มัสยิดอัลญิฮาร์ด ต.วังพิกุล อ.บึงสามพัน จ.เพรชบรูณ์
ก่อนจะไป รู้จักมัสยิด อัลญิฮาร์ด เรา มารู่จัก ที่มาของ ต.วังพิกุล กันก่อน ซึ่ง ข้อมูลเหล่านี้ ก็หาได้จาก เว็บของตำบลดอทคอม ซึ่งเราจะหาข้อมูลของตำบล ได้ทั่วประเทศไทย
เดิมขึ้นกับตำบลซับไม้แดง และได้แยกออกมาเป็นตำบลวังพิกุล เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2525 ได้เลื่อนฐานะจากสภาตำบล เป็นองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2538 ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ตั้งอยู่ในเขตปกครองของอำเภอบึงสามพัน ประกอบไปด้วยหมู่บ้าน 16 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านวังพิกุล บ้านซับปรางค์ทอง บ้านโป่งบุญเจริญ บ้านห้วยทราย บ้านหนองตะเคียน บ้านวังพิกุลใต้ บ้านยุบใหญ่ บ้านหนองไทร บ้านวังรัตนะ บ้านหนองทรายกลอย บ้านเนินสมบูรณ์ บ้านไทรงาม บ้านใหม่สุขเจริญ บ้านเนินยางงาม บ้านโป่งบุญเจริญใต้ บ้านห้วยตะกั่ว
ตั้งอยู่เลขที่ ๒ หมู่ ๑๔ ต.วังพิกุล อ.บึงสามพัน จ.เพรชบรูณ์
โทร . 080-789-2900
มัสยิดอัลญิฮาร์ด ต.วังพิกุล เป็นอีกมัสยิด หนึ่งที่น่าสนใจ และมีการจัด การบริหารมัสยิด ด้วยระบบคุณธรรม จึงได้มาซึ่ง อีหม่าม คณะกรรมการที่พร้อมที่จะเสียสละเพื่อศาสนา ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดียิ่งนักสำหรับมัสยิดแห่งนี้ คุณลิฟภาเล่าให้ฟังว
เมื่อ สามสิบกว่า ปีก่อน ครอบครัวของเราซึี่งมีหัวหน้าครอบครัวชื่อ ท่านเอมดาดุลลา อพยพ จาก ตำบลดุสิต กรุงเทพฯ เพื่อ เข้าสร้างหลักปักฐานในจังหวัด เพชรบูรณ์ ทำมาหากินได้ระยะหนึ่งก็มีพี่น้องมุสลิม เริ่ม มาอาศัยอยู่ในพื้นที่มากขึ้น จึงได้ปรึกษาหารือ พี่น้องมุสลิม ในขณะนั้น พูดถึงความจำเป็นที่จะต้องมีมัสยิดเพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจ อีกทั้ง เป็นศูนย์กลางในการการให้ความรู้ แก่เด็ก เยาวชน ที่จะต้องเพิ่มขึ้นในอนาคต อีกทั้งผู้ที่เดินทางผ่าน ก็จะได้มีที่ละหมาด และพักอาศัยชั่วคราว
ประมาณปี ๒๕๒๓ จึงได้สร้างมัสยิดเป็นเรือนไม้มัสยิดเรือนไม้ที่ใช้ละหมาด ในการเริ่มต้น รวมพี่น้องมุสลิมในพื้นที่ ปัจจุบันยังตั้งเด่นอยู่หน้ามัสยิดหลังจากนั้นอีกหลายปี จำ พ.ศ.ไม่ได้ ท่านฮัจญี เมาลาวี เอ็มดาดุลลา กับพวก เห็นว่ามัสยิด น่าจะได้รับการปรับปรุงหรือ สร้างใหม่ขึ้นมาเพือให้เป็นศาสนสถานที่สมบรูณ์จึงชักชวนสมัครพรรคพวก เดินทาง ของความร่วมมือ กับ พี่น้องมุสลิมในจังหวัดภาคเหนือ และพี่น้องมุสลิมทั่วไป โดยท่านฮัจญี ได้บริจาคทีดินส่วนหนึ่งในการสร้างมัสยิดในครั้งนี้ ประชากรมุสลิมในพื้นที่อำเภอ บึงสามพัน ต.วังพิกุล อยู่กันอย่างกระจัด กระจาย ทั้วอำเภอ ประมาณ ๓๐ ครอบครัว อีกทั้งยังมี พนักงานมุสลิม ที่ทำงานบริษัท
สหฟรามอีกนับร้อบคน ที่วนเวียน สับเปลี่ยน กันมา ละหมาด นับว่าเป็นอีกมัสยิดที่มีผู้คน ที่หลากหลาย อยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ มัสยิดเป็นสถาบันที่มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อจิตวิญญาณของชุมชนมุสลิม มัสยิดมิได้เป็นเพียงสถานที่ซึ่งใช้ในการประกอบศาสนกิจเท่านั้น หากแต่เป็นศูนย์รวมจิตใจของชุมชน เป็นศูนย์กลางในการประกอบศาสนกิจต่าง ๆ ของชุมชน มัสยิดเปรียบเสมือนเป็นโรงเรียน เป็นสภาของหมู่บ้าน เป็นสภาของชุมชน จึงควรสนับสนุนให้มัสยิดเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ได้จริงพันธะกิจของมัสยิด นั้นคือ เป็นดัชนีชี้วัดการดำรงอยู่ของสังคมมุสลิม การสร้างความรุ่งเรืองแก่ชุมชนมัสยิด จึงเป็นการสร้างความเข็มแข็งแก่ชุมชนมัสยิดด้วย
รายนามอีหม่าม คณะกรรมการมัสยิด มีดังนี้
นายเอกลักษณ ดุลลา อีหม่ามมัสยิด
นายมะซอดี สาแม คอเต็บ
นายปราโมทย์ ปาทาน บิหลั่น
รายนามคณะกรรมการมัสยิด
นายทนงศักดิ๋ สาระ นายมนัส จันโต
นายจำนงค์ ปั่นศิริ นายมนัส ขันธวิธิ
นายอนุชัย ดราคาน นายเสถียรชัย ฝายรี
จดทะเบียนมัสยิดเมื่อ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๘
แผนงานสร้างเสริมสุขภาวะมุสลิมไทย ศูนย์ประสานงานภาคเหนือเล็งเห็นความสำคัญในสถาบันแห่งนี้จึงได้ทำโครงการชุมชนมัสยิดครบวงจร เพื่อต่อยอดโครงการไปยังมัสยิดต่าง ๆ ให้เกิดความยั่งยืน และเป็นมาตรฐานเดียว
ภาพและเรื่อง
ฮัจยีชุมพล ศรีสมบัติ
|
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
โปรดใช้วิจารณญานในการแสดงความคิดเห็น