองค์ต้องพระราชประสงค์จำนงหมาย จงสฤษดิ์ดังหวังวรหฤทัย จงสำเร็จสมพระราชหฤทัยหวัง ดังที่ได้น้อมเกล้าฯถวายพระพรชัย ดุจถวายชัย ชโย ประโยคท่อนท้ายนี้ เป็นการถวายพระพรแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยอ้างถึงความดีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้การคุ้มครองต่อประชาชนจนเป็นสุข ขอความดีของพระองค์ได้บันดาลให พระองค์ สำเร็จสมพระราชหฤทัยหวัง เป็นประเพณี การถวายพระพรชัยมงคล ซึ่งมักจะอ้างแบบนั้น หากจะหมายความตรงตามตัวอักษร ตามหลักการอิสลามแล้ว ถือว่าผิด เพราะความดีนั้นไม่อาจบันดาลสิ่งใดได้ ผู้บัน ดาลคือพระองค์อัลเลาะห์ตาอาลาคำพูดทำนองนี้ มีความหมายในเชิงเปรียบเทียบ เพื่อเน้นถึงความเคารพในพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้มีน้ำหนักยิ่งขึ้น มิได้มีความหมายที่เป็นจริงในทางรูปธรรม เมื่อคำพูดในเชิงเปรียบเทียบเช่นนี้ การจะตัดสินนัยยะแห่งคำพูด ก็ต้องพิจารณาถึงเจตนาของผู้พูด และเจตนาของผู้พูดประโยคเหล่านั้น จะวัดกันที่หลักยึดมั่นในจิตใจเป็นประ การสำคัญ ซึ่งมีการแสดงออกเป็นกระจกสะท้อนถึงหลักยึดมั่นนั้น
อนึ่ง สาเหตุที่ทางศาสนาอิสลามถือว่าสิ้นสภาพอิสลามมีอยู่ 3 สาเหตุคือ
1. การกระทำที่ทำให้สิ้นสภาพอิสลาม
2. ความคิดที่ทำให้สิ้นสภาพอิสลาม
3. คำพูดที่ทำให้สิ้นสภาพอิสลาม คำพูดที่แสดงถึงเจตนาว่า จะปฏิบัติการกระทำที่ทำให้สิ้นสภาพอิสลาม โดยไม่ได้กระทำจริงตามนั้น ยังไม่ถือว่าสิ้นสภาพอิสลาม แต่ถ้าจิตใจ คิดที่จะเลิกจากสภาพอิสลาม หรือจะนับถือศาสนาอื่น เพียงแต่มีความลังเลในหัวใจต่อความคิดนั้น ก็ทำให้สิ้นสภาพอิสลามได้แล้ว ถ้าสมมุติจะยึดตามบางคน ที่แปลบทเพลงไปตามความหมายที่นิยามตามหลักศาสนาอื่นๆ เมื่อมุสลิมนำมาใช้โดยไม่มีเจตนาที่จะทำและมิได้กระทำ เช่น อาจจะแปลคำ กราน เป็นกราบหรือ นบ เป็น กราบ หรือ บังคม เป็น กราบ คำพูดก็เป็นเพียงคำพูดซึ่งยังไม่มีการกระทำ จึงไม่ถือเป็นคำพูดที่ทำให้ขาดสภาพอิสลาม เพราะการกราบผิดตรงการกระทำ แต่เมื่อนำมาเป็นคำ พูดก็ยังสามารถจะแปลออกไปได้อีกตามเจตนาของผู้พูดเอง ดังกล่าวไว้แล้ว การร้องเพลงชาติผิดหลักการศาสนาหรือไม่ ?
การร้องเพลงชาติไม่ผิดหลักศาสนา เพลงชาติ ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย เป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน อยู่ดำรงคงไว้ได้ทั้งมวล ด้วยไทยล้วนหมาย รักสามัคคี ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่ สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี เถลิงประเทศชาติไทยทวีมีชัย ชโย คำอธิบาย ประเทศไทยเป็นที่รวมของคนเชื้อชาติไทย เป็นประเทศของประชาชนทั่วทุกแห่ง คนไทยได้ดำรงรักษาไว้ให้คงอยู่ได้ทั้งหมด เพราะคนไทยล้วนแต่มีความร่วมรักสามัคคีกัน ตามปกติคนไทยรักความสงบ แต่เมื่อถึงคราวรบ คนเก่งกล้าไม่เกรงกลัวศัตรู ไม่ยอมให้ใครใช้กำลังทำลายเอกราชได้ตามความชอบ คนไทยยอมสละเลือดทุกหยาดเพื่อชาติ จะปกครองประเทศไทยให้เจริญและมีชัยชนะ (โดย อาจารย์กำชัย ทองหล่อ)
ปัญหาที่ 10 การจัดพิธีเฉลิมฉลองวันคล้ายวันประสูติของพระบรมศาสดานบีมูฮำหมัด มีขอบเขตเพียงใด ควรจะพิจารณา 1. การแห่โดยเอาสุภาพสตรีถือบายศรี มาร่วมขบวนแห่ 2. การแต่งรถนำประกวด บางคันแต่งรูปสัตว์ เช่น รูปนก
คำตอบ ขอบเขตของงานเมาลิดกลางคือ
1. อ่านอัลกุรอาน
2. อ่านประวัติท่านศาสดา
3. อ่านบทขอพร (ดุอา)
4. อ่านบทซิกรุ้ลเลาะห์
5. อ่านซอลาหวาต
6. เลี้ยงอาหารแก่ผู้เข้าร่วมพิธี
- การแห่สุภาพสตรี ผิดบทบัญญัติศาสนาอิสลาม
- การแต่งรถประกวด ไม่ผิดบทบัญญัติ ทั้งนี้ถ้าผู้แต่งไม่ยึดถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของศาสนา โดยถือเป็นเพียงการประกวดตามระเบียบประเพณี
- การแต่งเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ผิดบทบัญญัติศาสนาอิสลาม
ปัญหาที่ 11
ทำไมในท้องถิ่นที่มีคนไทยมุสลิมมาก โรงเรียนและสถานที่ราชการ จึงไม่หยุดในวันศุกร์และวันเสาร์เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนและข้าราชการมุสลิมไปละหมาดในวันศุกร์ได้
คำตอบ
เพราะทางราชการมีคำสั่งไว้อย่างนั้น ความจริงสมัยแรกก็อนุโลมให้ท้องถิ่นที่มีมุสลิม หยุดวันพฤหัสบดี วันศุกร์ แต่ต่อมาก็เปลี่ยนแปลงเป็นวันเสาร์ – อาทิตย์ ไม่เกี่ยวกับข้อห้ามข้อใช้ทางศาสนา
ปัญหาที่ 12
พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายศาสนาอิสลาม กฎกระทรวงและระเบียบต่างๆ ไม่เหมาะสมกับปัจจุบัน ทางสำนักจุฬาราชมนตรีจะดำเนินการอย่างไร
คำตอบ
กระทรวงมหาดไทย แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่ง ทำหน้าที่ร่าง "พระราชบัญญัติบริหารกิจการศาสนาอิสลาม" ขณะนี้กระทรวงมหาดไทยได้ส่งต้นฉบับที่เสร็จเรียบร้อย มาให้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยพิจารณา และจะส่งกลับกระทรวงมหาดไทยเพื่อดำเนินการต่อไป
ปัญหาที่ 13
ให้พิจารณาปัญหาการให้สลามของนักเรียนในห้องและในโรงเรียน
คำตอบ
ถ้าครูและนักเรียนทั้งหมดเป็นมุสลิม ก็ควรให้มีการกล่าวสลาม เพื่อฝึกวัฒนธรรมทางศาสนา แต่การจะใช้คำสวัสดี และการไหว้ ก็ไม่ขัดกับหลัก การศาสนาอิสลาม ทั้งนี้หากกระทำต่อผู้ที่ไม่ได้เป็นมุสลิม ก็ทำอย่างหลัง
ปัญหาที่ 14
ให้พิจารณาหนังสือ "ศาสนาเปรียบเทียบ" ของเสถียร พันธุรังษี ได้เขียนข้อความที่ขัดกับหลัก การศาสนาอิสลาม สมควรให้สำนักจุฬาราช มนตรีพิจารณาดูว่า ข้อความใดที่ควรจะต้องทอนออกหรือไม่อย่างไร
คำตอบ
ศอ.บต.ควรจะจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินการในเรื่องนี้ด้วย เพราะมีงบประมาณของทางราชการพร้อมมูล ส่วนสำนักจุฬาราชมนตรีนั้น ไม่มีงบประมาณดำเนินการอาจจะไม่ได้ผลเท่าที่ควร
ปัญหาที่ 15
ตามระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดว่า เมื่อนักเรียนเข้าแถวเชิญธงชาติแล้ว ให้มีการสวดมนต์ไหว้พระ ซึ่งเรื่องนี้ นักเรียนที่นับถือศาสนาอิสลามไม่สามารถจะปฏิบัติได้ และตามระเบียบไม่ได้กำหนดหรือชี้แนะไว้ว่า ให้นักเรียนที่นับถือศาสนาอิสลามทำอย่างไร เรื่องนี้ควรจะได้เสนอแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมแก่กระทรวงศึกษาธิการ
คำตอบ
สำหรับนักเรียนมุสลิม ควรทำดังต่อไปนี้
1. ให้นักเรียนกล่าวทบทวนรุก่นอีหม่าน รุก่นอิสลาม
2. ให้นักเรียนอ่านดุอา เช่น ความว่า "โอ้อัลเลาะห์โปรดเปิดความรู้แก่พวกเรา และโปรดแผ่กระจายคลังแห่งเมตตาของพระองค์ แก่พวกเรา โอ้พระองค์ผู้ทรงเมตตา ยิ่งกว่าบรรดาผู้เมตตาทั้งปวง"
3. จบด้วยการซอลาหวาตแก่ท่านนบี (ซ.ล.)
ปัญหาที่ 16
ปัญหาคำว่า "เมือง" ที่เป็นอำเภอมีสถานีตำรวจเทศบาล ฯลฯ แล้วถือเป็นเมืองที่จะแยกมัสยิดไม่ได้ แต่มีมุสลิมกลุ่มหนึ่งตีความว่า "เมือง" ที่แยกมัสยิดไม่ได้ จะต้องเป็นเมืองที่ปกครองโดย มุสลิมเท่านั้น แต่ถ้าเป็นเมืองที่ถูกปกครองโดยศาสนาอื่น ถือว่าไม่เป็นเมือง สามารถแยกมัสยิดได้ เช่น ในกรณี 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถือว่าคนไทยพุทธปกครอง ใคร่ขอทราบความจริงที่ถูกต้อง
คำตอบ
ความเห็นเช่นนั้นไม่ถูกต้อง การสร้างมัสยิดเพื่อทำละหมาดวันศุกร์นั้น ให้สร้างได้ทั้งสิ้นในพื้นที่ทุกลักษณะคือ
1. مصر เมืองใหญ่ คือเมืองที่มีสถานที่ทำการทางราชการ เช่น ศาล สถานีตำรวจ ที่ว่าการอำเภอ และแหล่งทำการค้าและธุรกิจต่างๆ อย่างกว้างขวาง
2. بلد เมืองเล็ก คือเมืองที่มีสิ่งดังกล่าวน้อยกว่า ไม่ครบถ้วนเหมือนเมืองใหญ่
3. قرية หมู่บ้าน หมู่บ้านที่ไม่มีที่ทำการต่างๆ และไม่มีแหล่งธุรกิจตามที่กล่าวมาเลย ส่วนการจัดสร้างเพิ่ม เพื่อละหมาดวันศุกร์ซ้อนขึ้นมาอีกนั้น หากมัสยิดเก่าแคบ ไม่จุคนละหมาด ก็สามารถจะทำซ้อนขึ้นมาได้
ปัญหาที่ 17
ปัญหาพวก "ดะวะห์" ซึ่งมีความหมายว่าการเผยแพร่ศาสนา จะพูดเกี่ยวกับหลักศาสนาทั่วๆ ไป พูดถึงบาปบุญ ทั้งโลกนี้และโลกหน้า ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือพวกดะวะห์ พูดให้คนมุสลิมสามัคคีกัน แต่มีความหมายเท่ากับไม่ไห้สามัคคีกับผู้ที่นับถือศาสนาอื่น ในบางครั้งพวกเขาก็พูดรุนแรงไปห้ามคนมุสลิมเข้าร้านคนไทยพุทธ ใคร่ขอทราบความจริงที่ถูกต้อง
คำตอบ
ได้ค้นคว้าหลักการของ "ดะวะห์" แล้วไม่มีระบุให้แตกสามัคคีกับคนต่างศาสนา หลักการของดะวะห์ก็คือหลักอิสลามนั่นเอง ส่วนบางคนที่มีความคิดรุนแรงไปนั้น ก็เป็นเรื่องของคนส่วนน้อย ซึ่งต้องค่อยๆ ชี้แจงให้เข้าใจ
ข้อเสนอแนะ
ควรเชิญหัวหน้ากลุ่มดะวะห์มาพบ เพื่อซักซ้อมความเข้าใจกันบ่อยๆ และทางราชการควรอำนวยความสะดวกแก่การจัดกิจกรรมดะวะห์อย่างจริงจัง เพราะเป็นผลดีต่อทางราชการโดย ตรง
ปัญหาที่ 18
ปัญหาในพิธีฌาปนกิจศพของคนไทย ที่นับถือศาสนาพุทธ ใคร่ขอทราบว่ามุสลิมจะเข้าร่วมในพิธีเผาศพได้หรือไม่ และจะเป็นการขัดกับหลักศาสนาหรือไม่
คำตอบ
การเข้าร่วมพิธีเผาศพ ผิดบทบัญญัติศาสนาอิสลาม การเข้าไปร่วมแสดงความเสียใจในงาน และเยี่ยมเยียนครอบครัว ของผู้ตายต่างศาสนา รวมทั้งการช่วยเหลือด้านต่างๆ นั้น ไม่ผิดบท บัญญัติศาสนาอิสลาม
ปัญหาที่ 19
ปัญหาในพิธีสดุดีลูกเสือ ในการประกอบพิธีสดุดีลูกเสือ นักเรียนจะต้องนั่งคุกเข่าทำความเคารพพระบรมรูป ร.5 ซึ่งถ้านั่งคุกเข่าดังกล่าวเหมือน กับท่านั่งละหมาด ใคร่ขอทราบว่าการประกอบพิธีของมุสลิมในท่านั่งดังกล่าว จะขัดกับหลักศาสนาอิสลามหรือไม่
คำตอบ
การทำความเคารพต่อรูปปั้น ไม่ว่าจะโดยรูปแบบใดๆ ก็ตาม ถือเป็นการขัดต่อบทบัญญัติศาสนาอิสลามทั้งสิ้น การกระทำดังกล่าวจึงผิดบทบัญ ญัติศาสนาอิสลามอย่างแน่นอน
ปัญหาที่ 20
ปัญหาเรื่องการไว้ทุกข์ หากมุสลิมไปร่วมงานในพิธีของชาวไทยที่นับถือศาสนาพุทธ โดยการแต่งกายชุดดำจะเป็นการขัดด้วยหลักการศาสนาอิสลามหรือไม่ ใคร่ขอทราบข้อเท็จจริงและความ เห็น
คำตอบ
ในการแต่งกายไว้ทุกข์ด้วยชุดดำ ผิดบทบัญญัติศาสนาอิสลาม
ข้อเสนอแนะ
อิสลามกำหนดไว้อาลัยแก่ผู้ตาย ซึ่งบังคับแก่สตรีเท่านั้น โดยการเว้นการแต่งกายที่ฉูดฉาด ห้ามใส่เครื่องประดับ และเครื่องหอมทุกชนิด การที่มุสลิมไปร่วมงานศพของเพื่อนต่างศาสนาให้แต่ง งานตามแบบธรรมดาทั่วไป อย่าแต่งชุดดำ
ปัญหาที่ 21
ปัญหาเรื่องการทำความเคารพ พระบรมฉายาลักษณ์ การแสดงความเคารพพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในพิธีการต่างๆ จะขัดต่อหลักการศาสนาอิสลามหรือ ไม่ ใคร่ขอทราบข้อเท็จจริงและความเห็น
คำตอบ
- การยืนตรงต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ เพื่อระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ขัดต่อบทบัญญัติของศาสนาอิสลาม
- การก้มศีรษะไม่ถึงขั้นรุกัวะ ถือเะป็นการกระทำที่ไม่บังควร (มักรูฮฺ)
- การก้มศีรษะถึงขั้นรุกัวะ บางทัศนะว่าต้องห้าม (ฮะรอม) บางทัศนะว่าไม่บังควร (มักรูฮฺ)
ปัญหาที่ 22
กรณีคนที่มิได้เป็นมุสลิมเข้าไปในมัสยิด เช่น ข้า ราชการหรือผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ เข้าไปในมัส ยิด เพื่อพบปะและชี้แจงข้อราชการให้ประชาชนทราบนั้น บางคนก็เข้าไปไม่ได้เพราะต้องห้าม ขอทราบว่าความจริงเป็นอย่างไร ?
คำตอบ
มัสยิดทุกมัสยิด มีกรรมการมัสยิดเป็นผู้ดูแล อำนาจในการอนุญาต ให้ใครเข้าไปภายในมัสยิดเป็นของผู้ดูแลถ้าผู้ดูแลอนุญาตก็เข้าได้ ไม่อนุญาตก็เข้าไม่ได้
ปัญหาที่ 23
มีครูสอนศาสนาอิสลาม ในโรงเรียนประชาบาล ได้สอนจริยธรรมแก่นักเรียนไทยมุสลิม โดยบอกว่าเมื่อนักเรียนพบกันไม่ว่าที่ใด ก็ควรสลามหรือจับมือกัน แต่ครูไทยพุทธ บางคนไม่เข้าใจ กลับ ไปพูดว่าครูสอนศาสนาอิสลามบิดเบือนเด็ก และได้ก่อให้เด็กไทยละทิ้งวัฒนธรรมไทย ซึ่งก่อให้ เกิดความขัดแย้ง
คำตอบ
เป็นความเข้าใจผิด ของครูที่นับถือศาสนาพุทธเอง ซึ่งความไม่เข้าใจเช่นนี้เป็นเหตุให้เกิดกรณีพิพาทขึ้นระหว่างศาสนา เป็นผลร้ายที่ต้องขจัดโดยเร็ว
ข้อเสนอแนะ
ศอ.บต. ควรแนะนำครูทุกคนให้เข้าใจถึงสิทธิหน้าที่ของผู้นับถือศาสนาอิสลาม ตามบทบัญ ญัติของรัฐธรรมนูญ ซึ่งให้สิทธิเสรีภาพแก่คนไทยในการนับถือศาสนาและปฏิบัติศาสนา ไม่ว่าศาสนาอะไรก็ตาม ผู้ที่ขัดขวางมิให้ผู้อื่นนับถือหรือปฏิบัติศาสนา จึงเป็นผู้ทำผิดบทบัญญัติรัฐธรรมนูญโดยตรง
อนึ่ง คำว่า "วัฒนธรรมไทย" ไม่ควรจำกัดแต่วัฒนธรรมที่รู้สึก และใช้กันเฉพาะในสังคมที่นับถือศาสนาพุทธเท่านั้น หากจะต้องหมาย ความรวมไปถึง วัฒนธรรมที่รู้จักและใช้ในสังคมมุสลิมด้วย ทั้งนี้เพราะมุสลิมได้รวมเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย มาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน และคำว่า "คนไทย"ตามความ หมายของรัฐธรรมนูญ ก็ไม่ถูกกำหนดขึ้นโดยเงื่อนไขทางศาสนาทางภาษา หรือทางวัฒนธรรมอื่นๆ ตลอดจนเงื่อนไขที่แตกต่างกันทางสังคม การที่มุสลิมปฏิบัติวัฒนธรรมอิสลาม จึงไม่ถือเป็นการทำลายวัฒนธรรมไทย แต่กลับเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมไทยให้มีลักษณะเด่น ที่คนต่างชาติได้ไว้วางใจยิ่งขึ้นด้วยซ้ำว่า วัฒนธรรมส่วนหนึ่งของไทยก็คือ รับวัฒนธรรมทางศาสนาทุกศาสนา สมกับที่มีบทบัญญัติรัฐธรรมนูญให้สิทธิเสรีภาพในการนับถือและปฏิบัติศาสนา
เมื่อศาสนาอิสลาม ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย และคนนับถือศาสนาอิสลามเป็นคนไทย ทั้งทางพฤตินัย นิตินัย อย่างที่เป็นอยู่ ควรยอมรับวัฒนธรรมทางศาสนาอิสลาม เข้ามาเป็นวัฒนธรรมไทยด้วย จึงจะถูกต้อง
ดังนั้น ในสังคมมุสลิม รัฐจึงต้องส่งเสริมให้ใช้วัฒนธรรมอิสลามอย่างเต็มที่ เพื่อปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ดังได้กล่าวไว้แล้วในบทนำ หากรัฐหรือคนของรัฐพยายามตัดหรือลดหรือกีดกัน มิให้คนนับถือศาสนาอิสลาม ปฏิบัติวัฒนธรรมอิสลาม แน่นอน รัฐและคนของรัฐนั่นแหละกระทำผิดต่อบทบัญญัติรัฐธรรรมนูญ มิใช่มุสลิมหรอกที่กระทำผิดรัฐธรรรมนูญ
บทความนี้ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการนำไปเผยแพร่ต่อ และกรุณาระบุที่มาของบทความ
ที่มา http://www.miftahbandon.org/data/index.php?option=com_content&v...
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
โปรดใช้วิจารณญานในการแสดงความคิดเห็น